ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การบวชภิกษุณี สามเณรี ในประเทศไทยทำได้หรือไม่เห็นที่เกาะยอทำแล้ว

เริ่มโดย หาดใหญ่ใหม่, 11:42 น. 03 ธ.ค 57

เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

แค่ศรัทธาและนมัสการพระพุทธเจ้าก่อนตาย ได้เกิดในสวรรค์
เรื่องมัฏฐกุณฑลี
พราหมณ์ชาวสาวัตถีคนหนึ่งเป็นคนมีฐานะดี แต่เป็นคนตระหนี่มาก เขาไม่เคยทำบุญ ไม่เคยฟังธรรม และไม่เคยให้อะไรใครเลย จึงได้ชื่อว่า อทินนปุพพกะ
พราหมณ์คนนี้มีบุตรชายคนหนึ่ง เขาเลี้ยงบุตรชายตามอัธยาศัย คือ ไม่ทำบุญ ไม่ฟังธรรม ไม่ให้อะไรใคร เมื่อบุตรชายโตเป็นหนุ่มพราหมณ์บิดาจะให้เครื่องประดับแต่เสียดายค่ากำเหน็ดที่ต้องจ่ายให้ช่างทอง พราหมณ์บิดาจึงเอาทองมาตีแผ่เป็นแผ่นทำเป็นต่างหูเกลี้ยงๆ ให้บุตรชาย บุตรของพราหมณ์จึงได้ชื่อว่า มัฏฐกุณฑลี
วันหนึ่งมัฏฐกุณฑลีล้มป่วย ด้วยความเสียดายทรัพย์สินเงินทอง อทินนปุพพกพราหมณ์จึงไม่ยอมจ้างหมอมารักษา จนเมื่อบุตรชายมีอาการหนักจึงตัดใจตามหมอมาตรวจดู แต่หมอหมดปัญญาจะรักษาทำได้แค่เพียงแนะนำให้หารากไม้มาต้มกิน ระหว่างนั้นพราหมณ์กลัวว่าถ้ามีคนมาเยี่ยมบุตรจะเห็นสมบัติในเรือน เขาจึงอุ้มบุตรชายออกไปให้นอนที่นอกซุ้มประตู
ใกล้รุ่งวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพระญาณ ทรงเห็นในพระญานว่ามัฏฐกุณฑลีจะต้องตายในวันนี้ พระองค์จึงเสด็จไปประทับยืนเปล่งพุทธรัศมีอยู่ที่หน้าเรือนเพื่อโปรดเขาโดยเฉพาะ
มัฏฐกุณฑลีเห็นแสงโอภาสจากพระรัศมีจึงเหลียวดู เห็นพระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่ด้วยพระอาการสงบน่าเลื่อมใส รู้สึกปีติโสมนัสว่าพระพุทธองค์เสด็จมาโปรด จึงยกมือขึ้นอัญชลีด้วยความเลื่อมใส ระลึกถึงพระพุทธองค์เป็นพุทธานุสติ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นมาณพมีจิตเลื่อมใสแล้วจึงเสด็จหลีกไป
วันนั้นมัฏฐกุณฑลีก็ถึงกาลกิริยา พราหมณ์บิดานำร่างของเขาไปฌาปณกิจในป่าช้า ทุกวันพราหมณ์ยังเข้าไปในป่าช้าร้องไห้คร่ำครวญหาบุตรชายอันเป็นที่รักว่าลูกเอย ตอนนี้เจ้าอยู่ที่ไหน ขอให้เจ้ามีชีวิตคืนมา บิดาจะรักษาเจ้า
ฝ่ายมัฏฐกุณฑลี ด้วยกุศลกรรมที่กำหนดอารมณ์ยึดถือพระศาสดาเป็นสรณะก่อนตาย เขาจึงไปอุบัติเป็นเทพบุตรชั้นดาวดึงส์ มีกายสูง ๓ คาวุตร มีเครื่องประดับ ๖๐ เล่มเกวียน มีวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ เขาระลึกถึงบุญกรรมแล้วคิดจะให้สติบิดาจึงมาปรากฏกายเป็นมาณพไปยืนร้องไห้อยู่ในป่าช้า

คนเมืองสง

อ้างจาก: คนโง่ไม่อวดฉลาด เมื่อ 12:14 น.  05 ม.ค 58
แค่ศรัทธาและนมัสการพระพุทธเจ้าก่อนตาย ได้เกิดในสวรรค์
ด้วยกุศลกรรมที่กำหนดอารมณ์ยึดถือพระศาสดาเป็นสรณะก่อนตาย เขาจึงไปอุบัติเป็นเทพบุตรชั้นดาวดึงส์
[/quote]
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

Mr.No

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 19:24 น.  28 ธ.ค 57
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า มี หรือ ไม่มี แต่อยู่ที่ความชัดเจนของ ม.ส

ถ้าบอกว่าไม่อนุญาตให้มีภิกษุณี ก็ประกาศให้ชัดเจนไปเลย ว่าไม่ให้บวช ไม่ให้อยู่ในประเทศไทย ถ้าบวชต่างประเทศ ก็เป็นภิกษุณีได้แค่ในต่างประเทศ ถ้าเข้ามาในประเทศ ต้องงดเว้นการเป็นภิกษุณีชั่วคราว หรือถ้าไม่งดเว้น อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้กี่วัน

ถ้าบอกว่ามีได้ ก็ออกมาประกาศเลย ว่า บวชได้ อยู่ได้ และต้องทำอย่างไรบ้าง ห้ามทำอะไรบ้าง

ที่เป็นอยุ่นี้ เหมือนอึก ๆ อัก ๆ อ้อม ๆ แอ้ม ๆ บางทีก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ดูไม่ค่อยน่านับถือเลย คนในสังคมก็สงสัยว่าเอ๊ะ ตกลงหลวงพี่หลวงพ่อแกจะเอายังงัยกันแน่

ผมเห็นด้วยตามนี้... เพราะทุกวันนี้ มส.เอง ก็อยู่ในฐานะหลังติดกำแพงจริง ๆ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

คนเมืองสง

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 19:43 น.  05 ม.ค 58
ผมเห็นด้วยตามนี้... เพราะทุกวันนี้ มส.เอง ก็อยู่ในฐานะหลังติดกำแพงจริง ๆ
คงไม่ใช่หลังติดกำแพงหรอกครับ แต่ มส.ท่านๆทำเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับท่าน ได้แก่ การห้ามภิกษุในสังกัดของท่านไปเกี่ยวข้องกับการบวชภิกษุณี และห้ามผู้อ้างตัวเป็นภิกษุณีเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัดในสังกัดของ มส. อำนาจของท่านคงมีแค่นั้น
ส่วนภิกษุณีที่บวชมาจากนิกายอื่น ประเทศอื่น ก็คงไม่เกี่ยวกับท่าน (ซึ่งคงถูกต้อง) และมักสร้างวัดอยู่เอง ไม่ใช่วัดในสังกัด มส. เช่น วัตรทรงธรรมกัลยาณี
ส่วนการแต่งกายเลียนแบบสงฆ์เป็นเรื่องของกฎหมายบ้านเมือง อันนี้อยู่ที่รัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมาย
คุณ MR.No ครับ
มส.นั้นประกอบด้วยพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่นะครับ ในระดับที่ไม่ธรรมดามากๆ ด้วยความเคารพที่เราเป็นชาวกระดานลานบุญด้วยกันมานาน ผมไม่อยากให้คุณเป็นบาปเรื่องที่อาจล่วงเกินพระมหาเถระ ขอให้คุณจงโปรดพิจารณาด้วยนะครับ


