ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ของเราเป็นของมาเลเซียซะแล้ว

เริ่มโดย เด็กป้อม6, 21:08 น. 09 ธ.ค 52

เด็กป้อม6

ท่านที่เคยนั่งรถไฟไปปาดังฯสมัยก่อน คงจำได้ว่าสถานียังเป็นของเรา ป้ายชื่อสถานียังเขียนเป็นภาษาไทย ทางรถไฟทั้งหมดที่อยู่ติดศาลเจ้าตรงทางเข้าตลาดปาดังฯฝั่งไทยก็เคยอยู่ในเขตเรา ผมสงสัยมากๆเคยทำหนังสือสอบถามส่งไปที่พรรคปชป.หลายปีมาแล้ว ก็ไม่มีคำตอบ และเคยส่งจม.ไปที่นสพ.มติชนก็ไม่มีคำตอบ แม้แต่เคยถามคนปาดังฯที่รู้จักกัน ก็ไม่มีใครรู้เรื่อง
ช่่วงหนึ่งผมเว้นระยะไม่ได้ไปปาดังซะหลายปี มาเห็นสภาพที่เปลี่ยนแปลงเมื่อต้นปี2544หลังน้ำท่วมใหม่ๆ งงมากพอเห็นรั้วกั้นเขตแดนร่นเข้ามาติดถนนทางเข้าตลาดปาดังฯ แล้วเห็นทหารมาเลย์เดินไปมาหน้าสถานีรถไฟที่ไม่เหมือนเดิม ป้ายชื่อก็เป็นภาษามาเลย์ซะแล้ว
ซุบซิบกันว่าเป็นข้อตกลงของรัฐบาลสมัยบิ๊กจิ๋ว เรื่องโนแมนแลนด์ ท่านใดรู้รายละเอียดช่วยชี้แจงด้วยครับ

ลูกแมวตาดำๆ

จะไปสืบหาข้อมูลจากเว็บรถไฟไทย.คอม มาให้ครับ

แต่ย่านสถานีบางส่วนที่ขึ้นลงตู้คอนเทรเนอร์อยู่ในฝั่งไทยครับ

แต่การควบคุมประแจสับราง ควบคุมจากฝั่งมาเลเซีย

หม่องวิน มอไซ

สถานีรถไฟปาดังเบซาร์ เป็นของมลายูตั้งแต่แรกสร้างครับ แม้ว่าดินแดนที่เป็นรัฐปะลิส ไทรบุรี กลันตันและตรังกานูจะเคยเป็นของไทย แต่ก็เสียให้แก่อังกฤษในปี พ.ศ. 2451
อีกสิบปีต่อมา คือ วันที่ 1 ก.ค. 2461 จึงเปิดเดินรถไฟเชื่อม 2 ประเทศครับ (หลังจากเปิดเดินรถสายหาดใหญ่-สงขลาในปี พ.ศ. 2456)

แต่ก็มีข้อตกลงให้สถานีปาดังเบซาร์เป็นสถานีร่วม โดยยุคที่พี่เด็กป้อม 6 เล่าให้ฟังนั้น ให้บริเวณสถานีปาดังเบซาร์อยู่ในเขตโนแมนแลนด์ ชานชาลาฝั่งเหนืออยู่ในเขตไทย ฝั่งใต้อยู่ในเขตมาเลเซีย
ตอนนั้นการค้าชายแดนรุ่งเรืองมาก คนไทยข้ามไปเที่ยว ไปซื้อของฝั่งตลาดแขกได้โดยไม่ต้องมีพาสปอร์ต หนังสือผ่านแดนใด ๆ ทั้งสิ้น
และตัวอาคารสถานีเดิม ก็แบ่งครึ่งหนึ่งเป็นที่ทำการของการรถไฟไทย อีกฝั่งเป็นของมาเลเซีย

เสียดายที่ผมหาภาพถ่ายป้ายสถานีที่เขียนชัด ๆ ว่า "ปาดังเบซาร์" เป็นอักษรไทยยังไม่เจอครับ ลองดูภาพนี้แทนไปพลางก่อน
เป็นภาพถ่ายปี 2474 ของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณครับ โปรดสังเกตว่าป้ายสถานีในยุคนั้นมีหลายภาษาครับ รวมทั้งภาษาไทยด้วย

http://biochem.flas.kps.ku.ac.th/rft/padangbesar2474.jpg


หม่องวิน มอไซ

สมัยเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ผมกับพี่ชายเคยลองเดินตามรางรถไฟจากฝั่งไทยเข้าไปยังตัวอาคารสถานีปาดังเบซาร์ครับ ปรากฏว่าโดนทหารหรือตำรวจมาเลเซียไม่ทราบครับ ตะโกนดุมาครับ ต้องรีบตะโกนบอกว่า go to station เลยรอดมาได้ ดีไม่โดนยิง

ภาพนี้คือสะพานลอยคนข้ามบริเวณสถานีปาดังเบซาร์ จากอนุสาร อสท. ปีที่ 9 ฉบับที่ 8 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2512 สมัยที่ยังข้ามไปมาได้สะดวกสบายครับ


หม่องวิน มอไซ

อาคารสถานีสมัยนั้นครับ



ที่ต้องมีโนแมนแลนด์ ก็เพราะปัญหาของหนีภาษีนั่นแหละครับ ตามธรรมเนียมแล้วประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อย่างไทย-มาเลเซีย จะไม่สร้างรั้วกั้นขึ้นมาครับ และถ้าจะสร้างรั้ว ไม่สามารถสร้างทับเส้นเขตแดนได้ครับ ต้องถอยร่นเข้ามา จะสร้างอะไรก็ต้องสร้างในเขตของตัวเอง

ปาดัง

รู้สึกว่า เมืองปาดังของไทยกับของมาเลเชียจะเป็นเมืองเดียวกีนมาก่อน

จนถูกแบ่งเป็น 2ซีก ตอนสมัยนั้น  เลยแบ่งกันคนละครึ่งเมือง  ครึ่งสถานนีรถไฟ

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

อยากเป็นรูปเก่าๆอีกครับ
จำได้ว่าตอนผมเป็นเด็ก เคยเห็นย่านสถานีปาดังฯหลังเก่า อาคารสถานีอยู่ด้านซ้ายมือ(มาจากหาดใหญ่นะ)  ทางขวามือก็จะมีรางหลีก(ไม่กี่ราง)กับเนินดิน มีสะพานลอยให้คนข้ามไปมาที่ตลาด  ตอนนี้อาคารสถานีเดิมก็ไม่เหลือแล้ว ย่านปาดังฯพัฒนาไปมาก
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป


ดาดาดาดา

มีภาพถ่ายเก่าเพิ่มเติมหรือไม่ท่านใดมีช่วยให้ดูหน่อยเพราะเคยอยู่นานยมาแล้วอยากเห็นมาก

สุมาลีดาดา

อยากเห็นภาพเก่าเพิ่มเติมท่านใดมีช่วยลงให้ดูด้วยจะขอบคุณมาก

แดงดาดา


ดอกประดู่

พ่อเคยเป็นนายสถานีรถไฟไทยประมาณปี2510มีบ้านพักนายสถานีอยู่ฝั่งมาเลเซีย(เนินดินฝั่งขวาของสะพานลอย)เห็นภาพสะพานลอยเก่าแล้วคิดถึงบ้านเก่ามากใครมีภาพบ้านพักฝั่งขวาของสะพานลอยบ้างค่ะ