ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทำไมโรงแรม/ร้านอาหารในหาดใหญ่ไม่ให้เซอร์วิจซาร์จกับพนักงาน

เริ่มโดย ผู้ใช้แรงงาน, 11:13 น. 14 ก.ย 55

ผู้ใช้แรงงาน

โรงแรมหรือร้านอาหารจะคิดค่าบริการ หรือ service charge เพิ่มจากลูกค้า 10% จากยอดบิลเรียกเก็บ ในขณะที่ผู้ใช้แรงงานอย่างพนักงานโรงแรมหรือภัตตาคาร ร้านอาหารต่าง ๆ ในหาดใหญ่ ไม่มีส่วนได้เสียในเซอร์วิสชาร์จนั้นเลย เวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการในร้านอาหารหรือภัตตาคาร หรือในโรงแรมก็ตามต่างเข้าใจว่าพนักงานได้ค่าบริการ service charge นี้แล้ว แต่ที่จริงแล้วพนักงานจะไม่ได้เลย อาศัยแต่เงินเดือนหรือถ้ามีลูกค้าที่เขาทราบก็จะให้ทิปแก่พนักงานบริการ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วถือว่าเจ้าของกิจการเอาเปรียบแก่ผู้ใช้แรงงานหรือไม่ เพราะไม่มีโรงแรมหรือร้านค้า ภัตตาคารไหนในหาดใหญ่ที่ให้เซอร์วิสชาร์จกับพนักงาน เพราะเคยมีลูกค้าที่มาจาก กรุงเทพฯ หรือภูเก็ต ถามว่าได้เซอร์วิสชาร์จมั้ย พอบอกว่าไม่ได้เขาก็งง

กระเทยไทย

จะว่าไปลูกค้าไม่น่าจะงงนะคะ เพราะหากมี Surcharge ส่วนใหญ่จะมีป้ายแจ้งหรือระบุไว้ชัดเจนในใบเสร็จรับเงิน แล้วถ้าถามว่าเอาเปรียบผู้ใช้แรงงานหรือไม่ คงต้องตอบว่าไม่นะคะ ปกติการจะยกรายได้ส่วน Surcharge ให้พนักงานนั้น เงินเดือนของพนักงานจะถูกมาก ถ้าตามนี้แล้วคุณจะรับไหวหรือเปล่า ส่วนบางกิจการก็แล้วแต่ตกลงเช่นกล่องทิป ทิปแยก ทิปรวม อะไรประมาณนี้ การเก็บค่า Surcharge จริงๆเป็นการผลักภาระค่าแรงบริการไปให้กับผู้บริโภคซะมากกว่า บริการดีแค่ไหนไม่รู้ถึงเวลามี Surcharge ย่อมไม่เกิดความประทับใจแน่นอน

นกฮูกตาโต

เซอร์วิส-ชาร์ท เป็นการเรียกเก็บเงินเข้าโรงแรม หรือร้านค้าครับ ไม่ใช่สำหรับพนักงาน
เจ้าของกระทู้น่าจะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นค่าบริการของพนักงาน
ส่วนถ้าลูกค้าพึงพอใจ แล้วจ่ายเงินให้พนักงาน เขาเรียกว่า ทิป ครับ ไม่ใช่เซอร์วิส-ชาร์ท
ส่วนทางกิจการจะแบ่งให้พนักงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นๆ ดังนั้นควรสอบถามก่อนเข้าทำงาน ว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

ส่วนที่ว่าพอใจไม่พอใจนั้น ถ้าในต่างประเทศ เซอร์วิสชาร์ทมันเป็นเรื่องปกติ สำหรับคนไทยอาจจะไม่ชิน ส่วนใหญ่โรงแรมใหญ่ๆหรือร้านอาหารหรูๆจะมีค่าบริการตรงนี้ ถ้าจะใช้บริการก็ควรที่จะเรียนรู้และเข้าใจมัน


กินเที่ยว

Life Style
วันที่ 29 มีนาคม 2555 07:00"เซอร์วิส ชาร์จ" บาทเดียวก็ต้องรู้
โดย : ปานใจ ปิ่นจินดา
จากนโยบายขึ้นค่าแรงของนายกฯ ปู สู่ประเด็น "เซอร์วิส ชาร์จ" เจ้าปัญหา ว่านับรวมเป็นค่าจ้างได้หรือไม่ ขณะที่ผู้รู้ช่วยตีความกันใหญ่ แต่ไม่เห็นมีใครสนใจถามลูกค้าตาดำๆ ในฐานะ "เจ้าของเงิน" ว่าคิดเห็นอย่างไรนับถอยหลังสู่วันเตรียมเฮของคุณลูกจ้างทั้งหลาย เพราะ 1 เมษายน 2555 นี้ นโยบายเอาใจรากหญ้า "ค่าแรง 300" กำลังจะถูกบังคับใช้ โดยเฉพาะพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี และภูเก็ต ซึ่งจะได้ปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท

ฟังดูเหมือนจะดี ได้ขึ้นเงินค่าแรง ใครจะไม่ชอบ...