พบพระ

อ้างจาก: คนเมืองสง เมื่อ 11:08 น.  05 ม.ค 58
เรื่องภิกษุณี บวชได้ไม่ได้ในตอนนี้อยู่ในพระวินัยครับ
กฎหมายมีเพียงไว้จัดการพวกอลัชชีละเมิดพระวินัย
มหาเถระสมาคมท่านมีหน้าที่อรรถาธิบายความตามพระวินัยที่มีอยู่แล้วเพื่อให้คุณทั้งหลายได้เข้าใจพระวินัย ท่านไม่ได้เป็นผู้กำหนดพระวินัย
คุณพบพระครับ การรักษาพระวินัยนั้นเป็นหน้าที่ของชาวพุทธนะครับ หากนรกมีจริงก็น่าจะตกแก่ผู้ที่ทำให้ไขว้เขว่ในพระวินัยมากกว่า การข่มขู่ผู้อื่นแบบที่คุณพบพระกระทำอยู่ก็เป็นบาปนะครับ เพราะไม่อยู่บนพื้นฐานข้างต้น คุณต้องไปพบพระจริงๆให้บ่อยๆหน่อยนะครับจะได้เขียนชื่อพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาของเราได้ถูกต้อง อันไหนพระไตรปิฎก อันไหนพระรัตนตรัย
ต้องขออภัยท่านด้วย เราไม่มีเจตนาข่มขู่ ท่านทำถูกแล้ว ถ้าท่านมีข้อมูล นำมาเปิดเผยเพื่อป้องกัน และป้องปรามไม่ให้เกิดปัญหาได้ เพียงแต่มีความเสี่ยงว่า บางอย่างถูกกฎหมายแต่บาป บางอย่างผิดกฎหมายแต่ไม่บาป บาปที่ได้รับก็เป็นไปตามธรรมชาติไม่มีใครเร่งเร้าได้ ถึงบาปแต่ต้องทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถือว่าท่านเป็นผู้เสียสละ ก็ดีแล้วครับ ส่วนคนที่ไม่รู้เรื่อง ไม่มีข้อมูล ไม่เคยเห็น ไม่วิจารณ์ดีกว่า ไม่เสี่ยงบาป ไม่ผิดกฎหมาย เจตนาของเราคืออย่างนี้นะ

Mr.No

อ้างจาก: คนเมืองสง เมื่อ 11:08 น.  05 ม.ค 58
เรื่องภิกษุณี บวชได้ไม่ได้ในตอนนี้อยู่ในพระวินัยครับ
กฎหมายมีเพียงไว้จัดการพวกอลัชชีละเมิดพระวินัย
มหาเถระสมาคมท่านมีหน้าที่อรรถาธิบายความตามพระวินัยที่มีอยู่แล้วเพื่อให้คุณทั้งหลายได้เข้าใจพระวินัย ท่านไม่ได้เป็นผู้กำหนดพระวินัย



เดิมตั้งใจจะไม่ต่อกระทู้ เพราะเห็นว่า หลายท่านในนี้ล้วนเป็นผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น...
แต่มีก็มีบางท่าน เช่น ท่านคนเมืองสง ที่แสดงความคิดเห็นที่ผมยังเห็นว่า ยังมีบางสิ่งที่เราเห็นไม่ตรงกัน ..
และสิ่งที่เห็นไม่ตรงกันนั้น ..ผมไม่อยากคิดว่าเป็นเรื่องการเอาชนะคะคานกัน ..แต่ควรจะเป็นการขยายความเข้าใจในเรื่อง พระศาสนา ให้มันถูกทำนองครองรูปแบบกันโดยถือเอาเหตุและผลเป็นตัวตั้ง

ผมเห็นว่าปัญหากรณีกระทู้ที่ตั้งเพื่อค้นหาคำตอบว่า เมืองไทยจะสามารถมีภิกษุณีได้หรือไม่นั้น  ท่านคนเมืองสงท่านก็ตอบเองแล้วว่าเป็นเรื่องของพระธรรมวินัย และท่านก็แสดงความเห็นชัดว่า เรื่องนี้ มหาเถรสมาคมไม่มีอำนาจจะไปจัดการใด ๆ เพราะท่านไม่มีสิทธิในการไปแก้ไขหรือไปตัดทอนพระธรรมวินัย!??   ดังนั้นคงต้องทบทวนกันอีกทีว่า เรื่องนี้แท้จริงแล้วในพระธรรมวินัยนั้นเอื้อให้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้หรือไม่?

จนทุกวันนี้พระธรรมวินัยก็ยังไม่ได้มีการตัดทอนเรื่องการอนุญาตให้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ ซึ่งปรากฎอยู่สองเรื่องคือ ในครั้งแรก พุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์สามารถบวชภิกษุณีได้ และต่อมาเมื่อปรากฎว่ามีภิกษุณีปรากฎขึ้นแล้ว ก็ทรงบัญญัติไว้เพิ่มเติมว่า ในการบวชภิกษุณีให้มีการบวชด้วยสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

ดังนั้น ปัญหาว่าถ้าจะบอกว่าในพระธรรมวินัยมิได้อนุญาตไว้ อันนี้ถือว่า ผิดพลาด! เพราะมีการอนุญาตให้ได้ เพียงแต่ว่าการตีความว่าจะเป็นการบวชแบบใด แบบครั้งแรกที่ทรงอนุญาตว่า บวชได้โดยภิกษุสงฆ์ หรือ บวชโดยสงฆ์สองฝ่าย

และเมื่อมหาเถรสมาคม ได้ออกมาบอกว่า ภิกษุสงฆ์ไทยไม่สามารถบวชภิกษุณีได้ เนื่องจาก ภิกษุณีได้สูญสิ้นไปแล้วนับร้อยปี โดยอ้างตามพระธรรมวินัยที่พุทธองค์ทรงบัญญัติกรณีหลังว่า การบวชภิกษุณีต้องกระทำด้วยสงฆ์สองฝ่าย แต่อีกฝ่ายคือภิกษุณีสงฆ์(เถรวาท)นั้นไม่มีแล้วจะให้ทำอย่างไร ดังนั้นก็เท่ากับว่าทางภิกษุสงฆ์ไทยซึ่งถือนิกายเถรวาทไม่สามารถจะบวชให้ได้ นี่ต่างหากคือกรณีที่ต้องพิเคราะห์กันว่าการอ้างพระธรรมวินัยกรณีหลังแต่กรณีแรกที่ทรงบัญญัติให้ ภิกษุสงฆ์บวชภิกษุณีได้นั้นตกลงพระวินัยข้อนี้กลายเป็นโมฆะไปเสียแล้วหรืออย่าง?

แต่กลับกันในกรณีที่พระศรีลังกาท่านบวชภิกษุณีให้ฝ่ายหญิงในยุคแรก ๆ ท่านก็ถือเอาตามพระวินัยที่ทรงมีพุทธานุญาตว่า ภิกษุสงฆ์สามารถบวชภิกษุณีได้ ท่านก็บวชให้ตามนั้น  และต่อมาเมื่อมีภิกษุณีเกิดขึ้นอีกครั้งแล้ว การบวชครั้งต่อมาท่านก็ยึดเอาการบวชจากสงฆ์สองฝ่าย แบบที่กระทำที่เกาะยอ  โดยฝ่ายภิกษุสงฆ์นั้นคือ พระสังฆราชานิกายอมรปุระ และภิกษุณีสงฆ์ก็เป็นท่านธัมนันทาภิกษุณีสงฆ์ไทยที่เคยไปบวชเรียนสายสยามวงศ์ที่ศรีลังกามา โดยสงฆ์สองฝ่ายต่างก็คนละนิกายกันด้วยซ้ำ

ดังนั้น หากยึดเอาตามพระธรรมวินัยแล้วก็ต้องถือว่า การบวชภิกษุณีสงฆ์ที่เกาะยอถือว่าไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย เพราะพระศรีลังกาท่านถือว่าไม่ได้ยึดติดเอากับนิกายว่าจะเป็นเถรวาทหรือนิกายอื่นใด แต่ถือเอาพระธรรมวินัยที่ระบุอนุญาตอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผมจึงสรุปย้ำตอบกระทู้ว่า การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ
เพียงแต่การตีความตามพระธรรมวินัยของมหาเถรสมาคมนั้น ท่านอาจตีความในทางการที่แคบและมีเรื่องของการจำกัดความเป็นนิกายเถรวาทเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ทุกฝ่ายก็ทราบว่าพุทธานุญาตและพระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่าใช้สำหรับนิกายใด (เพราะเมื่อครั้งพุทธกาลยังไม่มีนิกาย)

สิ่งที่ผมเป็นกังวลไม่ใช่เรื่องของการมีหรือไม่มีภิกษุณี แต่สิ่งที่เป็นห่วงใยก็คือ เรื่องของความเข้าใจไขว้เขวของพุทธศาสนิกชนไทยต่างหากที่จะเป็นเรื่องที่น่ากังวล

ปัญหาความล้มเหลวของการวัตรปฎิบัติของสงฆ์ไทย ดูเหมือนจะมีแต่แนวทางที่เป็นเรื่องบิดเบือนและขัดแย้งกับพระธรรมวินัยกันมากพออยู่แล้ว หากการมีขึ้นของภิกษุณีสงฆ์ที่มีสำนักและวัตรปฎิบัติและแนวทางการสอนที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักธรรมอันเดียวกัน อาจยิ่งทำให้อายุของพระศาสนายิ่งนับถอยหลังอย่างเร็วขึ้น

