ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การมีส่วนร่วมของประชาชน

เริ่มโดย Telwada, 10:20 น. 25 ก.พ 58

Telwada

 "การมีส่วนร่วมของประชาชนตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ"
   บทความนี้ กล่าวได้ว่า เป็นทั้งข้อมูล เป็นทั้งข้อคิดข้อพิจารณา เป็นทั้งความรู้ที่จะสร้างความเข้าใจกับท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด บทบาทหน้าที่ใดใดก็ตามแต่ ข้าพเจ้าเขียนแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อคิดพิจารณา ต่อทางราชการที่เกี่ยวข้องไปมาก แต่ก็ยังขาดความละเอียดในเรื่องของ "การมีส่วนร่วมของประชาชน ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ" ถึงแม้ว่าหลายๆท่าน หลายๆกลุ่ม หลายๆสถานศึกษา จะมีความคิด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยฯ ตามแต่จะได้เล่าเรียนศึกษากันมา ว่ากันไปตามความคิดอ่าน ที่จะคิดขึ้นมาได้ตามความรู้ที่เล่าเรียนมา ดังนั้นข้าพเจ้าจึงจะให้ข้อคิดข้อพิจารณาหรือให้ความรู้ ต่อไปนี้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนฯลฯ ในทางที่ถูกที่ควร ไม่ใช่เอาแต่เรียกร้องแบบนั้น แบบนี้ ต้องมีอย่างนั้น ต้องมีอย่างนี้ ต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ใช่อย่างที่พวกท่านคิดถ้าไม่ใช่อย่างที่พวกท่านต้องการ ไม่ใช่การมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่ประชาธิปไตย
   ความจริงแล้ว ตัวการสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารและปกครองประเทศตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย นั้น มีเพียง ๒ กลุ่ม ๒ พวกเท่านั้น (ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย และไม่กล่าวถึง ระบบราชการ อันเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมฯลฯเช่นกัน)
   บุคคล ๒ กลุ่ม ๒ พวกที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึง ล้วนเกี่ยวข้องและเป็นตัวการ ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารและปกครองประเทศ ก็คือ
๑.   ประชาชน
๒.   ตัวแทนของประชาชน นั่นก็คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้ง
๑.ประชาชน จะมีส่วนร่วมในการบริหารฯและปกครองได้ ในลำดับแรก นั่นก็คือ การที่ได้ใช้สิทธิใช้เสียงเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปบริหารและปกครองประเทศแทนตน ตามที่ตน(ประชาชน)ต้องการ ซึ่งของประเทศไทย ประชาชนก็จะรู้หรือดูเอาเพียง นโยบายต่างๆที่ทางพรรคการเมืองเสนอเป็นทางเลือกให้ประชาชนเป็นตัวชี้วัดว่าจะเลือกพรรคใด หรือบุคคลใด เข้าไปเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง นโยบายของแต่ละพรรคการเมืองก็มีเพียงไม่กี่ข้อ ที่เสนอต่อประชาชน ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงโปรโมชั่น  ที่จะล่อให้ประชาชนเลือกบุคคลในพรรคการเมืองของตน แต่รายละเอียดปลีกย่อย ของการบริหารและปกครองด้านอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย    เมื่อประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกตัวแทนของตน ตามที่ประชาชนหวังจะได้รับผลประโยชน์  เรียบร้อยแล้ว  ก็มาถึงข้อสอง คือ
๒.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ จะเรียกว่า นักการเมือง ก็ได้  นักการเมือง หรือ เหล่าบรรดาผู้แทนราษฎร เป็นตัวจักรสำคัญยิ่งในอันที่จะ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่พวกนักการเมืองเหล่านั้นบางกลุ่มบางคน เมื่อได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรแล้ว จะกล่าวได้ว่า ไม่เคยไปสอบถาม เสาะหา สอดส่อง ดูแล สืบหาข้อมูล ประชุม ปรึกษาหารือ หรือประชาคม กับประชาชน เพื่อให้ได้รู้ได้ทราบถึงปัญหาข้อขัดข้อง ความต้องการ หรือ ได้รู้ถึงสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชาชน 
   แต่กลับมีนักการเมืองบางกลุ่ม บางคนไปยุยงเสี้ยมสอน หรือบางครั้ง ก็เป็นหัวโจก เป็นผู้นำในการสร้างปัญหาให้กับรัฐบาล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ระบบเสียงข้างมากในสภาฯ พรรคการเมืองที่ไม่ได้รับเลือกเป็นรัฐบาล จะไม่สามารถเสนอความต้องการของประชาชนที่เลือกตนให้รัฐบาลที่ไม่ใช่พรรคการเมืองที่ตนสังกัดอยู่ จัดการแก้ไขช่วยเหลือ ฯลฯ หรือเพราะต่างฝ่ายต่างต้องการฐานเสียงเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป จึงทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนขาดหายไป เกิดการแก่งแย่งชิงกันเป็นรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว หากนักการเมืองทุกพรรค ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนของประชาชน ได้ใส่ใจ ได้สนใจ ได้สอดส่องดูแลประชาชนดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ประชาชนย่อมมีส่วนร่วมในการบริหารและปกครองประเทศอย่างแท้จริง  ไม่จำเป็นจะต้องไปตั้งกลุ่มนั้น กลุ่มนี้ องค์กรนั้น องค์กรนี้  เพราะถ้าหากนักการเมือง สนใจใส่ใจ สอดส่อง ดูแล สอบถาม ประชุม ประชาคม เสาะหา ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆในการดำรงชีวิต และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน นั่นก็คือการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างถูกต้องและดียิ่งตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นอัตโนมัติ
ปัญหาต่างๆที่ในอดีตที่ผ่านมาจะไม่เกิดขึ้น หากเหล่านักการเมือง ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายใด ได้มีการสอดส่อง ดูแล เสาะหา สอบถาม พูดคุย ปรึกษา กับประชาชน แล้วนำปัญหาข้อขัดข้องเหล่านั้น มาแยกแยะว่า ปัญหาข้อขัดข้องไหน สามารถทำได้ตามความสามารถของหน่วยงานในทันทีฯลฯ หรือปัญหาข้อขัดข้องไหน ต้องนำเข้าสู่สภาฯอย่างเร่งด่วน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่า ประชาชนเหล่านั้นเป็นฐานเสียงของฝ่ายพรรคการเมืองใด ความเป็นประชาธิปไตย ความสงบสุข ก็จะเกิดขึ้น (คิดให้ดี)
ปัญหาข้อขัดข้องบางชนิด ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล แต่ประชาชนผู้เดือดร้อนเหล่านั้น กลับถูกยุยงยุแหย่ให้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข ซึ่งในทางการบริหารและปกครองแล้วเป็นการไม่ถูกต้อง ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง และไม่ควรจะมีเหตุการณ์อย่างนั้นด้วยซ้ำไป แต่เพราะประชาชนเห็นว่าพวกอื่นหมู่อื่นเขาได้ ไม่ยุติธรรม ก็อยากได้บ้างเพื่อความยุติธรรม หรือเพราะความเคยตัวเคยได้เห็นหมู่อื่นเขาทำแล้วได้ ก็เกิดพฤติกรรมเรียนแบบ  ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องสอนดอกนะว่า ควรใช้หลักการใดมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในสิ่งที่ประชาชนเหล่านั้นทำมาหากินหรือประกอบอาชีพกันอยู่
ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง พฤติกรรม การปฏิบัติของเหล่าบรรดานักการเมืองบางกลุ่มบางคนที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯลฯ แต่ได้กล่าวถึงอนาคตข้างหน้าว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกต้อง ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ ควรเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายใด ระเบียบใด กลุ่มใด องค์กรใด ก็ไม่มีความหมายทั้งนั้น  ถ้าหาก นักการเมือง และประชาชน ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างเป็นธรรมชาติ โดยอัตโนมัติ   และถ้าหาก ทั้งประชาชน และ นักการเมือง มีความรู้ ความเข้าใจ ในการประพฤติปฏิบัติ ก็ย่อมเกิด "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารและปกครองประเทศตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ" อย่างยั่งยืน และมั่นคง
หรือไม่อย่างนั้น ก็อย่ามี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เลยนะ เพราะมีแล้ว ก็ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน เข้าไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการบริหารและปกครองประเทศ  ประชาชนก็ตั้งกลุ่ม ตั้งสภาฯ ตั้งองค์อะไรต่อมิอะไร แล้วจะเอาอะไร จะให้รัฐบาลทำอย่างไร ฯลฯ ก็ส่งเป็นหนังสือ ส่งทางอีเมล์ ทางโทรศัพท์ เฟสบุ๊ค Line ส่งเป็นจดหมายเปิดผนึก หรือชุมนุมเรียกร้องเอา ก็คงสนุกไม่น้อย  เอ!แล้วจะเรียกว่า การปกครองระบอบอะไรดีนะ....
                                                                           จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
                                                                                          ผู้เขียน
                                                                               ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘


ไปดีมาดี

หลังจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เรามีระบอบประชาธิปไตยสั้นๆ หลังจากนั้นมาก็เป็นการปกครองแบบตอแหลธิปไตย ล้วน ๆ ครับ (อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญ)

"การมีส่วนร่วมของประชาชนตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ที่เป็นหลักการสากลและข้อมูลทางวิชาการ หาศึกษาได้ไม่ยาก ไม่ต้องนึก มโนเองตามความเข้าใจครับ อาจคลาดเคลื่อนตามทัศนะและพื้นฐานควา่มรู้ได้

หลักการและความรู้พื้นฐาน
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2

รัฐธรรมนูญปี 50 ดูที่หมวด 7 (หมวดอื่น ๆ ก็มี)
http://law.longdo.com/law/125/

ปัญหาของประเทศไม่ใด้อยู่ที่ประชาชนและตัวแทนของประชาชนครับ
ทั้งโครงสร้างทั้งเศรษฐกิจก็ไม่มีปัญหา (การค้าขาย การเงินธนาคาร การนำเข้าส่งออก การบริหารธรกิจ...)
ทรัพยากรของประเทศเรามีมากพอ...
ประเทศนรเวย์ช่วงหิมะตกครึ่งปี ทำมาหากินไหรไม่ใด้เลย
บ้านเราปลูกตะใคร้อย่าเอาหัวชี้ฟ้าก็ขึ้นทั้งปี...

โครงสร้างทางสังคมก็ไม่มีปัญหา (เชื้อชาติ วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา การศึกษา ระดับสมอง ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ...)   สามจังหวัดก็ยังห่างไกล isis  และเมื่อสืบให้ลึกไปแล้ว
ปัญหาที่แท้จริงก็เกิดจากปัญหาจากโครงสร้างอื่น...

โครงสร้างที่มีปัญหาคือโครงสร้างการปกครอง
ถือว่าเป็นศูนย์รวมปัญหาของประเทศ (ซึ่งเป็นผู้สร้างและกำหนดโครงสร้างการเมือง <ซึ่งเกี่ยวข้องกับชาวบ้าน> ใว้เป็นแพะ และเป็นตัวหลอก เพื่อปกป้องตัวโครงสร้างการปกครองเอง อีกที)

บทบาทและอำนาจของโครงสร้างการปกครอง (ทั้งในระบบและนอกระบบ )
ไม่ใด้ทำให้โอกาสและผลประโยชน์ ตกแก่ประชาชน
บทบาทและอำนาจของโครงสร้างการปกครอง (ทั้งในระบบและนอกระบบ )
เข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคม สังคมยุ่งเหยิง การศึกษาล้มเหลว ประเพณีผิดเพี้ยน จริยธรรมตกต่ำ เส้นสาย..ยาบ้าฯลฯ
บทบาทและอำนาจของโครงสร้างการปกครอง(ทั้งในระบบและนอกระบบ )
เข้าไปเกี่ยวกับศาสนา ศาสนาเสื่อม พัดยศและสมณศักดิ์แทนธรรมะ และ ไตรปิฎก..ฯลฯ
บทบาทและอำนาจของโครงสร้างการปกครอง (ทั้งในระบบและนอกระบบ )
เข้าไปเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ เศรษกิจพินาศ คอรัปชั้่น ตกงาน กระจุกรายได้ ค่าแรงถูก โอกาสไม่มี  ผูกขาด..ฯลฯ 

อะไรที่ดี ๆอยู่พอ บทบาทและอำนาจ ฯ เข้าไปจะพัง
และสร้างเครือข่ายซ้อนขึ้นมาเช่นของเถื่อน เส้นสาย คอรรัปชั่น....
กลุ่มบุคคลที่เกาะโครงสร้างการปกครองหากินเปรียบเหมือนมะเร็งร้ายของประชาชน
และที่หนักกว่าคือ หลบซ่อนอาการได้ดีและไปแสดงอาการของโรคที่โครงสร้างอื่น ๆ

พูดง่าย ๆ ว่าชาวบ้านเดือดร้อนกับนายมากหวาเดือดร้อนกับโจร..
อาการเจ็บหัว เจ็บอก ปาก หู คออักเสบเรื้อรัง มาหกสิบปีเลยไม่มีทางหาย
เพราะได้แค่น้ำมนต์รดหัว และทายาแก้คันตีนบ้างโอกาส
ตอนนี้มะเร็งลามสู่สมอง ตับ และ กระดูกแล้ว ไม่นานนี้แล้วคงใด้เห็นฤทธิ์เดชมะเร็ง
ถ้าไม่เอายาแรงสกัดมะเร็งร้าย ทั้งมะเร็งทั้งประชาชนไทยคงถึงเวลาไปพร้อมกัน..
หมดเวร  หมดกรรม..