ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สนข.เล็งฟื้นรถไฟสายประวัติศาสตร์ หาดใหญ่-สงขลา

เริ่มโดย ฅนสองเล, 15:39 น. 26 ส.ค 52

ลูกแมวตาดำๆ

อยากให้  คนเดือนตุลา   มาสมัครสมาชิกเว็บครับ

อยากให้ท่านมาร่วมชับเคลื่อนเรื่องนีอีกคนครับ

คนเดือนตุลา

The Star Online > Nation
Thursday September 10, 2009

KTMB for comfort, convenience, speed

By LESTER KONG

In its modernisation drive, KTMB has constantly upgraded itself to be a more convenient, timely and comfortable mode of public transport.

KTM Berhad has its origins in Malaysia's pre-independence era but it has come a long way since then as one of the country's most well-known institutions.

In its modernisation drive, KTM Berhad or known as KTMB in short, has constantly upgraded itself to be a more convenient, timely and comfortable mode of transport for its customers.

KTMB President Dr Aminuddin Adnan said the railway company was proud to have even more tricks up its sleeve as part of its transformation and modernisation drive to attract more passengers to enjoy train rides in Malaysia.


Future plans: An artist's impression of the future Ipoh-Padang Besar station along the Ipoh-Seremban route.
Buying KTMB tickets will be made easier with several key ticketing services already in place, he said.

He said the e-Ticket system allows passengers travelling on board the KTM Intercity to buy their tickets online via KTMB's website.

By logging on to KTMB's website, www.ktmb.com.my, passengers can buy their tickets from any location without having to go the ticket counter.

"Ticket purchase via online is proven to be more convenient, safe and may be carried out anywhere, anytime and may be made using either VISA or MasterCard.

"This hassle-free transaction is in line with the development of our online technology and with the new cashless era.

KTM is also part of the e-KL project developed by MAMPU, where passengers can send SMS messages to 15888 to check on KTM Intercity timetable, fare and station location.

Apart from that, KTM Intercity passengers can also book their tickets via their mobile phone through KTMB's SMS service.

"KTM Intercity passengers can also book their tickets via their mobile phone through Short Messaging Service (SMS).

"This is a hassle-free ticket reservation system. Passengers do not have to call our stations or Call Centre. They can just send SMS, follow the instructions and collect their tickets later at a more convenient time," he said.

At the moment, Dr Aminuddin said, SMS booking can be used to book economy class to the East Coast and Northern region and Second Class to the Southern Region.

He said passengers only need to send the SMS to 32425. Each transaction will be charged RM0.50.

"Passengers may also purchase KTM Intercity tickets via the OnePay system available at Petronas Mesra outlets and OnePay terminals nationwide.

"The receipt printed upon purchase is considered a valid ticket and may be used for travel.

"This is another convenience brought by KTMB for passengers, especially those who are located quite far from the railway station and do not have access to the internet," he said, adding that a full list of participating Petronas Mesra Stations and OnePay Kiosks can be found at KTMB's website.

Dr Aminuddin said KTMB has a new toy in its ranks in the form of five new sets of electric trains that promises to provide a faster and more comfortable ride.


All aboard!: KTMB's new Electric Train Set is capable of speeds up to 140kmh.
"With a speed of 140km/h, the new trains are expected to offer a smoother and speedier ride on new tracks.

"Passengers would be able to reach Seremban from Ipoh and vice-versa in about three hours.

"Other features including brand new coaches that are complete with unisex toilets, disabled-friendly washrooms, a cafeteria and power sockets for those working on the go".

"With the completion of this track, we are enabling Ipoh residents to commute to Kuala Lumpur on a daily basis, a few times day.

"In fact, in the future, it is possible for Ipoh residents to stay in Ipoh and work in Kuala Lumpur or even down to Seremban, catching the morning and late evening train to go and come back from work," he said.

He said the first set of trains is expected to be delivered by December 2009 and KTMB plans to start the service by March 2010.

"This is an important route as it will connect passengers to a wide variety of interconnected prime networks.

"This new service will provide seamless connectivity between KTM Berhad and Kuala Lumpur's other important terminals such as the LCCT (via Nilai Station) and KLIA (via Bandar Tasik Selatan and KL Sentral stations)," he said.

Meanwhile, he said the Ipoh-Padang Besar and Seremban-Gemas electrified double tracking projects are well underway and are expected to be completed by 2013.

"These routes consist of a number of stations with well-equipped facilities, such as facilities for the disabled, lifts, ample parking, prayer rooms, spacious lobby, covered platform, user friendly station area, and many other amenities," he said.

Dr Aminuddin said the Sentul–Batu Caves electrified double track project will also be an alternative public transportation for commuters along the Batu Caves, Selayang and Kuala Lumpur network.

"New train stations will be built along the new route. These stations are Batu Kentonmen, Kampung Batu, Taman Wahyu and Batu Caves.

"These stations and the new route will definitely draw more passengers, especially foreign tourists and Hindu devotees to the Hindu temple, as the Batu Caves Station is located right next to the temple itself," he said, adding it was expected to be completed in April 2010.

