ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

คนใช้เน็ตควรรู้ Single Gateway คืออะไร มาหาคำตอบได้กันที่นี้

เริ่มโดย Oz, 12:16 น. 30 ก.ย 58

Oz

   ส.ใส่แว่นกันแดด... ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่คนกำลังพูดถึงมากอยู่ในขณะนี้ กับความรีบเร่งที่รัฐบาลจะจัดตั้ง "Single Gateway" ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อคข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเกลียดชังได้ทันที ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าจะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

  Single Gateway คืออะไร? หลายคนอาจสงสัย และงงๆกันว่า มันคืออะไร ยังไงนะ วันนี้เราหาคำตอบมาให้ครับ

  " Gateway คือ ประตูเข้าออกอินเทอร์เน็ตสู่โลกภายนอก เชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งเทียบง่ายๆ คล้ายกับท่าเรือ สนามบิน ยกตัวอย่างถ้าใช้เฟซบุ๊กจากสมาร์ทโฟน ข้อมูลจากสมาร์ทโฟนจะส่งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) ก่อนที่จะส่งต่อไปที่ผู้ให้บริการเกทเวย์กว่า 10 ราย ส่งไปที่ เกทเวย์ สิงคโปร์ เพื่อไปยังเซิฟเวอร์เฟซบุ๊กที่สิงคโปร์ เซิฟเวอร์เฟซบุ๊กที่สิงคโปร์ จะส่งข้อมูลกลับมาทางผ่านเกทเวย์ของ 2 ประเทศ เข้าผู้ให้บริการไอเอสพี เข้าสมาร์ทโฟนของเพื่อนแม้ว่าเราอยู่ใกล้กัน แต่การสื่อสารต้องออกไปเซิฟเวอร์ในต่างประเทศก่อนจึงกลับมาอีกครั้ง แต่ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ถ้ารัฐบาลมีนโยบายที่จะให้ใช้ ซิงเกิล เกทเวย์ หรือประตูเข้า-ออก เดียว การเล่นเฟซบุ๊ก ก็จะเข้า-ออก เกทเวย์เดียวประตูเดียวเท่านั้น หรือย้อนไปก่อนปี 2540 ที่ไทยเคยมีเกทเวย์เข้าเดียว แม้จะเป็นเรื่องทางเทคนิคอาจฟังดูไกลตัว แต่เรื่องนี้มีผู้กระทบกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลีกเลี่ยงไม่ได้"
 
  ผู้เชี่ยวชาญมีข้อสังเกตช่องโหว่ของ ซิงเกิล เกทเวย์ สำหรับข้อดีของ ซิงเกิล เกทเวย์ คือรัฐบาลสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อคข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเกลียดชังได้ทันที ส่วนข้อเสีย มีการตั้งคำถามว่าจะไว้ใจการรักษาความปลอดภัยของผู้ให้บริการ เกทเวย์ เจ้าเดียวอย่างไร ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นจากการขยายแบนวิธ ที่เหลือเพียงเจ้าเดียว หากไม่ขยายแบนวิธ จะทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดต่ำลง

  ประเทศที่ใช้ ซิงเกิล เกทเวย์ มีหลายประเทศ เช่น จีน, ลาว, เกาหลีเหนือ เมียนมาร์และแถบตะวันออกกลาง โดยพบว่ารัฐบาลจีนสามารถควบคุมประชากร 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ให้พูดถึงข้อมูลที่กระทบหน่วยงานรัฐ หรือเข้าถึงเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยูทูปส่วนผลกระทบต่อการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าหากมีการดำเนินนโยบายนี้จริง จะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ส่วนรัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นวิธีเพื่อดูแลความมั่นคง โดยกลับไปใช้ช่องทางการเข้า-ออกข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตแบบเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน

  สรุปคือ ข้อดี ข้อเสีย ของ ระบบ "ซิงเกิลเกตเวย์"
ข้อดี
- ควบคุมเนื้อหา และคัดกรองข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้
- รัฐบาลตรวจสอบข้อมูล ไม่เหมาะสมได้ง่าย
- บล๊อคข้อมูลที่ไม่เหมาะสมได้ทันที

ข้อเสีย
- อินเทอร์เน็ตช้าลง
- หาก Gateway ล่มก็จะล่มกันทั้งประเทศ
- ความโปร่งใสของระบบ Gateway ( ใครจะตรวจสอบ? )
- ราคาค่าบริการการขยายสัญญาญอินเทอร์เน็ตจะสูงขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก Nation
ขอบคุณภาพจาก http://suponchai.com/

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

ทีมงานประชาสัมพันธ์

รายการ ตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส : "Single Gateway" ดิจิทัลรวมศูนย์ "คำถาม" รอ "คำตอบ" (30 ก.ย. 58)

https://youtu.be/RihWHTdq3tw

ทีมงานประชาสัมพันธ์

คนใช้เน็ตควรรู้ Single Gateway คืออะไร มาหาคำตอบได้กันที่นี้

Single Gateway คืออะไร มาหาคำตอบได้กันที่นี้

การที่ประเทศไทยจะนำเอา "Single Gateway" มาใช้นั้น ดูเหมือนว่าจะมีการพูดเรื่องนี้กันมาสักระยะหนึ่ง แต่เพิ่งจะเริ่มตื่นตัวกันจริง ๆ ไม่นานมานี้ หลังรัฐบาลเริ่มผลักดันการใช้ Single Gateway อย่างจริงจัง ทำให้หลายฝ่ายมีการถกเถียงถึงผลกระทบที่จะตามมา ซึ่งหลายคนอาจยังสงสัยว่า Single Gateway คืออะไร และหากประเทศไทยนำเทคโนโลยีที่ว่านี้มาใช้นั้น จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่าง ไรบ้าง กระปุกดอทคอมจึงได้หยิบยกเรื่องนี้มาให้ทุกคนทำความรู้จัก และร่วมพิจารณาถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจจะต้องเผชิญหากมีการใช้ Single Gateway ในประเทศไทยขึ้นมากันค่ะ

Single Gateway คืออะไร

หากอธิบายคำว่า Single Gateway คงต้องแยกทั้ง 2 คำออกจากกันก่อน โดยคำว่า "Gateway" หมายถึง ประตูทางผ่าน หรือศัพท์ในวงการไอที หมายถึง ประตูเชื่อมระหว่างเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง และเป็นตัวที่เชื่อมต่อโครงข่ายของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยผู้ให้บริการ Gateway อยู่มากมาย เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แต่เมื่อเติมคำว่า "Single" เข้าไป กลายเป็น Single Gateway ก็จะแปลได้ว่า จะสามารถเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านประตูแค่บานเดียว นั่นก็จะเท่ากับการมีผู้ให้บริการเครือข่ายเพียงเจ้าเดียว ทำให้สามารถควบคุม ดักจับข้อมูลเมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านประตูบานนี้ไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
ประเทศที่ใช้ Single Gateway

ปัจจุบันมีประเทศที่ใช้ Single Gateway คือ ลาว จีน เกาหลีเหนือ และประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นประเทศที่ภาครัฐสามารถควบคุมดูแลการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้ สะดวก โดยเฉพาะจีนที่รัฐบาล ควบคุมไม่ให้ประชาชนในประเทศเล่นสื่อโซเชียลอย่าง Facebook รวมถึงการห้ามใช้ Google นั่นเอง

และแน่นอนว่าในอดีตประเทศไทยก็เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ Single Gateway เช่นกัน ในสมัยแรก ๆ ที่การใช้อินเทอร์เน็ตยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยเวลาที่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทุกจุดเชื่อมต่อก็จะต้องมารวมกันที่ กสท. ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียว แต่หลังจากเกิดวิกฤติไอเอ็มเอฟ ในปี 2540 ก็ได้มีการสั่งให้ประเทศไทยเปิดเสรีโทรคมนาคม ทำให้ Gateway ในไทยเพิ่มมากขึ้นจนตอนนี้มีถึงสิบกว่า Gateway แล้ว
รัฐบาลไทย ผลักดันจัดตั้ง Single Gateway

เริ่มแรกเกิดจากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายเตรียมผลักดันการ จัด ตั้ง Single Gateway โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบ ในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อกข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย รวมทั้งเพื่อป้องกันจากโจมตีทางไซเบอร์ด้วยการก่อการร้าย ซึ่งมีการสั่งงานของรัฐบาลเป็นระยะ คือ

- วันที่ 30 มิถุนายน 2558 มีการมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการจัดตั้ง Single Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูล ข่าวสารจากต่างประเทศผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต
- วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ให้กระทรวงไอซีทีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการจัดตั้ง Single Gateway ตามมติคณะรัฐมนตรี (30 มิถุนายน 2558) โดยด่วนต่อไป
- วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานความคืบหน้าการจัดตั้ง Single Gateway ให้ทุกส่วนราชการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินการทุกอย่างของรัฐบาลให้ แก่ประชาชนตั้งแต่เริ่มแรก
- วันที่ 25 สิงหาคม 2558 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเร่งรัดการดำเนินการเรื่องการจัด ตั้ง Single Gateway และรายงานความคืบหน้าให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในเดือนกันยายน 2558 ต่อไปด้วย

ข้อดี หลังการติดตั้ง Single Gateway
- รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศ ทำให้สามารถคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนได้ รวมถึงป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม
- ส่งเสริมความมั่นคงในประเทศชาติ ยากต่อการก่อการร้าย เพราะรัฐบาลจะรู้ก่อน
- ควบคุมข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลจากต่างประเทศเข้ามาทางอินเทอร์เน็ต

ข้อเสีย หลังการติดตั้ง Single Gateway
- อินเตอร์เน็ตช้าลงแน่นอน เนื่องจากมี Gateway เดียว
- หาก Gateway ล่มก็จะล่มกันหมดทั้งประเทศ เพราะจะไม่มี Gateway ตัวอื่นรองรับ
- ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปถูกจำกัดการใช้เครือข่ายกับต่างประเทศมากขึ้น และต้องระวังการเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน เช่น การถูกรัฐบาลบล็อก แบน แสกน การใช้งานอินเทอร์เน็ต
- รัฐบาลสามารถปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่ประชาชนค้นหาได้อย่างรวดเร็วเต็ม ประสิทธิภาพ ด้วยป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่รัฐบาลไม่ต้องการ
- มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องสร้าง Gateway ที่มีขนาดใหญ่รองรับปริมาณการใช้งานทั้งประเทศ และต้องใหญ่พอที่จะรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
- บริษัทข้ามชาติลังเลที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่มั่นใจด้านความมั่นคงและรู้สึกไม่ปลอดภัยในการให้บริการอิน เทอร์เน็ต กังวลถึงข้อมูลทางการค้าที่ถูกล้วงความลับได้ง่าย
- ประเทศไทยขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน

"ผู้เชี่ยวชาญมีข้อสังเกตช่องโหว่ของ ซิงเกิล เกทเวย์ สำหรับข้อดีของ ซิงเกิล เกทเวย์ คือรัฐบาลสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ไม่เหมาะสม หรือบล็อคข้อมูลที่ให้เกิดความวุ่นวาย หรือเกิดความเกลียดชังได้ทันที ส่วนข้อเสีย มีการตั้งคำถามว่าจะไว้ใจการรักษาความปลอดภัยของผู้ให้บริการ เกทเวย์ เจ้าเดียวอย่างไร ราคาค่าบริการอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นจากการขยายแบนวิธ ที่เหลือเพียงเจ้าเดียว หากไม่ขยายแบนวิธ จะทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดต่ำลง"

"ส่วนผลกระทบต่อการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าหากมีการดำเนินนโยบายนี้จริง จะทำให้ไทยเกิดความเสียหายทางธุรกิจ หรือขาดความเชื่อมั่นจากต่างชาติได้ หรือขาดโอกาสการเป็นฮับทางเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน ส่วนรัฐบาลให้เหตุผลว่าเป็นวิธีเพื่อดูแลความมั่นคง โดยกลับไปใช้ช่องทางการเข้า-ออกข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตแบบเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน"

ข้อมูลและที่มา
http://www.kapook.com
http://droidsans.com/thai-gov-single-gateway-explained
http://www.nationtv.tv/main/content/economy_business/378472888/
https://www.facebook.com/stopfakethailand?fref=ts

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พิมพ์คำว่า กิมหยง ลงในคำตอบ:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง