ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เอารูปศาลเจ้าโบราณร้อยกว่าปีแถวบางกล่ำมาให้ดู

เริ่มโดย บาบ๋า, 12:18 น. 05 ก.พ 56

บาบ๋า

อ่านภาษาจีนไม่ออกนะครับผู้รู้ช่วยแปลด้วย

บาบ๋า

มีอีกครับ

บาบ๋า

มีอีก

บาบ๋า


ฟ้าเปลี่ยนสี

ขอรายละเอียดนิดหนึ่งครับ

ขอความกรุณาถ่ายภาพวงกว้างของศาลด้วยครับ

เพราะผมไม่แน่ใจว่าเป็นศาลเจ้าหรือเปล่าครับ

อาจจะเป็นศาลของ เจ้าที่เจ้าทางที่ดูแลบริเวณนั้นอยู่ครับ

เพราะเห็นองค์พระตั้งอยู่ติดพื้นดินครับผม

อีกอย่าง ภาษาจีนสี่คำ ที่เห็น ภาพแรกสุด เป็นคำอวยพร แปลได้ว่า "ให้องค์พระคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุข"

และอีกสองคำที่มีอักษร ๓ ตัว สื่อความหมายว่า

ที่นี่เป็นศูนย์รวมทำให้เกิดบุญบารมี

ที่นี่เป็นศูนย์รวมทำให้ชนรุ่นต่อๆไปมีบุญบารมีสืบๆต่อไป

ส่วนอักษรจีนตัวเล้กๆนั้น จะสลักปีที่สร้างป้ายนี้ กับ ชื่อคนสร้างป้ายนี้ครับ แต่ไม่ใช่คนสร้างศาลน่ะครับ

ผมจึงสรุปว่า สถานที่แห่งนี้น่าจะเป็น สถานที่ที่สร้างเป็นศาลขององค์เจ้าที่เจ้าทางของจีนที่ดูแลสถานที่บริเวณนั้นอยู่ เพื่อเป็นสถานที่ที่ให้คนมากราบไหว้ครับ


ถามอะไรหน่อยสิครับท่าน ท่านเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน บาบ๋าภูเก็ต หรือครับท่าน
ขอบคุณครับ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

บาบ๋า

ของเดิมเป็นศาลเรือนไม้ยกพื้นโบราณอายุประมาณ 130 ปี สร้างสมัยราชวงศ์ชิง เหตุที่ยกพื้นเนื่องจากอยู่ติดคลองบางกล่ำและมีน้ำหลากช่วงเดือนสิบสองครับ ไม่แปลกเลยที่บ้านคนเชื้อสายจีนในบางกล่ำจะเป็นเรือนไม้ยกพื้นโบราณ ศาลหลังแรกและหลังที่สองได้ผุพังไปแล้ว ที่เห็นเป็นศาลหลังที่สามสร้างด้วยปูนยกพื้น ส่วนองค์พระน่าจะเป็นพระสายฮกเกี้ยน บางบ้านจะมีพระจีนโบราณประจำตระกูลทุกบ้าน เพราะทุกบ้านในบ้านบางกล่ำหมู่ที่1 หมู่ที่ 2 และ 3 จะมีเชื้อสายฮกเกี้ยนอยู่จะเรียกได้ว่าจีนโบราณ ซึ่งสืบเชื้อสายมากกว่าร้อยปี จะเห็นได้ว่าผู้สร้างป้ายถวายมีแซ่ตัน สร้างกระถางธูปถวายมี แซ่ฉั่ว แซ่กิม ที่เรียกว่าบาบ๋าไม่จำเพาะเจาะจงเฉพาะบาบ๋าภูเก็ตเท่านั้น หมู่บ้านผมก็เรียกลูกผสมว่าบาบ๋าเหมือนกันครับ ทวดชาย และทวดหญิงผม มีเชื้อจีน ข้างละ 75 เปอร์เซ็นต์ เราก็เรียกว่าบาบ๋าครับ

ฟ้าเปลี่ยนสี

ท่านครับ ป้ายจีนทั้งสามอันนี้ มีตั้งแต่สร้างศาลเลยหรือครับ

เพราะที่คุณถ่ายปีพ.ศ.ที่สร้างป้าย อยู่ในปลายราชวงศ์ชิงครับท่าน

ปี แกโบ่ว อยู่ใน รัชสมัยของชวงท้งปีที่ ๒ ตรงกับ ปีพ.ศ. ๒๔๕๓ หรือ ค.ศ. ๑๙๑๐

ราชวงศ์ชิง  อยู่ในราว ปีพ.ศ. 2187 - 2455 ครับท่าน
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

