ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอารูปศาลเจ้าโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู

เริ่มโดย บาบ๋า, 12:18 น. 05 ก.พ 56

บาบ๋า


thespecialist


บาบ๋า

ปี พ.ศ. 2503 อำเภอไฮ่เติง 海登縣 ได้รวมกับอำเภอหลงซี 龍溪縣 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเหล่งไห้ 龍海縣 จนถึงปัจจุบัน
Present-day Longhai is the only county-level city within the prefecture-level city of Zhangzhou. It was formed from the merger of the former Longxi (龍溪縣) and Haicheng (海澄縣) counties on August 15, 1960.

บาบ๋า

ปี พ.ศ. 2503 อำเภอไห่เฉิง(ไห่เติง) 海澄縣(海登縣) ได้รวมกับอำเภอหลงซี  龍溪縣 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหลงไห่ 龍海縣 จนถึงปัจจุบัน (ปล.ชื่อเภอสำเนียงจีนกลางง่ายต่อการค้นหา)
Present-day Longhai is the only county-level city within the prefecture-level city of Zhangzhou. It was formed from the merger of the former Longxi (龍溪縣) and Haicheng (海澄縣) counties on August 15, 1960.

บาบ๋า

อำเภอไห่เฉิง (ไห่เติง)
海澄县
维基百科,自由的百科全书
跳转至: 导航、 搜索
海澄县,中国古旧县名。
明朝嘉靖四十五年(1566年)析龙溪县之靖海馆及漳浦县部分地置,治所在今福建省龙海市东南海澄镇,属漳州府。清朝时,仍属漳州府。1960年与龙溪县合并,改名龙海县。以两县各取一字得名。县治石码镇。明后期曾为中国重要的对外贸易港口之一,成化、弘治之际有"小苏杭"之称。

บาบ๋า

ภาพกิจกรรมปลูกต้นโกงกางริมคลองบางกล่ำ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา ภาพโดย คุณบุญโปรด  จิตนวล


บาบ๋า


บาบ๋า

ภาพบรรยากาศการลงพื้นที่ตรวจดูสถานที่ท่าน้ำบางหยีเพื่่อเตรียมความพร้อม เมื่อวันที่ 8กย.59 ในงานประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดสงขลา ต้นเดือนพย.59โดยมีท่านนายอำเภอสุวรรณ ช่วยนุกูล ท่านรองนายก.อบจ.สงขลาท่านธนกร จันทร์สว่างเป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารท้องถิ่นท่านปลัดอักษร บุตรโคตร ท่านประธานสภา สมโภช นันทวงศ์ครับ

jobyjob


บาบ๋า

คลองบางกล่ำ สายคลองที่เป็นเสมือนแขนของทะเลสาบสงขลา ยื่นเข้ามาเป็นแนวกั้นระหว่างอำเภอบางกล่ำ
และอำเภอควนเนียง คลองสายนี้ได้ชื่อว่าเป็นคลองที่สะอาดและมีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดสายหนึ่งของจังหวัดสงขลา
เป็นคลองสามน้ำ (จืด กร่อย เค็ม) ปลาในสายคลองบางกล่ำจึงได้ชื่อว่าเป็นปลาที่อร่อยที่สุดแห่งหนึ่ง
สถานที่นี้ยังเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำแห่งแรกของสงขลาอีกด้วย
ดูตามแผนที่จะเห็นว่าคลองบางกล่ำไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา และมีอีกคลองที่ขนาบอยู่ข้างๆนั่นคือคลอง ร.1
ที่เป็นโครงการพระราชดำริของในหลวงช่วยเรื่องระบายน้ำที่ท่วมเข้าหาดใหญ่
พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นเหมือนหัวใจของการระบายน้ำและคนที่นี่จึงหันมาอนุรักษ์คลองแห่งนี้ให้สะอาดต่อไป

บาบ๋า

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา หลานๆ เหลน ๆ ทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู นิมนต์พระ และจ้างคนมาขุดฮวงซุ้ย เพื่อเอากระดูกทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู ไปไว้ที่บัวคู่กับทวดหลี่ห้วน แซ่กัง สามีที่วัดแจ้ง สงขลา ซึ่งภาพถ่ายนี้อายุราว 80 ปี ได้ระบุปีที่เสียชีวิต หมิ่นก๊กที่ 24 ราวๆ พ.ศ. 2479 ส่วนฮวงซุ้ยนี้สร้างปีหมิ่นก๊กที่ 31 ราวๆ พ.ศ.2485 ทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู มีบิดาที่มาจากอำเภอไฮเท่ง มณฑลฮกเกี้ยนชื่อ นายถู่นู้  แซ่จู มาตั้งรกรากที่บ้านบางกล่ำราวสมัยร.5 มีภรรยาชื่อนางม่าเหนี่ยว ทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู สมรสกับนายหลี่ห้วน แซ่กัง ซึ่งมาจากฮกเกี้ยนเช่นกัน ตอนหลังได้ไปตั้งรกรากที่ระโนด ทวดเขี้ยนเหนี่ยว แซ่จู เสียชีวิตราว อายุ 46 ปี ทำพิธีกงเต๊กที่ระโนดและเผาที่นั่น สามีได้นำกระดูกใส่โลงบรรทุกเรือมาฝัง ณ ที่แห่งนี้


บาบ๋า

แปลกดีเหมือนกันฮกเกี้ยนมีไฮเท่ง 海澄 ส่วนแต้จิ๋วมี เท่งไฮ้ 澄海 ตัวอักษรเขียนเหมือนกันแต่สลับหน้าหลังกันเท่านั้น
ติดชายทะเลเหมือนกัน และที่สำคัญก็อยู่ไม่ไกลกันนะครับ

jobyjob

ผมชอบเรื่องราวแนวนี้มากครับ ดูประวัติศาสตร์และเก่าแก่ดีครับ

บาบ๋า

เรื่องเล่าของ "เรือทองคำ"  แห่งวัดบางทีงซึ่งวัดเก่าแก่หลายร้อยปีริมคลองบางกล่ำ สมัยพ่อท่านเฒ่าคาดว่าในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ช่วงที่เป็นฤดูกาลชักพระจะมีการนำเรือที่ชื่อว่า "ทองคำ" มาแห่เรือพระล่องไปตามคลองบางกล่ำพายไปยังแหลมโพธิ์สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องยนต์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมชักพระ และมีการนำเอาเรือทองคำมาแข่งซึ่งไม่ว่าจะแข่งมากี่ครั้งก็ไม่เคยแพ้ พระยาวิเชียรเจ้าเมืองสงขลาเห็นว่าเป็นเรือเก่าแก่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และขลัง ก็คิดจะเอาไปเป็นสมบัติคู่บารมีของตนเอง แต่พ่อท่านเฒ่าท่านไม่ให้ก็เลยหาอุบาย เอาขวานจามเรือจนทองเรือทะลุและฝังทรายเอาไว้ จึงทำให้มีเรือหลงเหลือจนตราบจนทุกวันนี้

บาบ๋า

ตั้งแต่มีศาลเจ้าแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกล่ำมาเกือบสองร้อยปี เป็นทั้งศูนย์รวมจิตใจของชาวฮกเกี้ยนแห่งชุมชนบางกล่ำ และสถานที่แห่งนี้ยังไปท่าเรือแห่งการค้าขาย มีชาวต่างบ้านต่างเมืองนำสินค้ามาขาย เช่น แขกมลายูจากเมืองปัตตานี กริช หม้อทองเหลือง, ชาวจีนก็นำเครื่องถ้วยชามจีนมาขาย, คนไหหลำนำโอ่งไหหลำมาขาย, โอ่งเขียวไข่กา, ปูนขาว เป็นต้น ส่วนที่นี่จะเป็นศูนย์กลางของการปลูกพลูและขายพลูให้กับคนต่างถิ่น การใช้เงินตราสมัยนั้นสกุลเงินไทยมีน้อยมากจะใช้เงินดอลลาร์สิงค์โปร์เป็นส่วนใหญ่ดังรูป

บาบ๋า

เครดิตเหรียญข้างบนให้กับคุณปิยวิทย์ กัลยาศิริ

บาบ๋า

เหรียญชนิดนี้เรียกว่า The British Trade Dollar ครับ หรือ Great Britain Silver Trade Dollar หรือ Britannia Trade Dollar ผลิตโดยประเทศอังกฤษ  มีการผลิตขึ้นระหว่างปี 1895-1935 โดยอังกฤษนำมาใช้ในเมืองอาณานิคม คือส่วนของ Straits Settlements (สิงคโปร์ มะละกา ปีนัง) ฮ่องกง และ ลาบวน (Labuan) ครับ  จะว่าไปแล้วการเกิดขึ้นของเหรียญชนิดนี้เป็นผลพวงมาจากการที่จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นในปี 1839-1843 และ 1856-1860 ประกอบกับการพบเกาะสิงคโปร์(1819) และเกาะฮ่องกง (1842) จึงซึ่งเป็นเหตุให้ชาติตะวันตกต่างหลั่งไหล่เข้ามายังตะวันออกไกล และทำให้เกิดการค้าขายอย่างคับคั่ง จึงต้องมีการผลิตเหรียญขึ้นใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนนั่นเอง
โดยมีโรงงานผลิต 3 แห่งด้วยกันดังนี้ครับ
1 เมืองบอมเบย์ (Bombay) ประเทศอินเดีย โดยมีจุดสังเกตที่จะมี ตัว B อยู่ตรงง่ามกลางของสามง่ามของเทพีที่ชื่อ Britannia นะครับ ไม่ใช่เทพี อาเธนา นะครับคุณ~สายลมแห่งความเดียวดาย~ แต่จะมีเหรียญที่ผลิตในปี 1895, 1897 และ 1898 บางเหรียญที่ม่มีตัว B ปรากฎอยู่ครับ
ดังนั้นเหรียญของผมนี้ก็ผลิตจาก เมืองบอมเบย์ นี่เองครับ
2. เมืองกัลกัตตา (Calcutta) ประเทศอินเดีย โดยมีจุดสังเกตที่จะมี ตัว C แทรกอยู่ระหว่างเท้าซ้ายกับโล่ห์ของเทพีครับ แต่จะมีบางเหรียญที่ผลิตในปี 1900 ที่ไม่มีตัว C ปรากฏครับ
3. เป็นโรงผลิตของราชวงศ์ (Royal Mint) ในเมืองลอนดอน ซึ่งจะเป็นเหรียญที่ผลิตในปี 1925 และ 1930 เท่านั้นครับ และจะไม่มีรอยสลักใดๆกำกับไว้
ช่างผู้ทำบล๊อกเหรียญชนิดนี้คือ G. W. De Saulles  จากโรงผลิตที่ลอนดอน จากนั้นจึงส่งไปทำการผลิตที่โรงผลิตที่บอมเบย์ กัลกัตตาและที่ลอนดอนเอง  เหรียญที่ผลิตได้จะถูกส่งผ่านไปยังธนาคารที่ ฮ่องกง สิงคโปร์ ปีนัง และเซี่ยงไฮ้ เป็นหลัก
รายละเอียดของเหรียญขอบเหรียญเป็นรอยเฟือง หนักประมาณ 30 กรัม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 39 mm หนา 2.95 mm เนื้อเหรียญประกอบด้วยเงิน 90% ทองแดง 10%
ส่วนรายละเอียดด้านหลังเหรียญก็พบแล้วครับว่าตัวอักษรจีน  อ่านว่า Yi Yuan ตามที่คุณ ~สายลมแห่งความเดียวดาย~ บอกมาครับ ก็คงจะสื่อว่า 1 หยวน หรือมีค่าเท่ากับ 1 เหรียญ
ส่วนอักษรอารบิก อ่าว่า Satu Ringgit ซึ่งเป็นคำภาษามาเลย์แต่ใช้อักษรอารบิกเขียน โดย Satu (ซาตู) = 1 และ Ringgit (ริงกิต) = หน่วยเงินมาเลย์ ครับ หายสงสัยแล้วเย้ๆๆ ส่วนลายแบบจีนตรงกลางเหรียญนั้น เป็นสัญลักษณ์ ของความมีอายุยืน (longevity) ครับ
ส่วนด้านหน้าเหรียญก็อย่างที่อธิบายไปแล้วครับเป็นรูปเทพี Britannia หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก wiki นะครับ ซึ่งก็อาจจะเทียบเคียงได้กับพระสยามเทวาธิราช ครับ

