ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

บ่อโอ : บ่อน้ำ 100 ปีของสงขลา บ่อร้างลึกลับที่อู่ตะเภา และบ่อทรัพย์

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 11:40 น. 19 ก.พ 53

เฮียใช้

ผมไปงานแห่พระประจำปี เฃี่ยงตึ๋งถ่ายภาพมา แต่ยืนคนละมุมกับคุณกิมหยง  :)

หม่องวิน มอไซ

ภาพขยายครับ
จะเห็นว่า เมื่อมองไปทางหาดใหญ่ ถังน้ำและโรงไว้รถจักรจะอยู่ทางทิศตะวันออกหรือทางซ้ายมือของราง
ส่วนอาคารสถานีจะอยู่ขวามือ (ทิศตะวันตกของราง) หรือฝั่งเดียวกับเสาโทรเลข

ถังน้ำจะอยู่ก่อนถึงโรงไว้รถจักร (โรงไว้รถจักร เป็นภาษาเก่า ปัจจุบันเรียก โรงรถจักรหรือ roundhouse เพราะมีลักษณะเป็นเรือนโค้งไปตามที่สำหรับกลับรถจักรหรือวงเวียนกลับรถจักร = turntable ครับ)

สังเกตว่าหน้าโรงไว้รถจักร ด้านซ้ายของถังน้ำ มีอาคารเล็ก ๆ หน้าจั่วอยู่ด้วยครับ บ่อน้ำน่าจะอยู่ละแวกนี้แหละครับ


หม่องวิน มอไซ

สังเกตใช่ไหมครับว่าโรงไว้รถจักร มีลักษณะเป็นห้องแถวหน้าจั่ว มีทั้งหมด 5 ห้อง
และโค้ง โดยห้องซ้ายมือสุดจะเหมือนอยู่ห่างจากเรามากที่สุด คือโค้งเข้าไปในภาพ
ทำให้คาดได้ว่า ถ้ามองทะลุโรงไว้รถจักรเข้าไปในภาพได้ จะไปโผล่ที่วงเวียนกลับรถจักรครับ

มีภาพถ่ายสถานีอู่ตะเภาอีกภาพ มองไปทางกรุงเทพ หันหลังให้หาดใหญ่ครับ
จะเห็นอาคารสถานีอยู่ทางทิศตะวันตกของราง เห็นถังน้ำกับโรงไว้รถจักรอยู่ทางทิศตะวันออกของรางครับ
[attach=1]
ภาพจากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ พ.ศ.2529

หม่องวิน มอไซ

น่าสังเกตอีกอย่าง คือ ในภาพจากสารานุกรมฯ นี้ อาคารสถานีอู่ตะเภามีหลังคาคลุมชานชาลาที่ 1 แล้ว
ในขณะที่ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่มองไปทางหาดใหญ่นั้น ยังไม่มีหลังคาคลุมชานชาลา
แสดงว่าถ่ายคนละยุคกัน

เนื่องจากไม่มีภาพถ่ายทางอากาศเก่าของสถานีอู่ตะเภาให้ดูเลย จึงไม่ทราบผังรางครับ
ผมไปค้นดู มีภาพถ่ายทางอากาศของสถานีพิษณุโลก ที่เห็นรูปทรงโรงไว้รถจักรแบบเดียวกัน นำมาให้ชมเป็นการเปรียบเทียบครับ
ภาพนี้ ผมเชื่อว่าถ่ายโดยวิลเลี่ยม ฮันท์ ในปี พ.ศ. 2489 ครับ แต่ยังหาหลักฐานมาอ้างอิงไม่ได้


หม่องวิน มอไซ

จากภาพข้างบน โรงไว้รถจักรที่พิษณุโลก คงใช้แบบแปลนคล้าย ๆ กับที่อู่ตะเภาครับ มองจากด้านบนน่าจะเห็นเป็นแบบเดียวกัน โปรดสังเกตที่สำหรับกลับรถจักรที่อยู่ด้านหน้าโรงไว้รถจักรนะครับ

อ้างจาก: เฮียใช้ เมื่อ 02:43 น.  21 ก.พ 53
ผมไปงานแห่พระประจำปี เฃี่ยงตึ๋งถ่ายภาพมา แต่ยืนคนละมุมกับคุณกิมหยง  :)
สวัสดีครับเฮียใช้ นอนดึกจังเลยครับ ผมขอตัวไปนอนก่อนนะครับ


ลูกแมวตาดำๆ

เมื่อคืนเน็ต TOT เมืองสงขลาเสียครับเพิ่งใช้ได้ตอนเช้า


ถ้าเป็นดังที่ อ.หม่อง กล่าวไว้ แนวปูนโค้งที่คุณกิมหยงเรียกผมไปดูนั้นต้องเป็นที่กลับรถจักรแน่นอนครับ