Dr Aminuddin said KTM Berhad is upgrading stations to include covered platforms at various KTM Komuter stations in the Klang Valley to protect passengers from the elements.

"Previously, most platforms were uncovered so passengers were affected during rainy or hot sunny days," he said, adding that the entire refurbishment project was due to be completed in December 2013.

"Park & Pay passengers at KTM Komuter stations will not be left out as the parking facilities will also be expanded to include, among others, multi-storey carparks.

"As the ridership is increasing and we are expecting more passengers, KTM Komuter is making more space for vehicle parking, with covered walkways from the parking to the station for a more convenient transit," he said.

He said KTM Berhad is also in the midst of upgrading facilities for the disabled at various KTM Komuter stations in the Klang Valley.

"A total of 12 stations have and will be upgraded to OKU-friendly stations. At present, seven stations have been successfully upgraded, which include, among others, Subang Jaya, Bank Negara, Kepong Sentral, MidValley, Kajang and Seremban. This project is expected to be completed by May 2010.

"Various Klang Valley stations would also be installed with Wi-Fi services to enable people on the go to surf and work while waiting for the train to arrive. This project is expected to be completed by October 2012", he said.

With all the recent developments in the modernisation of KTM system and facilities, passengers can expect a more reliable, convenient, comfortable and hassle-free travel in the near future on the KTM Berhad rail network.



--------------------------------------------------------------------------------
ฉ 1995-2009 Star Publications (Malaysia) Bhd (Co No 10894-D)

คนเดือนตุลา

ภาพข้างบนเป็น(ตัวอย่าง)รถไฟฟ้า KL-สงขลา ที่จะวิ่งวันละขบวน โดยเข้าสงขลา ตอนเช้า และกลับไป  KL ตอนเย็น
ส่วนรถไฟ(ฟ้า) ที่จะขนส่งคนหาดใหญ่ไปทำงานหรือไปเรียนที่สงขลา และ ขนส่งคนสงขลาไปเรียนหรือไปทำงานที่หาดใหญ่
จะมีหน้าตาทำนองนี้





โดยจะมีวิ่งห่างกันขบวนละ 30 นาที ท่านอาจจะคิดว่าห่างกันมากไปหน่อย แต่รับรองว่าถึงที่หมายปลายทางก่อนรถประจำทางที่ออกตัวพร้อมกันอย่างแน่นอน ที่สำคัญคือ ปลอดภัยกว่า และนั่งสบายกว่ากันมาก ไม่ต้องอัดกันเป็นปลากระป๋อง 2ชิด 3 3ชิด4 ชิดในหน่อยพี่
สาวๆ จะเดินขึ้นเดินลงเดินชิดใน ก็ไม่ต้องเบียดกันเหมือนโดนลวนลาม อย่างที่เป็นอยู่

ภายในตัวรถไฟ หาดใหญ่-สงขลา จะมีหน้าตาคล้ายๆ อย่างนี้



จะเห็นว่าตรงกลางโล่ง ท่านสามารถปั่นจักรยานออกมาจากบ้านแล้วขึ้นรถไฟ พอลงรถไฟ ก็ปั่นต่อไปทำงาน หรือไปเรียนได้เลย
ถ้านั่งเป็นประจำก็ซื้อตั๋วเดือน ที่มีลักษณะเป็นบัตรเติมเงิน smart card (RFID)ที่สามารถเติมเงินได้ตามตู้ ATM หรือ ร้านสะดวกซื้อทั่วๆ ไป หรือถ้าที่บ้านมี net ก็สามารถเติมเงิน ออนไลน์ได้
ตั๋วเดือนจะมีราคาถูกกว่าซื้อการซื้อตั๋วเที่ยวละหนพอสมควร

มาดูตัวสถานีกันบ้าง


(สังเกตราง เป็นรางคู่วิ่งไปหนึ่งรางวิ่งมาหนึ่งรางไม่กีดขวางกัน)

จะเห็นว่าตัวสถานีไม่ต้องทำให้หรูหราฟุ่มเฟือย แค่มีรั้วรอบขอบชิด และมีหลังคากันแดดกันฝน
ท่านที่มีตั๋วอยู่ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋ากางเกง เวลาเดินมาประตูก็จะเปิดให้โดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องควักตั๋วออกมาโชว์
อาจจะไม่ต้องใช้พนักงานขายตั๋วที่สถานีเลย เพราะสามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป

สุดท้ายนี้ก็ขอบบอกว่า...
การวางรางรถไฟรางคู่อย่างดีที่ได้มาตรฐาน ไม่แพงอย่างที่มีใครกล่าวอ้าง
ที่จริงแล้วทำรถไฟรางคู่ ถูกกว่าการสร้างถนน 4 ช่องจราจรเสียอีก
แถมซ่อมบำรุงน้อยกว่ากันมาก ไม่ต้องคอยปะหลุมบ่อ ไม่ต้องทาสีตีเส้น กันทุกปี

ขอบคุณภาพประกอบทั้งหมดจาก รถไฟไทยดอทคอม

มุมหมอน....

l"ll wait for the day of you retum
l"m counting tha day we"ll meet again
how long....how long
till we meet again
l miss you so much dear

.......................ร..ฟ..ท  คนใต้ชอบพูดเล่นๆว่า รถไฟเท่ง    สักวันคงใด้เจอกันนะพี่ เท่ง

ซินแสปิง

หากมองแต่เพียงความต้องการ อย่างที่บอกว่า เวทีการสัมมนานั้น ล้วนแต่ต้องการให้ฟื้นฟู ทางรถไฟ สงขลา-หาดใหญ่

แต่ถ้าเรามองความเป็นจริง และ เหตุผลทางวิชาการและงานวิจัย ก็จะพบว่า ต่อให้ฟื้นทาง รถไฟเส้นนี้ขึ้นมา มันก็ไม่สามารถทำให้ บริษัทหรือองค์กรที่บริหารระบบขนส่งนี้อยู่ได้ เพราะ ว่า มันเป็นระบบที่มีต้นทุนสูงที่สุด ไหนจะเรื่องการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม การปรับปรุงรางรถไฟใหม่ เพราะรางเดิมทรุดโทรมมาก ไหนจะเรื่องการจัดการกับผู้บุกรุกที่ดินการรถไฟ ต้นทุนของฟื้นระบบรถไฟนั้นสูงนับพันล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีข้อกังขาในเรื่องการบริหารงานของ รฟท. ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำอะไรแล้วขาดทุนเสมอ จับโปรเจกอะไรแล้วมักจะล้มเหลว ล่าช้า และ ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารงาน ยกตัวอย่าง รถไฟ airport link, hopewell, หรือ รถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่ง รฟท เป็นองค์กรที่มีปัญหาในการบริหารงาน

จากงานวิจัยพบว่า ระบบที่ถูกกว่า และ มีประสิทธิภาพมากกว่าคือ รถด่วนพิเศษ BRT ต้นทุนต่อกิโลเมตรถูกกว่า ปลอดภัย รวดเร็ว เพียงแค่แบ่งช่องทางจราจร ที่เชื่อมระหว่างสงขลากับหาดใหญ่ บนเส้นทาง 407 เท่านั้น ไม่มีเรื่องของการเวณคืน ไม่มีเรื่องของการปรับปรุงราง ไม่มีเรื่องของการจัดการกับผู้บุกรุกที่ดิน ทั้งหมดนี้ทำให้โปรเจกนี้สร้างได้รวดเร็ว และ สามารถขยายไปยังเมืองโดยรอบหาดใหญ่ ไม่ว่า จะเป็น สะเดา และ บ้านพรุ เป็นโครงการที่เอกชนผู้สัมปทานสามารถทำกำไร และ หาเอกชนผู้ลงทุนได้ไม่ยาก

ดังนั้น ผมจึงสนับสนุน ระบบรถด่วนพิเศษ BRT สำหรับการเชื่อมต่อ เมืองหาดใหญ่กับสงขลา

นอกจากนี้ยังขอเสนอ ผู้เกี่ยวข้องเรื่องของ มาตราฐานความปลอดภัยของ รถตุ๊กตุ๊ก และ รถสองแถวที่ให้บริการในเมืองหาดใหญ่ ทุกวันนี้ ไม่ปลอดภัยเลย ยกตัวอย่างเช่น

- รถตุ๊กตุ๊กที่ให้บริการในเขตเทศบาล ควรจะเปลี่ยนมาใช้ที่นั่งผู้โดยสารแบบหันหน้าไปทางคนขับสองที่นั่งพร้อมเข็มขัดนริภัย แทน การหันข้างที่นั่งโดยสารเข้าหากัน ไม่มีประตูปิด ไม่มีเข็ดขัดนิรภัย หากเกิดการชนกัน อัตราการตายของผู้โดยสารจะสูง ตรงนี้ไม่มีใครเคยคิดจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้โดยสารในเขตเทศบาลเลย หากทำได้ รถตุ๊กตุ๊ก ก็จะกลายเป็น local taxi ในเขตเทศบาล ค่าบริการอาจจะสูงขึ้น เพราะ ที่นั่งลดลง อาจจะไปอยู่ที่ 25-30 บาท ต่อผู้โดยสารที่วิ่งรับส่งในเขตเทศบาล เป็นต้น

- รถสองแถวประจำทาง ซึ่งบางครั้งไม่มีการจำกัดจำนวนผู้โดยสารที่นั่งและยืน ในช่วงเวลาเร่งด่วน ก็ปล่อยให้ผู้โดยสารโดยเฉพาะนักเรียนแออัดยัดเยียด เบียดเสียดขึ้นไปจนล้อหลังแบน รถเอนเอียงไปข้างหลัง แถมไม่มีประตูปิด หากเบรกแรง หรือ เกิดการชนกัน ผู้โดยสารก็คงร่วงลงมาบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก อยากให้ผู้เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนรถสองแถว ไปเป็น รถไมโครบัสหรือรถเมลล์ขนาดเล็กที่มีประตูเปิดปิด วิ่งประจำทางในเขตเทศบาลแทน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนหาดใหญ่ ครับ

