ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สระบัว เมืองสงขลา กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นแบบใด...

เริ่มโดย ลูกแมวตาดำๆ, 20:16 น. 26 ม.ค 53

ลูกแมวตาดำๆ

เนื่องจากได้ขี่รถเล่นมาในย่านท่องเที่ยวพักผ่อนของเมืองสงขลา

ผ่านบริเวณสระบัวทำให้ต้องมองว่าเค้าล้อมรั้วสีเขียวๆทำอะไร

พอซักพักนึกขึ้นมาได้ว่า นายกเทศมนตรี ทน.สงขลา คนใหม่

มีนโยบายจะปรับปรุงสระบัว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะทำออกมาแบบไหน

เพราะยังไม่มีป้ายโครงการ ฉะนั้นจึงขอรวบรวมภาพสระบัวในอดีต

ซึ่งนับเป็นสถานที่สำคัญของเมืองสงขลา

เพราะงานต่างของสงขลาเกือบทั้งหมดมักจะจัดที่สระบัว

สระบัวเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งแรกๆตั้งแต่ผมจำความได้

รีบบันทึกภาพและเรื่องราวก่อนที่จะเป็นอดีตไปในอีกไม่นาน

หม่องวิน มอไซ

เอาเข้าจริง ๆ แล้ว ภาพสระบัว แหลมสมิหลาในอดีต หายากไม่ใช่เล่นเหมือนกันนะครับ
ไม่ค่อยมีใครถ่ายรูปไว้

พี่

[attach=1]

ภาพสระบัว จาก http://webboard.tourthai.com/index.php?topic=5132.0
โพสต์เมื่อ  26 กันยายน 2549

หม่องวิน มอไซ

ดูไม่ออกเลยนะครับว่าเป็น "สระบัว"  :o

Big Beach

พงศาวดารเมืองสงขลา
ฉบับเจ้าพระยาวิเชียรคิรี(บุญสังข์)

ครั้น ณ วันเดือนสี่ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ จุลศักราช ๑๒๒๑  ปีมแมเอกศก ...
...แล้วได้จัดแจงซ่อมแซมกำแพงเมืองแลประตูเมืองตึกดิน แลในจวนนอกจวนต่อก่อร่อถมทรายปลูกฉางใส่เข้าไว้สำหรับราชการ ๒ ฉาง แลต่อก่อตะพานคลองขวางแลป้อมรักษาขอบเขตที่ปากน้ำแหลมซายป้อมหนึ่ง  ต่อก่อสระศิลาไว้ที่น่าโรงศาลเจ้ามาจ่อ ปลูกบัวสัตบงกชไว้ให้ดอกให้รากให้ผลเปนใบทานตามแต่ผู้จะปรารถนา ...

คนเขารูปช้าง

ท่าน Big Beach ในพงศาวดารฯ ที่ว่า "ก่อสระศิลาไว้ที่น่าโรงศาลเจ้ามาจ่อ ปลูกบัวสัตบงกช" ผมคิดว่าเป็นคนละที่กับ
สระบัวในปัจจุบันครับ ผมจำได้ว่าสมัยผมเด็กๆ ไม่มีการก่อซีเมนต์รอบๆสระครับ มีชาวบ้านเอาวัวเดินลงไปอาบน้ำ
บ้างก็ขับรถลงไปแช่ครึ่งล้อล้างรถได้เลย ขอนำภาพเก่าๆบริเวณ "สระบัว" มาให้ชมกัน

สองภาพแรกถ่ายโดย Dr J Baum เมื่อปี 1929 (๒๔๗๒) จะเห็นว่าใกล้เคียงกับตอนผมเด็กๆมาก

คนเขารูปช้าง

ขอต่อด้วยภาพที่คาดว่าถ่ายระหว่าง พศ. ๒๔๙๕ - ๒๕๐๐ จากโปสการ์ด บริเวณ "สระบัว" สงขลา


Big MaHad

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 20:22 น.  01 ก.พ 53
ท่าน Big Beach ในพงศาวดารฯ ที่ว่า "ก่อสระศิลาไว้ที่น่าโรงศาลเจ้ามาจ่อ ปลูกบัวสัตบงกช" ผมคิดว่าเป็นคนละที่กับ
สระบัวในปัจจุบันครับ ผมจำได้ว่าสมัยผมเด็กๆ ไม่มีการก่อซีเมนต์รอบๆสระครับ มีชาวบ้านเอาวัวเดินลงไปอาบน้ำ
บ้างก็ขับรถลงไปแช่ครึ่งล้อล้างรถได้เลย ขอนำภาพเก่าๆบริเวณ "สระบัว" มาให้ชมกัน

สองภาพแรกถ่ายโดย Dr J Baum เมื่อปี 1929 (๒๔๗๒) จะเห็นว่าใกล้เคียงกับตอนผมเด็กๆมาก


ตกลงว่า 2 รุปนี้ของ Dr. Baum ใช่ที่สระบัวรึเปล่าครับ ผมว่าจะเอามาถามหลายครั้งแล้วเหมือนกัน แต่ว่ารายละเอียดต่างๆ ในภาพมีไม่เยอะเท่าไหร่ครับ ซึ่งง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

คุณ Big MaHad ครับ ผมคิดว่าทั้งสองภาพของ Dr Baum ถ่ายที่สระบัวบริเวณหน้าที่ทำการประปาสงขลาครับ
ในรูปแรกไม่แตกต่างกับความจำของผมในวัยเด็กมากครับ เพียงแต่ตอน Dr Baum ถ่าย มีต้นไม้ค่อนข้างทึบกว่า
และลักษณะของสระบัว ที่ผมจำได้ก็เป็นที่ลุ่มชุ่มน้ำ บริเวณขอบค่อยๆลาดช้าๆลงไปสู่กลางแอ่ง ในหน้าฝนมีน้ำขังเยอะ
ส่วนในหน้าแล้ง รู้สึกจะมีน้ำอยู่เฉพาะกลางแอ่งครับ ไม่ได้เป็นสระบัวที่มีการขุดแต่งและก่อปูนกรุขอบโดยรอบดังในปัจจุบันครับ

จากรูปสองของ Dr Baum จะเห็นแหลมสนอ่อนเป็นฉากหลัง อยู่ไกลๆ จางๆ ระหว่างต้นสนครับ

การใช้ประโยชน์จากสระบัวตอนนั้น ชาวบ้านใช้อย่างเอนกประสงค์มาก มีการนำวัวเดินลงไปตามที่ลาดรอบเแอ่ง
ยืนแช่อยู่ครึ่งตัวแล้วอาบน้ำให้วัว ผมเองยังเคยช่วยคุณพ่อล้างรถจิ้บคันเก่าแก่ พื้นรอบๆสระจะเป็นทรายแน่นครับ
ขับรถลงไปแช่ครึ่งล้อ วักน้ำสาดและแปรงโคลนที่จับหนาใต้บังโคลนได้เลย

ขอนำภาพที่สามที่ลงไว้แล้วมาให้ดูใหม่ เนื่องจากไปค้นรูปที่แปลงเป็นดิจิตอลความละเอียดสูงกว่าเจอครับ
ภาพนี้มองจากบริเวณที่เป็นร้านอาหารสงขลา sea spot ในปัจจุบันครับ

ขอเอารูปแผนที่ ที่ผมเขียนมุมมองของภาพนี้มาลงด้านล่างเปรียบเทียบครับ

Big MaHad

ถ้าได้ไปตามถ่ายรูปตามจุดๆต่างๆ เอามาเปรียบเทียบกัน คงจะดีไม่ใช่น้อยครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายทางอากาศเปรียบเทียบระหว่างปี ๒๕๑๗ กับ ๒๕๕๐ ครับ
จะเห็นว่าสระบัวเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปมากครับ


คนเขารูปช้าง

ผมขอนำภาพมาเปรียบเทียบกับแผนที่ ที่ อ.หม่องฯ หามาเป็นคู่ๆ กับภาพ ผมขีดมุมมองไว้ในแผนที่
ผิดถูกประการใดช่วยออกความเห็นด้วยครับ

