ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ครั้งหนึ่งของ มิกาโด้ 950

เริ่มโดย ซัมเบ้ Note 7 Jr., 18:32 น. 25 ต.ค 55

Kungd4d

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 13:00 น.  03 ก.พ 56


บ้านเรา (หาดใหญ่และทุ่งสง) นี่ละครับที่มีรถจักรไอน้ำมากที่สุด เพราะสุดท้ายส่วนใหญ่ มาตัดบัญชีขายเศษเหล็กกันที่หาดใหญ่และทุ่งสงเยอะ

    ส-เขิน ชัดเจนเลยกับปักษ์ใต้บ้านเรา  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

เดี๋ยวนี้ถ้าเรายังมีรถจักรไอน้ำยังวิ่งได้อยู่ผมว่ามันเป็นอะไรที่คลาสสิคสุดยอดเลยครับ  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 13:00 น.  03 ก.พ 56
ผมเดาเอาน่ะ... ส-เหอเหอ   แต่เวลาพูดถึงมิกาโด้ ส่วนใหญ่มักพูดถึงรถจักรที่นำเข้าหรือสั่งซื้อจากพวก kawasaki หรือพวกสมาพันธ์รถไฟญี่ปุ่น  พวกนี้จะลำดับเลขรถเป็นซีรีสย์เลข 9 นำหน้า   

ส่วนพวกแปซิฟิคญี่ปุ่นจะขึ้นด้วยเลข 8 

ผมทันนั่งหลายรุ่นน่ะ.... อย่างมิกาโด้แมกอาเธอร์นี่ผมก็นั่งมาแล้ว.(นั่งใน cap ขณะใช้งานด้วยนะไม่ได้โม้ ส-เหอเหอ))..หรือพวกมิกาโด้รุ่นแรก ๆ ที่ใช้ (ไม่มี ไม่มีบังข้าง) นี่ผมก็ทัน รถพวกนี้เอามาวิ่งรถสินค้า โกลก หรือพวกรถหวานเย็น   (ท่อนหน้าเป็นสินค้า ปลายเป็นรถโดยสารประมาณสองตู้)

บ้านเรา (หาดใหญ่และทุ่งสง) นี่ละครับที่มีรถจักรไอน้ำมากที่สุด เพราะสุดท้ายส่วนใหญ่ มาตัดบัญชีขายเศษเหล็กกันที่หาดใหญ่และทุ่งสงเยอะ
ท่านบรรยายจนผมมองเห็นภาพเลยนะครับ ส.ยกน้ิวให้
แสดงว่าท่านโน ก็เคยทำงานขับรถไฟด้วยใช่ไหมครับ  ถ้าใช่ ผมคงมีคำถามท่านมากมายเลยนิ 
แต่ เรื่องรถจักรไอน้ำแมคอาร์เธอร์ ผมสงสัยว่า เคยมาวิ่งในหาดใหญ่บ้างไหม  ลุงๆที่ผมรู้จัก เขาเล่าว่า แมคอาร์เธอร์มีเสียงต่างจากรถจักรไอน้ำแบบอื่นๆด้วย เสียงเป็นยังไงครับ ส.อืม
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

Mr.No

อ้างจาก: Kungd4d เมื่อ 13:08 น.  03 ก.พ 56
    ส-เขิน ชัดเจนเลยกับปักษ์ใต้บ้านเรา  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

เดี๋ยวนี้ถ้าเรายังมีรถจักรไอน้ำยังวิ่งได้อยู่ผมว่ามันเป็นอะไรที่คลาสสิคสุดยอดเลยครับ  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

ถูกต้องครับ คุณ kungd4d

เมืองไทยเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องของประวัติศาสตร์ ...   พูดง่าย  ๆก็คือ เราหยาบกระด้างในเรื่องของอารมณ์สุนทรีย์ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ เด็กไทย เติบโตมาอย่างไม่ค่อยมี ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ

[attach=1]

พูดถึงมิกาโด้แมกอาเธอร์... อยากให้ดูคันนี้ครับ รุ่น/แบบ เดียวกันกับที่เคยวิ่งในย่านหาดใหญ่
เจ้าคันข้างบนนี่...ประวัติศาสตร์น้อยกว่าเราแยะ   เพราะแค่ใช้งานในการรถไฟ 

แต่ของเราที่เอามาใช้ (ซี่รีสย์ จะขึ้นด้วยเลข 3 หรือ พวก 4) พวกนี้เป็นรถใช้ในสงครามโลก ดังนั้น น่าจะอนุรักษ์ไว้อย่างที่สุด

ไม่ต้องมาก...บางคันใช้ทุนแค่ไม่ถึงยี่สิบล้าน (แค่นี้ถือเป็นเศษเงินรัฐบาล) ฟื้นแต่ละรุ่นที่สำคัญ ๆ ไว้ในแบบสภาพอนรักษ์ที่ใช้งานได้จริง ๆ เอามาใช้กิจการเพื่อสร้างเสริมการท่องเที่ยว ก็สุดยอดแล้ว

ผมเคยคุยกับอดีต สรจ.และพวกพ้องบางคนว่า ทำไม่จังหวัดสงขลาไม่ get เรื่องพวกนี้บ้าง...และที่สำคัญทำไมเราไม่ลองร้องขอไปยังการรถไฟฯ ขอตัดรถจักรไอน้ำมาประจำการที่หาดใหญ่ (บ้านเก่าของมัน) บ้าง อย่าง 950 953 824 พวกนี้รถจักรบ้านเราทั้งนั้น   ขอตัดมาดูแลสักคันเอาไว้วิ่งในเทศกาลสำคัญเพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้มาเลย์,สิงค์โปร์ บ้าง

นี่ยังฝันว่าถ้าทางรถไฟหาดใหญ่ สงขลา มันเกิดได้จริง ลองนึกภาพหัวรถจักรทำขบวนนักท่องลากผ่าน คลองแห (แหล่งท่องเที่ยวที่คนคิดไม่ได้(มีชีวิตอยู่)ดู แต่คนมาดูไม่เคยคิด) ไปถึงสงขลา เราจะทำเงินเข้าประเทศได้อีกโข....ว่ามั้ยท่าน ส.อืม
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: คนข้างมาม่า ^^ เมื่อ 13:30 น.  03 ก.พ 56
ท่านบรรยายจนผมมองเห็นภาพเลยนะครับ ส.ยกน้ิวให้
แสดงว่าท่านโน ก็เคยทำงานขับรถไฟด้วยใช่ไหมครับ  ถ้าใช่ ผมคงมีคำถามท่านมากมายเลยนิ 
แต่ เรื่องรถจักรไอน้ำแมคอาร์เธอร์ ผมสงสัยว่า เคยมาวิ่งในหาดใหญ่บ้างไหม  ลุงๆที่ผมรู้จัก เขาเล่าว่า แมคอาร์เธอร์มีเสียงต่างจากรถจักรไอน้ำแบบอื่นๆด้วย เสียงเป็นยังไงครับ ส.อืม

ผมคลุกคลีอยู่กับรถจักรไอน้ำตั้งกะเด็กจนโตครับ...  (เวลาล้างหม้อน้ำที ผมยังเคยไปช่วยบ่อยไป)

เจ้าแมกอาเธอร์นี่ จริง ๆ ประจำอยุ่ทุ่่งสงครับ... แต่วิ่งสินค้าจะวิ่งจากทุ่งสง ไป ยะลาบ้าง หรือไกลสุดโกลก
แต่เวลาที่ทำขบวนจากโกลกมา บางครั้งก็จอดพักที่หาดใหญ่ สมัยก่อน พขร.หรือพวกช่างไฟ (เมื่อก่อนยังไม่ม่ีช่างเครื่องครับ มีแต่ช่างไฟ 1 หรือ 2 ) จะถูกโยกย้ายไปมาระหว่าง ย่าน หาดใหญ่ ทุ่งสง ดังนั้น ทั้งสองแห่งนี้ถือเป็นบุคลากรกลุ่มเดียวกันที่มีความผูกพันและรู้จักกันทั้งหมด รวมทั้งรถจักรไอน้ำสมัย่โน้นถ้ามีการซ่อมใหญ่ต้องส่งเข้าโรงรถจักรทุ่งสงแห่งเดียว (ที่หาดใหญ่แค่ซ่อมบำรุงพื้นๆ)

อ้อ...ถามผมเกียวกับแมกอาเธอร์... ผมว่ามันมีเสน่ห์กว่ารถญี่ปุ่นแยะ  ตอนนั้นผมยังวัยรุ่นยังรู้สึกว่าหน้าตามันดุ  ส-เหอเหอ
เสียงหวูดมันไม่เหมือนพวกรถญี่ปุ่นนะผมว่า....เสียงห้าวๆ แห้ง ๆ แต่ฟังแล้วขนลุกดี

ในรถจักรจะมีหวูดสองเส้นครับ...ดึงเส้นยาวเสียงหวูดใหญ่ยาวแหบเสียงนี้ส่วนใหญ่จะชักเมื่อรถจะเทียบชาน...ส่วนเส้นเล็กเสียงจะแหลมมักใช้ร่วมกับเส้นยาวขณะทำขบวน... เช่นพวกทางโค้งที่มี ป้าย ว. หรือพวกใกล้ทางตัดทางผ่าน

คุยแล้วสนุกนะครับเรื่องเก่า ๆ ... ส.หัว ส.หัว
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Kungd4d

 ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ ใช่เลยเหมือนที่ท่าน Mr.No ว่ามาเลย ว่าทำไม่เจ้าหน้าที่รถไฟหรือผู้บรหารที่มำอำนาจบ้านเรา จึงไม่เก็ตบ้างเลยเรื่องที่จะรื้อฟื้นซ่อมแซมหัวรถจักรเก่าๆให้กลับมาใช้งานได้ดังเดิมคือเอาไว้ใช้งานเป็นครั้งเป็รคราวไปหรือเพื่อกิจการการท่องเที่ยว
อย่างรถจักรไอน้ำที่ใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลงก็เปลี่ยนมาใช้แก็สธรรมชาติหรือว่าแอลพีจีเป็นเชื้อเพลงก็ได้เพื่อจะได้ไม่มีมลภาวะคือควันดำๆมากมายเหมือนไม้ฟืน หรือว่าอีกอย่างอาจจะโมดิไฟหัวรถจักรไปน้ำเดิมๆมาเป็นแบบเครื่องยนต์สมัยใหม่ก็ได้ โดยยังคงโครงสร้างเดิมๆไว้ แบบนี้ผมว่าเจ๋งไปเลยครับ  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 13:42 น.  03 ก.พ 56
ผมคลุกคลีอยู่กับรถจักรไอน้ำตั้งกะเด็กจนโตครับ...  (เวลาล้างหม้อน้ำที ผมยังเคยไปช่วยบ่อยไป)

เจ้าแมกอาเธอร์นี่ จริง ๆ ประจำอยุ่ทุ่่งสงครับ... แต่วิ่งสินค้าจะวิ่งจากทุ่งสง ไป ยะลาบ้าง หรือไกลสุดโกลก
แต่เวลาที่ทำขบวนจากโกลกมา บางครั้งก็จอดพักที่หาดใหญ่ สมัยก่อน พขร.หรือพวกช่างไฟ (เมื่อก่อนยังไม่ม่ีช่างเครื่องครับ มีแต่ช่างไฟ 1 หรือ 2 ) จะถูกโยกย้ายไปมาระหว่าง ย่าน หาดใหญ่ ทุ่งสง ดังนั้น ทั้งสองแห่งนี้ถือเป็นบุคลากรกลุ่มเดียวกันที่มีความผูกพันและรู้จักกันทั้งหมด รวมทั้งรถจักรไอน้ำสมัย่โน้นถ้ามีการซ่อมใหญ่ต้องส่งเข้าโรงรถจักรทุ่งสงแห่งเดียว (ที่หาดใหญ่แค่ซ่อมบำรุงพื้นๆ)

อ้อ...ถามผมเกียวกับแมกอาเธอร์... ผมว่ามันมีเสน่ห์กว่ารถญี่ปุ่นแยะ  ตอนนั้นผมยังวัยรุ่นยังรู้สึกว่าหน้าตามันดุ  ส-เหอเหอ
เสียงหวูดมันไม่เหมือนพวกรถญี่ปุ่นนะผมว่า....เสียงห้าวๆ แห้ง ๆ แต่ฟังแล้วขนลุกดี

ในรถจักรจะมีหวูดสองเส้นครับ...ดึงเส้นยาวเสียงหวูดใหญ่ยาวแหบเสียงนี้ส่วนใหญ่จะชักเมื่อรถจะเทียบชาน...ส่วนเส้นเล็กเสียงจะแหลมมักใช้ร่วมกับเส้นยาวขณะทำขบวน... เช่นพวกทางโค้งที่มี ป้าย ว. หรือพวกใกล้ทางตัดทางผ่าน

คุยแล้วสนุกนะครับเรื่องเก่า ๆ ... ส.หัว ส.หัว

ขอบคุณครับท่านโน ส.ยกน้ิวให้

ผมติดตามรถไฟไทยตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ตอนนี้ผมก็ 30 กว่าแล้ว เคยถ่ายรูปรถจักรดีเซล GE/GEA/ALS/KRUPP/HENSHEL/HITACHI/DAVENPORT และรถจักรไอน้ำไทย เท่าที่หาถ่ายได้  รถดีเซลผมสะสมได้เกือบครบทุกเบอร์ครับ โดยเฉพาะ ALS ตอนนั้นผมตามเก็บได้หมด ยกเว้น 4114 กับ 4122 ที่ตัดบัญชีไปก่อนหน้าแล้ว แต่ทั้งหมดก็โดนน้ำท่วมกลืนไปแล้วครับ  ส.ร้อง ส.ร้อง

กลับมาที่รถจักรไอน้ำนะครับ
ที่ท่านโนเล่ามา แสดงว่าท่านโนได้สัมผัสและทำงานบนรถไฟมาแล้วจริงๆสินะครับ  ผมมีคำถามดังนี้
1.รถจักรไอน้ำทำขบวนรถด่วน หาดใหญ่ ไป กรุงเทพ ต้องเปลี่ยนหัวที่ ทุ่งสง ชุมพร ใช่ไหมครับ

2.หาดใหญ่มีรถจักรไอน้ำประจำประมาณกี่คัน ชนิดใดบ้าง (เช่น แปซิฟิค 824 เป็นต้น)

3.แนวคิดของผม  ไหนๆตอนนี้ รฟท.ก็ซ่อมบำรุง 824 กับ 850 แล้ว ก๋น่าจะจัดขบวนพิเศษไปเชียงใหม่ ไปอุบล หนองคาย และมาหาดใหญ่(บ้านเดิม) นะครับ  ไม่ต้องวิ่งรวดเดียวก็ได้ แวะสถานีสำคัญๆ เพื่อรำลึกถึงอดีต    ... แบบนี้พอมีโอกาสไหมครับ

4.ท่านโน เคยประจำโรงรถจักรหาดใหญ่ปีไหนครับ  พอรู้จักคุณลุง ระลึก ไหมครับ อดีต พขร.หาดใหญ่ (ตอนนี้เกษียณ)ไปหลายปีแล้ว

ปล.หลายปีก่อน ผมเคยเขเปเวปรถไฟเวปหนึ่ง (ตอนนี้เวปนั้นล่องหนไปแล้ว) ผมได้เห็นคนนำข้อมูลรถจักรไอน้ำที่ประจำการแขวงต่างๆมาลงไว้  น่าเสียดายที่ตอนนี้ยังหาไม่เจอ ผมจะพยายามค้าหาต่อไปครับ   

ขอบคุณครับ ส.ตากุลิบกุลิบ ส.ตากุลิบกุลิบ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

Mr.No

อ้างจาก: คนข้างมาม่า ^^ เมื่อ 18:14 น.  03 ก.พ 56
ขอบคุณครับท่านโน ส.ยกน้ิวให้

ผมติดตามรถไฟไทยตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ตอนนี้ผมก็ 30 กว่าแล้ว เคยถ่ายรูปรถจักรดีเซล GE/GEA/ALS/KRUPP/HENSHEL/HITACHI/DAVENPORT และรถจักรไอน้ำไทย เท่าที่หาถ่ายได้  รถดีเซลผมสะสมได้เกือบครบทุกเบอร์ครับ โดยเฉพาะ ALS ตอนนั้นผมตามเก็บได้หมด ยกเว้น 4114 กับ 4122 ที่ตัดบัญชีไปก่อนหน้าแล้ว แต่ทั้งหมดก็โดนน้ำท่วมกลืนไปแล้วครับ  ส.ร้อง ส.ร้อง

กลับมาที่รถจักรไอน้ำนะครับ
ที่ท่านโนเล่ามา แสดงว่าท่านโนได้สัมผัสและทำงานบนรถไฟมาแล้วจริงๆสินะครับ  ผมมีคำถามดังนี้
1.รถจักรไอน้ำทำขบวนรถด่วน หาดใหญ่ ไป กรุงเทพ ต้องเปลี่ยนหัวที่ ทุ่งสง ชุมพร ใช่ไหมครับ

2.หาดใหญ่มีรถจักรไอน้ำประจำประมาณกี่คัน ชนิดใดบ้าง (เช่น แปซิฟิค 824 เป็นต้น)

3.แนวคิดของผม  ไหนๆตอนนี้ รฟท.ก็ซ่อมบำรุง 824 กับ 850 แล้ว ก๋น่าจะจัดขบวนพิเศษไปเชียงใหม่ ไปอุบล หนองคาย และมาหาดใหญ่(บ้านเดิม) นะครับ  ไม่ต้องวิ่งรวดเดียวก็ได้ แวะสถานีสำคัญๆ เพื่อรำลึกถึงอดีต    ... แบบนี้พอมีโอกาสไหมครับ

4.ท่านโน เคยประจำโรงรถจักรหาดใหญ่ปีไหนครับ  พอรู้จักคุณลุง ระลึก ไหมครับ อดีต พขร.หาดใหญ่ (ตอนนี้เกษียณ)ไปหลายปีแล้ว

ปล.หลายปีก่อน ผมเคยเขเปเวปรถไฟเวปหนึ่ง (ตอนนี้เวปนั้นล่องหนไปแล้ว) ผมได้เห็นคนนำข้อมูลรถจักรไอน้ำที่ประจำการแขวงต่างๆมาลงไว้  น่าเสียดายที่ตอนนี้ยังหาไม่เจอ ผมจะพยายามค้าหาต่อไปครับ   

ขอบคุณครับ ส.ตากุลิบกุลิบ ส.ตากุลิบกุลิบ


ก่อนอื่นขออนุญาตคุณคนข้างมาม่า เกี่ยวกับอาชีพครับ เอาเป็นว่าผมคุ้นเคยกับอาชีพรถไฟและผูกพันกับรถไฟพอสมควรครับ..อย่าโกรธกันนะครับเกี่ยวกับว่าผมทำอะไร?

บางคำถามค่อนข้างนานมาก
  1. โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการทำขบวนรถเข้ากรุงเทพฯ ผมมาจำได้ตอนที่รถวิ่งกรุงเทพฯ ใช้พวกดีเซลแล้วครับ (ใช้ฮิตาชิ ครับ)
  2. รถจักรในระยะสุดท้ายก่อนตัดบัญชีส่วนใหญ่จะมาประจำการที่ทุ่งสง และหาดใหญ่ เยอะครับจำไม่ไหว (ขนาดรถอี หรือ E class) ยังมีใช้ก่อนตัดบัญชี  ส่วน 824 นี่ ผมคิดว่าคุณมาถูกคนแล้วครับ เพราะ พขร.คนสุดท้ายที่ดูแลคันนี้คือ คุณระลึก ตันนะ ที่คุณถามถึงนั่นละครับ

3. อันนี้ผมว่าเป็นปัญหาด้านเทคนิคมากกว่าครับ..เรื่องลากจูงนั่นน่ะถึงแน่ (ลากไป พักค้างคืนไป...อย่ารีบ)
4. ระลึก ตันนะ คนนี้ได้เข็มดีเด่นเรื่องดูแลรถจักร อยากให้คุณจำไว้เลยว่า เจ้า 824 ที่สภาพรอดตัดบัญชีมาได้วันนี้ พขร.คนสุดท้ายของหาดใหญ่คือคนนี้ละครับคือผู้ดูแลมัน    ส.หัว





..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:12 น.  03 ก.พ 56

ก่อนอื่นขออนุญาตคุณคนข้างมาม่า เกี่ยวกับอาชีพครับ เอาเป็นว่าผมคุ้นเคยกับอาชีพรถไฟและผูกพันกับรถไฟพอสมควรครับ..อย่าโกรธกันนะครับเกี่ยวกับว่าผมทำอะไร?

บางคำถามค่อนข้างนานมาก
  1. โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องการทำขบวนรถเข้ากรุงเทพฯ ผมมาจำได้ตอนที่รถวิ่งกรุงเทพฯ ใช้พวกดีเซลแล้วครับ (ใช้ฮิตาชิ ครับ)
  2. รถจักรในระยะสุดท้ายก่อนตัดบัญชีส่วนใหญ่จะมาประจำการที่ทุ่งสง และหาดใหญ่ เยอะครับจำไม่ไหว (ขนาดรถอี หรือ E class) ยังมีใช้ก่อนตัดบัญชี  ส่วน 824 นี่ ผมคิดว่าคุณมาถูกคนแล้วครับ เพราะ พขร.คนสุดท้ายที่ดูแลคันนี้คือ คุณระลึก ตันนะ ที่คุณถามถึงนั่นละครับ

3. อันนี้ผมว่าเป็นปัญหาด้านเทคนิคมากกว่าครับ..เรื่องลากจูงนั่นน่ะถึงแน่ (ลากไป พักค้างคืนไป...อย่ารีบ)
4. ระลึก ตันนะ คนนี้ได้เข็มดีเด่นเรื่องดูแลรถจักร อยากให้คุณจำไว้เลยว่า เจ้า 824 ที่สภาพรอดตัดบัญชีมาได้วันนี้ พขร.คนสุดท้ายของหาดใหญ่คือคนนี้ละครับคือผู้ดูแลมัน    ส.หัว

ขอบคุณท่านโนมากครับ ส.ตากุลิบกุลิบ

เกี่ยวกับอดีต พขร.824  คุณลุงระลึก  ผมได้มารู้จักท่านได้ ก็เพราะสมัยนั้นหลังบ้านผมยังเป็นสนามโล่งๆ ไม่มีห้างโรบินสัน คุณพ่อผมก็ออกวิ่งทุกเช้า ได้พบปะกับคุณลุงระลึก ก็บอกลุงระลึกไปว่า ผมเนี่ยชอบรถไฟ คุณพ่อผมก็พาผมไปวิ่งตอนเช้าด้วย จนผมได้รู้จักกับลุงระลึก  และก็เป็นลุงระลึกนี่เองที่ทำให้ผมรู้สึกชอบและรัก รฟท มาจนทุกวันนี้   ช่วงนั้นประมาณ ปี 2530 ได้มั๊ง ผมก็ราวๆ 10 ขวบ  ตอนนั้นลุงระลึกก็ขับรถดีเซล ส่วนมากก็เป็นกรุ๊ป กับ ALS ครับ

  ผมยังเคยนำรูปถ่ายมาให้ลุงระลึกดูด้วย เป็นภาพสียุคแรกๆสมัยที่ผมยังเล็กๆ ราว 6 ขวบ ตอนนั้นผมไม่รู้หรอกว่า คุณพ่อผมถ่ายรูปผมกับรถจักรไอน้ำทำไม  ผมมาดูภายหลัง เห็นผมตอนเด็กๆ กับเจ้า 824 ครับ   จำได้ว่า มีรถจักรไอน้ำจอดเรียงหลายคัน ข้างๆโรงรถจักรหาดใหญ่ครับ  ลุงระลึกแกก็ดูแล้วยิ้มๆ บอกให้ผมเก็บรักษาไว้ให้ดีๆ ต่อไปจะเป็นประวัติศาสตร์ ... แล้วลุงระลึกก็พูดได้ถูกต้องจริงๆครับ ส.ตากุลิบกุลิบ ส.ยกน้ิวให้ ส.ตากุลิบกุลิบ

และผมได้เคยอ่านจากคนที่ไปสัมภาษณ์ลุงระลึก ก็ได้รู้ว่า ลุงระลึกแกก็รักเจ้า 824 เหมือนรักลูกรักครอบครัวจริงๆ  และลุงระลึกแกก็ใจดีกับผมมากๆ  อยากพบลุงระลึกอีกจังเลย   ลูกชายแกก็เป็นช่างเครื่องอยู่ที่หาดใหญ่ แต่ไม่ค่อยได้พบปะพูดคุยกันเท่ไหร่เพราะวิ่งรถบ่อยครับ

ไว้ผมมีคำถาม ก็ค่อยเข้ามาถามท่านโนอีกนะครับ ส.ตากุลิบกุลิบ ส.ตากุลิบกุลิบ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

Kungd4d

 ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ ชอบรถไฟ ชอบตำนานรถไฟ แต่ไม่ค่อยมีความรุ้เรื่องรถไฟ ก็ได้แต่ติดตามท่านที่มีความรู้ มีความหลังกับรถไฟ มาสนทนากันครับ  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

peeak

ผมอยากคุยกับคุณลุง ระลึก คนนี้จัง....คงไขข้อข้องใจอะไรให้ผมได้เยอะ 824 เป็นรถจักรคันแรกที่ผมประทับใจ ปัจจุบันผมก้ได้พยายามหาข้อมูลต่างๆ จากช่างเก่าๆที่ธนบุรีนี่แหละครับ ภาพนี้อีกภาพนึงครับเซฟไว้นานล่ะ จำไม่ได้ว่าที่ไหน ปีอะไร

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อ้างจาก: peeak เมื่อ 17:08 น.  04 ก.พ 56
ผมอยากคุยกับคุณลุง ระลึก คนนี้จัง....คงไขข้อข้องใจอะไรให้ผมได้เยอะ 824 เป็นรถจักรคันแรกที่ผมประทับใจ ปัจจุบันผมก้ได้พยายามหาข้อมูลต่างๆ จากช่างเก่าๆที่ธนบุรีนี่แหละครับ ภาพนี้อีกภาพนึงครับเซฟไว้นานล่ะ จำไม่ได้ว่าที่ไหน ปีอะไร

จากที่ผมทราบมา ตอนนี้ลุงระลึกก็เกษียณไปหลายปีแล้วครับ แต่ความจำเรื่องรถจักรไอน้ำยังดีเยี่ยม

เคยมีเวปๆนึง ไปสัมภาษณ์ลุงระลึกไว้แล้วครับ ผมจำไม่ได้ว่าเป็นเวปไหน ใครรู้ก็ช่วยบอกด้วยละกันครับ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

เรียนถามท่านโน

1.ผมได้ยินมาบ้างนะครับ แต่ไม่แน่ใจ ว่า  ในอดีต ชุมทางหาดใหญ่เคยมีทางสามเหลี่ยม(เพื่อให้กลับหัวรถจักร) จริงหรือไม่ ส.อืม ส.อืม 

2.วงเวียนกลับรถจักรเดิม อยู่ในย่านโรงรถพ่วง ใกล้วงเวียนปัจจุบัน ใช่ไหมครับ

3.ตัวอาคารสถานีหาดใหญ่ ก่อนจะมีอาคารปัจจุบันนั้นอยู่คนละฝั่งกับปัจจุบัน จริงหรือไม่  ผมเคยเห็นรูปเก่าๆ เห็นว่าอาคารสถานี(ไม้)อยู่ตรงข้ามกับถังเก็บน้ำ(ที่อยู่ใกล้ทางไปยะลา)ครับ

ผมคงไม่รบกวนท่านโนมากนะครับ ขอบคุณครับ ส.ตากุลิบกุลิบ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

Mr.No

อ้างจาก: Kungd4d เมื่อ 11:54 น.  04 ก.พ 56
ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ ชอบรถไฟ ชอบตำนานรถไฟ แต่ไม่ค่อยมีความรุ้เรื่องรถไฟ ก็ได้แต่ติดตามท่านที่มีความรู้ มีความหลังกับรถไฟ มาสนทนากันครับ  ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ

คุยเรื่องรถไฟเก่า ๆ สนุกครับ. แต่คุยเรื่องเก่ามากไปเดี๋ยวเค้าหาว่า พวกชอบกินของขม...ชมเด็กสาว..เล่าเรื่องเก่า (ชรา)  ส.หัว
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: peeak เมื่อ 17:08 น.  04 ก.พ 56
ผมอยากคุยกับคุณลุง ระลึก คนนี้จัง....คงไขข้อข้องใจอะไรให้ผมได้เยอะ 824 เป็นรถจักรคันแรกที่ผมประทับใจ ปัจจุบันผมก้ได้พยายามหาข้อมูลต่างๆ จากช่างเก่าๆที่ธนบุรีนี่แหละครับ ภาพนี้อีกภาพนึงครับเซฟไว้นานล่ะ จำไม่ได้ว่าที่ไหน ปีอะไร

สวัสดีครับคุณ peeak


ผมเพิ่งเจอลูกชายคนโต คุณระลึก เมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่งานศพอดีตช่างโรงรถจักรยุคไอน้ำท่านหนึ่ง..ก็ถามไถ่ถึงคุณพ่อทราบว่าพึ่งจะผ่าตัดตาและอยู่ในระหว่างการพักฟื้นครับ..ยังไงมีโอกาสเจออีกจะเล่าให้ฟังหรือขอเบอร์ให้ครับ เผื่อจะมีโอกาสจะไปเยี่ยมไปคุยกับแกบ้าง ส.ตากุลิบกุลิบ

ขอบคุณสำหรับภาพที่นำมาให้ชมครับ..เก่าเชียวครับ... เจ้า 827 (ที่วันนี้กลายเป็นปุ๋ยไปเรียบร้อย) คันในภาพ ผมเดาว่าน่าจะก่อนที่จะส่งมาใช้งานในระยะสุดท้ายที่ทุ่งสงหรือหาดใหญ่  แต่ก็ต้องถือว่าเป็นพี่ ๆ น้อง ๆ กับ 824 ที่กลายเป็นตัวแทนให้แทน


ที่น่าสนใจก็คือจากภาพ..ผมแทบไม่ต้องเดาก็รู้ว่า คนซ้ายสุดนั่นน่ะช่างไฟ 2 เพราะพี่แกสวมชุดโยนฟืนชัดเจน..ส่วนคนที่สวมหมวกหม้อตาลและขวาสุดผมเดาว่า น่าจะเป็นฝ่ายเดินรถ(นายสถานี) เพราะดูจากแถบคาดหมวดน่าจะออกแดงและสีเสื้อน่าจะเป็นกากี.มากกว่าน้ำเงิน  (อาจจะผิดก็ได้ครับ ส.หัว)

เรื่องรถจักรไอน้ำนี่...สิ่งสำคัญที่สุดที่ พขร.ในยุคนั้นจะให้ความสำคัญมากคือ ช่างไฟ1 ครับ...ต้องเลือกพวกที่ ปรุงไอ หรือ ดงไอ เก่ง ๆ  (คำว่า ปรุงไอ เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกันในยุคนั้น)

การสร้างสตีมหรือไอน้ำดี ๆ ช่วยให้รถจักรมีกำลัง ดังนั้น ช่างไฟ 1 มีหน้าที่คุมกำลังไอน้ำ...ส่วนช่างไฟ 2 มีหน้าที่โยนฟืนเข้าเตาตามคำสั่ง

อย่างปรุงไอไม่ดี...ขนาดมิกาโด้ที่ว่าแรงดี ยังลากตู้สินค้าไม่รอดต้องจอดตัดตู้ทิ้งไว้ที่ ควนจง ในยุคนั้นบ่อย ๆ  ส.หัว ส.หัว

เท่าที่จำได้ รถจักรไอน้ำในยุคนั้นทุกรุ่นสั่งเข้ามาใช้ฟืนทุกคันครับ...แต่ในระยะสุดท้ายมีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้เชื้อเพลิงพวกน้ำมันเตาแทน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคัน...เพราะบางคันใช้ฟืนไปจนกระทั่งตัดบัญชี

ในระยะหลังที่มีการปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตา ตำแหน่งช่างไฟ 2 ก็ค่อย ๆ หมดไป เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้การโยนฟืนเข้าเตาอีกต่อไป...

อย่างใน link ที่คุณ   นำภาพ 840 มาให้ดู (http://www.internationalsteam.co.uk/tales/thaitales02.htm ) จะเห็นว่า รถจักรคันนี้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาแล้ว ...และอยากให้สังเกตุในภาพเกจ์วัดในห้องขับ ที่นายบุญเกื้อ พขร ผุ้ทำขบวนกำลังทำขบวนแสดงให้เห็นการทำงานเต็มสตีมของรถแล้ว (มิดเกจ์เลย)


ในการเลือกรถจักรเพื่ออนุรักษ์..ผมยังนึกแปลกใจในช่วงนั้นว่า เหตุใดในซีรีสย์ 8 จึงไม่เลือก 840 ที่เป็นรถจักรที่ขึ้นชื่อสวยงามนัก แทนที่จะไปเลือก 850 แต่ผมเข้าใจว่า ทางฝ่ายวิศวกรอาจตรวจแล้วพบว่าสภาพของบอยเลอร์และโครงประธานของ 850 อาจเนี้ยบกว่าการพิจารณาความเงางามภายนอกก็ได้...

ผมมักได้ยินหลายคนพูดถึงรถจักรไอน้ำ โดยเฉพาะ "กลิ่นไอ" กันบ่อย ๆ ....ผมก็ยอมรับว่า "กลิ่นไอน้ำ" มีเสน่ห์จริงๆ (พิมพ์มาถึงตรงนี้ กลิ่นนั้นยังอวลอยู่ในความจำเลยนะเนี่ย)

ถ้าใครอยากทราบว่ากลิ่นไอน้ำ..มันสดชื่นหยั่งกะคนผ่านซาวน์น่ายังไง..มีโอกาสได้ไปดูของจริงเวลาทำขบวนพิศษ ..ลองเดินผ่านไปใกล้ ๆ ลูกสูบรถแถว ๆ ล้อกำลังแรกนั่นละครับ ..แต่อย่าเผลอไปยืนเวลาเค้าเปิดไอฉีด...ฟู้ดดดดดดด เต็มแรงน่ะ   ร้อนเล่นเอาพองนะครับ... ส.หัว ส.หัว
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: คนข้างมาม่า ^^ เมื่อ 17:47 น.  04 ก.พ 56
เรียนถามท่านโน

1.ผมได้ยินมาบ้างนะครับ แต่ไม่แน่ใจ ว่า  ในอดีต ชุมทางหาดใหญ่เคยมีทางสามเหลี่ยม(เพื่อให้กลับหัวรถจักร) จริงหรือไม่ ส.อืม ส.อืม 

2.วงเวียนกลับรถจักรเดิม อยู่ในย่านโรงรถพ่วง ใกล้วงเวียนปัจจุบัน ใช่ไหมครับ

3.ตัวอาคารสถานีหาดใหญ่ ก่อนจะมีอาคารปัจจุบันนั้นอยู่คนละฝั่งกับปัจจุบัน จริงหรือไม่  ผมเคยเห็นรูปเก่าๆ เห็นว่าอาคารสถานี(ไม้)อยู่ตรงข้ามกับถังเก็บน้ำ(ที่อยู่ใกล้ทางไปยะลา)ครับ

ผมคงไม่รบกวนท่านโนมากนะครับ ขอบคุณครับ ส.ตากุลิบกุลิบ

1.ผมได้ยินมาบ้างนะครับ แต่ไม่แน่ใจ ว่า  ในอดีต ชุมทางหาดใหญ่เคยมีทางสามเหลี่ยม(เพื่อให้กลับหัวรถจักร) จริงหรือไม่ ส.อืม ส.อืม 

  ตอบ มีครับ..แต่ผมไม่ทัน. ผมทันยุควงเวียนกลับรถแล้ว  ส่วนตำแหน่งสามเหลี่ยมเดิม ก็ตรงทางเข้าบ้านพักรถไฟ (หลังอู่) นั่นละครับ มันจะมีเส้นออกมาอีกเส้น แบบง่ามหนังสติ๊ก เช่นรถจักรมาจากยะลาจะกลับรถทำขบวนเช้าไปอีกที ก็ต้องวิ่งเดินหน้าขึ้นเหนือแล้วถอยเข้าไป (ในซอย) จนสุด ก็สับปะแจ วิ่งออกอีกเส้นหันไปทางทิศใต้ หลักง่าย ๆ ครับ (แต่มันไม่ work เพราะกินที่แยะ)

2.วงเวียนกลับรถจักรเดิม อยู่ในย่านโรงรถพ่วง ใกล้วงเวียนปัจจุบัน ใช่ไหมครับ
  ตอบ จากสามเหลี่ยม ผมก็เห็นวงเวียนกลับรถจักรที่มีอยู่นี่ละครับ (วงเวียนหรือสามเหลี่ยมครับ ส.อืม)