บาบ๋า

ป้ายเก่าทั้งหมดได้ถูกทาสีทับใหม่หมดแล้วครับเพื่อให้มองเห็นได้ชัด ป้ายน่าจะสร้างพร้อมกับศาลมั้งครับ แต่มีกระถางธูปที่เก่าแก่กว่าป้าย อยู่ใบนึง ระบุว่าสมัยถงจื้อปีที่ 8 ว่างๆผมจะถ่ายมาให้ดูเพิ่มเติมครับ

บาบ๋า

ขอแก้ไขครับ อันนี้เป็นป้ายแรกสุดมีผ้าแดงปิดบังภาษาจีนเอาไว้ เมื่อวานให้พี่เขาไปดูมาให้อันนี้เก่าสุดครับอายุคงพอ ๆ กับสร้างศาล ระบุว่ารัชศกเสียงฟงปีที่ 2 ประมาณ 160 ปีมาแล้ว (อ่านว่า โฮ่วฝูเมี่ยว)

บาบ๋า

ป้ายทั้ง 3 อัน สร้างถวายต่างวาระต่างสมัยกันครับ กระถางธูปก็เช่นกัน

ฟ้าเปลี่ยนสี

โอ้มีคนดูแลไหมครับ

ขอบคุณมากน่ะครับท่าน

มีพิกัด ศาลนี้ไหมครับ  ส.หัว

ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

arkanay

 ส.ยกน้ิวให้  "น่าสนใจครับ เอาไว้ทำเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชนด้วยจักรยาน จากวัดหาดใหญ่ในออกมาเลย..."
- ผลักดันโครงการที่จอดจักรยานเพื่อชุมชน
- ส่งเสริมสนับสนุนการใช้รถจักรยานในทุกภารกิจ เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะประจำวัน เพื่อความปลอดภัยและมั่นใจในการขับขี่รถจักรยาน
- ผลักดันวันคาร์ฟรีเดย์ปีละ2ครั้ง ในเดือนเมษายน และ กันยายน ของทุกปี
- ขับเคลื่อนโครงการถนนปลอดภัยสำหรับจักรยาน รอบคลองเตย ระยะทาง 8กม.
- ผลักดันโครงการแบ่งปันพื้นที่ถนน โดยไม่ต้องใช้ ไบค์เลน(ทางเฉพาะจักรยาน) โดยการแบ่งปันน้ำใจในการใช้ถนนร่วมกัน
- จัดกิจกรรมซ่อมจักรยานและใส่หมวกให้น้อง ในโรงเรียนที่ได้ร้องขอมา
- ติดต่อพวกเราได้ที่ www.hatyaicycling.blogspot.com

Big MaHad

พูดถึงเรื่องบาบ๋า ผมว่าบาบ๋า ในบ้านเรา (ภูเก็ต/ พังงา/ หรือจะสงขลา ปัตตานี ก็ตามแต่) ผมว่าแตกต่างกับ บาบ๋า ปีนัง มะละกา หรือสิงคโปร์ มากครับ บาบ๋า ตามความหมายอย่างสากล คือลูกครึ่งที่เป็นชาย ระหว่างจีน และชาวพื้นเมืองในบริเวณคาบสมุทรมลายู เลยไปถึงฝั่งอินโด สุมมาตรา ชวา  ถ้าเป็นลุกครึ่งผู้หญิงก็เรียกว่าญอนญ่า หรือ เนียงยา ซึ่งคนพื้นเมืองแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู นับถืออิสลาม และโดยส่วนมากบาบ๋า ก็มักจะมีพ่อเป็นจีน แล้ว แม่เป็นมลายู ดังนั้น เมื่อมีลูกจึงไม่เคร่งครัดในการที่จะต้องเปลี่ยนศาสนาไปเป็นอิสลาม (บริบทสมัยก่อนนี้ ไม่เคร่งครัดนักในการเปลี่ยนศาสนาของชายเมื่อแต่งงานกับสาวมุสลิม) 

