ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Dhammakaya

เริ่มโดย Red Leang Link, 15:03 น. 06 มี.ค 60

Red Leang Link

Up to date.

Porn Yon Leang


พร อรัญดร


Go Leang Yon

#การลงโทษแก่ภิกษุที่ทำผิดตามวิธีของสงฆ์เป็นอย่างไร?

การลงโทษแก่ภิกษุโดยใช้วิธีของสงฆ์ เรียกว่า นิคคหกรรม (การทำการลงโทษ)

#นิคคหกรรม มี ๗ อย่างคือ
๑. #ตัชชนียกรรม คือกรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงขู่ เป็น
นิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระปัณฑุกะและโลหิตกะ

๒. #นิยสกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้ไร้ยศ ได้แก่ การถอดยศโดยให้กลับไปถือนิสสัยใหม่ เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ผู้มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ ชอบอยู่คลุกคลีกับพวกคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีที่ไม่สมควร
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระเสยยสกะ

๓. #ปัพพาชนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงถูกไล่ ได้แก่การขับออกจากหมู่ การไล่ออกจากวัด เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูลคือประจบคฤหัสถ์ และประพฤติเลวทรามจนเป็นข่าวเซ็งแซ่ ปรากฏ เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ

๔. #ปฏิสารนียกรรม คือ กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้จะพึงถูกสั่งให้กลับไปขอขมาคฤหัสถ์ หมายถึงถ้ามีภิกษุบางรูปด่าว่าคฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา เป็นทายก เป็นผู้ทำงานอุปถัมภ์สงฆ์ด้วยปัจจัย ๔ สงฆ์พึงลงโทษภิกษุนั้นโดยให้สำนึกผิดแล้ว ให้กลับไปขอขมาคฤหัสถ์ที่ภิกษุนั้นด่าว่านั้น
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระสุธรรม

#อุกเขปนียกรรม คือกรรมอันสงฆ์พึงลงแก่ภิกษุผู้จะพึงยกเสีย เป็นนิคคหกรรมซึ่งสงฆ์ลงแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติเป็นต้น แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง คือ
๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระฉันนะ
๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระฉันนะ
๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิอันเลวทราม
ผู้เป็นต้นบัญญัติคือ พระอริฏฐะ
***ผู้ที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม จะจัดเป็น #ภิกษุนานาสังวาสก์ ไม่มีสิทธิ์ร่วมสังฆกรรมกับภิกษุปรกติ

***ก็กรรม ๗ อย่างหล่านี้ #จะลงได้ก็ต่อเมื่อมีภิกษุผู้กระทำผิดร่วมอยู่ในสังฆกรรมด้วย (คือต้องระงับด้วยสัมมุขาวินัย) ดังนั้น ภิกษุผู้ลงกรรมลับหลัง จึงต้องอาบัติทุกกฏ

(ดูรายละเอียดได้ใน วิ.จูฬ. ๖/๑-๗๔/๑-๑๑๖, วิ.อฏฺ. ๓/๒๕๑-๕)

***การลงโทษภิกษุที่ทำผิดอีกวิธีหนึ่งที่ไม่ได้ทำโดยสงฆ์ แต่ทำโดยอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปนั้นๆ เรียกว่า #ทัณฑกรรม ได้แก่ การใช้ให้ตักน้ำ ผ่าฟืน เป็นต้น

จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม ธมฺเม โหนฺตุ สคารวา.
ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน
ขอชนทั้งหลายจงเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม... ส.สู้ๆ

Leang Taksin

พระที่มีฤทธิ์ ก็ตกนรกได้...

เช่น พระเทวทัต เป็นต้น มีอภิญญา(มีฤทธิ์มาก) แต่ต่อมามีจิตอกุศล ไม่พ้นถูกธรณีสูบตกนรกอเวจี หากมีใครมาบอกเราว่าพระรูปนั้นรูปนี้ท่านมีฤทธิ์ ขอให้ฉุกคิดสักนิดพระต้องมีธรรม ไม่ใช่มีฤทธิ์ ระวังความขลังของอาจารย์จะเป็นความคลั่งของลูกศิษย์...

อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน

อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

๑.อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
๒.ทิพพโสต มีหูทิพย์
๓.เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
๔.ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
๕.ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
๖.อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา ๕ ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ ๖ มีเฉพาะในพระอริยบุคคล

ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล... ส.หลก

แม่ค้าแดง

.

โอเลี้ยง นปช.

.

