ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คิดถึงรถรอบเมืองสงขลา

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 21:10 น. 18 ก.พ 53

หม่องวิน มอไซ

สมัยผมเด็ก ๆ ยังไม่เข้าโรงเรียน ในตัวเมืองสงขลามีรถเมล์สายรอบเมืองวิ่งด้วย นับว่าทันสมัยมากในยุคนั้น
อู่รถอยู่ที่วชิรา (ถ.ทะเลหลวง) ตรงข้ามโรงเรียนวชิรานุกูล
น่าจะเลิกกิจการไปในช่วง พ.ศ.2520 ใกล้เคียงกับรถไฟสายสงขลา

เสียดายที่จนบัดนี้ยังหาภาพถ่ายยุคนั้นที่เห็นรถรอบเมืองไม่พบเลยครับ
ขอนำราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับสายรถภายในเขตเทศบาลเมืองสงขลา มาลงไว้เพื่อระลึกถึง และเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สงขลาบ้านเราครับ


หม่องวิน มอไซ

สายรอบเมือง

แม้ในยุค 2530 รถสองแถวเล็ก (รถตุ๊กตุ๊ก) ก็มีสองสาย คือสายกลางกับสายวชิรา (แหลม)
ซึ่งคงเป็นไปตามที่ขนส่งกำหนดนี้เช่นกัน


ลูกแมวตาดำๆ

อ้างถึงสายที่ ๑ ถนนเก้าเส้ง - ถนนชนม์เจริญ
จุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนเก้าเส้ง ไปตามถนนกาญจนพานิช - ผ่านสี่แยกวัดหัวป้อม - ตรงไปตามถนนไทรบุรี - เลี้ยวซ้ายไปตามถนนไทรงาม - เลี้ยวขวาไปตามถนนแหลมทราย จุดปลายทางอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ ๗ ถนนชนม์เจริญ

หากเทียบอดีต กับ ปัจจุบัน

ถนนเก้าเส้ง - ถนนเก้าแสน // แต่คนทั่วไปมักรู้จักกันในชื่อเก้าเส้ง เพราะเพี้ยนมากจาคำว่า เก้าแสน

ถนนกาญจนพานิช - ถนนไทรบุรี // ช่วงแยกเก้าเส้ง ถึง แยก ธ.ทหารไทย

วัดหัวป้อม - วัดหัวป้อมใน

ถนนชนม์เจริญ - ถนนชลเจริญ // เป็นถนนเลียบสระบัว (ด้านหลังเวทีสระบัว) แล้วเลี้ยวซ้ายไปบรรจบถนนแหล่งพระราม หน้า ภูธรภาค ๙

ชื่อเส้นทางต่างๆในปัจจุบันคือ จุดเริ่มต้นอยู่ที่ถนนเก้าแสน ไปตามไทรบุรี - ผ่านสี่แยกวัดหัวป้อมใน(แยก ธ.ทหารไทย หรือ แยกตลาดลุงแสง) - ตรงไปตามถนนไทรบุรี - เลี้ยวซ้ายไปตามถนนไทรงาม - เลี้ยวขวาไปตามถนนแหลมทราย จุดปลายทางอยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ ๗ ถนนชลเจริญ

พี่

ค่าโดยสาร ถูกมาก ชาวบ้านมักเรียกชื่อว่า "รถห้าสิบตางค์" (๕๐ สตางค์)

พี่

บางครั้ง เราใช้ธนบัตรนี้จ่ายค่าโดยสาร

พี่

. ส.หัว

พี่

ต่อมา รถเมล์สายกลาง ขยายเส้นทางไปถึง วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา (เรียกย่อว่า วอ ศอ)
จึงเรียกรถสายนี้ว่า วศ. - แหลมทราย

วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา ปัจจุบันคือ ม.ทักษิณ

หม่องวิน มอไซ

ขยายไปถึงเขาแก้ว พ.ศ. ๒๕๒๓ ครับ


พี่

รถเมล์สายรอบเมือง แยกเป็น 2 สาย คือ สายแหลม กับ สายตลาด
อู่รถอยู่ตรงข้ามโรงเรียนวชิรานุกูล
สายแหลม ออกจากวชิรา เลี้ยวขวาที่สามแยกหลังวัดโพธิ์
สายตลาด ออกจากวชิรา เลี้ยวซ้ายที่สามแยกหลังวัดโพธิ์

เมื่อมีรถเมล์ ทำให้อาชีพสามล้อรับจ้างที่มีอยู่เดิมขาดรายได้ไปพอสมควร
คนถีบสามล้อ จึงเจาะกลุ่มแม่ค้า และชาวบ้านตามซอกซอยนอกเส้นทางรถเมล์

ปัจจุบัน รถจักรยานยนต์รับจ้าง เข้ามาแทนที่ แย่งส่วนแบ่งการตลาดของรถตุ๊ก ตุ๊ก รถสามล้อ

อนาคตอันใกล้ ถ้ารถไฟสายหาดใหญ่ - สงขลา กลับมาเดินอีกครั้ง
โฉมหน้าระบบขนส่งในตัวเมืองสงขลา ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

พี่

มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จำปี พ.ศ. ไม่ได้แล้ว
รถโดยสารโพธิ์ทอง ที่วิ่ง หาดใหญ่ - สงขลา เปิดบริการ"รถด่วน" ติดป้ายแสดงไว้หน้ากระจกรถ
จากสงขลา แวะรับผู้โดยสารไปเรื่อย จนถึง ม.ทักษิณ ก็ห้อตะบึงไม่รับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง
มีการแจกผ้าเย็นด้วย พอวิ่งไปถึงน้ำน้อย จึงกลายร่างเป็นรถธรรมดา
จากหาดใหญ่ - สงขลา ก็เช่นกัน

ต่อมา เลิกแจกผ้าเย็น แล้วเลิกบริการรถด่วนในที่สุด


หม่องวิน มอไซ

คุ้น ๆ ว่าผมก็เคยเห็นครับ
รถโพธิ์ทองที่ติดคำว่า ด่วน ไว้ด้วย
แต่เนื่องจากสมัยนั้น นาน ๆ จะเข้าสงขลาสักครั้ง
และบ้านอยู่ที่เทพา เลยได้ขึ้นแต่รถสมหวัง (จะนะ-สงขลา)
ไม่ค่อยได้ขึ้นรถโพธิ์ทอง เลยจำเรื่องผ้าเย็นไม่ได้เลยครับ

คนเขารูปช้าง

ท่าน พี่ ครับรถ ๕๐ สตางค์ที่ผมจำได้เป็นรถเบ็นซ์หัวตัดเบบ ๖ ล้อเล็ก ลักษณะคล้ายรูปที่ อ.หม่องฯเอามาลงในกระทู้ตู้ไปรษณีย์เก่า ที่ถ่ายที่องค์พระปฐมเจดีย์มาก แต่พ่นสีโทนสีเขียวแก่ครับ ขอนำลักษณะรถคล้ายรถ๕๐ สตางค์มาให้ชมกันครับ

จ่าหรอย

รถเมล์รอบเมือง50สต.สีเขียว เป็นรถยี่ห้อ"เบ๊นซ์"เชียวนา นั่งมันส์มาก เวลาเลี้ยวโค้งรถจะเอนเอียงจนหน้าต่างแทบจะถูไปกับถนนเลยแหละ เราได้เมียก็เพราะรถรอบเมือง นั่งทั้ง2สายจากต้นทางสุดปลายทาง แป๊บเดียวก็มืดแล้ว แล้วก็...ได้เมียมา1คน 555
น่าเสียดายที่โดนสองแถวตีกระจุย เพราะมีเยอะและมาเร็วไปเร็วกว่ารอบเมือง สุดท้ายก็เลิก เสียดายจัง

หม่องวิน มอไซ

ภาพองค์พระปฐมเจดีย์ นั้นมีรูปเปรียบเทียบในยุคปัจจุบันด้วยครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. ๒๕๑๗ ของกรมแผนที่ทหาร
มองเห็นหน้าอู่รถรอบเมือง มีรถจอดอยู่ด้วย ๑ คันครับ (เล็กมากแทบมองไม่เห็น)