3.ตัวอาคารสถานีหาดใหญ่ ก่อนจะมีอาคารปัจจุบันนั้นอยู่คนละฝั่งกับปัจจุบัน จริงหรือไม่  ผมเคยเห็นรูปเก่าๆ เห็นว่าอาคารสถานี(ไม้)อยู่ตรงข้ามกับถังเก็บน้ำ(ที่อยู่ใกล้ทางไปยะลา)ครับ

  ตอบ  ..อาคารสถานีหาดใหญ่เดิมกับปัจจุบันมันก็ฝั่งเดี่ยวกันนี่ครับเพียงแต่เดิมมันเป็นอาคารไม้แล้วก็มาสร้างเป็นตึกเอาทีหลัง ถ้าก่อนอาคารไม้ผมเกิดไม่ทันครับ น่าจะยุคนายเจีย แถวอู่ตะเภาเลยมั๊งครับ ส.ตากุลิบกุลิบ 
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

peeak

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 22:26 น.  04 ก.พ 56
สวัสดีครับคุณ peeak


ผมเพิ่งเจอลูกชายคนโต คุณระลึก เมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่งานศพอดีตช่างโรงรถจักรยุคไอน้ำท่านหนึ่ง..ก็ถามไถ่ถึงคุณพ่อทราบว่าพึ่งจะผ่าตัดตาและอยู่ในระหว่างการพักฟื้นครับ..ยังไงมีโอกาสเจออีกจะเล่าให้ฟังหรือขอเบอร์ให้ครับ เผื่อจะมีโอกาสจะไปเยี่ยมไปคุยกับแกบ้าง ส.ตากุลิบกุลิบ

ขอบคุณสำหรับภาพที่นำมาให้ชมครับ..เก่าเชียวครับ... เจ้า 827 (ที่วันนี้กลายเป็นปุ๋ยไปเรียบร้อย) คันในภาพ ผมเดาว่าน่าจะก่อนที่จะส่งมาใช้งานในระยะสุดท้ายที่ทุ่งสงหรือหาดใหญ่  แต่ก็ต้องถือว่าเป็นพี่ ๆ น้อง ๆ กับ 824 ที่กลายเป็นตัวแทนให้แทน


ที่น่าสนใจก็คือจากภาพ..ผมแทบไม่ต้องเดาก็รู้ว่า คนซ้ายสุดนั่นน่ะช่างไฟ 2 เพราะพี่แกสวมชุดโยนฟืนชัดเจน..ส่วนคนที่สวมหมวกหม้อตาลและขวาสุดผมเดาว่า น่าจะเป็นฝ่ายเดินรถ(นายสถานี) เพราะดูจากแถบคาดหมวดน่าจะออกแดงและสีเสื้อน่าจะเป็นกากี.มากกว่าน้ำเงิน  (อาจจะผิดก็ได้ครับ ส.หัว)

เรื่องรถจักรไอน้ำนี่...สิ่งสำคัญที่สุดที่ พขร.ในยุคนั้นจะให้ความสำคัญมากคือ ช่างไฟ1 ครับ...ต้องเลือกพวกที่ ปรุงไอ หรือ ดงไอ เก่ง ๆ  (คำว่า ปรุงไอ เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกันในยุคนั้น)

การสร้างสตีมหรือไอน้ำดี ๆ ช่วยให้รถจักรมีกำลัง ดังนั้น ช่างไฟ 1 มีหน้าที่คุมกำลังไอน้ำ...ส่วนช่างไฟ 2 มีหน้าที่โยนฟืนเข้าเตาตามคำสั่ง

อย่างปรุงไอไม่ดี...ขนาดมิกาโด้ที่ว่าแรงดี ยังลากตู้สินค้าไม่รอดต้องจอดตัดตู้ทิ้งไว้ที่ ควนจง ในยุคนั้นบ่อย ๆ  ส.หัว ส.หัว

เท่าที่จำได้ รถจักรไอน้ำในยุคนั้นทุกรุ่นสั่งเข้ามาใช้ฟืนทุกคันครับ...แต่ในระยะสุดท้ายมีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้เชื้อเพลิงพวกน้ำมันเตาแทน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคัน...เพราะบางคันใช้ฟืนไปจนกระทั่งตัดบัญชี

ในระยะหลังที่มีการปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตา ตำแหน่งช่างไฟ 2 ก็ค่อย ๆ หมดไป เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้การโยนฟืนเข้าเตาอีกต่อไป...

อย่างใน link ที่คุณ   นำภาพ 840 มาให้ดู (http://www.internationalsteam.co.uk/tales/thaitales02.htm ) จะเห็นว่า รถจักรคันนี้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาแล้ว ...และอยากให้สังเกตุในภาพเกจ์วัดในห้องขับ ที่นายบุญเกื้อ พขร ผุ้ทำขบวนกำลังทำขบวนแสดงให้เห็นการทำงานเต็มสตีมของรถแล้ว (มิดเกจ์เลย)


ในการเลือกรถจักรเพื่ออนุรักษ์..ผมยังนึกแปลกใจในช่วงนั้นว่า เหตุใดในซีรีสย์ 8 จึงไม่เลือก 840 ที่เป็นรถจักรที่ขึ้นชื่อสวยงามนัก แทนที่จะไปเลือก 850 แต่ผมเข้าใจว่า ทางฝ่ายวิศวกรอาจตรวจแล้วพบว่าสภาพของบอยเลอร์และโครงประธานของ 850 อาจเนี้ยบกว่าการพิจารณาความเงางามภายนอกก็ได้...

ผมมักได้ยินหลายคนพูดถึงรถจักรไอน้ำ โดยเฉพาะ "กลิ่นไอ" กันบ่อย ๆ ....ผมก็ยอมรับว่า "กลิ่นไอน้ำ" มีเสน่ห์จริงๆ (พิมพ์มาถึงตรงนี้ กลิ่นนั้นยังอวลอยู่ในความจำเลยนะเนี่ย)

ถ้าใครอยากทราบว่ากลิ่นไอน้ำ..มันสดชื่นหยั่งกะคนผ่านซาวน์น่ายังไง..มีโอกาสได้ไปดูของจริงเวลาทำขบวนพิศษ ..ลองเดินผ่านไปใกล้ ๆ ลูกสูบรถแถว ๆ ล้อกำลังแรกนั่นละครับ ..แต่อย่าเผลอไปยืนเวลาเค้าเปิดไอฉีด...ฟู้ดดดดดดด เต็มแรงน่ะ   ร้อนเล่นเอาพองนะครับ... ส.หัว ส.หัว



ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ดีๆ.....ถึงผมจะหาข้อมูลได้มากเพียงไร...แต่คงไม่เท่ากับคุณเลยครับ...เพราะคุณได้สัมผัสมันตรงๆ.........หาดใหญ่ 840 อาจจะเป็นรถที่สวยที่สุด ทุ่งสงก็มีครับ 848 สวยงามไม่แพ้กัน.....

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 22:26 น.  04 ก.พ 56
สวัสดีครับคุณ peeak


ผมเพิ่งเจอลูกชายคนโต คุณระลึก เมื่ออาทิตย์ที่แล้วที่งานศพอดีตช่างโรงรถจักรยุคไอน้ำท่านหนึ่ง..ก็ถามไถ่ถึงคุณพ่อทราบว่าพึ่งจะผ่าตัดตาและอยู่ในระหว่างการพักฟื้นครับ..ยังไงมีโอกาสเจออีกจะเล่าให้ฟังหรือขอเบอร์ให้ครับ เผื่อจะมีโอกาสจะไปเยี่ยมไปคุยกับแกบ้าง ส.ตากุลิบกุลิบ

ขอบคุณสำหรับภาพที่นำมาให้ชมครับ..เก่าเชียวครับ... เจ้า 827 (ที่วันนี้กลายเป็นปุ๋ยไปเรียบร้อย) คันในภาพ ผมเดาว่าน่าจะก่อนที่จะส่งมาใช้งานในระยะสุดท้ายที่ทุ่งสงหรือหาดใหญ่  แต่ก็ต้องถือว่าเป็นพี่ ๆ น้อง ๆ กับ 824 ที่กลายเป็นตัวแทนให้แทน


ที่น่าสนใจก็คือจากภาพ..ผมแทบไม่ต้องเดาก็รู้ว่า คนซ้ายสุดนั่นน่ะช่างไฟ 2 เพราะพี่แกสวมชุดโยนฟืนชัดเจน..ส่วนคนที่สวมหมวกหม้อตาลและขวาสุดผมเดาว่า น่าจะเป็นฝ่ายเดินรถ(นายสถานี) เพราะดูจากแถบคาดหมวดน่าจะออกแดงและสีเสื้อน่าจะเป็นกากี.มากกว่าน้ำเงิน  (อาจจะผิดก็ได้ครับ ส.หัว)

เรื่องรถจักรไอน้ำนี่...สิ่งสำคัญที่สุดที่ พขร.ในยุคนั้นจะให้ความสำคัญมากคือ ช่างไฟ1 ครับ...ต้องเลือกพวกที่ ปรุงไอ หรือ ดงไอ เก่ง ๆ  (คำว่า ปรุงไอ เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกันในยุคนั้น)

การสร้างสตีมหรือไอน้ำดี ๆ ช่วยให้รถจักรมีกำลัง ดังนั้น ช่างไฟ 1 มีหน้าที่คุมกำลังไอน้ำ...ส่วนช่างไฟ 2 มีหน้าที่โยนฟืนเข้าเตาตามคำสั่ง

อย่างปรุงไอไม่ดี...ขนาดมิกาโด้ที่ว่าแรงดี ยังลากตู้สินค้าไม่รอดต้องจอดตัดตู้ทิ้งไว้ที่ ควนจง ในยุคนั้นบ่อย ๆ  ส.หัว ส.หัว

เท่าที่จำได้ รถจักรไอน้ำในยุคนั้นทุกรุ่นสั่งเข้ามาใช้ฟืนทุกคันครับ...แต่ในระยะสุดท้ายมีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้เชื้อเพลิงพวกน้ำมันเตาแทน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคัน...เพราะบางคันใช้ฟืนไปจนกระทั่งตัดบัญชี

ในระยะหลังที่มีการปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเตา ตำแหน่งช่างไฟ 2 ก็ค่อย ๆ หมดไป เพราะไม่มีความจำเป็นต้องใช้การโยนฟืนเข้าเตาอีกต่อไป...

อย่างใน link ที่คุณ   นำภาพ 840 มาให้ดู (http://www.internationalsteam.co.uk/tales/thaitales02.htm ) จะเห็นว่า รถจักรคันนี้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเตาแล้ว ...และอยากให้สังเกตุในภาพเกจ์วัดในห้องขับ ที่นายบุญเกื้อ พขร ผุ้ทำขบวนกำลังทำขบวนแสดงให้เห็นการทำงานเต็มสตีมของรถแล้ว (มิดเกจ์เลย)


ในการเลือกรถจักรเพื่ออนุรักษ์..ผมยังนึกแปลกใจในช่วงนั้นว่า เหตุใดในซีรีสย์ 8 จึงไม่เลือก 840 ที่เป็นรถจักรที่ขึ้นชื่อสวยงามนัก แทนที่จะไปเลือก 850 แต่ผมเข้าใจว่า ทางฝ่ายวิศวกรอาจตรวจแล้วพบว่าสภาพของบอยเลอร์และโครงประธานของ 850 อาจเนี้ยบกว่าการพิจารณาความเงางามภายนอกก็ได้...

ผมมักได้ยินหลายคนพูดถึงรถจักรไอน้ำ โดยเฉพาะ "กลิ่นไอ" กันบ่อย ๆ ....ผมก็ยอมรับว่า "กลิ่นไอน้ำ" มีเสน่ห์จริงๆ (พิมพ์มาถึงตรงนี้ กลิ่นนั้นยังอวลอยู่ในความจำเลยนะเนี่ย)

ถ้าใครอยากทราบว่ากลิ่นไอน้ำ..มันสดชื่นหยั่งกะคนผ่านซาวน์น่ายังไง..มีโอกาสได้ไปดูของจริงเวลาทำขบวนพิศษ ..ลองเดินผ่านไปใกล้ ๆ ลูกสูบรถแถว ๆ ล้อกำลังแรกนั่นละครับ ..แต่อย่าเผลอไปยืนเวลาเค้าเปิดไอฉีด...ฟู้ดดดดดดด เต็มแรงน่ะ   ร้อนเล่นเอาพองนะครับ... ส.หัว ส.หัว

ขอบคุณท่านโนมากครับ

และก็เพิ่งทราบข่าวเช่นกันว่า ลุงระลึกกำลังพักฟื้นจากการผ่าตัดตา  ก็ขอให้ลุงระลึกพักฟื้นและหายป่วยไวๆเช่นกันครับ

ส่วนเรื่องทางสามเหลี่ยม ผมก็มั่นใจแล้วครับว่า หาดใหญ่เคยมีทางสามเหลี่ยมอยู่จริง  กับวงเวียนกลับรถจักรเดิม ผมเคยไปเดินถ่ายรูปข้างๆโรงรถพ่วง ก็ยังได้เห็นร่องรอย ขอบปูน เป็นวงกลมค่อนข้างชัดเจน แสดงว่าเคยมีวงเวียนเก่าอยู่ตรงนั้นแน่นอน

เรื่องรถจักรไอน้ำที่ตัดบัญชี  ช่วงปี 2530 ถ้าผมจำไม่ผิด มีการนำซากรถจักรไอน้ำที่ประมูลแล้วไปตั้งบริเวณหัวมุมถนน 30 เมตร เลยโรงแรมโนราไปเล็กน้อย   น่าเสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ครับ  แต่จากที่ผมจำได้ลางๆ น่าจะมีประมาณ 4 หรือ 5 คันนะครับ แบบมิกาโด้ และ แปซิฟิค ปะปนกัน   บางคันก็เหลือแค่หม้อน้ำเก่าๆ  สนิมจับก็มี ...
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

peeak

ภาพไหนที่ใครค้นเจอก็อยากให้นำมาแชร์กันให้ชมกันครับ.....ภาพนี้ทุ่งสงแน่นอน

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

ผมเคยเห็นรูปรถจักรไอน้ำตัดบัญชี จอดเป็นแถวยาวที่ทุ่งสง  ของเวปรถไฟไทยดอทคอมครับ

ไม่กล้านำมาลง เกรงใจเจ้าของภาพครับ
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

peeak

คันนีั้ภาพสุดท้ายจอดเป็นซากอยู่ที่ทุ่งสงและคงถูกตัดเป็นเศษเหล็กที่มี่

เบลอมัวเลือน

link ของ Mr.No ที่เป็นรูปถ่ายสี (ขอบคุณมากครับ)



คนในรูป ปัจจุบัน อายุน่าจะ 70+
บันทึกว่าเขาเดินทางปี 1973 (2516) จากหาดใหญ่ไปสุไหงโกลก ด้วย 840 ตอนนั้น ใช้เวลา 5.5 ชั่วโมง (10 carriage train หมายถึง 10 บอกี้ หรือเปล่า)

ผู้ถ่ายภาพ ได้ถ่ายภาพให้เห็นความสะอาด ของรถไฟ และสถานที่ เท่าที่เห็น (ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น ที่เดี๋ยวนี้จึงสกปรกมาก กว่าที่เห็นในรูป)

มะรือโบ
ตันหยงมัส

เห็นแล้ว ขนลุกไปหมด ทำให้นึกถึงสมัยเด็กๆ ที่นั่งรถไฟ ผ่านสถานีเหล่านี้

กลิ่นของรถไฟและสถานี (ซึ่งไม่รู้ว่าคือกลิ่นอะไร) หวนเข้ามาในสมอง


รูปสุดท้ายของ link นั้น .....

