ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

"รถรางหาดใหญ่" มุมมองอีกด้านเพื่อการเติบโตอย่างชาญฉลาด

เริ่มโดย Mr.No, 17:26 น. 08 มี.ค 58

mix99

    ท่าน   ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง  ครับ
     ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้มาหลายยก กับท่านMr.No คล้ายๆกับเรื่องที่ท่านว่ามา ท่านยืนขาเดียวและบอกว่าที่ขอนแก่นกำลังเลือกใช้ ผมบอกว่า ที่เมืองนอกระบบรางนี้เป็นระบบเสริมจาก รถไฟลอยฟ้า หรือใต้ดิน ไม่ได้เป็นตัวหลัก ดังภาพที่ท่านโชว์ไว้เลย ดังดูจากทุกๆภาพที่โชว์มา ไม่มีภาพไหนว่าผ่าเข้าไปในที่รถซาเล้ง สามล้อ ตุ๊กตุก สองแถว วิน มอไชด์ หรือรถเข็นไอติม  ที่นี่มันประเทศไทย ขอย้ำ ที่นี่ไทยๆครับ   ความมักง่ายมันมาก และเยอะ ทำไมกรุงเทพไม่เอาระบบที่ท่านว่าไปใช้ ขยายระบบลอยฟ้าไปทุกๆมุม เมือง ไปเสนอรถรางแบบนี้ที่ กท. เขาหัวเราะฟันร่วงครับ วิ่งสักสามป้ายนะครับแล้วจะรู้ว่า ไม่ใช่ทฤษฎี สวยๆ ภาพแจ๋วๆ นี่คือไทยๆ ครับ ไทยแลนด์เรานี่แหละ
      ผมเคย ต่อกรกับลิ่วล้อ เรื่องสะพานลอยเลื่อนหน้า มอ. ตอนนี้กำลังหาทางย้ายสายต่างๆที่อยู่ใต้สะพานอยู่จะสร้าง 6เดือน  นักการเมืองจะโชว์พราวว่าข้านี่คิดเก่งสำเร็จรูป เกือบ 20ล้าน ทุบทางขึ้นสองข้างแล้วใส่บันใดแทน แล้วตอนสร้าง ชาวบ้านข้ามอย่างไร ก็ต้องคิด
    แบบเดิมๆ อุโมงค์ลอดใต้เขาศึกษาไว้ดีแล้ว 9ล้าน ไม่เอา คนพิการ คนแก่ ใช้ได้ 24 ชม.นี่จะใช้ไฟฟ้า ค่าดูแลซ่อมบำรุง เปิดกี่ ชม.ต่อวัน ใครคอยดูแลอุบัติเหตุ  นี่คนพิการ วีลแชร์ใช้ไม่ได้ ปิดไฟฟ้ามันก็สะพานลอย ธรรมดา แล้วไปเพิ่มภาระ หาพระหอกแสงง้าว อันใด อยากโชว์พราวก็เสนอทางเลื่อนใส่เข้าไปซิ ปิดเปิดไม่ต้องห่วง ทุกระดับใช้ได้หมด
    คอยดูลิ่วล้อ สอพลอนายก็จะออกมาเรื่องสะพานนี้อีกเยอะเปลี่ยนชื่อเข้ามาบ่อยๆ คอยดู
     คอยดูนะครับว่ามันวิ่งได้เท่าไร เสียหายเกิดขึ้นเราเอามาว่ากันที่นี้นะครับ 

หงุมหงิม

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 17:03 น.  13 มี.ค 58
ขอบคุณครับ.. คุณหงุมหงิม

หลายประโยค พูดได้ถูกต้อง...และถูกใจทีเดียว ส.ยกน้ิวให้

ผมยังเชื่อว่า ตราบใดที่ คนไทย ยังเป็น คนที่แยกแยะ ดีชั่ว ถูกผิด ได้.....ตราบนั้น เราก็ยังแก้ปัญหาได้

จริง ๆ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ ประชาชนเลยครับ.... แต่อยู่ที่ หน่วยงานและผู้บริหารที่เหลาะแหละ...และปล่อยปละละเลยกัน ซึ่งคนพวกนี้ต่างหากคือ "ปัญหา"

ผมยังจำบรรยากาศ ตอนที่ เค้าประกาศย้าย ตลาดนัดสนามหลวงไปอยู่จตุจักรได้...ซึ่งเรื่องนี้ในเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่สุดท้าย  เราก็มีสวนจตุจักรที่ใหญ่โตระดับโลก ผู้ขาย..ผู้ซื้อ ก็ปรับตัวไปตามที่เราจัดการให้มันถูกต้อง

กรณีล่าสุดเรื่อง  "คลองถม" นี่ก็เช่นกัน  ถ้าหย่อนยาน ยอมให้แก่ผู้ค้าที่เห็นแก่ตัว (ทั้งถ่ายทั้งทิ้งสิ่งปฎฺิกูลไว้จนชาวบ้านที่นั่นแสนระอา) และสุดท้ายเมื่อทำได้  คลองถม จะกลับมาเป็นคลองถมที่สวยงามอีกในที่สุด

  การอ้างปัญหาเรื่อง "ยากจน" ใช้ไม่ได้สำหรับการเบียดบังและทำผิดกฎหมายครับ

กรณีหาดใหญ่... ยังอยู่ในวิสัยแก้ไขได้ครับ เพียงแต่ ต้องหาคนที่กล้าหาญ และไม่ยึดโยงกับเรื่องของ "การเมือง" ซึ่งผมมองว่าในห้วงเวลาที่ มีรัฐบาล คสช. หลายอย่างควรจะได้มีการรื้อฟื้นและทำกันโดยไม่ต้อง ลูบหน้าปะจมูก (ฐานเสียง) ใครอีก!

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดด้วยครับ

แน่นอนครับ หาดใหญ่ยังสามารถแก้ไขได้ในด้านปัญหาจราจร อย่างที่บอกครับ ถ้าจะแก้ต้องทำไปพร้อมๆกัน

ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง ถามทุกคนรู้ไหมครับว่าจราจรบ้านเราทำไมถึงติดขัด ตำตอบคือ " รู้ " กันทั้งนั้น

แต่คนไทยไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหา

เราเห็นปัญหาทั้งนั้น ไม่ว่าจะตัวคน กฎหมาย เจ้าหน้าที ความไม่สมดุล ขาดการวางแผนที่ดี ทุกอย่างเป็นปัญหาที่"รู้"

แต่ไม่สนใจกัน ไม่ว่าจะรถราง รถไฟฟ้า หรือโครงการไหน ฯลฯ ถ้าขาดการวางแผนที่ดี ที่ทำไปก็ไม่มีประโยชน์

ระบบโครงสร้างขนส่งสาธารณะถ้ามันครอบคลุม ก็จะแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

เช่น อยู่นอกเมืองต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าในเมืองต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าเมืองชั้นในต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าชุมชนต้องใช้ระบบอะไร

บ้านเราไม่มีการวางแผน ไม่มีการจัดการที่ดี และไม่มีการควบคุมที่ดี ปัญหาก็เลยเกิดมากมาย

ทำไมเราถึงเห็นต่างประเทศเขาแก้ปัญหาได้ เพราะเขาสามารถจัดการทุกอย่างให้อยู่ในกรอบได้

มีการวางแผนงานเป็นระบบ มีการจัดการที่ดี มีการควบคุมที่ดี เราก็เลยเห็นว่าเขาสามารถแก้ปัญหาได้

ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการแก้ปัญหาจราจร เขาควบคุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

มีการวางแผน การจัดการที่ดี วางระบบโครงสร้างขนส่งสาธารณะที่สอดคล้องเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งผิดกับบ้านเราลิบลับ

การควบคุมญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพ เช่น การสอบใบขับขี่ต้องอบรมและต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดหากทำผิดมีการลงโทษชัดเจนและรุนแรง

ส่วนการจะมีรถยนต์ก็ต้องมีที่จอดรถ และรถยิ่งเก่าหรือปล่อยมลพิษมากๆภาษียิ่งแพง ใครจะคิดมีรถต้องคิดแล้วคิดอีกผิดกับบ้านเรา ออกกันตามสบาย ขับกันตามสบาย

ระบบขนส่งสาธารณะก็มีประสิทธิภาพ การขนคนเข้ามาในเมือง การเชื่อมต่อระบบขนส่งมีครบทุกอย่าง

นั่งรถไฟมาทำงาน ลงสถานี ก็สามารถขึ้นรถเมล์ หรือรถไฟใต้ดิน เพื่อไปยังสถานที่ๆต้องการได้ เพราะโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะครอบคลุม จะปั่นจักรยานก็มีเลนจักรยาน จะเดินก็มีถนนให้คนเดินทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมดและสามารถเข้าถึงได้ทุกคน

