ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ท่าแหลมทราย อยู่ที่ไหน

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 23:42 น. 01 ก.พ 53

หม่องวิน มอไซ

ภาพถ่ายข้างล่างนี้ อยู่ในชุด ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๘
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ


หม่องวิน มอไซ

ในหนังสือ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ของสักขี พ.ศ. ๒๔๕๘ ระบุว่า (ตัดตอนมาบางส่วน)
วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๘
เรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชทอดอยู่น่าแหลมทรายเมืองสงขลา เห็นพระเจดีย์แลประภาคาร เสาธงบนยอดเขาตังกวน แลเห็นเสาวิทยุโทรเลข เห็นหลังคาพลับพลาทองแลตำหนักตึกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ฯ สมุหเทศาภิบาล ซึ่งพึ่งทำแล้วใหม่ที่เชิงเขาน้อย อันได้จัดเป็นที่ประทับแรมรับเสด็จคราวนี้ และแลเห็นรถยนต์เดินขวักไขว่อยู่ในระหว่างทิวไม้... ...เรือพระที่นั่งกรรเชียงเคลื่อนจากเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช...
เสด็จพระราชดำเนินมายังท่าซึ่งสร้างขึ้นเปนพิเศษทางแหลมทราย มีสพานยาวประมาณ ๔ เส้นเศษเพื่อให้ตกน้ำลึก ตกแต่งด้วยใบสนของป่า และมีผ้าลาดพระบาทตั้งแต่ทางขึ้นจนถึงรถพระที่นั่ง

หม่องวิน มอไซ

ในหนังสือจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ระบุว่า ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินมายังท่าเวลา ๕ โมงเย็น
ดังนั้นจากข้อมูลเหล่านี้ นำมาวิเคราะห์ได้ดังนี้
วันที่ : ๑๓ มิ.ย. ๒๔๕๘
เวลา : ๑๗.๐๐ น.
คำนวณมุมเงยของดวงอาทิตย์ได้ประมาณ ๒๐ องศา และมุมอะซีมุทของดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๙๐ องศา (ตะวันตกค่อนไปทางเหนือ)

เมื่อพิจารณาจากเงาของบุคคลที่เห็นในภาพถ่ายข้างต้น ทอดไปตามแนวชายหาด ไม่ได้ทอดไปทางทะเลหรือขึ้นฝั่ง
ดังนั้น จุดที่สร้างท่าขึ้นเป็นพิเศษ มีสะพานยาวประมาณ ๔ เส้นนั้น น่าจะอยู่บริเวณใกล้กับสระบัวในปัจจุบัน
คืออยู่บริเวณชายหาดระหว่างสระบัวกับนางเงือกในปัจจุบันครับ
เพราะเป็นบริเวณเดียวเท่านั้นในสงขลา ที่จะมองเห็นเงาทอดไปตามแนวชายหาดได้ในเวลา ๕ โมงเย็นของกลางเดือนมิถุนายน
เนื่องจากบริเวณอื่น คือ แหลมสนอ่อนและแหลมสมิหลา หาดชลาทัศน์นั้น หาดทรายทอดตัวในแนวเหนือใต้
ส่วนบริเวณสระบัวถึงนางเงือก หาดทรายทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก

ที่สำคัญ ในภาพไม่ปรากฏเกาะหนู-เกาะแมว ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองที่หาดทรายบริเวณสระบัวเช่นกันครับ  ;D

หม่องวิน มอไซ

เมื่อ ร.๖ เสด็จพระราชดำเนินขึ้นที่ท่าแหลมทรายแล้ว ได้เสด็จขึ้นรถยนต์พระที่นั่งมาตามถนนราชดำเนิน เข้าถนนสุขุม เลี้ยวไปตามถนนสะเดา แล้วเลี้ยวเข้าตำหนักเขาน้อย ซึ่งเป็นที่ประทับ
ดังนั้น ตำแหน่งของสะพานจึงน่าจะอยู่บริเวณดังกล่าว คือ ทิศเหนือของเขาน้อยนั่นเองครับ

หม่องวิน มอไซ

ผมคาดว่าแนวเส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน และตำแหน่งของท่าแหลมทราย เป็นดังภาพครับ



ลูกแมวตาดำๆ

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 00:03 น.  02 ก.พ 53

วันที่ : ๑๓ มิ.ย. ๒๔๕๘
เวลา : ๑๗.๐๐ น.
คำนวณมุมเงยของดวงอาทิตย์ได้ประมาณ ๒๐ องศา และมุมอะซีมุทของดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๙๐ องศา (ตะวันตกค่อนไปทางเหนือ)

