ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตื่นเถิดควายแดงอย่ามัวหลับไหลลุ่มหลง

เริ่มโดย `°•P!®°on°•`™, 02:05 น. 11 ม.ค 57

`°•P!®°on°•`™

ทักษิณ มันไม่รักไทยหลอกแดง หลานสาวมัน หรือ ลูกไอสมชายแต่งงานกับลูกคนสนิทฮุนเซน ก็หมายความว่า ตระกูลมันดองกันแล้ว ถ้ามึงคิดว่าฮุนเซนดี งั้น อองซานคนเลวสิ ตื่นเถิดควายแดงอย่าให้มันแดกประเทศจนยากจ่ะแก้ไข พระวิหารไปแล้ว ทีนี้ละมุง แดกทะเลอีก สุดท้ายกุว่าได้มีคำนำหน้าว่า หม่อง แทน นายละ กุไม่อยากกกกเป็นหม่อง ต้องทา ทานาคา

`°•P!®°on°•`™

ยิ่งทักษิณขายประเทศได้เท่าไร ฮุนเซน ยิ่งรัก

mou ไม่ไช่เรื่องผ่านมาเฉยๆ แต่มันบอกถึงว่าคนๆนี้มีความคิดอย่างไร เ็ป็นคนอย่างไร กำลังคิดอ่ะไร นายกใครก็โกง แต่มีกี่คนที่โกงถึงขั้นขายแผ่นดินไทย
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า
รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศทบทวนเรื่องต่าง ๆ
ที่ประเทศไทยมีกับกัมพูชา
หลังรัฐบาลกัมพูชาประกาศตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวสมเด็จฮุน เซน และที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจรัฐบาลกัมพูชา

ขณะนี้ได้ข้อยุติ 1 เรื่อง คือ
บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา
ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา ต่างอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนบนอ่าวไทย
ฉบับวันที่ 18 มิ.ย. 2544 และเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
เพื่อแจ้งบอกเลิกกับรัฐบาลกัมพูชา

เนื่องจาก MOU ฉบับดังกล่าว
จัดทำสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
มาวันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา
จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจรจาภายใต้ MOU ดังกล่าว

พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงตั้งแต่แรกเริ่มในการผลักดัน
ให้รัฐบาลจัดทำ MOU ฉบับนี้
และ พ.ต.ท.ทักษิณ ย่อมได้รับรู้ท่าทีต่าง ๆ ในการเจรจาของฝ่ายไทย
ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงไม่อาจดำเนินการเจรจากับกัมพูชาบนพื้นฐาน MOU ฉบับนี้ นายกษิต กล่าว



ภาพความสัมพันธ์สนิทสนมระหว่าง พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร
กับนายฮุนเซน ในการพบปะที่โฮเต็ลเสียมเรียบ เมื่อ 5 เมย. 2008
(ภาพจากREUTERS/Stringer -CAMBODIA)


นายกษิต กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศยังเห็นว่า
พื้นที่ทางทะเลที่ไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกัน
มีพื้นที่กว่า  26,000 ตารางกิโลเมตร และมีศักยภาพทางทรัพยากรธรรมชาติสูง
โดยเฉพาะแก๊สธรรมชาติ ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่งต่อผลประโยชน์ของชาติ
การเจรจาเรื่องนี้จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างกว้างขวาง
จึงสมควรให้ดำเนินการเรื่องนี้ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตามแนวทางประชาธิปไตย
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

นายกษิต กล่าวว่า นอกจากนี้ การเจรจาภายใต้กรอบ MOU ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีผลล่วงหน้าเป็นรูปธรรม ตามวัตถุประสงค์ของ MOU 
จึงเห็นควรให้ทั้ง 2 ประเทศ ใช้แนวทางการเจรจาอื่น ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
เพื่อให้ได้ทางออกที่เป็นธรรมต่อไป

