ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชื่นชม..และอิจฉา "คนบ้านพรุ"

เริ่มโดย Mr.No, 19:43 น. 19 ต.ค 57

Mr.No

[attach=1]

  วันนี้ ตรงกับวันหยุดก็เลยได้มีโอกาสไปทำบุญทอดกฐินวัดปทุมธาราวาส แถวบ้านพรุ  บรรยากาศคึกคักมีคนบ้านพรุมาร่วมกันทำบุญทำกุศลกันมากมาย และพร้อมกันก็ทราบว่าท่านนายกไพรเมืองหาดใหญ่ก็แวะไปร่วมบุญกันที่วัดนี้ด้วย

ผมไม่ได้ขับรถไปบ้านพรุนานพอดู แต่วันนี้ลองขับมาทางเส้นหน้า ม.หาดใหญ่ เป็นถนนที่เรียกว่า ถนน อบจ.หรือไงเนี่ย? เพราะเส้นนี้สร้างด้วยงบประมาณจังหวัดสงขลา และเป็นเส้นเลี่ยงเมืองเลียบทางรถไฟสายปาดังเบซาร์

ผมกลับเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากกับ บ้านพรุ วันนี้...โดยเฉพาะสองข้างทางที่ความเจริญกำลังเข้ามา ซึ่งในไม่ช้าก็เชื่อว่าจะเชื่อม หาดใหญ่-บ้านพรุได้อย่างเป็นเมืองเดียวกัน

แต่ที่ต่างจากหาดใหญ่ก็คือ  เมื่อเข้าเขตบ้านพรุ สิ่งที่เห็นก็คือ "ความสะอาดสะอ้าน" ของถนนหนทางและบ้านเรือนละแวกนั้น
ในขณะที่เมืองหาดใหญ่กำลังก้าวข้ามขยะไปเป็น เมืองที่ไร้ถังขยะ ตามแนวคิด zero waste แต่เมื่อเข้าเขตบ้านพรุก็ยังพบว่าถังขยะมีมากจริง ๆ

สองข้างถนน มีถังขยะตั้งไว้แทบจะทุก 30-40 เมตร และที่สำคัญก็คือมันมีทั้งสองฝั่งซ้ายขวาไปตลอดแนวถนนเส้นนี้!
เห็นถังขยะมากขนาดนั้น....ขากลับจากวัด ผมจึงขอแวะขับรถทัวร์ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในเขตบ้านพรุว่าจะมีถังขยะไว้บริการประชาชนมากแบบสร้างภาพหลอกกันข้างนอกนั่นหรือไม่?

ผมขับเลาะไล่ไปตามซอย,ถนนต่าง ๆ อาทิ ซอยมณีโต, ซอยประชาชื่น, ถนนราษฎร์สามัคคี,สันติวิธี ฯลฯ  ยิ่งขับไปตามหมู่บ้านยิ่งทึ่ง เพราะถังขยะอยู่ห่างกันแทบจะทุก 20 เมตรสองฝั่ง 

ถนนคอนกรีตตามหมู่บ้านสะอาดสะอ้าน และแทบจะทุกบ้านส่วนใหญ่ก็จะเป็นบ้านอยู่อาศัยที่เป็นรุ่นเดิม มีรั้วรอบบ้างแต่่ที่น่าสังเกตคือ แทบทุกบ้านปลูกต้นไม้ เล็กบ้างใหญ่บ้างคละกันไป ทำให้ ย่านนี้คือย่านที่ต้องบอกว่า น่าอยู่อาศัยเอามาก ๆ

ถังขยะที่ให้บริการมากมาย..คงไม่ต้องถามชาวบ้านว่า จะทิ้งมันข้างถนนหรือเอาไปกองไว้หน้าบ้านใครให้มันรุงรังเพราะถังขยะมาบริการให้แบบแทบจะถึงหัวกะไดแบบนี้

มีคำถามว่า...ตกลง  การมีหรือเอาถังขยะออก แบบใด จะถือว่า "มาถูกทาง"

หลายเทศบาล...ไม่ว่าจะเป็น กระบี่,ตรัง หรือหาดใหญ่ หันมาใช้แนวคิดจะทำให้เมืองเป็นเมืองที่ปลอดขยะ และการเอาถังขยะออกจะช่วยบีบให้คนต้องเดินถือถุงขยะไปหาจุดถังวางถังขยะ..หรือมิฉะนั้นก็ต้องนำมาวางไว้หน้าบ้านตามเวลา เพราะว่าทางหน่วยงานจะมาเก็บตามเวลา

แนวคิดนี้..ฟังดูดี  แต่ผิดที่...ผิดเวลา  เพราะที่นี่มันประเทศไทย ...ยังไม่ใช่  ญี่ปุ่น สวีเดน หรือในอเมริกาบางรัฐ อย่างที่พวกท่าน ๆ ไปดูงานหรือแนวคิดของนักวิชาการที่ไม่เคยสัมผัสนิสัยคนไทย มันเขียนทฤษฎีไว้ให้

แม้นในประเทศญี่ปุ่นเอง การทำให้ถนนไร้ถังขยะ ก็มิใช่จู่ ๆ จะทำได้เลย แต่การสร้างวินัยและฝึกให้คนในชุมชนเค้ารู้จักและเข้าใจหลัก 3 ประการของขยะคือ "วินัย" "พิษภัย", และ "ความรับผิดชอบ" นั้นเค้าผ่านกระบวนการสร้างให้คนรู้จักเรื่องขยะและการทิ้งขยะจนทะลุปรุโปร่งมาแล้วเป็นเวลานานต่างหาก

ประเทศเยอรมนี ที่หลายคนทราบดีว่าคนประเทศนี้ มีวินัยเรื่องขยะและมีกระบวนการจัดการกับขยะได้อย่างชาญฉลาด ก็ยังต้องจัดให้มีถังขยะวางไว้ และวางไว้มากพอ ๆ กับแบบที่ผมเห็นที่บ้านพรุนี่ละ

เหตุที่ต้องมีถังขยะ..เพราะ ประเทศหรือเมือง นั้นต่างกับชุมชน ซึ่งในเมืองประกอบด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ สัญชาติ และที่สำคัญมิใช่มีจำเพาะคนในเมืองหรือชุมชนนั้น หากแต่ยังมีคนเมืองอื่น,นักท่องเที่ยว ที่ยังไม่เข้าใจในบริบทของวัฒนธรรมเรื่องวินัยเกี่ยวกับเรื่องขยะของคนเยอรมัน ดังนั้นเพื่อเป็นหลักประกันที่จะมิให้ขยะตกอยุ่บนถนนให้เห็น การมีถังขยะย่อมดีกว่า "เอาไปแอบ" และที่สำคัญ คนเยอรมันเองจะพลิกตัวเองเป็น ผู้คุมกฎ เมื่อพบนักท่องเที่ยวหรือใครก็ตามที่ละเมิดกติกาว่าด้วยขยะแทนเทศบาลหรือเมือง

ผมเคยอ่านเฟสบุ๊คของนักเรียนหญิงที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไทยเยอรมัน ..เธอเขียนด้วยความเจ็บปวดที่คนต่างชาติมองคนไทย ด้วยเหตุวันหนึ่งเธอเดินไปถามฝรั่งเมืองเบียร์ว่า จะทิ้งขยะได้ที่ไหนบ้าง?

คำตอบของตาน้ำข้าวก็คือ  "ทิ้งที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่บนพื้น"   และตามด้วยประโยคที่ว่า "..ที่นี่ไม่ใช่ประเทศไทยที่จะทิ้งอะไรตรงไหนก็ได้...นี่เธอมาจากพัทยาหรือ?

อ่านแล้วก็จื๊ดดดเข้าหัวใจคนไทย เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่า  คนไทยยังไม่พร้อมสำหรับ 3 หลักที่ว่า "วินัย" "พิษภัย" และ "ความรับผิดชอบ"

คนเยอรมัน,แคนาดา,ญี่ปุ่น ฯลฯ  เรียนรู้ว่า จะต้องทำอย่างไรกับขยะภายในบ้านตัวเอง...เด็ก ๆ โดยเฉพาะในเยอรมันถูกสอนให้รู้จัก "ขยะ" และแยกเป็นตั้งแต่ชั้นอนุบาล

ถังขยะที่แยกเป็นสี ๆ ตามประเภทของขยะ เด็ก ๆ เหล่านั้นรู้และเข้าใจ ..ดังนั้นเมื่อโตขึ้นเรื่องพวกนี้จึงเป็น "วินัย" และ "ความรับผิดชอบ"

โดยเฉพาะคนเยอรมัน ก่อนจะนำแยกนำพวกขวดสารพันใส่ถุงเพื่อนำไปทิ้ง เค้าจะล้างมันให้สะอาดก่อนจะนำไปใส่ถุงรวมด้วยซ้ำ!

ใครจะไปเชื่อว่า ในสวีเดนเอง ขยะในประเทศตัวเองถึงกับไม่พอเพียงในการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า ต้องสั่งขยะนำเข้าจากเดนมารค์!

ผมเขียนเรื่องนี้เพราะชื่นชม ท่านนายกเล็กเมืองบ้านพรุ..อิจฉาคนบ้านพรุ....และเชื่อว่าด้วยวิสัยทัศน์ของหมอหวูหรือนายกเล็กคนนี้ ในเรื่องต่าง ๆ น่าจะทำให้บ้านพรุกลายเป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศได้

สิ่งที่อยากฝากท่านก็คือ....การสานต่อเรื่องของการเสริมแนวคิดการเรียนรู้เรื่อง การแยกขยะและพิษภัยของขยะให้แก่เด็ก ๆ ตามโรงเรียนต่าง ๆ และประชาสัมพันธ์เรื่องการคัดแยกขยะในชุมชนต่าง ๆอย่างเข้มข้นจนเป็นวัฒนธรรม

ปัญหาที่ต้องเร่งแก้ก็อย่างที่ ท่านนายกประยุทธ์ ท่านบ่นถึงเมืองไทยนั่นละครับ.... 
ท่านบ่นว่า  "เมืองไทยมันแปลก...รณรงค์กันอยู่ได้ให้คัดแยกขยะ ..ชาวบ้านก็แยกขยะเสร็จ สุดท้ายรถขยะมันก็จับทุกอย่างโยนพรวดเข้าไปในรถขยะเหมือนเดิม...แล้วมันจะคัดแยกกันทำไม(วะ)!"


ดังนั้น..เมือรณรงค์ให้คนคัดแยกแล้ว...สิ่งที่ต้องลงทุนก็คือ จัดสร้างถังขยะแยกประเภท ตามสี เช่นขยะอินทรีย์ที่นำไปเข้ากระบวนการผลิตปุ๋ยได้, ขยะพวกพลาสติก, ขยะพวกขวด,แก้ว, ขยะมีพิษ ฯลฯ ทำให้หลากสีเป็นเรื่องเป็นราวแบบนี้ ชาวบ้านก็อยากคัดแยะให้

ขยะอินทรีย์หาทุนดี ๆ มาทำโรงผลิตปุ๋ยราคาถูกจำหน่าย,  ขยะพวกรีไซเคิล ก็สร้างรายได้งาม, ที่เหลือทำอะไรไม่ได้ยังเอาไปเผาสร้างพลังงานได้สารพัน  แบบนี้ต้องเตรียมโครงการต่อยอดให้เป็นรูปธรรม

ทำได้ดังนี้.....เทศบาลเมืองบ้านพรุ จะมีสง่าราศี.... งดงามแบบไม่ต้องมี ตลาดน้ำ,หรือฟาร์มแพะฟาร์มแกะ ตามก้นเพื่อนเค้า...งดงามตามประเพณีและวัฒนธรรมอย่างเรา และค้นหาตัวตนของคนบ้านพรุเอง ก็สบายแล้วครับ....

ส่วนเมืองไหนจะไร้ถังขยะ ก็เรื่องของเค้า...ทิ้งกองไว้หน้าบ้าน...เก็บทันก็เอา..เก็บไม่ทันหมาเหมอคุ้ยกระจุยกระจาย แถมฝนตกน้ำนองพาเอาขยะไปอุดท่ออุดตะแกรง ท่วมบานตะไท แบบที่เมืองใหญ่ๆ ใกล้บ้านพรุ เค้ากำลังสุนกสนานกันนั่นละครับ ส-เหอเหอ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ทุ่มหมดตูดกว่าจะหลุดมาได้

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 19:43 น.  19 ต.ค 57
.
.
.
ส่วนเมืองไหนจะไร้ถังขยะ ก็เรื่องของเค้า...ทิ้งกองไว้หน้าบ้าน...เก็บทันก็เอา..เก็บไม่ทันหมาเหมอคุ้ยกระจุยกระจาย แถมฝนตกน้ำนองพาเอาขยะไปอุดท่ออุดตะแกรง ท่วมบานตะไท แบบที่เมืองใหญ่ๆ ใกล้บ้านพรุ เค้ากำลังสุนกสนานกันนั่นละครับ ส-เหอเหอ