ส่วนฐานปูนที่ผมเคยบอกไว้ว่าพบรอบๆแล้วด้านในที่กลับหัวรถจักรนั้น

ผมเลยเอาดินรอบฐานนั้นออกมา รู้สึกว่าฐานไม่ได้ฝังไปในดิน คล้ายๆกับวว่าแค่เอามาวางไว้เฉยๆครับ

อาจจะเป็นการรื้อฐานของโรงเก็บรถจักรมากองไว้ครับ

ส่วนหรือฐานปูนที่ป้าติ๋วคิดว่าเป็นฐานเสางวงช้างนั้น เป็นไปได้สูงครับ

แม้ป้าติ๋วจะบอกว่าปกติจะอยู่เหนือผิวดินไม่จมอยู่ใต้ผิวดิน

แต่บริเวณนั้นสังเกตได้เลยครับว่ามีผิวดินเพิ่มสูงขึ้นมา

โดยดูได้จากบ่อวงเวียนกลับรถจักรที่มีดินถมครับจนขอบบ่อไปอยู่ใต้ผิวดินเล็กน้อยครับ

ผมเลยเกิดข้อสงสัยอีกอย่างครับ เมื่อก่อนการเดินทางไปยังสถานีอู่ตะเภา

ใช้ถนนใด และถนนเข้าไปในส่วนไหนของสถานีบ้าง มีอีกข้อที่ผิดสังเกตคือ

พื้นดินด้านตะวันตกของรางที่เคยเป็นชานชลาเก่าของสถานีนั้น

ปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าระดับคันทางรถไฟมาก เหมือนกับว่าดินบริเวณนั้นหายไปครับ

หม่องวิน มอไซ

เรื่องถนนเข้าสู่สถานีนั้น ผมไม่แน่ใจว่าในยุค ๒๔๖๐ นั้น มีถนนดินเข้าถึงอาคารสถานีหรือยังครับ เพราะบริเวณรอบ ๆ นั้นเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมบ่อยในฤดูน้ำหลาก
สมัยก่อนจะใช้การสัญจรทางน้ำผ่านทางคลองอู่ตะเภาหรือไม่ คงต้องสืบสวน หาข้อมูลกันต่อไป ขอบคุณที่จุดประเด็นขึ้นมาครับ

ไปค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานีอู่ตะเภาเพิ่มเติมมาครับ เจอในรายงานประจำปี ฉบับที่ ๒๑ ว่าด้วยกิจการงานของกรมรถไฟหลวง ประจำปี พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ พิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมรถไฟหลวง พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้ความว่าดังนี้ครับ

บาญชีโรงไว้รถจักร์แลโรงสูบน้ำ ฯลฯ ทางขนาดแคบ พ.ศ. ๒๔๖๐
สถานีชุมทางอู่ตะเภา
ระยะทางจากบางกอกน้อย ๙๒๖ ก.ล.ม.
- จำนวนห้องที่ในโรงไว้รถจักร์ = ๕
- ที่สำหรับกลับรถยาว = ๑๕.๒๔ เมตร์ (๕๐' ๐๐'' ฟิต)
- ชนิดเครื่องจักรที่โรงสูบน้ำ ใช้ไอน้ำร้อน
- งวงน้ำจำนวน ๑
- ถังน้ำจุน้ำได้ = ๕๐ กิวบิกเมตร์ (๑๑,๐๐๐ แกนลอน
- เครื่องปั้นจั่นมีกำลังยกน้ำหนักได้ เป็นตัน - (ไม่มี) 

สถานีสงขลา
ระยะทางจากบางกอกน้อย ๙๕๕ ก.ล.ม.
- จำนวนห้องที่ในโรงไว้รถจักร์ = ๔
- ที่สำหรับกลับรถยาว = ๑๕.๒๔ เมตร์ (๕๐' ๐๐'' ฟิต)
- ชนิดเครื่องจักรที่โรงสูบน้ำ ใช้ไอน้ำร้อน
- งวงน้ำจำนวน ๑
- ถังน้ำจุน้ำได้ = ๕๐ กิวบิกเมตร์ (๑๑,๐๐๐ แกนลอน
- เครื่องปั้นจั่นมีกำลังยกน้ำหนักได้ เป็นตัน = ๕

หม่องวิน มอไซ

รอชมแนวปูนโค้งครับ ถ้าเป็นขอบปูนของบ่อวงเวียนกลับรถจักรจริง ๆ
ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์รถไฟของสงขลานะครับท่านกิมหยง คุณลูกแมวฯ

