ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ขั้นตอนในการดำเนินการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เริ่มโดย ฅนสองเล, 15:21 น. 28 ก.ย 59

ฅนสองเล

ที่มา http://www.thailocalmeet.com

[attach=1]

นายสรณะ เทพเนาว์ ปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม และในฐานะนายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย และยังเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุค ถึงประเด็น "ขั้นตอนในการดำเนินการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ไว้ดังนี้

ขั้นตอนในการดำเนินการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     1.จัดตั้งองค์การบริการส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบลทั้งประเทศเมื่อประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลใช้บังคับตามมาตรา 5 แห่งร่าง พ.ร.บ. ให้ใช้กฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...

     2.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แจ้งจังหวัดต่างๆ กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องควบรวม ให้ดำเนินการสำรวจเจตนารมณ์ของประชาชนที่ถูกควบรวมว่าประสงค์จะไปรวมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีพื้นที่ติดต่อกันภายในอำเภอเดียวกัน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย แล้วให้รายงานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อดำเนินการต่อไป (ใช้ระยะเวลาประมาณ 180 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการควบรวม เช่น จำนวน อปท. ที่ยุบรวมหรือควบรวมมีจำนวนมาก หรือการพิจารณาความเหมาะสมของคณะกรรมการระดับจังหวัด หรืออำเภอในการควบรวมในแต่ละพื้นที่ตามสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้น)

     3.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตรวจสอบเอกสาร ข้อ 2 และเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย เพื่อดำเนินการออกประกาศดังกล่าว เรื่อง การควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวมหาดไทยลงนามในประกาศดังกล่าว (ใช้ระยะเวลาประมาณ 180 วัน)

     4.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ส่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การควบรวม ไปส่งยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ใช้ระยะเวลาประมาณ 180 วัน)

**รวมระยะเวลาขั้นตอนในการดำเนินการยุบรวมตามข้อ 1-4 ประมาณ 630 วัน หรือ 21 เดือน**

หมายเหตุ
     1. ควรดำเนินการควบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ อปท. ที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนต่ำกว่า 20 ล้านบาท หรือ มีประชากรต่ำกว่า 7,000 คน ที่มีพื้นที่ อปท.ติดต่อกันในอำเภอเดียวกัน สภาพภูมิประเทศโดยเฉพาะระยะทางในการให้บริการที่สะดวก อปท. ที่มีความเจริญน้อยกว่าควรไปควบรวมกับ อปท. ที่มีความเจริญมากกว่า ส่วนการพิจารณาในการตั้งคณะกรรมการในการพิจารณาระดับจังหวัด หรืออำเภอ ควรจะเสนอในหนังสือแจ้งจังหวัด
     2. ข้อยกเว้น อปท. ที่ไม่ต้องควบรวมตามข้อ 1 ได้แก่ สภาพพื้นที่เป็นเกาะ หรือโดยสภาพภูมิศาสตร์ ไม่สามารถติดต่อกับ อปท. อื่นที่จะไปรวมด้วยได้โดยสะดวก
     3. ระยะเวลาในยุบรวมหรือควบรวม หากจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำนวนมากต้องใช้ระยะเวลามากด้วย
     4. ควรมีมาตรการเยียวยา อปท. ที่ได้รับผลกระทบกับการควบรวม ดังนี้
          ~ การบริหารงานบุคคล
          ~ ผู้บริหาร/สมาชิกสภาท้องถิ่น
          ~ ให้รัฐบาลพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนเพิ่มพิเศษ ให้แก่ อปท. เพื่อเป็นแรงจูงใจในการควบรวมตามหลักเกณฑ์และวิธีในการประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามการพิจารณาที่คณะกรรมการกระจายอำนาจฯ กำหนดเพื่อส่งเสริมการควบรวม อปท.