ครั้นมองทางฝั่งไทย คนพื้นเมืองในแถบภูเก็ต โดยมากก็เป็นคนสยาม ดังนัน้ เมื่อแต่งงานกับชาวจีน จึงไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา หรือแนวคิดอะไรมากนัก เพราะทางฝั่งจีนก็นับถือพุทธ แต่อาจจะเน้นหนักในการนับถือบรรพบุรุษอย่างเข้มข้น ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกข้อแตกต่างนึงของบาบ๋าไทย และ บาบ๋ามาเลย์  ผมไม่แน่ใจนักว่า เราจะเรียกลุกครึ่งจีน และไทยในแถบสงขลา ปัตตานี หรือนคร ว่าบาบ๋าได้ด้วยไหม ถ้าเรียกว่าบาบ๋า เราก็ควรที่จะต้องสามารถบอกได้ว่า วัฒนธรรมใดของชาวจีนลุกครึ่งกลุ่มนี้ ที่แตกต่างกับชาวจีนลูกครึ่งกลุ่มอื่นๆที่ไม่ถูกเรียกว่า บาบ๋าครับ วัฒนธรรมเฉพาะของบาบ๋านัน้ในมาเลย์และสิงคดปร์ เขาจะเรียกว่าวัฒนธรรมเปอรานากัน อาจดูง่ายๆจากการแต่งงาน ที่จะมีพิธีการธรรมเนียมที่แตกต่างเฉพาะตัวออกไป รวมถึงเครื่องแต่งกายด้วยครับ 
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: Big MaHad เมื่อ 22:17 น.  10 ก.พ 56
พูดถึงเรื่องบาบ๋า ผมว่าบาบ๋า ในบ้านเรา (ภูเก็ต/ พังงา/ หรือจะสงขลา ปัตตานี ก็ตามแต่) ผมว่าแตกต่างกับ บาบ๋า ปีนัง มะละกา หรือสิงคโปร์ มากครับ บาบ๋า ตามความหมายอย่างสากล คือลูกครึ่งที่เป็นชาย ระหว่างจีน และชาวพื้นเมืองในบริเวณคาบสมุทรมลายู เลยไปถึงฝั่งอินโด สุมมาตรา ชวา  ถ้าเป็นลุกครึ่งผู้หญิงก็เรียกว่าญอนญ่า หรือ เนียงยา ซึ่งคนพื้นเมืองแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู นับถืออิสลาม และโดยส่วนมากบาบ๋า ก็มักจะมีพ่อเป็นจีน แล้ว แม่เป็นมลายู ดังนั้น เมื่อมีลูกจึงไม่เคร่งครัดในการที่จะต้องเปลี่ยนศาสนาไปเป็นอิสลาม (บริบทสมัยก่อนนี้ ไม่เคร่งครัดนักในการเปลี่ยนศาสนาของชายเมื่อแต่งงานกับสาวมุสลิม) 

ครั้นมองทางฝั่งไทย คนพื้นเมืองในแถบภูเก็ต โดยมากก็เป็นคนสยาม ดังนัน้ เมื่อแต่งงานกับชาวจีน จึงไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา หรือแนวคิดอะไรมากนัก เพราะทางฝั่งจีนก็นับถือพุทธ แต่อาจจะเน้นหนักในการนับถือบรรพบุรุษอย่างเข้มข้น ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกข้อแตกต่างนึงของบาบ๋าไทย และ บาบ๋ามาเลย์  ผมไม่แน่ใจนักว่า เราจะเรียกลุกครึ่งจีน และไทยในแถบสงขลา ปัตตานี หรือนคร ว่าบาบ๋าได้ด้วยไหม ถ้าเรียกว่าบาบ๋า เราก็ควรที่จะต้องสามารถบอกได้ว่า วัฒนธรรมใดของชาวจีนลุกครึ่งกลุ่มนี้ ที่แตกต่างกับชาวจีนลูกครึ่งกลุ่มอื่นๆที่ไม่ถูกเรียกว่า บาบ๋าครับ วัฒนธรรมเฉพาะของบาบ๋านัน้ในมาเลย์และสิงคดปร์ เขาจะเรียกว่าวัฒนธรรมเปอรานากัน อาจดูง่ายๆจากการแต่งงาน ที่จะมีพิธีการธรรมเนียมที่แตกต่างเฉพาะตัวออกไป รวมถึงเครื่องแต่งกายด้วยครับ

ที่ท่านว่ามามันถูกต้องแล้วครับ ผมก็พึ่งรู้ว่า คนไทยเชื้อสายจีนในสงขลา เรียก บาบ๋า กำลังค้นอยู่ แต่ไม่มีครับ

แต่เป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษ เป็นบาบ๋า แล้วมาแต่งงาน กับ คนไทยในท้องถิ่น แล้วเรียกตัวเองว่า บาบ๋า

อาจจะออกมารูปแบบนี้มากกว่าครับ
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