This was no 'flash in the pan' for 840. I cannot resist this shot taken a month later from the footbridge at Haadyai station in the early morning:

ดูกันออกไหม รูปสีปี 2516



ภาพสีชัดเจนมาก
การเก็บภาพก็คณภาพสูง ดูแลเป็นอย่างดี เหมือนเพิ่งถ่ายไม่กี่ปีนี้

รูปสีในสมัยนั้นคงได้จาก ฝรั่ง มากกว่าที่จะมีในคนไทย

บันทึกนั้นมีคุณค่าจริงๆ ครับ

Mr.No

อ้างจาก: peeak เมื่อ 08:25 น.  05 ก.พ 56


ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ดีๆ.....ถึงผมจะหาข้อมูลได้มากเพียงไร...แต่คงไม่เท่ากับคุณเลยครับ...เพราะคุณได้สัมผัสมันตรงๆ.........หาดใหญ่ 840 อาจจะเป็นรถที่สวยที่สุด ทุ่งสงก็มีครับ 848 สวยงามไม่แพ้กัน.....

ผมคิดว่าเวลาที่เราเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลัง ๆ ฟัง ส่วนใหญ่เรามักจะบึนทึกหรือเล่าแต่ในเรื่องราวที่เป็นข้อมูลด้านวิชาการแทบจะร้อยเปอร์เซนต์  พูดง่าย ๆ คือ ทำให้การเรียนประวัติศาสตร์มัน "แห้งแล้งและจืดชืด"

ดังนั้นผมเห็นว่าการเก็บเกี่ยวและเติมเต็มประวัติศาสตร์..นอกจากจะต้องบันทึกสาระและเนื้อหาด้านวิชาการแล้ว ผมเห็นว่าควรต้องบันทึก เรื่องราว..บรรยากาศ หรือวิถีชีวิต,ในห้วงเวลานั้น โดยเฉพาะตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องในประวัติศาสตร์ไว้ให้มากที่สุด จะช่วยให้การถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์นั้นมองเห็นภาพได้อย่างเข้าใจ.

อย่างเรื่องราวของรถไฟไทยเนี่ยะ...ผมค่อนข้างชื่นชมหลาย ๆท่านที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ที่ทุ่มเทและแสวงหาข้อมูลด้านวิชาการจนเรียกได้ว่าเป็น "เซียน" แบบที่คนรถไฟที่ตัวเองขับรถอยู่ทุกวันยังรู้ไม่ถึงครึ่งของตัวตนรถจักรที่ตนเองขับอยู่ด้วยซ้ำ!

เรียกได้ว่า ถ้าปราศจาก "แฟนรถไฟไทย" (ที่บางคนไม่ใช่คนรถไฟด้วยซ้ำ) ลำพังอาศัยฝ่ายประชาสัมพันธ์ของการรถไฟเอง ผมว่าวันนี้ คุณค่าของรถไฟไทย ก็แค่ "วัตถุไปช้า..แถมตกรางซ้ำซาก" ก็แค่นั้น!

เรามักจะพบแต่ด้าน "ข้อมูลทางเทคนิค" ที่มีหลายท่านค่อนข้างมีความรู้ ความสามารถมากมาย แต่ที่ผมคิดว่ายังขาดและไม่ค่อยมีใครใส่ใจก็คือ "ข้อมูลของคน" ในห้วงเวลานั้น

รถไฟ..มันก็แค่ "วัตถุ"   เรารู้ รุ่น..แบบ..ชนิด ..แรงม้า ฯลฯ   แต่ "คน" โดยเฉพาะคนรถไฟที่มีจิตวิญญาน..มีความรักความผูกพันกับรถจักร..เป็นผู้สร้างตำนาน..สร้างเรื่องราว หลายคนโดยเฉพาะหน่วยงานรถไฟเองกลับมองข้ามไม่ได้เก็บข้อมูลคนเหล่านั้นไว้... อย่างน้อย 30 ปีที่ได้เข็มทำงาน ก็น่าจะมีหอเกียรติยศบรรจุเรื่องราวดี ๆ ไว้ให้ ครฟ รุ่นใหม่ใหม่ได้เดินตามและมีแรงบันดาลใจ!

หน้าประวัติศาสตร์สมัยรถจักรไอน้ำที่น่าสนใจ ..เช่น "กรณีรถจักรไอน้ำทำขบวนจากสุไหงโกลก - ปลายทางยะลา ทำขบวนมาถึงบริเวณใกล้สถานีเจาะไอร้อง พขร.นายเปิม พบว่ามีไม้หมอนวางขวางรถไฟ จึงเบาทางและพบว่ามี ขจก.ซุ่มอยู่บริเวณบนเขาข้างทาง จึงตัดสินใจค่อย ๆ เปิดไอรถจักร ใช้ตะแกรงหน้ารถค่อย ๆ ดันไม้หมอนทีวางขวางจนตกไปข้างทางและเปิดไอน้ำหนีเต็มที่..จากนั้นก็มีเสียงปืนยิงลงมาจากทั้งสองข้าง ผล ก็คือ นายเต๋ง(ผมจำชื่อจริงไม่ได้) ช่างไฟ1 ถูกกระสุนปืนคนร้ายได้รับบาดเจ็บ..แต่ผลจากการตัดสินใจของ พขร.นายเปิม ทำให้ขบวนรถไฟนั้นรอดม่าได้หวุดหวิด ..." 

ตัวอย่างที่ผมเล่าข้างต้นนี่ไงครับ... ที่เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ผมคิดว่าเราลืมและละเลยไป

สมัยก่อนผมเคยคุยกับผู้ใหญ่บางท่านในโรงรถจักรหาดใหญ่ว่า "นอกจากเราจะมีข้อมูลด้านบุคลากรเช่น ใคร,ตำแหน่งอะไรแล้ว สิ่งที่ควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติมคือ ข้อมูลประสบการณ์การทำงาน เช่น เคยประจำรถอะไรเบอร์อะไร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการสร้างข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่จะเป็นประโยชน์ในอีก 20 หรือ 30ปี หรือมากกว่านั้นในอนาคต

ต้องขอบคุณ คุณ peeak ที่นำ link 840 มาให้ชม โดยเฉพาะการได้เห็นภาพ พขร,ช่างเครื่องที่ผมคุ้นเคยในภาพนั้น เอาเป็นถ้ามีเวลาว่าง ผมจะเสาะหาข้อมูลและบรรยากาศต่าง ๆ ในช่วงนั้นมาเขียนให้อ่านกัน  หรือถ้ามีทุนอาจเขียนเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คสักเล่มว่าแต่ คุณ peeak หรือคุณคนข้างมาม่า จะช่วยควักกะตั้งค์อุดหนุนสักเล่มมั้ยครับ  ส.หลกจริง  ส.หัว
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.