ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

จากเดือนรอมฎอน เข้าสู่เดือนเซาวาล ของปีฮีจเราะหห์ 1436

เริ่มโดย ฟ้าเปลี่ยนสี, 20:32 น. 20 ก.ค 58

ฟ้าเปลี่ยนสี

 ส.หัว ไม่แน่ใจเอาไว้หมวดไหน ขอไว้หมวดนี้ก็แล้วกันครับ เพราะเกี่ยวกับ ดวงดาว ครับ.......

จากเดือนรอมฎอน เข้าสู่เดือนเซาวาล ของปีฮีจเราะหห์ 1436
Last Updated on Monday, 20 July 2015 14:55

เนื่องจากวันที่ 17 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวันที่ 29 เดือนชะบาน 1436 ฮ. และในวันดังกล่าวทางสำนักจุฬาราชมนตรีก็ได้ประกาศให้พี่น้องชาวมุสลิมในประเทศไทยร่วมกันออกมาสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อที่จะกำหนดวันที่ 1 เดือนรอมฎอน หรือวันเริ่มต้นของการถือศีลอดในปีนี้ของชาวมุสลิม และในวันดังกล่าวทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ก็ได้จัดกิจกรรมการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรกเพื่อกำหนดวันถือศีลอดเดือนรอมฎอน ณ แหลมตาชี อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ซึ่งในกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีน้องๆเยาวชนมุสลิมในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว

[attach=1]
ภาพน้องๆเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก เพื่อกำหนดวันถือ
ศีลอดเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2558 ณ แหลมตาชี อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ข้อมูลของดวงจันทร์ก่อนที่ทำการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันที่ 16 มิถุนายน 2558 จันทร์ดับ (New moom) จะเกิดขึ้นที่เวลาประมาณ 21:04 น. และเมื่อเวลาผ่านไปจนไปถึงช่วงเวลาของการสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 17 มิถุนายน 2558 ที่เวลาประมาณ 18:47 น. ดังนั้นอายุของดวงจันทร์เริ่มตั้งแต่เวลา 21:04 น ของวันที่ 16 มิถุนายน จนมาถึงเวลาดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:47 น. วันที่ 17 มิถุนายน อายุของดวงจันทร์จะอยู่ประมาณ 21 -22 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้สามารถสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกได้ง่าย

[attach=2]
ภาพแผนที่การคาดการณ์บริเวณที่จะสามารถสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกหรือฮิลาล(Hilah)
ในวันที่  17 มิถุนายน พ.ศ.2558 ตรงกันกับวันที่ 29 เดือนชะบาน (Shaban) ( (เดือนที่ 8) เพื่อที่จะกำหนดวันที่ 1 รอมฎอน

และผลการของการสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันที่วันที่ 17 มิถุนายน 2558 ปรากฏว่าได้มีผู้ที่เห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในช่วงเวลาของการณ์สังเกตการณ์ในวันดังกล่าว จึงนับได้ว่าเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันดังกล่าวจะเป็นเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่ของชาวมุสลิม หรือเวลาเริ่มต้นของเดือนรอมฎอน ของปีนี้ และทางสำนักจุฬาราชมนตรีก็ได้ประกาศให้วันที่ 1 เดือนรอมฎอน 1436 จะตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน 2558 และชาวมุสลิมในประเทศไทยจะเริ่มถือศีลอดกันตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน จนถึงวันที่ครบรอบเดือนจันทรคติ 29 วัน หรือ 30 วัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) อีกครั้งในวันที่ 29 เดือนรอมฎอน 1436 ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 ที่จะถึงนี้

        การสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 จะตรงกับวันที่  29 เดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9) จะเริ่มทำการสังเกตการณ์หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าและการสังเกตการณ์ดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญสำหรับชาวมุสลิมมาก เนื่องจากผลของการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรกในวันดังกล่าวจะมีผลในการกำหนดวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม คือ วันอิฎิ้ลฟิตรี หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันฮารีรอยอ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 เดือนเซาวาล (เดือนที่ 10) ของทุกปี ดังนั้น ผลของการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรกในวันที่ 16  กรกฎาคมนี้ หากผลของการสังเกตการณ์ไม่มีผู้ใดที่สามารถเห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) วันรุ่งขึ้นหรือวันที่ 17 กรกฎาคม จะเป็นวันที่ชาวไทยมุสลิมถือศีลอดวันสุดท้าย หรือเป็นวันที่ 30 เดือนรอมฎอนปีนี้  และวันที่ 1 เดือนเซาวาลหรือวันอิฎิ้ลฟิตรี ก็จะตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2558  แต่ห่ากว่า ผลของการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรกในวันที่ 16  กรกฎาคมนี้ได้มีผู้ที่สามารถสังเกตุเห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ได้ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 17 กรกฎาคม ก็จะเป็นวันอิฎิ้ลฟิตรี หรือวันฮารีรอยอ ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 เดือนเซาวาล นั้นเอง

[attach=3]
ภาพกิจกรรมการสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ณ หอสังเกตการณ์ดวงจันทร์
อำเภอยะหา จังหวัดยะลา เพื่อกำหนดวันอิฎิ้ลฟิตรีหรือวันที่ 1 เดือนเซาวัล
เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา

ข้อมูลของดวงจันทร์ก่อนที่ทำการสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2558 จันทร์ดับ (New moom) จะเกิดขึ้นที่เวลาประมาณ 08:24 น. และเมื่อเวลาผ่านไปจนไปถึงช่วงเวลาของการสังเกตการณ์จันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เมื่อเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันดังกล่าว เวลาดวงอาทิตย์ตกที่ประเทศไทย (กทม) เวลาประมาณ 18:50 น. ดังนั้นอายุของดวงจันทร์เริ่มตั้งแต่เวลา 08:24 น จนมาถึงเวลาดวงอาทิตย์ตกเวลา 18:50 น. ในวัน16 กรกฎาคม อายุของดวงจันทร์จะอยู่ประมาณ 10 - 11 ชั่วโมง และช่วงเวลาดังกล่าว มุมเงย (Altitude) ของดวงจันทร์จะอยู่สูงจากเส้นขอบฟ้าประมาณ 2 องศา และมีเวลาสังเกตดวงจันทร์เพี้ยงแค่ 7 - 8 นาที่ ก่อนที่ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าไป ดังนั้นโอกาสที่จะสามารถเห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ที่ประเทศไทยถือได้ว่ามีโอกาสที่น้อยมากๆ

[attach=4]
ภาพแผนที่การคาดการณ์บริเวณที่จะสามารถสังเกตเห็นจันทร์เสี้ยวแรกหรือฮิลาล (Hilah)
ในวันที่  16 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ตรงกันกับวันที่ 29 เดือนรอมฎอน (Ramadan) ( (เดือนที่ 9)
เพื่อที่จะกำหนดวันที่ 1 เชาวาล หรือวันอิฎิ้ลฟิตรี

ผลของการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ (ฮีลาล)

ประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่อง กำหนดวันที่ ๑ ของเดือนเซาวาล (วันอีฎิ้ลฟิตริ) ประจำปี ฮ.ศ.1436
[attach=5]
[attach=6]


เรียบเรียงโดย
รอยาลี  มามะ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งข้อมูลมูลอ้างอิง http://www.crescentwatch.org/cgi-bin/cw.cgi
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

ปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ในประเทศไทย
Last Updated on Monday, 02 December 2013 11:05