ลูกแมวตาดำๆ

(407 สายเก่า  ,,,  414 สายใหม่)
ถามหน่อยครับ

เอาส่วนไหนของ 407 ครับ

407 ถนนก็พอดีแล้ว ไปเพิ่มช่องมันก็แคบลงสิคับ

ถ้าเป็น 414 พอเป็นไปได้ เพราะเขตทางยังกว้าง

ทำบน 407 มาได้แค่ จุดตัด 407 กับ 414 ที่ใกล้ห้าแยก

ตั้งแต่จากห้าแยกเข้าสงขลาก็วิ่งบนถนนธรรมดา แล้วมันก็ไม่ต่างไรกับ เมล์เขียวเลย

ถ้าเป็นรถไฟ เราไม่ต้องเวนคืนครับท่าน เพราะ รฟท มีพื้นที่อยู่แล้ว เพียงแค่โดยบุกรุก

ขอให้ท่าน ซินแซปิงเข้าใจไว้ด้วย ว่า เรามีเส้นทางและเขตทางที่กว้าง เพียงแต่โดนบุกรุกที่ต่างหาก

แถม BRT ถ้าได้ดูรุปในออสเตรรีย มาให้ดูนั้น ใช้ช่องทางกว้างนะครับ

เมื่อเทียบกับ ขอบปูนอีกล่ะท่าน

โครงการนี้มิใช่เพื่อการปรับปรุงระบบ แต่คำนึงถึงประวัติศาสตร์ด้วย

เพราะถ้าไม่มีประวัติศาสตร์ คงไม่มีวันนี้หรอกครับ

สถานีสงขลามีความสำคัญ ด้านอาคารสถานี ด้านการเป็นขนส่งอุปกรณ์สายรถไฟสายใต้

ถ้าไม่มีสถานีรถไฟสงขลา จะมีสถานีหาดใหญ่ในปัจจุบันไหมครับ

กิมหยง

อืมดีครับ มีหลาย ๆ ความคิดเห็น
หลาย ๆ มุมมองครับ

เพื่อหาดใหญ่เรา
สร้าง & ฟื้นฟู

ซินแสปิง

407 ขยายช่องทางการจราจรได้ครับ ตอนนี้เขาก็มองหลายเส้น อาจจะใช้เส้นลพบุรีราเมศ ก็ได้

ข้อเท็จจริงคือ การขยายถนนถูกกว่า ซ่อมและปรับปรุงระบบรางรถไฟ ครับ

คุณคิดว่ารางเก่าที่มีอยู่ใช้งานได้หรือครับ ถ้าเปิดเส้นทางรถไฟ สิ่งที่ได้คือ เส้นทางเท่านั้นครับ ระบบรางต้องวางใหม่หมด และ แน่นอน การทำระบบราง อาณัติสัญญาณไฟ ต้นทุนแพงกว่าการขยายช่องทางจราจร นี่ยังไม่รวมกับการฟ้องร้องไล่ที่ พวกบุกรุกซึ่งมากมาย และเป็นต้นเหตุให้โครงการล่าช้า

ถ้าต้องการรถไฟฟ้าแบบ air port link ปัญหาคือ ทำระบบรางใหม่หมด เป็นระบบรางรถไฟฟ้า และแล้วก็คงขาดทุน อยู่ไม่ได้ เพราะปริมาณการใช้งานไม่มากเท่า กทม. ต้นทุนก็แพง

และ ถ้าทำเป็นแบบรางคู่ ใช้รถดีเซลรางวิ่งเหมือน รถไฟชานเมืองใน กทม. เราก็ได้ รถไฟเก่าๆ จาก กทม. มาใช้ วิ่งช้า กรุงเทพ-ลาดกระบัง 30 กม. เหมือนกัน วิ่งกันใช้เวลา เกือบ หนึ่ง ชม. แล้วคนจะหันมาใช้บริการหรือครับ เขาก็ใช้บริการรถตู้เหมือนเดิม เพราะวิ่งบนถนนนั้นเร็วกว่า

ปัญหาอีกอย่าง ถ้าทำรถไฟ คนทำคือใครครับ ไม่ใช่เอกชนหรอกครับ คนทำคือ รฟท. นั่นแหละครับ แล้วคุณคิดว่า โครงการจะไปรอดไหมครับ องค์กรเฮงซวยแบบ รฟท ทำอะไรก็เจ๊งครับ ทุกวันนี้ รถไฟไทยล้าหลัง โทษใครไม่ได้ นอกจากการบริหารงาน และ วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานการรถไฟ

การทำ รถด่วนพิเศษนั้น ต้นทุนถูกกว่า เอกชนเข้ามาลงทุนแล้วกำไร ผู้บริโภคก็ได้รับบริการที่ดีกว่า ถ้าวิ่งเส้นทาง หาดใหญ่ สงขลา ไม่เกิน ครึ่ง ชม. ก็จะได้รับความนิยม คนก็จะหันมาใช้ ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมระหว่างเมือง แทนรถตู้ รถสองแถว และ รถเมลล์โพธ์ทองวิ่งประจำทางแน่นอน เพราะ วิ่งเร็วเหมือนกัน แต่ปลอดภัยมากกว่า สะดวกมากกว่า

ผมคิดว่า ณ เวลานี้ ประชากร สองเขตเทศบาล รวมกัน แค่นี้ BRT เหมาะที่สุด หากทำโครงการใหญ่กว่านี้ ต้นทุนสูงกว่านี้ จะอยู่ไม่ได้ บริหารไม่ได้ครับ นอกจากบริหารขาดทุน แล้วสุดท้ายประชาชนก็ได้รับบริการห่วยๆ วิ่งช้า รถไฟสกปรก และ ในที่สุดคนก็ไม่ใช้บริการ วิ่งไปเล่นๆ เหมือนรถไฟสวนสนุกแดนเนรมิตร

กิมหยง

อืม ก็มีเหตุผล

แต่ไม่ควรไปพาดพิงองค์กรรถไฟนะครับ

คิดว่ารถไฟ ก็มีปัญหาภายในของเราอยู่แล้วครับ

แต่รอเดี๋ยวนะครับ กำลังสรุปจากหนังสือที่ได้จากสัมมนาในวันนั้นครับ
มีบางอย่างในหนังสือแปลก ๆ อยู่ครับ
แปลกหลายส่วนเลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ซินแสปิง

รฟท. เป็น รัฐวิสหากิจ การวิพากย์ วิจารณ์องค์กร ในฐานะประชาชน ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะไม่ได้พาดพิงบุคคลที่สาม ข้อความที่ผมเขียน ก็เป็น บทสรุปของการศึกษาปัญหา รฟท. ของ TDRI ซึ่งสรุปว่า รฟท นั้น มีปัญหาในการบริหารงาน และ วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานใน รฟท. นั้นก็เป็นปัญหา ที่ทำให้ รฟท. ขาดทุน เป็นแสนล้าน ทุกวันนี้รัฐบาลต้องเอา ภาษีประชาชนไปอุด ปีละ เป็นหมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ จ่ายแค่ดอกเบี้ยเงินกู้นะครับ ไม่ได้ใช้หนี้



ซินแสปิง

เอาเป็นว่า ผมเอาภาพ รถ BRT มาฝาก จะได้ไม่ต้องกลัวกันครับ ไม่เห็นต่างจาก รถไฟเลยครับ เพียงแต่วิ่งบนถนน และ ใช้ล้อเท่านั้น






กิมหยง

ท่านมีรายละเอียดไหมครับ ว่ามันอะไร รถไฟวิ่งบนถนนหรืออย่างไรกัน

ไม่มีความรู้เรื่อง BRT เลยครับ
ิวิ่งบนเกาะกลางเหรอ
สร้าง & ฟื้นฟู

ซินแสปิง

http://bangkokbrt.multiply.com/video/item/4

อันนี้เป็นข้อมูล BRT ที่จะวิ่งใน กทม.

ผลการวิจัยเบื้องต้นของ สนข. เขาบอกว่า เส้นทางระบบขนส่งมวลชน ที่เป็นไปได้คือ BRT บน เส้นทาง 407 เพราะทำได้เร็ว ถูก และ ทำได้ง่าย คุ้มทุนง่าย แถมขยายไปยัง เมืองอื่นๆได้ง่ายด้วย เพราะ ถนน เชื่อมระหว่างเมือง สงขลา หาดใหญ่ บ้านพรุ สะเดา นั้น ไหล่ทางยังมีสิ่งปลูกสร้างน้อยครับ และ มีพื้นที่เยอะ ขยายทางจราจรสบายๆ

กิมหยง

แล้วมันจะต่างอะไรกับรถโพธิ์ทองละครับ ถ้าอย่างนั้น

เราไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไร
แค่ให้บริษัทมาสัปทานใหม่
ให้เขาจัดการกันเอง ระบุไปต้องมีมาตรฐานอะไร อย่างไรบ้าง

รถใหม่ ๆ บริการดีดี ราคาประหยัด อะไรก็ว่าไป

หรือว่า "จำเป็นอย่างยิ่ง" ที่จะต้องเป็น BRT เท่านั้นครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ลูกแมวตาดำๆ

ขอค้านเรื่องช่องทางของสาย 407 หน่อย นะครับ คุณ ซินแซปิง

ท่านสำรวจช่วงไหนของ สงขลา-หาดใหญ่ครับที่ว่า
อ้างจาก: ซินแสปิง เมื่อ 17:45 น.  14 ก.ย 52
ง่ายด้วย เพราะ ถนน เชื่อมระหว่างเมือง สงขลา หาดใหญ่ บ้านพรุ สะเดา นั้น ไหล่ทางยังมีสิ่งปลูกสร้างน้อยครับ และ มีพื้นที่เยอะ ขยายทางจราจรสบายๆ
คุณอาจจะคิดถึง บริเวณบ้านน้ำน้อย ตรงนั้นอ่ะ ผมไม่แน่ใจนะ แต่คิดว่าเป็นพื้นของเขตทาง รถไฟนะครับ
แต่มาดูช่วงโคกสูง ควนหิน น้ำกระจายสิครับ

