ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สถิติน้ำท่วมหาดใหญ่ในอดีต ที่น่ารู้---เตรียมความพร้อมแล้วยัง

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 15:57 น. 11 พ.ย 53

ทีมงานบ้านเรา

 สถิติน้ำท่วมหาดใหญ่ในอดีต ที่น่ารู้---เตรียมความพร้อมแล้วยัง----- 
โพสโดย อ-ม.อ.คนหนึ่ง
บุคคลทั่วไป

เล่าสู่กันฟัง สถิติที่น่ารู้ของน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ในอดีต
   
น้ำท่วมภาคใต้และความเสียหายในอดีต (ของหาดใหญ่)
***

ปี พ.ศ. 2376 (ในรัชกาลที่ 3) น้ำท่วมใหญ่ จนท้องนาของราษฎรทำนามิได้ พระยาสงขลา รีบเข้ากรุงเทพ นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วขอรับพระราชทานซื้อข้าวสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา 1000 เกวียน

ปี พ.ศ. 2505 (วันที่28 - 30 ตุลาคม) จังหวัดสงขลา พายุโหมภาคใต้ฝนตกหนัก ตายเป็นประวัติการณ์ พายุโซนร้อนจมเรือประมงนับสิบ คนตายนับร้อย

ปี พ.ศ. 2509 (วันที่ 7 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมหาดใหญ่ เสียหายนับล้านๆ บาท ทางรถไฟขาด ถนนถูกน้ำท่วมมิด ต้องใช้เรือยนต์วิ่งรับคนโดยสาร ตลาดทุกแห่งปิดตัวเอง ร้านค้าถูกน้ำท่วม สินค้าเสียหาย มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำไหลบ่าเข้าท่วมอำเภอหาดใหญ่และรอบนอก สวนยางจมอยู่ในน้ำ น้ำสูงสุดถึง 1.50 เมตร (ในตัวเมืองหาดใหญ่) ราษฎรนับเป็นหมื่นคนกำลังขาดแคลนอาหารบริโภค ทางรถไฟระหว่างสถานีบางกล่ำ-ดินลาน ขาด 15 เมตร ถนนหาดใหญ่-ตรัง ขาด น้ำท่วมมิด

ปี พ.ศ. 2512 (วันที่ 1 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมเมืองนาน 10 ชั่วโมงเส้นทาง หาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนเสียหาย สนามบินน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ บ้านเรือนราษฎรในที่ลุ่มรอบอำเภอหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วม ถนนหาดใหญ่ -นาทวี-สะเดา น้ำท่วมหลายตอน

ปี พ.ศ. 2516 (วันที่ 10-12 ธันวาคม) พายุฝนตกหนักกระหน่ำติดต่อกันอย่างรุนแรงเป็นเวลา นาน 4 วัน เป็นเหตุให้น้ำบ่าเข้าท่วม ถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอหาดใหญ่ การจราจรหยุดชงัก

ปี พ.ศ. 2517 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) พายุฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 วัน บริเวณรอบ อำเภอหาดใหญ่ถูกน้ำท่วม น้ำสูงบนถนนวัดได้ถึง 50 ซม.

ปี พ.ศ. 2518 น้ำท่วมภาคใต้ 2 ครั้ง (ต้นปีวันที่ 5-17 มกราคม และปลายปี 6-9 พฤศจิกายน)
จังหวัดสงขลา ที่หาดใหญ่ น้ำบ่าไหลเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว การคมนาคมถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ถนนเพชรเกษม จมอยู่ใต้น้ำสูง 1.50 เมตร ร้านค้าขนของหนีน้ำกันอลหม่าน การค้าขายเป็นอัมพาตสิ้นเชิง หน้าค่ายเสนาณรงค์สูงถึงเอว รั้วค่ายถูกน้ำพัดพัง 200 เมตร หลังจากน้ำเริ่มลด เกิดโรคอหิวาต์ระบาดจนคนตายและป่วยอีก


ปี พ.ศ. 2519 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) หาดใหญ่ ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 7 วัน น้ำท่วม
เขตเทศบาลระดับน้ำสูง 50 ซม. ท่วมถนนสายต่างๆ ทั้งหมด ในท้องถิ่นอำเภออื่นๆ น้ำท่วมทั้งหมด


ปี พ.ศ. 2524 (วันที่ 4 ธันวาคม) อำเภอหาดใหญ่ ระดับน้ำในอำเภอหาดใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ  สวนยางหลายแห่งถูกน้ำท่วม

ปี พ.ศ. 2527 (วันที่ 5 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา ฝนตกหนักมาก มีน้ำท่วมถนนเป็นบางแห่ง ถนนสายเล็กผ่านไม่ได้

ปี พ.ศ. 2531 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2000 ล้านบาท  ระดับน้ำในตัวเมืองหาดใหญ่สูงประมาณ 1-2 เมตร


ปี พ.ศ. 2543 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบภัยพิบัติครั้งมโหฬาร ประเมินความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ประมาณนับหมื่นล้านบาท ระดับน้ำสูงประมาณ 2-3 เมตร


ล่าสุดครั้งนี้ ปี พ.ศ. 2548 (วันที่ 18 ธันวาคม) ประสบภัยพิบัติอีกครั้ง จากฝนตกหนักหลายวัน น้ำจากคลองอู่ตะเภาไหลล้นตลิ่ง ทำให้ทางฝั่งซีกซ้าย (ทิศตะวันตก) ของหาดใหญ่ มีระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตร
เสียหลายล้านบาท รวมทั้งพื้นที่อำเภอโดยรอบ เช่น อำเภอนาทวี เทพา จะนะ ระโนด

   สถิติข้างต้นนี้ เคยเล่าสู่กันฟังกันถึงนักศึกษาและบุคลากร ม.อ.แล้วเมื่อครั้งในอดีต (วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543) ลองทบทวนและระวังภัยต่อไป เพราะโดยเฉลี่ยรอบ 10 ปี ก็จะมีน้ำท่วมใหญ่ 1 ครั้ง
แล้วครั้งต่อไปจะเป็นปีอะไร......ทำนายว่าอาจเป็นปี 2553?

   ปัจจัยหลักที่ทำให้น้ำท่วมคือปริมาณน้ำฝน แต่สิ่งที่หนุนและทำให้น้ำท่วมมากและลดลงช้าและท่วมนานเพราะปัจจัยจากฝีมือมนุษย์ทั้งนั้น เช่น การสร้าง......ที่ยื่นไปในทะเล ถนนหลาย ๆ สายที่ถมดินและปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล ฯลฯ  ธรรมชาติให้บทเรียนแก่เราแล้ว ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า  การจะอยู่กับธรรมชาติได้ ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และต้องไม่เห็นแก่ตัว
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

เด็กป้อม6(ไม่6)

สถิติเก่าๆคงเอามาเป็นบรรทัดฐานไม่ได้อีกแล้ว เหตุของน้ำท่วมมันมีหลายปัจจัยยากจะคาดเดา ที่แน่ๆต่อไปพอย่างเข้าเดือนตุลาให้เตรียมขนย้ายสิ่งของไว้บนที่สูงแต่เนิ่นๆได้เลย ไม่ต้องไปเชื่อว่าสิบปีท่วมใหญ่1ครั้งอีกแล้ว ปีต่อปีก็ท่วมใหญ่ได้ทั้งนั้น

พี่ แอ๊ด

สถานีรถไฟหาดใหญ่  ปี พ.ศ.2531
สถานีรถไฟหาดใหญ่  เมื่อวันที่  4 พฤศจิกายน 2553

พี่ แอ๊ด

บ้านจิระนคร     ซึ่งบ้านตำนานเมืองหาดใหญ่ของขุนนิพัทธ์ฯ
ก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในปีนี้ด้วย
ก่อน  และ  หลัง   น้ำท่วม

พี่ แอ๊ด


พี่ แอ๊ด

ซ้ายมือคือ  ร้านหาดใหญ่บรรณาคาร  หรือ  ร้านมหารุ่ง

อ-ม.อ.คนหนึ่ง

สถิติ มีไว้ทำลาย
น้ำท่วม ระดับน้ำยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆๆ
ต่อไป ชั้น 2 ของตึกแถว ก็อาจจะอยู่ไม่ได้