คนเขารูปช้าง

อ.หม่องฯ ครับผมจำได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่งคุณแม่ผมพาไปปิคนิคที่คลาสสิคมากๆ โดยขึ้นรถ ๕๐ สตางค์สายตลาด ตอนนั้นรู้สึกว่าถนนไทรบุรีรถยนต์ยังไม่มากไม่วิ่งทางเดียว ขึ้นที่ปากซอยบ้านปัจจุบันเป็นนางงามซอย๑ ข้างโรงพระหลักเมืองฯ โดยคุณแม่เตรียมข้าวและกับข้าวใส่ปิ่นโต เอาเสื่อกระจูดม้วนกลมๆหนีบขึ้นรถเมล์ ๕๐สตางค์ พร้อมลูกๆ ผ่านตลาดเรือนจำเลี้ยวซ้ายเข้าไทรงามแล้วเลี้ยวขวาหัวมุม โรงเรียนถนนวิเชียรชม ไปสุดสายข้างโรงพักแหลมทราย มีเพิงพักของ พขร. ใต้ต้นไม้ใหญ่ แล้วเดินต่อตามที่ผมลงสีส้มในแผนที่ปี ๒๕๑๗ ไปนั่งกินข้าวกันที่ริมบึงเล็กๆ มีดอกบัวหลวงขึ้นอยู่ค่อนข้างมาก อิ่มแล้วก็นั่งรถจากต้นสายย้อนกลับตามเส้นทางที่ไปครับ

หม่องวิน มอไซ

บึงมีดอกบัวหลวง น่าจะเป็น"สระบัว" ของจริงมากกว่าที่แหลมสมิหลานะครับ  ;D

คนเขารูปช้าง

จากความทรงจำของผมซึ่งรู้สึกว่าจางๆไม่เด่นชัด ว่าบึงน้ำตื้นๆที่มีบัวหลวงขึ้นจะอยู่บริเวณกลางๆภาพมากกว่าครับและน่าจะกว้างกว่าที่เห็นในภาพถ่ายกรมแผนที่ฯปี๒๕๑๗ ไม่ทราบว่าบึงตื้นเขินหรือเปลี่ยนสภาพไปมากขนาดไหนจากตอนผมตัวเล็กๆ จนถึงอายุ ๑๗ ปีครับ

วัลลภ

ผมเป็นศิษย์เก่า ว.น. ปี 2514 -2516 คิวรถตั้งอยู่ตรงข้ามรถห้าสิบสตางค์  แต่ผมซื้อตั๋วโดยสารเป็นรายเดือน โดยบริษัทจะจ่ายให้เป็น คูปอง 1 เล่ม เวลาขึ้นก็ดีงให้เป็นค่าโดยสารหนึ่งใบราคา 25 สตางค์  จะถูกกว่าจ่ายเป็นเงินสดครั้งละ 50 สตางค์ครับ  จำได้ว่าเป็นรถเมล์สีเขียวเป็นมินิบัส เล็กว่ารถโพธิ์ทอง

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
แสดงว่ารถรอบเมือง มีการบริหารจัดการที่ทันสมัยมากครับ มีระบบคูปองใช้แล้วตั้งแต่ยุคนั้น

หลังจากเลิกกิจการแล้ว (แม่ผมใช้คำว่า ล็อม เป็นสำเนียงใต้ คงมาจากคำว่า ล่ม) รถก็ยังจอดทิ้งไว้ในอู่หน้า ว.น.หลายปีครับ
เสียดาย ไม่คิดที่จะถ่ายรูปไว้ดูเลยครับ

Singoraman

ผมทันใช้บริการทั้ง  "รถรอบเมือง"  และ  "รถห้าสิบตางค์"
แต่ยังนึกไม่ออกว่าเป็นของ "บริษัท" อะไร
ใช่ "ไทยเดินรถ" หรือเปล่าหนอ

ลุงจั๊ว

รถรอบเมืองยี่ห้อเบ๊นซ์ เป็นรุ่นเล็กกว่าในรูปพระปฐมเจดีย์ครับ  ในรูปนั้นเป็นรถรุ่น 328 บริษัทไทยเดินรถ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทส.ภาคใต้ขนส่ง  อู่รถเดิมอยู่ในซอยดอกรัก แถววชิราซอย 1 ครับ