ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 13:26 น. 10 ต.ค 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย

จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้

ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

(ที่มา: http://th.wikipedia.org)

ทีมงานประชาสัมพันธ์

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

          ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย

          ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532

          จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน

          อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]

          ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน

          เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ

          การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว