ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

นายกรัฐมนตรี ตอบรับเปิดประชุมวิชาการอิสลามนานาชาติ มอ.ปัตตานี

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 14:22 น. 11 ธ.ค 53

ทีมงานบ้านเรา

นายกรัฐมนตรี เปิดประชุมวิชาการอิสลามนานาชาติ 21 ธันวาคม ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา คาดนักวิชาการทั่วโลกร่วมประชุมกว่า 200 คน

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมสำหรับการจัดประชุมวิชาการอิสลามนานาชาติ ในหัวข้อ"Role of Islamic Studies in Post Globalized Societies" ในวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 ที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างคณาจารย์และนักวิชาการต่างๆ ในเรื่องหลักสูตรที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ โดยฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา โดยมีนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้านอิสลามศึกษาทั่วโลกเข้าร่วม จำนวนกว่า 200 คน คาดหลังจากการสัมมนาครั้งนี้นอกจากจะมีการขับเคลื่อนศาสตร์ของอิสลามศึกษาไทย ให้มีการบูรณาการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่แล้ว ยังจะเกิดแนวคิดการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอีกมากกว่า 10 โครงการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2553 ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ได้มีการแถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ "Role of Islamic Studies in Post Globalized Societies" โดย ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมแถลงข่าว

ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความเป็นมาในการจัดประชุมทางวิชาการในครั้งนี้ว่า เกิดจากการที่ตัวแทนจากรัฐบาลและผู้บริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้เดินทางเยือนกลุ่มประเทศในแอฟริกาเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา โดยได้มีการเจรจาตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกลุ่มประเทศแอฟริกาถึงเรื่องหลักสูตรอิสลามศึกษา ระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆในกลุ่มประเทศแอฟริกาและประเทศอื่นๆที่มีหลักสูตรอิสลามศึกษาทั่วโลก ซึ่งเป็นที่มาของการจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับหลักสูตรอิสลามศึกษาครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 นี้ ณ จังหวัดปัตตานี โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเปิดการกระชุมและกล่าวสุนทรพจน์ ในวันที่ 21 ธันวาคม นี้ การประชุมครั้งนี้มีความยิ่งใหญ่และสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีท่านจุฬาราชมนตรีและคณาจารย์จาก16ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในระดับนานาชาติ

ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การสร้างความเข้มแข็งหลักสูตรอิสลามศึกษาที่จะให้มีความเท่าเทียมกับนานาชาตินั้น จำเป็นที่สถาบันการศึกษาจะต้องได้รับความร่วมมือและแสวงหาพันธมิตรทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้มีการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาที่มีนักศึกษาไทยนิยมไปศึกษาเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น มหาวิทยาลัยอัลอัซฮาร์ ประเทศอียิปต์ มหาวิทยาลัยนานาชาติอัฟริกา ประเทศซูดาน และมหาวิทยาลัยอัลบัยต์ ประเทศจอร์แดนเป็นต้น ซึ่งคาดว่าหากวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สามารถสร้างพันธมิตรทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เหล่านี้ได้ ด้วยการให้ความร่วมมือทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ จะเป็นประโยชน์กับวิทยาลัยอิสลามศึกษาและประเทศไทย ในการพัฒนาวิชาการทางด้านอิสลามศึกษาอย่างยิ่ง

นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยต่างๆที่ได้กล่าวถึงเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้มีแนวคิดและแนวการเรียนการสอนอิสลามศึกษาที่มีลักษณะความเป็นสายกลาง และเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับบริบทของมุสลิมในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง จากความร่วมมือมือดังกล่าวการศึกษาอิสลามศึกษาในประเทศไทยจะได้รับการยอมรับและได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานในระนาบเดียวกันกับมหาวิทยาลัยที่ได้มีการเรียนการสอนหลักสูตรอิสลามศึกษาในต่างประเทศได้

ในปัจจุบัน พบว่าสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่สอนภาษาอาหรับ มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ที่มีอยู่ก็ต้องการการปรับปรุงในเชิงคุณภาพ อีกทั้งยังขาดหน่วยงานที่สามารถประเมินระดับความสามารถ ด้านภาษาอาหรับที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการเรียนการสอน และการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษา อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการประกันและรับรองคุณภาพนักศึกษา บัณฑิต และประชาชนทั่วไป เพื่อใช้ในการศึกษาต่อ ตลอดจนการประกอบอาชีพ

รัฐบาลได้มอบให้ ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดให้มีการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำข้างต้น เพื่อพัฒนาวิทยาลัยอิสลามศึกษา ทั้งในมิติของขนาดและคุณภาพ เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการของประเทศที่นับวันจะเพิ่มขึ้น โดยภายใต้โครงการนี้ จะมีการคัดเลือกผู้มีศักยภาพ ให้ไปศึกษาต่อด้านอิสลามศึกษาในระดับโท-เอก ในต่างประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านภาษาและความรู้ด้านศาสนา โดยมุ่งหวังว่า ในระยะยาว วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นเสาหลักให้กับอิสลามศึกษาในประเทศไทย เพื่อให้สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนมุสลิมในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึงบทบาทและในการพัฒนาหลักสูตรด้านอิสลามศึกษา ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า วิทยาลัยอิสลามศึกษา ที่วิทยาเขตปัตตานี ถือได้ว่าเป็นสถาบันด้านอิสลามศึกษาแห่งแรกที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย โดยในปัจจุบันเปิดสอนใน 6 หลักสูตร เช่น อิสลามศึกษา กฎหมายอิสลาม เศรษฐศาสตร์อิสลาม ตะวันออกกลางศึกษา หลักสูตรคุรุศาสตร์อิสลาม เพื่อผลิตครูด้านอิสลามศึกษา หลักสูตรผู้บริหารโรงเรียนอิสลามซึ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาโท ในขณะเดียวกัน วิทยาลัยอิสลามศึกษาก็มีหน่วยงานที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาชุมชน คือสำนักงานบริการวิชาการต่อชุมชน ซึ่งทำงานวิจัยเชิงพัฒนา การให้ความรู้ทางวิชาการด้านอิสลามศึกษาต่อชุมชนเป็นหลัก

ในอนาคตจะมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครูอิสลามศึกษา เพื่อพัฒนาครูอิสลามศึกษา ตั้งแต่ ครูตาดีกา ครูปอเนาะ ครูอิสลามศึกษา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทย และ มาเลเซีย และ กำลังทำโครงการเสนอขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีโครงการจะตั้งศูนย์วิจัย Thai-Middle east Collaboration Research Center ซึ่งจะประกอบด้วยศูนย์พัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศูนย์ทดสอบทางภาษาอาหรับ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้มีการเปิดหลักสูตรอิสลามศึกษานานาชาติขึ้น โดยมีนักศึกษาจากประเทศในอัฟริกา จีน และ ไทย เข้าศึกษา ในการเรียนการสอน หลักสูตรดังกล่าวใช้ภาษาอาหรับเป็นหลัก โดยมีคณาจารย์ผู้สอนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ และคณาจารย์ชาวต่างประเทศ

ด้านความพร้อมในการจัดสัมมนาทางวิชาการนานาชาติ ด้านอิสลามศึกษา ในระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 นี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า แม้จะมีระยะเวลาการเตรียมการจำกัด แต่วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้ใช้จุดแข็งของหน่วยงาน ที่มีบุคลากรเป็นบัณฑิตที่จบจากหลายสถาบันและหลายประเทศในโลก เป็นผู้ร่วมประสานงาน โดยขณะนี้ มีนักวิชาการจากสถาบันที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ตอบรับเข้าร่วมสัมมนา จำนวนประมาณ 100 คน เช่น จาก Al-Azhar University ประเทศอิยิปต์ Al-albayt University Mutah University และ Yarmouk University จากจอร์แดน Al-Neelain University ประเทศซูดาน มหาวิทยาลัย Madinah ในซาอุดิอารเบีย รวมทั้งสถาบันที่มีการเรียนการสอนทางด้านอิสลามศึกษา ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และประเทศไทย เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังมีผู้บริหารในระดับรัฐมนตรี จากหลายประเทศได้แสดงความจำนงขอร่วมการสัมมนา เช่น รัฐมนตรีกิจการศาสนาของซาอุดิอารเบีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมของอินโดนีเซีย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศกัมพูชา โดยคาดว่าเมื่อถึงวันสัมมนาจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน

การสัมมนา ประกอบด้วยการนำเสนอเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยทางด้านอิสลามศึกษา และการประชุมโต๊ะกลมระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อกำหนดทิศทางและความร่วมมือกันในการพัฒนาวิทยาลัยอิสลามศึกษา ของวิทยาเขตปัตตานี เพื่อขับเคลื่อนอิสลามศึกษาของไทย ในการบูรณาการศาสตร์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังได้ประสานกับสำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อเชิญมุฟตีย์ หรือผู้นำศาสนาในประเทศอาเซียนเข้าร่วมด้วย โดยจะมีการประชุมนอกรอบเพื่อกำหนดกิจกรรมหรือการประชุมใหญ่ ระหว่างจุฬาราชมนตรี หรือ มุฟตีย์ ของอาเซียน "ในการจัดสัมมนาครั้งนี้ หากเราเปิดโอกาสให้นักวิชาการมาพูดคุยและจบกันไปโดยไม่มีการต่อเนื่องถือเป็นการจัดที่ขาดทุนอย่างมาก ดังนั้น วิทยาลัยอิสลามศึกษาจึงได้จะจัดเตรียมประเด็นต่างๆ เพื่อจะพูดคุย ประชุมนอกรอบ เพื่อทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศต่างๆ ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะได้แนวคิดโครงการและแนวคิดการจัดกิจกรรมที่เป็นระดับนานาชาติอีกมากกว่า 10 โครงการ" อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าว

     
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

mapraow

การคาดคะเนให้เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูแล้วก็เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ มีวิทยฐานะและก็เลื่อนวิทยฐานะ ขึ้นตรงต่อที่ทำการคณะกรรมการการเรียนเบื้องต้น
ที่ทำการ กรกฎาคมศาสตราจารย์ ได้ทำคู่มือการคาดการณ์ให้เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูแล้วก็เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ มีวิทยฐานะและก็เลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีจุดหมายเพื่อใช้เป็นแถวทางในการคาดการณ์วิทยฐานะ ตามหลักมาตรฐานแล้วก็กรรมวิธีการให้เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูรวมทั้งพนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ มีวิทยฐานะและก็เลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน กรกฎาคมศาสตราจารย์ ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ระบุวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม 2560 โดยมีรายละเอียดมี บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และก็กรรมวิธี การวัดผลงานที่เกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่แล้วก็ผลงานทางด้านวิชาการ กรรมวิธีการจัดการขอมีวิทยฐานะแล้วก็เลื่อนวิทยฐานะ และก็แนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะแล้วก็เลื่อนวิทยฐานะในตอนช่วงเวลาแปลงผ่าน การกำหนดชั่วโมงการกระทำงาน ตัวชี้วัด และก็คำอธิบายการคาดการณ์ รวมถึง แบบเสนอขอรับการคาดการณ์ แบบรายงาน แบบสรุปผลการสำรวจแล้วก็ประเมิน เพื่อช่วยทำให้การคาดการณ์ วิทยฐานะของเจ้าหน้าที่รัฐอาจารย์แล้วก็พนักงานด้านการศึกษาบรรลุจุดประสงค์เป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักเกณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีการดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

โดยทาง ห้างหุ้นส่วนจำกัดครุศาสตร์สติปัญญาได้ทำหลักสูตร การออกแบบการสอนสำหรับคุณครูการฟ้อนรำในศตวรรษที่ 21: การเสริมสร้างความสามารถการเรียนและก็สิ่งใหม่ รหัส 629142003 ระดับ กึ่งกลาง สาระ ดนตรี-ทุ่งนาฎศิลประดับตอนชั้น ประถม ช่วงเวลา 18 (ชั่วโมง) เพื่อ เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูรวมทั้งพนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ ที่พึงพอใจในระอุปองอาจารย์หลักสูตรดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้ศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตรที่ทำขึ้นเพื่อทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นของตัวเอง

แม้เจ้าหน้าที่รัฐอาจารย์รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์พอใจในหลักสูตรสามารถติดต่อถึงที่กะไว้ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถถามไถ่เหมาะ Line : @trainingobec ( มี @ )