จึงเป็นมาตรการอีกข้อหนึ่ง ที่น่าจะทบทวน เพื่อยุติ MOU ตรงนี้



ภาพความสัมพันธ์สนิทสนมระหว่าง พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร
กับนายฮุนเซน ในการพบปะที่โฮเต็ลเสียมเรียบ เมื่อ 5 เมย. 2008
(ภาพจากREUTERS/Stringer -CAMBODIA)


คนที่เคยเป็นตัวตั้งตัวตี ให้มีการเจรจาต่อรอง
แต่วันนี้กลับไปเป็นที่ปรึกษาของคู่กรณี
จึงต้องระมัดระวังในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ไทยเรามีโอกาสเสียเปรียบ


จากการจัดการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง 
"แผนการขยายอาณาเขตของกัมพูชาจากเขาพระวิหารสู่สะด๊อกก๊อกธม" 
โดยมีนายสมปอง    สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยและอดีตทนายความต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารปี   2505   
นายเทพมนตรี   ลิมปพยอม  นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี 
นางทัศวี  สุวรรณวัฒน์  อดีตหัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการแผนงานวิจัยเรื่องเขตแดน สถาบันไทยคดีศึกษา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และนายสมิทธิ   ศิริภัทร  ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลป์ 
มหาวิทยาลัยศิลปากร  เป็นวิทยากรร่วมเสวนา



ที่น่าสนใจในวงอภิปรายคือ   ม.ล.วัลย์วิภาได้เปิดเผยข้อมูลใหม่
โดยระบุว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา 
และมติของคณะกรรมการมรดกโลกขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก 
เป็นความพยายามในการรับรองแผนที่กัมพูชาทางบก
ไม่ใช่แค่ปราสาทพระวิหารเป็นของใคร
แต่เป็นไปเพื่อการเปลี่ยนเส้นเขตแดนทางบกเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางทะเล 
โดยเริ่มตั้งแต่สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี


บันทึกฉบับนี้ พ.ต.ท.ทักษิณได้เดินทางไปลงนามร่วมกับกัมพูชา   
เมื่อวันที่  18 มิถุนายน 2544 
และนายสุรเกียรติ์  เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น
เดินทางไปลงนามรับรองเอ็มโอยู หรือบันทึกความเข้าใจ
ที่ว่าด้วยการอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา 
(Memorandum of Understanding between the Royal thai Government
and the Royal Government of Cambodia regarding the Area
of their Overlapping Maritime Claims to the Continental Shelf) .

เพื่อรับรองแถลงการณ์ร่วม  และให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา  (JTC)
โดยไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเป็นประธานร่วม
และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธาน"
ม.ล.วัลย์วิภากล่าว

ม.ล.วิลย์วิภากล่าวต่อว่า  แต่ละฝ่ายประกอบด้วยผู้อำนวยการกองกฎหมาย 
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย  เป็นกรรมการและเลขานุการ 
และมีกรรมการอื่นอีก 10 คน  ทำหน้าที่เจรจาแบ่งเขตทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาร่วมกัน 
บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และเจรจาในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาร่วม 
โดยเฉพาะการแบ่งปันผลประโยชน์ ตามมติ ครม.วันที่ 19 กันยายน 2544 โดยไม่ได้ผ่านรัฐสภา


ข้อมูลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 1/2544
(จาก เว็บไซท์กระทรวงต่างประเทศ  http://www.mfa.go.th/web/showNews.php?newsid=1278&Qsearch=thai
25 กรกฎาคม 2006 )

คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ได้จัดประชุมครั้งที่ 1/2544
ระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม 2544 ณ โรงแรมสยาม ซิตี้ กรุงเทพฯ
โดยมีสาระสรุป ดังนี้
ข้อมูลภูมิหลัง

1. ไทยและกัมพูชามีเขตทางทะเล เริ่มตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก
ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา

2. เมื่อปี 2515 กัมพูชาประกาศเขตทางทะเลของกัมพูชา
และเมื่อปี 2516 ไทยประกาศเขตทางทะเลของไทย
ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เจรจาเรื่องการแบ่งเขตทางทะเลอย่างเป็นทางการมาแล้ว 3 ครั้ง
คือ เมื่อเดือนธันวาคม 2516 เดือนเมษายน 2538 และเดือนกรกฎาคม 2538
แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนไทย-กัมพูชา
มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร

3. ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายน 2544 นั้น ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา
ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา
ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน
(Memorandum of Understanding between the Royal thai Government
and the Royal Government of Cambodia regarding the Area
of their Overlapping Maritime Claims to the Continental Shelf)

ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ
      3.1 ตกลงแบ่งเขตทางทะเล ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่ายในเขตพื้นที่ทับซ้อน
           ที่กำหนดให้มีการแบ่งเขตทางทะเล (เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป)

      3.2 จัดทำความตกลงสำหรับการพัฒนาร่วมทรัพยากรปิโตรเลียมในเขตพื้นที่ทับซ้อน
           ที่กำหนดให้มีการพัฒนาร่วม (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา)
           โดยการดำเนินการดังกล่าวจะทำในลักษณะที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ (indivisible package)
           และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว จึงให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค
           (Joint Technical Committee) ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากฝ่ายไทยกับกัมพูชา
           ซึ่งได้รับการเสนอชื่อจากแต่ละประเทศแยกต่างหาก โดยฝ่ายไทย
           มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน
           รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยให้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ
           ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคของฝ่ายไทย นั้น
           ได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544

4. บันทึกความเข้าใจดังกล่าว และการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจนี้
ไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลของแต่ละฝ่ายแต่อย่างใด
จนกว่าการแบ่งเขตสำหรับการอ้างสิทธิทางทะเลของประเทศทั้งสองจะมีผลบังคับใช้

1) ในขณะนี้ ไทยมีประเด็นเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชาเพียงประเทศเดียว เท่านั้น
และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชานี้ เป็นเขตที่มีศักยภาพ
ในด้านก๊าซธรรมชาติและ น้ำมันสูงมาก
ซึ่งบริษัทน้ำมันต่างชาติได้ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนด้วย
ซึ่งในเรื่องนี้ รัฐบาลของไทยและกัมพูชาต้องพิจารณาตกลงแก้ไขประเด็นต่างๆ
ที่คั่งค้างอยู่ให้เสร็จสิ้นก่อน

2) การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการนำเอาบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา
ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยกับกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน
ที่ได้มีการลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 มาสู่การปฏิบัติ
โดยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา
โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน
และฝ่ายกัมพูชามีนายซก อัน รัฐมนตรีอาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธาน

3) ในส่วนของฝ่ายไทยนั้น มีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการดังกล่าวด้วย
เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
เนื่องจากสาระของการหารือนั้น เกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องการตกลงแบ่งเขตทางทะเลส่วนบน
(เหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือขึ้นไป) และการพัฒนาพื้นที่ร่วม
หรือ Joint Development Area-JDA (ใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมา)
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

4) จากการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมเต็มคณะครั้งแรกในรอบ 25 ปี
ที่ทั้งสองฝ่ายได้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยจริงใจและไว้เนื้อเชื่อใจกันได้
และจากการประชุมเต็มคณะ ดังกล่าว ทำให้มีเนื้อหาสาระที่คณะกรรมการดังกล่าว
ต้องพิจารณาเป็นจำนวนมาก จึงได้พิจารณาจัดตั้งคณะอนุกรรมการ
โดยมีนายกฤษณ์ กาญจนกุญชร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายไทย
และนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชา (รับผิดชอบด้านกิจการเขตแดน) เป็นประธานฝ่ายกัมพูชา
ซึ่งได้มีกำหนดการประชุมสำหรับคณะอนุกรรมการดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 2544
โดยคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา
จะประชุมกันในเดือนมีนาคม 2544 ที่จังหวัดภูเก็ต

5) สาระสำคัญที่คณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องหารือกัน คือ
เรื่องเทคนิคทางกฎหมายในการแบ่งเขตทางทะเล เช่น การลากเส้นแบ่งเขต เป็นต้น
และเรื่องรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ร่วมว่าจะเป็นแบบใด เป็นต้น