แล้วพอมองดูบ้านเรา เทียบสักนิดยังไม่ได้ ทำไมบ้านเราถึงต้องมีมอเตอร์ไซด์รับจ้าง,ตุ๊กตุ๊ก ก็เพราะระบบของเรามันไม่เชื่อมต่อ ไม่มีการวางแผน ไม่มีการแบ่ง ไม่มีการควบคุม ไร้ทิศทาง

ลองไปกำหนดดูสิ เสียงก่นด่าจะตามมาเพียบ เพราะความสบายและเคยชิน

ถ้าผมมีโครงสร้างในการควบคุมจัดระเบียบ

เช่น  การใช้ชีวิตในเมืองเน้นการเดิน หรือใช้จักรยาน รถจะเข้ามาวิ่งได้ต้องมีขนาดไม่เกินกี่แรงม้า ถ้าแรงม้าสูงๆต้องวิ่งรอบ

นอกหรือทางไกล ถ้าเกินแล้วมาวิ่งในเมืองมีการจับปรับบทลงโทษแบบจริงจังไม่หย่อนยาน

และมีโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้า,รถราง ,รถใต้ดิน ในการขนผู้คนจากนอกเมืองเข้าในเมือง

โดยมีรถเมล์วิ่งในเส้นทางย่อยต่างๆอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โครงสร้างแบบนี้คิดว่าจะแก้ปัญหาหาดใหญ่ได้ไหมครับ ?

ผมถึงได้บอกว่าบ้านเราขาดการวางแผนปล่อยละเลยสิ่งต่างๆมานาน และเราก็ขาดคนที่มีวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา

มีแต่พูด แต่ไม่ลงมือทำ ปัญหาก็เลยไม่จบไม่สิ้น ระบบไหนก็ดีหมด ถ้าเรามีการวางแผนและควบคุมที่ดี...






พูดบนพื้นฐานความจริง

อ้างจาก: mix99 เมื่อ 00:14 น.  20 มี.ค 58
    ท่าน   ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง  ครับ
     ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้มาหลายยก กับท่านMr.No คล้ายๆกับเรื่องที่ท่านว่ามา ท่านยืนขาเดียวและบอกว่าที่ขอนแก่นกำลังเลือกใช้ ผมบอกว่า ที่เมืองนอกระบบรางนี้เป็นระบบเสริมจาก รถไฟลอยฟ้า หรือใต้ดิน ไม่ได้เป็นตัวหลัก ดังภาพที่ท่านโชว์ไว้เลย ดังดูจากทุกๆภาพที่โชว์มา ไม่มีภาพไหนว่าผ่าเข้าไปในที่รถซาเล้ง สามล้อ ตุ๊กตุก สองแถว วิน มอไชด์ หรือรถเข็นไอติม  ที่นี่มันประเทศไทย ขอย้ำ ที่นี่ไทยๆครับ   ความมักง่ายมันมาก และเยอะ ทำไมกรุงเทพไม่เอาระบบที่ท่านว่าไปใช้ ขยายระบบลอยฟ้าไปทุกๆมุม เมือง ไปเสนอรถรางแบบนี้ที่ กท. เขาหัวเราะฟันร่วงครับ วิ่งสักสามป้ายนะครับแล้วจะรู้ว่า ไม่ใช่ทฤษฎี สวยๆ ภาพแจ๋วๆ นี่คือไทยๆ ครับ ไทยแลนด์เรานี่แหละ
      ผมเคย ต่อกรกับลิ่วล้อ เรื่องสะพานลอยเลื่อนหน้า มอ. ตอนนี้กำลังหาทางย้ายสายต่างๆที่อยู่ใต้สะพานอยู่จะสร้าง 6เดือน  นักการเมืองจะโชว์พราวว่าข้านี่คิดเก่งสำเร็จรูป เกือบ 20ล้าน ทุบทางขึ้นสองข้างแล้วใส่บันใดแทน แล้วตอนสร้าง ชาวบ้านข้ามอย่างไร ก็ต้องคิด
    แบบเดิมๆ อุโมงค์ลอดใต้เขาศึกษาไว้ดีแล้ว 9ล้าน ไม่เอา คนพิการ คนแก่ ใช้ได้ 24 ชม.นี่จะใช้ไฟฟ้า ค่าดูแลซ่อมบำรุง เปิดกี่ ชม.ต่อวัน ใครคอยดูแลอุบัติเหตุ  นี่คนพิการ วีลแชร์ใช้ไม่ได้ ปิดไฟฟ้ามันก็สะพานลอย ธรรมดา แล้วไปเพิ่มภาระ หาพระหอกแสงง้าว อันใด อยากโชว์พราวก็เสนอทางเลื่อนใส่เข้าไปซิ ปิดเปิดไม่ต้องห่วง ทุกระดับใช้ได้หมด
    คอยดูลิ่วล้อ สอพลอนายก็จะออกมาเรื่องสะพานนี้อีกเยอะเปลี่ยนชื่อเข้ามาบ่อยๆ คอยดู
     คอยดูนะครับว่ามันวิ่งได้เท่าไร เสียหายเกิดขึ้นเราเอามาว่ากันที่นี้นะครับ

ผิดแล้วครับ คนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณเรื่องบันไดเลื่อน และทางลอด คือผม กรุณาอย่าเออออห่อมก คิดว่าคุณนู้นคนนี้เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แบบคุณไปซะทุกเรื่อง

ทุกคนมีความเห็นเป็นของตัวเองทั้งนั้นครับ ในกรณีรถราง และโมโนเรล อันนี้ผมมองว่ารถรางไม่เหมาะ ซึ่งคุณก็เห็นด้วยเช่นเดียวกับผม

อย่ามาพยายามหาพวก แล้วใส่ความคนที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องอื่นๆต้องเป็นลิ่วล้อคนนั้นคนนี้

หยุดพฤติกรรมแบบนี้เถอะครับ

mix99

ขอโทษครับท่าน เล่นเปลี่ยนชื่อไปทุกๆโพส มันก็ไม่ใช่ที่ยืนล่ะท่าน
   อันไหนดีผมก็ว่าดี ห่วย ก็ว่าห่วย เขาศึกษามาเป็น ปีๆ แล้วที่เขาขอลิฟท์ให้คนพิการ ทำไมไม่ศึกษาก่อนโชว์กึ๋นห่วบๆล่ะท่าน  เปิดสะพานนี้เมื่อไร เอาภาพเจ้าความคิดให้คนพิการเขาสะใจหน่อยซิครับ ก็ทำจริงกลัวอะไร
   ผมพูดบนพื้นฐานความจริงไหมท่าน   ผมเกลียดนายกนี้ ก็เปล่า ผมสนับสนุนโมโนเรลเต็มที่ เพราะหลายๆที่ที่ผมไปอยู่ ก็มันเป็นอย่างที่เขียน นั่งยกเมฆ สวรรค์บนดินที่ไหนล่ะท่าน
    ผมรู้ละเอียดว่าโครงการนี้ดีเขา วางตัวเบ็ดเสร็จ เป็นโครงการโชว์พราว ที่ผลาญเงินแผ่นดิน  ค่าใช้จ่ายสูงในระยะยาว ก็เงินภาษีทั้งนั้น ทางเลือกดีๆไม่เอา เปลืองพลังงานไฟฟ้า ค่าดูแล เสี่ยงอุบัติเหตุมากๆสำหรับที่สาธารณะเช่นนี้ 
     ตรงไหนครับที่ไม่อยู่  บนพื้นฐานความจริง  ...5ปี 10 ปี คอยดูกันน่ะว่าสะพานนี้มันประจานอะไร...ขอบคุณนะครับ..อุดมการณ์ไม่เปลี่ยน   หลักการไม่เปลี่ยนครับ  ท่าน

mix99

อ้างถึงผิดแล้วครับ คนที่ไม่เห็นด้วยกับคุณเรื่องบันไดเลื่อน และทางลอด คือผม กรุณาอย่าเออออห่อมก คิดว่าคุณนู้นคนนี้เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แบบคุณไปซะทุกเรื่อง

อย่ามาพยายามหาพวก แล้วใส่ความคนที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องอื่นๆต้องเป็นลิ่วล้อคนนั้นคนนี้

หยุดพฤติกรรมแบบนี้เถอะครับ
ยังค้างอีกนิด  คนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย นั้นก็เป็นเรื่องของเขา ผมไปห่อหมกเม็ด กะท่านเมื่อไรครับ ผมเห็นเหมือนกับท่านเหมือนที่ท่านอ้างผม ผมก็ไม่เห็นว่าผมเอาท่านไปส่ ให้หยุดพฤติกรรมแบบนี้  หรือจะให้ห่อหมกและหมกเม็ด ผมไม่หาพวก เพราะผม คงที่ไม่เปลี่ยนความคิดและไม่ใส่เสื้อหลายสีครับ 
   ผมแสดงความเห็นให้ท่านทราบว่าเห็นด้วยกับโมโนเรล แต่ไม่เห็นด้วยกับสะพานเลื่อน แปลกตรงไหนครับ พฤติกรรมนี้มันเลวเหรอครับ  ผมไม่เคยชวนท่านเข้าพวก ไม่เคยถามหาลิ่วล้อ ตามที่สมองท่านสั่งให้เขียน
    ย้อนกลับไปดูข้อความผม มันอยู่พื้นฐานที่ท่านว่าไหมครับ  อย่าเอาตัวเองมาอ้างว่านี่คือบนพื้นฐานความจริง นะครับ

กิมผมก็หยอง

อ้างจาก: mix99 เมื่อ 15:29 น.  20 มี.ค 58
    ยังค้างอีกนิด  คนเห็นด้วยไม่เห็นด้วย นั้นก็เป็นเรื่องของเขา ผมไปห่อหมกเม็ด กะท่านเมื่อไรครับ ผมเห็นเหมือนกับท่านเหมือนที่ท่านอ้างผม ผมก็ไม่เห็นว่าผมเอาท่านไปส่ ให้หยุดพฤติกรรมแบบนี้  หรือจะให้ห่อหมกและหมกเม็ด ผมไม่หาพวก เพราะผม คงที่ไม่เปลี่ยนความคิดและไม่ใส่เสื้อหลายสีครับ 
   ผมแสดงความเห็นให้ท่านทราบว่าเห็นด้วยกับโมโนเรล แต่ไม่เห็นด้วยกับสะพานเลื่อน แปลกตรงไหนครับ พฤติกรรมนี้มันเลวเหรอครับ  ผมไม่เคยชวนท่านเข้าพวก ไม่เคยถามหาลิ่วล้อ ตามที่สมองท่านสั่งให้เขียน
    ย้อนกลับไปดูข้อความผม มันอยู่พื้นฐานที่ท่านว่าไหมครับ  อย่าเอาตัวเองมาอ้างว่านี่คือบนพื้นฐานความจริง นะครับ

เรื่องการใช้ชื่อ เกี่ยวอะไรกับไม่มีที่ยืนครับ ผมไม่ได้สมัครเป็นสมาชิค และผมใช้ชื่อไปตามหัวข้อที่ผมจะตอบ การมองคนว่าคนนั้นๆต้องเป็นลิ่วล้อคนนั้นคนนี้ เพียงเพราะเค้าคิดต่างจากคุณ การมองว่าคนที่ตอบไม่ใช้ชื่อเดิม แล้วต้องไม่มีที่ยืน ความคิดแบบนี้มันน่าละเหียใจยิ่งกว่าอีกครับ

เรื่องสะพานลอยติดตั้งบันไดเลื่อนไฟฟ้า เรื่องการกลัวเปลืองงบค่าไฟ เรื่องการที่คุณเห็นแค่ว่า ม.อ เค้าเคยศึกษาไว้เป็นทางลอด ผมก็แย้งไว้หมดแล้วครับในกระทู้สะพานลอยหน้า ม.อ. ไปเปิดอ่านนะครับ การจะทำทางลอดต้องมีการหยุดทางเดินรถนานแค่ไหน การทำทางลอด ซึ่งเป็นที่ลับหูลับตาคนตอนดึก มันอันตรายขนาดไหน

อบจ.สงขลาจัดงบมาทำ ม.อ ยังออกมาขอบคุณ อธิการบดีการยกมือไหว้

คิดง่ายๆ ม.อ. มีเงินเก็บมหาศาล สอง-สามหมื่นล้าน คุณว่าเค้าเจียดมาทำเอง ให้งบมาที่ทางหลวงทำเพื่อส่วนร่วมก็ได้ตั้งแต่เค้าออกแบบเสร็จ ทำไม ม.อ. ถึงไม่ทำ ทำไมนิ่งเฉยปล่อยไปเหมือนมันไม่สำคัญ ทั้งๆที่สะพานลอยนี้เป็นจุดที่ผู้มาใช้บริการทั้งคนเฒ่าคนแก่ ลูกเด็กเล็กแดง ที่มาลงรถฝั่งโลตัสต้องใช้ ซึ่งคนที่ใช้ต่อวันมีจำนวนมาก

แล้วยังไงครับ ม.อ. เคยศึกษาออกแบบคร่าวๆเป็นทางลอด คือผมเห็นคุณกลัวขี้ขึ้นสมองเรื่องการซ่อมบำรุง เรื่องค่าไฟ เหมือนกับว่าบันไดเลื่อนมันเสียทุก 1 ชั่วโมง แต่ไม่บ่นนะครับเวลาเดินตามห้าง ที่บันไดเลื่อนเปิดและใช้งานหนักกว่านี้หลายเท่า ไม่ตั้งแง่กับบันไดเลื่อนตามสถานี BTS MRT เนอะครับ แต่พอคนคิดอีกแบบ เลือกใช้ตัวเลือกอื่น กลับกลายเป็นโดนชี้ว่าต้องเป็นลิ้วล้อคนนั้นคนนี้

นี้แหละครับ "พฤติกรรมที่น่ารังเกียรจ" ถ้ายังไม่รู้อีกผมก็ไม่รู้จะว่าไงแล้วครับ ลองพิจารณาตัวเองดูครับ ตามคำพระท่านว่าไว้

นี้ไงครับพูดบนพื้นฐานความจริง

คนเดินเท้า

บ๊ะ หร๋อยบ่าวนี่ อธิการยกมือไหว้  แล้วมันเกี่ยวไร้กะมึงหะบ่าว แลๆสองคนนี้เขียนคนหนึงแขวะคนหนึง มึง ก็ว่ากันไป มายุ่งอะไรกับชาว มอ.ล่ะไอ้บาว นักการเมืองมันขึ้นมันลง มึงอยากหร๋อย อยากดัง อย่ามาใส่ โบ๋ มอ. เขาแยกออก ดีหรือแล้ว  อย่าล้ำเส้นไอ้บาว

กิมผมก็หยอง

การยกมือไหว้ให้เกียรติกัน ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรหนิครับ เป็นมารยาททางสังคมด้วยซ้ำไป

หรือว่าผมอยู่ประเทศยูโกสลาเวียครับเนี่ย

Mr.No

อ้างจาก: หงุมหงิม เมื่อ 00:25 น.  20 มี.ค 58
ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดด้วยครับ

แน่นอนครับ หาดใหญ่ยังสามารถแก้ไขได้ในด้านปัญหาจราจร อย่างที่บอกครับ ถ้าจะแก้ต้องทำไปพร้อมๆกัน

ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง ถามทุกคนรู้ไหมครับว่าจราจรบ้านเราทำไมถึงติดขัด ตำตอบคือ " รู้ " กันทั้งนั้น

แต่คนไทยไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหา

เราเห็นปัญหาทั้งนั้น ไม่ว่าจะตัวคน กฎหมาย เจ้าหน้าที ความไม่สมดุล ขาดการวางแผนที่ดี ทุกอย่างเป็นปัญหาที่"รู้"

แต่ไม่สนใจกัน ไม่ว่าจะรถราง รถไฟฟ้า หรือโครงการไหน ฯลฯ ถ้าขาดการวางแผนที่ดี ที่ทำไปก็ไม่มีประโยชน์

ระบบโครงสร้างขนส่งสาธารณะถ้ามันครอบคลุม ก็จะแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

เช่น อยู่นอกเมืองต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าในเมืองต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าเมืองชั้นในต้องใช้ระบบอะไร,จะเข้าชุมชนต้องใช้ระบบอะไร

บ้านเราไม่มีการวางแผน ไม่มีการจัดการที่ดี และไม่มีการควบคุมที่ดี ปัญหาก็เลยเกิดมากมาย

ทำไมเราถึงเห็นต่างประเทศเขาแก้ปัญหาได้ เพราะเขาสามารถจัดการทุกอย่างให้อยู่ในกรอบได้

มีการวางแผนงานเป็นระบบ มีการจัดการที่ดี มีการควบคุมที่ดี เราก็เลยเห็นว่าเขาสามารถแก้ปัญหาได้

ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องการแก้ปัญหาจราจร เขาควบคุมตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

มีการวางแผน การจัดการที่ดี วางระบบโครงสร้างขนส่งสาธารณะที่สอดคล้องเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งผิดกับบ้านเราลิบลับ

การควบคุมญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพ เช่น การสอบใบขับขี่ต้องอบรมและต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดหากทำผิดมีการลงโทษชัดเจนและรุนแรง

ส่วนการจะมีรถยนต์ก็ต้องมีที่จอดรถ และรถยิ่งเก่าหรือปล่อยมลพิษมากๆภาษียิ่งแพง ใครจะคิดมีรถต้องคิดแล้วคิดอีกผิดกับบ้านเรา ออกกันตามสบาย ขับกันตามสบาย

ระบบขนส่งสาธารณะก็มีประสิทธิภาพ การขนคนเข้ามาในเมือง การเชื่อมต่อระบบขนส่งมีครบทุกอย่าง

นั่งรถไฟมาทำงาน ลงสถานี ก็สามารถขึ้นรถเมล์ หรือรถไฟใต้ดิน เพื่อไปยังสถานที่ๆต้องการได้ เพราะโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะครอบคลุม จะปั่นจักรยานก็มีเลนจักรยาน จะเดินก็มีถนนให้คนเดินทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมดและสามารถเข้าถึงได้ทุกคน

แล้วพอมองดูบ้านเรา เทียบสักนิดยังไม่ได้ ทำไมบ้านเราถึงต้องมีมอเตอร์ไซด์รับจ้าง,ตุ๊กตุ๊ก ก็เพราะระบบของเรามันไม่เชื่อมต่อ ไม่มีการวางแผน ไม่มีการแบ่ง ไม่มีการควบคุม ไร้ทิศทาง

ลองไปกำหนดดูสิ เสียงก่นด่าจะตามมาเพียบ เพราะความสบายและเคยชิน

ถ้าผมมีโครงสร้างในการควบคุมจัดระเบียบ

เช่น  การใช้ชีวิตในเมืองเน้นการเดิน หรือใช้จักรยาน รถจะเข้ามาวิ่งได้ต้องมีขนาดไม่เกินกี่แรงม้า ถ้าแรงม้าสูงๆต้องวิ่งรอบ

นอกหรือทางไกล ถ้าเกินแล้วมาวิ่งในเมืองมีการจับปรับบทลงโทษแบบจริงจังไม่หย่อนยาน

และมีโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้า,รถราง ,รถใต้ดิน ในการขนผู้คนจากนอกเมืองเข้าในเมือง

โดยมีรถเมล์วิ่งในเส้นทางย่อยต่างๆอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โครงสร้างแบบนี้คิดว่าจะแก้ปัญหาหาดใหญ่ได้ไหมครับ ?

ผมถึงได้บอกว่าบ้านเราขาดการวางแผนปล่อยละเลยสิ่งต่างๆมานาน และเราก็ขาดคนที่มีวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหา

มีแต่พูด แต่ไม่ลงมือทำ ปัญหาก็เลยไม่จบไม่สิ้น ระบบไหนก็ดีหมด ถ้าเรามีการวางแผนและควบคุมที่ดี...

ขอบคุณครับคุณหงุมหงิม. ส.ตากุลิบกุลิบ

เหตุผลคุณหงุมหงิม เป็น สิ่งที่เราเรียกว่า "ปัญหา" ไงครับ?


ทั้งหมดที่คุณหงุมหงิมอธิบายนั้นในทางวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของการสร้างเมืองในอนาคตที่เรียกว่า "เมืองสีเขียว" ได้รวมเอาทั้งหมดที่คุณคิดมารวมไว้เพื่อให้มันสามารถสนองตอบต่อสังคมมนุษยชาติที่ต้องการในอนาคตได้อย่างพร้อมสมบูรณ์เชียวครับ

ในยุโรป,ลาตินอเมริกา หลายประเทศก็ไม่ได้วิเศษวิโสกว่าบ้านเรา และหลายประเทศได้ผ่านการก้าวพลาดไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายประเทศเหล่านี้เห็นตรงกันก็คือ  เมื่อสิ่งที่พวกเค้าคิดว่า "ใช่" แต่เมื่อเวลามาถึงกลับ "ไม่ใช่"และกลายเป็นผิดพลาด สิ่งที่พวกเค้าทำคือ  "แก้ไขมัน"

  ยังไงฝากติดตามอ่านต่อนะครับ..จะด้วยช่วยกันคิดต่อ และทีสำคัญผมอยากให้อ่านสิ่งที่ผมจะเขียนไปเรื่อย ๆ (ถ้าไม่เบื่อ) แล้วหลายท่านอาจจะได้ทราบว่า เหตุใดผมถึงต้องจั่วหัวว่า  "รถราง" เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะทุกอย่างมันจะมีบทสรุปว่า การนำยานพาหนะนี้มาใช้มิใช่เพื่อขนถ่ายคนเท่านั้น ทว่ามันคือ หนึ่งในเครื่องมือ "แก้ปัญหา" ครับ   ส.ยกน้ิวให้
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No


บางท่านอาจเห็นว่า การนำรถรางมาใช้ มันไม่เหมาะเพราะนิสัยคนไทยเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้..แบบนี้เราจะใช้เป็นเหตุผลสากลลำบากครับ เพราะ "คนไทย" ก็คือ "คน" และคนก็ต้องมีสมองมีการรับรู้และแยกแยะ "ถูกผิด" "ได้ แต่ถ้าบอกว่าแก้ไม่ได้ อันนี้ไม่ใช่ปัญหาด้านการนำเสนอ ..เพราะไม่เช่นนั้นจะคุยเพื่อแก้ปัญหากันทำไม จริงมั้ยคัรบ

ผมมีภาพสองสามภาพให้เพื่อนสมาชิกได้เห็นกันว่า  อะไรคือความผิดพลาดที่ในหลายประเทศได้เคยมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว  แต่เชื่อหรือไม่ ประเทศไทยเรากลับพยายามเดินตามก้นแห่งความผิดพลาดของพวกเขาราวกับเป็นฝาแฝดอย่างไม่น่าเชื่อ

ภาพแรก คือ แนวคิดที่เรายอมให้ "รถยนต์" เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ โดยเฉพาะ อเมริกา ที่เป็นประเทศผลิตรถยนต์และเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้พลังงานธรรมชาติอย่างน้ำมันได้อย่างบ้าคลั่งที่สุดในโลกชาติหนึ่ง

ในยุคหนึ่งที่ น้ำมัน มีราคาถูก และรถยนต์เป็นเครื่องมือในการกำหนดความสำเร็จของชีวิต ..คนอเมริกันในยุคนั้นวัดความสำเร็จของอาชีพคนด้วยการทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาสองสิ่งคือ บ้านและรถยนต์ 

ผสมผสานค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ฝรั่งเลี้ยงลูกไม่เหมือนคนเอเชีย ดังนั้นเมื่อลูก ๆ มีอายุเริ่มเป็นหนุ่ม การออกไปใช้ชีวิตต่างหากเป็นเรื่องปกติ และการทำให้ครอบครัวยอมรับว่าพวกเค้าประสบความสำเร็จแล้วคือการแสดงหลักฐานสองสิ่งคือ มีบ้านและรถยนต์

ลูก 5 คน ออกจากบ้านเพื่อไปสร้างบ้านและรถยนต์อีกคนละ 5 คัน...
ลูกคนอเมริกัน 100 คน ก็แบบเดียวกัน...นี่ทำให้เกิดปัญหาของการขยายตัวของเมืองในเชิงก้าวหน้าและรวดเร็วมากนับแต่เมื่อเกือบ 100 ปีทีผ่านมา
เมื่อปริมาณรถยนต์ต้องรองรับทุกคน ๆ คนละคัน..สิ่งทีตามมาก็คือ รัฐบาลต้องสร้างถนนเพื่อให้พอเพียงต่อปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
และเมื่อถนนที่มีอยู่แคบไป สิ่งที่ต้องทำก็คือ  ขยายขนาดถนนออกไปมากขึ้น จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 และไปถึง 16 เลนในหลาย ๆรัฐ

  แต่ทำอย่างไรก็ไม่สามารถหาถนนที่กว้างหรือมากพอสำหรับ รถยนต์ที่เพิ่มขึ้น  แนวคิดของการสร้างทางด่วน,หรือพวก Freeway จึงกำเนิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา...

แต่ไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องของรถยนต์และถนน แต่การณ์กลับเป็นว่า เมื่อถนนตัดผ่านที่ใดที่ตรงนั้นก็กลายเป็นที่ ๆ ที่ราคา เพราระบบผังเมืองที่ล้มเหลวคือ การสร้างบ้านตามแนวถนน คือ เมื่อถนนมีการไป ชุมชนก็เกิดขึ้นแบบตามมีตามเกิด และเติบโตจนเป็นปัญหา....


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No


เชื่อหรือไม่ว่า แต่ละเมืองที่เห็นความสำคัญของ "รถยนต์" มากกว่า "ประชาชน" เป็นเหตุให้เราต้องสุญเสียพื้นที่ดี ๆ ไปให้กับถนนและรถยนต์มากกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่เมือง!

พื้นที่ดี ๆ เหล่านี้อาจกลายเป็นบ้านที่ไม่ใหญ่นักให้แก่อีกหลายครอบครัว..เป็นแหล่งพักผ่อนหรือเป็นปอดให้แก่เมือง...หรือเป็นโรงเรียน, หรืออะไรก็ตามที่มันสนองตอบต่อมนุษย์ด้าน สุขภาพความเป็นอยู่

[attach=1]

นักผังเมือง,นักออกแบบถนนอเมริกัน รุ่นใหม่จึงได้ทบทวนและได้รับบทเรียนที่จะสอนคนรุ่นต่อๆ ไปด้วยกฎสองคือ คือ

"อย่ารื้อบ้านคนออกเพื่อให้ถนนมันเป็นนาย" (Don't Bulldoze Houses for Roads)  และ
"ถ้าขืนคุณสร้าง,พวกมัน(รถยนต์)จะมา ดังนั้นจงวางแผนเพื่อสิ่งนั้น" (If You Build It, They Will Come: So Plan for That)


และเมื่อเวลาผ่านไป เราจึงเข้าใจว่า การทำให้สังคมอยู่อย่างมีความสุขและยั่งยืนนั้น คือการสัญชาตญานของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมกลับมา ด้วยหลักการแนวใหม่ที่เรียกว่า "เมืองสีเขียว"

เมืองสีเขียว คือเมืองที่จะตอบสนองด้วยหลักการคือ เมืองที่มีแนวคิดไม่ว่าจะเป็น ได้แก่ ด้านการใช้ที่ดินและอาคารต่างๆ (Land use and Building) ด้านการขนส่ง (Transportation) ด้านการใช้พลังงานและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Energy and CO2)  ด้านคุณภาพอากาศและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Air Quality and Environmental Governance)
ด้านการกำจัดขยะ (Waste) ด้านการจัดการน้ำ (Water)  และด้านระบบสุขาภิบาล (Sanitation)

การเดินทางไปสู่เมืองของมนุษย์ (ไม่ใช่เมืองของรถยนต์) คือการทำให้ปัจจัยดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างจริงจัง ดังนั้น หลายประเทศจึงเริ่มภารกิจที่จะเดินไปสู่จุดนั้น  แต่เรา..เลือกที่จะเดินอีกทาง!???

ผมเขียนมาทั้งหมดเพื่อมาจบลงตรงที่เหตุผลว่า ทำไมการนำรถรางมาใช้ในเมืองหาดใหญ่มันจะตอบสนองการแก้ไขปัญหาของเมืองได้อย่างไร ลองพิจาณากันครับ

เพื่อนสมาชิกบางท่าน อาจยังไม่เข้าใจนิยามของการเชื่อมต่อจุดต่อจุดในความหมายของผังเมือง ซึ่งหมายถึงการเชื่อมชุมชนต่อชุมชนให้มีการกระจายตัวและสานต่อเข้าด้วยกันเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นๆ

................

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No


มีคำถามว่า ก็ถ้ารถรางมันเชือมได้ เหตุใดโมโนเรลจึงเชื่อมไม่ได้ ผมอยากให้ดูข้อแตกต่างโดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างและรูปแบบของมัน

[attach=1]
[attach=2]

การสร้างความเจริญนั้น โมโนเรลสามารถสร้างชุมชนได้จริงแต่ที่พบคือเฉพาะบริเวณรอบ ๆ ของจุดของสถานีขึ้นลงเท่านั้นที่อาจมีการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ  ดังนั้นหากพิจารณาภาพของโมโนเรลที่มุมไบ จะเห็นว่า เสาตอม่อทีวางไปเป็นระยะ นั่นคือปัญหาและอุปสรรค

โมโนเรลมันสามารถวิ่งคร่อมหรือข้ามถนนหรือวิ่งไปตามเส้นกลางถนนได้ ซึ่งไม่ได้เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อหรือการกระจายชุมชนเมื่อเทียบกับรถราง ซึ่งอาศัยพื้นถนนเป็นแนวทางเพื่อเข้าไปสู่ชุมชนนั้น ๆ


บางมุมของรถรางลิสบอน โปรตุเกสที่ โมโนเรลอาจทำไม่ได้

ความยืดหยุ่นของรถราง ไมว่าจะเป็นตรอก,ซอกซอย (ดูกรณีรถรางที่กรุงลิสบอน โปรตุเกส) คือการตอบโจทย์ทางเลือกของชุมชนนั้น ๆ ที่จะเป็นนิยามของคำว่า "ขนส่งมวลชน" ได้อย่างแท้จริง แบบที่โมโนเรลไม่สามารถทำได้



รถรางคือต้นแบบที่หลายประเทศนำไปเพื่อให้ รถยนต์ส่วนตัว ควรจะจอดไว้ที่บ้าน เพราะหากมันสะดวกเพราะรถรางที่แสนสบายวิ่งมาจอดเทียบหน้าบ้าน หรือจอดที่ป้ายจอดในระยะที่คุณ,ลูกหลาน เดินได้ตามข้อกำหนดการออกแบบเมืองสำหรับการเดินในแถบเมืองร้อน (Walkable City) ซึ่งระยะเดินที่มนุษย์เดินได้แบบสบายอาจอยู่ที่ 100 หรือ 150 เมตร (ในยุโรปที่อากาศไม่ร้อนอาจออกแบบให้มากกว่านี้) เพื่อไปขึ้นรถรางและไปต่อขนส่งมวลชนอื่น

ความง่ายและยืดหยุ่นของการจัดวางรูปแบบป้ายจอด ใช้งบประมาณน้อยมาก และปรับเปลี่ยน,ลดทอนหรือเพิ่มจุดจอดได้ด้วยความรวดเร็ว  ซึ่งกรณีนี้ผมเคยยกตัวอย่างของคนสูงวัยที่อยากเดินทางในระยะใกล้ ๆ  เพียงแค่ 200 เมตร เช่น จากสุดสายสามไปตลาดกิมหยง

รถรางคือยานพาหนะที่คล่องตัวและง่ายต่อการขึ้นและลง ในขณะที่โมโนเรลนั้น การสร้างสถานีที่น้อยกว่าระยะ 1 กิโลเมตรต่อสถานีจอด ถือว่าไม่คุ้มค่าในการก่อสร้าง ดังนั้นแต่ละสถานีของโมโนเรลมักเฉี่ลยอยู่ที่ 800 เมตร – 2หรือ 3 กิโลเมตรต่อสถานีจอด ซึ่งระยะดังกล่าวไม่ได้ตอบสนองความต้องการของคนในเมืองหาดใหญ่ แต่อาจสนองต่อการขนถ่ายคนจากชานเมืองเช่นบ้านพรุเข้าหาดใหญ่ ซึ่งนั้นมิได้เป็นการแก้ปัญหาในสิ่งที่ควรจะทำสำหรับหาดใหญ่

บางคนที่บอกว่า รถราง(Streetcar,Tram Light Rail) จะต้องสร้างหลังสุดเมื่อการสร้าง รถไฟฟ้าหรือพวกโมโนเรลแล้ว จึงค่อยพิจารณาสร้างรถราง!!!???   ผมต้องบอกว่าตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยได้ยินเรื่องพวกนี้ในตำราด้านวิศวกรรมขนส่งหรือในวิชาการด้านผังเมือง (City Planner) สำนักใดที่สอนแบบนี้

เพราะหากใครแนะนำแบบนี้ต้องบอกว่านี่คือพวกทฤษฎีเอาหัวเดินแทนเท้าไงครับ!
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

นิยามการผังเมืองคือทำจากเล็กให้สมบูรณ์แล้วขยายต่อออกไป ใน Pattern ที่วางไว้แล้ว ค่อย ๆต่อขยายไปตามผังเมือง นำเอาระบบขนส่งมวลชนที่สร้างไว้จากเมืองเล็ก ๆ ทีสมบูรณ์แล้ว ต่อขยายออกไป ๆ เป็นใยแมงมุมเพื่อให้สุดท้ายแต่ละ ชุมชนก็จะมีการกระจายเชื่อมต่อกัน ไม่กระจุกตัวจำเพาะอยู่แต่ในเมืองหรือโตเฉพาะตัวแบบที่เรียกว่า Private City แบบที่กรุงเทพเป็นนั่นละครับ