ดังนั้น หากมหาเถรสมาคม+สำนักพุทธศาสนา กลับทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้ภิกษุณีในไทยกลายเป็นภิกษุณีที่ยังไม่ทราบแม้นว่าจะเป็นนิกายใด และถือวัตรปฎิบัติตามศีลและศรัทธาใด และเกิดมีการสอนหรือก่อให้เกิดวิปริตศรัทธาในพุทธศาสนาแบบผิด (ซึ่งเริ่มปรากฎกันขึ้นบ้างแล้ว) แบบนี้ มหาเถรฯ จะปล่อยปละได้อย่างไร

สิ่งที่ต้องตัดสินใจคือการออกมาประกาศชัดว่า เมื่อไม่สามารถยอมรับว่าภิกษุณีที่มีในไทยไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเถรวาท ก็ต้องมีการระบุให้ชัดไปเลยว่าภิกษุณีเหล่านั้นควรจะเป็นนิกายใดนิกายหนึ่ง เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าทำการศึกษาข้อวัตรปฎิบัติให้สอดคล้องและกำหนดเป็นหนึ่งในศาสนาหรือนิกายหนึ่งใดที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมเฉกเช่นศาสนาอื่นในประเทศไทย

นี่คือผลพวงของการไม่ยึดถือเอาพระธรรมวินัยเดิมเดียวนับแต่ครั้งทำสังคยานาครั้งแรก และแทบไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ไม่กี่ร้อยปี จากพระไตรปิฎกฉบับเดียวกัน ใช้ภาษาบาลีเหมือนกัน แต่เมื่อยุคผ่านไปกลับมีการไปตีความบิดเบือนพระธรรมวินัยเพื่อเอื้อให้ความสะดวกสบายและเหมาะเจาะสอดคล้องกับสิ่งที่ตนอยากมีอยากเป็นกันจนวันนี้ พุทธเหมือนกันแต่กลับมีนิกายแตกต่างกันนับร้อย ๆ นิกาย

แม้นขนานเถรวาทของเราเองก็ยังแยกออกเป็น ธรรมยุต,มหานิกาย กันแบบที่ต่างฝ่ายต่างก็แยกกันนานาสังวาสกันด้วยซ้ำ

และที่สำคัญสาระในการสอนและเป้าหมายสูงสุดในบางนิกายกลับเริ่มเพี้ยนเปลี่ยนไปแบบสิ้นเชิง .

ทั้งที่ สาระคำสอนของท่านนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ในการทำให้มนุษย์เดินไปอย่างสวยงามและเป้าสำคัญคือการตัดอาสวะกิเลสและหลุดพ้นในวัฎฎะสังสาร  แต่คนทุกวันนี้ที่บัตรประชาชนระบุศาสนาพุทธก็ยังผูกติดอยู่กับความเชื่อถือในแบบที่บรรพบุรุษเคยเป็นมาเมื่อครั้งยุคถ้ำ

เรื่องของ ความเชื่อ...ผีสาง..เทพเทวัญ เครื่องรางของขลัง เสกเป่าอาคม,พ่นน้ำหมาก..สาดน้ำมันต์ ,โชคลางอาถรรพ์สารพัน ยังอยู่ครบไม่ได้ทำให้เราก้าวพ้นจากการเป็น "ผู้ตื่น" กันเลย

แม้นแต่ผู้ที่บวชเป็นภิกษุกันนับหลายสิบพรรษาจนถือเป็น "พระเถระ" ที่พุทธองค์ทรงบอกว่าเขาเหล่านั้นคือ บุตรแห่งพุทธองค์ก็ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ควรจะเป็น "ผู้เดินตาม" แต่กลับกลายเป็นผู้ที่ฝืนและกระทำในสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามและทรงรังเกียจและทรงตำหนิว่าเป็นเรื่อง เดรัจฉานวิชชาไว้มากมาย

ต้องขอบคุณท่าน คนเมืองสง ที่กรุณาเตือนผมเรื่องการก้าวล่วงพระมหาเถระที่อยู่ในมหาเถรสมาคม เพราะเกรงว่าบาปจะติดตัวผมนั้น  .....

  ผมขอยืนยันสิ่งที่จะชี้แจงท่านต่อไปนี้ถือเป็นการปกป้องพระศาสนาทั้งที่ผมเป็นเพียง คฤหัสถ์ แต่ผมเชื่อว่าผมมีจิตหยั่งลงมั่นในพระรัตนตรัยอย่างสูงสุดด้วยซ้ำ

ส่วนคำว่า "มหาเถระ" นั้น ผมถือว่า เป็นเพียงศัพท์บัญญัติจากฝ่ายโลกที่ตั้งให้แก่พระเถระที่มีพรรษาสูงเท่านั้น และมหาเถรสมาคมนั้นมิใช่องค์กรตามพระวินัยทว่าเป็นเพียงองค์กรทางโลกที่ตั้งขึ้นเพื่อให้การปกครองศาสนจักรเป็นไปอย่างเข้ารูปเข้ารอย และสอดคล้องต้องกับฝ่ายอาณาจักรเท่านั้น

พระมหาเถระ ตามพระไตรปิฎกที่เรารู้จักมีเพียง "พระมหานามะเถระ" ซึ่งเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ปัญจวัคคีย์ นั่นน่ะใช่แน่

พุทธเจ้าไม่เคยทรงเรียกหรือทรงให้ฉายาแก่พระองค์ใดว่าเป็น "มหาเถระ" แม้นแต่ภิกษุรูปนั้นจะเป็นพระอรหันต์ด้วยซ้ำ

แน่นอน...ว่าการเคารพนับถือภิกษุนั้นเป็นธรรมชาติของคนพุทธอยู่แล้ว เพราะเมื่อเราตั้งมั่นและศรัทธาในพุทธองค์ และเมื่อเราถือว่า ภิกษุ ผู้เข้ามาบวช ถือเป็นผู้เดินตามตถาคต เราหรือจะไม่ให้ความเคารพ

เพราะแม้นแต่พุทธเจ้ายังทรงบัญญัติให้ ภิกษุผู้อ่อนพรรษาย่อมกระทำอัญชลีไหว้กราบต่อภิกษุผู้แก่พรรษา ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ท่านทรงวางกรอบไว้เป็นเรื่องสำคัญโดยไม่มีเรื่องยศฐามาเป็นเครื่องกั้นให้วุ่นวายในวงการภิกษุ

ผมจำได้ว่าครั้งหนึ่ง เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราชสกลฯ เมื่อครั้งทรงพระชมน์ชีพ ท่านเคยเสด็จไปเยี่ยมท่านพุทธทาสถึงวัดที่ไชยา ท่านพุทธทาสคุกเข่าลงเพื่อขอกราบสมเด็จพระสังฆราชฯ ท่านรีบบอกว่าไม่ได้ ๆ ท่านรีบน้อมกายลงไหว้ตอบกลับทันที  ทั้งที่ท่านเป็นถึงพระสังฆราช นี่แสดงให้เห็นถึง การไม่ยึดติดในเรื่องของ "ยศช้าง ขุนนางพระ"  แต่เป็นเรื่องของการถือเอา พรรษาอ่อนแก่กว่า ตามพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างน่าชมเชย


ดังนั้นเรื่องนี้..ท่านคนเมืองสง คงไม่ต้องเป็นกังวลว่าผมจะตกนรกหมกไหม้..เพราะไปก้าวล่วงท่าน ๆ ในมหาเถรฯ  ครับ

เพราะถ้าวันหนี่งวันใด ถ้ามีข่าวว่าบางรูปมีรถหรูหลายสิบ..แถมลงทุนเล่นหุ้น ทำธุรกิจ ฯลฯ  วันนั้นคงต้องลองกล้าท้าบาป กันซักทีก็ดีครับ


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

คนเมืองสง

ภิกษุณี (บาลี: ภิกฺขุณี; สันสกฤต: ภิกฺษุณี; จีน: 比丘尼) เป็นคำใช้เรียกนักบวชหญิง ในพระพุทธศาสนา คู่กับ ภิกษุ ที่หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น

ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมี2หรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน3 ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้[1] โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์

ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา1

ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน[2] แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้

