ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เห็บ! อสุรกายในสุนัข!

เริ่มโดย pa_เฟี๊ยว, 10:38 น. 27 ต.ค 56

pa_เฟี๊ยว

เห็บ สำหรับคนเลี้ยงสุนัขเเละคนทั่วไปคงรู้จักกันดี ในนามปรสิตตัวร้ายทำลายลูกสุดที่รักของเรา เรามารู้จักมันกันเถอะ!!

เห็บ ตามที่พบเจอในชีวิตประจำวันมีอยู่ 2 แบบคือ
1. เห็บตัวผู้  ตัวเล็ก สีเเดง เดินเร็ว ดึงยาก
2. เห็บตัวเมีย  ตัวกลมๆ สีดำ ดึงง่าย




เเต่ที่น่ากลัวที่สุดคือ เห็บตัวเมียที่ดื่มเลือดเข้าไปเต็มที่จนตัวเป่ง เเละตกจากตัวสุนัขเพื่อขยายพันธุ์ออกลูกหลาน หรือที่เรียกกันว่า เห็บโค ภายในท้องของเห็บตัวใหญ่นี้เต็มไปด้วยไข่ของมันทั้งนั้น

ก่อนที่เห็บจะวางไข่ได้ มันจะต้องได้รับการผสมพันธุ์และต้องกินเลือดสุนัขจนตัวเป่งเต็มที่เสียก่อน ถ้ายังไม่ได้กินเลือดหรือกินยังไม่เพียงพอ ก็ยังไม่สามารถวางไข่ได้ ไข่ของเห็บจะออกมาครั้งละ 3,000-4,000 ฟอง!

เมื่อจะวางไข่ เห็บตัวเมียนั้นจะต้องหล่นจากตัวสัตว์ แล้วหาที่ปลอดภัยเพื่อวางไข่ สถานที่ที่วางไข่นั้นเป็นได้ทุกที่ เเต่ส่วนมากจะอยู่ตามซอก มุม รอยเเตกร้าวของผนัง มุมตรงฝ้าเพดานบ้าน ใต้ก้อนดินหรือก้อนหินบนพื้น กรงเลี้ยงสุนัข หรือตามที่ๆสุนัขเล่นบ่อยๆ ที่น่ากลัวคือ เห็บที่พึ่งฟักจากไข่จะตัวเล็กมากๆ ถ้าไม่สังเกตุดีๆจะมองไม่เห็น เเละเมื่อวางไข่หมดเเล้วตัวแม่ของมันจะลีบๆ เเละตายภายในเวลาไม่นาน







เห็บ จะใช้เวลาหลายวันในการวางไข่ อาจนานหลายสัปดาห์ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ไข่ที่ถูกปล่อยออกมาแต่ละฟอง จะต้องถูกเคลือบไว้ด้วยสารคล้ายไข ซึ่งกันน้ำไม่ให้ระเหยออกจากไข่ไว้ชั้นหนึ่งก่อน หลังจากนั้น ไข่จะถูกเคลือบไว้ด้วยสารที่มีคุณสมบัติป้องกันการเกิด oxidation (=การทำปฏิกริยากับออกซิเจนในอากาศ) ไว้อีกชั้นหนึ่ง

มีความเชื่ออยู่อย่างนึงที่ว่า  เมื่อเก็บเห็บออกจากตัวสุนัขแล้ว อย่าบี้เห็บเป็นอันขาด เพราะการบี้เห็บตัวเมียที่ตัวเป่งนั้น จะทำให้เกิดลูกเห็บขึ้นเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริง
เพราะถ้าเห็บที่มีไข่เต็มท้องถูกบี้จนแตกเลือดทะลักออกมา และอาจมีไข่บางส่วนไม่ได้ถูกทำลาย ก็ไม่ได้หมายความว่าไข่เหล่านั้นจะฟักออกเป็นตัวอ่อนได้ ทั้งนี้เพราะไข่เหล่านั้น ไม่ได้ถูกเคลือบด้วยสารทั้ง 2 ดังกล่าวข้างต้น ไข่เหล่านั้น จึงแห้งจากความร้อนของอากาศ และฝ่อไปในที่สุด

ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าการที่ผู้ใหญ่แนะนำเด็ก ๆ ว่าอย่าบี้เห็บ อาจจะมีเหตุผลอื่นแฝงอยู่ก็ได้ เช่น เมื่อบี้เห็บแล้ว อาจจะทำให้พื้นเปื้อนเลือดที่ทะลักออกจากตัวเห็บ ทำให้พื้นเป็นรอยด่าง-ดวง ไม่น่าดู

การป้องกันเเละการกำจัดเห็บ
- อาจใช้ที่หนีบดึกออกมา เเต่อาจสร้างความเจ็บปวดให้สุนัขจึงต้องค่อยๆทำ
- เห็บตัวผู้อยู่ได้นานมากโดยไม่ต้องกินอาหาร เพราะฉะนั้นเราต้องกำจัดมันทันทีที่เจอ
- เมื่อเก็บเห็บได้มากในแต่ละครั้ง ก็อาจลวกด้วยน้ำเดือด เห็บก็จะตายหมด หรืออาจเก็บใส่ขวดแอลกอฮอล์หรือน้ำมันก๊าด เห็บจะตายและถูกดองไว้ ไม่เน่าเปื่อย เมื่อเก็บเสร็จแล้ว ปิดฝาขวดไว้ให้แน่น และสามารถนำมาใส่เห็บในการเก็บครั้งต่อไปได้อีก
- หากเห็บมีจำนวนมากๆ ให้พาไปพบสัตวเเพทย์ เพราะหากรักษาเอง อาจจะยืดยื้อให้เห็บขยายพันธุ์มากยิ่งขึ้น
- หมั่นตรวจดูตามร่างกายสุนัขบ่อยๆ อาบน้ำให้สุนัขอย่างสม่ำเสมอ เเละใช้เเชมพูที่มีสารกำจัดเห็บ หมัด
- กำจัดด้วยสารเคมีหรือยา เเต่ต้องศึกษายาตัวนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน และต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะยาสำหรับกำจัดเห็บเป็นยาอันตราย ต้องสอบถามจากผู้ที่รู้ หรือสัตวเเพทย์ เท่านั้น!!

เห็บ ไม่เพียงเเต่กัดเฉพาะสัตว์เท่านั้น เเต่สามารถกัดคนอย่างเราได้เช่นเดียวกัน แผลที่เห็บกัดนั้น ไม่ค่อยมีอันตรายใดๆ เเต่จะคันมากๆเเละเป็นตุ่มเล็กๆหายยาก






โรคเเละปัญหาที่เกิดจากเห็บ
1. สูญเสียเลือดอย่างเรื้อรัง และเกิดสภาวะโลหิตจางเนื่องจากทุกระยะของเห็บยกเว้นไข่จะดูดกินเลือดสุนัขนั่นเอง
2. เกิดบาดแผลบนผิวหนังของสุนัข ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่สภาวะผิวหนังติดเชื้อเป็นหนอง
3. ก่อให้เกิดความรำคาญและอาการคัน เนื่องจากน้ำลายเห็บ ทำให้สุนัขเกาและเกิดแผลตามมาได้
4. การติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด ซึ่งจะทำให้เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด และโรค Hepatozoonosis
5. ทำให้เกิดอัมพาตเนื่องจากเห็บ (Ticks paralysis)

    ถ้าไม่อยากให้น้องหมาเเละบ้านของเราถูกเห็บบุก ควรดูเเลอย่างใกล้ชิด เเละหมั่นทำความสะอาดหลังพาน้องหมาไปเดินเล่นนอกบ้านนะค๊ะ  ด้วยความห่วงใยจากผู้มีประสบการณ์จริง ของคนเคยเลี้ยงน้องหมาจร้าา ... ส.สู้ๆ

: ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
: ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากเว็บต่างๆ

dherasak

ในวงจรชีวิตของเห็บ อาจแบ่งเป็น 3 ครั้งที่เห็บจะทิ้งตัวออกจากน้องหมา

เริ่มจากเห็บตัวเมียผสมพันธุ์บนตัวน้องหมา และจะดูดเลือดจนตัวป่องเต็มที่

จากนั้นเห็บตัวเมียที่มีไข่เต็มท้อง จะทิ้งตัวออกจากน้องหมาเป็นครั้งแรก

และไปวางไข่ประมาณ 1,000 - 3,000ฟองตามซอกต่างๆในบ้าน

ซึ่งไข่เหล่านี้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มเล็กมาก หลังจากนั้นตัวเมียจะตาย

ไข่ของเห็บจะฟักเป็นตัวภายใน 19 -60 วัน

เป็นตัวอ่อนเล็กๆที่มี 6 ขา และหากไม่ได้กินเลือด

มันสามารถอยู่ได้นานถึง 8 เดือน

ตัวอ่อนเหล่านี้จะคอยหาทางขึ้นเกาะบนตัวน้องหมา

และเมื่อดูดเลือดจนตัวพองขึ้นประมาณ 2 มิลลิเมตร

มันจะทิ้งตัวลงพื้น เป็นครั้งที่สอง

เพื่อไปหาที่ลอกคราบเป็นตัวกลางวัยมีสีน้ำตาลแดงและมี 8 ขา

พวกมันจะขึ้นบนตัวน้องหมาอีกครั้ง และกินเลือดอีกประมาณ 4 - 9 วัน

จนมีขนาด 3 มิลลิเมตรและเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม

จากนั้นจึงทิ้งตัวออกเป็นครั้งที่ 3

และลอกคราบอีกครั้งภายใน 12 - 19 วันเพื่อเป็นตัวเต็มวัย

และกลับสู่จุดเริ่มต้นเมื่อตัวเต็มวัย

เพศผู้และเพศเมียกลับขึ้นไปบนตัวน้องหมาเพื่อผสมพันธุ์

โดยมันสามารถที่จะอยู่รอดโดยไม่กินอาหารได้ถึง 18 เดือน

และเมื่อพบน้องหมาที่จะให้ดูดเลือด

มันจะเกาะและดูดเลือดเป็นเวลา 6 - 50 วัน

จนตัวป่องและเริ่มผสมพันธุ์เพื่อออกไข่

ถึงแม้เห็บจะมีช่วงชีวิตที่ดูยาวนาน

แต่มันก็สามารถอยู่จนครบวงจรชีวิตได้ภายใน 2 เดือน

นี่คือสาเหตุที่เรากำจัดเห็บไม่หมดซักทีไงคะ

เครดิตรจาก เว็บPettydog.com

makhamka


pa_เฟี๊ยว

จากเว็บไซต์เจแปนทูเดย์ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 ระบุว่า ...

   รัฐบาลญี่ปุ่นเตือนประชาชนเฝ้าระวังการระบาดของโรค SFTS หรือ Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome  อันเกิดจากการถูกเห็บที่เป็นพาหะของโรคนี้กัด ซึ่งกำลังระบาดทางพื้นที่ตอนใต้ของประเทศ มีผู้ติดเชื้อดังกล่าวแล้ว 53 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 21 ราย นับเป็นโรคระบาดที่คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นไปมากในระยะเวลาอันสั้น

   โดยผู้ป่วยโรค SFTS จะมีอาการไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย ที่อาการหนักก็จะมีภาวะเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ การทำงานของอวัยวะภายในล้มเหลว จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด

   ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และกระทรวงสวัสดิการสังคม จึงเตือนให้ประชาชนเลี่ยงการเดินลุยในพื้นที่มีหญ้าขึ้นรกสูง เลี่ยงการเดินป่า และให้สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด ไม่เผยผิวให้ง่ายต่อการถูกเห็บกัด
   ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังโรคติดต่อ เห็บมรณะดังกล่าวสามารถพบได้ใน 23 จังหวัดของญี่ปุน ตั้งแต่เกาะฮอกไกโดทางตอนเหนือ จรดเกาะคิวชูทางตอนใต้