ส่วนโล่ห์นั้นก็เป็นลายมาจากธง Union Jack ครับซึ่ง เป็นการประกอบของลายกากบาท 3 อันของธงจาก Saint George of England, Saint Andrew of Scotland และ Saint Patrick of Ireland หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก wiki เช่นกันครับในส่วนบริเวณ Straits Settlements มีการใช้เหรียญชนิดนี้ถึงปี 1903 จากนั้นจึงมีการผลิตเหรียญใช้ขึ้นมากันเอง ยังคงเหลือใช้แต่ที่ฮ่องกงที่เดียวหลังจากนั้น และผลิตเป็นครั้งสุดท้ายในปี 1935  จนกระทั่งมีการนำออกจากระบบหมุนเวียนเงินตรา เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 1937 ครับ
เอวังก็จบด้วยประการฉะนี้ครับ

บาบ๋า

พระราชดำรัสในล้นเกล้าฯ ร. ๕ กล่าวถึง ชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
ชนทุกชาติเชื้อต่างร่มเย็น เมื่อได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารเจ้า...
."...พวกจีนทั้งหลาย ได้รู้ประจักษ์ แลพอใจในประโยชน์แลความสุข อันเขาทั้งหลายได้รับจากความปกครองของเรา ว่าดีกว่าประเทศอื่น ๆ เพราะความจริงแต่โบราณนานมาจนถึงทุกวันนี้ พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ย่อมมีพระหฤทัยเมตตาปราณีแก่พวกจีน ว่าเป็นพลเมืองอันดี มีความอุตสาหะทำมาหากิน ให้เกิดประโยชน์ขึ้นในแผ่นดินเป็นอันมาก...แลเป็นผู้ซึ่งถือเอาเมืองที่ตนมาอยู่ เหมือนอย่างเมืองของตัว แลการที่อยู่กินปนกันกับคนไทยสืบมาช้านาน ก็ย่อมมีอัธยาศัยเป็นคนไทยแท้มากขึ้นโดยลำดับ โดยรับเข้าสมาคมแห่งชาติของเราโดยสนิท ย่อมมีส่วนด้วยในความสุข แลความทุกข์ของเมืองเรา เหมือนกับคนไทยทั้งหลาย ..."
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตอบข้าราชการจีน แลพวกพ่อค้าจีน พุทธศักราช ๒๔๔๐

Pornpun Wieczorek

สวัสดีค่ะ คุณบาบ๋า
ดิฉันได้อ่าน 'เอารูปศาลโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู' ดิฉันสนใจเรื่องนี้มาก

Pornpun Wieczorek

เท่าที่อ่านมาทั้งหมด คุณเป็นคนมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับชาวจีนที่อาศัยในแถบนี้ดีมาก ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่กำลังศึกษาค้นหาบรรพบุรุษของตนเอง ข้อเขียนของคุณช่วยดิฉันได้มากเลย ดิฉันจึงอยากกล่าวคำว่า ขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