แต่ช้าก่อน! อย่าเพิ่งด่วนดีใจไป เพราะถึงอย่างไร นายจ้างที่รัก คงไม่ยอมควักกระเป๋าจ่ายออกมาง่ายๆ อย่างแน่นอน

•นายจ้างขอเหมา
ยิ่งเข้าใกล้เส้นตายการขึ้นค่าแรงมากเท่าไหร่ ก็ดูเหมือนบรรดานายจ้างจะยิ่งขยับปาก ง้างเอาเหตุผลสารพัดเพื่อจะคงรายจ่ายไม่ให้บานปลาย แต่ไม่ว่าจะยกเหตุผลอะไรมาอ้าง ฯพณฯนายจ้าง ต่างก็หวังผลอยู่เรื่องเดียว คือ "ไม่ขอจ่ายเพิ่ม"

หนำซ้ำยังมีข้อต่อรองล่าสุด ที่ออกมาจากผู้ประกอบการโรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งยื่นข้อเสนอ ขอนับรวมเอา "เซอร์วิส ชาร์จ" เข้ากับ "ค่าจ้าง" โดยให้เหตุผลว่า (ถ้านับรวมกัน) โดยปกติพนักงานได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว

สมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) ซึ่งจัดเสวนา "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" ไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ก็ได้ยื่นข้อเสนอไปยังหน่วยงานรัฐ ขอให้ผู้ประกอบการสามารถนำเงินเซอร์วิสชาร์จ มารวมเป็นค่าจ้างได้ด้วย

แน่นอนว่า เหตุผลที่ยกขึ้นสนับสนุนย่อมหนีไม่พ้นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น โดยระบุว่าการขึ้นค่าแรงจะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลางและเล็ก ที่อาจประสบปัญหาต้องลดพนักงาน หรืออาจต้องมีการขายทอดกิจการ เนื่องจากไม่สามารถรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้

แทบไม่ต่างกันกับแนวข้อเสนอจาก สมาคมภัตตาคารไทย โดย ฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย ที่เห็นด้วยกับแนวคิดรวมเซอร์วิส ชาร์จกับค่าแรงขั้นต่ำ เพราะฐานเงินเดือนของพนักงานร้านอาหารทั่วไป เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 7,500-9,000 บาท หากรวมเซอร์วิส ชาร์จและสวัสดิการต่างๆ จะเกินกว่าขั้นต่ำอย่างไม่ต้องสงสัย

โต้โผใหญ่อย่าง สมาคมโรงแรมไทย ก็ได้ยกเอาการตีความของ สำนักงานประกันสังคม ซึ่งเคยระบุว่า "ค่าจ้าง" คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อบริษัทเก็บเซอร์วิส ชาร์จจากลูกค้า ก็ถือเป็นรายได้เข้าบริษัท และเมื่อบริษัทนำไปจ่ายให้กับลูกจ้าง "ถือเป็นค่าจ้าง" เช่นกัน

ไม่ทันไร หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเหมือนกันอย่าง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดย วินัย ลู่วิโรจน์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ก็สวนออกมาในวันเดียวกันว่า ต้องยึดแนวทางการตีความของศาลฎีกาปี 2550 ที่ระบุว่า "เซอร์วิสชาร์จ" เป็นรายได้ที่มาจากลูกค้า เมื่อมีการเรียกเก็บแล้ว โรงแรมจะแบ่งเก็บไว้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือแบ่งเฉลี่ยให้พนักงาน ดังนั้น ถือว่าเงินส่วนนี้ "ไม่เข้านิยามของค่าจ้าง"

เรื่องก็เลยโอละพ่อ เพราะแม้กระทั่งหน่วยงานรัฐที่ทำงานด้านแรงงานยังตีความเจตนาของเงินเซอร์วิส ชาร์จออกไปคนละทาง แล้วคุณลูกค้าเข้าใจใน "เซอร์วิส ชาร์จ" มากน้อยแค่ไหน?

•ภาพเบลอๆ ของ เซอร์วิส ชาร์จ
นันทนา อุตมเพทาย อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่งที่เดินเข้าออกร้านอาหารชั้นนำเป็นประจำ เริ่มต้นตอบคำถามแรก "ให้ความสำคัญกับเซอร์วิส ชาร์จ มากน้อยแค่ไหน?" ว่า
"ปกติเวลาดูใบเสร็จ ก็จะดูแค่ว่า ทางร้านคิดค่าบริการแล้วหรือยัง ถ้าคิดแล้วก็จะได้ไม่ต้องจ่ายทิปเพิ่ม" นั่นคือ หลักการเบสิคของคำว่า "เซอร์วิส ชาร์จ" ในมุมมองของผู้บริโภคอย่างเธอ

โดยตัวเธอไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับให้จ่ายเงินเพิ่มโดยมาตรฐานคือ 10 เปอร์เซ็นต์ให้กับการบริการ เพราะ "ใครๆ ก็จ่าย" โดยมองว่า เงินก้อนนี้มีความสัมพันธ์กับการบริการ ถ้าเดินเข้าไปในร้านที่ไม่ใช่ประเภทให้บริการตัวเอง นั่นก็สมเหตุสมผลกับการที่ทางร้านจะต้องเก็บเงินในส่วนนี้แยกออกมาต่างหาก

และที่สำคัญคือ ไม่ได้เห็นว่าจะเป็นเรื่องสำคัญอะไรสำหรับผู้บริโภคอย่างเธอ หากทางร้านจะนำเงินค่าบริการที่จ่ายไปนับรวมเข้ากับเงินค่าจ้าง เพื่อให้ยอดเงินสูงถึงเส้นที่รัฐบาลกำหนด

"ตราบใดที่ร้านอาหารไม่ได้คิดเงินเราเพิ่ม โดยส่วนตัวแล้วไม่สนใจว่าเงินที่จ่ายไปจะถูกส่งต่อไปที่ไหน อย่างไร และก็เห็นว่า เราทำหน้าที่ในส่วนของผู้บริโภคแล้ว ถ้าพนักงานเห็นว่า เรื่องนี้ไม่ยุติธรรม ก็เป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้อง เอาตามตรงก็คือ เราไม่ได้มีหน้าที่ไปนั่งรักษาสิทธิให้คนอื่น" คือ เหตุผลที่ตรงไปตรงมา จากอาจารย์สาว