คนเมืองสง

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:55 น.  09 ม.ค 58

ดังนั้น หากยึดเอาตามพระธรรมวินัยแล้วก็ต้องถือว่า การบวชภิกษุณีสงฆ์ที่เกาะยอถือว่าไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย เพราะพระศรีลังกาท่านถือว่าไม่ได้ยึดติดเอากับนิกายว่าจะเป็นเถรวาทหรือนิกายอื่นใด แต่ถือเอาพระธรรมวินัยที่ระบุอนุญาตอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผมจึงสรุปย้ำตอบกระทู้ว่า การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ
เพียงแต่การตีความตามพระธรรมวินัยของมหาเถรสมาคมนั้น ท่านอาจตีความในทางการที่แคบและมีเรื่องของการจำกัดความเป็นนิกายเถรวาทเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ทุกฝ่ายก็ทราบว่าพุทธานุญาตและพระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่าใช้สำหรับนิกายใด (เพราะเมื่อครั้งพุทธกาลยังไม่มีนิกาย)
/quote]
ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ย้ำกระทู้เพื่อแสดงจุดยืนที่แท้จริง ถ้าท่านไม่ใช่พุทธแบบไทยก็แล้วไป แต่หากท่านเป็นพุทธฝ่ายเถรวาทสิ่งที่กระผมจะขอเตือนท่านผู้ไม่นับถือนิกาย ได้แก่คำถามดังต่อไปนี้
๑.ท่านรู้จักพระพุทธศาสนามาจากที่ใด
๒.ท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาจากแหล่งความรู้ใด
๓.ใครเป็นผู้แนะนำให้ท่านรู้จักพระพุทธเจ้า อันนี้สำคัญมาก**** เป็นที่มาของนิกาย
๔.ที่ท่านกล่าวว่า "การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ" ที่ท่านกล่าวอ้างนี้ ท่านได้ความรู้นี้มาจากที่ใด และที่ท่านว่าเป็นเรื่องพระธรรมวินัยล้วนๆนั้น ท่านได้ความรู้ด้านพระธรรมวินัยที่ว่านั้นมาจากที่ใด
ขอให้ท่านตอบคำถามกระผมทุกข้ออย่าได้ขาด ก็จะเป็นกุศลแก่ท่าน(ผู้เบิกบาน) และท่านผู้อ่านผู้ติดตาม
     กระผมขอถอนคำพูดที่ได้เตือนท่านเรื่องที่ว่าอาจล่วงเกินพระเถระในมหาเถระสมาคม เพราะท่านได้อธิบายไว้แล้วนั้น

คนเมืองสง

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:55 น.  09 ม.ค 58

เดิมตั้งใจจะไม่ต่อกระทู้ เพราะเห็นว่า หลายท่านในนี้ล้วนเป็นผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาด้วยกันทั้งนั้น...
แต่มีก็มีบางท่าน เช่น ท่านคนเมืองสง ที่แสดงความคิดเห็นที่ผมยังเห็นว่า ยังมีบางสิ่งที่เราเห็นไม่ตรงกัน ..
และสิ่งที่เห็นไม่ตรงกันนั้น ..ผมไม่อยากคิดว่าเป็นเรื่องการเอาชนะคะคานกัน ..แต่ควรจะเป็นการขยายความเข้าใจในเรื่อง พระศาสนา ให้มันถูกทำนองครองรูปแบบกันโดยถือเอาเหตุและผลเป็นตัวตั้ง

ผมเห็นว่าปัญหากรณีกระทู้ที่ตั้งเพื่อค้นหาคำตอบว่า เมืองไทยจะสามารถมีภิกษุณีได้หรือไม่นั้น  ท่านคนเมืองสงท่านก็ตอบเองแล้วว่าเป็นเรื่องของพระธรรมวินัย และท่านก็แสดงความเห็นชัดว่า เรื่องนี้ มหาเถรสมาคมไม่มีอำนาจจะไปจัดการใด ๆ เพราะท่านไม่มีสิทธิในการไปแก้ไขหรือไปตัดทอนพระธรรมวินัย!??   ดังนั้นคงต้องทบทวนกันอีกทีว่า เรื่องนี้แท้จริงแล้วในพระธรรมวินัยนั้นเอื้อให้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้หรือไม่?

จนทุกวันนี้พระธรรมวินัยก็ยังไม่ได้มีการตัดทอนเรื่องการอนุญาตให้หญิงสามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ ซึ่งปรากฎอยู่สองเรื่องคือ ในครั้งแรก พุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์สามารถบวชภิกษุณีได้ และต่อมาเมื่อปรากฎว่ามีภิกษุณีปรากฎขึ้นแล้ว ก็ทรงบัญญัติไว้เพิ่มเติมว่า ในการบวชภิกษุณีให้มีการบวชด้วยสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

ดังนั้น ปัญหาว่าถ้าจะบอกว่าในพระธรรมวินัยมิได้อนุญาตไว้ อันนี้ถือว่า ผิดพลาด! เพราะมีการอนุญาตให้ได้ เพียงแต่ว่าการตีความว่าจะเป็นการบวชแบบใด แบบครั้งแรกที่ทรงอนุญาตว่า บวชได้โดยภิกษุสงฆ์ หรือ บวชโดยสงฆ์สองฝ่าย

และเมื่อมหาเถรสมาคม ได้ออกมาบอกว่า ภิกษุสงฆ์ไทยไม่สามารถบวชภิกษุณีได้ เนื่องจาก ภิกษุณีได้สูญสิ้นไปแล้วนับร้อยปี โดยอ้างตามพระธรรมวินัยที่พุทธองค์ทรงบัญญัติกรณีหลังว่า การบวชภิกษุณีต้องกระทำด้วยสงฆ์สองฝ่าย แต่อีกฝ่ายคือภิกษุณีสงฆ์(เถรวาท)นั้นไม่มีแล้วจะให้ทำอย่างไร ดังนั้นก็เท่ากับว่าทางภิกษุสงฆ์ไทยซึ่งถือนิกายเถรวาทไม่สามารถจะบวชให้ได้ นี่ต่างหากคือกรณีที่ต้องพิเคราะห์กันว่าการอ้างพระธรรมวินัยกรณีหลังแต่กรณีแรกที่ทรงบัญญัติให้ ภิกษุสงฆ์บวชภิกษุณีได้นั้นตกลงพระวินัยข้อนี้กลายเป็นโมฆะไปเสียแล้วหรืออย่าง?

แต่กลับกันในกรณีที่พระศรีลังกาท่านบวชภิกษุณีให้ฝ่ายหญิงในยุคแรก ๆ ท่านก็ถือเอาตามพระวินัยที่ทรงมีพุทธานุญาตว่า ภิกษุสงฆ์สามารถบวชภิกษุณีได้ ท่านก็บวชให้ตามนั้น  และต่อมาเมื่อมีภิกษุณีเกิดขึ้นอีกครั้งแล้ว การบวชครั้งต่อมาท่านก็ยึดเอาการบวชจากสงฆ์สองฝ่าย แบบที่กระทำที่เกาะยอ  โดยฝ่ายภิกษุสงฆ์นั้นคือ พระสังฆราชานิกายอมรปุระ และภิกษุณีสงฆ์ก็เป็นท่านธัมนันทาภิกษุณีสงฆ์ไทยที่เคยไปบวชเรียนสายสยามวงศ์ที่ศรีลังกามา โดยสงฆ์สองฝ่ายต่างก็คนละนิกายกันด้วยซ้ำ

ดังนั้น หากยึดเอาตามพระธรรมวินัยแล้วก็ต้องถือว่า การบวชภิกษุณีสงฆ์ที่เกาะยอถือว่าไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย เพราะพระศรีลังกาท่านถือว่าไม่ได้ยึดติดเอากับนิกายว่าจะเป็นเถรวาทหรือนิกายอื่นใด แต่ถือเอาพระธรรมวินัยที่ระบุอนุญาตอย่างใดอย่างหนึ่ง

ผมจึงสรุปย้ำตอบกระทู้ว่า การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ
เพียงแต่การตีความตามพระธรรมวินัยของมหาเถรสมาคมนั้น ท่านอาจตีความในทางการที่แคบและมีเรื่องของการจำกัดความเป็นนิกายเถรวาทเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ทุกฝ่ายก็ทราบว่าพุทธานุญาตและพระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่าใช้สำหรับนิกายใด (เพราะเมื่อครั้งพุทธกาลยังไม่มีนิกาย)
เป็นเรื่องของการถือเอา พรรษาอ่อนแก่กว่า ตามพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างน่าชมเชย

ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ย้ำกระทู้เพื่อแสดงจุดยืนที่แท้จริง ถ้าท่านไม่ใช่พุทธแบบไทยก็แล้วไป แต่หากท่านเป็นพุทธฝ่ายเถรวาทสิ่งที่กระผมจะขอเตือนท่านผู้ไม่นับถือนิกาย ได้แก่คำถามดังต่อไปนี้
๑.ท่านรู้จักพระพุทธศาสนามาจากที่ใด
๒.ท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาจากแหล่งความรู้ใด
๓.ใครเป็นผู้แนะนำให้ท่านรู้จักพระพุทธเจ้า อันนี้สำคัญมาก**** เป็นที่มาของนิกาย
๔.ที่ท่านกล่าวว่า "การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ" ที่ท่านกล่าวอ้างนี้ ท่านได้ความรู้นี้มาจากที่ใด และที่ท่านว่าเป็นเรื่องพระธรรมวินัยล้วนๆนั้น ท่านได้ความรู้ด้านพระธรรมวินัยที่ว่านั้นมาจากที่ใด
ขอให้ท่านตอบคำถามกระผมทุกข้ออย่าได้ขาด ก็จะเป็นกุศลแก่ท่าน(ผู้เบิกบาน) และท่านผู้อ่านผู้ติดตาม
     กระผมขอถอนคำพูดที่ได้เตือนท่านเรื่องที่ว่าอาจล่วงเกินพระเถระในมหาเถระสมาคม เพราะท่านได้อธิบายไว้แล้วนั้น

คนเมืองสง

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:55 น.  09 ม.ค 58
ดังนั้น หากยึดเอาตามพระธรรมวินัยแล้วก็ต้องถือว่า การบวชภิกษุณีสงฆ์ที่เกาะยอถือว่าไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย เพราะพระศรีลังกาท่านถือว่าไม่ได้ยึดติดเอากับนิกายว่าจะเป็นเถรวาทหรือนิกายอื่นใด แต่ถือเอาพระธรรมวินัยที่ระบุอนุญาตอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผมจึงสรุปย้ำตอบกระทู้ว่า การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ
เพียงแต่การตีความตามพระธรรมวินัยของมหาเถรสมาคมนั้น ท่านอาจตีความในทางการที่แคบและมีเรื่องของการจำกัดความเป็นนิกายเถรวาทเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่ทุกฝ่ายก็ทราบว่าพุทธานุญาตและพระธรรมวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นไม่ได้มีการระบุว่าใช้สำหรับนิกายใด (เพราะเมื่อครั้งพุทธกาลยังไม่มีนิกาย)
ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ย้ำกระทู้เพื่อแสดงจุดยืนที่แท้จริง ถ้าท่านไม่ใช่พุทธแบบไทยก็แล้วไป แต่หากท่านเป็นพุทธฝ่ายเถรวาทสิ่งที่กระผมจะขอเตือนท่านผู้ไม่นับถือนิกาย ได้แก่คำถามดังต่อไปนี้
๑.ท่านรู้จักพระพุทธศาสนามาจากที่ใด
๒.ท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาจากแหล่งความรู้ใด
๓.ใครเป็นผู้แนะนำให้ท่านรู้จักพระพุทธเจ้า อันนี้สำคัญมาก**** เป็นที่มาของนิกาย
๔.ที่ท่านกล่าวว่า "การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ" ที่ท่านกล่าวอ้างนี้ ท่านได้ความรู้นี้มาจากที่ใด และที่ท่านว่าเป็นเรื่องพระธรรมวินัยล้วนๆนั้น ท่านได้ความรู้ด้านพระธรรมวินัยที่ว่านั้นมาจากที่ใด
ขอให้ท่านตอบคำถามกระผมทุกข้ออย่าได้ขาด ก็จะเป็นกุศลแก่ท่าน(ผู้เบิกบาน) และท่านผู้อ่านผู้ติดตาม
     กระผมขอถอนคำพูดที่ได้เตือนท่านเรื่องที่ว่าอาจล่วงเกินพระเถระในมหาเถระสมาคม เพราะท่านได้อธิบายไว้แล้วนั้น

donrakna

คุณอยากให้เค้าตอบ   อยากให้เค้าแสดงจุดยืน  แต่ในขณะเดียวกัน  คุณคือใครล่ะครับทำไมไม่แสดงตัวตนบ้างหล่ะ  จะได้รู้จุดยืนของคุณเช่นกัน  น่ะ...คุณ  "คนเมืองสง"
ร้านพี่น้องการไฟฟ้า  ขายเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  รับประกัน 1ปี เลขที่ 276 ม.3 ต.ควนลัง ถ.เพรชเกษม อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา 90110   T.0816798393  don_rakna@hotmail.com

donrakna

อ้างจาก: คนชอบถาม เมื่อ 22:15 น.  15 ธ.ค 57
เห็นด้วยกับนายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้สัมภาษณ์ว่า

หากมหาเถรสมาคมเห็นว่าเป็นการดำเนินการตามฝ่ายเถรวาทอย่างเคร่งครัด ก็อยากให้มหาเถรสมาคมให้พระภิกษุที่มีเงินหรือทรัพย์สินส่วนตน ได้แสดงบัญชีทรัพย์สินออกมา เพราะพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าเงินเป็นอสรพิษของภิกษุ

....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1w8TiJa


ท่อนนี้มันสุดติ่งกระดิ่งแมวจริงๆครับ 
"หากมหาเถรสมาคมเห็นว่าเป็นการดำเนินการตามฝ่ายเถรวาทอย่างเคร่งครัด ก็อยากให้มหาเถรสมาคมให้พระภิกษุที่มีเงินหรือทรัพย์สินส่วนตน ได้แสดงบัญชีทรัพย์สินออกมา เพราะพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าเงินเป็นอสรพิษของภิกษุ"   
  โดนแบบเจ็บๆ  บวชเพื่อหา  ยศฐาบรรดาศักดิ์  ลาบ  สักการะ  กันเกือบทั้งนั้นแหละครับ  ผมหล่ะหน่าย  "พระมียศ"  นี่ถ้าเกิดพระพุทธเจ้ายังอยู่น่ะ   ท่านจะว่ายังไงเนี่ย  ขนาดพระอรหันต์เบื่องซ้าย  และขวาของพระพุทธเจ้ายังไม่มียศเลย  แล้วนี่อะไรพระอรหันต์ก็ไม่ใช่  โสดาบันก็คงจะห่างไกล  แรงกว่าปุถุชนคนเดินดิน  ที่ไม่ได้บวชซะอีก 
ร้านพี่น้องการไฟฟ้า  ขายเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  รับประกัน 1ปี เลขที่ 276 ม.3 ต.ควนลัง ถ.เพรชเกษม อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา 90110   T.0816798393  don_rakna@hotmail.com

คนเมืองสง

อ้างจาก: donrakna เมื่อ 21:47 น.  11 ม.ค 58
คุณอยากให้เค้าตอบ   อยากให้เค้าแสดงจุดยืน  แต่ในขณะเดียวกัน  คุณคือใครล่ะครับทำไมไม่แสดงตัวตนบ้างหล่ะ  จะได้รู้จุดยืนของคุณเช่นกัน  น่ะ...คุณ  "คนเมืองสง"
ท่านควรอ่านกระทู้มาให้ครบถ้วนตั้งแต่เริ่มต้น คำถามของกระผม เป็นการถามแบบให้คำตอบในเรื่องของที่มาแห่งนิกาย
ส่วนเรื่องการย้ำจุดยืนเป็นคำพูดของคู่สนทนาผมเอง กระผมไม่ได้ขอให้เขาแสดง

คนเมืองสง

อ้างจาก: donrakna เมื่อ 22:17 น.  11 ม.ค 58

ท่อนนี้มันสุดติ่งกระดิ่งแมวจริงๆครับ 
"หากมหาเถรสมาคมเห็นว่าเป็นการดำเนินการตามฝ่ายเถรวาทอย่างเคร่งครัด ก็อยากให้มหาเถรสมาคมให้พระภิกษุที่มีเงินหรือทรัพย์สินส่วนตน ได้แสดงบัญชีทรัพย์สินออกมา เพราะพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าเงินเป็นอสรพิษของภิกษุ"   
  โดนแบบเจ็บๆ  บวชเพื่อหา  ยศฐาบรรดาศักดิ์  ลาบ  สักการะ  กันเกือบทั้งนั้นแหละครับ  ผมหล่ะหน่าย  "พระมียศ"  นี่ถ้าเกิดพระพุทธเจ้ายังอยู่น่ะ   ท่านจะว่ายังไงเนี่ย  ขนาดพระอรหันต์เบื่องซ้าย  และขวาของพระพุทธเจ้ายังไม่มียศเลย  แล้วนี่อะไรพระอรหันต์ก็ไม่ใช่  โสดาบันก็คงจะห่างไกล  แรงกว่าปุถุชนคนเดินดิน  ที่ไม่ได้บวชซะอีก
ความคิดเห็นในประเด็นนี้ไม่ควรมาอยู่ในหัวข้อ "การบวชภิกษุณี สามเณรี ในประเทศไทยทำได้หรือไม่เห็นที่เกาะยอทำแล้ว" กลายเป็นการถุ้มเถียงแบบขี้แพ้ชวนตี เมื่อจนมุมในประเด็นหลัก ขออนุญาตดึงกลับมาสู่ประเด็นหลัก หากอยากจะกล่าวเรื่องที่ว่านั้นอีกขอให้ไปเปิดเป็นหัวข้อใหม่ กระผมจะตามไปสนทนาด้วย

donrakna

ขอโทษด้วยครับ  บางทีผมพูดอะไรไม่ค่อยคิดอะครับ  เพราะอดไม่ค่อยได้กับหลายๆเรื่องของพระสงฆ์ 
ร้านพี่น้องการไฟฟ้า  ขายเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  รับประกัน 1ปี เลขที่ 276 ม.3 ต.ควนลัง ถ.เพรชเกษม อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา 90110   T.0816798393  don_rakna@hotmail.com

Mr.No

อ้างจาก: คนเมืองสง เมื่อ 21:30 น.  11 ม.ค 58
ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ย้ำกระทู้เพื่อแสดงจุดยืนที่แท้จริง ถ้าท่านไม่ใช่พุทธแบบไทยก็แล้วไป แต่หากท่านเป็นพุทธฝ่ายเถรวาทสิ่งที่กระผมจะขอเตือนท่านผู้ไม่นับถือนิกาย ได้แก่คำถามดังต่อไปนี้
๑.ท่านรู้จักพระพุทธศาสนามาจากที่ใด
๒.ท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาจากแหล่งความรู้ใด
๓.ใครเป็นผู้แนะนำให้ท่านรู้จักพระพุทธเจ้า อันนี้สำคัญมาก**** เป็นที่มาของนิกาย
๔.ที่ท่านกล่าวว่า "การบวชภิกษุณีที่เกาะยอนั้น ถือว่ากระทำได้ตามหลักพุทธานุญาตที่ปราศจากเรื่องราวของนิกายมาเกี่ยวพัน แต่เป็นเรื่องตามพระธรรมวินัยล้วน ๆ" ที่ท่านกล่าวอ้างนี้ ท่านได้ความรู้นี้มาจากที่ใด และที่ท่านว่าเป็นเรื่องพระธรรมวินัยล้วนๆนั้น ท่านได้ความรู้ด้านพระธรรมวินัยที่ว่านั้นมาจากที่ใด
ขอให้ท่านตอบคำถามกระผมทุกข้ออย่าได้ขาด ก็จะเป็นกุศลแก่ท่าน(ผู้เบิกบาน) และท่านผู้อ่านผู้ติดตาม
     กระผมขอถอนคำพูดที่ได้เตือนท่านเรื่องที่ว่าอาจล่วงเกินพระเถระในมหาเถระสมาคม เพราะท่านได้อธิบายไว้แล้วนั้น

ท่านคุณเมืองสง ครับ

ทั้ง 1-4 ข้อ ผมอ่านป๊าดก็รู้ว่าคำตอบมันแค่ข้อเดียว  เพราะคำถามท่านพยายามจะชี้ให้เห็นว่า ทั้งหมดทั้งปวง มิใช่ล้วนมาจาก "เถรวาทนิกาย" ดอกหรือ? 

ราวกับท่านจะบอกเป็นนัยแก่ผมว่า....ไม่เพราะ "เถรวาทนิกาย" ดอกหรือ ที่ทำให้เราต้องมาพิเคราะห์เรื่องโน้นนี่กันในสาระของพระไตรปิฎก


จริง ๆ ถ้าท่านได้อ่านที่ผมเขียนไว้อย่างพินิจ..จะพบว่า ผมก็ระบุชัดทั้งในแง่ของ มิติทางศาสนา และด้านประวัติศาสตร์ครบถ้วนว่าแท้จริงแล้ว  ปัญหาที่มันเกิดล้วนเป็นเรื่องของ "นิกาย" เป็นเหตุทั้งสิ้น

และคำถามดูเหมือนว่าท่านกำลังจะถามผมว่าแท้จริง ผมเป็นพุทธนิกายใด????  ผมว่าอันนี้ไม่ใช่สาระที่จะตอบ เพราะผมถือตามความเห็นของบัณฑิตว่า  "สาวกของพุทธองค์" ไม่มีนิกาย 

ัดังนั้นข้ามประเด็นนี้ไปดูในสาระที่ปรากฎกันพระไตรปิฎกกันเลยมิดีกว่าหรือครับ?

ผมมีคำตอบง่าย  ๆแต่ก่อนตอบก็ต้องเป็นคำถามกลับไปยังท่านที่จะต้องตอบผมก่อนว่า.......   สาระสำคัญทั้งมวลในพระไตรปิฏกที่เราทำสังคายนาและตกลงว่าเราจะเป็นเถรวาทนิกายนั่น....ท่านได้โปรดช่วยหาถ้อยคำหรือประโยคใดในสุตตันตะบทใด..วรรคใดในพระไตรปิฎกที่ระบุนั้นหน่อยเถอะครับว่า   พุทธองค์ทรงบัญญัติว่า  พระองค์ทรงโปรดให้ใช้สำหรับ  "เถรวาทนิกาย" จำเพาะ

หรือในคัมภร์ใด..หมวดใดที่ทรงบัญญัติไว้เป็นการจำเพาะว่า   การบวชภิกษุณีให้กระทำโดยสงฆ์นิกายเถรวาทสองฝ่าย!

และยิ่งหากท่านบอกว่า เราถือว่ายึดถือนิกายเถรวาทซึ่งถือเอาสาระสำคัญแห่งพระธรรมวินัยเดิมไว้อย่างเคร่งครัด ก็ช่วยค้นหาคำตอบให้ผมทีว่า   พระบรมศาสดาของเราตรัสห้ามการบวชภิกษุณีไว้ในหมวดใด..วรรคไหน?

ดังนั้น...ในการตีความหรือพิจารณาเรื่องนี้   เราต้องยึดถือเอาตาม   "พระธรรมวินัย" ของพุทธองค์  เป็นบัญญัติของพระองค์  มิใช่  ของ "นิกาย" ใดหรือ  "มหาเถรสมาคม" หรือของใคร มิใช่หรือครับ?

ผมถือว่า  ...เมืองไทยอาจจะโชคดีที่เราเป็น "เถรวาท" เพราะสาระสำคัญที่ปรากฎในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในส่วนของ "พุทธโอษฐ์" (คำพูดที่ออกจากปากพระศาสดา) นั้น เรามีมากกว่าและรักษาแบบดั้งเดิมไว้มากที่สุดในโลก

ดังนั้น..เราจึงถือว่า สิ่งที่ใดที่พุทธองค์ทรงบัญญัติก็ให้ถือตาม...สิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงบัญญัติก็อย่าได้ไปตีความหรือสร้างประเพณีและแอบทำเนียนแนบท้ายป้ายเรื่องให้กลายเป็นไขว้เขวสับสน  แค่นี้ง่าย  ๆครับ

ยิ่งท่านตั้งคำถามราวกับจะบอกว่า...ทุกสิ่งที่ปรากฎในพระไตรปิฎกที่เรามีใช้นี้มิใช่ล้วนมาจากคุณูปการของ "นิกายเถรวาท" ดอกหรือ?

อันนี้ก็ตอบว่า  "ใช่!"   แต่มันคนละเรื่องกับประเด็นทีจะเสวนากัน

เพราะประเด็นเรื่องภิกษุณี...มันง่าย ๆ ก็คือ  ถ้าในพระวินัยปิฎก ท่านทรงอนุญาตว่า "ได้" ก็คือ "ได้"
จะอภินิกาย..หรือ   อภิมหาสมาคมใด...ก็อย่าได้บังอาจไปตัดทอนหรือบิดเบือนพระสัทธรรมที่ปรากฎในนั้นให้มันวุ่นวาย

ผมสรุปให้ท่านทราบว่า     สาระของคำตอบคือ ถ้าจะตอบปัญหาธรรมหรือมีข้อสงสัยในธรรม...หรือพระวินัยต้องว่ากันที่ธรรม...และเป็นธรรมที่ปรากฎในพระไตรปิฎก มิใช่ วาทะของสาวกหรือแค่  "สมมุติสงฆ์"

พระธรรมวินัยของพุทธองค์ซึ่งถือเป็น "สัพพัญญู" นั้น ผมเปรียบเสมือนกฎหมายอาญาของภิกขุ ที่ไม่ต้องมีใครมาทำเป็นผู้รู้ไปกว่าพระองค์ ...แถมไปตีความเจตนาของพระองค์ว่าที่ทรงบัญญัติแบบนั้นแบบนี้เพราะว่าโน่นนี่..จึงถือว่าอนุโลมหรือปรับเปลี่ยนได้บ้าง ฯลฯ  อันนี้แหละที่เป็นปัญหา

ผมถือว่า  เมื่อท่านทรงประกาศพระองค์เองว่า เป็น  "ตถาคต" ซึ่งหมายถึงผู้มาก่อน..ดังนั้น  จะพระอรหันต์องค์ใด..หรือเกจิรูปใด ฯลฯ ก็แค่ "ผู้เดินตาม" และไม่สามารถจะเป็น "สัมมาสัมพุทธะ"  ได้เลย

หลายท่านที่แสดงความเห็นโดยเฉพาะในเรื่องวัตรปฎิบัติของ  สงฆ์ไทย ที่ไม่ดีไม่งาม...ผมก็เห็นสอดคล้องว่าไม่ได้เป็นเรื่องนอกประเด็นกระทู้นี้...และสมควรแล้วที่จะได้นำมาร่วมกันหาเหตุผลว่า  เพราะเหตุใด ความล้มเหลวในการปกครองสงฆ์ให้อยู่ในร่องในรอยจึงได้หละหลวมและย่อหย่อนปล่อยให้  พระธรรมวินัยของพระบรมศาสดา กลายเป็นคัมภีร์คร่ำครึและราวกับใช้สำหรับประกอบประเพณีเท่านั้น

ผมยืนยันว่าการปกป้องพระศาสนาเป็นเรื่องของชาวพุทธทุกคน  ..เป็นหน้าที่อันงดงามของบริษัทสี่ ดังนั้น..การวิพากษ์ ชี้โทษสมมุติสงฆ์หรือขับไล่อลัชชี...เดียรถีย์หนีมาบวชทำมาหากินจึงเป็นเรื่องของทั้งท่านและผมมิใช่หรือ?

ก่อนจบ..ผมจะตอบแค่ข้อ 4 เพราะเดี๋ยวจะหาว่าผมเลี่ยงโดยเฉพาะถ้าจะหมายถึงว่าผมเอาจากตรงไหนมา  (ส่วน 1-3 ผมตอบให้แล้วนะ) 

"ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวาย บังคม ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉัน จะปฏิบัติในนางสากิยานีพวกนี้ อย่างไร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทีนั้นพระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้อันพระผู้มีพระภาคได้ทรง ชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมี กถาแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี ฯ

พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
หน้าที่ ๒๑๑/๒๗๙ ข้อที่ ๕๑๙-๕๒๐ (ฉบับหลวง)

ผมตอบให้แล้วนะครับ... ท่านช่วยบอกทีว่า  ที่ผมยกมาและสาระปรากฎนั่น.... เป็นธรรมวินัยบัญญัติของใคร ?  และถ้าตอบว่าเป็นของพระบรมศาสดาเจ้า ... ผมก็มีคำถามว่า  แล้ว  นิกายเถรวาทหรือใครในมหาสมาคมไหนที่บอกว่ายึดเอาพระธรรมวินัยเดิมไว้อย่างเคร่งครัด  ดันลบพุทธบัญญัติข้อนี้ของพระองค์ทิ้งไปเสียแล้ว!??


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.


คนเมืองสง

ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม ๑๖ หน้า ๔๕๗


ประกาศ
ห้ามพระเณรไม่ให้บวชหญิงเป็นบรรพชิต

    หญิงซึ่งจักได้สมมติตนเป็นสามเณรี โดยถูกต้องพระพุทธานุญาตนั้น ต้องสำเร็จด้วยนางภิกษุณีให้บรรพชา เพราะพระองค์ทรงอนุญาติให้นางภิกษุณีมีพรรษา ๑๒ ล่วงแล้วเป็นปวัตตินี คือ เป็นอุปัชฌาย์ไม่ได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นอุปัชฌาย์ นางภิกษุณีหมดสาบสูญขาดเชื้อสายมานานแล้ว

    เมื่อนางภิกษุณีผู้รักษาขนบ ธรรมเนียมสืบต่อสามเณรีไม่มีแล้ว สามเณรีผู้บวชสืบต่อมาจากภิกษุณีก็ไม่มีเป็นอันเสื่อมสูญไปตามกัน ผู้ใดให้บรรพชาเป็นสามเณรีผู้นั้นชื่อว่าบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ บัญญัติเลิกถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

    เพราะเหตุนี้ ห้ามไม่ให้พระเณรทุกนิกายบวชหญิงเป็นภิกษุณีเป็นสิกขมานา และเป็นสามเณรีตั้งแต่นี้ไป


ประกาศแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

แถลงการณ์สภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

แถลงการณ์สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
เรื่อง การบวชภิกษุณีและสามเณรีในประเทศไทย

    ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการบวชภิกษุณีและ สามเณรีในประเทศไทยทางสื่อมวลชนทุกแขนงในระยะเวลาที่ผ่านมา บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านความคิด ขยายวงกว้างเป็นความขัดแย้งทางความคิดส่งผลกระทบถึงคณะสงฆ์ไทยและ พุทธศาสนิกชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เห็นว่า หากต่างฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์ บนพื้นฐานแนวคิดที่แตกต่างกันไม่นำหลักพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาเป็นบรรทัดฐาน ในการพิจารณาแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวมอย่างรุนแรง

    ในการประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อธิการบดีเป็นประธาน ที่ประชุมได้พิจารณากรณีดังกล่าวและเห็นตรงกันว่า เรื่องนี้เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งจะต้องทำความรู้ความเข้าใจให้ตรงประเด็นและยึดถือตามพระธรรมวินัย ตามหลักการและจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ไทย (เถรวาท) ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมา คือ
๑. พิธีกรรมการบวชในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องทางพระธรรมวินัย เป็นพุทธอาณา (พุทธอำนาจ) ซึ่งทุกฝ่ายต้องเคารพในพระธรรมวินัยอันเป็นหลักสำคัญสูงสุดของพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการบวชภิกษุณี หรือแม้แต่พิธีกรรมการบวชใด ๆ ก็ตาม
๒. พิธีกรรมการบวชเป็นภิกษุณีต้องสำเร็จจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ เมื่อการสืบทอดภิกษุณีสงฆ์ได้ขาดตอนลง ตามหลักพระธรรมวินัยที่คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทยึดถือ พระภิกษุสงฆ์ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมิได้มีบทบัญญัติที่เป็นพุทธานุญาตให้กระทำ คณะสงฆ์ต้องเคารพพระธรรมวินัยตามพระพุทธโอวาท
๓. ประวัติศาสตร์การปกครองคณะสงฆ์ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อกรณีนี้อย่างชัดเจนตลอดมา กล่าวคือ
  (๑) พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามภิกษุสงฆ์ในประเทศไทยทำการอุปสมบทให้แก่สตรี
  (๒) คำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ ๒๘/๒๕๒๗ และครั้งที่ ๑๘/๒๕๓๐ ห้ามภิกษุสงฆ์ทำพิธีอุปสมบทให้สตรีเป็นภิกษุณี
  (๓) พระวรธรรมคติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ห้ามบวชให้แก่สตรีเพื่อเป็นภิกษุณี
๔. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเชื่อมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาว่า มนุษย์คือเวไนยสัตว์ที่มีศักยภาพ สามารถฝึกอบรมและพัฒนาได้ตามเหตุปัจจัย แม้จะอยู่ในเพศภาวะใดก็สามารถบรรลุคุณธรรมได้   นิกาย(เถรวาท มหายาน หรือพระพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ ) มิใช่อุปสรรคขัดขวางการศึกษาเรียนรู้ การปฏิบัติธรรม และการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา
๕. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเห็นว่า ทุกฝ่ายควรให้ความเคารพต่อพระธรรมวินัย ไม่ควรฝ่าฝืนพุทธบัญญัติ แต่ควรหาทางส่งเสริมให้สตรี ได้มีการศึกษาและปฏิบัติธรรม ตลอดถึงสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและสังคมตามความเหมาะสม เท่าที่ไม่ขัดแย้งกับพุทธบัญญัติ

    ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้พยายามเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะยกย่องพัฒนา และส่งเสริมการให้สตรีได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรม พยายามดำเนินการให้มีการรับรองและยกสถานภาพของแม่ชีไทย ด้วยการจัดให้มีการเรียนการสอนบาลีศึกษา (รับรองผลการสอบ ?) ร่วมมือกับสถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี จัดตั้งสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับสตรีภายใต้ชื่อว่า มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์


   

สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
 
    ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๔๕

คนเมืองสง

อ้างจาก: คนเมืองสง เมื่อ 09:11 น.  13 ม.ค 58

    หญิงซึ่งจักได้สมมติตนเป็นสามเณรี โดยถูกต้องพระพุทธานุญาตนั้น ต้องสำเร็จด้วยนางภิกษุณีให้บรรพชา เพราะพระองค์ทรงอนุญาติให้นางภิกษุณีมีพรรษา ๑๒ ล่วงแล้วเป็นปวัตตินี คือ เป็นอุปัชฌาย์ไม่ได้ทรงอนุญาตให้ภิกษุเป็นอุปัชฌาย์ นางภิกษุณีหมดสาบสูญขาดเชื้อสายมานานแล้ว

    เมื่อนางภิกษุณีผู้รักษาขนบ ธรรมเนียมสืบต่อสามเณรีไม่มีแล้ว สามเณรีผู้บวชสืบต่อมาจากภิกษุณีก็ไม่มีเป็นอันเสื่อมสูญไปตามกัน ผู้ใดให้บรรพชาเป็นสามเณรีผู้นั้นชื่อว่าบัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ บัญญัติเลิกถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี

    เพราะเหตุนี้ ห้ามไม่ให้พระเณรทุกนิกายบวชหญิงเป็นภิกษุณีเป็นสิกขมานา และเป็นสามเณรีตั้งแต่นี้ไป


ประกาศแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์

อันนี้คือข้อวินิจฉัยของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)(วาระ   2465   - 2480)   วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าลำดับ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระองค์ได้ทรงวินิจฉัยไว้โดยรอบคอบและออกเป็นประกาศท่ามกลางหมู่ราชบัณฑิตด้านการศาสนาทั้งหลายมาแล้ว
ไม่ปรากฎว่าเคยมีผู้ใดนำข้ออ้างอิงอื่นมาหักล้างได้ คุณ MR.NO โปรดจงอ่านคำวินิจฉัยนั้นให้ครบทุกตัวอักษร

คนชอบถาม

ได้อ่านความเห็นดีๆจากกระทู้นี้มาก ขออนุญาตสอบถามต่อตามนิสัยชอบถามขอรับ

คือพอไปค้นข้อมูลมา จะพบข้อความแตกต่างจากที่มีผู้โพสต์ไปก่อนหน้าแล้ว ดังนี้

แถลงการณ์สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
เรื่อง การบวชภิกษุณีและสามเณรีในประเทศไทย

    ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการบวชภิกษุณีและ สามเณรีในประเทศไทยทางสื่อมวลชนทุกแขนงในระยะเวลาที่ผ่านมา บนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านความคิด ขยายวงกว้างเป็นความขัดแย้งทางความคิดส่งผลกระทบถึงคณะสงฆ์ไทยและ พุทธศาสนิกชนทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สถาบันการศึกษาเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เห็นว่า หากต่างฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์ บนพื้นฐานแนวคิดที่แตกต่างกันไม่นำหลักพระธรรมวินัยอันเป็นหลักคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาเป็นบรรทัดฐาน ในการพิจารณาแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาในภาพรวมอย่างรุนแรง

    ในการประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๘/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อธิการบดีเป็นประธาน ที่ประชุมได้พิจารณากรณีดังกล่าวและเห็นตรงกันว่า เรื่องนี้เป็นหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ซึ่งจะต้องทำความรู้ความเข้าใจให้ตรงประเด็นและยึดถือตามพระธรรมวินัย ตามหลักการและจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ไทย (เถรวาท) ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมา คือ
๑. พิธีกรรมการบวชในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องทางพระธรรมวินัย เป็นพุทธอาณา (พุทธอำนาจ) ซึ่งทุกฝ่ายต้องเคารพในพระธรรมวินัยอันเป็นหลักสำคัญสูงสุดของพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการบวชภิกษุณี หรือแม้แต่พิธีกรรมการบวชใด ๆ ก็ตาม
๒. พิธีกรรมการบวชเป็นภิกษุณีต้องสำเร็จจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ เมื่อการสืบทอดภิกษุณีสงฆ์ได้ขาดตอนลง ตามหลักพระธรรมวินัยที่คณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทยึดถือ พระภิกษุสงฆ์ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมิได้มีบทบัญญัติที่เป็นพุทธานุญาตให้กระทำ คณะสงฆ์ต้องเคารพพระธรรมวินัยตามพระพุทธโอวาท
๓. ประวัติศาสตร์การปกครองคณะสงฆ์ไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อกรณีนี้อย่างชัดเจนตลอดมา กล่าวคือ
  (๑) พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามภิกษุสงฆ์ในประเทศไทยทำการอุปสมบทให้แก่สตรี
  (๒) คำวินิจฉัยของมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ ๒๘/๒๕๒๗ และครั้งที่ ๑๘/๒๕๓๐ ห้ามภิกษุสงฆ์ทำพิธีอุปสมบทให้สตรีเป็นภิกษุณี
  (๓) พระวรธรรมคติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ห้ามบวชให้แก่สตรีเพื่อเป็นภิกษุณี
๔. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเชื่อมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาว่า มนุษย์คือเวไนยสัตว์ที่มีศักยภาพ สามารถฝึกอบรมและพัฒนาได้ตามเหตุปัจจัย แม้จะอยู่ในเพศภาวะใดก็สามารถบรรลุคุณธรรมได้   นิกาย(เถรวาท มหายาน หรือพระพุทธศาสนานิกายอื่น ๆ ) มิใช่อุปสรรคขัดขวางการศึกษาเรียนรู้ การปฏิบัติธรรม และการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา
๕. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเห็นว่า ทุกฝ่ายควรให้ความเคารพต่อพระธรรมวินัย ไม่ควรฝ่าฝืนพุทธบัญญัติ แต่ควรหาทางส่งเสริมให้สตรี ได้มีการศึกษาและปฏิบัติธรรม ตลอดถึงสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและสังคมตามความเหมาะสม เท่าที่ไม่ขัดแย้งกับพุทธบัญญัติ

    ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยได้พยายามเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะยกย่องพัฒนา และส่งเสริมการให้สตรีได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรม พยายามดำเนินการให้มีการรับรองและยกสถานภาพของแม่ชีไทย ด้วยการจัดให้มีการเรียนการสอนบาลีศึกษา (รับรองผลการสอบ ?) ร่วมมือกับสถาบันแม่ชีไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์และสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี จัดตั้งสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาสำหรับสตรีภายใต้ชื่อว่า มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ในพระสังฆราชูปถัมภ์

    เพื่อหาทางออกร่วมกันทุกฝ่าย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงมีมติให้จัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนากับปัญหาสิทธิสตรี" ขึ้นในวันเสาร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย ได้เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นโดยทั่วกัน
     

สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
   
    ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๔๕


ส่วนที่ต่างไปคือ ย่อหน้าสุดท้ายที่หายไป

จึงอยากทราบว่า กิจกรรมเสวนาทางวิชาการเรื่อง "พระพุทธศาสนากับปัญหาสิทธิสตรี" ขึ้นในวันเสาร์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ มีข้อสรุปอย่างไรบ้างครับ น่าจะช่วยเติมมุมมองของสังคมเมื่อ 10 กว่าปีก่อนได้เป็นอย่างดี

คนชอบถาม

อีกมุมมองหนึ่งที่ค้นเจอ

"การเปิดโอกาสหรือส่งเสริมให้ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในเมืองไทยนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ความเสมอภาคทางด้านสิทธิระหว่างเพศ ทั้งนี้เนื่องจากตามหลักพุทธศาสนา หญิงกับชายมีสิทธิเท่าเทียมกันอยู่แแล้ว อย่างน้อยก็สิทธิในการบรรลุธรรม และสิทธิในการพัฒนาตนเอง นี้คือสิทธิอันเท่าเทียมกันที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ ประเด็นสำคัญของเรื่องภิกษุณีนั้น อยู่ที่การส่งเสริมให้ผู้หญิงมีโอกาสได้รับการฝึกฝนพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่เพื่อความเจริญงอกงามแห่งธรรม การปฏิเสธเสธว่าการบวชเป็นภิกษุณีไม่สำคัญต่อการฝึกฝนพัฒนาตนของผู้หญิง ก็เท่ากับบอกว่าการบวชเป็นภิกษุไม่สำคัญต่อการปฏิบัติธรรมของผู้ชาย นั่นจะมิหมายความว่าเราปฏิเสธคุณค่าของการบวชละหรือ ตราบใดที่ผู้สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนี้มองไม่เห็นประเด็นดังกล่าว หากไปคิดว่านี้เป็นการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง ก็ยากที่จะทำความเข้าใจกันได้"

พระไพศาล วิสาโล พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต หน้า 360

อ่านเพิ่มเติมที่ http://larndham.net/...k/budfuture.zip