ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อยากส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ทำอย่างไร 1169 มีคำตอบ

เริ่มโดย happyties, 16:18 น. 10 ก.พ 59

happyties

เชื่อว่าความฝันของเหล่านักธุรกิจ คือ การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไร ว่าสินค้าของเรานั้นถ้าทำการส่งออกจะได้รับการตอบสนองที่ดี หรือเหมาะกับประเทศที่เรานำสินค้าไปเปิดตลาดหรือไม่ ซึ่งผู้ทำธุรกิจส่วนใหญ่มักมั่นใจว่าสินค้าของตัวเองนั้น จะเป็นที่ต้องการในต่างประเทศ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ ? และเราจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรื่องการส่งออกสินค้าที่ไหนดี ? ซึ่งการส่งออกสินค้านั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับการทำธุรกิจภายในประเทศ ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงกฏหมายและระบบภาษี ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก วันนี้เราจึงนำเคล็ดลับเกี่ยวกับธุรกิจการส่งออกมาฝากกันค่ะ


1.การดูโอกาสตลาดของประเทศที่เราต้องการ
ผู้ประกอบการต้องทำการระดมสมองทีมงานที่จะไปบุกต่างประเทศวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดของประเทศเป้าหมาย ว่าสินค้าของผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขนาดไหน โดยต้องพิจารณาข้อมูลในทุกมิติไม่ว่าจะเป็นราคา จุดแข็งของสินค้า การทำตลาด รวมถึงด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ  อาทิ ข้อจำกัดด้านสุขอนามัย มาตรการจำกัดการนำเข้าของสินค้าบางชนิด มูลค่าภาษี  และข้อห้ามของศาสนา เป็นต้น

2.ปรับสินค้าให้เหมาะกับแต่ละประเทศ
หลังจากได้บทสรุปจากการตรวจสอบโอกาสทางการตลาดแล้ว ผู้ประกอบการต้องนำข้อมูลทางยุทธศาสตร์มาตรวจสอบเพื่อเปรียบเทียบดูกับผลิตภัณฑ์สินค้าของทางบริษัทว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในส่วนใดหรือไม่ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดใดจะสามารถขายได้ในทุกประเทศโดยที่ไม่ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงเป็นความสำคัญลำดับแรก ก่อนที่จะส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลก นอกจากนี้ต้องคำนึงค่าครองชีพนั้นมีผลต่อการตั้งราคาสินค้าเช่นกัน
3.เลือกการส่งออก และจำหน่าย
รูปแบบในที่นี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ ผู้ประกอบการจะเลือกนำสินค้าส่งออกไปขายในรูปแบบใด จะขึ้นห้างสรรพสินค้า ขายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ มีหน้าร้านเป็นของตนเอง ขายทางออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งวิธีการทั้งหมดที่ได้เอ่ยไปล้วนมีราคาที่จะต้องจ่ายโดยนับเป็นต้นทุนด้วยเช่นเดียวกัน จึงควรต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับแผนงานมากที่สุด
อย่างที่สองคือช่องทางการขนส่งสินค้าจากประเทศไทย หลักๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ช่องทางคือ รถยนต์ เรือ และเครื่องบิน ซึ่งแต่ละช่องทางจะมีราคาและระยะเวลาขนส่งที่แตกต่างกัน จึงเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องนำมาคำนวนต้นทุนด้วย ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจเลือกใช้วิธีการร่วมทุนกับบริษัทที่มีสัญชาติของประเทศดังกล่าวเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระเรื่องต้นทุน แถมยังได้ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นร่วมงานด้วย เพื่อช่วยวิเคราะห์ตลาดและข้อกฎระเบียบ ซึ่งส่งผลให้การทำธุรกิจราบรื่นยิ่งขึ้น
4.การตรวจสอบภาษี
ทุกประเทศในโลกล้วนมีกำแพงภาษีเพื่อป้องกันสินค้าจากต่างประเทศไม่ให้กระทบต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น   ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีการเรียกเก็บภาษีที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรว่าจ้างทนายความและนักบัญชีที่เป็นคนท้องถิ่นขึ้นมาเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจเพื่อจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะบางประเทศมีกฎหมายด้านภาษีที่เคร่งครัด  ซึ่งอาจทำให้อนาคตการทำธุรกิจของผู้ประกอบการดับวูบก็เป็นได้ เนื่องมาจากความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจจากการไม่เชี่ยวชาญในระบบภาษีของประเทศนั้นๆ
ที่กล่าวมาปํนเพียงเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ในการทำธุรกิจส่งออกสินค้าต่างประเทศ สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาเชี่ยวชาญ สามารถปรึกษาที่ได้ที่ http://ditptouch.com  หรือโทร 1169