ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เชื้อ HIV-HPV เพิ่มทุกปี “ออรัลเซ็กซ์” น่าห่วงกับการรักษามะเร็งปากมดลูก

เริ่มโดย Marcelo Real Madrid, 15:33 น. 01 ธ.ค 58

Marcelo Real Madrid

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ อึ้ง...พบเชื้อ HIV-HPV เพิ่มทุกปี "ออรัลเซ็กซ์" น่าห่วงเผยยอดชายซั่มชายใน กทม.มีสิทธิสูงกว่า 2 แสนราย พบสถิติติดเชื้อ HIV มากขึ้นทุกปี และ 85% มักพบเชื้อ HPV ร่วมด้วย เสี่ยงการเป็นมะเร็งปากทวารหนัก ด้านออรัลเซ็กซ์ก็น่าห่วง มีสิทธิเกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอหากไม่สวมถุงยางอนามัย แนะผู้มีความเสี่ยงตรวจคัดกรอง ด้านแพทย์ศิริราชชี้ฉีดวัคซีนช่วยลดอัตราการติดเชื้อใหม่ได้ และป้องกันมะเร็งได้ 78%


ทั้งนี้ ในผู้หญิงพบว่ามีการติดเชื้อ HPV จนเกิดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอัตรา 9.9 คนต่อแสนประชากร ช่องคลอดอัตรา 0.5 คนต่อแสนประชากร และทวารหนัก 2.5 คนต่อแสนประชากร ขณะที่ผู้ชายพบเชื้อ HPV จนเกิดเป็นมะเร็งปากทวารหนักในอัตรา 1.6 คนต่อแสนประชากร และในองคชาติอัตรา 1 คนต่อแสนประชากร แม้อัตราส่วนมะเร็งปากทวารหนักจากเชื้อ HPV ในผู้หญิงจะพบมากกว่าผู้ชาย แต่เมื่อดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่าผู้ชายที่เป็นมะเร็งปากทวารหนัก ร้อยละ 70-90 เป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย "ที่น่าห่วงคือการเกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอจากเชื้อ HPV ซึ่งเกิดการจากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ออรัลเซ็กซ์) ซึ่งในเร็วๆ นี้ จะพยายามเร่งผลักดันให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในช่องปากและลำคอจากเชื้อ HPV ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชายมีเพศสัมพันธ์กับหญิง หรือกับผู้ชายด้วยกันเอง ขอให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วยการใส่ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกแม้แต่การทำออรัลเซ็กซ์ก็เช่นกัน ควรใส่ถุงยางอนามัยเพื่อความปอลดภัยด้วย" พญ.นิตยา กล่าว

โรคมะเร็งสามารถพบได้ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับภาวะเอดส์ ชนิดของมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในต่างประเทศคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และ Kaposi's sarcoma ส่วนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยคือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkins และมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตามความชุกของโรคมะเร็ง ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีไทยต่ำ อาจเป็นเพราะผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยและแพทย์ผู้ดูแลให้การรักษามะเร็งปากมดลูกไม่นึกถึงหรือไม่ให้ความสนใจ การรักษาทั้งการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสชนิด HAART และ/หรือการรักษาโรคมะเร็ง รวมไปถึงพิจารณาการคัดกรองโรคมะเร็งบางชนิดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง อาจจะป้องกันการเกิดมะเร็ง ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

http://www.hpvactnow.com/th_TH/home/understanding_cervical_cancer/causes_symptoms_cervical_cancer.html