ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รู้มัย สาย 1 มีชื่อเดิมว่าอะไร

เริ่มโดย กิมหยง, 14:45 น. 26 มี.ค 53

กิมหยง

แต่แรกเขาไม่เรียกสาย 1 รู้ไหมเขาเรียกว่า ถนนอะไร
สร้าง & ฟื้นฟู

น้ำ


กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

น้ำ

ขุนนิพัทธ์จีนนคร

                ขุนนิพัทธ์จีนนคร  นามเดิมว่า  กีซี  แซ่เจีย  (เจียกีซี) เกิดเมื่อวันที่  31 ตุลาคม พ.ศ.2429  ที่ตำบลจูไฮ  อำเภอเหม่ยเซี่ยน  มณฑลกวางตุ้ง  ประเทศจีน เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนของนายเจียซุ้นหลิน (นายซุ้นหลิ่น  แซ่เจีย)  และนางหลิ่มคอนกู  (นางคอนกู  แซ่หลิ่ม)  เป็นหลานปู่นายเจียหยุ่นฟอง  และหลานย่าของนางฉื่อเฉา  แซ่หย่อง  ตระกูลฝ่ายบิดาท่านสืบเชื้อสายหลายชั่วคนมาจากเจียพุ่กลุ่ก หรือเจียซิน ผู้ปกครองอำเภอเหม่ยเซี่ยน  ในพุทธศตวรรษที่ 19 บิดามารดาของท่านได้พาท่านและพี่น้องอพยพจากประเทศจีนมาอยู่ที่กรุงเทพฯ  เมื่อ พ.ศ. 2448  และต่อมาได้ตั้งถิ่นฐานในอำเภอหาดใหญ่ ท่านแต่ง งานกับภรรยาคนแรกที่ประเทศจีน  ชื่อจุงซ้อนยิน  แต่เมื่อมาอยู่ประเทศไทย มีภรรยาชื่อนางสาวเลี่ยน  แซ่ฮิว  ชาวอำเภอร่อนพิบูลย์  มีบุตรและธิดารวม  11 คน  บุตรกับนางจุงซ้อนยิน 1  คน  ชื่อนายกี่  จิระนคร  บุตรธิดากับนางเลี่ยน 10  คน  ได้แก่  นายสุกิตต์  จิระนคร  นายสุธรรม  จิระนคร  นางอัมพร  (เชื่อม)  จูตระกูล  นางชูจิตร  บุตรนางจินตนา  แซ่ฉั่ว  นางจุรีย์  ตันพานิช  นางมาลี  จีระนคร  นายนิพัทธ์  จิระนคร  นางกรองกาญจน์  สินสกุล  นายกิตติ  จิระนคร  ท่านถึงแก่กรรมที่อำเภอหาดใหญ่เมื่อวันที่  10  ธันวาคม  พ.ศ. 2515   สิริอายุ  87  ปี

การศึกษา           

ในวัยเด็ก  ท่านได้รับการศึกษาอบรมจากปู่  หลังจากนั้นได้ศึกษาด้วยตนเองมาตลอด

การงานและเกียรติคุณ

            เมื่ออายุได้  19  ปี  ท่านได้อพยพจากเมืองจีนอยู่ที่กรุงเทพฯ  (ประมาณ  พ.ศ.2448)  ได้สมัครเข้าทำงานกับบริษัทรับเหมาสร้างทางรถไฟสายใต้ มีหน้าที่ถางป่าให้เป็นแนวกว้างประมาณ 40 เมตร เพื่อเป็นแนวทางลงดินลงหินสำหรับวางรางรถไฟ  ตั้งแต่สถานีฉวางถึงทุ่งสงและช่องเขา  ได้รับเหมาช่วงงานสร้างอุโมงค์ที่ใกล้สถานีช่องเขาจากบริษัทฝรั่ง จึงมีทุนมารับเหมาสร้างทางรถไฟ จากทุ่งสงถึงอู่ตะเภา (ใกล้หาดใหญ่) ในช่วงที่ทำรางรถไฟถึงหาดใหญ่ได้รับญาติจากเมืองจีนเข้าอยู่ด้วย และได้รับเหมาสร้างทางรถไฟจากอู่ตะเภาถึงอำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี

                เมื่อเสร็จจากงานที่อำเภอโคกโพธิ์แล้ว  ท่านได้รู้จักฝรั่งที่ทำเหมืองแร่ จึงมีความสนใจทำเหมืองแร่  ยามว่างก็ออกสำรวจหาแหล่งแร่ดีบุก  วุลแฟรมตามป่าเขา  ซึ่งทำให้ท่านรู้จักป่าเขา  แหล่งแร่ธาตุและผืนดินเป็นอย่างดี  และได้พื้นที่ทำเหมืองแร่ดีบุกแห่งแรกที่บ้านดินลานตำบลท่าช้างเขตอำเภอหาดใหญ่ในปัจจุบัน  และต่อมา  ไปทำเหมืองแร่วุลแฟรม   ที่บ้านวังพาเขต  อำเภอคลองหอยโข่งในปัจจุบัน

            ในปี พ.ศ.2455  หลังจากเสร็จงานรับเหมาก่อสร้างแล้ว  ท่านได้ไปพักอาศัยอยู่ที่ริมคลองอู่ตะเภา  ข้างที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ แถบสถานีรถไฟอู่ตะเภามีสภาพเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำ  ท่านมีความรู้สึกว่าไม่เหมาะที่จะตั้งสถานีรถไฟและบ้านเรือน จึงออกสำรวจ หาพื้นที่ ที่เหมาะสม สำหรับการปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อย่างถาวรต่อไป  ก็พบป่าเสม็ดชุนแห่งหนึ่งมีผู้คนอาศัยอยู่ประปราย เป็นที่สูงกว่าที่อื่น  ชาวบ้านเรียกที่นี่ว่า  "โคกเสม็ดชุน" เป็นที่ที่เหมาะ ท่านจึงขอซื้อดินบริเวณนั้น จำนวน 50 ไร่ เป็นเงิน 175 บาท

            เมื่อได้ซื้อโคกเสม็ดชุนแล้ว  ท่านได้โค่นต้นเสม็ด และปราบที่จนเรียบร้อย จึงได้สร้างห้องแถว  5  ห้องแรกในปี  พ.ศ.  2459  ในระยะที่ท่านได้ย้ายเข้ามาอยู่ที่ห้องแถวที่สร้างใหม่นี้ท่านมีจดหมายติดต่อกับชาวมลายูอยู่เสมอ  แต่บริเวณนี้ยังไม่มีชื่อเรียกที่เป็นทางการ  เพื่อเป็นการสะดวกในการติดต่อทางจดหมายกับชาวต่างประเทศท่านจึงใช้ชื่อบ้านบริเวณนี้ว่า "บ้านหาดใหญ่"  ต่อมาท่านได้วางผังเมืองแล้ว อุทิศที่ดินสำหรับตัดถนน และอุทิศเงินสร้างถนนความยาวกว่า 8  กิโลเมตร ท่านได้สร้างถนนที่สำคัญ ๆ หลายสาย  ได้แก่  ถนนธรรมนูญวิถี ถนนนิพัทธ์อุทิศ 1  (ถนนเจียกีซี 1)  ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 (ถนนเจียกีซี 2)  ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 (ถนนเจียกีซี 3)  ถนนธรรมนูญวิถี  ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1  ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 2 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์  3  ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์  4  ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์  5  ถนนซอยนิพัทธ์สงเคราะห์  รวม  25  สาย  ถนนจิระนคร  ถนนจิระอุทิศ  ถนนซอยนิพัทธ์สงเคราะห์  ตรอกจิระพัทธ์และถนนนิพัทธ์ภักดี  และสร้างโรงพยาบาลอนาถา สำหรับคนงานที่ไม่มีญาติที่ถนนนิพัทธ์อุทิศ 3 อีกด้วย

            นอกจากจะอุทิศที่ดินเพื่อตัดถนนหลายสายแล้ว  ท่านยังได้อุทิศที่ดินส่วนหนึ่งและขายอีกส่วนหนึ่งให้กับโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย  อุทิศที่ดินจำนวน  4.5  ไร่  ให้กับเทศบาลเพื่อสร้างโรงพยาบาลหาดใหญ่  และต่อมาได้ยกที่ดินส่วนหนึ่งจำนวน  14  ไร่  ให้กับเทศบาล   เพื่อสนามกีฬาจิระนคร  และได้บริจาคเงินอีก  200,000 บาท  เพื่อเป็นเงินก่อสร้างรั้วให้กับสนามกีฬาเทศบาลในปี  พ.ศ. 2498   ปัจจุบันสถานที่ทั้ง 3 แห่งนี้  ได้อำนวยประโยชน์แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก  และได้รับการยกย่องจากบุคคลเป็นจำนวนมาก  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จภาคใต้  พ.ศ.  2472  ได้ทรงพิจารณาถึงคุณงามความดีและกิตติศัพท์เกี่ยวกับความขยันขันแข็งของ  เจียกีซี  ในการสร้างตนเอง      และพัฒนาตลาดหาดใหญ่จากป่าต้นเสม็ดมาเป็นเมืองหาดใหญ่  จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้เจียกีซีเป็น  "ขุนนิพัทธ์จีนนคร" และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475  มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้น 3  แก่ ขุนนิพัทธ์จีนนคร  จนกระทั่งถึงสมัย   จอมพลแปลก  พิบูลย์สงคราม  เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งเหรียญตราและเข็มกว่า  30  ชนิด  แก่ขุนนิพัทธ์จีนนคร