สุดยอดเลยครับอาจารย์

ลูกแมวตาดำๆ

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 00:03 น.  02 ก.พ 53


ที่สำคัญ ในภาพไม่ปรากฏเกาะหนู-เกาะแมว ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองที่หาดทรายบริเวณสระบัวเช่นกันครับ  ;D


อาจจะเป็นเพราะแสงแดดที่สว่างมาก จนทำในภาพมองไม่เห็นเพระาเป็นภาพ ขาวดำ

เกาะทั้งสองจึงอาจจะกลายเป็นสีขาว

คนเขารูปช้าง

อ.หม่อง ฯ และคุณ ลูกแมวตาดำๆ ครับ ผมไปดูในแผนที่ 2478 บริเวณหาดตรงข้าม เขาน้อย-เขาตังกวน
ที่ผมทำวงเป็นสีไว้ วงบนมีพลับพลาด้วย วงล่างมีสโมสรและพื้นที่สีเหลี่ยม ทั้งพลับพลา สโมสร และพื้นที่สี่เหลี่ยม
ผมไม่ทราบว่าเป็นอะไร แต่เคยเห็นในรูปคราวคณะเสือป่า รับเสด็จ ร.๖ ที่ อ.จรัสเอาให้ดูบอกว่าขอสำเนามาจากหอจดหมายเหตุฯ
รับเสด็จบริเวณชายหาด มีการสร้างพลับพลาชั่วคราวด้วยครับ

ส่วนสระบัวตอนผมเด็กๆที่กล่าวถึงอยูบริเวณที่ผมลงสีม่วงไว้ครับ

บริเวณในแผนที่2478 ที่ผมวงไว้ไม่เคยเห็นสิ่งปลูกสร้างอะไรเมื่อเริ่มจำความได้ แต่แนวถนนดินอัดแน่นแบบในแผนที่มีอยู่ครับ

ทิศทางของเงาที่อ.หม่องฯ ว่าก็ตรงกับทิศในแผนที่ครับ ขนานกับลูกศรสีส้มที่ผมลงไว้

Singoraman

นับถือทุกท่านด้วยความศรัทธาในการทำงานเพื่อแผ่นดินครับ

หม่องวิน มอไซ

กระทู้นี้ ได้แรงบันดาลใจมาจากบทความเรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จตรวจราชการ ณ มณฑลนครศรีธรรมราช (เมืองสงขลา) พ.ศ.๒๔๕๘ โดย อ.วุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ ลงพิมพ์ในนิตยสาร อบจ.สงขลา ฉบับเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ครับ
------------------------------
ท่านคนเขารูปช้างครับ ที่วงกลมสีเขียวไว้ในแผนที่สงขลา พ.ศ. ๒๔๗๘ นั้น
ผมสันนิษฐานว่าสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าโปร่งน่าจะเป็นบ่อหรือแหล่งน้ำครับ
ไม่ใช่สิ่งปลูกสร้าง
เพราะถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้าง จะระบายสีดำทึบ

มีโอกาสเป็นไปได้ไหมครับที่จะเป็นสระบัว เพราะแผนที่นี้แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสงขลา พ.ศ.๒๔๗๘
ซึ่งน่าจะใช้ข้อมูลก่อนหน้านั้น ทำให้ระยะเวลาใกล้เคียงกับภาพถ่ายของ ดร.ยิชรี บอม ซึ่งถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๒
มองเห็นคนทอดแหอยู่ในแหล่งน้ำริมทะเลน่ะครับ

คนเขารูปช้าง

อ. หม่องครับ บริเวณสี่เหลี่ยมที่ผมวงเขียวไว้นั้น ผมไม่เคยเห็นเป็นสระขุดมาก่อนเลย
อีกทั้งบริเวณนั้นเป็นดินทรายชายทะเล ที่ราบเรียบ และมีต้น คุระ (ไม่ทราบถูกหรือเปล่า)
ที่มักจะขึ้นริมทะเลเพราะเมล็ดลอยมากับน้ำทะเลขึ้นอยู่เล็กน้อย กับต้นสนบริเวณนั้นไม่มีดินเหนียวที่บัวชอบขึ้นอยู่เลย และชื่อสระบัวนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าเริ่มใช้เรียกกันหลังจากทางเทศบาลยุคก่อนๆโน้น ขุดแต่งแอ่งธรรมชาติเดิมให้ลึกขึ้นเป็นสระชัดเจนแล้วเอาบัวมาปลูกหรือไม่ ต้องสอบถามจากคนเก่าแก่อีกทีครับ  ผมรู้สึกว่าตอนผมไปช่วยคุณพ่อล้างรถจิ้บคันเก่าแก่ ในแอ่งนี้ ก็ไม่มีบัวนะครับ

