ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แผนที่เก่าเมืองสงขลาสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

เริ่มโดย Big MaHad, 20:23 น. 11 ก.ย 55

Big MaHad

เป็นภาพแผ่นที่เก่าที่มีการค้นพบในวังหลวง จำนวนหลายฉบับ หนึ่งในนัน้มีแผนที่ที่แสดงบริเวณคาบสมุทรมลายู และระบุตำแหน่งเมืองสงขลาเอาไว้ มีการตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อRoyal Siamese Map, War and Trade in nineteenth century Thailand
ผมสแกนมา และcrop มาแต่เมืองสงขลา

จะเห็นว่าในแผนที่นี้ระบุเมืองสงขลาว่าตั้งอยู่บริเวณเมืองเก่าแหลมสน และที่ฝั่งบ่อยางไม่ได้ลงรายละเอียดการเป็นเมืองอะไรไว้เลย ดังนั้นแผนที่นี้ก็น่าจะอยู่ในช่วงก่อนย้ายเมืองมาฝั่งบ่อยางในสมัยรัชกาลที่ 3 นั่นเอง
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

เปรียบเทียบตำแหน่งเมืองเก่าสงขลาฝั่งแหลมสน จากแผนที่ทั้งสอง
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Singoraman

ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน
ผมเห็น "คลองควนโส"
            "เกาะใหญ่" อุดมสมบูรณ์มาก
อื่น ๆ คงต้องรอท่านอื่นมาร่วมอ่านครับ

Big MaHad

ข้างบนก็ระบุตำแหน่ง ปากระโนด (สะกดเป็น ปากร่โนท) ปากนางเรียมด้วครับ ปากน้ำเมืองส่งขลา ปากในที่นี้ก็น่าจะหมายถึง ปากคลอง ปากแม่น้ำ

นอกจากเรื่องภูมิประเทศแล้ว เรายังรู้ถึงลักษณะการเขียนแบบอาลักษณ์ในสมัยก่อนเช่น คำว่าปาก เขียนคล้ายกับ บ์าก หรือ ท์ก โดยเชื่อม ป กับ สระ า เข้าด้วยกันจนดูแล้วเหมือน ท.ทหาร ส่วนหาง ปง ปลา นัน้เขียนแยกออกมาอีกทีคล้ายการันต์ ครับ

สถายที่อื่นๆที่ระบุในนี้คือ
คลองลำปำ คลองควญโส บ้านควญโส คลองจะนะ(จ่ณะ) บ้านจ่ณะ(จะนะ)
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

แถมอีกอัน แผนที่เก่าของฝรั่งตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ค.ศ. 1856 Cropมาเฉพาะส่วนเมืองสงขลา จะเห็นว่าในแผนที่นี้ สะกดชื่อเมืองสงขลาเป็น "Sungora" (ซุงกอร่า?) ซึ่งผมมองว่าออกเสียงใกล้เคียงกับสงขลามาก

ที่น่าสังเกตคือในสมัยนั้น คาบสมุทรสทิงพระยังไม่เชื่อมกับแผ่นดินใหญ่ โดยฝรั่งในสมัยนัน้เรียกว่า แทนทาเลม Tantalem และในแผนที่ยังได้ระบุตำแหน่งเมืองแหลมสน เอาไว้ด้วยครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หม่องวิน มอไซ

แผนที่ฉบับแรก ภาพสี เห็น"ปากนางเรียม" ด้วยครับ ซึ่งก็คือ คลองนางเรียม เชื่อมทะเลน้อยกับทะเลสาบสงขลาในปัจจุบัน
แสดงว่าในอดีต คลองนางเรียม กว้างใหญ่มาก ต่างจากปัจจุบันที่ตื้นเขิน

ส่วนแผนที่ขาวดำ ซึ่งตีพิมพ์ในสมัย ร.๔ สังเกตว่าสมัยนั้นลักษณะภูเขาจะเขียนเป็น"ลายขวานสับ" หรือ hachure
น่าสังเกตว่า บริเวณคาบสมุทรสทิงพระในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเกาะ (ชื่อ Tantalem) และมีเนินสูงหรือภูเขากลางเกาะด้วยครับ
ต่างจากปัจจุบันที่บริเวณคาบสมุทรส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ขณะที่เนินสูงหรือภูเขาจะอยู่ทางด้านตะวันตกของคาบสมุทรสทิงพระ แถว ๆ เกาะใหญ่เท่านั้น

ด้านเหนือของเกาะ Tantalem เป็นช่องเปิด น่าจะเป็นปากระวะในปัจจุบันนะครับ


Singoraman

ยืนยัน อ.หม่องวิน ว่าคลองนางเรียมใหญ่มาก ใหญ่จริง ในระดับเรือใบ ๒ เสาแล่นได้  เพราะเคยมีการขุดพบซากเรือขนาดยาวประมาณ 20-25 เมตร ที่ทุ่งบัว เกาะใหญ่ และละแวกใกล้เคียงอยู่เนือง ๆ รอบทะเลสาบสงขลา
นอกจากนั้นภาพวาดในสมุดกัลปนาวัดฯ ที่ ศ.สุธิวงศ์ เคยใช้เป็นเอกสารงานวิจัยเรื่องพุทธศาสนารอบลุ่มทะเลสาบสงขลา ก็ระบุว่าในคลองนางเรียมอุดมไปด้วยจระเข้  ปลา แม่กุ้ง  จนเกิดคำเปรียบเทียบว่า "หัวกุ้งในคลองนางเรียมเอามาทำเทริดโนราได้" อาจจะฟังแล้วเกินไปสักหีด แต่มันสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของคลองนางเรียมได้

Big MaHad

ผมสงสัยมานานแล้วครับ Tantalem นี้เป็นชื่อที่ฝรั่งมาตั้งแล้วก้เรียกกันเองใช่ไหมครับ เพราะฟังดุไม่เป็นภาษาไทยเลย  แล้วคนท้องถิ่นยุคนัน้ จะเรียกเกาะที่ต่อมาเป็นคาบสมุทรสทิงพระนี้ว่าอย่างไรกัน มีบันทึกที่ไหนไว้มั่งครับนี่
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หม่องวิน มอไซ

ยังค้นไม่เจอเลยครับ ชื่อเกาะที่กลายมาเป็นคาบสมุทรสทิงพระในปัจจุบัน  ส.อ่านหลังสือ

ศศิธร ธรรมปาโล

    รู้สึกดีใจจังที่คนสงขลา รักและสนใจประวัติศาสตร์   และขอขอบคุณมากค่ะสำหรับภาพแผนที่  ภาพเมืองเก่า  พวกเราจะนำไปประกอบการค้นคว้าเรื่องตลาดทรัพย์สิน    หากผู้ใหญ่ท่านใดมีภาพ หรือเรื่องเล่าจากตลาดทรัพย์สินมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

                                                                   จากคณะยุววิจัยวรนารีเฉลิม

คนชาย

คงจะมีประโยชน์แค่เล็กน้อยเกี่ยวการเรียก แนวสันทรายที่มีสถาพเป็นเกาะ  ^^
http://www.yellojelly.net/slbproject2555/images/report/inceptionreport.pdf


หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับคุณคนชายสำหรับข้อมูลความรู้ครับ  ส.ยกน้ิวให้