ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ขอบ่นเรื่องสถานีโทรมาตรของกรมชลฯ หน่อยครับ

เริ่มโดย ลุงโจ-Joe, 00:47 น. 25 พ.ย 56

ลุงโจ-Joe

ช่วงหน้าฝนของทุกปี เนื่องจากผมอยู่บ้านพรุซึ่งอยู่ในเขตเสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วม ผมจึงได้ให้ความสนใจ
กับการเฝ้าระวังเรื่องนี้มาก และพัฒนาตนเองจนน่าจะมีความสามารถในการพยากรณ์น้ำท่วมได้ดีพอควร แต่ทั้งนี้
การพยากรณ์เรื่องน้ำท่วมในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลมากมายที่ผมได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งของ
ราชการและเอกชน ดังนี้

1. ระบบศูนย์เตือนภัยอุตุนิยมร่วมภาครัฐและเอกชน จังหวัดสงขลา ซึ่งแสดงข้อมูลอยู่ที่
http://www.songkhla.tmd.go.th/ ใน Web นี้ผมใช้ข้อมูลที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน
   1.1 ปริมาณฝนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา (มีสถานีวัดปริมาณน้ำฝน 18 สถานี ตั้งแต่ ต. ปริก อ.สะเดา ลงมาถึง
ฉลุง และหาดใหญ่ และส่งข้อมูลที่วัดได้มาแสดงบน Web site แบบ real time)
   1.2 ประมวลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

2. ระบบโทรมาตรเพื่อการพยากรณ์น้ำและเตือนภัย ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ของกรมชลประทาน มีสถานีวัด
ปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในคลองเทียบกับความสูงของตลิ่ง จำนวน 19 สถานี ตั้งแต่อ่างเก็บน้ำสะเดาถึง
บ้านแหลมโพธิ์ สามารถเข้าไปดูข้อมูลแบบ real time ได้ที่ 
http://203.185.128.74/utapao/tele.php?mode1
(เดิมเคยอยู่ที่ http://www.rid-tsl3.com แต่ย้ายไปตั้งแต่เมื่อใดไม่ทราบได้)

3. Web site โครงการเครือข่ายเมืองในเอเซียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่
หาดใหญ่ มีกล้อง Web cam ดูระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา 8 สถานี Web site นี้อยู่ที่
http://hatyaicityclimate.org/

ระบบทั้ง 3 แห่งนี้รวมถึงระบบสถานีที่ใช้วัดข้อมูลต่าง ๆ นี้ เพิ่งพัฒนาจนใช้การได้ดีไม่นานก่อนน้ำท่วม
ใหญ่เมื่อปี 2553 ซึ่งผมเข้าใจว่าใช้เงินไปจำนวนไม่น้อยในการพัฒนา โดยเฉพาะระบบในลำดับ 1 และ 2
ซึ่งเป็นของราชการและใช้เงินภาษีของประชาชนในการพัฒนา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่
รับผิดชอบที่จะต้องดูแลระบบเหล่านี้ให้สามารถใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ที่ได้พัฒนาระบบขึ้นมา

ช่วงหน้าฝนอย่างนี้ผมก็จะเข้าไปดูข้อมูลจาก web site ทั้ง 3 แห่งนี้แทบทุกวัน ผมพบว่าระบบที่ 1 ซึ่ง
อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม
สามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทุกครั้งโดยไม่บกพร่องหรือติดขัดใด ๆ ทุกครั้งที่เข้าไปดูข้อมูล ซึ่งตรงกัน
ข้ามอย่างสิ้นเชิงกับระบบที่ 2 ของกรมชลประทาน ซึ่งใช้งานไม่ได้เลย ส่วนระบบที่ 3 ซึ่งเป็นของเอกชนก็
นับว่าได้รับการดูแลที่ดีเช่นกัน

