ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรงเรียนอนุบาล(สงขลา)

เริ่มโดย Big Beach, 11:02 น. 19 ม.ค 53

Big Beach

ความเดิมจากตอนที่แล้ว พี่ คนเขารูปช้าง เล่าว่า

"จำได้ว่าหลังอาคาร ด้านเหนือเป็นสระน้ำ และด้านใต้เป็นบ่อทรายใหญ่ให้เด็กๆลงไปเล่นกันสนุกสนานมาก แถมยังมุดเข้าไปใต้ถุนอาคาร
ที่ยกพื้นสูงไปจับตัว"แมงหมู" เล่นกัน  ด้านเหนืออาคาร ๑(มุมโรงเรียน)ก่อนนี้เป็นสนามเด็กเล่น(ปัจจุบันกลายเป็นอาคารเอนกประสงค์)"




๑. เดิมอาคารที่ผมเรียน(เหมือนในภาพของ พี่คนเขารูปช้าง)ใต้ถุนเปิดโล่ง
พื้นเป็นทราย เด็กๆ ชอบมุดไปจับแมงอะไรสักอย่าง ตอนนั้นเด็กๆ เรียก "ตุ๊ดตู่" เขาอยู่ในหลุมรูปกรวยคล้ายๆ ปล่องภูเขาไฟ
๒. ถ้าหันหน้าเข้าหาด้านหน้าอาคาร ทางขวามือของเราจะเป็นสนามเด็กเล่น มีรั้วไม้กั้นรอบสนาม
๓. ด้านหลังอาคารในภาพ จะเป็นบ้านพักครู และโรงอาหาร และห้องน้ำ
ถ้าหันหน้าเข้าหาหน้าอาคารในภาพ ห้องน้ำจะอยุ่ซ้ายมือ บ้านพักครูอยู่ตรงกลาง โรงอาหารอยู่ขวามือ

ที่มา :
อาคารพาณิชย์หลังสถานีรถไฟสงขลา สร้างปีไหนครับ II
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,36398.0.html

คนเขารูปช้าง

ดีครับที่ท่าน Big Beach มาเปิดกระทู้ใหม่เดี๋ยวจะไปเปลี่ยนประเด็น อ.หม่องฯ เขา ผมขอนำภาพสนามเด็กเล่นในอดีต
ข้างอาคารเรียน ๑ มาให้ชมความสดใสของวัยเด็กครับ


คนเขารูปช้าง

๒,   ๓  ส.ยกน้ิวให้

คนเขารูปช้าง

๔ ,  ๕  ส.แลบลิ้น

คนเขารูปช้าง

ตรงกับห้องริมสุดของอาคารเรียน ๑ (ด้านเหนือ) จำได้ว่าตอนเรียนอนุบาล ๒ คุณครูให้นอนช่วงบ่าย นอนเห็นบ่อน้ำเก่าแก่อยู่ริมถนนรามวิถี
มีคนเข็น "รถลุน" บรรทุกปิ้ปมาเต็มรถมาตักน้ำ และเข็นไปขายตามบ้าน ไม่ขาดสายเลยและน้ำก็ไม่เคยแห้งหมดบ่อครับ และน้ำก็จืดสนิท
เป็นบ่อน้ำสาธารณะที่สร้างอาชีพได้เลยครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายโรงเรียนอนุบาลสงขลา ยุคก่อนหลัง ๒๕๐๐ ไม่นาน ภาพถ่ายของ อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ จากหนังสือ มรดกเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ (พ.ศ. ๒๕๔๖) หน้า ๒๑๓


คนเขารูปช้าง

ครับ "ภาพถ่ายของ อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ จากหนังสือ มรดกเมืองสงขลา มหาวชิราวุธ (พ.ศ. ๒๕๔๖) หน้า ๒๑๓" ภาพนี้เก่ามากครับ
ถ้าผมจำไม่ผิด อาคารไม้หลังในภาพจะเป็นโรงครัวและห้องอาหารครับ ทางด้านใต้ของอาคารหลังนี้จะเป็นอาคารเรียนไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูง
(รื้อไปนานแล้ว)เช่นเดียวกับอาคารเรียน ๑ และด้านหลังอาคารหลังนี้เป็นโรงแรมรถไฟสงขลาในอดีตครับ จะไปค้นภาพที่ถ่ายหน้าเสาธงซึ่งอยู่หน้าอาคารหลังนี้มาให้ดูกันครับ


คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพที่เสาธงหน้าอาคารเรียนไม้ที่กล่าวถึงมาให้ชมกันครับ ในกลุ่ม นร.ที่ถ่ายรูปกับคุณครูนั้นมีผมรวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
ตอนนั้นอยู่ประมาณชั้นประถม ๒ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ ครับ


คนเขารูปช้าง

ต่อมาได้กลายเป็นอาคาร คสล. ดังรูปนี้ครับ

เด็กบ่อยาง

ตอนนี้กลายเป็นตัวสร้างปัญหาจราจรเมืองสงขลาไปแล้ว ใครๆก็ไม่กล้าแตะซะด้วย

ลูกแมวตาดำๆ

ภาพบ้านหลังนี้ ผมรู้สึกว่ามันมีความสำคัญนะครับ เพราะเจออ่านบทความจากทอาจารย์แต่ละท่านนะครับ

แต่ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่า มันคือบ้านใคร อะไร อย่างไร

คนเขารูปช้าง

คุณ ลูกแมวตาดำๆ ครับ บ้านหลังนี้เก่าแก่มากในสงขลา ปัจจุบันได้รื้อไปแล้วกลายเป็น อาคารพานิชย์สมัยใหม่
และเป็นที่ตั้งร้านขายเครื่องเขียน "เพื่อนไทย" อยูใกล้กับบอร์ดอักษรวิ่งของเทศบาลนครสงขลาในปัจจุบันครับ
ในภาพ ผมไม่แน่ใจว่ามุมกล้องที่ผมถ่ายจะกว้างพอที่จะรวม ฐานของหอนาฬิกาเมืองสงขลาในอดีตเข้าไปด้วยหรือไม่
ถ้ากว้างพอแสดงว่าวันที่ผมถ่าย หอนาฬิกาได้รื้อไปแล้ว

สำหรับบ้านหลังนี้ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นของท่านผู้ใด จะหาภาพบ้านหลังนี้ในอดีตมาให้ชมครับ

คนเขารูปช้าง

ดูเทียบกับรูปเก่าแล้ว สังเกตุว่าหลังคาทรงปั้นหยาได้เปลี่ยนไปแล้ว อาจมีการเปลี่ยนลดขนาดบ้านลง ก่อนรื้อไปครับ

เชิญชมภาพ ที่หัวมุม รร.อนุบาลฯ นร.ขี่จักรยานไปทาง วฉ.ครับ


หม่องวิน มอไซ

จากภาพถ่ายทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร พ.ศ. 2517
ลองเปรียบเทียบกันดูครับ ว่าฐานของหอนาฬิกา ควรอยู่ในภาพของพี่คนเขารูปช้างหรือไม่ครับ

1 คือ สนามเด็กเล่น
2 คือ หอนาฬิกา
3 คือ บ้านเก่าแก่

คนเขารูปช้าง

ดูจากตำแหน่งที่ อ. หม่อง ฯ นำมาให้ดูผมคิดว่ามุมกล้องที่ผมถ่ายไม่กว้างพอที่เก็บฐานหอนาฬิกาไว้ในภาพครับ

ลูกแมวตาดำๆ

อ๋อ นึกออกแล้วครับ ภาพ คนปั่นจักรยาน พอดีคุ้นว่าเคยเห็นในกระทู้เรื่องหนึ่ง

แต่จำไม่ได้ แต่คิดไว้ว่าต้องช่วยไขปริศนาได้บ้าง อ่ะครับ

ร้านเพื่อนไทยเป็นร้านเครื่องเขียนแรกๆที่ผมใช้บริการตั้งแต่อนุบาล - ประถม ครับ

ผ่านมาหลายสิบปีเจ้าของร้านยังดูขี้เหนียวเหมือนเดิมนะครับ อิอิ

ึคือร้านแกของราคาแพงแก่หยิบให้เท่านั้นต้องชี้เอา

ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ดินสอสีครับ ที่แกต้องหยิบให้

