ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ล่าสุด!!! สนข. ยอมรับว่า ระบบรถไฟบนเส้นทางเดิม เหมาะสมที่สุด

เริ่มโดย หม่องวิน มอไซ, 12:39 น. 15 ธ.ค 52

หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ

นั่นคือ ล่าสุด ทีมศึกษาของ สนข. ยอมรับว่า ระบบรถไฟบนเส้นทางเดิม เหมาะสมที่สุดครับ  ;D

ลูกแมวตาดำๆ


กิมหยง

แล้วมีใครได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ในการสำรวจครั้งที่ผ่านมาบ้างครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

แจ่ม


sarut

ผมขอเสนออยากให้เป็นเส้นทางการท่องเที่ยว-ประวัติศาสตร์ สร้างเป็นแหล่งรายได้การท่องเที่ยวแหล่งใหม่ ..สมกับการที่หาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นรายได้หลักของเมืองนี้ครับ เพื่อเชื่อมต่อกับเมืองประวัติศาสตร์ ชูจุดขายด้านการท่องเที่ยวไปยังเมืองสงขลา แหล่งประวัติศาสตร์และธรรมชาติทางทะเล โดยเน้นนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จะมาเลย์ สิงคโปร์ ก็ได้ แลัวจับมือร่วมกับ ททท. ออก Road Show สร้างเป็น Package Tour บรรจุอยู่ในโปรแกรมทัวร์ด้วย  

เรื่องจะไปวิ่งแข่งกับรถเมล์โพธิ์ทอง คงเป็นไปไม่ได้ เพราะยัง ...เค้าก็ยังวิ่งเร็วกว่าอยู่แล้ว เราคงไม่ไปแข่งตรงนั้น แต่เน้นชูจุดขายด้านการท่องเที่ยว เชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจ+ท่องเที่ยว กับ เมืองประวัติศาสตร์ สงขลา เข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ส่วนคนไทย ..ถ้าจะใช้บริการก็ได้ไม่ว่ากัน เพราะจุดเด่นของรถ BRT ที่จะนำเสนอตอบสนองคนในพื้นที่ ๆ ต้องการใช้บริการ ดังนี้ คือ

1.ออกตรงเวลา ไม่จำเป็นต้องรอ ๆ ๆ ๆ ๆๆ จนกว่าคนจะเต็ม และเสียเวลาจอดรายทาง ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นปัญหามานาน

2.ความสะอาด บนขบวนรถ เทียบเท่าการดูแลรักษารถไฟฟ้า BTS ที่กรุงเทพฯ ไม่มีเศษขยะ (ใครทิ้ง โดนปรับ) บนขบวนรถ

3.แอร์เย็นสบาย ไม่ร้อน ต้องเจอรถพัดลม นั่งได้เรื่อย ๆ ชมวิวทิวทัศน์ไปกับนักท่องเที่ยว

4.สร้างสถานีจอดตามจุดที่เห็นสมควร เพื่อสร้างเป็น Home Stay ให้นักท่องเที่ยว สาารถพักผ่อนได้ เช่น  สมมุติ แถวคลองวงศ์ ฯลฯ
เป็นต้น

sarut

5.ความปลอดภัยที่มีมากกว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องอุบัติเหตุตามท้องถนน ให้ความปลอดภัยสูง กับผู้โดยสารที่ดีกว่า

6.เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องปล่อยควันดำ ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ

7.สภาพขบวนรถ สามารถทำเป็น Ad  โฆษณา เพื่อหารายได้ทั้งขบวนได้ (นำมาพัฒนาสร้างสถานีดี ๆ ให้ผู้โดยสาร..ถ้าไม่กินกันจนอิ่มเสียก่อน)

8.ให้สุดปลายทางขบวน ยาวไปจนถึงแหลมสมิหลา (ดึงจุดเด่น สัญลักษณ์ของเมือง ให้ชัดเจน สร้างจุดเด่นการท่องเที่ยว)

9.ระหว่างทาง จะมีการประกาศบนขบวน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้ชาวไทยและนักท่องเที่ยวได้รับทราบว่าถึงจุดไหนบ้างแล้ว

10 แต่ละสถานีจะมีเอกสาร คู่มือ แผ่นพับ แจกให้นักท่องเที่ยว ได้ทราบเส้นทาง แหล่งท่องเที่ยวแต่ละจุดตลอดเส้นทางชัดเจน