อย่าไปว่าเขาหน่า เขาเป็นถึงนายก ส.ท.ท. แถมได้รางวัลยอดเยี่ยมระดับประเทศอีกเพียบติดโชว์ไว้ตามสี่แยกทั่วเมือง
กะอีแค่เจอฝนต้นฤดูตกหน่อยเดียวน้ำท่วมรถราติดทั่วเมืองแค่นั้นเอง ทน ๆ ไปเถอะหน่า...นับจากนี้ไปอีกสองเดือนเต็มๆ
จะแรงกว่านี้อีกนะตะเอง !!!

ส.เดี๋ยวโดน


wareerant

เอาถังขยะออกแล้วจะไปทิ้งที่ไหน ทิ้งเพ่นพ่านกราดเกลื่อนนะสิ สงสัยมีหัวไว้คั่นหูอย่างเดียว คิดไม่เป็น ดีกรีไม่ได้ช่วยให้คนแก้ปัญหาได้เลย วัน ๆ หลงระเริงอยู่แต่หัวโขนกับป้ายโฆษณายกหางตัวเอง ไม่ลืมตาดูบ้างว่าเพื่อนเขาไปถึงไหนกันแล้ว 

คนไทยทำอะไรแบบไฟไหม้ฟาง พอรณรงค์กันก็ทำกัน อย่างในโรงพยาบาลหาดใหญ่ เคยมีถังขยะหลายสีตั้งไว้ คนก็ไม่แยกทิ้ง เจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำอะไร สักพักก็เก็บถังขยะไปโยนไว้ห้องเก็บของ

อยู่ ๆ ก็ผุดโครงการขึ้นมาอีก งบประมาณไง ได้เบิก ทำแป๊บ ๆ เลิก ของบ ทำแป๊บ  ๆ เลิก

อย่างในห้องสมุดประชาชน ตอนนี้ห้องดูหนัง เลิกแล้ว ห้องอินเตอร์เน็ต ก็เลิกแล้ว

เดี๋ยวก็ผุดโครงการขึ้นมาอีก คอยดู

ทุ่มหมดตูดกว่าจะหลุดใบแดง


"ชาติตระกูลดี การศึกษาดี ฐานะดี เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานดี ดูเหมือนเป็นคนเก่ง ดูเหมือนเป็นคนดี"

คิดถึงนายกหัวมัน...ก่อนที่จะเป็นนายกคลองแห ไม่มีคุณสมบัติข้างต้นเลยสักข้อ แถมถูกมองเป็นคนสีเทา ๆ
แต่ผลงานและความจริงใจ กลับสวนทางกับภาพพจน์โดยสิ้นเชิง

คิดถึงนายกหัวเกียง...ก่อนที่จะเป็นนายกเมืองใหญ่ มีคุณสมบัติข้างต้นครบทุกข้อ แถมถูกมองเป็นคนขาวสะอาด
แต่ผลงานและความจริงใจ กลับสวนทางกับภาพพจน์โดยสิ้นเชิง


แมวคราว

สายไฟตรงแยกโคกนาวก็ทิ้งเรี่ยราด ไม่สงสารคนเดินบนทางเท้าบ้างหรือไร หรือนโยบายเดียวกันกองๆ ไว้ เดี๋ยวรถขยะมาเก็บเอง

Mr.No


ผมเห็นว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ เรา ๆ ท่าน ๆ จะสามารถช่วยกันได้ แบบเดียวกับกรณีการปฎิรูปเรื่องวินัยจราจร ในกระทู้ที่มีผู้ตั้งไว้ก่อนหน้า

มีหลายอย่างที่ผมคิดว่า เทศบาลนครหาดใหญ่ ยังมีข้อผิดพลาดโดยเฉพาะการขาดการให้ประชาชนได้มี่ส่วนร่วมในทางความคิด และการประชาสัมพันธ์ในรายละเอียดของแนวทางหรือโครงการต่าง ๆ ที่จะทำ

ซึ่งรางวัลที่ทางเทศบาลได้รับโดยเฉพาะในเรื่องโครงการปฐมภูมิใกล้บ้านใกล้ใจ เช่นการแจกนม, แจกไข่ รถพยาบาล ฯลฯ  ซึ่งก็นับเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ถ้าเพียงแค่ระดับ "ดี" เพียงเรื่องนี้ก็ยังมิอาจทำให้ภาระกิจที่ยังไม่บรรลุและผิดพลาดอีกหลายเรื่องกลายเป็นเรื่องที่ติดป้ายแล้วคนเข้าใจว่ามันเป็นผลงาน "ภาพรวม" ของการบริหารงานทั้งหมด ก็คงยังไม่ใช่

หลายเรื่องที่เห็นได้ชัดว่า ในห้วงเวลาที่ผ่านมา หาดใหญ่ ยังไม่ได้เดินหน้าไปถึงไหน..  นโยบายหลายอย่างยังไม่ได้ทำหรือแย่กว่าเดิม อาทิด้านการจราจร,ด้านชุมชนและสวัสดิการ,ทรัพยกรและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ หลายนโยบายยังเป็นเรื่องเพ้อฝัน และค่อนไปทางการเมืองนิยม เช่นกรณีชุมชนสัมพันธ์หรือพวกคณะกรรมการชุมชนที่ยังไม่สะท้อนการเป็นต้วแทนของชุมชนมากไปกว่าด้านฐานเสียง  หรือบางกรณียังค่อนไปทางประชานิยม, (แม้นกระทั่งเรื่อง แจกนม,แจกไข่ หรือเรื่องรถพยาบาลบริการที่ท่านได้รางวัลนั่น) 

ผมคิดว่า...นายกไพร จะต้องเชื่อว่า การชี้โทษของใครบางคนให้เรารู้ นั้นให้ถือว่า ผู้ชี้โทษนั้นต้องถือเป็นกัลยาณมิตรตามหลักพุทธวจนของพุทธองค์ ดังนั้น ขอให้ทราบว่า สิ่งที่ผมเขียนทั้งหมดมิได้มุ่งดิสเครดิตเพื่อนัยยะทางการเมืองใด ๆ แม้นแต่น้อย

ในหลวง ท่านทรงพระราชนิพนธ์ "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" ซึ่งทรงแปลจากหนังสือเดิมชื่อ A Man Called Intrepid ขมวดสาระสำคัญคือชี้ให้เห็นถึง ตัวเอกของเรื่องคือ นักจารกรรมชาวอังกฤษต่อต้านเครือข่ายฮิตเลอร์และนาซีในยุคสงครามโลกที่่กำลังบ้าคลั่งสงครามเพื่อยึดอำนาจโลก โดยชี้ให้เห็นว่า การทำงานในภารกิจที่ต้องเสียงแม้กระทั่งชีวิตเพื่อปกป้องชาตินั้น แม้นแต่ชื่อเสียงจริงหรือตัวตนที่แท้ก็ยังต้องเก็บเป็นความลับ  หรือแม้นบางคนจะตายไปก็เป็นการตายแบบเงียบ ๆ ที่ไม่มีใครแม้แต่จะทราบว่า เขาคือส่วนหนึ่งของการช่วยให้ชาติพ้นภัยนั้น ส่วนหนึ่งมาจากบุคคลเหล่านั้นซึ่งไม่ต่างกับคำพังเพยไทยที่ว่า "ปิดทองหลังพระ" คือทำงานที่มุ่งเอางานมิใช่มุ่ง "ชื่อเสียงเกียรติยศหรือหน้าตา"

พลเอกประยุทธ์ ท่านเคยประกาศดังชัดว่า  ต่อไปนี้หน่วยงานหรือองค์กรใด เวลาที่ท่านไปเยือน ให้งดเว้นการ "ประจบสอพลอ" เช่นพวกป้ายต้อนรับที่มีรูปนายกหรา..หรือวาทะใด ๆ ที่เป็นการเชลีย ...ท่านสั่งชัดว่า "ไม่ต้องมาประจบ!" 

ดังนั้นในหลายภาคส่วนจึงเป็นธรรมดาที่จะต้องเดินตามแนวทางผู้นำ...และเข้าใจสไตล์การทำงานของ "นาย" ซึ่งแตกต่างกันตามนิสัย บ้ายศ,บ้าอำนาจ,บ้าเงิน,บ้าเกียรติ,บ้ายอ  ฯลฯ สารพัน

จากเสียงดุ ๆ ดัง ๆ ของ นายกประยุทธ์...วันนี้เราจึงเห็นในหลายท้องที่ เริ่มปราศจากพวกป้ายเชลียตามเสาไฟฟ้า โดยเฉพาะพวกป้ายที่มีพวกภาพนักการเมืองหน้าดำ ๆ หน้าบ้าน ๆ  พนมมือโชว์แหวนงามหราตามเสาไฟ...ตามต้นไม้ อย่างที่เคยเห็นในยุครัฐบาลนายทุนที่ผ่านมา

  ดังนั้น เรื่องแนวคิดในการทำให้เมืองหาดใหญ่ เป็นเมืองปลอดถังขยะนั้น ขอให้ทบทวนใหม่ และพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการจัดการขยะใหม่เพื่อให้สอดรับกับเงื่อนไขของวิถีชีวิตและเงื่อนเวลา  โดย

[attach=1]

1.   เทศบาลฯ ควรจัดให้มีถังขยะในรูปแบบใหม่ที่ชัดเจน มิใช่ ถังขยะสีน้ำเงินตุ่น ๆ ที่ใครก็ใส่มันทุกอย่างในนั้น ตั้งแต่ อาหารสด,แห้ง,พลาสติก ฯลฯ  ยันซากหมาเน่า! 
ถังขยะ ต้องกำหนดให้เป็นมาตรฐานสากล โดยจะใช้แบบอังกฤษ, หรือเยอรมัน ที่แยกตามสี ตามประเภทขยะ วางไว้ให้มากจุด ทั้งถังแยก (bins)  และถังรวม (container Garbage)


2.   แทนที่จะเดินรณรงค์ให้คนเอาขยะมากองไว้ตามเสาไฟฟ้า อยากให้เอาเวลาแบบเดียวกัน รณรงค์ให้คนช่วยคัดแยกขยะอย่างจริงจัง โดยจัดเรียกประชุมและรณรงค์ผ่านทางบรรดาพวกแกนนำชุมชนที่ท่านควรจะใช้ให้เป็นประโยชน์ และตั้งทีมศึกษาติดตามประเมินผลการทิ้ง..การคัดแยกขยะ ของแต่ละชุมชนว่า แห่งใดทำได้ดีและทำได้แล้วก็ติดป้ายให้ชัดว่า ชุมชนนี้คัดแยกขยะ อะไรทำนองนี้


[attach=2]
ตัวอย่างการแยกถังขยะ มหาวิทยาลัยมหิดล

3.   รณรงค์ให้แต่ละหน่วยงานราชการในเขต,สถาบันการศึกษาทั้งในเครือของเทศบาล และเอกชนในเขต ให้ช่วยกันทำให้สถานศึกษาและสถาบันนั้น เรียนรู้จัดการขยะ,การคัดแยก ซึ่งรวมถึงการขอให้สถานที่นั้น ๆ จัดให้มีถังแยกขยะสอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกันกับแนวทางของเทศบาล เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

4.   จริง ๆ แล้วข้อนี้จริง  ๆ ควรเป็นข้อแรก เพราะหากขยะมีการคัดแยกแล้วเรียบร้อย แต่ทุกอย่างก็ใส่พรวดลงในรถขยะเทศบาลคันเดียวกัน และเอาไปเผามันทุกอย่าง สุดท้ายก็ไม่รู้จะคัดแยกไปทำไม่....


  ดังนั้นที่ถูกต้องคือควรกำหนดนโยบายรองรับ และมีแผนว่า เมื่อประชาชนคัดแยกขยะให้แล้ว หน่วยงานที่เก็บขยะจะทำอย่างไรกับขยะเหล่านั้น  ขยะชีวภาพ,ขยะพวกรีไซเคิล ฯลฯ จะทำอย่างไรกับมัน  เช่น หากเทศบาลฯ ไม่มีงบประมาณที่จะจัดทำโรงงานแปรรูปขยะ ก็อาจเสนอให้เอกชนที่สนใจ(ซึ่งผมเชื่อว่ามีมาก ถ้าศึกษาและนำเสนอให้เป็น) เช่นโรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพก็จะรับซื้อพวกขยะชีวภาพ ไปดำเนินการของเค้า, และส่วนที่ไม่สามารถรีไซเคิลหรือทำอะไรได้ค่อยส่งไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว และมีความเห็นว่า ขยะควรนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิใช่ ทุกอย่างเอาไปเผาผลิตกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว)