แทบไม่ต่างกันกับความเห็นของ บุตรี สุขปรเมษฐ พนักงานประจำบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งเธอและเดอะแก็งค์ชื่นชอบในการตระเวนหาอาหารอร่อยๆ ทาน โดยเฉพาะร้านแบรนด์ดังทั้งหลาย เธอมักเก็บไว้เป็นตัวเลือกเสมอ

นอกจากความน่าสนใจของตัวร้านแล้ว เรื่องของ "ราคา" คือองค์ประกอบสำคัญที่เธอและเพื่อนๆ ต้องคิดคำนวณอย่างละเอียด โดยเฉพาะตัวเลขในวงเล็บอย่าง เซอร์วิส ชาร์จ ที่จะลืมไปไม่ได้เด็ดขาด

"คิดว่า เซอร์วิส ชาร์จ คือค่าบริการของพนักงานในร้าน แล้วก็คิดว่าคงเป็นค่าสถานที่ ค่าทำความสะอาด ล้างจาน เช็ดโต๊ะอะไรประมาณนี้ คือถ้าร้านไหนมีค่าเซอร์วิสชาร์จแล้ว ก็จะไม่หยอดทิป แบบว่าเสียค่าเซอร์วิสไปแล้ว ทำไมต้องให้ทิปด้วย" คือ อีกหนึ่งความสำคัญของเงินเจ้าปัญหาในมุมมองของบุตรี

ส่วนเรื่องที่ว่าเงินก้อนนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ใครนั้น เธอบอกว่า "คิดว่าพนักงานไม่น่าจะได้ประโยชน์โดยตรงหรอก เขา(ทางร้าน)คงเอาไปใช้ทำอย่างอื่น หรือไม่ก็คงเอาไปเป็นค่าคอมมิชชั่นให้พนักงาน"

ตรงกันข้ามกับ "น้ำอุ่น" สาวพนักงานบริษัทเอกชน ที่มักจะชักชวนสามีสรรหาร้านอร่อยทานอยู่เสมอ ตามความเข้าใจของเธอ ในเมื่อเซอร์วิส ชาร์จ ถือเป็นค่าคอมมิชชั่นให้กับพนักงาน  เพราะฉะนั้นนายจ้างย่อมไม่มีสิทธิเอาเงินเซอร์วิส ชาร์จที่ลูกค้าจ่ายไปนับรวมกับการจ่ายค่าจ้าง

"เซอร์วิส ชาร์จ ควรจะเป็นค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายต่างหากให้กับพนักงาน ไม่ควรเอามารวมกับค่าจ้าง เพราะไม่ใช่เงินของนายจ้าง" นั่นคือมุมมองของเธอ

•มากกว่า เซอร์วิสชาร์จ
ในความเห็นของผู้บริโภค อาจมองภาพเซอร์วิสชาร์จได้ในมุมที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง แต่ถ้าไปถามความเห็นของคนที่เคยต้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับเงินก้อนนี้ อย่าง วิชัย มาตกุล (อดีต)เจ้าหน้าที่โรงแรมที่ปัจจุบันหันมาเอาดีเรื่องงานเขียนหนังสือ โดยมีผลงาน "สิ่งมีชีวิตในโรงแรม" และ "กรุณาอย่ารบกวน" ให้ความเห็นผ่านการตั้งคำถามกลับว่า "ถ้าจะเอาเซอร์วิสชาร์ตไปรวมกับค่าจ้างประจำ อย่างเงินเดือน แล้วเวลาหักภาษี ประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะคิดอย่างไร"

นั่นอาจเป็นปัญหาทางเทคนิค แต่ประเด็นที่วิชัย น่าจะต้องการชี้ไปมากกว่า คือ ในเมื่อเงินเดือนคือเงินตายตัว ส่วนเซอร์วิสชาร์จ คือ เงินที่ขึ้นลงได้เสมอ แล้วจะเอาอะไรมาการันตีรายได้ขั้นต่ำได้

ถึงแม้ตอนทำงาน วิชัย ตลอดจนคนโรงแรมโดยทั่วไปจะแทบไม่ได้สนใจเงินเดือนเลยด้วยซ้ำ เพราะเงินเดือนเป็นเหมือนค่าขนม ส่วนรายได้หลักจะมาจากเซอร์วิสชาร์จมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่เห็นด้วยถ้าจะเอามารวมกัน

พร้อมกับยังได้เล่าถึงความสำคัญของเงินก้อนดังกล่าวในมุมของพนักงานโรงแรมว่า ไม่ได้เป็นแค่ตัวเลขชี้วัดรายรับในแต่ละเดือนเพียงเท่านั้น เพราะเซอร์วิส ชาร์จ ยังมีเอาไว้เกทับกันระหว่างพนักงานของแต่ละโรงแรมอีกด้วย!

"โรงแรมไหน เซอร์วิสชาร์จดีกว่า พนักงานก็เอาไว้อวดคนอื่น"

ไม่ต่างกันกับพนักงานอีกรายที่คร่ำหวอดอยู่ในแวดวงการโรงแรมมาหลายสิบปี โดยปัจจุบันเป็นผู้บริหารในโรงแรมห้าดาวแห่งหนึ่ง ก็เล่าให้ฟังถึงเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ เงินพิเศษ ก้อนโตเหล่านี้ว่า โดยทั่วไปเซอร์วิสชาร์จ หมายถึง เงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวมทุกอย่างของโรงแรม ซึ่งจะนำมาแบ่งให้กับพนักงานทุกคนเท่ากันหมด แต่ไม่ได้หมายความจะให้ทั้งหมด เพราะหลายโรงแรมจะหักเงินจำนวนหนึ่งไว้ บ้างก็บอกว่า หักไว้เป็นค่าแตกหักเสียหาย เป็นต้น

โดยลักษณะของการเงินเซอร์วิสชาร์จ มีทั้งขึ้นลงตามรายได้ของโรงแรม และ การันตีขั้นต่ำ ซึ่งกรณีหลัง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมเปิดใหม่ ที่ต้องการจูงใจให้พนักงานเก่งๆ เข้ามาทำงานด้วย

ส่วนเรื่องของ "ทิป" นั้นถือว่า โรงแรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยจะขึ้นอยู่กับการตกลงของพนักงานเอง เป็นไปได้ทั้งการกองรวมกันและหารทั้งหมด จนถึงการแยกประเภท เช่น ทิปที่ได้จากเงินทอนในถาด หรือ "ทิปถาด" จะนำมารวมกันแล้วหารเท่า ส่วน "ทิปมือ" หรือที่แขกจงใจให้กับพนักงานคนนั้นๆ กับมือ ก็จะไม่นำมารวมกัน แต่ในบางที่ก็บังคับว่าต้องรวมกันทั้งหมด เป็นต้น

...นั่นคืออีกมุมของ เซอร์วิส ชาร์จ

และหากลองนึกถึง ข้อกฎหมาย ที่ต่างฝ่ายต่างยกมาอ้างอิงกันข้างต้นให้วุ่นวายแล้ว น่าจะถึงเวลาที่เราควรจะกลับมานั่ง นิยาม ความหมายของเซอร์วิสชาร์จกันอีกรอบไหมว่า จริงๆ แล้ว นี่คือเงินที่ได้จากอะไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ในทางกลับกัน นั่นน่าจะกลายเป็นคำถามที่อาจจะคาใจผู้บริโภค (หลายๆ คน) ที่ต้องกลายเป็นคนจ่ายเงินส่วนนี้ เพื่อถูกไปการันตีเป็นฐานเงินเดือนต่อ หรือเปล่า

Tags : เซอร์วิส ชาร์จ

gangnam guy

-:- ว่าด้วยเรื่องโรงแรม 17 -:- ตอน ทิป
รื่องเงินๆทองๆ ใครๆก็อยากได้ทั้งนั้นแหละ
เคยมีคนถามว่า ปกติ เราควรให้ทิป พนักงานบริการมั้ย ควรให้เท่าไหร่ อะไร ยังไง ในฐานะที่เป็นคนธรรมดาทั่วไป ที่เงินเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต ขอตอบว่า "ควรอย่างยิ่ง"  555+   แต่ไม่ได้ตอบว่าควรเพราะอยากได้อย่างเดียวนะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกัน ฮาาา 



ก่อนอื่นขออธิบายก่อนอีกรอบแล้วกันว่า พนักงานโรงแรม งานเดือนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเงินเดือน + ส่วนที่เป็น service charge ที่คิดจากแขก 10% นั้น แต่!!  ก็แล้วแต่โรงแรมด้วยนะ ว่าจะแบ่งให้พนักงานให้อัตราส่วนเท่าไหร่ ให้หมดเลย 100% หรือ บางโรงแรมอาจจะกำหนดว่าจะให้service charge เท่าเดิมตลอด เช่น 4,000  5,000 แล้วแต่ความสามารถของโรงแรม แล้วทำไมถึงควรจะให้ ทิป ล่ะ



ตอนที่เราเริ่มทำงาน เปิดเผยเลยแล้วกัน ว่าเราได้ เงินเดือนอยู่ที่ 7,000 บาท OMG! OMG! OMG!  ถ้าทำได้จะอุทานเป็นภาษาตุรกีเลย ฟังแล้วตกใจมั้ยล่ะ จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ แล้วจบด้วยเกียรตินิยม เงินเดือนได้แค่ 7,000  บาทเท่านั้นเองงงง ใจก็คิดกุจะมีชีวิตรอดมั้ยเนี่ยเงินเดือนแค่นี้ แต่พอฟังว่ามี service charge อีก ก็มีความหวังขึ้นหน่อยนึง ด้วยความที่ โรงแรมที่ทำงาน ไม่ได้ดังเท่าไหร่ ก็ได้ การันตีที่ 5,000 คือไม่ว่ารายได้โรงแรมจะเท่าไหร่ ก็จะให้พนักงานแค่ 5,000 บาท (นี่ยังดีนะ บางโรงแรมให้ service charge การันตี ที่ 2000 ก็มีนะ)   อะแล้วที่นี้เอามาบวกกัน เป็น 12,000 บาท หักประกันสังคมอีก หรือประมาณ 11,630 บาท เนี่ยแหละ เ



งินเดือนพนักงานจบใหม่ ไม่มีประสบการณ์ งานโรงแรม ประสบการณ์สำคัญนะ จะจบอะไรมา เกรดดีเลิศขนาดไหน แต่ไม่มีประสบการณ์ก็ เริ่มเงินเดือนเท่ากัน (แต่เดี๋ยวนี้ โรงแรมส่วนใหญ่จะใช้การปล่อย service charge ลอยตัวตามราคาน้ำมันดิบ เอ้ย ตามรายได้ของโรงแรม ถ้ารายได้มากก็ให้มา ถ้ารายได้น้อยก็ให้น้อย เปลี่ยนไปตามเดือนๆ)



ก็เนี่ย 11,630 บาท สำหรับพนักงานต้อนรับ ในโรงแรมบูติกที่ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมากมาย ถ้าในโรงแรมที่เป็น แบรนด์ หรือ โรงแรมดังๆ เช่นพวก Dusit Marriot Intercon Hilton Centara etc. จะได้ service charge เยอะกว่านี้ แต่เชื่อเถอะว่า ฐานเงินเดือนไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ยิ่งโรงแรมใหญ่ ฐานเงินเดือนยิ่งต่ำ เพราะเค้าถือว่าเค้าให้ service charge เยอะ  นี่เป็นแค่เงินเดือนของพนักงานต้อนรับ ที่เค้าคิดค่าความสามารถทางภาษาอังกฤษให้แล้วนะ ถ้าเป็นพนักงานแผนกอื่นๆ บางแผนกจะได้ฐานเงินเดือนต่ำกว่านี้ ในขณะที่ได้ service charge เท่ากัน