                ขุนนิพัทธ์จีนนคร  นอกจากจะเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล  มีจิตใจกว้างขวาง  และโอบอ้อมอารีแล้วท่านยังมีความสามารถ     ในการคิดค้นทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วย  เช่น ในสมัยสงครามเอเชียบูรพา   ในปี  พ.ศ. 2486  น้ำมันขาดแคลนเนื่องจากภาวะสงคราม  ท่านเริ่มทดลองกลั่นน้ำมันจากยางพารา  ได้ใช้เวลาทดลองอยู่ประมาณ 6 เดือน  ก็นำสินค้าออกสู่ท้องตลาด  แต่คุณภาพยังไม่อยู่ในเกณฑ์ดีเท่าที่ควร  ท่านก็มิได้ย่อท้อ       ยังคงทดลองเพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นอีก   จนในที่สุดสามารถกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงจากยางพารา  ได้น้ำมันเบนซินประมาณเดือนละ 7,000 ลิตร ใช้กันทั่วทั้งหาดใหญ่  -สงขลา  รวมทั้งบางรัฐของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย

            ขุนนิพัทธ์จีนนคร   ได้รับอนุญาตให้แปลงสัญชาติเป็นไทย จากกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่  27 พฤศจิกายน  2484  ท่านได้รับอนุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัว  คือ "นิพัทธ์" จากกระทรวง มหาดไทยและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนนามสกุล "จิระนคร" จากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2487

ขุนนิพัทธ์จีนนคร  ได้สร้างเมืองหาดใหญ่จากชุมชนเล็ก ๆ เพียงไม่กี่หลังคาเรือน มาเป็นเมืองหาดใหญ่ที่มีความสำคัญในทุกด้าน  เสียสละที่ดินทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์มากมาย   นับได้ว่าเป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งคนหนึ่งของจังหวัดสงขลา


คนเขารูปช้าง

คุณกิมหยง และคุณน้ำครับผมขอนำภาพจาก อจ. จรัส จันทร์พรหมรัตน์ มาให้ชม เป็นภาพท่านขุนนิพัทธ์จีนนคร ขณะทำพิธีเปิดสะพานที่ท่านสร้างอุทิศ  (ท่านขุนฯใส่ชุดขาวโดนพระบังเล็กน้อย) ถ่ายโดยร้านเปาจินหาดใหญ่ครับ

กิมหยง

โหท่านน้ำอ้างอิงซะเป็นประวัติศาสตร์เลย

ดีครับท่าน

งั้นถามต่อครับ "ถนนเถ้าแก่สี" ละครับ ถนนอะไร

งานนี้ยาวครับ จะไล่ไปทีละถนนกันนะครับ

ภาพข้างบนพอจะบอกพิกันได้ไม่ครับ ว่าอยู่ตำแหน่งไหนได้ครับ
แลเห็นเหมือนต้นจากด้วย (ไม่แน่ใจ)

เหมือนจะอยู่ริมคลองอะไรหรือเปล่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

เอ้า โทษทีครับ ตอนแรกอ่านนึกว่าท่านทำพิธีเปิดถนนครับ

อ่านอีกทีท่านทำพิธีเปิดสะพาน

แล้วพอจะทราบไม่ครับว่าเป็นสะพานอะไรครับท่าน
สร้าง & ฟื้นฟู

แฟนเก่าชื่อส้ม

บ้านเองอยู่สาย1แท้ๆยังไม่สารู้ที ย้ายบ้านหนีดีกว่าอายอย่างแรงไม่รู้อะไรเลยนิ
ก่อนตายคุณอยากอยู่กับใครเป็นคนสุดท้าย

คนเขารูปช้าง

เรื่องตามหาสถานที่เก่าในหาดใหญ่นี่ ผมก็มึนเหมือนกันครับ นึกอะไรไม่ค่อยออกเลย

หม่องวิน มอไซ

สะพานเจียกีซี ผมเองก็พยายามไขปริศนาอยู่ครับ ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่
แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะครับ  :-\

