ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หลีกเลี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยการป้องกันที่ถูกวิธี

เริ่มโดย twisty, 11:11 น. 05 ก.ค 59

twisty

หลีกเลี่ยงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยการป้องกันที่ถูกวิธี
                 หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปัจจุบันเป็นโรคที่พบเห็นได้เยอะในหมู่คนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงาน เพราะการเปลี่ยนแปลงของหมอนรองกระดูกสันหลังอาจเป็นผลมาจากวัยที่สูงขึ้นหรือการบาดเจ็บที่มีต่อหมอนรองกระดูกเอง หรือปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย จากสาเหตุดังกล่าวทำให้สถิติของโรคปวดหลังเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นในทุกอาชีพและเกือบทุกช่วงอายุ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคกระดูกทับเส้น พร้อมกับแนวทางการดูแลรักษา ตามไปดูกันเลยค่ะ
                หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น ผู้ป่วยนิยมพูดกันบ่อยๆ คือ ภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้นและการเสื่อมสภาพจะเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การยกของหนัก ตลอดจนอุบัติเหตุกระแทกบริเวณกระดูกสันหลังบ่อยๆ ทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น พบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังด้านหลัง (ข้อต่อฟาเซ็ท) ทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้าง กระดูกงอก หรือหินปูนขึ้นมา เพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขาชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นก็จะทำ ให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายผู้ป่วยก็พบว่าทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน
การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
         สำหรับวิธีป้องกันกระดูกทับเส้นประสาท สิ่งสำคัญอันดับแรกเลยคือ การออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาคือเรื่องของการลดการใช้งานของกล้ามเนื้อหลังลง หรือใช้ให้น้อยที่สุด โดยการปรับท่านั่งให้หลังตรง หรือเดินตัวตรง สิ่งต่อมาคือ การลดน้ำหนัก ในรายของผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป เพราะจะทำให้หลังต้องแบกรับน้ำหนักที่มากจนเกินไป ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ขึ้นมาได้นั่นเองค่ะ
ใครอยากอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.vejthani.com/TH/Article/12/ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หรือต้องการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลกระดูกและข้อ สามารถติดตามได้ที่นี่ http://www.vejthani.com/bangkok-hospital-in-thailand/clinic_details.php?clinic_id=64