ส่วนที่ว่าจะให้แผนกไหน ให้เท่าไหร่ เราคิดว่าก็ตามแต่ ความพึงพอใจแล้วกำลังทรัพย์แล้วกัน แต่อยากให้ให้พนักงานบริการในโรงแรมของคนไทยแล้วก็ดูไม่ค่อยมีแขกต่างชาติเพราะพวกเค้าคงจะได้เงินเดือนน้อยแถมทิปก็ไม่ค่อยได้อีกเพราะแขกคนไทยไม่ค่อยให้ทิป  สำหรับเราที่เป็นพนักงานต้อนรับ จะไม่ค่อยได้ ทิป หรอก ส่วนมากแขกจะให้ทิป พนักงาน ยกกระเป๋ากับเด็กเสิร์ฟ ซึ่ง ก็แอบหมั่นไส้อยู่เนืองๆ 555 ก็ทำงานหนักเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยมีใครเห็นคุณค่า เพราะลองคิดดู ว่าพนักงานคนแรกที่แขกจะเจอก็คือ พนักงานต้อนรับ ไม่นับ พนักงานรักษาความปลอดภัย แล้วเวลาอยากได้อะไร ต้องการอะไร เจ็บไข้ได้ป่วย ก็โทรมาที่ lobby ก่อนตลอด แถมพนักงานต้อนรับยังมีรอรับแขกตลอด 24 ชม อีกต่างหาก แอบเก็บกดเล็กๆ ก๊ากก



มันเป็นความจริงที่แขกต่างชาติจะให้ ทิป พนักงานบริการเสมอ มันคงเป็นธรรมเนียมของเค้ามั้ง ส่วนมากจะเป็นแขกยุโรป แต่แขกโซนเอเชีย เรานิสัยงกเหมือนๆกัน 5555 เคยมีแขก ฝรั่ง ถามว่า ที่ประเทศไทย ยูว่าไอควรจะให้ทิปพนักงานสักเท่าไหร่ดี เราก็ตอบไปว่า อ่อ ประมาณ 20 % ของค่าใช้จ่ายน่ะยู 555 อันนี้ล้อเล่น ;P  จริงๆตอบว่า แล้วแต่ยูเลย ที่ไทยไม่มีมาตรฐานหรอก เพราะ คนไทยไม่ค่อยให้ 5555 (พูดความจริงนะ กิกิ)



ในโลกเราไม่มีความเท่าเทียมหรอกจ๊ะ เคยเห็น เคยเจอ แล้วก็เคยคิดเหมือนกันว่า ทำไมพนักงานให้บริการไม่เท่ากัน ทำไมดูแลคนนั้นดีกว่า ดูแลแขกฝรั่งดีกว่า เพราะ เงินมันก็ยังสำคัญกันชีวิตนะ โดยส่วนตัว เราก็พยายามดูแลแขกทุกคนเท่าๆกัน เพราะแขกคนไหนให้ ทิป มาเราก็จำไม่ค่อยได้หรอก 55555  แต่สำหรับพนักงานบางคน เขาจะรู้ว่าแขกคนไหนให้ทิปเยอะ ก็อาจจะไปดูแลแขกคนนั้นมากหน่อย เพราะสำหรับพนักงานในส่วนงานบริการ ทิป ก็เหมือนเป็นแหล่งรายได้อีกทางนอกเหนือจากเงินเดือนอันน้อยนิดของพวกเรา ;P



จะให้แค่ 10 20 บาท ก็ดีใจแล้วจ๊ะ แต่แขกฝรั่งให้ 50-100 บาท นะ 555 ;P



ปล.แต่ถ้าคิดว่า พนักงานที่นี้มันไม่ไหวจริงๆเว้ย บริการก็ไม่ดี ก็ไม่ต้องให้ก็ได้ เพราะจะเป็นการเสียดายเงินเปล่าๆนะ



แมวขี้บ่นอ




Create Date : 09 มิถุนายน 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 15:24:59 น.
Counter : 648 Pageviews.

Joke_EJ7

อ้างจาก: นกฮูกตาโต เมื่อ 15:21 น.  14 ก.ย 55
เซอร์วิส-ชาร์ท เป็นการเรียกเก็บเงินเข้าโรงแรม หรือร้านค้าครับ ไม่ใช่สำหรับพนักงาน
เจ้าของกระทู้น่าจะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นค่าบริการของพนักงาน
ส่วนถ้าลูกค้าพึงพอใจ แล้วจ่ายเงินให้พนักงาน เขาเรียกว่า ทิป ครับ ไม่ใช่เซอร์วิส-ชาร์ท
ส่วนทางกิจการจะแบ่งให้พนักงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นๆ ดังนั้นควรสอบถามก่อนเข้าทำงาน ว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

ส่วนที่ว่าพอใจไม่พอใจนั้น ถ้าในต่างประเทศ เซอร์วิสชาร์ทมันเป็นเรื่องปกติ สำหรับคนไทยอาจจะไม่ชิน ส่วนใหญ่โรงแรมใหญ่ๆหรือร้านอาหารหรูๆจะมีค่าบริการตรงนี้ ถ้าจะใช้บริการก็ควรที่จะเรียนรู้และเข้าใจมัน


จขกท. เค้าหมายถึง เซอร์วิสชาร์จที่ โรงแรมน่าจะต้องจ่ายให้พนักงานบ้าง เหมือนที่ แถวภูเก็ตหรือเมืองท่องเที่ยวอื่นๆเค้าทำกันครับ  ผมว่าพี่นั้นแหละเข้าใจผิด

คนก่อนผมอธิบายไว้ครบถ้วนแล้ว
The man who never mistakes is the man who never do anythings.