เปอรานากัน

เปอรานากัน (มลายู: Peranakan) หรือ บ้าบ๋า-ย่าหยา (อังกฤษ: Baba-Nyonya, จีน: 峇峇娘惹, พินอิน: Bābā Niángrě, ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) คือกลุ่มลูกครึ่งมลายู-จีนที่มีวัฒนธรรมผสมผสาน และสร้างวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นมาโดยเป็นการนำเอาส่วนดีระหว่างจีน และมลายูมารวมกัน โดยชื่อ "เปอรานากัน" มีความหมายว่า "เกิดที่นี่"
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยาม "บ้าบ๋า" และ "ย่าหยา" ว่า "เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา ซึ่งหมายถึงหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดใน มลายูและอินโดนีเซีย." อย่างไรก็ตามชาวเปอรานากันในจังหวัดภูเก็ตในประเทศไทยทั้งเพศชายและหญิง จะถูกเรียกรวม ๆ ว่า บ้าบ๋า ส่วน ย่าหยา เป็นเพียงชื่อของชุดสตรีเท่านั้น

เปอรานากัน เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูเนื่องจากในอดีต กลุ่มพ่อค้าชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่มฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าค้าในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในตอนต้นทศวรรษที่ 14 โดยแต่งงานกับชาวมลายูท้องถิ่น[1] โดยภรรยาชาวมลายูจะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่ แม้แต่คนในระดับพระราชวงศ์ก็มีสัมพันธไมตรีระหว่างกันระหว่างสุลต่านมะละกากับจักรพรรดิราชวงศ์หมิง โดยในปี ค.ศ. 1460 สุลต่านมันโซชาห์ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงฮังลีโปแห่งราชวงศ์หมิง และทรงประทับบนภูเขาจีน หรือ บูกิตจีนา (Bukit Cina) พร้อมเชื้อพระวงศ์อีก 500 พระองค์[2]
สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมลายูหากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บ้าบ๋า หรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า ย่าหยา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษโดยมาผสมผสานกันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวมๆว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese ; จีน:土生華人) ต่อมาเมื่อสมัยอาณานิคมดัตช์ช่วงต้นทศวรรษ 1800 ได้มีชาวจีนอพยพเข้ามามากขึ้น จนทำให้เลือดมลายูของชาวเปอรานากันจางลง จนรุ่นหลังแทบจะเป็นจีนเต็มตัวไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมผสมผสานของชาวเปอรานากันจืดจางลงไปเลย การผสมผสานนี้ยังมีให้เห็นในการแต่งกายแบบมลายูเช่น ซารุง กบายา และชุดย่าหยา[3]ซึ่งถือเป็นการแต่งกายอันสวยงามที่ผสมผสานรูปแบบของชาวจีนและมลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิม อาหารแบบเฉพาะตัว และภาษาที่ผสมผสานคำทั้งมลายู จีน และอังกฤษไว้ด้วยกัน[4]

เปอรานากันในไทย


ในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนัง และมะละกา โดยคนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์[7][8][9] ชาวเปอรานากันในไทยใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่เจือไปด้วยคำศัพท์จากภาษามาเลย์, จีน และอังกฤษ ชาวเปอรานากันในภูเก็ต นิยมเรียกกันว่า บ้าบ๋า ได้ทั้งชายและหญิง

ที่มา วิกิพีเดีย
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

sirichot

อยู่บริเวณไหนของบางกลำครับ จะได้แวะไปไหว้บ้างครับ

บาบ๋า

อยู่บริเวณหมู่ 3 ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ครับ อยู่ในพื้นที่่ส่วนบุคคลครับแต่ลองโทรไปได้ครับ 085-8953798
ปล.คำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อญาติคนบ้านผมจะเหมือนกับปัตตานีครับ เช่น เฉ๊า = ทวด, กอง = ปู่หรือตา, เตีย = พ่อ, เหนี่ยว = แม่, ฉิก = น้องชายพ่อ, กู่ = น้องชายแม่, เฮีย = พี่ชาย, ชี้ = พี่สาว, เป็นภาษาฮกเกี้ยนโบราณครับ