ถ้าไม่เชื่อสถิติ !!~
ลองพืจารณาดูนะครับ สถิติฟุตบอลอัังกฤษ
เช่น ทีม man U แข่งกับทีม Liver pool
แพ้ ชนะ เสมอ กันกี่ครั้งๆๆๆ เขาเก็บสถิติไว้
ทีมเหย้า ทีมเยือน โอกาสไปเอาชนะเป็นอย่างไร สามารถคาดคะเนได้


หาดใหญ่อย่างไร ก็หนีน้ำท่วมไม่พ้นครับ
บ้านเกาะยอในอดีต เป็นตัวอย่างให้เราดู ยกบ้านสูงให้พ้นน้ำ
หม้อแปลงไฟฟ้า ปลั๊กไฟ ปั๊มน้ำ ยกให้สูงๆๆๆ ครับ
เรียนรู้ให้อยู่กับธรรมชาติ
แต่ถ้าจะเอาชนะธรรมชาติให้ได้ ก็ได้ แต่ต้องเป็นโครงการ ระดับชาติ

พี่ แอ๊ด

เข้ามาเพื่อขอบคุณ  อ.มอ.คนหนึ่ง    ที่ก่อนน้ำท่วมได้เพื่อไม่กี่วัน   ได้ตั้งกระทู้เรื่อง สถิติน้ำท่วมในอดีต
ของเมืองหาดใหญ่    ว่าปีนี้น้ำท่วมแน่นอน  เพียงแค่ 3 วันเท่านั้น   น้ำท่วมใหญ่จริง ๆ ด้วย
และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ใช้นามแฝงว่า "ผู้น้อย"   ที่แจ้งให้ทราบทางเว็บว่าทาง  มอ. และ ศูนย์การค้า "โลตัส"   
ได้เตรียมที่สำหรับเก็บรถ   และแล้วปีนี้น้ำท่วมรถจนได้   สาเหตุเพราะช่วงเวลานั้นรถติดมาก  แทบจะไม่มี
ไฟเหลือง, ไฟแดง, ไฟเขียว   ทำให้ขับไม่ถึงที่หมาย  ยอมจอดรถไว้ที่สนามกีฬา "จิระนคร"    (เหตุผลที่
ยอมทิ้งรถที่นี่   เพราะที่บ้านโทรเข้ามือถือบอกว่า   พ่อที่ป่วยเดินไม่ได้  ไม่ยอมขึ้นชั้นสอง  หากพี่แอ๊ด
ยังไม่ถึงบ้าน)     
                   ส่วนอาหารแห้ง, ยารักษาโรค ฯลฯ   เตรียมไว้ตั้งแต่วันเสาร์แล้ว   ขอบคุณอีกครั้ง
               

สภ.ธ

เห็นด้วยว่า เราทำลายธรรมชาติ หากเราอยู่ธรรมชาติอย่างสันติ ธรรมชาติก็จะไม่รังแกเรา แต่นี่เพราะเราถือว่า ตนเองเก่งกว่าธรรมชาติ แล้วผลรับเป็นเช่นใด ลองพิจารณากันต่อไป

ทีมงานบ้านเรา

สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

แฟนๆ

พฤศจิกา-ธันวา ก็ต้องเตรียมตัวและเตรียมใจไว้...ให้ทุกปี   :-\

พี่แอ๊ด

ฝากรูปน้ำท่วมหน้าธนาคารนครหลวงไทย  เมื่อปี พ.ศ.2531  อีกรูป
ก่อนที่รูปในอดีตจะโดนน้ำท่วม   จนเหลือเพียงไม่กี่รูป   
และผลของน้ำท่วมเกือบทุกปี    ทำให้เพื่อนที่ทำงานธนาคารแห่งนี้
ขอย้ายไปสาขาย่านตาขาว   จ.ตรัง   อย่างถาวร    ทั้ง ๆ ที่เป็นคนหาดใหญ่
โดยกำเนิด

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณพี่แอ๊ดมากครับสำหรับการบันทึกประวัติศาสตร์หาดใหญ่-สงขลา