''คนที่ไม่เคยทำอะไรผิด คือ คนที่ไม่เคยทำอะไรเลย''

byt

ถ้าอยากเอาดีงานบริการโรงแรมหรืออะไรก็แล้วแต่ถ้าเก่งภาษาแนะนำให้มาทำกรุงเทพหรือภูเก็ตจะดีกว่าครับเพราะที่นี่เซอร์วิสชาร์จจะมากกว่าเงินเดือนอีกนะคับ

byt

สนใจงานโรงแรมดี ๆ เข้าเวปนี้ได้ครับ http://www.thaihotelstaff.com
สามารถรับทราบเซอร์วิสชาร์จในแต่ละโรงแรมได้เลยนะครับ ตัวอย่าง

Dusit BKK 9900 October
Amari boulevard svc 9,000 เงินเดือน เริ่มที่ 6,xxx
Four Seasons Bangkok ' SVC of October.         13,3xx
Sheraton Grande Sukhumvit
Service Charge of October 14,030 Bth
SOFITEL BANGKOK SUKHUMVIT 12,300 THB. for October.
Plaza Athenee Bangkok
Service charge of October 14,500 THB Kha
Siam Kempinski SVC of October 14,300 THB
St. Regis Hotel Bangkok paying October 2012 ---- 13,500 BHT krub....
Marriott Bangkok Hotel
SVC of October
Renaissance Bangkok 11,XXX
JW Marriott Bangkok 12,XXX
Courtyard Bangkok 13,XXX
Marriott Executive Apartment Mayfair Bangkok 13,XXX
Marriott Executive Apartment  Sukhumvit Park 11,XXX
Marriott Executive Apartment  Sathorn Vista 11,XXX
Pullmam Bangkok King Power
Service Charge On October
8,370 THB.
NOVOTEL BANGKOK PLATINUM
SVC เดือน September รับสิ้นเดือน OCTOBER
9,000 NET ครับหยุด2วัน/week
Le Meridien Bangkok svc of September 17,540
เลอบัว แอทเสตททาวเวอร์10600
เป็นต้น

Uncle PAD

ตามความเข้าใจของผมในฐานะผู้ใช้บริการร้านอาหารเป็นประจำ -- เซอร์วิส ชาร์จ ผมเข้าใจว่าส่วนนี้ต้องนำมาแบ่งให้พนักงานครับ และปัจจุบันร้่นอาหารใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ใน กทม. ส่วนมากจะมีเซอร์วิส ชาร์จ 10% (ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่จะเห็นมีเฉพาะตามโรงแรมชั้นนำเท่านั้น)

ผมคิดเองว่าสาเหตุที่เซอร์วิส ชาร์จ ระบาดกันใหญ่ -- สาเหตุมาจากเดี๋ยวนี้ส่วนมากลูกค้าจะชำระเงินโดยใช้เครดิต คาร์ด ที่ระบาดไปทั่ว กินร้อยสองร้อยก็รูดคาร์ด ดังนั้นเมื่อรูดคาร์ดแล้วก็มักจะไม่มีทิปให้พนักงาน -- ร้านอาหารจึงแก้เกมโดยการเรียกเก็บเซอร์วิส ชาร์จไว้เลย เพื่อนำมาแบ่งเป็นเงินพิเศษให้พนักงาน

จะมาอ้างว่าเป็นค่าบริหารค่าทำความสะอาดค่าบริการอย่างอื่นใดมิได้ เพราะตรงส่วนนั้นก็ควรเอาจากกำไรที่ได้จากการขายอาหารมาจ่ายมิใช่หรือ

ผมกะลังไปทำงานที่หาดใหญ่คืนพรุ่งนี้ (9/11/12) -- ใครรู้จักโรงแรมไม่แพงเกินคืนละหกเจ็ดร้อยช่วยแนะนำด้วยคร้าบ ต้องการสองห้อง พักห้องละหนึ่งคน มีอาหารเช้าให้ด้วย มีที่จอดรถสะดวกปลอดภัย เดินเท้าไปตลาดกิมหยงได้ภายในรัศมีไม่เกิน 6-700 เมตรครับ มีพิกัด GPS ด้วยยิ่งดี -- ขอบคุณครับท่าน (mystkgone@gmail.com)

highdegree

ในฐานะที่เป็นลูกค้าหรือผู้ใช้บริการได้มีโอกาสไปกินตามร้านอาหารในโรงแรมหาดใหญ่บ่อยเวลาที่พนักงานเรียกเก็บตังค์คิดว่าค่าเซอร์วิสเป็นค่าบริการที่ทางร้านคิดไว้เพื่อจ่ายให้กับพนักงาน แต่บังเอิญได้ถามพนักงานว่าทำงานได้เซอร์วิสดีหรือไม่ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เซอร์วิสหรอกแต่ทางร้านคิดเป็นค่าบำรุง ค่าซ่อมแซม โดยส่วนตัวคิดว่าเขาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อแบ่งเบาค่าธรรมเนียมธนาคารเกี่ยวกับบัตรเครดิตหรืออื่น ๆ มากกว่า

hkt

เอามาลงประดับความรู้
ค่าจ้างกับรายได้ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย นายพนัส ไทยล้วน

ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย








มีนายจ้างและลูกจ้างจำนวนมากมักจะมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำว่า "ค่าจ้าง" และคำว่า "รายได้" โดยคิดว่าทั้งสองอย่างเหมือนกันเพราะไม่ว่าจะเป็นเงินอะไรเราก็ได้มาจากนายจ้างเมื่อตอนทำงานให้นายจ้างทั้งนั้น ถ้าเราไม่ทำเราก็ไม่ได้เงิน เพราะฉะนั้นค่าจ้างกับรายได้จึงน่าจะเป็นอย่างเดียวกัน