กิมหยง

คือ เอาแบบนี้ดีกว่าท่าน

คือผมพอจะช่วยถ่ายรูปหรือลงไปสำรวจได้ครับ

รบกวนท่านบอกมาดีกว่าครับ ว่าผมควรทำอย่างไรบ้าง
อย่างมี่สวนร่วมครับ แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านนี้เลยครับ

ผมอยากจะถ่ายภาพตรงจุดเดียวกันกับที่ถ่ายในภาพเก่าสถานีอู่ตะเภา
ซึ่งคาดว่าน่าจะถ่ายมาจากที่สูง อาจเป็นสะพานข้ามคลองอู่ตะเภาก็ได้ครับ

คงต้องออกไปสำรวจช่วงเช้า ๆ ที่มีเจ้าของพื้นที่อยู่ครับ
จะได้เข้าไปสำรวจข้างในได้ครับ

ปล. ราว 2 ปีที่แล้ว เคยไปสำรวจ
เจ้าของที่เขาบอกว่ามีคณะอาจารย์ พานักเรียนไปสำรวจบ่อย
ไม่ทราบว่าเป็นชุดไหนเหรอครับท่าน
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

ไม่ทราบมาก่อนเลยครับว่า มีคณะอาจารย์พานักเรียนมาสำรวจด้วย

งานไขปริศนาสถานีอู่ตะเภานี้ ไม่ใช่ท่านกิมหยง"อยากมีส่วนร่วม"แล้วล่ะครับ
แต่ถือว่าท่านกิมหยงเป็น"ผู้นำการสำรวจ" ร่วมกับคุณลูกแมวฯ ครับ
ส่วนผม เฮียใช้ ป้าติ๋วพร้อมด้วยสมาชิกท่านอื่น ๆ จะช่วยกันอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ

เอาเป็นว่าได้ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้นะครับ
1. เจอบ่อน้ำโบราณ อยู่ทางฝั่งตะวันออกของราง --> เชื่อว่าเป็นบ่อสมัยมีสถานีอยู่อย่างแน่นอน และใช้ในการเติมน้ำรถจักรแน่ ๆ ครับ
2. เจอแท่นปูน --> อาจเป็นแท่นปูนของงวงเติมน้ำ อย่างที่ป้าติ๋วและคุณลูกแมวฯ บอก
3. คุณลูกแมวพูดว่า "แนวปูนโค้งที่คุณกิมหยงเรียกผมไปดู" นั้น --> อยากเห็นภาพแนวปูนโค้งที่ว่านี้มากครับ
4. ถ้าทราบพิกัด GPS ของบ่อน้ำ และแนวปูนโค้ง จะไขปริศนาได้ง่ายขึ้นมากครับ

เดี๋ยวจะลองสเก็ตช์ภาพมาให้เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ

กิมหยง

ท่านแล้วพิกัดนี้ ทำอย่างไรครับ
คะเมอไม่มีเครื่องบอกพิกัดครับ

เอาเป็นว่าผมจะนัดกับคุณลูกแมว หรือผู้สนใจ ลองไปสำรวจให้ละเอียดอีกทีนะครับท่าน

ส่วนแนวปูนนั้น ไม่แน่ใจว่าโค้งมาก โค้งน้อยหรือตรงครับ
เพราะเห็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ ไม่ชัดเจนเหมือนสงขลาครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

หม่องวิน มอไซ

หาม่ายเครื่องวัดพิกัดก็ไม่พรื้อ ไม่มีปัญหาใด ๆ
แค่ถ่ายภาพมาลุย ๆ
ทั้งมุมแคบ มุมกว้าง ซ้ายขวาหน้าหลัง
ยิ่งติดสีหลังคาบ้าน หรือต้นไม้ใหญ่ ๆ ได้ยิ่งดี หรือติดรางรถไฟ ติดเสาโทรเลข

สามารถใช้พิกัดธรรมชาติพันนี้ หาพิกัดใน Google Earth ได้ครับ

ปูนตรง ปูนโค้งไม่มีปัญหาครับ ภาพ 1 ภาพแทนคำนับพันครับ
ชือเว็บกิมหยง.คอมจะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์รถไฟสงขลาครับ
ว่าเป็นผู้ศึกษาสถานีชุมทางอู่ตะเภา
(ในฐานะที่เว็บไซต์นี้ก็เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่ศึกษา สำรวจตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อนนี่ครับ  ;) )

warodako

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 16:35 น.  20 ก.พ 53
นี่เป็นบ่อครับ
ไม่รู้ครับว่าเป็นบ่ออะไร ก็ได้แต่มาถามท่านผู้รู้ทั้งหลายครับ