ที่ผมยกตัวอย่าง เมือง พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน ก็เพราะเมืองนี้เค้าตกลงกันว่าจะ "ปฎิรูปเมือง" เพื่อให้ เมืองนี้กลายเป็นเมืองแห่งการเดิน (Walkable City) นั้นหมายถึงการเพิ่มพื้นที่สำหรับคนเดินให้มากขึ้น ลดขนาดของถนนลง ให้ความสำคัญกับทางจักรยาน เพิ่มปริมาณออกซิเจนด้วยการทำให้เมืองทั้งเมืองเป็นสีเขียวด้วยการปลูกต้นไม้ให้มากที่สุด และที่สำคัญ ยุทธวิธีของการทำให้เมืองไปสู่จุดประสงค์ได้ก็คือการ "กำจัดรถยนต์" ออกจากถนนให้มากที่สุด ด้วยการ "บีบ"

เอนริเก้ เปญาโลซ่า อดีตนายกเทศมนตรีแห่งเมืองโบโกต้า ผู้เปลี่ยนเมืองโบโกต้าให้เป็นเมืองแห่งจักรยาน

ภาพการเปลี่ยนทัศนคติเมืองจากถนนเพื่อรถยนต์เป็นถนนเพื่อคน ของกรุงโบโกต้า

การบีบของพอร์ตแลน์ด นั้นง่ายกว่า ฮีโร่แห่งเมืองโบโกต้า ประเทศโคลัมเบีย เพราะ นายเอนริเก้ เปญาโลซ่า อดีตนายกเทศมนตรีแห่งเมืองโบโกต้า ผู้หาญกล้าเปลี่ยนเมืองจากเมืองแห่งยาเสพติด,อาชญากรรม มาเป็นเมืองแห่งการเดิน,และเมืองของจักรยานที่ทั่วโลกปรบมือให้ในที่สุด

ย้อนมาที่คำถามว่า เหตุใดพอร์ตแลนด์จึงไม่เลือกเอาพวก โมโนเรล มาใช้แทน ..คำตอบก็คือ เพราะความล้มเหลวและต้องปิดตัวลงของรถโมโนเรลที่ซิดนีย์ ออสเตรเลียที่อุตส่าห์ลอกแบบรถโมโนเรลในซีแอตเติลของตัวเองที่สร้างมาก่อน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โมโนเรลที่วิ่งเพียง 1.5 กิโลเมตร ช่วยได้เพียงการขนถ่ายคนเท่านั้น

พอร์ตแลนด์ประสบปัญหาที่จอดรถไม่พอ และมีแต่ถนน และรถยนต์ที่ว่ิงผ่านด้วยความเร็วไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ดังนั้น ร้านค้าสองข้างถนนจึงกำลังกลายเป็นร้านค้าที่เริ่มร้างลูกค้า และนั่นคือหายนะของชุมชน (แบบที่ร้านค้าของคนหาดใหญ่กำลังจะตาย)

การทำให้ร้านค้าชุมชนกลับมาได้ ก็คือการนำคนกลับมาให้สามารถเดินได้...ทำชีวิตให้ช้าลงอีกนิด เสริมพื้นที่ทางเดินให้น่าเดิน,เพิ่มความร่มรื่นของต้นไม้,ที่นั่งพักผ่อน,จุดสนใจและ สารพันสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ส้วมสาธารณะ,จุดจอดจักรยาน และที่สำคัญ ยานพาหนะสำหรับการเชื่อมในแต่ละพื้นที่นั่นคือ "รถราง"

เมื่อทุกอย่างลงตัว...ทั้ง การนำเสนอ..ประชามติเพื่อขอการสนับสนุน และได้งบประมาณ  การเริ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงก็ทำไปพร้อมกัน

ภาพการออกแบบ จะเห็นว่ามีการยุบขนาดถนนลงเพิ่มพื้นที่คนเดินมากขึ้น

เริ่มจากถนนเล็ก ๆ บางจุด ทุบถนนยุบมันให้เล็กลง..วางโครงข่ายรางสำหรับรถราง...ปรับพื้นถนนให้มีพื้นเอื้อสำหรับรถจักรยาน การกำหนดข้อห้ามรถยนต์ส่วนตัว เช่นกำหนดวัน, ฯลฯ และทำทุกอย่างไปพร้อมๆ กัน ด้วยความหมายของคำว่า "บูรณาการ" ทุกอย่างก็เสร็จ

เมื่อทุกอย่างมันลงตัว..ผู้ปกครองที่เคยขับรถไปส่งเด็ก ๆ และไปกระจุกตัวรถติดกันหน้าโรงเรียน ก็เพียงแต่ส่งลูกตัวเองขึ้นรถรางหน้าบ้าน หรือไปพร้อมลูกและไปส่งที่โรงเรียน และข้ามถนนเพื่อขึ้นรถรางอีกฝั่งกลับบ้าน?

คนทำงานหลายคนเริ่มเปลี่ยนทัศนคติ จากที่เคยนั่งรถรอติดไฟแดงเผาพลังงานอยู่ในรถยนต์ส่วนตัว..เค้าเปลี่ยชีวิตเพื่อปั่นจักรยานไปทำงานและจอดไว้ที่สถานีรถราง และขึ้นรถรางไปทำงาน และทำย้อนกลับอีกครั้งเมื่อเลิกงาน

หลายอย่างเปลี่ยนไปทำให้ คนในพอร์ตแลนด์ กำลังมีสุขภาพที่ดีขึ้น  จากสภาวะ ความดัน,เบาหวาน และ โรคหัวใจ ที่เกิดจากการ เกิดมาแล้ว ไม่ได้เดิน  แบบเดียวกับคนหาดใหญรุ่นใหม่ที่เกิดมาแล้วกำลังเป็น คือเริ่มจากเด็กพ่อแม่รับส่ง พอโตนิดก็ริอ่านขับมอเตอร์ไซด์ ตามมาด้วยรถยนต์ และสิ่งที่ตามมาคือ คนไทยกลายเป็นโรคอ้วน และตายในเวลาอันไม่ควรมากขึ้น!

ก็เช่นเดียวกันกับเมืองหาดใหญ่ที่มีประชากรอยู่ในวิสัยที่ยังแก้ไขได้สบาย ๆ  แต่สิ่งที่จะทำได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิสัยคนไทย แต่อยู่ที่ ผู้บริหารเมืองจะเห็นความสำคัญเรื่องนี้มากน้อยเพียงใด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่แล้วหรือไม่ต่างหาก

การบอกว่าจะทำให้หาดใหญ่เป็นเมืองสีเขียว ด้วยการนำคุณชวนมาปลูกต้นพิกุลสองสามต้น แล้วบอกว่าทำแล้ว..นี่อาจไม่ใช่การอธิบายของการนำเสนอนโยบายที่ดี ไม่รวมกรณีเรื่อง ขยะ,ทางเท้า และอีกมากมายที่ไม่ได้ทำ

การทำให้กฎหมายจราจรบังคับได้จริงและเสมอภาค จะต้องนำมาใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์ที่ไม่ควรและไม่เป็นธรรม
ความหมายของคำว่า "บูรณาการ" ต้องเป็นการ "ทำมันพร้อมกัน..เข้าใจตรงกัน...และ ทุ่มเทเหมือนกัน"

หาดใหญ่ มีคนพยายามบอกว่า มันเป็น พฤติกรรมและนิสัยคนไทย ซึ่งผมมองว่านี่ไม่ใช่คำตอบทางวิชาการ แต่เป็นอคติที่มองว่า คนไทย นิสัยไม่ดีแก้ยาก....

เพราะถ้าใครคิดแบบนี้....และไม่กล้าหาญที่จะทำจากเรื่องง่าย ๆ (แต่ต้องทำ) สุดท้ายหาดใหญ่จะโตขึ้น ๆ และกลายเป็นกรุงเทพฯ ที่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

เราจะมีโมโนเรลที่อาจดูทันสมัยแต่ข้างล่างเต็มไปด้วย สลัม แบบที่เห็นในมุมไบ.....  และนี่คือสิ่งที่ เรากำลังจะบอกว่า เราแก้ปัญหาแล้ว อย่างนั้นหรือ?

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

หงุมหงิม

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 17:55 น.  21 มี.ค 58
ขอบคุณครับคุณหงุมหงิม. ส.ตากุลิบกุลิบ

เหตุผลคุณหงุมหงิม เป็น สิ่งที่เราเรียกว่า "ปัญหา" ไงครับ?