ทางด้านนายจ้างมีจำนวนไม่น้อยที่คิดว่ารายได้ของลูกจ้างทุกประเภทเป็นค่าจ้าง จึงมีการนำเอารายได้ทั้งหมดของลูกจ้าง แต่ละคนไปคำนวณเป็นฐานค่าจ้าง แล้วหักเงิน 5% นำไปส่งเงินเป็นสมทบเข้าในกองทุนประกันสังคม และหักเงินเข้ากองทุนเงินทดแทน ทั้งนี้เพราะนายจ้างเห็นว่าเงินทั้งสองส่วนล้วนต้องไปคำนวณเป็นฐานในการเสียภาษีทั้งสิ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าจ้าง กับ รายได้มีความแตกต่างกันมา กแม้ว่าจะเป็นการจ่ายเงินของนายจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานของลูกจ้างก็ตาม ถ้าเราลองมาดูกันว่าเงินที่มาจากการทำงานทั้งสองส่วนต่างกันตรงไหนเราจะเห็นได้ชัดเจนดังนี้



ค่าจ้าง  ความหมายของคำของค่าจ้างมีความหมายไปในทางที่ตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง ดังมีคำนิยามคำว่าค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาการทำงานตามปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานและให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้



รายได้ ไม่มีคำจำกัดความในพระราชบัญญัติแรงงานใดๆ แต่ไปมีอยู่ในประมวลการเสียภาษีของบุคคล สำหรับด้านแรงงานแล้ว คำว่ารายได้เป็นเงินส่วนประกอบอื่น เช่นค่าล่วงเวลา,ค่าครองชีพ,ค่ากะ,ค่าทำงานวันหยุด,ค่ารถ,ค่าอาหาร,เบี้ยขยัน,ค่าฝีมือ,ค่าความเสี่ยง,ค่าเช่าบ้าน,ค่าคอมมิชชั่น, ค่าเสื้อผ้า,ค่าโบนัส,ค่าตำแหน่งเงินบำเหน็จ,ค่าชดเชย,ฯลฯ เงินเหล่านี้

ในการจ่ายล้วนแล้วแต่เป็นเงินจูงใจให้ลูกจ้างทำงาน มีการกำหนดว่าเงินที่จะได้ต้องเป็นวันที่มาทำงาน หรือจ่ายโบนัสจะต้องมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ขาดงานหรือโดนลงโทษเป็นต้น



ดังนั้นเงินที่ได้รับจากนายจ้างมิใช่ค่าจ้างเสียทั้งหมด มีทั้งค่าจ้างจริงๆและค่าจ้างเทียม แต่ถือเป็นรายได้ทั้งหมด สำหรับที่ไม่ใช่ค่าจ้างล้วนแล้วแต่เป็นเงินจูงใจลูกจ้างให้มาทำงานหรือทำงานขยันมากขึ้นทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามมีเงินรายได้บางประเภทที่ศาลฎีกาถือว่าเป็นค่าจ้าง เช่นเงินที่นายจ้างสัญญาว่าจะจ่ายให้ลูกจ้างเป็นการประจำไม่ว่าจะมาทำงานหรือไม่ก็ตาม หรือลูกจ้างในกิจการโรงแรมที่ค่าจ้างของลูกจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โรงแรมมีเงินเซอร์วิสชาร์จ  (Service Charge) จ่ายให้กับลูกจ้างสูงมากและเมื่อนำไปรวมกับค่าจ้างจะสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำอย่างนี้เรียกว่าค่าจ้าง

สรุป ลูกจ้างต้องจำไห้ดีว่าค่าจ้างกับรายได้ มีความแตกต่างกันมากแม้ว่าจะเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จะมาจากการทำงานก็ตาม




fiasta

service charge 10% พนักงานในโรงแรมต้องได้เท่ากันหมดทุกคนครับ ถ้าโรงแรมไม่ตุกติก เอาเงินส่วนนี้ไปทำอย่างอื่น (ซึ่งโรงแรมในหาดใหญ่ผมไม่ทราบแต่รู้ว่าในกรุงเทพฯ นี้พนักงานจะได้กัน แม้แต่ในสิงคโปร์เราจะให้ทิปเขาไม่เอาเขาบอกว่าได้เซอร์วิสแล้ว) บางโรงแรมเอาไปเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าครองชีพรายเดือนซึ่งไม่ถูกต้อง การให้ทิปจะได้เฉพาะกับพนักงานที่ต้อนรับส่วนหน้าเสียมากกว่า..คนในครัวหรือ Back of the House ยากครับ
แขกพึงพอใจกับ Service ก็จะให้ไม่เกี่ยวกับ Service charge
แขกก็จะให้เพิ่มเติมมาเองกับมือ...เป็นการส่วนตัว..หรือพูดง่ายๆ เสน่ห์หา
จำเป็นหรือไม่..แล้วแต่แขก..ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพนักงาน
พนักงานมีเงินเดือน...สวัสดิการ...เงินอย่างอื่นอีก
สามารถประทังชีวิตได้ครับ...อย่าไป Serious กับเรื่องนี้..จำเป็นหรือไม่อยู่ที่ตัวคุณเองว่าสมควรหรือไม่สมควรครับ

cruise job

แสดงว่าที่นั่นไม่มีโรงแรมห้าดาว
มาทำโรงแรม 5 ดาวซิ
เงินเดือน + เซอร์วิสชาร์ต + ทิป + ค่าคอม
เฉลี่ยๆ ทั้งปีเดือนละประมาณ สองหมื่นอัพ
ยิ่งถ้าอยู่ตำแหน่งที่ได้ทั้งพวกค่าคอม + ทิปหละก็
หน้าไฮสุดๆ เคยได้ห้าหมื่นมาแล้ว
ไปดูที่จอดรถของพนักงานโรงแรมห้าดาวในเชียงใหม่ดิ
ยังกะโชว์รูมรถยนต์
ถ้ามีความสามารถด้านภาษารับรองไปได้โลด