กิมหยง

ต้องดูตัวเมืองสมัยก่อน

ตัวเมืองน่าจะอยู่ตรงสถานีรถไฟเป็นหลัก (หรือเปล่า)

หรือว่าสะพานตรงข้างแสงทองครับท่าน
เป็นสะพานข้ามคลองเตยหรือเปล่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

จะเป็นสะพานคลองเรียน  ตัดถนนศรีภูวนารถ หรือเปล่า

หม่องวิน มอไซ

ในภาพเป็นภาพถ่ายปี ๒๔๗๒
ผมไม่แน่ใจว่าปีนั้น มีการสร้างสะพานข้ามคลองเตย ที่ด้านตะวันตกของโรงเรียนแสงทองฯ ในปัจจุบันหรือยังครับ
แต่จากแผนที่ปี ๒๔๗๘
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/A/1798.PDF
ระบุสะพานข้ามคลองเตยของถนนศรีภูวนารถ ทางไปคลองเรียนไว้ครับ

มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นสะพานทางไปคลองเรียน อย่างที่พี่แอ๊ดตั้งข้อสังเกตครับ

กิมหยง

ครับ เป็นสะพานตรงบึงศรีภู. หรือเปล่าครับ

แล้วพอจะทราบถนนเถ้าแก่สี หรือเปล่าครับท่านทั้งหลาย
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

ขุนนิพัทธ์จีนนคร  สร้างสะพานข้ามพรุหรือคลองเรียนในปี 2458 และขยายทางเดินกว้างขึ้น  ปัจจุบันคือ ถนนศรีภูวนารถ

หม่องวิน มอไซ

ใช่แล้วครับ ตรงบึงศรีภูวนารถนั่นแหละครับท่านกิมหยง
แล้วพี่แอ๊ดทราบไหมครับว่า บึงศรีภูวนารถ ขุด พ.ศ.เท่าไหร่ หรือมีความเป็นมาอย่างไรครับ

เดิมถนนธรรมนูญวิถี ชื่อ ถนนหลังสถานีรถไฟ
ถนนเจียกีซี ๑ เปลี่ยนเป็น ถนนนิพัทธอุทิศ
ถนนเจียกีซี ๒ เปลี่ยนเป็น ถนนไทยอิสระ
ถนนเจียกีซี ๓ เปลี่ยนเป็น ถนน ๒๔ มิถุนา

และเป็นถนนนิพัทธ์อุทิศ ๑ ๒ ๓ ในที่สุดครับ

พี่แอ๊ด

บทสัมภาษณ์นายกี่  จิระนคร  บุตรของขุนนิพัทธ์  กล่าวว่า   "บ้านหาดใหญ่อยู่ริมคลองเตยช่วงทางเข้าปลายสาย ๓ จันทร์นิเวศน์ สุดถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ กับทุ่งเสา เขาเรียกบริเวณนี้ว่าบ้านหาดใหญ่" ซึ่งคุณพ่อผม (ขุนนิพัทธ์จีนนคร) ได้ทำพิธีเปิดตั้งเมืองหาดใหญ่ในปี ๒๔๖๗ ตอนนั้นผมอายุ ๖ - ๗ ขวบ

พี่แอ๊ด

กลับจากสงขลา หาดใหญ่ (สายเก่า) วันนี้   ผ่านสุสานขุนนิพัทธ์ฯ  ไม่กล้าถ่ายรูป
เลยมาหน่อยจะเป็นสะพานรถไฟหาดใหญ่ สงขลา (คลองน้ำน้อย)  ขวามือสุดของภาพ
ที่เป็นสะพานลอย  ซ้ายมือจะเป็นทางเข้าโรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม  และทางเข้า
บริเวณร่อนแร่ของขุนนิพัทธ์ฯ   คนงานส่วนใหญ่จะเป็นคนในบริเวณนี้  จึงจำเป็น
ต้องจอดสถานีบ้านน้อย และสถานีเขาบรรไดนาง

พี่แอ๊ด

จากภาพที่เป็นน้ำตรงกลาง   อดีตเคยเป็นที่ขุนนิพัทธ์ฯ ทำเหมืองแร่ดีบุก

พี่แอ๊ด

ก่อนจะถึงเขาบรรไดนาง   จะมีสะพานรถไฟหาดใหญ่ สงขลา
ตามป้ายหาดใหญ่  9

พี่แอ๊ด

อีกภาพเขาบรรไดนาง

Kungd4d

 :D ;D ขอบคุณๆน้ำ พี่แอ๊ดมากครับที่นำเรื่องเก่าๆมาเล่าให้พวกเราได้อ่านกันครับ  ;D :D