ทั้งหมดที่คุณหงุมหงิมอธิบายนั้นในทางวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของการสร้างเมืองในอนาคตที่เรียกว่า "เมืองสีเขียว" ได้รวมเอาทั้งหมดที่คุณคิดมารวมไว้เพื่อให้มันสามารถสนองตอบต่อสังคมมนุษยชาติที่ต้องการในอนาคตได้อย่างพร้อมสมบูรณ์เชียวครับ

ในยุโรป,ลาตินอเมริกา หลายประเทศก็ไม่ได้วิเศษวิโสกว่าบ้านเรา และหลายประเทศได้ผ่านการก้าวพลาดไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายประเทศเหล่านี้เห็นตรงกันก็คือ  เมื่อสิ่งที่พวกเค้าคิดว่า "ใช่" แต่เมื่อเวลามาถึงกลับ "ไม่ใช่"และกลายเป็นผิดพลาด สิ่งที่พวกเค้าทำคือ  "แก้ไขมัน"

  ยังไงฝากติดตามอ่านต่อนะครับ..จะด้วยช่วยกันคิดต่อ และทีสำคัญผมอยากให้อ่านสิ่งที่ผมจะเขียนไปเรื่อย ๆ (ถ้าไม่เบื่อ) แล้วหลายท่านอาจจะได้ทราบว่า เหตุใดผมถึงต้องจั่วหัวว่า  "รถราง" เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะทุกอย่างมันจะมีบทสรุปว่า การนำยานพาหนะนี้มาใช้มิใช่เพื่อขนถ่ายคนเท่านั้น ทว่ามันคือ หนึ่งในเครื่องมือ "แก้ปัญหา" ครับ   ส.ยกน้ิวให้


อย่างที่บอกครับ ว่าทุกคนรู้ปัญหา...

รู้ว่าการจราจรติดขัดเพราะอะไร...

ในส่วนรถรางที่ได้กล่าวมาก็ต้องบอกว่าดีครับถ้า...ทำได้จริงๆ

ส่วนตัวผมมองว่าระบบโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ ถูกสร้างมาเพื่อแก้ปัญหา

แต่เราขาดการจัดการ ขาดการวางแผนที่ดี และที่สำคัญคือขาดคนกล้า !! ที่จะมาวางแผน มาลงมือทำ

ผมถึงได้ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ที่มีการวางแผน มีการลงมือ มีการควบคุม

และได้ยกตัวอย่างถึงการวางโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อชี้ให้เห็นว่าปัญหาจริงๆ อยู่ที่ตรงไหน

อย่างรถรางที่ยกตัวอย่าง ถ้ามีการวางโครงสร้างระบบสาธารณะที่ดี อาจนำมาวิ่งในส่วนเมืองชั้นใน แล้วให้โมโนเรลวิ่งรอบ

เมืองเพื่อขนคนเข้ามาในเมือง

ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่เดิน,จักรยาน ทำได้แน่ถ้ามีระบบขนส่งสาธารณะรองรับผู้คน ไม่ว่าระบบไหน

แต่ที่สำคัญคือการหาคนวางแผนที่ดี และคนที่ลงมือทำ ซึ้งถ้าหาได้หาดใหญ่พลิกโฉมแน่...




เอารถรางมาเปลี่ยนนิสัย ขำ

ผมเห็น จขกท อ้างคำว่าวิชาการ แต่ดูเหมือนยังขาดความเข้าใจใน demographic ของกลุ่มเป้าหมาย ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของพฤติกรรมของสังคม

คือจะเปลี่ยนนิสัยคนมันได้เกี่ยวอะไรรถราง รถโมโนเรล เลย แต่เรื่องนิสัย สันดาน วินัย ใครละครับจะมาเปลี่ยน ให้นายกเทศมนตรีมาเปลี่ยน ให้นายก อบจ มาเปลี่ยน งั้นหรือ

หรือว่าคุณหวังให้ รถราง มาเปลี่ยนมาดัดนิสัยคน? แก้ผิดจุดแล้วครับ

เอารถรางมาเปลี่ยนนิสัย ขำ

อีกเรื่องครับ เรื่องตามตรอกซอกซอย ใช้รถเมล์ปรับอากาศเถอะครับ มาเป็น feeder คือ จขกท กำลังมึนเห็นแค่ภาพแล้วเข้าใจว่า รถรางในต่างประเทศมันวิ่งผ่านตรอกซอกซอยหมด แต่ความจริงมันไม่ใช่ครับ มันผ่านเฉพราะถนนหลักๆเท่านั้น และแล้วไม่ใช่นึกจะจอดให้คนลงตกไหนก็ได้นะครับ มันจะจอดเปิดประตูที่ stop เท่านั่น รถโมโนเรลก็ลักษณะเดียวกัน คืออย่าเข้าใจว่า โบกขึ้นลงกันแบบรถสองแถวนะครับ

Mr.No

อ้างจาก: เอารถรางมาเปลี่ยนนิสัย ขำ เมื่อ 06:32 น.  22 มี.ค 58
ผมเห็น จขกท อ้างคำว่าวิชาการ แต่ดูเหมือนยังขาดความเข้าใจใน demographic ของกลุ่มเป้าหมาย ยังขาดความเข้าใจในเรื่องของพฤติกรรมของสังคม

คือจะเปลี่ยนนิสัยคนมันได้เกี่ยวอะไรรถราง รถโมโนเรล เลย แต่เรื่องนิสัย สันดาน วินัย ใครละครับจะมาเปลี่ยน ให้นายกเทศมนตรีมาเปลี่ยน ให้นายก อบจ มาเปลี่ยน งั้นหรือ

หรือว่าคุณหวังให้ รถราง มาเปลี่ยนมาดัดนิสัยคน? แก้ผิดจุดแล้วครับ

ผมว่าคุณเขียนไปในเชิงใช้อารมณ์ไปนิดครับ  ใจเย็น ๆ ครับ ค่อย ๆ อ่านไป

คำตอบของผมก็คือ ถ้าคนมีหน้าที่ในการแก้ปัญหาไม่ยอมทำงาน ในกรุงเทพฯ  คุณสุขุมพันธุ์ แกจะสั่งปรับภูมิทัศน์กรุงเทพทำไมละครับ

กรณีคลองถม, ขอคืนพื้นที่ทางเดินเท้า นำคลองที่สะอาดกลับมา และกำลังจะเป็นการขยับออกไปในแต่ละจุดให้มากที่สุด เรื่องเหล่านี้ใครล่ะครับมีหน้าที่ต้องแก้ถ้าไม่ใช่คนเป็นผู้ว่าฯ  ซึ่งหากเปรียบเทียบอำนาจในส่วนภูมิภาคที่เป็น เทศบาลเมือง ใครละครับต้องทำ

การย้ายตลาดนัดสนามหลวงในอดีต ไปจุตจักร ก็ยังทำได้..และทำมาแล้ว คำถามคือ ใครทำครับถ้าไม่ใช่ผู้บริหารเมือง?

พื้นที่ทางเท้าทั้งหมด เราจะมีเทศกิจไว้ทำไมครับ.... เทศบัญญัติต่าง ๆ กฎหมายจราจร ฯลฯ มีไว้เพื่ออะไรครับ

ผมไม่ได้มีอคติใด  ๆ ต่อนักการเมือง(ที่ทำงานและทุ่มเทเพื่อบ้านเมืองจริงๆ) และถ้าจะอ่านทั้งหมดที่ผมเขียนลงในกิมหยง ผมเขียนด้วยความตั้งใจอยากให้หาดใหญ่มันควรเป็นเมืองที่ดีที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศ ไม่ได้มีวาระซ่อนเร้นชอบหรือไม่ชอบใด ๆ เพราะผมก็เคารพทุกท่านเป็นปกติ ส่วนจะแซวนิดเล่นน้อย มันก็เป็นแค่สีสัน ปันกันคิดครับ.



..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No

อ้างจาก: เอารถรางมาเปลี่ยนนิสัย ขำ เมื่อ 06:40 น.  22 มี.ค 58
อีกเรื่องครับ เรื่องตามตรอกซอกซอย ใช้รถเมล์ปรับอากาศเถอะครับ มาเป็น feeder คือ จขกท กำลังมึนเห็นแค่ภาพแล้วเข้าใจว่า รถรางในต่างประเทศมันวิ่งผ่านตรอกซอกซอยหมด แต่ความจริงมันไม่ใช่ครับ มันผ่านเฉพราะถนนหลักๆเท่านั้น และแล้วไม่ใช่นึกจะจอดให้คนลงตกไหนก็ได้นะครับ มันจะจอดเปิดประตูที่ stop เท่านั่น รถโมโนเรลก็ลักษณะเดียวกัน คืออย่าเข้าใจว่า โบกขึ้นลงกันแบบรถสองแถวนะครับ

หลายประเทศก็ใช้ tram เป็น feeder ได้สบาย ๆ เพราะมันตอบสนองเรื่องของโลกสะอาด และเมืองสีเขียว ที่กำลังเป็นแนวคิดของเมืองในอนาคต

การตอบโจทย์ของการนำระบบขนส่งมวลชนมาใช้ ปัจจุบันนี้ ศาสตร์เฉพาะด้านวิศวกรรรมขนส่ง เพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เมืองเติบโตและน่าอยู่อย่างที่ควรจะเป็น 

การเน้นแต่การขนถ่ายคนเข้าออก แต่ละเลยการแก้ปัญหาจากในไปสู่ข้างนอกทั้งเรื่องผังเมือง,ภูมิสถาปัตย์ ปรับเปลี่ยนออกแบบถนนที่เรียกว่า complete street  ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นความสำเร็จในภาพรวมครับ

มีหลายอย่างที่ผมเห็นว่า หาดใหญ่ยังมีศักยภาพในการนำเอาสิ่งที่เรียกว่า multi-mode transportaion มาใช้ ไม่เว้นแม้นแต่ทางน้ำที่ถือเป็นหัวใจของเมืองหาดใหญ่แต่แรก และเป็นระบบการขนส่งที่ถูกที่สุด แต่เรากลับไม่คิดถึงมัน

คลองเตยในเมือง, คลองอู่ตะเภา ถือเป็นเส้นทางน้ำผ่ากลางเมือง...ดูแลให้ดี และทำให้มันกลับมาเป็นเส้นทางที่จะสามารถใช้ในการเชื่อมโยงการขนส่งให้ทั่วถึงกันได้ ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องคิดเตรียมไว้

ยิ่งกรณีทางรถไฟสงขลาหาดใหญ่ ผมแปลกใจว่า เหตุใดทาง อบจ.หรือเทศบาลหาดใหญ่ กลับนิ่งกริบ ทั้ง ๆ ที่ในทางวิศวกรรมขนส่ง, สนข, จนถึงปลัดกระทรวง คมนาคม ท่านก็บอกชัดว่าเห็นด้วย แต่ บรรดาหัว ๆ ของสงขลา หาดใหญ่ ทำอะไรกัน..หรือกลัวการทำเรื่องนี้มันอาจกระทบถึงด้านใดในทางการเมือง!??

อ้อผมค้างท่านไว้เรื่องที่ท่านบอกว่า ผมชอบอ้างต่างประเทศ โดยเฉพาะอ้างว่า ประเทศโน้นเค้ามีเราต้องมีบ้างอะไรประมาณนั้น  ผมอยากให้ลองดูคลิปที่ คุณนิพนธ์ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโมโนเรลไว้ซิครับว่า เค้าอ้างประเทศไหน (นี่ของจริงที่บอกว่า ที่โน่นเค้าก็มีไงครับ) 

คุณนิพนธ์ นายก อบจ.สงขลาให้สัมภาษณ์กรณี โมโนเรล

และคลิปนี้ สละเวลาสัก 9-10 นาที อาจทำให้ท่านเห็นได้ว่า รถรางมันจอดได้สะดวกแบบเล่นจอดหน้าบ้านที่ไม่ต้องมีสถานีก็ได้ (อันนี้ถือเป็นวัฒนธรรมเดิมของเค้า เพราะรถรางแบบนี้มีมานานมาก) และที่สำคัญมันลัดเลาะได้อย่างที่คนหาดใหญ่อาจทึ่ง เพราะวันหนึ่งมันอาจเลี้ยวเข้าไปรับอาซ้อ..อาม้า แม้นอยู่ในซอยวัดถาวร,หลังตลาดกิมหยงได้สบาย ๆ แบบที่รถบัสต้องไปจอดไกล ๆ

รถรางลัดเลาะตรอกซอยในกรุงลิสบอน โปรตุเกส (อันนี้เหมาะมากสำหรับเมืองเก่าอย่างสงขลา)

ยังไงต้องขอบพระคุณที่ช่วยกันแสดงความคิดเห็นครับ...ไม่มีใครผิดถูกครับ แต่เรื่องดีด้วยกันสองฝ่ายคือ ช่วยกันคิดเพื่อบ้านเมืองกันครับ.











..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.No


เขียนเรื่องนี้มาครบ 1 ปี ....   หาดใหญ่ ยังไม่ได้ไปไหน!!!

แต่ภูเก็ต ที่ไหน ๆ เค้าคืบหน้าเรื่อง Tram  และสุดท้ายก็น่ายินดีว่า  ขอนแก่น ได้รับการเซ็นอนุมัติให้นำระบบ รถรางมาใช้แก้ปัญหาเมือง จากหัวหน้ารัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว......


ดีใจแทนคนขอนแก่นด้วยจริงๆ ส.ยกน้ิวให้
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

Mr.Yes

ช่วยตอบที
ทำไม กทม ไม่เอารถรางกลับมาใช้
ทำไมรถเมล์ราง กทม ถึงไปไม่รอด
ทำไม ขยายรถไฟฟ้ารางกันเกือบสิบสาย
แล้วผังเมือง ขอนแก่น หาดใหญ่เหมือนกันหรือครับ
ขอบคุณครับ

Mr.No

อ้างจาก: Mr.Yes เมื่อ 21:20 น.  20 มี.ค 59
ช่วยตอบที
ทำไม กทม ไม่เอารถรางกลับมาใช้
ทำไมรถเมล์ราง กทม ถึงไปไม่รอด
ทำไม ขยายรถไฟฟ้ารางกันเกือบสิบสาย
แล้วผังเมือง ขอนแก่น หาดใหญ่เหมือนกันหรือครับ
ขอบคุณครับ

ขออนุญาต ตอบสั้น ๆ ครับ

1.ทำไม กทม ไม่เอารถรางกลับมาใช้
   ตอบ เพราะ กทม.ปล่อยปละ จนกระทั่งมันเลยเถิดและเละจนเกินกว่าจะแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนได้ นี่จึงเป็นคำถามและคำตอบที่ว่า เหตุใด นักผังเมือง จึงได้มุ่งไปที่หลายจังหวัดที่ยังอยู่ในวิสัยที่ยังแก้ไข และเยียวยาได้ ก่อนจะกลายเป็นแบบกรุงเทพฯ ไงครับ.
2.ทำไมรถเมล์ราง กทม ถึงไปไม่รอด
   ตอบ รถเมล์รางไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องปัญหาพื้นที่ใช้สอย เพราะระบบที่ออกแบบในเวลานั้นมันไม่คุ้มค่า เช่นการสร้าง Bus Lane ที่ไม่ได้เป็นลักษณะ Share the Road ครับ.

3.ทำไม ขยายรถไฟฟ้ารางกันเกือบสิบสาย
   ตอบ กลับไปดูข้อ 1 ไงครับ เพราะกรุงเทพฯ มันหมดพื้นที่ในการเยียวยาบนดินแล้ว ที่ดินส่วนใหญ่ รัฐและกทม.ไม่ได้มีการวางแผนกันพื้นที่ไว้สำหรับอนาคต ดังนั้นที่ดินส่วนใหญ่จึงอยู่ในมือของกลุ่มทุน และประชาชน จึงยากในการพัฒนาพื้นที่ พอนึกภาพออกมั้ยครับ?

4. แล้วผังเมือง ขอนแก่น หาดใหญ่เหมือนกันหรือครับ
  ตอบ  Tram ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับด้านผัง ผมอยากให้ดูประชากร,รายได้ ระหว่าง สงขลา กับ ขอนแก่น ซึ่งจะเห็นได้ว่า บ้านเรายังมีศักยภาพหลายอย่างที่ทำได้
  ขอนแก่นเป็นเมืองที่ประชากรมีรายได้อันดับสองในอีสานนะครับ ดังนั้น การนำระบบ tram มาใช้ในขณะที่เมืองยังไม่ล่ม ผมมองว่า เค้าฉลาดที่จะคิดภาพของเมืองที่เจริญแบบยั่งยืนออกไปอีก 20-30  ปีข้างหน้ามากกว่า

...............................   ล่าสุด  อาจมีข่าวดี ที่ภูเก็ต ในไม่ใช่ อันนี้ อยากให้ติดตามครับ ..............................

..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

เอารถบัส แบบปีนังก็ได้วิ่งเป็นเส้นทาง มีเวลาออก เข้าตามเวลา จัดเส้นวิ่งให้เรียบร้อย ถนนสายหลักไม่มีรถจอด รถก็วิ่งเร็วขึ้น