ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มารยาทในการพูดที่ดี ที่ถูกหลงลืม

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 06:45 น. 20 พ.ย 57

ทีมงานบ้านเรา

จากกรณีคลิปเหนียวไก่ ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลใจในเรื่องการพูดจาของคนไทย ที่อาจนำไปกระทำเป็นเยี่ยงย่าง ดังนั้นทางกิมหยงจึงได้นำหลักการพุดที่ดีมาให้ลองอ่านดูค่ะ

[attach=1]

หลักการพูดที่ดี
Table of Contents หลักการพูดที่ดี toc การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

วิธีการพูด
๑.ก่อนพูดควรคิดก่อนเสมอ ระมัดระวังคำพูดที่จะทำให้คนอื่นไม่พอใจ อย่าพูดพล่อยๆ โดยไม่มีหลักฐาน
๒.ควรใช้คำพูดที่สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
๓.ออกเสียงสระ พยัญชนะ และตัวควบกล้ำให้ชัดเจน
๔.ควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาของการพูด เช่น
(๔.๑) มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสในการพูด images.jpg
(๔.๒) มีคำยกย่องชมเชยคนฟังตามสมควร
(๔.๓) ไม่พูดตำหนิ นินทาผู้อื่นต่อหน้าคนฟังมากๆ
(๔.๔) ไม่พูดขัดคอคนอื่นในทำนองทะลุกลางปล้อง
(๔.๕) ไม่พูดถึงจุดอ่อนของคนฟังบ่อยๆ
(๔.๖) ไม่ควรแสดงอารมณ์รุนแรง

๕.ไม่ควรใช้ภาษาที่ผิดแบบแผนหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม

การพูดเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์

๑. ศาสตร์ในการพูด ก็คือ การเรียนรู้หลักการพูด ซึ่งหลักการพูดนั้นมีวิชาการมากมายที่ต้องเรียนรู้ เช่น การใช้ภาษ การออกเสียง การใช้โทนเสียง การปรับเสียงตามความหนักเบาขอบงการเน้น การวิเคราะห์ผู้ฟัง การตอบและการโต้ตอบ การใช้สายตา การประสานตา การกวาดสายตา การเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้กันค่อนข้างนานและละเอียดละอออย่างยิ่ง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎี ต่าง ๆ การวางแผนต่าง ๆ ความรู้และวิทยาการหลายรูปแบบ ซึ่งมาใช้ประกอบเป็น
ศาสตร์การพูด

๒. ศิลป์การพูด
ศิลปการพูด เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฝึกฝนภายใต้ศาสตร์ที่กล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียนศาสตร์อย่างกระจ่างแจ้ง แต่ก็ไม่มีศิลปก็ไปไม่รอดเช่นกัน ศิลปะเป็นความสามารถส่วนบุคคล ความมีไหวพริบ ปฏิภาณ ความถนัด ตลอดจนศักยภาพของแต่ละคนที่จะมีการต่อการพูดของเขาเอง ก็เช่นเดียวกัน มีศิลปการพูดช่ำชอง แต่ถ้าไม่มีศาสตร์ก็ไปไม่รอดเช่นกัน ดังนั้น นักพูดต้องเรียนรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อม ๆ กัน

วิธีการพูด

การพูดแต่ละเรื่องแต่ละเนื้อหาจะใช้วิธีการพูดที่แตกต่างกัน แต่โปรดระลึกเสมอว่าอย่าเลือกวิธีพูดตามความถนัดของผู้พูด ควรนำลักษณะของเนื้อหาและสถานการณ์มาเป็นเเครื่องตัดสินเลือกวิธีพูดจะดีกว่า วิธีพูดทั้งหมดมี ๔ วิธีคือ

๑. การพูดโดยการอ่านจากข้อความที่เตรียมไว้ การเลือกวิธีนี้พูดต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ผิดไม่ได้เลย เช่น การพูดต่อหน้าสื่อมวลชน ต่อสิ่งบันทึกภาพ การพูดเพื่อเปิดพิธี – ปิดพิธีที่เป็นมงคลต่าง ๆ ควรเขียนข้อความให้กระทัดรัด ชัดเจน ตัวโต เว้นวรรคตอน อ่านง่าย ควรเขียนด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นเขียนให้ผู้พูดต้องตรวจทานแก้ไขจนพอใจก่อน หากเป็นพีที่สำคัญ ๆ ควรฝึกพูด (dry run) จนเกิดความคล่องแคล่ว มั่นใจก่อนทุกครั้ง

๒. การพูดจากความจำ ลักษณะนี้ต้องเป็นเรื่องที่ผู้พูดมีความชำนาญ มีประสบการณ์ด้วยตนเอง โดยเฉพาะว่าสาระสำคัญทั้งใหญ่และย่อยได้เป็นอย่างดี ไม่ควรใช้วิธีนี้จากการอ่านหรือท่องจากตำรามาพูด เพราะมีโอกาสที่จะหลุดประเด็นและควบคุมเวลาการพูดไม่ได้ ในที่สุดจะเป็นการขึ้นเร็วลงเร็วหรือจบโดยกระทันหันได้

๓. การพูดโดยการเตรียมการก่อน วิธีนี้นิยมกัน ใช้กันมากในการพูดทุกรูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดแบบบรรยายสรุป การพูดเพื่อสอน การพูดต่อหน้าชุมชน จะนิยมเตรียมการก่อนเพื่อลดการผิดพลาดให้น้อยลงหรือไม่ผิดพลาดเลย การพูดวิธีนี้จะเป็นการพูดเวลานาน ๆ เชิงวิชาการ ยังประโยชน์ให้ผู้ฟังได้รับความรู้เพื่อนำไปใช้ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการทำแผนการพูดก่อนอย่างชัดเจน


https://thaiforcommunication.wikispaces.com
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215