หน้าฟุตบาท ขอบถนน หลังฟุตบาทรั้วบ้านคน (หรือคุณจะคิดเวณคืนที่ดินชาวบ้านครับ)

ถนนก็มี 4 ช่องจราจร กับ อีก 2ไหล่ทาง ไม่ทราบว่าจะเอาส่วนไหนมาชยายทำช่องรถด่วนพิเศษนะครับ

อย่าตอบว่าวิ่งร่วมกับรถในเลนปกตินะครับ เพราะมันไม่ต่างอะไรกับเมล์เขียวเลยนะท่าน จริงไหม

และผมก็"รู้"ครับว่ารางรถไฟเดิมนั้นหมดสภาพ เพราะผมได้ติดตามกระทู้ในเว็บต่างๆ

ที่เกี่ยวกับการสำรวจเส้นทางรถไฟสายสงขลา ของกลุ่มคนรักรถไฟมาแล้ว
อ้างจาก: ซินแสปิง เมื่อ 16:00 น.  14 ก.ย 52
และ ถ้าทำเป็นแบบรางคู่ ใช้รถดีเซลรางวิ่งเหมือน รถไฟชานเมืองใน กทม. เราก็ได้ รถไฟเก่าๆ จาก กทม. มาใช้ วิ่งช้า กรุงเทพ-ลาดกระบัง 30 กม. เหมือนกัน วิ่งกันใช้เวลา เกือบ หนึ่ง ชม. แล้วคนจะหันมาใช้บริการหรือครับ เขาก็ใช้บริการรถตู้เหมือนเดิม เพราะวิ่งบนถนนนั้นเร็วกว่า


กลุ่มคนที่จะมาใช้รถไฟผมว่าน่าจะเป็นกลุ่มคนที่มาจากรถเมล์เขียวมากกว่านะ
เพราะกลุ่มคนนั่งรถตู้ส่วนมากจมีตังค์พอเหลือกินอยู่แล้ว เพราะค่ารถแพงกว่าเมล์เขียวมากกว่าสองเท่า
รถไฟเหมาะกับคนหาเช้ากินค่ำและเด็กนักเรียนครับค่าโดยสารถูกกว่า

รัฐจะมาหากำไรกับประชาชนตาดำๆก็แปลกนะ เพราะ รัฐทำเพื่อประชาชนผู้เสียภาษีถูกต้อง ไม่ใช่มาเอาเปรียบประชาชน

ซินแสปิง

เท่าที่สอบถาม คนที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล

เรื่องการทำรถไฟ เชื่อมสงขลา-หาดใหญ่ คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะผลการศึกษาวิจัยชี้ชัดแล้วว่า ไม่คุ้มทุน

สรุป เขาคงเสนออะไรที่เป็นเหตุ เป็นผลมากกว่า  การเสนอโปรเจกที่ทำตามกิเลสคนส่วนใหญ่ครับ

คนอยากได้รถไฟ คงฝันหวานต่อไปครับ

บางที BRT เขาก็อาจจะไม่ทำก็ได้ครับ อาจจะได้แค่ รถเมลล์ประจำทาง สงขลา หาดใหญ่ก็ได้ครับ

ขอลาครับ

เบื่อคนเจ้าเล่ห์

อ้างจาก: ซินแสปิง เมื่อ 04:37 น.  15 ก.ย 52
เท่าที่สอบถาม คนที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูล

เรื่องการทำรถไฟ เชื่อมสงขลา-หาดใหญ่ คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะผลการศึกษาวิจัยชี้ชัดแล้วว่า ไม่คุ้มทุน

สรุป เขาคงเสนออะไรที่เป็นเหตุ เป็นผลมากกว่า  การเสนอโปรเจกที่ทำตามกิเลสคนส่วนใหญ่ครับ

คนอยากได้รถไฟ คงฝันหวานต่อไปครับ

บางที BRT เขาก็อาจจะไม่ทำก็ได้ครับ อาจจะได้แค่ รถเมลล์ประจำทาง สงขลา หาดใหญ่ก็ได้ครับ

ขอลาครับ

แหม จริง ๆ แล้ว ก็ทำท่าว่าจะขึ้นต้นได้ดี   เพราะอย่างน้อยก็อาจมีความคิดเห็นที่แปลกแตกต่างออกไปบ้าง ก็หลากหลายมุมมอง  ...