เข้าไปหยิบเองไม่ได้เลยครับ

แซวเพราะเป็นเอกลักษณ์ของเจ้าของร้านไปแล้ว

แต่ผ่านมากี่ปีก็ยังวางของที่เดิม ไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเลย

คนเขารูปช้าง

คุณ ลูกแมวตาดำๆ ครับดีใจมากที่มีคนร่วมกันสืบค้นความเป็นมาของเมืองสงขลาหลายๆคน
ผมเพิ่งดูแผนที่ปี ๒๔๗๘ ที่ อ.หม่อง ฯ ท่านนำมาใหดูในกระทู้ " ไปรษณีย์โทรเลขสงขลาเมื่อวันวาน"
สังเกตุว่าบ้านหลังคาปั้นหยา ที่อยู่ตรงข้ามหัวมุม รร.อนุบาลฯ ที่กลายเป็นร้าน"เพื่อนไทย" ในทุกวันนี้
มีอยู่ในแผนที่นั้นแล้ว แสดงว่าบ้านหลังนั้นเก่าแก่มากสร้างก่อนปี ๒๔๗๘ อีก  และลักษณะหลังคาน่าจะเหมือนกับ
รูปเก่า นร.ขี่จักรยานไปทาง วฉ.ครับ ไม่เหมือนรูปสีที่ผมถ่ายออกมาจากสนามเด็กเล่นของ รร.อนุบาลฯ


ลูกแมวตาดำๆ

บ้านเก่า ตั้งในทำเลที่ดี ต้องไม่ใช่บ้านธรรมดาแน่ๆครับ น่าคิด

ส่วนเรื่องพวกนี้ก็ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในปัจจุบันไปให้

เพียงแต่ช่วงหลังๆไม่ค่อยได้เข้ามาตอบ

แต่มาอ่านตลอดครับ

คนเขารูปช้าง

ขอนำแผนที่จาก หม่องวิน มอไซ มาลงไว้เพื่อสะดวกในหาตำแหน่งครับ

หม่องวิน มอไซ

ปี 2478 นับเป็นยุคทองของการบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยุคใหม่ของสงขลาเลยครับ
มีการจัดทำแผนที่เขตเทศบาลอย่างละเอียด (เป็นปีที่ตั้งเทศบาลเมืองสงขลา)
มีเครื่องบินปีกสองชั้นมาลงจอด ให้ขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ
มีการถ่ายภาพสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในสงขลาไว้มากพอสมควรครับ

แล้วก็มาถึงยุค 2490-2500 ที่พี่คนเขารูปช้างได้นำภาพเก่ามาให้ชมกัน

จากนั้นก็มาถึงยุค 2530 ครับ ที่พี่คนเขารูปช้างเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเก็บภาพประวัติศาสตร์ไว้ครับ  ;D

Singoraman

ไม่โร้ใครเคยแหลงให้ผมได้ยินว่า แถว ๆ บ้านหลังคาทรงปั้นหยาที่เป็นร้านเพื่อนไทยในปัจจุบัน
สมัยแต่แรก คือร้านน้ำชาของ "จีนจ้อง" หรือว่า จีนจ้อง ขายน้ำชาอยู่แถว ๆ นี้
จีนจ้อง คือ ตัวตลกหนังตะลุงที่สะท้อนความเป็น "จีนบ่อยาง"
ใครหอนได้ยินมั่ง

พี่

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 10:48 น.  26 ม.ค 53
ปี 2478 นับเป็นยุคทองของการบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นยุคใหม่ของสงขลาเลยครับ
มีการจัดทำแผนที่เขตเทศบาลอย่างละเอียด (เป็นปีที่ตั้งเทศบาลเมืองสงขลา)

หลักเขต"สุขาภิบาล" พบในตัวเมืองสงขลา
[attach=1]
อยู่ตรงข้ามมุมกำแพงวัดมัชฌิมาวาส ด้านตะวันออกเฉียงใต้
[attach=2]