ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

กำแพงเมืองสงขลา

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 23:56 น. 10 ม.ค 53

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: คนนอกสวน เมื่อ 09:05 น.  11 ม.ค 53
" ว.ท.ต. ชื่อย่อวิทยาลัย เทคนิคภาคใต้ ดูวิไลงามสง่า...."

ก็มีคนแปลงเนื้อเพลงนี้ใหม่เป็น

"ว.ย.ท. ชื่อย่อวัดยางทอง อยู่แถวเก้าห้อง วัดยางทองมีต้นสาเก....."

สมัยเรียนอยู่ที่ ร.ร.บ้านเทพา พ.ศ. 2522-2526 คุณครูราเชนทร์ ประสงค์จันทร์ (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)
ครูวิทยาศาสตร์ของผม ชอบร้องเพลงอยู่เพลงหนึ่ง จำเนื้อไม่ได้ แต่มีท่อนหนึ่งว่า "......นวลน้อง ที่วัดยางทองมีต้นสาเก"
มีท่านใดเคยได้ยินเพลงแบบนี้บ้างครับ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณอาจารย์ Singoraman มากครับที่ให้เบาะแสเกี่ยวกับที่มาของภาพกำแพงเมืองและประตูเมืองสงขลา

นึกว่าผมสงสัยอยู่คนเดียวเสียอีก ว่าใครวาดภาพนี้
เพราะการจะวาดภาพได้ ต้องมีหลักฐานในรูปเอกสาร ตำนาน เรื่องเล่า พงศาวดารที่บอกว่าประตูชื่ออะไรอยู่ทิศไหน
แต่นี่ไม่มีที่มา อยู่ดี ๆ เป็นรูปขึ้นมาเลย น่าสงสัยจังครับ

คนนอกสวน

รูปนี้ก็ไม่ทราบคนวาดเหมือนกัน


คนนอกสวน

ในเว็บไซต์ของกรมศิลปากร มีรายละเอียดของกำแพงเมืองสงขลา ช่วงถนนจะนะมากมายละเอียดยิบ
แต่สงสัยว่า ทำไมไม่มีการกล่าวถึง กำแพงเมือง ช่วงถนนนครนอก ตามรูปที่คุณหม่องวิน นำมาให้ชมเลย

ลองเข้าไปดูครับ

>> http://www.gis.finearts.go.th/fad50/fad/display_data.asp?id=0005224

หม่องวิน มอไซ

ไม่ทราบมาก่อนเลยครับว่าเว็บไซต์ของกรมศิลปากรมีฐานข้อมูลแบบนี้ให้ชมด้วย
เยี่ยมจริง ๆ ขอบคุณท่านคนนอกสวนมากครับที่แนะนำ
ว่าแต่ทำไมไม่มีข้อมูลที่ถนนนครนอกนะ

คนนอกสวน

ในทำนองเดียวกัน ผมคิดว่า กรมศิลปากร คงมีฐานข้อมูลอื่น ๆ ของจังหวัดสงขลา
รวมถึง "สถานีรถไฟสงขลา" ซึ่งขึ้นบัญชีเป็น"โบราณสถาน" ด้วยเช่นกัน

ฝากคุณหม่องวิน และทุกท่าน ช่วยสานต่อด้วยครับ ขอบคุณครับ

หม่องวิน มอไซ

เข้าไปชมแล้ว สถานีรถไฟสงขลา ก็มีรายละเอียดเยอะทีเดียว
น่าเสียดายที่ไม่มีรูปภาพในอาคารมาให้ดู มีแต่ข้างนอกครับ

เมื่อปีที่แล้วเคยมีข่าวเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลนี้แล้ว แต่ผ่านไปจนผมลืมไปแล้ว ดังนี้ครับ
----------------------------------------
รัฐขอทำเอง อนุรักษ์เมืองเก่า รมว.วธ.เผยงบอื้อ
นสพ.ไทยรัฐ 26 มิ.ย. 52

รมว.วัฒนธรรม เผย เมืองเก่าใต้ดินกว่า 5 พันแห่งเข้าขั้นวิกฤต หวั่นเอกชนรุกสร้างอาคารสมัยใหม่ทับพื้นที่  สั่งกรมศิลปากรตามติดกรมที่ดิน ใช้ระบบจีไอเอสตรวจหาเมืองใต้ดิน ชี้ต้องเป็นนโยบายระดับชาติ ...

นาย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ครั้งที่ 4/2552 ที่ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงโครงการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศด้านมรดกศิลป วัฒนธรรม โดยการจัดทำฐานข้อมูลโบราณสถาน และตรวจสอบเมืองเก่าที่ยังคงมีอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย  มักมีการขุดค้นพบโดยบังเอิญ ระหว่างการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่  ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เมืองเก่า อีกทั้งการพัฒนาที่มีการรุกคืบไปตลอดเวลา ทำให้ตนรู้สึกเป็นห่วงเพราะเมื่อมีข่าวการเข้าไปจัดสร้างพัฒนาแล้วเจอแหล่ง โบราณสถานเพิ่มเติม  ตนได้สั่งการให้นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากรประสานไปยังกรมที่ดินเพื่อขอทราบข้อมูลการออกเอกสารสิทธิ์ ให้กับเอกชนแล้ว 

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า สำหรับการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินทราเน็ตมาบริหารจัดการมรดก ทางวัฒนธรรม จะเป็นผลดีในการเก็บและถ่ายโอนข้อมูลของแหล่งโบราณสถานใน ความรับผิดชอบของกรมศิลปากรอย่าง เป็นระบบ ทั้งนี้ได้มีการสร้างแผนที่มาตราส่วน 1/50,000 กับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 5,000 แหล่ง และจัดทำแล้วจำนวน 3,000 แหล่ง จัดทำฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ มาตราส่วน 1/4,000 โดยจัดทำข้อมูลเมืองโบราณที่กรมศิลปากรให้ประชาชนเช่า อาทิ เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสงขลาเก่า นอกจากนี้จะจัดหาภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่พื้นฐานจำนวน 1,500 แหล่งด้วย 

"เมือง โบราณที่มีอยู่แล้ว เช่น เมืองลพบุรี เมืองเชียงใหม่ ไม่น่าเป็นห่วง แต่สำหรับเมืองเก่าที่อยู่ใต้พื้นดิน ยังไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าใด  น่าเป็นห่วง  หากเอกชนที่ได้ที่ดินไปแล้วไปสร้างอาคารทับก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย  กรมศิลปากร มีระบบจีไอเอสหรือระบบภูมิสารสนเทศ ที่ตรวจสอบพบเพียงแหล่งโบราณสถานที่ พอมีร่องรอย แต่ไม่สามารถสำรวจได้ถึงเมืองเก่าใต้พื้นดินได้ว่ามีอยู่ในจุดใดบ้าง จึงจำเป็นต้องสร้างแผนที่ให้ละเอียดมากขึ้น" นายธีระ กล่าวและว่าอย่างไรก็ตามยังมีความกังวลว่า หากมีการตรวจค้นและทำแผนที่อย่างละเอียดแล้ว อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้าไปบุกรุกขุดค้นแหล่งโบราณสถานมาก ขึ้น 

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมกวช.มีมติว่าเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าควรเป็นอำนาจหน้าที่ของ รัฐบาลในการดำเนินการและต้องเป็นนโยบายระดับประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่เพราะเมืองเก่ามีอยู่ทั่วประเทศทำให้ต้องใช้งบ ประมาณจำนวนมาก  หากมีการเสนอทำแผนพัฒนาให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแล โดยอาจกำหนดเป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย

หม่องวิน มอไซ

หน้าหลักที่จะเข้าไปค้นข้อมูลโบราณสถานทั่วประเทศ อยู่ที่นี่ครับ
ระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.asp

คนนอกสวน

ขอบคุณมากครับ ผมพยายามหาหน้าหลักที่จะเข้าไปค้นอยู่พอดีเลย
เสียดายนะครับ ที่ไม่มีภาพภายในห้องต่าง ๆ ในอาคารสถานีรถไฟสงขลา

หม่องวิน มอไซ

ลองดูแล้ว โปรแกรมต้องดูด้วย Internet Explorer จึงจะสมบูรณ์ครับ
ถ้าเป็น FireFox จะดูแผนที่ไม่ได้ครับ

คนนอกสวน

ป้ายปูนที่บอกชื่อสถานี "สงขลา" บริเวณชานชาลา ตามรูปที่คุณเขารูปช้างถ่ายไว้ ไม่อยู่ในข่ายการอนุรักษ์หรือครับ ไม่เห็นกรมศิลปากรลงรูปไว้เลย

หม่องวิน มอไซ

ป้ายปูนหลุดออกไปอยู่นอก"เขตโบราณสถาน" ครับ  :-[
เป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียนเฉพาะ "อาคารสถานีรถไฟสงขลา"

ในหัวข้อ"ความสำคัญ" ยังมีข้อมูลที่ผิดพลาดอยู่ เช่น ทางรถไฟสายใต้ไม่ใช่สายแรกของประเทศไทย
และปี พ.ศ.ที่ยกเลิกการเดินรถ ต้องเป็น พ.ศ.2521 ไม่ใช่ พ.ศ. 2509 ครับ
ไว้จะทำหนังสือแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไขข้อมูลครับ

Big Beach

ดีใจจังที่ยังอยู่

เราน่าจะไปให้ความรู้แก่คนแถวนั้น ว่ากำแพงนี้มีความหมายอย่างไร ขอให้เค้าช่วยกันรักษาเก็บไว้ให้ลูกหลานดู


จะไปดูกำแพงตรงนี้ยากไหมครับ
เป็นที่ส่วนบุคคล/หวงห้ามหรือไม่ครับ

รบกวนขอแผนที่สำหรับคนต่างเมืองหน่อยครับ

พี่


พี่

 ส.อ่านหลังสือ.

หม่องวิน มอไซ

พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ทำการตำรวจภูธรมาตั้งแต่ยุค 2478 ครับ
ปัจจุบันคงให้เอกชนเช่า ไว้รับส่งสินค้า
อยู่ใกล้กับโรงสีหับโห้หิ้นครับ


Singoraman

ใช่ "ทองมี" หรือเปล่าครับ

หม่องวิน มอไซ

หมายถึงใครครับ ท่านอาจารย์ Singoraman  :o

Singoraman

"ทองมี" เป็นชื่อของ โรงสีไฟ ที่ตั้งยุคเดียวกับ "หับ โห้ หิ้น"
ประตูไม้ใหญ่ทางเข้าไปที่ซากกำแพงเมืองสงขลา หลังธนาคารกสิกรไทย
เดิมมีป้ายชื่อ "ทองมี" สวยมาก ไม่แน่ใจว่าใครมีภาพถ่ายบ้าง
(หวังพึ่ง พี่,คนเขารูปช้าง และสหายในห้องนี้แหละ ส่วนผมบอกตรง ๆ ไม่มีครับ)
ชื่อ "ทองมี" นี้ น่าสนใจ เพราะมีผู้รู้บอกผมว่า จริง ๆ เป็นภาษาจีน ประมาณว่า "ตง หมี่" หรืออะไรทำนองนี้แหละ
ค้นจริง ๆ เรื่องของวิวัฒนาการโรงสีไฟ ผลงาน อ.ชวลิต อังวิทยาธร คงเจอชื่อ ทองมี
(ขออภัยจริง ๆ ดู ๆ ไปเหมือนผม "ยอน" ให้เพื่อนทำเพ ไม่มีเจตนาเช่นนั้นครับ แต่กระทู้มันพาไป)
ด้วยจิตคารวะ ครับ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ Singoraman

มาลองตามหาโรงสี "ทองมี" จากภาพถ่ายเก่าดูนะครับ
ภาพนี้ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ ถ่ายราว พ.ศ. 2478-2480
เห็นโรงสีหับโห้หิ้น และปล่องควันสูง ๆ
ส่วนปล่องควันเตี้ย ไม่ทราบว่าของใคร

ถัดมาทางซ้ายมีอาคารเป็นหน้าจั่ว มีจั่วทั้งหมด 4 อัน
โรงสี"ทองมี" คงจะอยู่ถัดไปจากภาพนี้


หม่องวิน มอไซ

เปรียบเทียบกับภาพนี้ ซึ่งถ่ายจากเครื่องบินในปี พ.ศ. 2478 ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ

มองเห็นเรือนจำ ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช วัดดอนรักษ์ ตลาดสด
โรงสีหับโห้หิน คือปล่องสูงทางซ้าย
ถัดมาเป็นปล่องเตี้ยไม่ทราบของใคร

ส่วนปล่องด้านขวา พ่นควันโขมงสีดำอยู่นั้น

คือโรงสี"ทองมี" นั่นเอง


หม่องวิน มอไซ

ในสารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ เล่ม ๑ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยสถาบันทักษีณคดีศึกษา
ศาสตราจารย์สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้เขียนเกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลาไว้ดังนี้ครับ