ส่วนที่ผมลงสีม่วงไว้ริมถนนนั่นเป็นแอ่งตื้นๆ ขอบมีความลาดมากไม่ชัน และน้ำมากขยายกว้างขึ้นในหน้าฝนครับ

Singoraman

ภาพที่ผมพบเห็นคุ้น ๆ กับที่ท่านพี่เขารูปช้างว่าไว้นะครับ

หม่องวิน มอไซ

ถ้าอย่างนั้น รูปสี่เหลี่ยมในวงกลมสีเขียว คืออะไรกันหนอ  :o

Singoraman

ผมคุ้นตาว่าตอนมีการจัด "งานฤดูร้อน" หรือ "งานประจำปี  ช่วง  พ.ศ.2515 -17 ซึ่งจัดที่บริเวณสนามสระบัวปัจจุบัน
ช่วงนั้นในสระมีบัวแล้ว  ที่ผมจำปีได้แม่นเพราะช่วงนั้น " บริษัท แป้งน้ำคลีโอพัตรา"  ฉายหนังกลางแปลงจอใหญ่
ระบบซีเนมาสโคป ซึ่งผมไม่เคยเห็นมาก่อน จอหนังอยู่บริเวณประติมากรรมและเรือสำราญเด็กเล่นในปัจจุบัน
ผมจำได้ว่าบริเวณริมสระบัวเป็นโรงลิเก

คนเขารูปช้าง

 อ.หม่อง ฯ และ อ. Singoraman ครับ ผมไปเปิดดูสมุดภาพที่พี่เอนกส่งมาให้บ้าง ซื้อบ้าง
หลายเล่ม เผื่อต้องไปช่วยคุยเรื่องภาพเก่าเสริมให้ อ. Singoraman ในงานที่เก้าห้อง วันที่ ๕ นี้  ใน "สมบัติเมืองสงขลา" ไปเจอพี่เอนก ฯ อ่านภาพ คนทอดแหของ  Dr Baum ว่าเป็น "แอ่งน้ำข้างแหลมสมิหลา" ครับ

Big MaHad

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 20:46 น.  03 ก.พ 53
อ.หม่อง ฯ และ อ. Singoraman ครับ ผมไปเปิดดูสมุดภาพที่พี่เอนกส่งมาให้
เผื่อต้องไปช่วยคุยเรื่องภาพเก่าเสริมให้ อ. Singoraman ในงานที่เก้าห้อง วันที่ ๕ นี้
ใน "สมบัติเมืองสงขลา"
ไปเจอพี่เอนก ฯ อ่านภาพ คนทอดแหของ  Dr Baum ว่าเป็น "แอ่งน้ำข้างแหลมสมิหลา" ครับ

พี่คนเขารูปช้างครับไม่ทราบว่าตอนนี้หนังสือเล่มนี้ยังหาซื้อได้ที่ไหนอีกบ้างครับ อยากได้มาเป็นเจ้าของมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับผม
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

คุณ Big MaHad ผมเองก็ทราบว่ามีพิมพ์ จาก อ.จรัส ฯ ว่าพิมพ์ในงานฉลอง ๑๑๑ปี มว.
และรีบฝาก อ.จรัส ฯ ซื้อมา จะถามอ.จรัส ฯ ให้ครับ (ไม่แน่ใจว่าจะหาได้) รู้สึกไม่เห็นมีตามร้านหนังสือใหญ่ๆครับ

หม่องวิน มอไซ

หนังสือ สมบัติเมืองสงขลา จัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือที่ระลึกงานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ ครั้งที่ ๒๙
เมื่อวันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๐ ครับ จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคาเล่มละ ๕๐๐ บาท