ขอบคุณ


ขอบคุณ คุณข้างพลาซ่า และทุกท่านที่ให้ความรู้ ส.สู้ๆ ส.ยกน้ิวให้

นายช่างบ้านบ้าน

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลทุกท่านเลย ผมเป็นลูกหลานจีนบาบ๋าภูเก็ตครับ แต่มาอยู่หาดใหญ่ครับผม ผมว่าฮกเกี้ยนฝั่งสงขลา ปัตตานี ก็มีเสน่ห์ไปอีกแบบนึงครับ ผมขับรถผ่านบางกล่ำรอยต่อควนเนียงประจำสงสัยอยู่ครับว่าบ๋อง(สุสานฝั่งแบบจีน)มากครับ ผมขอร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมจีนของท้องถิ่นด้วยคนครับ

นายช่างบ้านบ้าน

อ้างจาก: บาบ๋า เมื่อ 15:29 น.  27 พ.ค 56
อยู่บริเวณหมู่ 3 ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ครับ อยู่ในพื้นที่่ส่วนบุคคลครับแต่ลองโทรไปได้ครับ 085-8953798
ปล.คำศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อญาติคนบ้านผมจะเหมือนกับปัตตานีครับ เช่น เฉ๊า = ทวด, กอง = ปู่หรือตา, เตีย = พ่อ, เหนี่ยว = แม่, ฉิก = น้องชายพ่อ, กู่ = น้องชายแม่, เฮีย = พี่ชาย, ชี้ = พี่สาว, เป็นภาษาฮกเกี้ยนโบราณครับ
ขออนุญาตแชร์ที่บ้านบางครับ
ก้องจ้อ=ทวดผู้ชาย จ้อจ้อ=ทวดผู้หญิง
ก๊อง/หวั่นก๊อง=ปู้/ตา อาม่า=ยาย/ย่า
เตี้ย/ป๋า=พ่อ มะ/อี๋=แม่
ลุงฝ่ายพ่อ=แป๊ะ เมียลุงฝ่ายพ่อ=อึ้ม
อาผู้ชายฝ่ายพ่อ=เจก เมียอา=จิม
อาผู้หญิง=ก้อ ผัวอา=เตียว
พี่ชายหรือน้องชายฝ่ายแม่=กู๋
เมียพี่ชายหรือน้องชายฝ่ายแม่=กิ๋ม
พี่ชาย=โก เมียพี่ชาย=โส

บาบ๋า

สมัยโบราณยังไม่มีการใช้นามสกุลแต่ก็จะมีแซ่ประจำแต่ละบ้าน พอมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการใช้นามสกุลขึ้น ชาวบางกล่ำสมัยนั้นก็มีการเปลี่ยนเป็นนามสกุลกัน บางบ้านก็ยังหลงเหลือแซ่เอาไว้นำหน้านามสกุล ได้ลองถามคนเฒ่าคนแก่ดูว่านามสกุลอะไรแซ่อะไรกันบ้างแต่จะขอยกตัวอย่าง เช่น
วิไลรัตน์ เดิม แซ่เจียน เป็นนามสกุลพระราชทานให้กับกำนันหิ้น พ่อตากำนันเถ็กสมัยนั้น
นันทวงศ์ เดิม แซ่ฉั่ว กำนันตำบลบางกล่ำ คนแรกชื่อกำนันเหนียงนันทวงศ์
กัลยาศิริ เดิม แซ่โส๊ะ สส.วิรัติ กัลยาศิริ, สจ.บุญเจอกัลยาศิริ
ร่วมสุข เดิม แซ่เอียว พ่อท่านเอียด ร่วมสุข อดีตพระเกจิชื่อดังของวัดบางกล่ำ, พ่อท่านถิ้น ร่วมสุข อดีตเจ้าอาวาสวัดบางทีง, พ่อท่านดำ ร่วมสุข เจ้าอาวาสวัดบางเหรียง, พ่อท่านใหญ่ ร่วมสุข เจ้าอาวาสวัดบางกล่ำ
รุกขพันธ์ เดิม แซ่หลิ่ม
ตันเวชกุล เดิม แซ่ตัน
ลิ่มเส้ง  เดิม แซ่ลิ่ม
โข้ยหวั่นเส่ง เดิม แซ่โกย
ฉอบุญเหี้ยง เดิม แซ่ฉั่ว
เอี้ยวฉิ้ม เดิม แซ่เอียว
สุขชาญ เดิม แซ่เอียว
มีอีกเยอะเลยครับเพราะคนที่นี่จะมีบรรพบุรุษเป็นคนจีนกันทุกบ้านเลยครับ

cyberguy

มีใครพอรู้ประวัติความเป็นมาคนบางกล่ำบ้างพอเล่าให้ฟังได้บ้างไหมคับ เท่าที่อ่านมาคนบางกล่ำก็คือจีนเก่าเลยนะคับ