ในเรื่องบันทึก MOU นี้ ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ ผอ.งานวิจัยด้านเขตแดน 
สถาบันไทยคดีศึกษา  ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
ความผิดปกติในการทำเอ็มโอยูปี 2544 นั้น
ถามว่าเรื่องนี้จะต้องมีการผ่านสภาให้เห็นชอบหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องเขตแดน
มีผลต่ออาณาเขต แต่ประชาชนไม่เคยได้รับรู้"


ม.ล.วัลย์วิภากล่าวด้วยว่า  ส่วนเรื่องผลกระทบด้านพลังงาน
จากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเมื่อวันที่   5  ส.ค. 51 ที่ผ่านมา 
นายปราสาท  มีแต้ม  อาจารย์  ม.สงขลานครินทร์  ได้นำเสนอบทความเรื่องปิโตรธิปไตย 
ท่านบอกว่ารัฐมนตรีพลังงานในสมัยรัฐบาลทักษิณ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช 
ลงนามให้สัมปทานแหล่งพลังงานดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว
มีการต่อสัญญาล่วงหน้าหลายปี 
และบางบริษัทที่ได้รับสัมปทานก็ได้จดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน
ซึ่งเป็นเกาะที่คนไทยคุ้นเคยดีในการเป็นแหล่งฟอกเงิน   
มิหนำซ้ำในแผนที่นี้เป็นแผนที่เดียวกัน เป็นตัวที่แนบมากับที่มีการลงนามเอ็มโอยู



เธอบอกอีกว่า  นอกจากนี้  ล่าสุดกัมพูชายังได้ลงนามร่วมกับทางคูเวต
โดยกัมพูชาประกาศว่าจะเริ่มนำน้ำมันดิบขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้    ในปี  2554 
หลังจากที่บริษัทเชฟรอนจากสหรัฐประกาศว่าการซื้อน้ำมันดิบในแปลงสำรวจอ่าวไทย
ในต้นปี 2548 ได้พบขึ้นแล้ว 
โดยแปลงสำรวจครอบคลุมพื้นที่ 5,559 ตารางกิโลเมตร 
ในเขตอ่าวไทยและเขตพื้นที่ที่เรียกว่าแอ่งปัตตานี



(ภาพจากพิมพ์ไทยออนไลน์  17 กุมภาพันธ์ 2552)

"คำถามคือ เมื่อวันที่  7 ส.ค. ที่ผ่านมา (2551) ท่านประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ประธานาธิบดีสหรัฐเดินทางมาเมืองไทย   
มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอะไรหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ 
ก็เอาไทยมาเป็นจุดศูนย์กลางที่จะแสดงสุนทรพจน์ 
ท่านคงไม่คิดว่าจะเลยไปดูโอลิมปิกที่จีนเท่านั้น 
เพราะมันคงมีอะไรมากกว่านี้

นอกจากนี้การที่ยังไม่สามารถขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นมาได้   
เพราะยังติดปัญหาเรื่องแผนที่ทับซ้อนทางทะเล
ที่ยังเป็นข้อพิพาทของทั้ง  2 ประเทศหรือไม่

อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าการดำเนินการของรัฐบาลไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนไทยหรือไม่" ม.ล.วัลย์วิภากล่าว

นายสมปองกล่าวว่า   เป็นเรื่องตลกที่กัมพูชาต้องการได้ดินแดนของคนอื่น
ด้วยการสร้างแผนที่ซึ่งเป็นไปไม่ได้   
และประหลาดที่เราจะเอาดินแดนของเราไปแลกกับดินแดนของเราเอง 
เพราะหากรัฐบาลไทยจะยกให้คนอื่น  ก็ขอให้คนไทยได้รู้ว่าเราได้ยกให้เขา 
แต่ไม่ใช่ให้เขาเอาไป  โดยที่ให้เขาอ้างว่าเป็นของเขา 

อย่างไรก็ตาม ตนเพิ่งพบว่ารัฐบาลไทยในสมัย  พ.ต.ท.ทักษิณ
ได้ไปทำเอ็มโอยูร่วมกับกัมพูชาในเรื่องข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล   
ซึ่งตนเห็นว่าการลากเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลจะต้องลากเส้น
โดยเริ่มที่ชายทะเลตามหลักเขตแดน  ที่   63
ไม่ใช่เริ่มลากจากเกาะกูด ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนรับไม่ได้ 

และเราก็มีตัวอย่างที่รัฐบาลปัจจุบันน่าจะทำตาม  จากการที่รัฐบาลในอดีต
ได้ตกลงเรื่องเขตแดนทางทะเลกับมาเลเซีย แต่ไม่สามารถตกลงกันได้
จึงได้ทำ JDA เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน.



หลังจากมีข่าวว่า ไทยที่จะยกเลิก MOU พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ออกมา
นายวาร์ คิมฮง หัวหน้าคณะเจรจาชายแดนของกัมพูชา
กล่าวว่า ภายใต้ข้อตกลงที่ทำไว้ทั้ง 2 ฝ่าย
ไม่สามารถยกเลิกคำมั่นที่จะพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวได้
"ผมไม่เห็นว่าจะมีวรรคหรือประโยคใดที่เปิดทางให้ 2 ฝ่ายระงับเอ็มโอยู
โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ จนกว่าเราจะหาทางออก
ในการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ทับซ้อนได้"

`°•P!®°on°•`™

ทักษิณ กับฮุนเซน ใช้แผ่นดินไทยแบ่งผลประโยชย์ร่วมกัน

`°•P!®°on°•`™

รอง ผบ.ทัพเรือภาค 1 เผย เขมรขอส่วนแบ่งผลประโยชน์เขตทับซ้อนทางทะเล 90 % 
หลังผลสำรวจพบ น้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ มูลค่ารวม 5 ล้านล้านบาท
อดีต ผบ.ทร. อัด กัมพูชา ขีดเส้นเลื่อนลอย หนุนไทยคงกำลังทหารไว้
เพื่อความได้เปรียบในการเจรจาเขตแดนทางบก-ทะเล
ด้าน ผอ.กองกิจการชายแดนไทย-กัมพูชา ระบุ "ฮุนเซน" ลดความแข็งกร้าว
แต่เสริมทหารปืนใหญ่ด้าน เขาพระวิหาร
       


          วานนี้ (16 ก.พ.) ที่ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อาคารพญาไทพลาซ่า 
พล.ร.ต.วีรศักดิ์ จันหนู รองผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ได้กล่าวระหว่างประชุมกลุ่มย่อย
เพื่อระดมความเห็นในการแก้ไขปัญหาเขตแดนทางบกและทางทะเล ระหว่างไทย-กัมพูชาว่า
ปัญหาที่ยังตกลงไม่ได้ เกิดจากการอ้างสิทธิของสองฝ่ายออกไปฝ่ายละ 200 ไมล์ทะเลจากไหล่ทวีป
ในองศาที่ต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อน แบ่งเป็นสองส่วน

คือ เกาะกูดตอนล่าง
ที่ไทยยึดถือตามสนธิสัญญา ฟรังโก-สยาม ว่า เกาะกูดอยู่ในฝั่งไทย
ในขณะที่ กัมพูชาใช้เส้นแนวเล็งจากเขตแดนที่ 73 ผ่านยอดเขาสูงของเกาะกูด ตรงออกไปในทะเล
ซึ่งกินพื้นที่พัฒนาร่วมคือ JDA ที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ

ส่วนที่สอง คือ อ่าวไทยตอนกลางและตอนล่าง ที่ กัมพูชา ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2515
ในขณะที่ไทยประกาศในปี 2516



       
          พล.ร.ต.วีรศักดิ์ กล่าวว่า จนกระทั่ง ปี 2543 สองฝ่ายได้เคยทำ เอ็มโอยู ร่วมกัน
โดยแบ่งพื้นที่เป็นสองตอน ในการแก้ไขปัญหา คือ พื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ
กำหนดให้การทำการแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ ลงมา
กำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน โดยมีการตั้งกรรมาธิการเทคนิคร่วม ไทยกัมพูชา
มี รมว.การต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายไทย พร้อมตั้งคณะทำงาน 2 ชุด
ในการจัดทำพื้นที่ร่วม และ การเจรจาแบ่งเขตทางทะเลพื้นที่ ตอนบนเหนือละติจูด 11 องศาเหนือด้วย




       
          "ช่วงปี 48 บริษัท เชฟรอน สหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อน
จาก รัฐบาลไทยและกัมพูชา ให้สำรวจพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร
ได้ประเมินมูลค่าก๊าซธรรมชาติไว้ 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมัน 1.5 ล้านล้านบาท
โดยกองทัพเรือ ยังต้องดูแลความปลอดภัย 2 ฐานขุดเจาะ นางนวล นี้อยู่
ทำให้กัมพูชา เริ่มพูดจากับเรายากขึ้น"
       
          รอง ผบ.ทัพเรือภาคที่ 1 กล่าวว่า  ก่อนหน้าที่ยังไม่มีการขุดเจาะสำรวจ
ท่าทีของกัมพูชาดีมาก และคุยกันรู้เรื่อง
แต่เมื่อมีการสำรวจ รู้ถึงผลประโยชน์แล้ว ท่าทีก็เปลี่ยนไป และคุยกันไม่รู้เรื่อง

ซึ่งในการเจรจา ตอนแรกไทยเห็นว่า บริเวณนั้นอยู่ในเขตของไทย
แต่เมื่อเกิดเขตทับซ้อนขึ้น จึงต้องมีการเจรจา ก็เลยเสนอว่า
ต้องแบ่งให้ไทย 60 กัมพูชา 40
แต่กัมพูชา ต่อรองให้เหลือ 50 : 50  ซึ่งไทยก็นิ่งเฉย
เพราะช่วงนั้น กัมพูชามีปัญหาภายในเกี่ยวกับเขมรแดง

พอถึงช่วงนี้ แหล่งพลังงานของไทยเริ่มร่อยหรอ จึงเริ่มคิดที่จะมีการเจรจาอีกครั้ง
เพื่อหาพลังงานทดแทน จึงได้เริ่มคุยกับ กัมพูชา ใหม่
แต่ปรากฏว่า กัมพูชา อ้างเรื่องสิทธิในทะเล และขอแบ่ง 90 %  ให้ไทยแค่ 10 %

อย่างไรก็ตาม ในการเจรจาในช่วงนี้ คิดว่า นายกฯ ของไทย อาจจะเจรจามาที่ 50 : 50
ซึ่งหาก กัมพูชา ยอม น่าจะแบ่งผลประโยชน์กันได้
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเขตแดนบนบก มีผลกับหลักเขตทางทะเลด้วย
       
          ทางด้าน พล.ร.อ.ณรงค์ ยุทธวงษ์ อดีต ผบ.ทร. และ ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา เปิดเผยว่า
มีความเข้าใจผิดว่า หากเกิดขยับหลักเขตบนบกแล้ว จะกระทบต่อเส้นเขตแดนทางทะเล
ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ใช่  เนื่องจากการลากเขตทาง กัมพูชา
จะลากจาก เกาะกูด ไปยังหลักเขตที่ 73 โดยยอมให้พื้นที่บนบกของ เกาะกูด เป็นของไทย
แต่ในทางทะเล เขากลับให้เป็นของเขา
เพราะฉะนั้น หลักเขตที่ 73 จึงเป็นคนละส่วน
ในการที่จะเปลี่ยนแปลงเขตแดนทางทะเล แต่ไม่ทราบว่า ที่ผ่านมา
มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ให้เป็นเรื่องการเมือง
       
          ทางด้าน นายสมปอง สุจริตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวว่า
การที่เขาลากเส้นไหล่ทวีป โดยไม่ได้ยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติ ไม่สามารถทำได้โดยอำเภอใจ
ในอนุสัญญาไหล่ทวีปนั้น ถือว่าเกะกูด เป็นพื้นที่มีคนอยู่ ย่อมมีน่านน้ำและอาณาเขต
เราจึงได้เอามาคิด และบวกเวลาลากเส้นฐานของไทย

ซึ่งทรัพยากรในทะเล ที่เราควรได้รับ น่าจะเป็น 90 %
การทำ เอ็มโอยู กับ กัมพูชา นั้น ถือเป็นพระมหากรุณาสูงสุดแล้ว เราอะลุ้มอล่วยมากแล้ว
เขาน่าจะได้แค่ 10 % ขณะนี้ ดีแล้วที่ยังไม่ได้ข้อยุติ
เพราะทรัพยากรที่อยู่ในทะเล ยังเป็นของไทยอยู่
ซึ่งรัฐต้องเจรจาด้วยความอ่อนโยน ไม่ใช่แข็งกร้าว
แต่เราจะอยู่ในฐานะรอมชอม ก็ต่อเมื่อเรามี กองกำลังทหาร อยู่ อย่าถอนกำลังออกไป








และจากข้อมูลของ ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ขุมทองไหล่ทวีปไทย-กัมพูชา "เชฟรอน" ฮุบสัมปทานปิโตรเลียม

พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ได้กลายเป็น "ขุมทอง" แห่งใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ท่ามกลางการคาดคะเนของบริษัทขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมชั้นนำของโลก
จะมีแหล่งน้ำมันดิบสำรองเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคนี้
ทว่าการเจาะสำรวจและอ้างสิทธิในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย
เพราะประเทศไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ถึง 25,923 ตารางกิโลเมตร
และในพื้นที่เดียวกันนี้เองที่ต่างฝ่ายต่างให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะทับซ้อนกันอยู่ด้วย

จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ปรากฏประเทศไทยได้ให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะและผลิตกับบริษัทเอกชนที่สนใจไปแล้วตั้งแต่ปี 2546
จนกระทั่งถึงปัจจุบันมี ผู้ได้รับสัมปทานไปแล้ว 4 กลุ่ม
ได้แก่

บริษัท Thailand Bloc 5&6LLC ในแปลงสัมปทานที่ 5-6,
บริษัทบริติช แก๊ส เอเชีย อิงค์ ในแปลงสัมปทานที่ 7-8-9,
บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในแปลงสัมปทานที่ 10-11-13 และพื้นที่ 12 (A) 12 (B)
และบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในแปลงสัมปทาน G9/43 (พื้นที่ประกอบ)

แต่ทั้งหมดยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการสำรวจและผลิตได้
เนื่องจากมีพื้นที่ เส้นแบ่งเขตที่ต่างล้ำเข้ามาในพื้นที่ของกันและกัน
หรือที่เรียกว่า Over Lapping Area ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงวันนี้
ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง กัมพูชาเองก็ได้ให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะและผลิตเช่นเดียวกับประเทศไทย
โดยมีข้อสงสัยกันว่า บริษัทเชฟรอนฯจะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน รายใหญ่ที่สุด
หรืออาจกล่าวได้ว่า เชฟรอนฯเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อน
ทั้งจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา



ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ บริษัทเชฟรอนฯและผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นๆ
จะต้อง "รอคอย" การเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา
จะมีข้อสรุปในการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนอย่างไร
โดยเฉพาะเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแหล่งสัมปทานที่ต่างฝ่ายต่างให้จะยังคงเดิมหรือไม่
เช่น สิทธิในการถือครองในแต่ละแปลงของบริษัทเอกชนทั้ง 4 ราย
บนพื้นที่กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตรยังเหมือนเดิมหรือไม่ ?

หรือข้อเสนอในการจัดตั้งเป็นองค์กรพัฒนาร่วม เช่นเดียวกับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
ที่จัดตั้งเป็นองค์กรร่วม ไทย-มาเลเซีย (MTJDA)
ขึ้นมาบริหารจัดการแทนที่จะให้เอกชนที่ได้รับสัมปทานเป็นผู้ดำเนินการ
รวมถึงเงื่อนไขการแบ่งปันผลประโยชน์จะเป็นอย่างไร
ผลประโยชน์ของรัฐในรูปแบบของค่าภาคหลวงในพื้นที่ทับซ้อน
และระยะเวลาของสัมปทานในแหล่งดังกล่าวจะคงตามเดิม
ที่แต่ละประเทศได้อนุมัติสัมปทานไปแล้วหรือไม่ ?