--------------------------------------------------------------------------------

HDY GIRL

เป็นบริกรค่ะ พอลูกค้าถามว่ารวมเซอร์วิสชาร์จหรือยังก็บอกตรงๆว่ารวมแล้วค่ะ แต่ก็บอกไปว่าพนักงานไม่ได้ค่ะ แค่นี้ค่ะลูกค้าก็ให้ทิปค่ะ เพราะเราบริการดีค่ะ

LAPD21

เดี๋ยวนี้ ร้านอาหารไม่น้อย เอาวัฒนธรรมของอเมริกันมาใช้แบบผิดๆ

ร้านอาหารในเมืองไทย (ส่วนมาก)
นำวัฒนธรรม SC ของอเมริกัน เอามาใช้แบบผิดๆ
ซึ่งเอาเปรียบทั้งพนักงานและลูกค้าโดยนำเอา SC ไปเป็นเงินเดือนพนักงาน
ทำให้ลดค่าใช้จ่ายพนักงานไปโดยปริยาย และก็อาจจะใช้ "ไว้เลี่ยงภาษีรายได้" ด้วยเช่นกัน

เดี๋ยวนี้ ไปทานข้าวที่ไหน ตั้งแต่ภัตตาคารหรู ยัน หมูกะทะ คิด SC หมด 10-15% ไม่ว่าจะกินคนเดียว 2 คน หรือกี่คนก็ตาม

ถามว่า บริการเป็นอย่างไร
ดีบ้าง เลวบ้าง
และเราๆที่เป็นลูกค้านั้น ต้องจำใจจ่าย SC ให้ร้านโดยไม่อาจโต้แย้งได้
และที่ประเทศอเมริกา buffet เค้าไม่มี SC หรอกครับ แล้วแต่ลูกค้าจะวางบนโต๊ะให้หลังทานเสร็จ แต่เมืองไทย buffet เล่น charge หมดทุกที่ ตั้งแต่โรงแรมหรู ยัน ข้างทาง

สรุป
ส่วนตัวคิดว่า ร้านอาหารในเมืองไทย คิด SC ลูกค้าโดยนำเงินดังกล่าว ไปเป็นเงินเดือนพนักงาน ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคและพนักงานอย่างน่าเกลียดมากครับ

dolly

เมื่อคืนเจอมากับตัวเองเลย ลูกค้าเรียกเช็คบิล ฝ่ายภรรยากระซิบบอกสามีว่า เขามีเซอร์วิสแล้วไม่ต้องให้ทิป แม่งโคตรท้อเลยบริการเหนื่อยแทบตาย ถามหน่อยสิคับว่าเราได้เซอร์วิสชาร์จมั้ย ฝ่ายบริหารก็โคตรเอาเปรียบให้เราบริการดีๆกับลูกค้า เซอร์วิสก็ไม่ได้ แถมไม่ได้ทิปอีก นั่นละสิว่าทำไมโรงแรมออกจะดังไม่มีใครมาสมัครเลยพนักงานเก่าก็จะออกกันหมดแล้ว

redbull

อย่าน้อยใจไปน้องถ้าเก่งภาษามาทำที่กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุย ดีกว่ามั้ย เซอร์วิสชาร์จถ้าเขาไม่ให้กับพนักงานก็ไม่ควรระบุไว้ในบิลเรียกเก็บเงิน เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แสดงว่าเขาเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน และอีกอย่างนึงเซอร์วิสนี้เขาจะหารให้ทั้งโรงแรมนะ ถ้าน้องทำส่วนห้องอาหาร และลูกค้าคิดว่ามีเซอร์วิสแล้ว ไม่ให้ทิปอันนี้ก็คิดคับแคบไป เพราะน้องเป็นคนบริหารลูกค้า ซึ่งแผนกอื่นไม่ได้มาช่วยบริหาร เวลาพี่ไปใช้บริการห้องอาหารถ้าพนักงานบริการดีพี่ก็ให้ทิป เพราะถือว่าเซอร์วิสมันเป็นคนละเรื่องกัน

Puiey2521

อ้างจาก: นกฮูกตาโต เมื่อ 15:21 น.  14 ก.ย 55
เซอร์วิส-ชาร์ท เป็นการเรียกเก็บเงินเข้าโรงแรม หรือร้านค้าครับ ไม่ใช่สำหรับพนักงาน
เจ้าของกระทู้น่าจะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นค่าบริการของพนักงาน
ส่วนถ้าลูกค้าพึงพอใจ แล้วจ่ายเงินให้พนักงาน เขาเรียกว่า ทิป ครับ ไม่ใช่เซอร์วิส-ชาร์ท
ส่วนทางกิจการจะแบ่งให้พนักงานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกิจการนั้นๆ ดังนั้นควรสอบถามก่อนเข้าทำงาน ว่าจะได้ผลตอบแทนอะไรบ้าง

ส่วนที่ว่าพอใจไม่พอใจนั้น ถ้าในต่างประเทศ เซอร์วิสชาร์ทมันเป็นเรื่องปกติ สำหรับคนไทยอาจจะไม่ชิน ส่วนใหญ่โรงแรมใหญ่ๆหรือร้านอาหารหรูๆจะมีค่าบริการตรงนี้ ถ้าจะใช้บริการก็ควรที่จะเรียนรู้และเข้าใจมัน



ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้
ทำดีแล้วโดน "ด่า" ดีกว่าพวกไม่ทำ "ห่า" แล้วด่า "คนอื่น"