คู่แรก

คนเขารูปช้าง

คู่ที่สอง

คนเขารูปช้าง

คู่สาม

หม่องวิน มอไซ

จากแผนที่ปี ๒๔๗๘ ที่ท่านคนเขารูปช้างนำมาใช้เปรียบเทียบกับภาพถ่ายเก่า
ทำให้ทราบว่า ในสมัยนั้น สระบัวไม่ได้มีรูปร่างยาว ๆ อย่างในปัจจุบัน
แต่เป็นสระรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าครับ
ดังที่เห็นอยู่ตรงข้ามกับเขาตังกวนในแผนที่ครับ

กิมหยง

ถามนิดครับ สระบัว ที่ว่านี้
คงเป็นสระที่มีบัวเต็มเหมือนกับทะเลน้อยใช่หรือเปล่าครับ

แล้วหลังจากปรับปรุงแล้ว จะเป็นสระบัวจริง ๆ ได้หรือไม่ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

สระบัวที่มีบัวจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัวหลวง บัวสาย บัวผัน บัวเผื่อน บัวกระด้งหรือบัวฝรั่ง
ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี จึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ต้องการทักษะและงบประมาณในการบำรุงรักษามากครับ

ไม่เหมือนกับสระบัวธรรมชาติ อย่างทะเลน้อย ที่ระบบนิเวศมีความสมดุล
ธรรมชาติสามารถบำรุงรักษาตัวเองไว้ได้ ถ้าไม่มีอะไรมากระทบที่รุนแรงมากเกินไป

ที่ทำงานผมเคยมีสระบัวหลวง (บัวบูชาพระ ฝักกินได้) และบัวสาย (บัวทำต้มกะทิปลาทูได้) ขนาดใหญ่
ไม่นานบัวหลวงก็มีปัญหาหนอนแมลงระบาด กัดกินใบ
ส่วนบัวสายก็โตไว ลุกลามเร็ว และตื้นเขินในเวลาต่อมา

จากที่ท่านกิมหยงตั้งข้อสงสัยนั้น ผมขอถามเพิ่มเติมว่าในอดีต สระบัวแห่งนี้ เคยมีบัวอยู่จริง ๆ หรือไม่
ถ้ามี เป็นบัวหลวงหรือบัวสายครับ

Singoraman

นั่งนึก ๆ เพื่อหาที่มาของคำ "สระบัว"
นึกได้ว่าชื่อ สระบัว เป็นชื่อที่ใช้เรียกกันไม่นานนัก ดูเหมือนจะเป็นคำที่ใช้เรียกบรเวณลานหรือสนามที่ตั้งเวที
และใช้ในการโฆษณาเสียมากกว่า ส่วนชาวบ้านเรียกเป็น "บึง" มากกว่า
จำได้ว่ามีเหตุการณ์เด็กจมน้ำเสียชีวิตในบึงนี้สมัยยังมีบัว และเป็นบึงไม่มีขอบคอนกรีต
คนเขาพูดกันว่า "เด็กจมน้ำตายที่แหลม" เขาไม่พูดว่า "จมน้ำที่สระบัว"

ลูกแมวตาดำๆ


หม่องวิน มอไซ

งบ 25 ล้าน คงออกมาดีนะครับ
รอติดตามชม อีก 6 เดือนครับ

หม่องวิน มอไซ

หลักฐานที่บอกว่าสระบัวเคยมีบัวบานสวยงามครับ
จาก อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๘ ประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑


หม่องวิน มอไซ

สภาพเมื่อปี ๒๕๑๑ สรุปได้ว่า
๑. บนยอดเขาน้อย มีสระน้ำที่ทันสมัย
๒. สระบัว เป็น สระ"บัวสาย" ไม่ใช่บัวหลวง
๓. มีคนเข้าไปพักอาศัยอยู่ในตำหนักแดง บนเขาตังกวน ไร้ระเบียบ
๔. มีหมอดูอยู่บนเขาตังกวน
๕. พระพุทธบาทจำลอง หายไปสมัยสงคราม (อย่างที่ อ.Singoraman เคยเล่าให้ฟัง)