หมัดเส้งชู

อาจารย์หม่องฯจำได้มั้ยครับปีที่น้ำท่วมใหญ่....ทางขาดระหว่างชุมทางอู่ตะเภา...จนกลายมาเป็น....เหตุผลหนึ่งในการแก้รางแล้วย้ายชุมทางฯมาตั้งที่โคกเสม็ดชุน เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง...น้ำอาจจะท่วมไม่ถึง(ผมว่าเอาเอง)  เปลี่ยนชื่อเป็นชุมทางหาดใหญ่..
พื้นที่ตรงสะพานดำระหว่างสถานีชุมทางอู่ตะเภาจะเข้าชุมทางหาดใหญ่ เป็นจุดเริ่มต้นของคลอง ร.2 รวมความยาว3.840  ก.ม. คลอง ร. 2 คลองที่หายไป  ฝากด้วยเถิดครับเพิ่มให้ระบบระบายน้ำได้สูงสุด 80  ลบ.ม./วินาที  แนวเวนคืนจากกึ่งกลางถนนคึกฤทธิ์ ข้างละ 30 เมตร พื้นที่เขตคลอง 40 เมตร สองข้างคลองเป็นแนวถนนไปจนจรดตลาดน้ำคลองแห(ถนนลพบุรีราเมศร์)...อย่างน้อยๆ... ถ้าน้ำจะท่วมเมืองหาดใหญ่...คนหาดใหญ่ในโดยเฉพาะคนแถวๆแขต 8 วัดโคก...เวลาน้ำจะลดก็ลดพร้อมๆกับคนหาดใหญ่
http://www.khlong-u-taphao.com/index.php?file=newsletter&show=newsletter/vol2/article
http://www.rid.go.th/royalproject/index.php?option=com_content&view=article&catid=74%3A2009-05-04-07-31-24&id=513%3A2010-01-06-03-50-30&Itemid=9

กิมหยง

กำลังคิดอยู่เหมือนกันครับ
ว่าพื้นที่ต่ำตรงนั้นน้ำระบายไปได้ยังไง

แต่ ณ ปัจจุบัน หากมีน้ำท่วมย่านเขต 8 วัดโคก
น้ำก็จะไหลมาสู่ทางลอดใต้รถไฟ ใกล้กับสถานีต้นโดนี่แหละครับ
จากนั้นก็ไหลตามแนวเส้นทางรถไฟสายสงขลา มาสู่สะพานดำ
บางส่วนจะไหลลองสู่ถนนรัถการ
บางส่วนก็จะไหลลงสู่คลอง แหหน้าบิ๊กซีครับ (จำชื่อไม่ได้)

[attach=1]

เรื่องชื่อเดี๋ยวจะสอบถามให้ครับ

แต่พอน้ำเยอะขึ้นมากขึ้น น้ำจะมาจากด้านซ้ายมือของแผนที ไปยังด้านขวามือครับ
ประมาณว่ามาจากทางตะวันตก ไหลไปยังทิศตะวันออกครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

อ.มอ.คนหนึ่ง

แนวความฝันที่ช่วยบรรเทาหาดใหญ่น้ำท่วม
- ขุดลอกทะเลสาบสงขลาตอนล่างให้ลึกมากขึ้น
- ขุดลอกสันดอนทรายที่ปากทางออกทะเละหลวง จากท่าเรือน้ำลึก
- ขยายคลอง ร. ให้กว้างเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มคลอง ร ก็ได้
- ขุดลอกคลองอู่ตะเภา ขยายคลองอู่ตะเภา (ใช้เงินจากการเก็บภาษีจากโรงงานที่ใช้ประโยชน์จากริมคลองฯ)
- เก็บภาษีน้ำท่วมชาวหาดใหญ่ เพื่อขุดคู/- คลอง / -หรือท่อขนาดมหึมา เพื่อหันทิศทางน้ำสงสู่อ่าวไทย ทางนาทับ
โดยไม่ผ่านเมืองหาดใหญ่ (ดูรูป) ซึ่งต้องใช้งบประมาณมหาศาลจากรัฐบาล

ถ้ายังไม่มีการแก้ปัญหาใดๆๆ หาดใหญ่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ น้ำท่วม ยังท่วมตามสถิติ และคงจะท่วมมากขึ้นเรื่อยๆ
ชั้น2 ก็อยู่ไม่ได้ครับ