ฉบับที่ผมมีอยู่ ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ผู้จัดการสำนักพิมพ์ต้นฉบับ ซึ่งบังเอิญมีติดท้ายรถมาในวันที่ผมเข้าไปที่บ้านพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๔ พ.ค. ๕๑ ครับ
ตามร้านหนังสือคิดว่าคงไม่มีขาย แต่พี่เอนกเคยบอกว่า ให้ลองติดต่อคุณอำนวย ซุ้นสุวรรณ นายกสมาคมชาวจังหวัดสงขลาดูครับ อยู่ที่ห้องอาหารพรานเบ็ด โทร. 02-616-9017 มือถือ 081-624-7655 ท่านดูแลประสานงานเกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้โดยตรงครับ

ภาพวันที่พี่เอนก นาวิกมูล เซ็นชื่อให้ผมในหนังสือ สมบัติเมืองสงขลาครับ


Big MaHad

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 23:06 น.  03 ก.พ 53
หนังสือ สมบัติเมืองสงขลา จัดพิมพ์ขึ้นเป็นหนังสือที่ระลึกงานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ ครั้งที่ ๒๙
เมื่อวันที่ ๒๕ พ.ย. ๕๐ ครับ จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ราคาเล่มละ ๕๐๐ บาท

ฉบับที่ผมมีอยู่ ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ผู้จัดการสำนักพิมพ์ต้นฉบับ ซึ่งบังเอิญมีติดท้ายรถมาในวันที่ผมเข้าไปที่บ้านพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ ๔ พ.ค. ๕๑ ครับ
ตามร้านหนังสือคิดว่าคงไม่มีขาย แต่พี่เอนกเคยบอกว่า ให้ลองติดต่อคุณอำนวย ซุ้นสุวรรณ นายกสมาคมชาวจังหวัดสงขลาดูครับ อยู่ที่ห้องอาหารพรานเบ็ด โทร. 02-616-9017 มือถือ 081-624-7655 ท่านดูแลประสานงานเกี่ยวกับการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้โดยตรงครับ

ภาพวันที่พี่เอนก นาวิกมูล เซ็นชื่อให้ผมในหนังสือ สมบัติเมืองสงขลาครับ


ขอบคุณมากครับบบบบ มีรูปภาพมายืนยันด้วยแบบนี้ ยกนิ้วให้เลยครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

พี่

รูป

หม่องวิน มอไซ

หากได้มีการตรวจสอบ วิเคราะห์ตำแหน่งที่ชัดเจนได้แล้ว
ทางเทศบาลน่าจะได้ทำป้าย เครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต และให้ความรู้กับประชาชนนะครับ
ว่าบริเวณนี้มีความสำคัญอย่างไร

ขอบคุณท่าน"พี่"มากครับ ที่นำบทความตอนใหม่มาลงให้อ่านกัน

พี่

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 11:01 น.  08 ก.พ 53
หากได้มีการตรวจสอบ วิเคราะห์ตำแหน่งที่ชัดเจนได้แล้ว
ทางเทศบาลน่าจะได้ทำป้าย เครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต และให้ความรู้กับประชาชนนะครับ
ว่าบริเวณนี้มีความสำคัญอย่างไร

ได้ติดตามชมงานถนนคนเดิน สงขลาแต่แรก เก้าห้อง 169 ปี รู้สึกยินดีที่คุณพีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรี เทศบาลนครสงขลา ไปร่วมชมเล่าเรื่องเมืองเก่าสงขลาทุกคืน และหลายช่วง ท่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพเก่าที่ฉายบนจอด้วย เชื่อว่าท่านคงได้สานต่อการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองบ่อยางต่อไป

พูดถึงบรรยากาศการเล่าเรื่องเมืองเก่า ขอชมเชยทีมงาน เท่าที่พอรู้จักดังนี้

1. อ.วุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ  อบจ.สงขลา โต้โผใหญ่
2. ร.ต.ต.พล สุวรรณชาตรี วิทยุพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ เขาคอหงส์ FM 97.75 MHz.
3. คุณณัฏฐ์ กาญจนโชติ  บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
4. อ.จรัส จันทร์พรหมรัตน์ โรงเรียนบ้านนาวิทยาคม อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เสียดายท่านอยู่ไกลมาได้คืนเดียว)

นอกจากนี้ ยังมี อ.มงคล ชนินทรสงขลา อ.เมธี (นามสกุล?) ร่วมเสวนา เป็นระยะ
อ.จเร สุวรรณชาต และทีมงานสร้างเวทีนิทรรศการ
ขออภัยถ้าเอ่ยชื่อทีมงาน ที่อยู่เบื้องหลังไม่ครบทุกท่าน