ราว 2 ปีก่อนมาสำรวจ
เจอเจ้าของพื้นที่ ที่ครอบครองอยู่ครับ
เขาบอกว่าสมัยก่อนบ่อนี้จะมีการนำศพมาโยนทิ้งเพื่ออำพรางคดี
เขาบอกว่ามีหลายศพ 

ฟังดูสยองดีแท้ครับ
เห็นบ่อแบบนี้แล้วนึกถึง the ring

warodako


หม่องวิน มอไซ

ไม่ทราบจริง ๆ ครับเรื่องชื่อ
ตอนแรกผมคิดว่ามาจากบ่อมีรูปร่างคล้ายตัว O
แต่เหตุผลนี้ดูไม่หนักแน่นพอ

ในสงขลายังมีบ่อพลับ อยู่ที่มัสยิดบ้านบน ซึ่งไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับต้นพลับหรือไม่

ที่สิงหนคร มีบ้านปะโอ ซึ่งไม่เข้าใจความหมายเหมือนกันครับ

ท่านใดระแคะระคายเรื่องนี้ มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

warodako

แต่มาจากตัว O ก็เป็นไปได้น่ะครับ บ่อก็สร้างมาเกือบร้อยปี ตอนนั้นคงใช้วิศวะกรชาวต่างชาติ
พวกนั้นเรียกกันก่อน ชาวบ้านก็เรียกตาม ;D

แต่อีกแบบครับ ผมลองนึกเล่นๆดู
ผมเคยได้ยินคุณยายเรียกคนที่ดูดี ดูภูมิฐานว่า "อยู่โอ"
เป็นไปได้ไหมครับว่าเป็น"โอ"เดียวกัน :)

ไม่รู้ผมเข้าใจคำว่า "อยู่โอ"ของคุณยายถูกรึป่าว ;D


กิมหยง

ครับ งั้นจะนำทีมข่าวลงไปสำรวจด้วยครับท่าน

ไม่รู้หาญไปไหมหล่าว เขากลัวผีจะตาย
สร้าง & ฟื้นฟู

warodako

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 21:28 น.  21 ก.พ 53
ครับ งั้นจะนำทีมข่าวลงไปสำรวจด้วยครับท่าน

ไม่รู้หาญไปไหมหล่าว เขากลัวผีจะตาย

คุณกิมหยงอยากรู้อะไร วันสำรวจก็ไปค่ำๆหน่อย แล้วก็ไปเล่นผีถ้วยแก้วถามเอาสิครับ
ง่ายนิดเดียว :)

กิมหยง

5555555

แรงครับเรื่องรถไฟนิ

เคยโดนมากับตัวเองครับ ตรงสะพานน้ำน้อยครับท่าน

ไว้เดี๋ยวจะลงสำรวจพร้อมถ่ายภาพมาฝากเยอะๆ ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

warodako

เผลอๆอาจได้เพิ่มบอร์ดเรื่องลี้ลับ เอาไว้ช่วยกันพิสูจน์ หาที่มาที่ไปของเรื่องน่ากลัว และตำนานต่างๆ O0
น่าหนุกดีน่ะครับ ;D

หม่องวิน มอไซ

บ่อโอที่สงขลานั้น ผมไม่แน่ใจว่าคนที่ขุดจริง ๆ แล้วเป็นกรรมกรชาวจีนหรือคนไทยครับ ต้องค้นประวัติกันดู
ส่วนคนคุมงานนั้น วิศวกรชาวต่างชาติ อย่างที่คุณ warodako บอกแน่ ๆ ครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุมทางอู่ตะเภาครับ
- เปิดเป็นทางการ 1 ม.ค. 2456 (นับอย่างปัจจุบันคือ 1 ม.ค. 2457)
- ถูกลดฐานะจากสถานีเป็นที่หยุดรถ (ไม่มีนายสถานีประจำ) พ.ศ. 2476
- ยุบที่หยุดรถอย่างสิ้นเชิง 1 ก.ย. 2529

พิกัดศูนย์กลางอาคารสถานีคือ กม.ที่ 925.80 (ตรงกับเสาโทรเลขที่ 925/14)

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายทางอากาศปี 2517 เปรียบเทียบกับภาพถ่ายดาวเทียมปี 2549 ครับ
หมุดสีเหลืองคือศูนย์กลางอาคารสถานีอู่ตะเภา (อาคารขายตั๋ว) ครับ กม. 925.80

จะเห็นว่าก่อนจะมาเป็นชุมชนแบบปัจจุบัน พื้นที่ด้านตะวันออกของราง (ด้านบนของภาพ)
เคยเป็นสวนยางหรือป่ารกมาก่อนครับ
ทำให้หาหลักฐานค่อนข้างยากกว่าสงขลามาก
(เลิกใช้งานมาเกือบ 80 ปีแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2476)