แต่พอเจอคำว่า  "...สรุป เขาคงเสนออะไรที่เป็นเหตุ เป็นผลมากกว่า  การเสนอโปรเจกที่ทำตามกิเลสคนส่วนใหญ่ครับ.." ยิ่งทำให้เห็นว่า ซินแสฯ คงสำคัญผิดในสาระสำคัญเหมือนกัน

ถ้ามันเป็น กิเลสของคนส่วนน้อย ...ผมอาจทำใจได้   ทว่า ท่านก็บอกมาเองว่า  การที่คนหาดใหญ่ สงขลา อยากได้รถไฟกลับมา มันเป็นกิเลส คนส่วนใหญ่ ผมว่ามันก็สอดคล้องกันดีนี่ครับ  กับการที่รัฐฯ จะทำอะไรเพื่อตอบสนองเพื่อคนส่วนใหญ่ มิใช่เพื่อ ใครส่วนน้อยที่คิด แต่ไม่ได้ใช้..... แต่ชอบ คิด ๆๆๆ   ทั้ง ๆที่ อาจสำคัญผิดก็ได้ว่า ไอ้สิ่งที่ตัวเองคิด โดยผ่านภาพลักษณ์ผู้ทรงวิชาน่ะ สุดท้าย มันก็แค่ยก ที่โน่น.. ที่นี่...รายงานโน่น รายงานนี่ ของชาวบ้านเค้ามาใช้กันแทบทั้งนั้น

ผมคนหนึ่งที่สนับสนุน การนำระบบรถไฟมาใช้เป็นระบบขนส่งมวลชน  แต่ผมก็ไม่ขัดขวางถ้าสุดท้ายแล้ว จะนำเอา รถบัสประหลาด(ที่ถูกบังคับให้วิ่งในร่อง หรือในราง) มาใช้  แต่ผมเพียงแค่คัดค้านมิให้ใคร มายึดถือเอาประโยชน์จาก เส้นทางรถไฟเดิมที่มีอยู่ไปทำปู้ยี้ปู้ยำ อีกต่อไป   
เพราะทุกวันนี้ แค่นายทุนบุกรุก มันก็แย่เต็มที แต่หากต้องเอาแนวรางรถไฟมาใช้เป็นรางรถยนต์ ผมว่า มันคิดกลับหัวกันแบบ น่าขำมาก

ปัญหาที่ว่าจะคุ้มทุนหรือไม่ ในทางวิชาการ เราต้องถือเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาอยู่แล้ว  แต่คำว่า "คุ้มค่า" มันมีความหมายมากไปกว่า ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ มากมายนัก

เราลงทุน ยุทโธปกรณ์ ทางทหาร ซื้อสารพันอาวุธ ทั้งที่ ทางเศรษฐศาสตร์ มันแทบเป็นศูนย์ ทว่า เพื่อพิจารณาด้านความมั่นคงทางประเทศ สิ่งที่อยู่เหนือกว่า คือ "มันคุ้มค่ากว่า ถ้าชาติจะมีความมั่นคง"

หลาย ๆ ประเด็นที่ท่านซินแสฯ ระบุ ว่า รถไฟมันห่วยนั้น ผมก็เห็นด้วย   แต่ถ้าจะให้ชัดต้องลงในรายละเอียดครับว่า  อะไรที่ห่วย  และใคร มันห่วย

รถไฟ ไม่เคยห่วยครับ... นับแต่ที่รถไฟวิ่งให้บริการ  ทางรถไฟผ่านที่ใด ที่นั่น คือการเปิดโลกสู่ความเจริญ  มานับแต่รัชสมัย ร.5 ท่านแล้ว...

ทว่า ที่มันห่วยก็คือ  การบริหารจัดการ  ที่ไม่ต้องบอกหรอกครับว่า เฉพาะรถไฟ  ผมต่อให้  เอา ซูเปอร์ BRT , TRAM, หรือแม้แต่ พวก  รถไฟ GTV มาใช้ ถ้ามันจะห่วย มันก็ห่วยได้ทุกองค์กรละครับ  โดยเฉพาะ บริหารแบบ ไทย ภายใต้ นักการเมืองไทย

ผมยังนึกภาพไม่ออกว่า   ถ้า BRT มัน Work แต่บริหารจัดการไม่เป็น  มันจะต่างอะไรกับ  ขสมก...   
แต่ภาพกลับกัน  ถ้าเกิด  บริษัท โพธิ์ทอง 2505 เกิดบ้าเลือด  มีการร่วมทุนจากต่างชาติดี ๆ เปลี่ยนรถ เปลี่ยน look ใหม่ ทำแบบครบวงจร ทั้งรถเล็ก รถใหญ่ และที่สำคัญ นำระบบรถยนต์ที่ลดมลภาวะ มาใช้ มาให้บริการ

คำถามผมก็คือ....  มันจะต่างอะไร กับ BRT ตรงไหนขอรับ......

                      คำตอบทั้งหมด มันอยู่ที่ว่า    ใครจัดการ..........จัดการให้ใคร มากกว่า 

โลกมีทรัพยากรเหลือเฟือสำหรับทุกคน..แต่ทรัพยากรทั้งหมดของโลก..ไม่พอสำหรับคนโลภ เพียงคนเดียว!

