ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เรื่องน่ารู้กับอุตุนิยมวิทยา "ร่องความกดอากาศต่ำ"

เริ่มโดย กิมหยง, 08:33 น. 09 ก.ย 54

กิมหยง

ร่องความกดอากาศต่ำ(Low pressure trough)

[attach=1]

       ร่องความกดอากาศต่ำเป็นบริเวณที่ลมจากซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้มาพบกัน
เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงเป็นแนวยาว
คุณสมบัติเด่น  คือบริเวณที่ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน
จะมีลักษณะอากาศแปรปรวน โดยมวลอากาศอุ่นลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน
มีกระแสลมใกล้เคียงพัดเข้าหาบริเวณความกดอากาศต่ำ
เกิดเมฆก่อตัวในแนวตั้ง มีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง

      ร่องนี้มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตรทอดยาวจากทิศตะวันตกไปตะวันออก
และอาจมีความกว้างมากกว่าร้อยกิโลเมตรในแนวเหนือใต้
ร่องยิ่งแคบก็ยิ่งมีความรุ่นแรงมาก โดยจะมีฝนตกหนักมาก
มีฟ้าคะนองรุนแรงเป็นเวลานานติดต่อกัน
ถ้าร่องนี้พาดผ่านอยู่บริเวณใดหลายวัน
ก็จะทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันจนเกิดน้ำท่วมได้

      ร่องความกดอกาศต่ำจะเลื่อนขึ้น,ลงช้าๆ ไปทางเหนือใต้ตามแนวโคจรของดวงอาทิตย์
โดยจะช้ากว่าแนวโคจรของดวงอาทิตย์ประมาณ 1 เดือน
ในเดือนพฤษภาคมร่องความกดอากาศต่ำ
จะพาดผ่านภาคใต้ของประเทศไทยและจะเลื่อนขึ้นไปทางเหนือเป็นลำดับ
ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมร่องนี้
จะเลื่อนขึ้นพาดผ่านประเทศจีนตอนใต้
ทำให้เกิดฝนทิ้งช่วงในประเทศไทย
แล้วจะเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยอีกครั้ง
ประมาณปลายเดือนสิงหาคมหรือกันยายน


     ต่อจากนั้นก็จะเลื่อนลงทางใต้ตามลำดับประมาณเดือนตุลาคม
พาดผ่านภาคใต้ตอนบนและเลื่อนลงมาทางใต้เรื่อยๆ

จากเว็บ : ศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
สร้าง & ฟื้นฟู