11 สร้างบัตรสมาชิก หลาก..หลายประเภท เช่น ใช้วันเดียว (One-Day Pass) หรือแบบรายเดือน หรือซื้อเฉพาะไปและกลับ (Return) หรือแบบ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง อาจภายใน 2 หรือ 3 วัน ก็แล้วแต่ สำหรับนักทองเที่ยวโดยเฉพาะ (ซึ่งแน่นอนราคาต้องสูงกว่าอยู่แล้ว โดยนักท่องเที่ยวจะซื้อบัตรแบบนี้ได้ต้องยื่นพาสปอร์ต ด้วย โดยสามารถชำระเป็นเงินริงกิต ดอลลาร์ยูเอส หรือ ดอลลาร์สิงคโปร์ได้ทั้งนั้น (ดูดเม็ดเงินต่างชาติ ไหลเข้าบ้านเรา ) อิอิอิอิ     

12. ที่กล่าวมาทั้งหมดยังมีอีกเรื่อย ๆ เอาแค่นี้ก่อน เชื่อว่าเหตุผลเหล่านี้ อาจทำให้ผู้พิจารณาอนุมัติ ที่ถกประเด็นว่ามันจะสร้างแล้ว จะหากำไร ขาดทุนได้จากที่ไหน ..ก็ลองฟัง ๆ เหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วกัน อาจพอทำให้หันมาฉุดคิดไม่ใช่น้อยๆ น่ะครับ

ลูกแมวตาดำๆ

อันดับแรกแจ้งคุณ sarut คลองวง ครับ ไม่ใช่คลองวงศ์ ครับ

ส่วนรถไฟหากดูกันจริงๆแล้วอาจจะเร็วกว่ารถเมล์นะครับ

เช่นที่พัทยา ไปที่ไหนซักที่ ผมจำไม่ค่อยได้ รู้สึกว่าเร็วกว่ารถบัสประจำทางอีกนะครับ

หากเป็นไปได้ ถ้าได้รถไฟรางคู่ การเดินทางจะตรงเวลาครับ ไม่มีช้าแน่นอน

ในทางอ้อมจะช่วยฝึกน้องๆนักเรียนให้ตรงเวลาด้วย

เพราะถ้าตื่นสายคงไม่ทันรถไฟแน่ๆ เพราะรถไฟจอดรอแต่ละสถานีแค่ 1นาทีเองครับ

หม่องวิน มอไซ

จัดทำระบบขนส่งมวลชนหาดใหญ่-สงขลา (14 ธ.ค.52)
ที่มา : สงขลาทูเดย์

โครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยงเมืองสงขลา

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2552 ที่ห้องสุคนธา ชั้น 8โรงแรมลีกาเด้น พาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ได้จัดการประชุมโครงการศึกษาจัดทำระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่และเชื่อมโยง เมืองสงขลา โดยมีนายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิกระทรวงคมนาคมพร้อมด้วยนักวิชาการอีกหลายท่านให้ รายละเอียดของโครงการ นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ นักวิชาการขนส่งคุณวุฒิกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ที่จะจัดทำในอนาคต

งานส่วนที่ 1 เป็นการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเมืองหาดใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2555 ถึง 2565 ที่จะมีการเสนอให้จัดระบบรถสาธารณะให้วิ่งในเส้นทางสายต่างๆ 8 สาย

งานส่วนที่ 2 การศึกษาแบบการพัฒนาโครงการศูนย์กลางคมนาคมเมืองหาดใหญ่ ที่จะแบ่งออกเป็นอีก 3 ระยะที่จะนำมาพัฒนาระบบคมนาคมที่เมืองหาดใหญ่โดยแนวคิดคือเป็นการให้นักท่อง เที่ยวที่มาเที่ยวในหาดใหญ่ได้ใช้ระบบรถสาธารณะของหาดใหญ่เองเพื่อลดจำนวนรถ ที่มีมากอยู่ในปัจจุบัน

งานส่วนที่ 3 การศึกษาระบบการขนส่งมวลชนที่เหมาะสมเชื่อมต่อระหว่างเมืองหาดใหญ่กับสงขลา ที่มีระยะทาง 29.087 กิโลเมตร มีแนวคิดที่จะสร้างรถไฟดีเซลราง โดยใช้เส้นทางที่เคยมีอยู่แล้วโดยจะเป็นการสร้างทางเลือกของคมนาคมระหว่าง หาดใหญ่กับสงขลา

หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ


หม่องวิน มอไซ