ในช่วงตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 2556 เป็นต้นมา ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วัน พบว่าหน้า web ของระบบที่
2 ที่แสดงข้อมูลจากสถานีโทรมาตร 19 สถานี มีแสดงสัญญลักษ์บอกว่าอุปกรณ์สื่อสารขัดข้องถึง 7 สถานี
หรือมากกว่า 1 ใน 3 ที่แย่กว่านั้นก็คือสถานีอื่น ๆ ที่เหลือ แสดงข้อมูลผิดเป็นศูนย์หมด บางครั้งมีบางสถานี
แจ้งเตือนผิด เช่นขณะที่ผมพิมพ์ข้อมูลอยู่นี้ (คืนวันอาทิตย์ ที่ 24 พ.ย. 2556 ราวเที่ยงคืน) สถานี STN11
บ้านตะเคียนเภา แสดงข้อมูลว่าเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยเพราะฝนหยุดมา 2 วันติดต่อกันแล้ว
แสดงให้เห็นว่าระบบขาดการดูแลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง น่าเสียดายที่ระบบที่มีประโยชน์
มากกับประชาชนที่รัฐลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก (น่าจะนับสิบล้านบาท) ได้ถูกทิ้งขว้างโดยเปล่าประโยชน์
ภายในเวลาเพียง 3-4 ปีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี ผมจำเป็นต้องเรียกร้องคำอธิบาย
และ accountability จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

อนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า web site ของระบบที่ 2 นี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลง URL ตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบ
หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจะทราบว่าแนวปฏิบัติที่ดีในกรณีเช่นนี้คือ (1) ต้อง ปชส. ให้สาธาณะทราบถึง
การเปลี่ยนแปลงนี้ล่วงหน้า (2) ควรจะมีการ redirect จากหน้า web เก่าไปยังหน้า web ใหม่ และ (3)
ควรจะจดชื่อโดเมนให้กับ web site แทนการใช้หมายเลข IP address เป็นชื่อ URL

อยากให้ผู้รับผิดชอบเข้ามาตอบชี้แจงด้วยครับ

ลุงโจ-Joe

เอาภาพหน้าจอของ web ระบบโทรมาตรฯ ของกรมชลฯ มาให้ดูครับ ในรูปนี้จะเห็นว่าสถานีบ้านแหลมโพธ์ิ์ด้านบนสุดแสดงสถานะผิดเป็นเตือนภัย(สีเหลือง)อยู่ มันเป็น ๆ หาย ๆ ครับ

แฟนเก่าชื่อส้ม

หากมีแล้วเป็นแบบนี้ อย่ามีดีกว่าเปลืองเงินภาษีประชาชน
ก่อนตายคุณอยากอยู่กับใครเป็นคนสุดท้าย

ฟ้าเปลี่ยนสี

ขอโทษน่ะครับท่าน ผมไม่ใช่ เจ้าหน้าที่อุตุ และก็ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่ชลประทาน

ทางเจ้าหน้าที่อุตุตัวจริงที่ทำงานอยู่ที่ศูนย์ จะเข้ามาตอบให้เป็นครั้งคราวแต่ละโอกาสที่ท่านจะสะดวกครับ

ส่วนเจ้าหน้าที่ทางชลประทาน เท่าที่ติดตามไม่เคยเข้ามา ณ ที่นี่ เลยครับท่าน


ทางส่วนข้อมูลน้ำท่าของทางชลประทานผมขอแนะนำที่เวป http://hatyaicityclimate.org/

ไม่ทราบท่านเคยเข้าไปดูไหมครับ ที่กล้องของสถานที่ต่างๆ คลิกเข้าไป ทางส่วนด้านใต้ๆ จะมีส่วนของข้อมูลระดับน้ำ

ของทางชลประทาน ด้วยครับ  ส.หัว

คือกำลังจะอธิบายว่า ถ้าเราอยู่ภายใต้ ลุ่มน้ำอู่ตะเภา ให้ดูเฉพาะส่วนครับ แต่ถ้าท่านจะดูทั้งระบบของทั้งจังหวัดเลย

น่าจะผิดหวังครับท่าน เพราะเวปที่ท่านนำมาอ้างอิง บางจุดโทรมาตรจะเสียทุกครั้งที่มีวิกฤต ครับผม โดยเฉพาะปลายน้ำ

ครับ

แนะนำ เวปที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชลประทาน ครับผม

โครงการชลประทานสงขลา
http://irrigation.rid.go.th/rid16/sip/songkhaproject/index.php

สำนักชลประทานที่ ๑๖ กรมชลประทาน
http://irrigation.rid.go.th/rid16/web2013/

สองหน่วยงานนี้คุม จังหวัดสงขลา ทั้งหมดครับท่าน

สามารถร้องเรียน สิ่งที่เราต้องการได้ ครับท่าน  ส.หัว

ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ยายเขียว


นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 10:24 น.  25 พ.ย 56
ขอโทษน่ะครับท่าน ผมไม่ใช่ เจ้าหน้าที่อุตุ และก็ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่ชลประทาน