"ตอนนี้ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยังไม่ได้แจ้งว่า เงื่อนไขสัมปทานจะเป็นอย่างไร
เราก็กลัวกันว่าในรายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
เพราะมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ
เอกชนก็เฝ้าดูว่าในพื้นที่สัมปทานทั้งฝั่งซ้ายและขวาจะขีดเส้นแบ่งที่ชัดเจนอย่างไร
แต่ตอนนี้เราพร้อมที่จะเข้าไปลงทุนมากเพราะมันยืดเยื้อมานานแล้ว"
เจ้าหน้าที่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าว

ด้าน นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้กล่าวถึงความคืบหน้า
ในการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาว่า
ภายหลังจากที่ประเทศกัมพูชาดำเนินการเลือกตั้งภายในแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้
กรมก็จะผลักดันให้มีการหารือเพื่อสรุปประเด็นพื้นที่คาบเกี่ยวทับซ้อนในอ่าวไทยทั้งหมด
ของ 2 ประเทศอีกครั้ง หลังจากที่ช่วงก่อนหน้านี้จะมีการเจรจากันไประดับหนึ่ง
แต่ติดขัดปัญหาในเรื่องการเจรจาในประเด็นของ "เขาพระวิหาร" อยู่

ซึ่งในรายละเอียดที่จะเจรจากันนั้นจะมีคณะทำงานรวม 4 ชุด
เน้นไปที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงสิทธิของผู้ประกอบการที่จะเข้าไปพัฒนาพื้นที่ ดังกล่าว
และหลักการถือสิทธิจะเป็นอย่างไรด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "เส้นแบ่งเขต" ที่เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกัน

สำหรับพื้นที่ในฝั่งไทยที่เราอ้างสิทธิรวม 26,000 ตารางกิโลเมตร
ขณะนี้ได้มีผู้ถือสัมปทานเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ทางเอกชนผู้ได้รับสัมปทานในแต่ละแปลง
ได้แจ้งความเห็นเข้ามาที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
ให้เร่ง ผลักดันการเจรจาให้ได้ข้อสรุป เพื่อจะได้เข้าไปเร่งดำเนินการพัฒนา
และนำทรัพยากรทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันขึ้นมาใช้ประโยชน์
แต่เบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปศักยภาพทั้งหมดในพื้นที่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร
แต่เมื่อพิจารณาตามหลักธรณีวิทยาที่มีความคล้ายคลึงกับพื้นที่บริเวณอ่าวไทย
ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้วส่วนหนึ่ง เชื่อว่า "มีศักยภาพแน่นอน"

ด้าน นายอนนท์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า
แปลงสัมปทานของบริษัท ปตท.สผ.คือ แปลง G9/43 พื้นที่รวมประมาณ 25,923 ตารางกิโลเมตร

ซึ่งตั้งอยู่บริเวณนอกชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี
หากภาครัฐชัดเจนว่าจะให้เข้าไปพัฒนา ปตท.สผ.ก็สามารถเข้าไปดำเนินการสำรวจได้ทันที

ในสถานการณ์ที่ราคาพลังงานสูงขนาดนี้
ภาคเอกชนต่างก็อยากจะเร่งผลิตทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันขึ้นมาป้อนตลาดให้มากขึ้น
และที่สำคัญพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชานี้อยู่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่
ที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำเนินการและค่อนข้างมีศักยภาพ
ฉะนั้นในพื้นที่ ทับซ้อนนี้จึงมีโอกาสสูงเช่นกัน

`°•P!®°on°•`™

เขตสัมปทาน

`°•P!®°on°•`™

ความลับที่ว่า น้ำมันไทยทำมัยแพง ถ้าทุกคนรู้ลืมตาตื่น กระทรวงพลังงานจ่ะแย่ แน่
http://thaipublica.org/2012/12/interview-kornkasiwat/