เมื่อกลุ่มชนมนุษย์เริ่มขีดเขียนเพื่อบันทึกความทรงจำสิ่งแรกที่เขาเขียนก็คือ การขีดตามจำนวนสิ่งของและจำนวนวันเวลาที่ผ่านไป ดังนั้นการนับวันเวลาจึงเป็นหน่วยนับพื้นฐานที่สุดในปฏิทินจากนับวันมาเป็นเดือน และมาสู่การนับปีของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเชื่อแต่ละกลุ่มชน และในประเทศไทยตั้งแต่ในอดีตก็ได้มีการใช้ปฏิทินต่างๆกันมากมายเช่น ปฏิทินหลวง ปฏิทินล้านนา ปฏิทินสากล ปฏิทินฮิจเราะห์ (ปฏิทินอิสลาม) และปฏิทินอื่นๆ เป็นต้น และในบทความนี้จะกล่าวถึงปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ศักราช

[attach=1]
ภาพปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ที่เขียนด้วยตัวหนังสือญาวีหรือตัวเขียนญาวี
เป็นตัวหนังสือที่นิยมมากของชาวมุสลิมทางภาคใต้ตอนล่าง

เนื่องจากในประเทศไทยเรามีจำนวนประชากรชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมากเป็นอันดับสองของประเทศ ดังนั้นปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์จึงถือว่าเป็นปฏิทินที่มีความสำคัญมากต่อชาวไทยมุสลิม เพื่อที่จะกำหนดวันสำคัญๆหรือกิจกรรมต่างๆทางศาสนาอิสลามในแต่ละปีฮิจเราะห์ศักราช

        ศักราชของอิสลามใช้คำว่า ฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า "ฮ.ศ." คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง การอพยพ คือ การอพยพของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ ซึ่งหากนับย้อนหลังไปของวันที่ 1 มุฮัรราม ปี ฮ.ศ. 1 จะตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.622 และถ้าพิจารณาวิธีสังเกตดวงจันทร์หรือดูจันทร์เลี้ยว (ฮีลาฮ) จะตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.622

[attach=2]
ภาพแสดงเส้นทางการอพยพของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์

ปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ (Islamic Calendar) ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้โดยชาวมุสลิมทั่วโลกในการกำหนดวันสำคัญๆและเทศกาลต่างๆในรอบปีฮิจเราะห์ศักราชของชาวมุสลิมทั่วโลก ปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ เป็นปฏิทินแบบจันทรคติอย่างแท้จริง เนื่องจากจะใช้การสังเกตดวงจันทร์ (ดิถีจันทร์) เป็นหลัก ชึ่งจะไม่สัมพันธ์กับฤดูกาล การนับวันของแต่ละเดือนของชาวมุสลิมจะนับแบบไม่มีการแบ่งเป็นข้างขึ้นข้างแรม โดยจะนับแบบวันที่ 1  ถึงวันที่ 29 วันหรือ 30 วันในแต่ละเดือน ซึ่งจะไม่มีเดือนไหนที่มี 28 วัน หรือ 31 วัน และจะกำหนดให้ 1 ปีฮิจเราะห์ศักราช มี 12 เดือนเสมอ จะไม่มีการเพิ่มเดือน ซึ่งจะแตกต่างกันกับปฏิทินไทยที่บางปีจะมีการเพิ่มเดือนที่ 13 ซึ่งจะเรียกปีดังกล่าวนี้ว่า ปีอธิกามาส (ปีที่มีเดือนแปดสองครั้ง) ดังนั้นเมื่อครบ 1 ปี ตามปีปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ศักราชจำนวนวันในรอบ 1 ปี จะมีจำนวนวันน้อยกว่าจำนวนวันของปีปฏิทินสากลประมาณ 10 วัน ดังนั้นวันขึ้นศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามก็จะร่นเร็วขึ้นประมาณปีละ 10 วัน ทุกปี

        การจัดทำปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์นั้นการกำหนดวันเริ่มต้นของแต่ละเดือนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงหากกำหนดผิดพลาด การนับเดือนก็จะผิดพลาดไปด้วย ดังนั้นเพื่อความถูกต้องแมนยำในการกำหนดวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ชาวมุสลิมที่มีความรู้ทางดาราศาสตร์จะต้องออกไปสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาฮ) ช่วงเวลาเย็น (ก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน) ของทุกๆวันที่ 29 ของแต่ละเดือนอิสลาม (เดือนกอมารียะฮ์) ถ้าผลของการสังเกตไม่เห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาฮ) แสดงว่าในเดือนนี้จะมี 30 วัน แต่ถ้าผลของการสังเกตได้เห็นจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาฮ) ก็จะสรุปได้ว่าเดือนนี้มีแค่ 29 วัน และหลังจากเวลาดังกล่าวหลังจากสังเกตุเห็นจันเสี้ยวแรก (ฮีลาฮ) ก็เป็นเวลาเริ่มเข้าเดือนใหม่ จะเริ่มนับเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่

[attach=3]
ภาพการสังเกตจันทร์์เสี้ยวแรก (ฮีลาฮ) ช่วงเวลาเย็น (ก่อนดวงอาทิตย์ตกดิน)

[attach=4]
รูปที่ 4 ภาพจันทร์เสี้ยวแรกหลังจากดวงอาทิตย์ตกดิน เพื่อจะกำหนดวันเริ่มต้นเดือนใหม่และปีอิจเราะฮ์ศักราชใหม่
ของวันที่ 1 มุฮัรรอม ฮ.ศ.1435 ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เครดิตภาพโดย Javad Torabinejad จาก Blacksburg, VA ,USA. (เวลา 17:58 เวลาท้องถิ่น)
ณ หอสังเกตจันทร์ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

การนับเดือนของปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ศักราชใน 1 ปีนั้นประกอบด้วย 12 เดือน หรือเรียกว่าเดือนกอมารียะฮ์ ซึ่งจะประกอบด้วยดังนี้

    เดือนที่ 1 ชื่อเดือน มุฮัรราม (Muharam)

    เดือนที่ 2 ชื่อเดือน ซอฟัร (Safar)

    เดือนที่ 3 ชื่อเดือน รอบิอุล เอาวัล (Rabiul Awal)

    เดือนที่ 4 ชื่อเดือน รอบิอุล ฮาเคร (ซานี) (Rabiul Akhir)

    เดือนที่ 5 ชื่อเดือน ญามาดิล เอาวัล (Jamadul Awal)

    เดือนที่ 6 ชื่อเดือน ญามาดิล ฮาเคร (ซานี) (Jamadul Akhir)

    เดือนที่ 7 ชื่อเดือน รอญับ (Rajab)

    เดือนที่ 8 ชื่อเดือน ชะอ์บาน (Shaban)

    เดือนที่ 9 ชื่อเดือน รอมฎอน (Ramadan)

    เดือนที่ 10 ชื่อเดือน เชาวัล (Shawwal)


    เดือนที่ 11 ชื่อเดือน ซุลเกาะอ์ดะฮ์ (Zul Qadah)

    เดือนที่ 12 ชื่อเดือน ซุลฮิจญะฮ์ (Zol Hijjah)

เรียบเรียงโดย
รอยาลี  มามะ
เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

แหล่งข้อมูลมูลอ้างอิง
หนังสือ อัลฟาลัก ดาราศาสตร์ปัฏิบัติสำหรับมุสลิม "นิแวเต๊ะ หะยีวามิง"
หนังสือ ปฏิทินไทยเชิงดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ "ลอย  ชุนพงษ์ทอง"

อ้างอิงภาพ
รูปที่ 1 http://ar.wikipedia.org/wiki/?????
รูปที่ 2 http://ilmuhumaniora.blogspot.com/2013/03/periode-madinah-bagian-i_25.html
รูปที่ 3 http://www.isranews.org/2012/south-news/เรื่องเด่น/item/22878-moon.html
รูปที่ 4 http://www.makkahcalendar.org/en/photoGallery.php?islamic_year=1435
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด