ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

31

เริ่มโดย กิมหยง, 20:54 น. 18 ธ.ค 53

ลูกแมวตาดำๆ

ภาพนี้นับได้ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของเมืองสงขลาเป็นอย่างยิ่ง
มองเห็นอาคารสถานีรถไฟสงขลาและทางรถไฟอยูทางด้านซ้ายของภาพ

ด้านขวาที่เป็นเส้นตรง ๆ คือ ถนนรามวิถี ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จไม่นานครับ
สำหรับหลังคาโบสถ์ที่เห็นในภาพ
เป็นโบสถ์วัดแจ้ง ซึ่งโบสถ์ของวัดหลายแห่งในสงขลา

ลูกแมวตาดำๆ


ลูกแมวตาดำๆ



๕๗

ในจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น การกสิกรรมรุ่งเรืองเจริญมาก
เช่นการทำนาแลการทำไร่แลสวนผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนสัตว์
ต่าง ๆ เช่น ช้างแลโคกระบือเปนต้นนั้น ย่อมเลี้ยงแลผสมกันตาม
เชิงเขาต่าง ๆ อันเปนที่เหมาะสำหรับการนี้

จากสถานีแยกนคร ทางรถไฟตัดตรงไปยังอู่ตะเภาผ่านพัทลุง
พัทลุงนี้ก็เปนเมืองเก่าแก่โบราณเหมือนกัน เคยเปนที่ประทับของเจ้า
ผู้ปกครองนครอันมีอำนาจในภาคนี้มาแต่ก่อนแห่งหนึ่ง แลได้เคยมีการ
ค้าขายกับประเทศอินเดียมาแต่ในกาลโบราณนั้นด้วยเหมือนกัน ส่วน
พวกพราหมณ์ในจังหวัดนี้ซึ่งเปนผู้สืบสายต่อมาจากพวกพราหมณ์นักบวช
ซึ่งมาแต่ประเทศอินเดียในกาลโบราณหลายร้อยปีมาแล้วนั้น ก็ยัง
ประพฤติ์แลถือเพศนักบวชพราหมณ์อยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ สถานีที่
พัทลุงนั้นอยู่ห่างจากที่ว่าการจังหวัดซึ่งอยู่ริมทะเลสาป ณ ตำบลลำปานั้น
ประมาณ ๗ กิโลเมเตอร์ สำหรับผู้ที่ชอบเที่ยวทางเรือแล้ว ก็ควร
หยุดเที่ยวในทะเลสาปตามเกาะรังนกแลที่อื่น ๆ ด้วยเปนที่น่าสนุกอยู่
แลงามดี จากพัทลุงมีถนนข้ามคาบสมุทไปยังฝั่งตวันตกผ่านทางช่อง
เขาแลทับเที่ยงไปยังตรังดังได้กล่าวมาแล้วนั้น ถนนสายนี้ก็ได้ตัดไป
ตามทางดั้งเดิมที่เคยใช้เปนทางเดินไปมาค้าขายกันมาแต่ในสมัยโบราณ
แล้วนั้นเอง ในจังหวัดนี้มีการทำนา, การเลี้ยงโค, กระบือ, สุกร, เป็ด,
ไก่, แลจับปลาในทะเลสาปเปนการสำคัญ

ลูกแมวตาดำๆ



๕๘

สถานีอู่ตะเภานั้น ที่ระยะกิโลเมเตอร์ ๙๒๕ จากกรุงเทพ ฯ นั้น
มีทางแยกไปยังสงขลายาว ๒๗ กิโลเมเตอร์ทางหนึ่ง
แลแยกไปยัง
เมืองเคดา (ไทรบุรี) อีกทางหนึ่งยาว ๔๘ กิโลเมเตอร์ ไปต่อกับทาง
รถไฟในแหลมมลายูของอังกฤษที่พรมแดนเมืองเคดา