ทางเจ้าหน้าที่อุตุตัวจริงที่ทำงานอยู่ที่ศูนย์ จะเข้ามาตอบให้เป็นครั้งคราวแต่ละโอกาสที่ท่านจะสะดวกครับ

ส่วนเจ้าหน้าที่ทางชลประทาน เท่าที่ติดตามไม่เคยเข้ามา ณ ที่นี่ เลยครับท่าน


ทางส่วนข้อมูลน้ำท่าของทางชลประทานผมขอแนะนำที่เวป http://hatyaicityclimate.org/

ไม่ทราบท่านเคยเข้าไปดูไหมครับ ที่กล้องของสถานที่ต่างๆ คลิกเข้าไป ทางส่วนด้านใต้ๆ จะมีส่วนของข้อมูลระดับน้ำ

ของทางชลประทาน ด้วยครับ  ส.หัว

คือกำลังจะอธิบายว่า ถ้าเราอยู่ภายใต้ ลุ่มน้ำอู่ตะเภา ให้ดูเฉพาะส่วนครับ แต่ถ้าท่านจะดูทั้งระบบของทั้งจังหวัดเลย

น่าจะผิดหวังครับท่าน เพราะเวปที่ท่านนำมาอ้างอิง บางจุดโทรมาตรจะเสียทุกครั้งที่มีวิกฤต ครับผม โดยเฉพาะปลายน้ำ

ครับ

แนะนำ เวปที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชลประทาน ครับผม

โครงการชลประทานสงขลา
http://irrigation.rid.go.th/rid16/sip/songkhaproject/index.php

สำนักชลประทานที่ ๑๖ กรมชลประทาน
http://irrigation.rid.go.th/rid16/web2013/

สองหน่วยงานนี้คุม จังหวัดสงขลา ทั้งหมดครับท่าน

สามารถร้องเรียน สิ่งที่เราต้องการได้ ครับท่าน  ส.หัว
  ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-ดีใจ... ส-เหอเหอ
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ลุงโจ-Joe

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 10:24 น.  25 พ.ย 56
ขอโทษน่ะครับท่าน ผมไม่ใช่ เจ้าหน้าที่อุตุ และก็ไม่ใช่ เจ้าหน้าที่ชลประทาน

.........

ทางส่วนข้อมูลน้ำท่าของทางชลประทานผมขอแนะนำที่เวป http://hatyaicityclimate.org/

ไม่ทราบท่านเคยเข้าไปดูไหมครับ ที่กล้องของสถานที่ต่างๆ คลิกเข้าไป ทางส่วนด้านใต้ๆ จะมีส่วนของข้อมูลระดับน้ำ

ของทางชลประทาน ด้วยครับ

คือกำลังจะอธิบายว่า ถ้าเราอยู่ภายใต้ ลุ่มน้ำอู่ตะเภา ให้ดูเฉพาะส่วนครับ แต่ถ้าท่านจะดูทั้งระบบของทั้งจังหวัดเลย
น่าจะผิดหวังครับท่าน เพราะเวปที่ท่านนำมาอ้างอิง บางจุดโทรมาตรจะเสียทุกครั้งที่มีวิกฤต ครับผม โดยเฉพาะปลายน้ำครับ

..........

ขอบคุณคนข้างพลาซ่าที่เข้ามาให้ข้อมูลครับ แต่ผมว่าท่านรีบอ่านกระทู้ผมไปจนอ่านไม่ครบถ้วนแล้วรีบตอบเกินไปหรือเปล่าครับ ทำเอาผมงงไปบ้างเหมือนกัน และอาจทำให้ผู้อ่านท่านอื่นงงไปด้วยนะครับ

ที่แนะนำเว็บ http://hatyaicityclimate.org/ มานั้น ผมก็แนะนำไว้แล้วในกระทู้ของผมนี่ครับ (ระบบที่ 3) และข้อมูลระดับน้ำของทางชลประทานที่อยู่ใน web นี้ เมื่อคลิ้กเข้าไปดูมันก็ไปดึงข้อมูลมาจาก web ของกรมชลประทานที่ผมกำลังบ่นว่าไม่ได้เรื่องอยู่นั่นแหละครับ