กิมหยง

ครับ ท้ายสุดไปเสียแล้ว

น้อยใจจังครับ

เวทีแห่งนี้บอกแล้วว่า คุยกันได้ทุกฝ่ายครับ


กำลังจะสอบถามข้อมูลเรื่อง BRT กันต่อครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

มุมหมอน

ใครว่า รถไฟ ห่วย รถไฟสกปรก ถ้ามีความจริงใจที่จะทำมันจะสะอาด กว่าจิตใจของคนบางคน และของคนบางกลุ่มอีกนะ

ลูกแมวตาดำๆ

เห็นด้วยกับคุณ"เบื่อคนเจ้าเล่ห"์มากเลยครับ

เงินที่รัฐไปลงทุนก็ภาษีประชาชน  คนใช้ก็คือประชาชน แล้วทำไมก็มาหวังกำไรจากประชาชน

หวังกำไรเพื่อจะได้กินกันอย่างเต็มที่สิไม่ว่า แล้วพยายามจะให้เอกชนมาหากำไรจังนะท่านซินแซปิง

ดูเหมือนท่านจะมีส่วนได้ผลประโยชน์หรือป่าวท่าน

แล้วที่ว่าเป็นกิเลสคนส่วนใหญ่ แล้ว ถ้านั้น BRT ก็เป็นกิเลสของคนส่วนน้อยเช่นกัน

มีกิเลสกันทั้ง2ฝ่าย แต่นึกถึงส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน หรือแปลว่า นึกถึงส่วนใหญ่มากกว่าส่วนน้อย

ถ้ารถไฟห่วย แล้วอะไรที่ทำให้หาดใหญ่เจริญ ที่ไม่ใช่ทางเรือก็ทางรถไฟนี้แระครับ

เราควรนึกถึงความคุ้มค่า  1.ด้านการขนส่งนักเรียน นักศึกษา ที่ยังไม่มีรายได้ใช้บริการในราคาถูก

2.เชิงการท่องเที่ยว จากหาดใหญ่ สู่ ทะเล  3.รวมกับโครงการ ขนส่งสินค้า เชื่อมสองฝั่งทะเล

4.คุณค่าการประวัติศาสตร์ที่เป็นจุดเริ่มต้นรถไฟสายใต้ตอนล่าง  5.อาคารสถานีในยุดแรกๆที่ยังหลงเหลือ

ถ้าเป็นBRT ได้แค่ขนส่งผู้โดยสารอย่างเดียว (ค่าบริการอาจจะแพงกว่าเมล์เขียวอีกมั้ง)

ส่วน 4 ข้อที่เหลือ คงทำไม่ได้     ขอร่วมสนับสนุนแนวคิด"คุ้มค่า"

กิมหยง

พวกท่านไปรุมเขา เขาจะมาให้ความรู้เรื่อง BRT ก็ไปรุมเพื่อน
ไปพลางพ้นเลย
สร้าง & ฟื้นฟู

ลูกแมวตาดำๆ

ก็ข้อมูลเค้ามันค้านความจริงอ่ะครับเรื่องการขยาย สาย 407 ช่วง หาดใหญ่ - สงขลา

ถนนชิดขอบบ้านคนหมดแล้ว เหลือแต่แถว บ้านนำน้อยที่ยังกว้าง แต่ที่เหล่านั้นมันก็เขตรถไฟนี้ครับ

แต่ถ้าการขยายของเค้าคือ การลดช่องจราจรเดิม ก็โอเค ไม่คัดค้านหรอกครับ

แล้วมาว่ารถไฟห่วย ผู้บริหารห่วย พอรับได้ แต่มาว่า เจ้าหน้าที่รถไฟห่วย ขอค้านเลย

แล้วมาว่ารถไฟสกปรก ถ้าเราช่วยกันดูแลคนละไม้คนละมือ ถือขยะที่เกิดการนำขึ้นไปนั้น

ลงไปทิ้งถังขยะเมื่อถึงสถานี แค่นี้ก็ไม่ต้องจ้างคนทำความสะอาดแล้ว แถมลดต้นทุนอีก

ข้อดีมันก็มีนะ แต่ถ้าทำบนสาย 407 ก็ไม่ต่างอะไรกับเมล์เขียวเลย

ถ้าแบบนั้นเอาเมล์เขียว มาปรับปรุงใหม่น่าจะถูกกว่า เพราะ มีบุคลากรอยู่แล้ว

แค่เปลี่ยนตัวรถ น่าจะใช้งบน้อยกว่านะ

แต่ที่เมืองนอกที่เห็นกันเค้าทำบนเกาะกลาง มันต่างกับบ้านเรา

ถ้าจะทำให้เหมือนเมืองนอก ควรเลือกทำสาย 414 มากกว่านะ

แต่ยังไงสาย 407 คนเดินทางมากกว่า เพราะมีชุมชนตลอดทาง

เหมาะจะทำแบบธรรมดาชานเมือง คนขึ้นลงตลอดสาย

แต่ 414 ตั้งแต่ห้าแยก จะมีคนขึ้นอีกทีก็ แยก บิ๊กซีนู้นแระ

เหมาะแกคนที่ต้องการเดินทางแบบด่วนโดยตรงเข้าหาดใหญ่

เพราะดูแล้ว BRT จุดประสงค์คือเป็นรถด่วนใช่ไหมครับ

สรุปคือคัดค้านการสร้าง BRT บน 407 แต่ถ้าสร้าง BRT บน 414 ก็ไม่คัดค้านอ่ะไร

414 จะได้ประวัติศาสตร์ไปเลยว่า มีการใช้ BRT สายแรกของภาคใต้บนถนนเส้นนี้