        เรื่องที่ผมเขียน มิอาจเป็นการสอนสังฆราชครับ..แต่อยากให้ทำแบบมาตรฐานและทำให้ "ขยะ" นั้นมีคุณค่ากลับมาให้คนได้เห็นว่ามันยังไม่ได้ "หมดค่า"

[attach=3]
โรงแรม พาเลซโฮเต็ล โตเกียว

   ตัวอย่าง โรงแรมหรูในญี่ปุ่น ซึ่งมีวัตถุดิบในครัวพวกของสดจำนวนมากต้องถูกทิ้ง...เค้าลงทุนสร้างเครื่องอบและผลิตปุ๋ยชีวภาพ เองด้วยวัตถุดิบที่เคยไปทิ้งเช่น เศษอาหาร,เศษหมู,ปลา,ไก่ ฯลฯ อบและอัดออกมาได้สะอาดแบบที่คนทำเอาเคี้ยวกินให้ดูได้เลย

   ปุ๋ยที่ได้ โรงแรมนำไปให้กับทาง เกษตรกรในเครือที่ปลูกผัก,ผลไม้ส่งให้โรงแรม เพื่อเป็นหลักประกันว่า ผัก,ผลไม้ที่ลูกค้าในโรงแรมบริโภคจะเป็นผัก,ผลไม้ที่สะอาดปราศจากสารเคมีล้วน ๆ ...ตัวอย่างนี้ เจ๋งดีใช่มั้ยครับ

   ดังนั้น เรื่อง "ขยะ" จึงเป็น สิ่งที่จะท้าทายความสามารถของ ทีมบริหารของเทศบาลนครหาดใหญ่ ว่าจะทำให้เป็นรูปธรรมและประชาชนได้เห็นความเปลี่ยนแปลงจริง โดยยึดหลัก "นายอินทร์ (Intrepid)" ที่ทำงานโดยยึดเอา ผลของงานเป็น รางวัลชีวิต   แม้นจะต้องจากไปแบบที่ไม่มีใครรู้ว่าเราทำ  ชีวิตก็จะงดงามและเป็นสุข แบบไม่ต้องมีแบนเนอร์,ไวนิล มาเป็นเครื่องช่วยหายใจเมื่อยามใกล้ฤดูเลือกตั้งแบบที่ผ่าน ๆ มา จริงมั้ยครับ!


      เที่ยวหน้า...ผมจะเขียนเรื่องที่ยากทีสุดและท้าทายที่สุดของประเทศ คือเรื่อง "ทางเท้า"  อย่าพึ่งเคืองกันนะครับ.



..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ผู้ประสบเหตุ


ฝากถึงนายกฯบ้านพรุ

ถนนตัดทางรถไฟก่อนจะเข้าเขตชุมชนบ้านพรุ ตรงกลางเลนมีหลุมลึกระหว่างรางรถไฟกับพื้นถนน
มีรถจักรยานยนต์สะดุดหลุมดังกล่าวเสียหลักล้มคว่ำหลายคันแล้ว ถ้ามีรถใหญ่ตามหลังโดนทับแบนแน่
กรุณาแก้ไขโดยด่วน...แค่เอาหินคลุกยางมะตอยไปกลบเท่านั้นเอง

ส.โกรธอย่างแรง


หาดใหญ่ใหม่

วาทกรรมที่สวยหรู หาดใหญ่ไม่ใช่ของตระกูลทีมเก่าเขาเลยเสียสละสนามระดับชาติมาช่วยหาดใหญ่แล้วหาดใหญ่วันนี้กับวันก่อนต่างกันมากไหม ดีขึ้นหรือดีลงคงตอบกันได้
หาดใหญ่ใหม่ www.facebook.com/hatyaimai
เมืองหลวงภาคใต้ หลากหลายเรื่องราว บอกเล่าแบ่งปัน

Pipattt

ถ้าเทียบกับเทศบาลคอหงส์แล้วคนที่อยู่เทศบาลหาดใหญ่จะภูมิใจขึ้นมาทันทีครับ 55

w_2005

นักการเมืองไม่มีดีซักคน