ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มือใหม่เลี้ยงนกกับ Mr.no ตอน:นกแก้วเลิฟเบริ์ด

เริ่มโดย Mr.No, 08:45 น. 18 ส.ค 54

Mr.No


(ภาพบางส่วนจากอินเตอร์เนท แสดงการเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกในกรงเลี้ยง โดย ทพ.ชาย ตันตั้งตรง)

สิบกว่าปีก่อน ผมรู้จักกับมิตรสหายที่เคารพรักท่านหนึ่ง ท่านเป็นทันตแพทย์อยู่ภูเก็ต ท่านเป็นผู้ที่สนใจและชื่นชอบการเลี้ยงนกเป็นชีวิตจิตใจ และเป็นหนึ่งในผู้ที่สามารถก้าวข้ามข้อครหาจากบรรดาผู้ที่ต่อต้านการเลี้ยงนกกรงหัวจุก(ในช่วงนั้น) ด้วยการพิสูจน์ให้เห็นว่า ภายใต้การเลี้ยงดูที่ถูกต้อง เข้าใจ แม้แต่นกป่าอย่างนกกรงหัวจุก ก็สามารถนำมาเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงได้ และได้ผลผลิตที่น่าพอใจด้วย   ผลงานการเพาะพันธุ์ในเชิงค้นคว้าของท่านผ่านการถ่ายภาพนิ่ง,วิดิโอ ประกอบ ถูกนำไปเผยแพร่ โดยเฉพาะในอินเตอร์เนท ไม่ว่าจะเป็น พันทิพดอทคอม หรือเวบไซด์นกหัวจุกที่พึ่งเริ่มเปิดเวบไซด์ ก็นำเอาข้อมูลของท่านไปเผยแพร่กันอย่างโด่งดัง...

แม้ผมอาจจะไม่ใช่นักเลี้ยงที่ทุ่มเทแบบท่าน แต่ด้วยความรู้จักในนิสัยใจคอและความมุ่งมั่นของท่าน ผมจึงเชื่อด้วยความมั่นใจว่า ไม่มีอะไรที่มนุษย์เราทำไม่ได้ โดยเฉพาะมิตรสหายของผมท่านนี้

การทดลองเลี้ยงในเชิงเพาะพันธุ์ นกกรงหัวจุกในกรงเลี้ยง  เป็นเพียงการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม นอกเหนือไปจากการเพาะพันธุ์นกแก้วหลากหลายชนิดที่ท่านผู้นี้ผ่านร้อนหนาว และประสบผลสำเร็จมามากมาย

ดังนั้น การเป็นนักเลี้ยงนกที่ดีนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับนกชนิดนั้น ๆ อย่างถูกต้องที่สุด และภายใต้การเลี้ยงที่ถูกต้อง ย่อมทำให้ประสบผลสำเร็จทั้งในการเลี้ยงให้นกที่อยู่ในครอบครองมีความสุขแล้ว ยังจะสามารถสร้างพัฒนาการให้ผู้เลี้ยงก้าวไปอีกจุดที่ไม่เฉพาะเลี้ยงอย่างเดียว ทว่า สามารถเลี้ยงในเชิงเพาะพันธุ์สร้างลูกสร้างหลาน ปิดข้อครหา จากผู้กล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ของนกไปได้อย่างมีหลักฐานพิสูจน์
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ....

ผมเกริ่นเรื่องราวให้ฟัง เพื่อให้สมาชิกผู้อ่านเวบกิมหยง โดยเฉพาะผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงนก จะได้มีความรู้สึกใส่ใจกับนกที่ตนมีอยู่ให้มากขึ้นและถูกต้อง เพื่อผลสำเร็จในการเลี้ยงโดยเฉพาะ ความสุขจากการเลี้ยง เป็นเบื้องต้น

[attach=1]
ภาพจากอินเตอร์เนท แสดงภาพนกแก้วโม่ง
แต่วันนี้ผมชวนท่าน ๆ มารู้จักกับนกที่คนไทยคุ้นเคยในอดีตกันนะครับ  นกที่จะเล่าสู่ให้ฟังในเชิงต่อไปนี้ เป็นนกในวงศ์นกแก้ว  ที่เคยโด่งดังเป็นพรุแตกในบ้านเรามาพักหนึ่ง แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจ และการเลี้ยงที่มุ่งเน้นการทำกำไร ทำให้ นกชนิดนี้กลายเป็นเงียบหายไปจากวงการ และกลายเป็นเพียง นกแก้วเล็ก ๆ สำหรับคนชอบเลี้ยงนกเท่านั้น  นกชนิดนี้ เรียกกันว่า นกเลิฟเบริด์ ครับ
แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องราวของนกแก้วเลิฟเบริ์ด คงต้องปูพื้นฐานให้หลายท่านที่ยังคงสับสนเกี่ยวกับตระกูลนกแก้ว ให้พอรู้จักพื้นฐานของนกชนิดนี้ก่อน ก็จะเป็นประโยชน์ในการศึกษานกแก้วชนิดอื่น ๆ ต่อไป
เอ่ยชื่อ  "นกแก้ว" คิดว่าเป็นชื่อที่คนไทยคุ้นหูกันดี เพราะทุกคนคงนึกไปถึงนกตัวสีเขียว ๆ ที่มีจงอยปากงุ้มสีแดงหรือส้มสดใสแข็งแรง
[attach=2]
(ภาพจากอินเตอร์เนท แสดงภาพนกแก้วแขก หรือ แขกเต้า)

นกแก้ว ที่คุ้นหน้า คุ้นตาคนไทย ส่วนใหญ่ จะเป็นนกแก้วที่มีถิ่นกำเนิดในบ้านเราหรือไม่ก็แถบประเทศเพื่อนบ้าน อย่างพวกนกแก้วโม่ง หรือนกแก้วแขก (แขกเต้า) โดยเฉพาะนกแก้วชนิดหลังนี้ ดูจะคุ้นตาเพราะปรากฏผ่านทางหนังละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ของไทยหลายเรื่อง และมีปรากฏในคัมภีร์หรือชาดกตำนานในศาสนาพุทธอยู่หลายตอนเช่นกัน  นอกจากนี้นกแก้ว ยังเป็นนกที่คนไทยมักรู้จักในนามนกที่สามารถเลียนเสียงมนุษย์ได้ ดังนั้น จึงกลายเป็นที่นิยมชมชอบในการนำมาเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านกันมานานแสนนาน

นกแก้วสามารถจัดจำแนกได้ตามอนุกรมวิธาน (Taxnomy) คือเป็นนกที่อยู่ในอันดับ (order) Psittaciformes (ใครที่เรียนชีววิทยาพอนึกออกนะครับสำหรับการจำแนกหมวดหมู่สัตว์)
นกแก้วในอันดับนี้ สามารถแยกย่อยได้ออกอีก เป็น 3 วงศ์ (family) ย่อย อธิบายง่าย ๆ คือ วงศ์นกกระตั้ว วงศ์นกแก้วแท้ และวงศ์นกแก้วนิวซีแลนด์

เมื่อยกตัวอย่างการแยกหมวดหมู่ให้ทราบ คงพอนึกออกนะครับ เพราะต่อไปเวลาเราเห็นนกกระตั้ว (พวกนกแก้วที่มีหงอนเสียงดังๆ) เราก็จะได้เข้าใจว่า มันเป็นนกแก้ว แต่ถือว่าอยู่คนสกุลกับนกแก้วชนิดอื่น ๆ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ....

[attach=1]
(ภาพจากอินเตอร์เนท แสดงนกแก้วเลิฟเบริ์ดสายพันธุ์หน้ากาก หรือ Masked Lovebird)

นกแก้วเลิฟเบริด์ เป็นนกแก้วที่อยู่ในวงศ์นกแก้วแท้ (True Parrot)  มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่แถบทวีปแอฟริกา เช่นแทนซาเนีย,ซิมบับเว,นามีเบีย,แองโกล่า จนไปแถวตอนกลางของทวีปแอฟริกา

นกแก้วเลิฟเบริด์ มีขนาดความยาวประมาณ 14 ถึง 17 เซนติเมตร (ตามแตละสายพันธุ์) และปัจจุบันนกชนิดนี้มีผู้นำมาเพาะพันธุ์จนได้สีสันใหม่ ๆ สวยงามมากมายนับ 100 สีที่แตกต่าง ซึ่งหากจะกล่าวว่าสีชนิดใดเรียกว่าอะไร คงต้องใช้เวลากันยาวนานโข จึงขออธิบายเพียงสีสันและชนิดที่เป็นนกดั้งเดิม (wild type) ให้พอมีพื้นฐานกัน

ชื่อที่ได้ของนกแก้วชนิดนี้ มาจากพฤติกรรมของมัน กล่าวคือ เมื่อนกแก้วชนิดนี้พบคู่ของมันแล้ว จะอยู่ครองคู่กับคู่ของมันจนกว่าฝ่ายใดจะตายกันไปข้างหนึ่ง บางคนถึงกล่าวว่านกชนิดนี้เมื่อคู่ของมันตายจากไป ตัวที่เหลือมักจะตรอมใจตายตามกันไปในที่สุด  (แต่สำหรับผม ยังไม่เคยพบกรณีหลังนี้ครับ จึงไม่ยืนยัน เพราะที่เลี้ยงมา หลังจากที่ตัวเมีย หรือ ตัวผู้ ตายไป ที่เหลือก็เห็นกระดี้กระด้า สดชื่นดี หรือว่ามันเริ่มริอ่านเลียนแบบมนุษย์สมัยใหม่บ้างเค้าแล้วก็ไม่รู้..ฮา)

ว่างแล้วจะมาต่อให้จบนะครับ.....
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

จันทร์กระจ่างฟ้า

ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว

Mr.No

นกแก้วเลิฟเบริ์ดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติ (Wild type) สามารถแบ่งออกได้กว้าง ๆ เป็น

1. เลิฟเบริ์ดคอแหวนหรือสร้อยคอดำ (Black Collared Lovebird)  เดิมทีเข้าใจว่าสายพันธุ์สูญพันธ์ไปแล้ว เพราะปัจจุบันคงเหลือแต่ซากสตั๊ฟ แต่เมื่อสองปีที่แล้ว นายสเตฟานเน่ บ๊อคคา นักถ่ายภาพนกชาวเบลเยี่ยมสามารถถ่ายภาพนกแก้วสายพันธุ์นี้ได้ในป่าแถบประเทศกาน่า จึงถือเป็นเรื่องดีที่พบว่า เจ้านกสายพันธุ์นี้ยังคงมีเหลืออยู่(แม้จะน้อยเฉียดสูญพันธุ์

[attach=1]
(ภาพนกแก้วเลิฟเบริด์สร้อยคอดำ ถ่ายได้ในป่าแถบประเทศกาน่า)

[attach=2]
สเตฟานเน่ บ๊อคค่า ผู้ถ่ายภาพชาวเบลเยี่ยม



2. เลิฟเบริ์ดมาดากัสก้า หรือเลิฟเบิร์ดหัวเทา (Madagascar Lovebird) ปัจจุบันสายพันธุ์นี้ยังพบว่ามีผู้เลี้ยงอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่อยู่ในแถปยุโรป
[attach=3]
ภาพเลิฟเบริด์มาดากัสก้า ผู้และเมีย
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ...

3. เลิฟเบริ์ดฟิชเชอร์ (Fischer's Lovebird) พวกนี้อยู่ทางตอนเหนือของแทนซาเนีย
[attach=1]
เลิพเบริด์ฟิชเชอร์

4. เลิฟเบิร์ดหน้ากากหรือเลิฟเบริ์ดสร้อยคอเหลือง (Masked Lovebird) พวกนี้มีแยะอยู่ร่วมกับพวก ฟิชเชอร์แถบประเทศแทนซาเนีย
[attach=2]
เลิฟเบริด์หน้ากาก

5.เลิฟเบิร์ดหน้าลูกพีช (Peach-faced Lovebird )
[attach=3]
เลิฟเบริด์หน้าลูกพีช

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ..

6.เลิฟเบิร์ดหน้าแดงหรือหัวแดง (Red-faced Lovebird) มีแยะแถวตอนกลางของแอฟริกา

[attach=1]
เลิฟเบริด์หน้าแดง


7.เลิฟเบริ์ดแก้มดำ (Black Cheeked Lovebird) นี่ก็มีแยะในประเทศแทนซาเนีย

[attach=2]
เลิฟเบริด์แก้มดำ

8.เลิฟเบริด์ลีเลียน (Lilian's Lovebird)  แพร่กระจายแถบประเทศมาลาวี

[attach=3]
ลีเลียนเลิฟเบริด์

9.เลิฟเบริด์ปลายปีกดำ (Black Wing Lovebird ) หรือบางทีก็เรียกเลิฟเบริ์ดอบีสซิเนียน (Abyssinian Lovebird  ) พวกนี้จะหายากซักหน่อย เพราอยู่ตามพื้นที่สูงในประเทศเอธิโอเปีย

[attach=4]
เลิฟเบริด์ปลายปีกดำ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ...

สำหรับในเมืองไทย วงการผู้เลี้ยงนกแก้วชนิดมักแยกกลุ่มนกแก้วเลิฟเบิร์ดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพวกที่มีขอบตา(Eye Ringed) กับ พวกที่ไม่ขอบตา(Non eye ringed) ซึ่งความหมายของคำว่าขอบตาของนกโดยเฉพาะในกลุ่มที่เรียกว่า "นกขอบตา" นั้น จะหมายถึงนกแก้วเลิฟเบิร์ดที่มีรอบขอบตาเป็นหนังขอบตาสีขาวๆ  (ดูภาพตัวอย่าง)

[attach=2]
ภาพตัวอย่างแสดงให้เห็นบริเวณขอบตานกจะเป็นหนังสีขาวรอบดวงตา (ภาพประกอบจากอินเตอร์เนท)

ในทั้ง 9 สายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น พวกกลุ่มที่มีขอบตา ก็เช่นพวก เลิฟเบริ์ดฟิชเชอร์, เลิฟเบิร์ดหน้ากากหรือเลิฟเบริ์ดสร้อยคอเหลือง, .เลิฟเบริ์ดแก้มดำ,เลิฟเบริด์ปลายปีกดำ

ในช่วงที่นกชนิดนี้มีการเลี้ยงกันมากในเมืองไทย นกในกลุ่มที่มีขอบตาโดยเฉพาะนกที่นำเข้าจากต่างประเทศประสบปัญหา จากกรณียุง ซึ่งมักจะกัดบริเวณขอบหนังตาของนกชนิดนี้ และเจ้ายุงตัวร้ายได้กลายเป็นพาหะนำมาซึ่งโรคฝีดาษ(นก) ทำให้นกที่ขอบตาโดยเฉพาะในกลุ่มนำเข้า เสียชีวิตไปจำนวนมาก  แต่ในระยะหลัง นกที่เกิดในเมืองไทย พบว่ามีจำนวนมากที่มีภูมิต้านทานจากยุงได้ดีพอสมควร (แต่ป้องกันไว้จะดีกว่าแยะ) ทำให้มีผู้นำนกในกลุ่มนี้กลับมานิยมเลี้ยงกันเพิ่มขึ้น
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ...

เมื่อเราทราบถึง สายพันธุ์ดั้งเดิมแล้ว อย่างน้อยเมื่อท่านได้พบนกแก้วสีสันใหม่ ๆ คงพอสันนิษฐานได้ว่า เจ้าสีสันใหม่ๆ  มีต้นสายพันธุ์มาจากไหน

นกแก้วเลิฟเบริ์ด ที่พบในเมืองไทยส่วนใหญ่ทั้งหมด มาจากต้นสายพันธ์ 2-3 สายพันธุ์คือ ถ้าเป็นพวกที่มีขอบตา ก็มาจากสายพันธุ์ Fischer's Lovebird, หรือ Masked Lovebird ส่วนพวกไม่มีขอบตาก็มาจากพวกสายพันธุ์ Peach-faced Lovebird ส่วนที่เหลือนั้นค่อนข้างหายากและมีพฤติกรรมความเป็นอยู่และการเลี้ยงดูที่แตกต่างจากที่กล่าวมาพอสมควร

เค้าแยกเพศนกเลิฟเบิร์ดอย่างไร

เลิฟเบริ์ดทั้ง 9 สายพันธุ์ข้างต้นนั้น บางสายพันธุ์สามารถแยกเพศได้ด้วยลักษณะภายนอก แต่บางสายพันธุ์ก็ยากยิ่งนักเกินกว่าวงชาตรีจะพรรณณา...(นั่นเล่นลีลาภาษาซะ)

เมื่อผมหัดเลี้ยงนกชนิดนี้ใหม่ ๆ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนกชนิดนี้มี้น้อยเต็มที อาศัยตำราจากฝรั่งอ่านก็ยังไม่ชัดเจนนัก เพราะพวกเล่นให้เจาะเลือดตรวจดีเอ็นเอ ย่างเดียว บางแห่งก็บอกให้ดูที่หัว หัวโต หัวเล็ก ฯลฯ
มิตรสหายจากแดนไกล จึงไขข้อข้องใจว่า เจ้านกเลิฟเบริด์ที่มันดูเพศไม่ออก ก็ใช้วิธี จับตะเกียบเอา... ผมจึงคิดถึงหลักการแยกเพศแบบที่ใช้กันในหมู่นกเขาชวาขึ้นมา เพราะไม่คิดว่ามันจะใช้หลักของการสัมผัสกระดูกเชิงกรานนกได้
การจับตะเกียบ หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Pelvic bone Test ก็เป็นหนึ่งในวิธีการจำแนกเพศของนก นอกเหนือไปจากวิธีการอื่น ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตพฤติกรรม,การสังเกตทางลักษณะร่างกายหรือกายวิภาค หรือการตรวจดีเอ็นเอ (วิธีนี้แน่นอนที่สุด แต่ยุ่งยากซักหน่อย)

และตั้งแต่นั้นมา ผมจึงเลือกใช้การวิธีจับตะเกียบสำหรับนกชนิดมาโดยตลอด เพราะในช่วงที่ผมเริ่มหัดเลี้ยงนกชนิดนี้ใหม่ ๆ การตรวจดีเอ็นเอสำหรับนกนั้น จะต้องส่งไปตรวจที่ต่างประเทศ (เช่นทีแอฟริกา) ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับตรวจ และส่งไปส่งกลับ เผลอ เกินค่าตัวนกได้ซัก20 ตัว!

ผลการจับตะเกียบแม้ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า
1. นกต้องมีวัยที่เจริญพันธุ์ (เป็นหนุ่ม เป็นสาว)
2. สุขภาพนกสมบูรณ์ แข็งแรง
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ...

เมื่อตัดสินใจเลี้ยง
คนไทยชอบเลี้ยงสัตว์มาแต่โบราณ แต่ตินิดตรงที่ เรามักจะซื้อมาก่อนแล้วค่อยเตรียมอย่างอื่น แต่แนวทางที่ดีที่สุดของการเลี้ยงนกหรือสัตว์ใด ๆ ก็คือ ศึกษาหาข้อมูล ประเมินความพร้อมตัวเอง และตัดสินใจก่อนว่าจะเลี้ยงอย่างไร จำนวนที่จะเลี้ยง เลี้ยงที่ใด ใครจะดูแล ฯลฯ
เมื่อตัดสินใจแล้วอย่างแรก คือ เตรียมทุกอย่างให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำนกมาเข้ากรง  และหลักในการพิจารณา ก็อาจมีแนวทางดังนี้

1. กรงเลี้ยง   
ในกรณีเลี้ยงหลายตัว ต้องใช้กรงที่ใหญ่พอสมควร และที่สำคัญซี่กรงควรเป็นซี่ลวดที่แข็งแรง ไม่ควรใช้กรงที่พ่น หรือชุบสี เพื่อนกชนิดนี้ ชอบแทะอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นพึงระลึกอยู่เสมอว่า เลือกกรงผิด สิ่งที่เหลือก็คือ กรงเปล่า ๆ พร้อมกับร่องรอยของช่องเล็ก ๆ ที่ผ่านกันกัดจนขาด...

2. อาหาร
   อาหารสำหรับนกแก้วชนิดนี้ ประกอบด้วยกลุ่มเมล็ดพืช และอาหารสด
   กลุ่มเมล็ดพืชประกอบด้วยเมล็ดพืชต่าง  ๆ อาทิ เมล็ดทานตะวัน,ฟักทอง,มิลเลต,ข้าวไรน์,ข้าวเปลือกนกเขา,ฮวยมั้ว ฯลฯ สลับด้วยอาหารสดยามบ่าย เช่น ข้าวโพด ผลไม้หลากชนิดหั่นผสม เช่น แอปเปิ้ล,องุ่น,ส้ม แครอท บล๊อกเคอรี่ หญ้าขน ผักโขม ตะไคร้ ฯลฯ

3. สถานที่
ในกรณีที่เป็นกรงรวม (aviary) ควรมีความสูงสักหน่อย อย่างน้อย ควรจะเป็นสัก  1.60 เมตร (หากเป็นกรงที่เตี้ยกว่า ก็ควรวางหรือทำฐานให้สูงให้ได้ประมาณนี้) เหตุผลก็เพราะกรงที่ต่ำเกินไป จะทำให้นกเกิดความเครียด เพราะธรรมชาตินกชนิดนี้ไม่ใช่นกที่หากินบนดิน แบบพวกนกเขา,หรือนกฟินซ์ และความหวาดระแวงต่อศัตรูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น งู แมว ฯลฯ
กรณีเลี้ยงเป็นคู่ กรงลวดหมอนเบอร์ 2 (ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงจำพวกนกจะทราบดี) ดูจะเหมาะสมดี  และควรใช้วิธีแขวนติดผนังทึบ และด้านบนปิดทับด้วยแผ่นพลาสติกใส (ป้องกันนกกระจอกเกาะแล้วถ่ายมูลลงในน้ำดื่มนก)
สถานที่จัดวาง หรือ แขวน ควรอยู่นอกบ้านและอยู่ใต้ชายคา (เว้นกรณีลูกนกที่เชื่อง) ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดโกรกจนเกินไป และหลีกเลี่ยงฝนที่จะสาดได้ รวมทั้งแดดที่ส่องอยู่ตลอดเวลาเกินไป

4. อุปกรณ์ในกรง
ประกอบด้วย ถ้วยใสอาหาร (แนะนำให้เป็นวัสดุแข็งจำพวก สแตนเลส หรือ ถ้วยที่ทำจากดินเผา) หลอดน้ำ หรืออ่างน้ำดื่ม , คอนไม้ ซึ่งควรมีมากกว่า 1 คอน ,ชิงช้าที่ทำจากไม้ แนะนำให้ใช้ไม้มะขามหรือไม้เนื้อแข็งมาทำเอง (หาอ่านคอนไม้หรือชิงช้าในเรื่องนกซีบร้าฟินซ์)   เอาละ.. เมื่อทุกอย่างข้างต้นจัดเตรียมกันแล้วและพอรู้จักพื้นฐานกว้าง ๆ รวมทั้งแนวทางการแยกเพศได้แล้ว ก็เริ่มไปหานกมาเลี้ยงกัน

สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยซีเรียสเรื่องการนำมาเลี้ยงเป็นคู่ ๆ ก็ง่ายหน่อย เพราะอาจเลือกนกมาเลี้ยงรวม  ๆ กันหลายตัว และเมื่อนกเริ่มจับคู่กัน จึงค่อยแยกมาจับตะเกียบตรวจความชัวร์อีกครั้ง ก็ไม่เลวนัก การเลี้ยงแบบนี้ ควรเลือกนกที่ยังไม่แก่ (นกเด็ก) ซึ่งดูจากแข้ง,ตีน,และจงอยปาก จะต้องดูสดใสไม่มีร่องหยาบกร้าน ดวงตาสดใส ตื่นตัวตลอดเวลา บริเวณขน ปีก ไม่ฟูฟ่อง เรียบสะอาด ที่ก้นสะอาดปราศจากคราบของมูลติดอยู่

เมื่อได้นกมาแล้ว ก่อนที่จะปล่อยนกเข้าสู่กรง ให้จัดเตรียมอาหารและทุกอย่างให้เรียบร้อยเสียก่อน อาหารของนกแก้วชนิด ประกอบด้วย เมล็ดทานตะวันดำเล็ก (นกจะชอบกว่าชนิดอื่น) ข้าวเปลือกนกเขา(เมล็ดสั้น) มิลเลตขาว,ฮวยมั้ยเล็กน้อย ผสมกันแล้วใส่ถ้วยวางไว้ให้


เที่ยวหน้า จะเขียนต่อเกี่ยวกับเรื่อง การเพาะพันธุ์นกชนิดนี้และการเลี้ยงลูกป้อนนกกันครับ..
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ...

ในการเลี้ยงนกแก้วเลิฟเบริด์ในเชิงเพาะพันธุ์นั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการเลี้ยงในลักษณะเป็น คู่ ผู้กับเมีย กรงที่ใช้สำหรับการเพาะพันธุ์ที่ได้ผลสำหรับฟาร์มเลี้ยงคือ กรงลวดหมอนขนาด เบอร์ 2 หรือ อย่างต่ำ เบอร์ 3 ซึ่งจะมีขนาดความยาวของกรงประมาณ 3-4 ฟุต และสูงราว 2-3 ฟุต

อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ รังฟัก หรือกล่องฟัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตเป็นแบบสำเร็จรูปซึ่งทำด้วยไม้อัด และมีช่องสำหรับทางเข้าของนกเส้นผ่าศูนย์กลางราว 3 นิ้ว

ตัวกล่องฟักจะถูกติดเข้ากับด้านข้างของกรง โดยหันช่องสำหรับเข้า-ออกของนกไว้ด้านในกรง และมีประตูสำหรับเปิดได้อยู่ด้านนอกเพื่อการตรวจและสำรวจเมื่อแม่นกไข่ หรือตรวจลูกนกที่ฟักออกจากไข่ รวมถึงความผิดปกติต่าง ๆ ภายในกล่องฟัก

[attach=1]
ตัวอย่างกรงเลี้ยง+กล่องฟัก

สำหรับผู้ที่เลี้ยงนกในกรงรวม เมื่อพบว่านกคู่ใด มีลักษณะที่สนิทสนมกันมาก เช่น อยู่ด้วยกันตลอดเวลา มีการไซร้ขนให้กันและกัน ฯลฯ และเมื่อผู้เลี้ยงตกลงใจที่จะนำคู่นกดังกล่าวมาใช้สำหรับการเพาะพันธุ์ ก็ต้องนำนกทั้งคู่มาตรวจเพศให้ชัดเจนอีกครั้ง


การตรวจเพศด้วยวิธีจับตะเกียบ หรือเรียกเป็นทางการว่า การสัมผัสกระดูกเชิงกราน (Pelvic Bone) เริ่มโดยจับตัวนกหงายท้องแล้วใช้ปลายนิ้วชี้แตะลงไปเบาบริเวณช่องท้องด้านล่างปลายกระดูกเชิงกราน ผลของการสัมผัส ถ้าพบว่ามีกระดูกแหลม ๆ อยู่ 2 จุดแยกห่างกันมาก นั่นคือเพศเมีย และถ้ากระดูกทั้งคู่อยู่ชิดกันมากจนเกือบจะติดกัน นั่นคือตัวผู้ 

ภายใต้การจับตะเกียบ มีเทคนิคที่สำคัญคือ จะต้องจับนกให้เร็ว เพราะการไล่จับนกเป็นเวลานานอาจทำให้นกเหนื่อย และทำให้กระดูกเกิดการขยายออก ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้  และเมื่อแน่นอนว่า การจับตะเกียบ เป็นไปอย่างที่ต้องการ ก็นำนกทั้งคู่เข้าสู่กรงผสมต่อไป

ในระหว่างที่นกอยู่ด้วยกันนั้น ให้ทดสอบพฤติกรรมนกที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ โดยการตัดหญ้าขน (หญ้าชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นตามริมคู หรือคลองที่มีความชื้นสูง ลักษณะเป็นปล้องด้านในกลวง ปลายแหลมคล้ายไผ่ ลำต้นมีขนขึ้นตลอดลำ นิยมใช้สำหรับให้วัวชน) วางไว้บริเวณพื้นกรงสัก 2-3 ก้าน   จะสังเกตว่า นกจะแทะหญ้าเหล่านั้น และถ้าพบว่ามีการคาบเข้าไปในกล่องเพื่อทำการสร้างรังสำหรับวางไข่  นั่นอาจเป็นสัญญานที่ดี ให้จัดหาหญ้าวางไว้ให้ทุกวัน จนกระทั่งสังเกตว่า นกนำหญ้าเข้าไปในกล่องจนหนาพอและเริ่มตีเป็นแอ่ง ก็เป็นอันว่านกอาจพร้อมแล้วสำหรับการผสมพันธุ์

[attach=2]
ภาพหญ้าขน

การผสมพันธุ์ของนกแก้วเลิฟเบริ์ดจะเกิดขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง โดยตัวผู้จะขึ้นเหยียบบนหลังตัวเมียและเริ่มผสมพันธุ์ซึ่งอาจใช้เวลาครั้งหนึ่งราว 5-10 นาที   หลังพบการผสมพันธุ์ให้เสริมอาหารจำพวกแคลเซี่ยม (แคลเซี่ยมที่ดีหาได้จากเปลือกไข่ไก่เปล่า ๆ หรือกระดองปลาหมึก)  และโปรตีนเช่นไข่ต้ม  จากนั้นไม่กี่วัน นกตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่ใบแรก
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

จันทร์กระจ่างฟ้า

ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว

Mr.No

มาต่อครับ.....

กระบวนการวางไข่ของนกจะเป็นไปตามธรรมชาติจนไข่ใบสุดท้ายออกหมด ซึ่งเฉลี่ย นกแก้วชนิดนี้จะวางไข่ราว 4-5 ฟอง (แต่ถ้าพบว่าไข่มีเกือบ 10 ฟอง นั่นคงต้องยิ้มกันละครับ เพราะแสดงว่าการจับตะเกียบของเราพลาดเอาตัวเมียมาเลี้ยงทั้งคู่ ...ฮา)
ขนาดของไข่นกแก้วชนิดนี้จะเล็กกว่าไข่นกกระทาซัก 20 เปอร์เซ็นต์ แต่สีของไข่จะเป็นสีขาวทั้งฟอง เมื่อไข่นกออกมาครบได้สัก 4-5 วันเราอาจะตรวจสอบไข่นกได้ว่ามีเชื้อหรือไม่ (กรณีไม่แนะนำสำหรับผู้เลี้ยงใหม่ ๆ เพราะอาจทำให้แม่นกเลิกฟักไข่ หรือจิกไข่จนเสียหายได้) 

[attach=1]
ภาพการฟักตัวของลูกนกเลิฟเบริด์

ในฟาร์มเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่จะทำเนื่องจากจะได้ไม่ต้องเสียเวลากับไข่นกที่ไม่มีเชื้อ
การตรวจไข่นกว่ามีเชื้อหรือไม่ โดยการจับไข่นกมาแล้วนำไฟฉายขนาดเล็กส่องติดกับไข่ในที่มืด กรณีพบว่าปรากฏเส้นเลือดขึ้นในไข่ ก็เป็นอันว่าเรากำลังจะได้ลูกนกในไม่ช้า แต่ล่วงไป 7 วันแล้วยังส่องไม่เห็นก็แสดงว่าไข่ใบนั้นอาจเสียหรือเป็นไข่ลมก็จำเป็นต้องทิ้ง

นกตัวเมียจะทำการฟักไข่ โดยตัวผู้จะไม่มี่ส่วนทำหน้าที่นี้ เว้นแต่การป้อนอาหารให้เพศเมียบ้าง หลังการฟักไข่ผ่านไปราว 20-22 วัน ไข่ใบแรกก็จะทะยอยถูกลูกนกใช้จงอยปากพิเศษ ที่เรียก egg tooth ซึ่งมีลักษณะคล้ายจงอยปากแข็ง ๆ ทำการเจาะไข่ออกมาเพื่อฟักตัวเองออกมา (egg tooth) จะหดหายไปเมื่อลูกนกเริ่มอายุได้สัก 8-10 วัน) มาจนครบทุกใบที่สมบูรณ์ ซึ่งจากนี้ไปกระบวนการเลี้ยงนกลูกป้อนโดย พ่อแม่นก ก็จะเกิดขึ้น

[attach=2]
ส่วนที่เป็นขาว ๆ เหนือจงอยปาก คือ Egg Tooth ซึงนกจะใช้สำหรับจดเปลือกไข่และจะหดหายไปเมื่อลูกได้ราวสัปดาห์

.......
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

มาถึงตอนนี้ มีคำถามว่า ถ้าอยากได้ลูกนกที่เชื่องกับผู้เลี้ยง หรืออยากขายลูกนกที่เป็นนกเชื่อง จะทำอย่างไร คำตอบก็คือ การนำลูกนกออกมาป้อนด้วยมือ

และแน่นอนว่า หากเราต้องการได้ลูกนกที่ความน่ารักและเชื่องต่อมนุษย์ ก็คงต้องจำเป็นต้องย้ายลูกนกที่มีอายุราว 2 สัปดาห์ ออกจากแม่นก เพื่อนำมาเลี้ยงดูเอง และใช้กระบวนการป้อนลูกนก โดยต้องยอมที่จะต้องเสียเวลาในการป้อนลูกนกทุก ๆ 4 ชั่วโมงในระยะแรก และลดความถี่ลง

การป้อนอาหารลูกนก อาจดูยุ่งยาก แต่เมื่อได้มีการฝึกฝนแล้วจะรู้สึกสนุกและมีความผูกพันระหว่างผู้ป้อนและลูกนกไปในตัว การป้อนอาหารลูกนกสำหรับมือใหม่ อาจใช้ช้อนกาแฟโลหะเล็ก ๆ แล้วใช้คีมบีบช้อนให้แคบลง ก็จะช่วยให้ป้อนง่ายขึ้น การป้อนชนิดนี้ แม้อาจช้าและมีการหกเลอะเทะบ้าง แต่นกจะมีความรู้สึกกับการได้ลิ้มรสอาหารและสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  ในฟาร์มเพาะพันธุ์ นิยมการใช้สลิงค์ป้อนอาหาร เพราะเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว และไม่หกเลอะเทะ แต่ต้องระมัดระวังสำหรับการใช้สลิงค์ที่สวมด้วยยางเส้น ต้องระวังเวลาสอดสายยางป้อนให้ถูกต้องลงกระเพาะ เพราะมิฉะนั้นหากอาหารหลุดเข้าสู่หลอดลม หรือการสอดใส่ยางที่ลึกเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายกับลูกนกได้

[attach=1]
การป้อนลูกนกแบบใช้ช้อนบีบปลายสองข้างให้แคบ

[attach=2]
ตัวอย่างอีกภาพ

[attach=3]
การใช้ไซริงค์ป้อนที่อาจสวมท่อยาง(ไส้ไก่จักรยาน)แล้วสอดเข้าไปให้ถึงกระเพาะพักอาหาร(crop)
อาหารสำหรับลูกป้อน ควรใช้อาหารที่ผลิตขึ้นสำหรับลูกนกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้อาหารสำหรับเด็กอ่อนป้อนนก เพราะระบบการดูดซึมของนกกับมนุษย์นั้นต่างกันมาก

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

ต่อ..

อาหารลูกป้อนเมื่อผสมกับน้ำแล้วไม่ควรข้น หรือ เหลวจนเกินไป และอุณหภูมิของอาหารจะต้องไม่ร้อน(อาหารที่มีอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดภาวะกระเพาะอาหารไหม้ หรือทะลุ เสียหาย (crop burn) ได้) และอาหารที่เย็นก็ก่อให้เกิดปัญหาอาหารไม่ย่อยได้ ทั้งสองปัญหาเป็นเหตุให้ลูกนกเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว (อุณหภูมิที่ดีสำหรับอาหารลูกป้อนคือระหว่าง 38 – 40 องศาเซนเซียส )
ลูกนกจะเริ่มโตอย่างรวดเร็ว และเมื่อขนปีกเริ่มขึ้นเต็ม ต้องระมัดระวังนกจะบินไปชนอะไรที่ก่อให้เกิดอันตรายได้

การเลี้ยงนกที่ถูกต้องและมีความพร้อม รวมทั้งมีความรักในสิ่งที่จะทำ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเยียวยาจิตใจมนุษย์ในยามที่สังคมมุนษย์เต็มด้วยความรุนแรง..เอารัดเอาเปรียบ และแก่งแย่งชิงกัน 


ทั้งหมดที่เล่ามา...จะเป็นไกด์ให้ผู้ที่รักและสนใจนกในตระกูลนกแก้ว นำไปปรับใช้ เพราะถ้าผ่านการทดสอบนกแก้วชนิดนี้แล้ว การเลี้ยงนกแก้วชนิดอื่น คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอีกต่อไป....ว่ามั้ยครับ

[attach=1]

เที่ยวหน้า...มีเวลา ผมจะพาเพื่อนสมาชิกผู้รักนกไปรู้จักกับนกแก้วมีหงอนตัวเล็กที่เป็นญาติห่างๆ ของนกกระตั้วทีเรียกกันว่า "ค๊อกคาเทล" กันครับ ส.หยิบตาข้างเดียว
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

จันทร์กระจ่างฟ้า

ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว

จันทร์กระจ่างฟ้า

สงสัยคุณ Mr.No จะไม่ค่อยว่าง หายไปนานเลย  ส.แย่จัง
ในโลกนี้ มีคนเพียงแค่ 2 คนที่ไม่มีความทรงจำ คนหนึ่งยังไม่เกิด ส่วนอีกคนตายไปแล้ว

User !

ข้าพเจ้าทิ้งท่านไว้ ในที่ซึ่งครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยเป็น : เออเนสโต เดอ  เกวารา

ผกาหม่อง

ผมเองสนใจและชื่นชอบนกมานานแล้วแต่ก็ยังไม่มีโอกาสสักทีวันนี้เบื่อเรื่องการเมือง บอกตรงๆไม่รู้จะร่อนไปเว็ปไหนดีให้พ้นเรื่องราวกวนใจ นึกขึ้นได้ถึงสิ่งที่อยากรู้อยากได้ตั้งแต่เด็กๆเลยลองหาดูก็มาเจอหน้าเว็ปนี้ แล้วก็รู้ว่าตัดสินใจไม่ผิดเลย ช่องโหว่ของผมได้รับการเติมเต็มไปอีกช่องแล้วครับ ขอบคุณมากครับที่แบ่งปันความรู้ให้ ขอบคุณจากใจเลยครับ ส.ยกน้ิวให้