ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรงแรมรถไฟสงขลา

เริ่มโดย พี่แอ๊ด, 19:44 น. 11 ก.ค 53

พี่แอ๊ด

ขออนุญาต อ.หม่องวิน  ขึ้นหัวข้อใหม่นะคะ  
เมื่อวานได้เดินทางไปสงขลา   โดยผู้ใหญ่ใจดีอายุ 80 ปี  
ที่เคยมาเที่ยวโรงแรมรถไฟสงขลาในอดีตเป็นผู้นำทาง   และ
ท่านเป็นผู้หนึ่งที่รู้สึกเสียดายสถานีรถไฟสงขลา   ที่ในอดีตนั้น
เคยเป็นสถานที่ ๆ พระเจ้าอยู่หัวหลายพระองค์เสด็จ   แต่เมื่อ
ท่านเห็นภาพนี้    ท่านถึงกับน้ำตาคลอ   พูดไม่ออก
ต้องขออนุญาตนำภาพสถานีรถไฟ, แผนที่ทางอากาศ
ของ  อ.หม่องวิน  มาประกอบ   ขอบคุณล่วงหน้าคะ

 

พี่แอ๊ด

ท่านเล่าให้ฟังว่า   เมื่อ 10 ปีก่อนนั้น   เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรจาก
ส่วนกลาง  ได้มาหาท่านให้นำทางมาดูสถานีรถไฟสงขลา   และป้าย
หน้าหลุมฝังศพของนายพลญี่ปุ่นที่ตำรวจยิงตาย  เป็นป้ายภาษาญี่ปุ่น
ถูกทิ้งอยู่ทางขึ้นเขาน้อย    ท่านเป็นผู้เสนอเจ้าหน้าที่คนนั้น  น่าจะ
นำงบประมาณมาซ่อมแซมสถานีรถไฟสงขลา   และป้ายหลุมฝังศพ
ของนายพลญี่ปุ่น    เพราะเป็นประวัติศาสตร์สงขลา   เป็นเวลา 10 ปี
ล่วงเลยมาแล้วจนบัดนี้เงียบหายไปเลย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านเป็น
ผู้หนึ่งที่ผูกพันกับรถไฟมาก    ท่านผู้นั้นคือ  นายกิตติ   จิระนคร
ทายาทผู้สร้างตำนานสร้างรางรถไฟในอดีต

พี่แอ๊ด

ตำแหน่งของโรงแรมรถไฟสงขลา   ในความทรงจำของท่าน
ปัจจุบันคือ   โรงเรียนอนุบาลสงขลา  (แผนกอนุบาล)
ในสมัยอดีตนั้น   โรงเรียนอนุบาลสงขลายังไม่เริ่มสร้าง

พี่แอ๊ด

ในภาพโรงเรียนอนุบาลสงขลา (แผนกอนุบาล)  อยู่ในซอย
หน้าบ้านซอยเป็นคิวรถแท๊กซี่สงขลา - หาดใหญ่ - สงขลา
โรงแรมรถไฟสงขลา    อยู่ก่อนจะถึงสถานีรถไฟสงขลาประมาณ
200 เมตร     ที่บริเวณนั้นเป็นที่ลุ่ม   เวลาฝนตกมีน้ำขังเฉอะแฉะ  
ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกพื้นทำจากไม้เนื้อแข็ง  เช่น  ไม้ตะเคียน,  
ไม้หลุมพอ    เป็นต้น
โรงแรมรถไฟสงขลา    เป็นลักษณะตัว T  คือ  ขึ้นบรรไดจำนวน
5 ขั้น   ห้องกลางเป็นห้องโถง   และมีปีกซ้ายปีกขวา   ด้านละ
จำนวนข้างละ 5  ห้อง  