และที่บอกว่าถ้าจะดูข้อมูล "ทั้งระบบของทั้งจังหวัดเลยน่าจะผิดหวังครับ" ผมไม่ได้พูดเลยครับว่าจะดูข้อมูลทั้งจังหวัด ในกระทู้ผมในหลาย ๆ ประโยคมีคำว่า "ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา" ชัดเจนครับ และ ระบบทั้ง 3 ระบบที่ผมอ้างเอาไว้ว่าใช้ดูข้อมูลก็เป็นระบบที่แสดงข้อมูลเฉพาะลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาเท่านั้นครับ

สำหรับ web ของกรมชลประทานเขต 16 ที่แนะนำเพิ่มเติมมาเท่าที่ผมดูอย่างรวดเร็วก็เห็นว่ามีข้อมูลระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาอยู่ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์อยู่บ้างในการพยากรณ์น้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตามอ่างเก็บน้ำที่เกี่ยวข้อง 3 แห่ง คือ อ่างสะเดา (ความจุ 57 ล้าน ลบ.ม.) อ่างก็บน้ำคลองหลา (ความจุ 21 ล้าน ลบ.ม.) อ่างคลองจำไหร (ความจุ 6 ล้าน ลบ.ม.) รวามความจุ 3 อ่างเท่ากับ 84 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่มีความจุอ่างไม่มากนัก แต่ถ้ามีการบริหารจัดการอ่างที่ดีและพร่องน้ำไว้ก่อนฝนมา ก็น่าจะช่วยลดผลกระทบต่อภาวะน้ำท่วมในหาดใหญ่และลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาได้พอสมควร

ฟ้าเปลี่ยนสี

คำว่า ลุ่มน้ำอู่ตะเภา ผมเอามาจาก

โปรแกรมแสดงผลและรายงานออนไลน์ ของ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก กรมอุตุนิยมวิทยา ครับผม

คือให้ดูข้อมูลเฉพาะบริเวณที่ โปรแกรมอ้างอิง เป็นพอครับท่าน  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คนอุตุ

อ้างจาก: ลุงโจ-Joe เมื่อ 00:47 น.  25 พ.ย 56
ช่วงหน้าฝนของทุกปี เนื่องจากผมอยู่บ้านพรุซึ่งอยู่ในเขตเสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วม ผมจึงได้ให้ความสนใจ
กับการเฝ้าระวังเรื่องนี้มาก และพัฒนาตนเองจนน่าจะมีความสามารถในการพยากรณ์น้ำท่วมได้ดีพอควร แต่ทั้งนี้
การพยากรณ์เรื่องน้ำท่วมในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ก็ต้องพึ่งพาข้อมูลมากมายที่ผมได้จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งของ
ราชการและเอกชน ดังนี้

1. ระบบศูนย์เตือนภัยอุตุนิยมร่วมภาครัฐและเอกชน จังหวัดสงขลา ซึ่งแสดงข้อมูลอยู่ที่
http://www.songkhla.tmd.go.th/ ใน Web นี้ผมใช้ข้อมูลที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน
   1.1 ปริมาณฝนลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา (มีสถานีวัดปริมาณน้ำฝน 18 สถานี ตั้งแต่ ต. ปริก อ.สะเดา ลงมาถึง
ฉลุง และหาดใหญ่ และส่งข้อมูลที่วัดได้มาแสดงบน Web site แบบ real time)
   1.2 ประมวลภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

2. ระบบโทรมาตรเพื่อการพยากรณ์น้ำและเตือนภัย ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ของกรมชลประทาน มีสถานีวัด
ปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในคลองเทียบกับความสูงของตลิ่ง จำนวน 19 สถานี ตั้งแต่อ่างเก็บน้ำสะเดาถึง
บ้านแหลมโพธิ์ สามารถเข้าไปดูข้อมูลแบบ real time ได้ที่ 
http://203.185.128.74/utapao/tele.php?mode1
(เดิมเคยอยู่ที่ http://www.rid-tsl3.com แต่ย้ายไปตั้งแต่เมื่อใดไม่ทราบได้)

3. Web site โครงการเครือข่ายเมืองในเอเซียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่
หาดใหญ่ มีกล้อง Web cam ดูระดับน้ำในคลองอู่ตะเภา 8 สถานี Web site นี้อยู่ที่
http://hatyaicityclimate.org/

ระบบทั้ง 3 แห่งนี้รวมถึงระบบสถานีที่ใช้วัดข้อมูลต่าง ๆ นี้ เพิ่งพัฒนาจนใช้การได้ดีไม่นานก่อนน้ำท่วม
ใหญ่เมื่อปี 2553 ซึ่งผมเข้าใจว่าใช้เงินไปจำนวนไม่น้อยในการพัฒนา โดยเฉพาะระบบในลำดับ 1 และ 2
ซึ่งเป็นของราชการและใช้เงินภาษีของประชาชนในการพัฒนา ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่
รับผิดชอบที่จะต้องดูแลระบบเหล่านี้ให้สามารถใช้งานได้ดีตามวัตถุประสงค์ที่ได้พัฒนาระบบขึ้นมา

ช่วงหน้าฝนอย่างนี้ผมก็จะเข้าไปดูข้อมูลจาก web site ทั้ง 3 แห่งนี้แทบทุกวัน ผมพบว่าระบบที่ 1 ซึ่ง
อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม
สามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทุกครั้งโดยไม่บกพร่องหรือติดขัดใด ๆ ทุกครั้งที่เข้าไปดูข้อมูล ซึ่งตรงกัน
ข้ามอย่างสิ้นเชิงกับระบบที่ 2 ของกรมชลประทาน ซึ่งใช้งานไม่ได้เลย ส่วนระบบที่ 3 ซึ่งเป็นของเอกชนก็
นับว่าได้รับการดูแลที่ดีเช่นกัน

ในช่วงตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 2556 เป็นต้นมา ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วัน พบว่าหน้า web ของระบบที่
2 ที่แสดงข้อมูลจากสถานีโทรมาตร 19 สถานี มีแสดงสัญญลักษ์บอกว่าอุปกรณ์สื่อสารขัดข้องถึง 7 สถานี
หรือมากกว่า 1 ใน 3 ที่แย่กว่านั้นก็คือสถานีอื่น ๆ ที่เหลือ แสดงข้อมูลผิดเป็นศูนย์หมด บางครั้งมีบางสถานี
แจ้งเตือนผิด เช่นขณะที่ผมพิมพ์ข้อมูลอยู่นี้ (คืนวันอาทิตย์ ที่ 24 พ.ย. 2556 ราวเที่ยงคืน) สถานี STN11
บ้านตะเคียนเภา แสดงข้อมูลว่าเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยเพราะฝนหยุดมา 2 วันติดต่อกันแล้ว
แสดงให้เห็นว่าระบบขาดการดูแลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง น่าเสียดายที่ระบบที่มีประโยชน์
มากกับประชาชนที่รัฐลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก (น่าจะนับสิบล้านบาท) ได้ถูกทิ้งขว้างโดยเปล่าประโยชน์
ภายในเวลาเพียง 3-4 ปีที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ในฐานะประชาชนผู้เสียภาษี ผมจำเป็นต้องเรียกร้องคำอธิบาย
และ accountability จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

อนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า web site ของระบบที่ 2 นี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลง URL ตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบ
หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจะทราบว่าแนวปฏิบัติที่ดีในกรณีเช่นนี้คือ (1) ต้อง ปชส. ให้สาธาณะทราบถึง
การเปลี่ยนแปลงนี้ล่วงหน้า (2) ควรจะมีการ redirect จากหน้า web เก่าไปยังหน้า web ใหม่ และ (3)
ควรจะจดชื่อโดเมนให้กับ web site แทนการใช้หมายเลข IP address เป็นชื่อ URL

อยากให้ผู้รับผิดชอบเข้ามาตอบชี้แจงด้วยครับ

ไม่ได้มาตอบ แต่มาขอบคุณ
จนท. และช่างของอุตุฯ คงปลื้มถ้าได้อ่านที่ท่านชื่นชม เราจะพยายามรักษาสิ่งที่ท่านชื่นชมเอาไว้ตลอดไปนะคะ

ปล.ศูนย์ฯ มีแผนจะขยายระบบโทรมาตรเพิ่มขึ้นอีก แต่กำลังรองบประมาณอยู่ค่ะ

กิมหยง

และแล้วก็มีคนถามในสิ่งที่เคยสงสัยครับ

สร้าง & ฟื้นฟู