สงขลานั้นตั้งอยู่ริมทะเลสาบตอนที่ติดต่อกับทะเลใหญ่ แลท่า
จอดเรือที่สุดทางรถไฟ ในทะเลสาปที่สงขลานี้ นับว่าเปนท่าจอดเรือ
อย่างวิเศษที่เปนเอง ด้วยตามฝั่งตะวันออกของคาบสมุทนี้ ตั้งแต่
กรุงเทพ ฯ ลงไปยังเมืองสิงคโปร์นั้น นอกจากที่สงขลานี้แล้วก็ไม่มี
ท่าจอดเรือดีเลย ถ้าขุดปากช่องทะเลสาปนั้นให้ลึกพอ หรือขุด
คลองตัดแหลมสนไปออกตรงเกาะหนูเกาะแมวอันเปนที่กำบังลมมรสุม
แลมีน้ำลึกนั้นขึ้นแล้ว ก็จะเปนท่าจอดเรืออย่างเอกแห่งหนึ่ง เพราะ
เรือสินค้าขนาดใหญ่จะเข้าออกได้สดวกตลอดปี ด้วยในทะเลสาปนั้น
มีน้ำลึกมากกว้างขวางพอสำหรับเรือขนาดใหญ่ที่กินน้ำลึกจะเข้าไปจอด
แลทอดสมอได้มาก ในเวลานี้เข้าได้แต่เรือขนาดย่อมที่กินน้ำเพียง
๗ ฟิตเท่านั้น เรือใหญ่เข้าไปจอดใกล้ฝั่งได้เพียง ๒ ถึง ๓ กิโลเมเตอร์
เปนอย่างใกล้ แล้วต้องถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงอีกชั้นหนึ่งซึ่งทำให้
ราคาแพงมากขึ้น ส่วนในฤดูมรสุมนั้นเรือใหญ่ต้องไปจอดบังลมอยู่ที่
เกาะหนูเกาะแมวซึ่งอยู่ห่างออกไปอีกมาก การถ่ายสินค้านั้นลำบาก
ยิ่งนัก ที่ท่าเรือสงขลานี้กรมรถไฟได้ขนเครื่องรถไฟขึ้นแล้วประมาณ
๓๐,๐๐๐ ตันกว่า ถ้าได้แก้ไขท่าเรือให้เรือใหญ่จอดได้สดวกทุกฤดู

ลูกแมวตาดำๆ


ลูกแมวตาดำๆ


ลูกแมวตาดำๆ


ลูกแมวตาดำๆ



๕๙

กาลแล้ว ไม่น่าสงไสย์เลยว่าคงจะมีบริษัทเดินเรือกลไฟนำเรือใหญ่
มาเดินในระหว่างสงขลาอันเปนสุดทางรถไฟทางฝั่งตวันออกของประเทศ
สยามแลเมืองจีน แลเดินเรือรับส่งสินค้าแลคนโดยสานในระหว่าง
ประเทศสยามภาคนี้แลเมืองจีนเปนแน่ ด้วยเปนทางตรง ส่วนคน
โดยสาน (จีน) แลสินค้าที่จะมีไปมาในระหว่างมณฑลภูเก็ตแลมณฑล
อื่นในภาคนี้ คงจะไปมาทางนี้มาก ด้วยไม่ต้องอ้อมไปขึ้นที่ปีนัง
หรือเลยขึ้นมายังกรุงเทพ ฯ ก่อนดังที่เปนอยู่ในเวลานี้ ถ้าจัดการให้
เปนได้เช่นนั้นแล้ว ผลประโยชน์ของการรถไฟก็จะเจริญขึ้นโดยเร็ว
ด้วย ทั้งการกสิกรรมแลพานิชการในพระราชอาณาจักร์ภาคนี้ ก็จะ
เจริญตามขึ้นด้วยเหมือนกัน

จากตำบลอู่ตะเภานั้น ทางสายกลางตัดตรงลงไปยังทิศใต้ผ่าน
มณฑลปัตตานีไปต่อกับทางรถไฟของอังกฤษที่แม่น้ำโกโละอันเปนพรมแดน
ระหว่างปัตตานีแลกลันตันนั้น เปนระยะทางยาว ๒๑๙ กิโลเมเตอร์ รวม
ระยะทางจากกรุงเทพพระมหานครตำบลบางกอกน้อยลงไปถึงพรมแดน
เมืองกลันตัน เปนทางยาวประมาณ ๑,๑๔๕ กิโลเมเตอร์ ในเวลานี้
ทางที่ทำแล้วเสร็จเปิดรับคนโดยสานได้ถึงตำบลนาโดหรือนาประดูใน
มณฑลปัตตานี จากสถานีนี้มีถนนรถยนต์ยาวประมาณ ๓๐ กิโลเมเตอร์
ไปถึงศาลารัฐบาลมณฑลปัตตานี ซึ่งรถยนต์เดินในราว ๑ ชั่วโมง
เท่านั้น ส่วนการก่อสร้างทางรถไฟตอนใต้ลงไปนั้น ก็กำลังทำอยู่ต่อไป

ลูกแมวตาดำๆ



๖๐

มณฑลปัตตานีนั้น เปนมณฑลอันอยู่ในภาคใต้ที่สุดของพระราช
อาณาจักร์สยาม ตำบลบ้านใหญ่ ๆ ในมณฑลนี้ โดยมากตั้งอยู่ตาม
ฝั่งทะเล ด้วยการคมนาคมแต่ก่อนนั้นมีแต่ทางเรือทางเดียว เวลานี้
มณฑลปัตตานีมีถนนหนทางมากไปมาติดต่อกันได้เกือบทั่วถึงกันทุก
ตำบล แลถนนหนทางต่าง ๆ นี้ โดยมากตัดเข้าหาทางรถไฟ แล
มณฑลปัตตานีก็มีพลเมืองหนาแน่นมาก มีการทำบ่อแร่ต่าง ๆ เช่น
ทองคำแลดีบุก มีนาเกลืออันดี ทั้งการจับปลาทะเลก็เจริญมากอยู่
แล้ว นอกจากนี้ยังมีที่ดินอันอุดมเหมาะแก่การกสิกรรม เช่น การ
ทำนา, ทำสวนผลไม้ต่าง ๆ, สวนมะพร้าว, สวนยางปารารับเบอร์, การ
ผสมสัตว์ต่าง ๆ เช่น โค, กระบือ, แพะ, แกะ, อยู่มาก เมื่อทางรถไฟ
ได้เดินถึงแล้วก็คงจะเจริญยิ่งขึ้นตามลำดับโดยเร็ว

การเดินทางโดยรถไฟจากกรุงเทพ ฯ ลงไปยังอู่ตะเภานั้น ใน
ชั้นต้นเมื่อยังมีแต่การเดินรถธรรมดาอยู่ จะเปนเวลาราว ๔ วัน แต่
ต่อไปเมื่อเดินรถเร็ว (เอกซ์เปรส) แล้วจะไปถึงสงขลาแลปัตตานีได้ใน
ประมาณ ๒ วัน ส่วนผู้ที่จะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเมืองปินัง เพื่อ
ลงเรือเมล์ใหญ่ไปยุโรปนั้น ก็จะไปถึงได้ใน ๓ วัน.

จบเพียงเท่านี้
-----*****------

ลูกแมวตาดำๆ

แผนที่พระราชอาณาจักร์สยาม



------------------------------
ภาพใหญ่ขนาด 2253x3845 px (3,149 KB)
http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/siammap.jpg

ลูกแมวตาดำๆ

ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาโดยตลอดครับ 
หากสนใจหนังสือเก่า ๆ เกี่ยวกับรถไฟไทยหรือเอกสารประวัติศาสตร์ หนังสือหายาก สามารถอ่านได้ที่ห้องสมุดคิดดี (KIDS-D) ห้องสมุดดิจิทัลเพื่อการศึกษา
http://dl.kids-d.org

สำหรับหนังสือที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙ นี้ ดาวน์โหลดได้ที่หน้านี้ครับ

http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2666

ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับรถไฟ ในหัองสมุดคิดดี มีอีก 3 เล่มครับ
จดหมายเหตุ เรื่องเปิดรถไฟสายตะวันออกและสายเหนือ และเสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองฉะเชิงเทรา
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2661

การรถไฟไทย
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/HASH01fb79fb726b5e502b2400cd

ระยะทางไปมณฑลภาคพายัพ พระพุทธศักราช ๒๔๖๕
http://dl.kids-d.org/handle/123456789/2630
_________________
+++ คิดถึงเสียงหวูดที่สถานีรถไฟสงขลา +++ by หม่องวิน มอไซ

ลูกแมวตาดำๆ

เนื้อหาของบทความจบแต่เพียงเท่านี้ครับ

ขอขอบพระคุณเจ้าของบทความที่เอื้อเฟื้อข้อมูล มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

หม่องวิน มอไซ

ขอขอบคุณคุณลูกแมวตาดำ ๆ เป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยสละเวลาเผยแพร่หนังสือเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เล่มนี้
ให้ออกสู่วงกว้างมากขึ้น ถือเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอีกช่องทางหนึ่ง

และทำให้ไม่ลืมว่า ณ ท่าเรือริมทะเลสาบสงขลาแห่งนี้ คือ จุดกำเนิดของทางรถไฟสายใต้ ที่ใช้ขนเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ขนมาทางเรือ
เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟ จนเปิดเดินรถช่วงสงขลา-อู่ตะเภา-พัทลุงได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2456




หม่องวิน มอไซ


ลูกแมวตาดำๆ

เพิ่มเติมครับ ที่เห็นภาพในปัจจุบันมีเพียงรางเดียว รางดังกล่าวคือรางหลีก(รางรองลงมาเป็นที่2)ครับ

ซึ่งก่อนหน้านั้น รางประธาน(รางหนึ่ง)ขวา และรางหลีก (รางสอง)ซ้าย ขนานกันไปที่ท่าเรือไม้

เมื่อมีการสร้างท่าเรือคอนกรีต(ท่าเรือที่เห็นในปัจจุบัน)ขึ้น จึงปรับรางหลีกให้ไปทางซ้าย

ส่วนรางประธานอยู่เช่นเดิมและเป็นรางตันไว้จอดตู้สินค้า ครับ

รางประธานในปัจจุบันอยู่ใต้พื้นบ้านหลังหนึ่งครับ

เดินไปทางหลังป้อมยามท่าเรือ ไปตามแนวกำแพงแล้วจะเจอครับ

หม่องวิน มอไซ

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว
ผมเริ่มฝันเห็นหนังสือ
ที่ระลึกแห่งการเปิดทางรถไฟชานเมืองสายหาดใหญ่-สงขลา 2559 [หนังสือหาง่าย] แล้วครับ  ::) :o

ฝัน ฝัน รอวันเป็นจริง
1 ม.ค. 2556 นี้ก็ครบรอบ 100 ปี เปิดรถไฟสายสงขลา-พัทลุงแล้วครับ


หม่องวิน มอไซ

 >:(



อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทางรถไฟสายหาดใหญ่-สงขลาได้ที่นี่ครับ
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/06/K6737935/K6737935.html

ลูกแมวตาดำๆ

กระทู้ดังกล่าวนี้ มีการเผยแพร่ในเว็บรถไฟไทย.คอม

บทความดังกล่าวนี้ ได้ขออนุญาติจาก คุณ พุทธพร ส่องศรี ผู้เป็นเจ้าของกระทู้ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เนื่องจากภาษาที่จะทำเสนอต่อไปนี้เป็นภาษาตามข้อความในหนังสือเล่มดังกล่าว ไม่ได้มีการพิมพ์ผิดแต่ประการใด ซึ่งอาจจะไม่ตรงกกับยุคสมัยนี้



ลูกแมวตาดำๆ

หนังสือที่เกี่ยวข้องกับรถไฟเล่มหนึ่ง ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 90 ปีแล้ว และมีคุณค่าในการศึกษาสภาพบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีนั่นคือ
ที่รฦกแห่งการเปิดทางรถไฟหลวงสายใต้ ๒๔๕๙
(SOUVENIR OF THE OPENING OF THE SIAMESE STATE RAILWAY SOUNTHERN LINE 1917)

เนื่องจากในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างหาอ่านได้ยาก แม้จะสืบค้นพบว่ามีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติก็ตาม
กระทู้นี้จึงขอนำเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในหนังสือเก่าแก่เล่มนี้มาเสนอ เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือฉบับนี้ให้คงอยู่ต่อไปครับ



ลูกแมวตาดำๆ

เล่มที่ผมนำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้านี้ จากใบรองปกหน้าทำให้ทราบว่า ซื้อจากร้านของคุณเจริญ เกษากิจ ตั้งอยู่เหนือบีกริม สามยอด ขายกฎหมายแลหนังสือทุกชนิด
โดยซื้อมาในราคา 1.00 Baht เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 1947

ลูกแมวตาดำๆ

หน้าถัดมาเป็นภาพพิมพ์สอดสีสวยงามมาก
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ หน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี
ส่วนลวดลายกรอบ เป็นลายเดียวกับปกครับ

เห็นแล้วอดนึกถึงปกหน้าของหนังสือ Oxford ที่ผมใช้เรียนภาษาอังกฤษสมัย ป.5-ป.6 ไม่ได้ เป็นภาพพระปรางค์เช่นเดียวกันครับ

ลูกแมวตาดำๆ

หน้าสารบาญ
โปรดสังเกตว่าหัวข้อเนื้อหา ใช้อ้างอิงศึกษาสภาพเมืองไทยในยุคนั้นได้อย่างดีครับ