กิมหยง

โรงแรม กับ สถานีรถไฟ อยู่ยังไงกันครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 20:27 น.  11 ก.ค 53
โรงแรม กับ สถานีรถไฟ อยู่ยังไงกันครับ
เริ่มต้นจากหอนาฬิกาสงขลา    หันหน้าไปทางทิศใต้
โรงเรียนอนุบาลสงขลาอยู่ซ้ายมือของถนนรามวิถี   เลี้ยวซ้าย
ซอยแรกที่มีคิวแท๊กซี่สงขลา - หาดใหญ่    และซ้ายมือที่เขียน
ป้ายว่าโรงเรียนอนุบาลสงขลา (แผนกอนุบาล)  นั่นคือ  ตำแหน่ง
โรงแรมรถไฟสงขลาในอดีต    ตรงไปประมาณ 200 เมตร จะ
เป็นสถานีรถไฟสงขลา
หมายเหตุ    ในอดีตนั้นโรงเรียนอนุบาลสงขลายังไม่สร้าง
เมื่อวานติดต่อคุณกิมหยงไม่ได้   จะได้ช่วยหาแผ่นป้ายนายพล
ญี่ปุ่นที่ถูกตำรวจไทยยิงเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่  2 เสียหน่อย

พี่แอ๊ด

ขวามือคือทายาทผู้สร้างตำนานสร้างทางรถไฟในอดีต
ท่านเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมหาวชิราวุธ  สงขลา   ซึ่งใน
อดีตเป็นเพียงเรือนไม้สองชั้น   ขณะที่เรียนอยู่ที่นี่
พักอาศัยอยู่ตำหนักเขาน้อย   ซึ่งข้าหลวงในสมัยนั้นชื่อ
นายสุนทร  ตามไทย  พัก ณ ที่แห่งนี้   
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  2 ได้เห็นทหารญี่ปุ่นได้ขุด
อุโมงค์เพื่อนำอาวุธมาเก็บไว้ในอุโมงค์นี้   แต่ไม่ทราบว่า
เก็บไว้เพื่ออะไร    ภาพนี้กำลังบอกตำแหน่งที่ท่านเห็น   
ตรงข้ามกับตำหนักเขาน้อย

พี่แอ๊ด

อ้างจาก: มะม่วงเปรี้ยว เมื่อ 20:42 น.  11 ก.ค 53
พี่แอ๊ดคะ โรงแรมรถไฟสงขลาในอดีตนี่ผ่านมาประมาณกี่ปีแล้วคะ 
คงต้องรอให้ อ.หม่องวินฯ  หรือท่านอื่นตอบดีกว่า
แต่ในหนังสือแม่เล่าให้ฟัง   ซึ่งเขียนโดย  พระพี่นาง   เล่าว่า
หม่อมสังวาลย์ (พระราชชนนี)  พักโรงแรมรถไฟสงขลาเมื่อปี 
พ.ศ.2461

หม่องวิน มอไซ

ดีใจมากครับที่พี่แอ๊ดช่วยย้อนรอยโรงแรมรถไฟสงขลามาให้ชมกันครับ  :o
ข้อมูลเก่าเกี่ยวกับโรงแรมรถไฟสงขลาที่ผมค้นคว้ามาได้
ตามกระทู้นี้ครับ
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3727

รออ่านต่อนะครับพี่แอ๊ด

คนเขารูปช้าง

ผมก็ดีใจมากเช่นเดียวกับ อจ.หม่องฯ ที่พี่แอ็ดช่วยย้อนรอยโรงแรมรถไฟสงขลามาให้ชมกัน ผมเข้าไปอ่านในลิงค์ ที่ อจ.หม่องฯทำไว้ให้
แล้วติดใจอยู่เล็กน้อยในภาพที่คุณ ยุคนธร รัตรสาร ได้มอบให้พี่เอนก นาวิกมูล นำมาลงในสมุดภาพฯ นักฟุตบอลนั่งถ่ายหน้าประตู ฉากหลังเป็น
โรงแรมรถไฟสงขลา และมีอักษรสีฟ้าบอกว่าถ่ายใน โรงเรียนมหาฯ(2482) ผมคิดว่าถ่ายที่สนามหญ้าหลังหอสมุดประชาชนสงขลา
ขอนำภาพที่ตัดส่วนจากภาพทางอากาศปี 2517 ของกรมแผนที่ทหารฯ มาให้ชมกันครับ
  กรอบสีส้มคือโรงแรมรฟ.
  กรอบสีม่วงคืออาคารเก่าชั้นเดียวยกพื้นสูงของรร.อนุบาลสงขลาที่ผมเคยเรียนในหลังนี้
 
  ลูกศรสีเหลืองคือที่คิดว่าเป็นมุมถ่ายภาพจากคุณ ยุคันธร รัตรสาร

จอมยุทธร้อยลี้

เสียดายจังเลยนะครับ  อยากให้มีอยู่ทุกวันนี้  คนรุ่นหลัง  จะได้ทราบถึงความเป็นมา  และวิถีคนในอดีต  อยากให้กราศิลปากรเข้ามาดูแลจังเลยครับ  เพราะทุกวันนี้ผมเห็นแล้วเสีดายตัวอาคารสถานีมากเลยครับ  มีความเสื่อมโทรมโดยฝีมือมนุษย์มากมาย ดูแล้วเศร้าใจครับ

Singoraman

ตอนเรียนหนังสือที่ รร.มหาฯ บางวันเดินผ่านอาคารโรงแรมรถไฟ ดูเหมือนประมาณ ปี ๑๖-๑๗
เป็นตำแหน่งที่ คนเขารูปช้างบอก และจากภาพถ่ายทางอากาศเห็นแนวต้นสน ก็จำได้ว่าเคยเดินใต้ร่มเงา
ของต้นสนแนวนี้
ขอบคุณ "พี่แอ๊ด" ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมล้วนแต่สำคัญและมีคุณค่าต่อบ้านเมืองทั้งสิ้น

กิมหยง

เหอๆๆๆ ลักหยบไปกันแต่สวน

พอดีวันเสาร์ภาระกิจมากมายครับ
วันอาทิตย์ก็เป็นสารภีให้คณะญาติมาจาก บางกอก ครับ

เสียดายจังไม่ได้ไปด้วย
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

ต้องขอบคุณ  คุณกิตติ   จิระนคร   ทายาทขุนนิพัทธ์ฯ 
ซึ่งท่านเปรียบเสมือนคลังข้อมูลประวัติศาสตร์เมือง
หาดใหญ่และสงขลา    น่าเสียดายที่รูปถ่ายซึ่งเป็นภาพ
ประวัติศาสตร์ของหาดใหญ่สงขลา นั้น   นักข่าวบางท่าน
หรือเจ้าหน้าที่ศิลปากรบางท่าน   นำไปศึกษาแล้วก็เงียบ
หายไปพร้อมภาพเหล่านั้น
มีภาพหนึ่งเห็นแล้วนึกว่าเป็นประเทศจีน   แต่มีอักษร
ภาษาไทยเป็นคำอวยพร   และเขียนป้ายว่า  วชิรา - นารี

เขยบ่อยาง

แม่ยายเคยเล่าตอนสงครามเลิกใหม่ๆบริเวณข้างๆวิกคิงส์ยังมีโกดังเก็บข้าวของเสบียงและเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่นอยู่เต็มโกดัง คนที่ญี่ปุ่นมอบหมายให้ดูแลคือเจ้าของร้านวัสดุก่อสร้างรายใหญ่ของสงขลา พอญี่ปุ่นแพ้สงคราม"ส้มหล่น"แกรับเละจนถึงทุกวันนี้
อีกรายเป็นตัวแทนจำหน่ายแก๊สรายใหญ่ สมัยสงครามมีหน้าที่จัดหาเสบียงให้ทหารญี่ปุ่นจำพวกน้ำปลา,ซีอิ๊ว,เกลือฯลฯ พอสงครามเลิกก็รวยเละจนถึงทุกวันนี้เช่นกัน

พี่แอ๊ด

ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณกิตติ  จิระนคร   ว่าในอดีตนั้นนักฟุตบอล
โดยเฉพาะนักเรียนมหาวชิราวุธสงขลา  มักจะมาเล่นบอลกันที่
หน้าสถานีรถไฟสงขลา     ซึ่งเป็นลานกว้างตามแนวยาว   ลักษณะ
เดียวกันกับสนามฟุตบอล   หน้าสถานีรถไฟหาดใหญ่    อยู่ตรงข้าม
กับโรงแรมรถไฟสงขลา    ต่อมาขุนนิพัทธ์ฯ  สร้างเป็นตึกสมาคม
คณะรัฐธรรมนูญ  (ต่อมาเป็นห้องสมุด)
ปัจจุบันบริเวณสนามฟุตบอลในอดีต ก็คือ  ตลาดนัดหน้าสถานีรถไฟ
สงขลา    ภาพแรกขวามือเป็นสนามฟุตบอล

คนเขารูปช้าง

ขอบคุณครับพี่แอ๊ด ที่นำคำบอกเล่าจากท่านผู้อาวุโส คุณกิตติ จิระนคร มาเล่าให้ฟังกัน
ที่ท่านเล่าว่านักฟุตบอลของมหาวชิราวุธ มักจะมาเล่นบอลกันที่หลังสถานีรถไฟสงขลา   ซึ่งเป็นลานกว้างตามแนวยาว   ลักษณะ
เดียวกันกับสนามฟุตบอลนั้นตรงกับที่ผมคิดไว้ครับ (ขอนำภาพจากคุณ ยุคันธร รัตรสารที่พี่เอนก นาวิกมูล นำลงไว้ในสมุดภาพของท่าน
และ อจ. หม่องฯ เคยลงไว้ในรถไฟไทยดอทคอมมาประกอบในตอนท้าย) ที่ท่านเล่าตรงกับผมคิดไว้ครับ ว่าภาพนี้ถ่ายที่สนามหลังสถานี
รถไฟสงขลาตรงข้ามโรงแรมรถไฟสงขลา ไม่ใช่ถ่ายที่โรงเรียนมหาฯ ตามคำบรรยายหลังภาพของคุณ ยุคันธร รัตรสาร ครับ

สมิหลา92

ผมกำลังหาภาพการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างโรงเรียนการช่างสงขลกับโรงเรียนสงเคราะประชา(หยุดกิจการแล้ว)เป็นโรงเรียนเอกชนอยู่ถนนรามมัญ ครั้งสุดท้ายก่อนย้ายไปอยู่คอหงส์สองโรงเรียนมีประเพณีทีใด้ชาวบ่อยางได้เฮฮาไม่แพ้ชนะมีมิตรภาพกันแข่งสนามหลังสถานีรถไฟ ฟุตบอลแข่งไปยิงคนละกี่ประตูกองเชียรทั้งสองโรงเรียนเดินร้อเพลงกันรอบสนามพอฟุตบอลแข่งกันเสร็จ โรงเรียนเป็นไหนเจ้าภาพเดินไปทานโอเลี้ยงกันสนุกมาก  และกิฬาฟตุบอลที่เป็นตำนาน และโรงเรียนหนึ่งคือโงเรียนมหาวิชราวุธกับโรงเรียนวชิรานุกุลสองโรงเรียนก็สนุกมากตอนหลังมีเรื่องกันคือกิฬาแแพ้คนไม่แพ้เป็นเรื่องเลยยกเลิก แม้น่าเสียดายจริง รู้สึว่าผมพบภาพกองเชียรที่หน้าโรงเรียนการช่างกำลังตั้งขบวนเดินทางถนนวิเชียนชม ผ่านหน้าพิพิธภัณฑ์ตอนยังไม่เป็นพิพิธภัณฑ์เลยยังมีอาคารพานิชย์อยู่ตั้งแต่ปลายถนนรองเมืองมาจดที่สี่แยกองศ์การโทรศัพท์และอีกภาพหน้าตลาดทรัพย์สิน ยังอาคารพานิชย์อยู่ตอนนี้ตรงหัวมุนร้านทองห้างลี8 รู้สึกว่ามีตึกธนาคารมณฑลปัจจุบันถูกรื้อทิ้งเสียแล้วข้างธนาคารกสิกร สาขาถนนวิเชียรชมถ้าผิดพลาดขออภัยด้วยครับ

เขยบ่อยาง

เพื่อนรุ่นพี่เรียนรร.สงเคราะห์รุ่นเลิกกิจการ(ครูให้สอบได้ยกชั้น)เจออีกทีเป็นผู้กำกับหนังซะแล้ว แต่เห็นทำอยู่เรื่องเดียวแล้วก็หายจ้อยไปอีกจนทุกวันนี้ เหลือแต่น้องชายชื่อ"ปื๊ด"ที่ยังทำหนังอยู่

สนใจน่ะ

ศิษย์เก่าอนุบาลสงขลา รุ่น คุณครู บุญถนอม เขมะศิริ  เป็นคุณครูใหญ่  สมัยนั้น...
ด้านข้าง ร.ร. ในสมัยนั้น  ที่เป็นศูนย์ศึกษานอกโรงเรียน  สมัยนั้นเป้นที่โล่งเเละกว้างมาก
เป็นตลาดนัดอาทิตย์  มีวงดนตรีลูกทุ่งดังๆ มาเเสดง  มีหนังเเอ๊ด เทวดา มาด้วย มีคนไปยืนหมุนพลองไฟ
บนขอบด้านบนจอหนัง

เเนวต้นสนด้านหลังสถานีรถไฟที่สวยงาม  เฮ้อ..เสียดาย


ในยุคนั้น ที่ดังที่สุดคือข่าว  ลมพายุฝนพัดถล่ม ต้นสนเเนวรั้วโรงเรียนอนุบาล  ล้มฟาดเด็ก นร.หญิง
ตายคาที่ 1 คน

เชื่อรึเปล่าว่า  ในวันนั้น.. ผมวิ่งออกมาทางผั่งประตูโรงเรียน  เเต่เธอวิ่งไปชั้นเรียนฝั่งเสาธง
จะๆ สายตามาก

ความทรงจ่าเยอะมากมาย เเต่เสียดาย เขียนไม่เก่ง

ZK

บ้านเราเติบโตทางวัตถุโดยไร้แบบแผน
ขาดการวางผังเมืองที่ดีมานานมากแล้ว
และมองไม่เห็นคุณค่าสิ่งที่มีมาแต่เดิม

วันนี้สายไปไหม ตอบคือสายไปแล้วครับ
ที่จะรื้อฟื้นสิ่งเหล่านี้ แม้แต่ภาพถ่ายก็หาดูได้ยากยิ่ง

สงขลาต้องมาทำผังเมืองใหม่ และจริงจังจริงใจที่ทำมันด้วย
บังคับใช้กฏหมายลงโทษอย่างจริงจังด้วย
ที่ดินรถไฟถูกบุกรุกไปหมดไม่มีใครสนใจ.......
มันมีเหตุจึงมีผล แก้ต้องไปแก้ที่ต้นเหตุครับ

วันก่อนดูรายการในช่อง Thaipbs เรื่องรถไฟในนอร์เวเชื่อมกับสวีเดน
ดูแล้วเข้าใจเลยว่าเขาจัดการอย่างไร อนุรักษ์รถไฟไอน้ำอย่างไร
คนของเขามีคุณภาพกว่าจริงๆ
เคยอ่าน(ใช้ดูจะดีกว่า..)วารสารรถไฟของญี่ปุ่น
รถไฟของเขามีทุกรูปแบบ ทุกขนาดราง เชื่อมต่อกันหมด
มีตั้งแต่รถไฟในชนบท ไปจนถึงในเมือง ดูแล้ว....
มาดูบ้านเรา เริ่มมีรถไฟไล่เลี่ยกับญี่ปุ่น แต่ไงปัจจุบันต่างกับญี่ปุ่น
ราวฟ้ากับเหว.....

มีคนอยากให้มีรถไฟสงขลา-หาดใหญ่อีกครั้ง
ผมบอกได้เลยว่าโอกาสมีน้อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ที่ต้องทำเร่งด่วนเลยคือ ปฏิรูประบบรถเมล์ใหม่
ต้องมีรถเมล์วิ่งเชื่อมต่อกันในเมืองทั้งสองเมืองให้ได้
เอาแค่มีรถเมล์เป็นระบบในเมืองก่อน
ยกเลิกรถสองแถวและตุ๊กๆ หรือไม่ก็ให้ไปวิ่งเป็นคิวในถนนสายรองๆลงไป
คล้ายๆของกรุงเทพฯครับ