Link Singapore

"ดวงจันทร์! ดวงอาทิตย์!! ธัมมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้ว!!!
๓ สิ่งนี้ เปิดเผยจึงรุ่งเรือง ปิดบังไม่รุ่งเรือง"

-----------------"ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว"บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว การรักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี การรักษาธุดงค์วัตร ๑๓ นั้นก็ดี ก็เป็นการลงประมวลในศีลทุกอย่าง ไม่ใช่จะรักษามากมายหลายสิ่งหลายอย่าง จนสิ้นจนหมดหามิได้ รักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี รักษาธุดงค์วัตร ๑๓ ก็ดีก็ไม่มีเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เพื่อความระงับดับกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อรู้ว่ากิเลสเป็นเค้าเงื่อนของกองทุกข์ กองโทษ กองบาป กองกรรมเช่นนี้แล้ว"ข้อวัตรอันใดที่เป็นไปเพื่อยกตนให้ออกจากกิเลสได้ ก็จงกระทำข้อวัตรนั้นให้บริบูรณ์เถิด...เมื่อเรารู้ว่ารักษาเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ได้รักษาเพื่ออย่างอื่นแล้ว แม้แต่รักษาแต่เล็กแต่น้อยโดยเอกเทศ ไม่ครบตามจำนวนพระปาติโมกข์ และธุดงค์วัตร ๑๓ ก็เป็นอันรักษาครบทุกอย่าง เพราะจับต้นจับรากเหง้าของกิเลสได้แล้ว( วางซึ่งสุขในโลกธรรม๘ ) ถ้าตัดรากเหง้าขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัด ก็ตายเอง บุคคลที่บวชในพระศาสนานี้ ก็เปรียบเหมือนคนตัดไม้ ฉะนั้นการบวชไม่ได้เพื่อการอื่น บวชเพื่อระงับดับกิเลสเท่านั้น ถ้าไม่หวังเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ต้องบวชดีกว่า การที่บวชไม่ได้มุ่งระงับดับกิเลส จะมีความรู้วิเศษปานใด ก็ได้ชื่อว่า รู้เปล่าๆ แต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ความฉลาด เราไม่ได้ติว่า เป็นไม่รู้ไม่ดี ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ก็คงเป็นอันรู้กันดี เป็นบุญเป็นกุศลอยู่นั่นเอง แต่ว่าเป็นความรู้ที่ผิดจากทางพระนิพพาน

"ดูก่อน อานนท์ ! พุทธบริษัททั้ง สี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์ เอ๋ย ! ผู้ใด ปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ( ตัดรากเหง้าขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัด ก็ตายเอง )เหตุเพราะสุขทุกข์มี การยึดมั่นถือมั่นจึงมี เพราะสุขทุกข์ดับ การยึดมั่นถือมั่นจึงดับด้วย"สุขกับทุกข์ ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้ว เป็นของติดกันอยู่ ครั้นวางสุข ทุกข์ไม่ต้องวาง มันก็หายไปเอง เข้าสู่พระนิพพานด้วยอาการแบบนี้ ให้ปลงเสียซึ่งการร้ายและการดี ที่บุคคลนำมากล่าว เช่น มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ สุขทุกข์ อย่ายินดียินร้าย ถึงแม้ในปัจจัย๔ ก็ให้มักน้อยในปัจจัย คือให้ละความโลเลในปัจจัย คือ เมื่อได้อย่างดี อย่างปราณีต ก็ให้บริโภค อย่างดีอย่างปราณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วย อย่าได้อาลัยถึงซึ่งความสุข ให้ปลงใจ วางใจในโลกธรรม ๘ เสียให้หมดสิ้น คือ วางสุข วางทุกข์ วางบาปบุญคุณโทษ วางโลภ โกรธ หลง วางลาภยศ นินทา สรรเสริญ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่า จิตของบุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าหวังจะได้โลกุตระนิพพานเลย ถ้าทำตัวให้เหมือนแผ่นดินได้ในการใด พึงหวังเถิด ซึ่งโลกุตระนิพพาน คงได้ คงถึง โดยไม่ต้องสงสัย...ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราตถาคต ด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม...

การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ร้ายแรงยิ่งกว่าประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยอย่างไร การบิดเบือนพระธรรมเกิดจากอะไร?เกิดจากเราอยากได้ อยากมี อยากเป็น เมื่อมีคนนำพระธรรม มาบิดเบือนให้สอดคล้อง ตอบสนองดังใจเรา เราจึงขานรับ โดยไม่กังขาใจใดๆเลย พระพุทธเจ้าค้นพบความจริง แต่กิเลสในใจเรา ไม่ต้องการความจริง เพราะมันธรรมดา เมื่อบวชแต่กาย ใจไม่ได้บวช ผ้าเหลืองห่มกาย แต่ศีลธรรมไม่ได้ห่มจิตห่มใจอะไรเลย ถือว่าความวิปริตทางศาสนาเกิดขึ้นทุกรูปแบบ ทั้งโลภ ทั้งโกรธ ทั้งหลง ทั้งกิน ทั้งกาม ทั้งเกียรติ สิ่งที่ถือเอาเป็นตัวแทนพระองค์พระพุทธเจ้าคือ พระธรรมวินัย ( ปล่อยวางสุขในโลกธรรม ๘ ) ห้ามฝ่ายฆราวาสทั้งปวง อย่าให้ถวายเงินทองนากแก้วแหวนแลสิ่งของอันมิควร แก่สมณะเป็นต้น แลทองเหลืองทองขาวทองสำฤทธแก่ภิกษุสามเณร แลห้ามอย่าให้ถวายบาตร นอกกว่าบาตรเหล็กบาตรดิน แลนิมนตใช้สอยพระภิกษุสามเณร ให้ทำการสพการเบญจาแลให้นวดแลทำยา ดูลักขณะ ดูเคราะห แลวาดเขียนแกะสลักเปนรูปสัตว แลใช้นำข่าวสารการฆราวาสต่าง ๆ แลห้ามบันดาการภิกษุสามเณร กระทำผิดจากพระปาฎิโมกขสังวรวินัย ภิกษุพึงรักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส ส่วนภิกษุต้องอาบัติด้วยความไม่ละอายอย่างไร? คือ ภิกษุรู้อยู่ทีเดียวว่าเป็นอกัปปิยะ ฝ่าฝืน ทำการล่วงละเมิด สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิกษุ แกล้งต้องอาบัติ ปกปิดอาบัติ และถึงความลำเอียงด้วยอคติ ภิกษุเช่นนี้ เราเรียกว่า "อลัชชีบุคคล"

เปรียบเหมือนผู้หนึ่ง ตกเข้าไปในกองเพลิง เมื่อรู้ว่าเป็นกองเพลิงก็รีบออกหนี จึงจะพ้นความร้อน ถ้ารู้ว่าตัวตกเข้าไปอยู่ในกองเพลิงแต่ไม่ได้พยายามหลีกหนีออก จะพ้นความร้อน ความไหม้อย่างไรได้ ข้ออุปมานี้ฉันใด บุคคลผู้รู้แล้วว่า สิ่งนี้เป็นโทษแต่ไม่ได้ละเสีย ก็ไม่ได้พ้นจากโทษ เหมือนกับผู้ที่ไม่พ้นกองเพลิง ฉะนั้น
การตัดสินพระธรรมวินัยแปดอย่าง พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอนของพระศาสดา) จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์( ปล่อยวางสุขในโลกธรรม๘ ) คือ
๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
มหาปเทส ๔

หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย
๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร
๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร
จึงเห็นได้ชัดข้อ ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร เมื่อมาพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงให้วางลาภยศถาบรรดาศักดิ์ให้หมดสิ้น เพื่อตัดความกังวล( ปลิโพธ ๒ )แต่ปัจจุบันฆราวาสถวายเงินทองนากแก้วแหวนแลสิ่งของอันมิควร แก่สมณะ สิ่งนั้นจึงไม่ควร ตามพระธรรมวินัยนี้...
มหานิกาย กับ ธรรมยุต ก็มีพระธรรมวินัยเดียวกัน เมื่อเป็นพุทธสายเถรวาท คงต้องห้ามบัญญัติเพิ่ม หรือตัดทอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด ความเจริญก็พึงอยู่ได้ ไม่มีความเสื่อมเลย เป็นการมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน

ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน_/|\_แม้ครั้งที่ ๔
การที่ข้าพเจ้าเป็นผู้เคารพในธรรมดีแล้ว เคารพในคุณของพระพุทธองค์ดีแล้ว เคารพในการประพฤติและปฏิบัติตัวของการเป็นสงฆ์ดีแล้ว ถึงพร้อมแล้วซึ่งการไม่เบียดเบียน ชื่อว่าเป็นสมณะ ไม่ได้หวังซึ่งลาภยศทั้งหลาย แต่เพื่อประโยชน์ที่จะตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง อันอาจสามารถรื้อสัตวโลกให้พ้นจากสงสารทั้งสิ้น หากว่าศีลของข้าพเจ้ามิขาดทำลายและด่างพร้อย บริสุทธิ์อยู่เป็นอันดี ข้าพเจ้าจึงขอตั้งจิตอธิษฐาน ติเตียน ตำหนิ พระภิกษุก็ดี ผู้เป็นดั่งโจรปล้นศาสนาก็ดี ผู้สมคบคิดกับอลัชชีก็ดี คบคนพาล เป็นผู้หลงผิด เห็นแก่ลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นผู้มักมาก ทำลายพระศาสนา ทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ให้มีอันเป็นไปต่างๆนานา...แต่สำหรับผู้ที่ต้องการกลับตัว ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ ให้มีสัมมาทิฏฐิ...เดินแนวทางที่ถูกต้องด้วย และโดยเร็วพลันด้วยเถิด...สาธุ ดังนี้

https://youtu.be/TGd31YKzi1E


Red it go

วิธีดู "พระแท้ พระเทียม" ดูอย่างผู้มีปัญญา
(ธรรมะยาวหน่อย ควรอ่านให้จบ)

ปัญหาต่างๆเรื่องราวต่างๆที่เราได้ยินได้ฟังกันนี้ ก็เกิดจากความอยากทั้งนั้น ที่เป็นข่าวหน้าหนึ่งทุกวันนี้ก็มาจากความอยากทั้งนั้น ความอยากเสพกามจึงเป็นปัญหาขึ้นมา อยากเสพรูป เสียง กลิ่น รส อยากนั่งรถเบนซ์นี่ก็เป็นความอยากเสพกามนะ อยากจะนั่งเครื่องบินส่วนตัวนี้ก็เป็นความอยากเสพกาม ความอยากจะใส่แว่นตาหรูๆ ใช้กระเป๋าหรูๆใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ อันนี้เป็นเรื่องของการเสพกามทั้งนั้น นักบวชต้องไม่เสพกาม นักบวชต้องมักน้อยสันโดษสมถะเรียบง่าย ดูครูบาอาจารย์ท่านซิ ใส่แว่นตาหรูๆใช้กระเป๋าหรูๆ นั่งเครื่องบินส่วนตัวหรือเปล่า พระพุทธเจ้ามีราชรถนำขบวนหรือเปล่า พระพุทธเจ้าเวลาจาริกไปไหน ไปโปรดสัตว์โลกนี้ท่านเดินไป ท่านเดินภาวนาไป นี่แหละคือแบบฉบับพุทธังสรณังคัจฉามิ ชาวพุทธเราไม่มอง มองไม่เห็นกัน พอมาเจอพวกห่มเหลืองที่กลายเป็นผู้เหาะเหินเดินอากาศได้ก็ตื่นเต้นตกใจ มีเงินมีทองเท่าไหร่ก็ประเคนไปให้หมดเลย เพราะหวังจะร่ำจะรวยจากการทำบุญ กับพระผู้วิเศษ เหาะเหินเดินอากาศได้ แล้วท่านก็เอาไปเสพกามอย่างสบาย พอเป็นข่าวโผล่ขึ้นมาก็ตกใจกัน ก็เราเป็นคนส่งเสริมท่านเอง เอาเงินไปให้ท่านเอง เพราะหลงคิดว่าท่านเป็นผู้วิเศษ

ผู้วิเศษต้องแบบพระพุทธเจ้า แบบครูบาอาจารย์ทั้งหลาย หลวงปู่มั่นที่ท่านเป็นพ่อแม่ของพระครูบาอาจารย์ในสมัยปัจจุบันนี้ ท่านอยู่อย่างไร ท่านมีรถเก๋งมีรถเบนซ์หรือเปล่า ถ้าอ่านประวัตินี้ ตอนที่ท่านอยู่เชียงใหม่ นิมนต์อาราธนาท่านลงมาจากเชียงใหม่มาโปรดญาติโยมที่อีสาน ท่านก็นั่งรถไฟมา ท่านเดินทางแบบชาวบ้าน ชาวบ้านเขาเดินทางกันอย่างไรก็เดินทางแบบชาวบ้าน เวลาที่ท่านจะไปตายที่สกลนคร เขาก็ต้องแบกท่านไปไม่มีรถ ไม่มีอะไร ไม่มีเครื่องบิน ท่านไม่ให้ความสำคัญกับร่างกาย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเสพกาม เพราะท่านรู้ว่าการเสพกามนี้มันเป็นบ่วงที่จะรัดสัตว์โลกให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แห่งการเวียนว่ายตายเกิดในกามภพนี้เอง ผู้ที่เสพกามนี้ก็จะต้องกลับมาเกิดในกามภพ

กามภพคือภพของใคร ก็ภพของเทวดาลงมา เทวดา มนุษย์ เดรัจฉาน เปรต นรกนี้เป็นผู้ที่เสพกามทั้งนั้น ผู้ที่เป็นเปรต เป็นเดรัจฉาน เป็นนรกเพราะเสพกามด้วยการทำบาป เช่นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี โกหกหลอกลวง เสพอบายมุขต่างๆ พวกนี้ก็ต้องเกิดเป็นเดรัจฉานเป็นเปรตไปตกนรก ผู้ที่เสพกามด้วยการรักษาศีลได้ ก็จะไปสวรรค์ เป็นเทพ เป็นมนุษย์ นี่เรียกว่าเป็นผู้เสพกาม
ผู้ที่ไม่เสพกามก็จะไปเป็นพรหม คือผู้ที่ถือศีล ๘ ได้ผู้ที่เข้าฌาณได้ ทำจิตใจให้สงบได้ หาความสุขจากการทำใจให้สงบ พวกนี้ก็จะไปเกิดเป็นพรหมกัน พวกนี้ไม่เสพกาม นักบวชต้องไม่เสพกาม ถ้าเป็นนักบวชแล้วเสพกามนี้มันไม่ใช่นักบวชแล้ว นักเบียด ต้องบอกว่าเบียดก่อนบวชหรือบวชก่อนเบียด นี่ทั้งบวชทั้งเบียดไปด้วยกัน บวชด้วยเบียดด้วย ธรรมเนียมคนไทยก็คือต้องบวชก่อนเบียดใช่ไหม อายุครบยี่สิบก็บวช บวชแล้วก็ค่อยไปแต่งงานแต่งการ แต่สมัยนี้บวชแล้วก็เบียดไปพร้อมๆกันเลย เพราะไม่มีใครควบคุมดูแลพระเณร เพราะญาติโยมไม่รู้วิธีการปฏิบัติของพระเณรที่ถูกต้องว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร กลับถูกพระเณรหลอกให้สนับสนุนเรื่องการเสพกามโดยไม่รู้สึกตัว ออกไปข้างนอกจีวรปลิวว่อนไปหมดนี่ เรียกว่าไปเสพกามนะ

นักบวชที่แท้จริงต้องไปเข้าป่า ต้องสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่ไปหมดที่ไหนญาติโยมไปพี่เหลืองเราก็ไปกันหมด มีถ่ายรูปมาด่ากันในหนังสือพิมพ์ก็ไม่เดือดร้อน ไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร เพราะว่าไม่มีใครรู้เรื่องของพระว่าวิถีชีวิตของพระเป็นอย่างไรกัน ก็คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วเดี๋ยวนี้ พระออกไปข้างนอกวัดนี้เป็นเรื่องธรรมดา ไปช้อปปิ้งที่โน่นที่นี่เป็นเรื่องธรรมดาไปหมดแล้ว ไม่ใช่เป็นเรื่องตื่นตระหนก เมื่อก่อนนี้เป็นเรื่องตื่นตระหนกนะ มีพระไปโผล่ตามสถานอโคจรต่างๆ แม้แต่กิจนิมนต์พระเคร่งๆพระที่ท่านเข้มข้นท่านก็ไม่รับเห็นไหม

หลวงตาท่านไม่ให้พระรับกิจนิมนต์ ก็เพราะไม่อยากให้ออกไปข้างนอก ไม่ให้ออกไปเสพกามนั่นเอง ออกไปข้างนอกมันก็เห็นรูปฟังเสียง ได้กลิ่น มันก็เห็นรูปเสียงของฆราวาสญาติโยม เดี๋ยวมันก็เกิดกามอารมณ์ขึ้นมา กลับมาวัดก็ใจก็กว่าจะทำให้สงบได้ก็อีกหลายวัน เห็นรูปนั้นแล้วมันก็ยังติดตาติดใจอยู่อย่างนั้น ท่านจึงไม่ให้รับกิจนิมนต์ เพราะว่ามันได้ไม่คุ้มเสีย ไปโปรดญาติโยมนิดเดียว แต่ตัวเองกลับมานี้แทบจะตายเอา แทบจะต้องสึกน่ะ บางทีกลับมาอารมณ์วุ่นมากๆกว่าจะทำใจให้สงบได้ นี่พระเณรที่ยังไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์นี้ ถ้าออกไปข้างนอกนี่รับรองได้ ไม่สึกก็อยู่แบบไม่เป็นพระ ไม่สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ ใจมันก็จะสงบไม่ได้ เมื่อไม่สงบมันก็จะมีความอยาก ความโลภ

ถ้าชาวพุทธเรารู้หน้าที่ของพระ เวลาพระทำอะไรไม่ถูกเราก็ไม่สนับสนุน นี่เราไม่รู้ เรากลัวบาปกันไปหมด ท่านพูดอะไรก็เชื่อไปหมดดีไปหมด เพราะพระโกหกไม่ได้ใช่ไหม บอกว่าระลึกชาติได้ก็ต้องเชื่อ บอกว่าตัดกรรมได้ก็ต้องเชื่อ บอกว่าไปเที่ยวสวรรค์ไปเที่ยวนรกมาก็ต้องเชื่อ แล้วใครไปพิสูจน์ได้ว่าพูดจริงหรือพูดไม่จริง ของบางอย่างถึงแม้จะเป็นความจริงก็ไม่กล้าพูด คนที่รู้จริงเห็นจริงเขาไม่กล้าพูดหรอก ถ้าคนเชื่อก็ดีไป แต่คนไม่เชื่อก็อาจจะมา กล่าวหาได้ว่าอุตริหรือเปล่า หรือว่าถ้าพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ เรื่องของเดรัจฉานวิชาต่างๆนี้พูดไปแล้วมันไม่เกิดประโยชน์กับคนฟัง ทำให้คนฟังเกิดความลุ่มหลงขึ้นมาก็ไม่ควรพูด ควรจะพูดในเรื่องที่ทำให้เขาหูตาสว่าง พูดเรื่องไตรลักษณ์ พูดเรื่องอริยสัจ ๔ ถ้าจะเห็นก็ให้เห็นไตรลักษณ์ เห็นอริยสัจ ๔ แล้วจะพูดก็พูดได้เต็มปาก ไม่เป็นปัญหาไม่เป็นโทษกับใคร แต่ถ้าพูดเรื่องเดรัจฉานวิชา พูดเรื่องระลึกชาติได้หรือพูดเรื่องชาติก่อนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ชาตินี้เลยต้องมาเป็นหลวงปู่ นี่มันไม่รู้พูดไปทำไม พูดเพื่อสร้างยกตนเอง เพื่อให้มีความสำคัญให้น่าเลื่อมใสศรัทธา คนที่จะเลื่อมใสศรัทธาคนแบบนี้ก็คือคนตาบอดเท่านั้นละ คนที่ไม่รู้ธรรม คนที่รู้ธรรมเขาไม่เลื่อมใสศรัทธากับเรื่องแบบนี้หรอก

ชาวพุทธเราต้องฉลาด ต้องศึกษาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้รู้ว่าพระแท้จริงเป็นอย่างไร พระปลอมเป็นอย่างไร พระแท้ท่านอยู่อย่างไรท่านปฏิบัติอย่างไร ไม่มีใครศึกษาสนใจกันเป็นชาวพุทธแท้ๆ แต่สู้คนที่ไม่ใช่เป็นชาวพุทธไม่ได้ พวกชาวต่างประเทศนี้เขาศึกษาถึงแก่นเลย เวลาเขาเข้าหาศาสนานี้เขาเข้าไปในพระไตรปิฎกเลย ศึกษาพระพุทธประวัติ ศึกษาพระธรรมคำสอน เขาจึงไม่หลงกัน เขามาเมืองไทยนี้เขามาบวช เขาไม่ได้มาเพื่อจะมาหาลาภสักการะต่างๆ

พวกเราเป็นเหมือนไก่ได้พลอย มีของดีกลับเขี่ยทิ้งไปชอบของไม่ดี ชอบตัวหนอนตัวไส้เดือน ชอบอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ชอบวัตถุมงคล ชอบเสกชอบเป่า ชอบฟังพระสวด พระสวดแล้วรู้สึกโอ้โหมีความสุขเหลือเกินได้บุญมาก แต่ไม่รู้ว่าสวดอะไรไม่เข้าใจความหมายเลย การสวดก็คือสวดพระธรรมคำสอนเป็นการสั่งสอน เพียงแต่ว่าไปสอนภาษาบาลีไม่สอนภาษาไทย คนฟังก็เลยไม่เข้าใจ เลยไม่ได้ปัญญา ถ้าตั้งใจฟังก็อาจจะได้สมาธิ คือเวลาฟังพระสวดแล้วตัวเองไม่ไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ใจจดจ่ออยู่กับการฟัง ก็จะได้อานิสงส์ทำให้ใจสงบได้ แต่จะไม่ได้ปัญญา จะไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เราปฏิบัติอะไรกัน สอนให้เราร่ำรวยหรือสอนให้เรายากจน ถ้าปฏิบัติถ้าศึกษาแล้วจะรู้ว่าสอนให้เรายากจน เพราะความรวยนี้เป็นทุกข์ ความรวยดับความทุกข์ไม่ได้ ความร่ำรวยจะเป็นตัวสร้างความทุกข์ให้เกิดมากขึ้น เพราะรวยแล้วก็ไม่อยากจะจน กลัวความจน ความกลัวความจนนี้คือความทุกข์ แต่พวกเราทุกคน ในที่สุดก็ต้องจนกันหมด เวลาตายก็ไม่มีสมบัติเหลืออยู่เลยแม้แต่บาทเดียว เวลาจะตายนี้จะทุกข์มากคนที่กลัวความจน ความตายมันยังไม่ค่อยกลัว กลัวที่จะต้องจากทรัพย์สมบัติ จากสิ่งต่างๆไปมากกว่า คนที่ไม่มีอะไรจะจากนี้เวลาตายเขาไม่ค่อยเดือดร้อน อย่างขอทานนี้เวลาเขาตายนี้เขาไม่มีอะไรต้องเสียใจเสียดาย เขากลับดีใจว่าจะได้หมดทุกข์เสียที อยู่มาก็ทุกข์ทรมานเหลือเกิน

ศาสนาพุทธสอนให้เราให้มีความสุขใจ ให้รวยทางจิตใจ รวยด้วยทรัพย์ภายใน รวยด้วยทาน รวยด้วยศีล รวยด้วยภาวนา รวยด้วยมรรคผล นิพพาน เพราะอันนี้แหละเป็นทรัพย์ที่จะให้ความสุขกับเราอย่างแท้จริง และจะเป็นทรัพย์ที่จะติดไปกับเราทุกภพทุกชาติ

ก็ขอให้เราศึกษาธรรมะกันให้มากๆ เราจะได้ไม่หลงทางกัน จะได้ไม่ถูกหลอก นี่มันมีเหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นมาตั้งกี่ครั้งกี่หนแล้ว พอจางหายไปสักสองสามปีก็โผล่ขึ้นมาใหม่ ลองนับมาซิ เวลาโผล่ขึ้นมาใหม่ๆ ก็ตื่นเต้นกันคิดว่ามีศาสดาองค์ใหม่มากันแล้ว แล้วเดี๋ยวก็เกิดเรื่องฉาวกันตามมา แล้วพอสงบตัวไปสักพัก ก็โผล่ขึ้นมาใหม่อีกแล้ว ก็มาแนวเดิมมาแนวอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ชาวบ้านก็ชอบเพราะชาวบ้านไม่เคยศึกษาธรรมะกัน ไม่รู้ว่าของที่วิเศษวิโสจริงๆนั้นเป็นอย่างไร คิดว่าอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์นี้เป็นของวิเศษ ไม่ได้คิดว่าการดับความทุกข์นี้เป็นของวิเศษกัน เวลาสอนให้ดับความทุกข์นี้ไม่ชอบกันไม่อยาก ให้รักษาศีลไม่เอา ให้ภาวนาให้นั่งสมาธินี้ไม่เอา ถอยหนี ให้พิจารณาความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้ยิ่งไม่เอาใหญ่เลย พอคิดคำว่าตายเท่านั้นไม่เอาแล้วไม่มงคลแล้ว เพราะขาดการศึกษาเป็นพุทธแต่ชื่อ พุทธในทะเบียนบ้าน ไม่ใช่พุทธแท้

พุทธแท้ต้องรู้จักพระพุทธเจ้า ต้องรู้จักพระธรรมคำสอน ต้องรู้จักพระอรหันตสาวก นี่ไม่รู้เลย ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าวิเศษตรงไหน วิเศษอย่างไร คำสอนของพระพุทธเจ้าวิเศษอย่างไร พระอรหันตสาวกท่านวิเศษอย่างไรพวกนี้ไม่รู้จัก จะรู้จักแต่พระที่แจกวัตถุมงคลเท่านั้น ถ้าที่ไหนมีแจกวัตถุมงคลนี้ คนไปเป็นหมื่นเป็นแสน พอไปแจกธรรมะนี้กระจายเลย พอตั้งนะโมจะเทศน์เท่านั้นลุกไปหนีกันไปแล้ว... ส.สู้ๆ


Red Political

Reference.

คุณเหลี่ยมเหลียง

Fyi.

Red Singapore

พวกกาเหว่า กาฝาก ยุยงยอน
นู่น นี่ นั่น อย่างเยอะ  ส.ยกน้ิวให้

Climax


Bodhi


Leang & Hong

ปุจฉา-วิสัชนา กับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ

✦ ปุจฉา - กราบนมัสการพระอาจารย์ ได้รับข้อความเรื่องมุสลิมวางแผนทำลายพุทธศาสนาเยอะมาก และเห็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงโกรธ/เกลียดชังมากขึ้นๆ ตนเองเคยบอกเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ศาสนาพุทธจะเสื่อม เพราะพุทธบริษัททั้ง 4 ดังนั้นพวกเราควรศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าให้ลึกซึ้งดีกว่าที่จะไปเพ่งโทษคนอื่น แต่ก็ถูกตอกกลับว่า ทำตัวเป็นม้าอารี อีกหน่อยจะไม่มีที่ยืน เป็นชาวพุทธที่ไม่ใช้ปัญญา ไม่ช่วยปกป้องพระศาสนา จึงคิดว่า ถ้ามีใครที่คิดจะทำลายพุทธศาสนาจริง การส่งต่อข้อความจริงบ้างเท็จบ้างที่เป็นทำให้คนเกิดโทสะ ก็คงไม่น่าใช่วิธีการที่ถูกต้อง จึงอยากกราบเรียนถามพระอาจารย์ ว่าชาวพุทธควรทำอย่างไร จึงเรียกว่าเป็นการปกป้องพุทธศาสนาที่ถูกต้อง

✦ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - พระพุทธเจ้าเคยตรัสเป็นอุปมาว่า "เรือล่มเพราะต้นหน (ไม่ใช่เพราะลมพายุ)" หมายความว่าปัจจัยสำคัญภายในนั้นสำคัญกว่าปัจจัยภายนอก  หากว่าเรือนั้นหมายถึงพุทธศาสนา  พุทธศาสนาจะเสื่อมหรือไม่ก็อยู่ที่พุทธบริษัทเป็นสำคัญ มิใช่เพราะคนภายนอก  ดังพระองค์ได้ตรัสว่า ความเสื่อมของพุทธศาสนา หรือ "ความอันตรธานแห่งสัทธรรม"นั้น เกิดจากเหตุ ๕ ประการ ได้แก่ "ภิกษุทั้งหลายไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ไม่ทรงธรรมไว้โดยเคารพ  ไม่ไตร่ตรองแห่งธรรมที่ทรงไว้โดยเคารพ  ครั้นรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม"

หากว่าพุทธพจน์ดังกล่าว พุทธบริษัททั้งหลายนำไปปฏิบัติ ไม่เฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ก็มั่นใจได้ว่าพุทธศาสนาจะมีความมั่นคง พระสัทธรรมจะไม่อันตรธานหรือเสื่อมลง  อย่างไรก็ตามเห็นได้ชัดว่าทุกวันนี้ พุทธบริษัทจำนวนมากไม่ได้ศึกษาธรรมอย่างถูกต้อง รวมทั้งไม่ได้ปฏิบัติให้เห็นผล  ส่วนหนึ่งจึงละทิ้งพุทธศาสนา หันไปนับถือศาสนาอื่น   ขณะที่จำนวนไม่น้อยเห็นพระสงฆ์ทำตนไม่น่าเลื่อมใส จึงเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนาไปเลย   ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการที่พระสงฆ์ประพฤติตนเช่นนั้นก็เพราะไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๕ ประการ  ยังไม่ต้องพูดถึงชาวพุทธจำนวนมากที่หันไปนับถือไสยและวัตถุนิยมด้วยความเข้าใจว่าเป็นพุทธศาสนา  จึงเปิดช่องให้ไสยศาสตร์และลัทธิบริโภคนิยมซึ่งเป็นกามสุขัลลิกานุโยคสมัยใหม่แทรกซึมเข้ามาจนครอบงำพุทธศาสนาในปัจจุบัน

ศาสนาอื่นนั้นเป็นปัจจัยภายนอก หากว่าเขามีความพยายามที่จะดึงชาวพุทธให้เข้ารีตหรือนับถือศาสนาของตน แต่ถ้าหากชาวพุทธเข้าใจพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง และปฏิบัติจนพบความสุขสงบเย็นภายใน ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่เขาจะหันไปนับถือศาสนาอื่น   ดังนั้นคำถามที่เราควรถามตัวเองก็คือ เหตุใดชาวพุทธจำนวนมากจึงไม่ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ในที่สุดก็จะพบว่าการศึกษาและเผยแผ่พุทธศาสนาทุกวันนี้มีปัญหามาก  ขณะเดียวกันผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือพระสงฆ์ก็มีปัญหามากมายเช่นกัน   ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากศาสนาอื่น แต่เกิดจากความย่อหย่อนไม่ใส่ใจของชาวพุทธด้วยกัน รวมทั้งองค์กรทางพุทธศาสนา ตั้งแต่มหาเถรสมาคมลงมา

น่าเสียใจที่น้อยคนกล้ายอมรับปัญหาและข้อบกพร่องดังกล่าวอย่างซื่อตรง  จึงพยายามกล่าวโทษผู้อื่นหรือปัจจัยภายนอก  ซึ่งมิใช่ท่าทีของชาวพุทธ  ท่าทีที่ถูกต้องคือหันมาตรวจสอบตนเอง กล้าวิพากษ์ตนเอง และยอมรับคำท้วงติงของผู้อื่น เพื่อหันมาแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง ซึ่งหมายถึงการปฏิรูปสถาบันสงฆ์ และปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างพุทธบริษัท(โดยเฉพาะพระสงฆ์กับฆราวาส) ให้มีความแน่นแฟ้นและเกื้อกูลกันในทางธรรมยิ่งขึ้น มิใช่มุ่งสนองประโยชน์ทางวัตถุเท่านั้น

เป็นเพราะละเลยที่จะแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง พุทธศาสนาจึงซวดเซลงเป็นลำดับ  สร้างความหวั่นวิตกให้แก่ชาวพุทธจำนวนไม่น้อย  จึงเกิดความหวาดระแวงศาสนาอื่นหนักขึ้นกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระแสการโจมตีศาสนาอื่นว่าเป็นตัวบั่นทอนพุทธศาสนา

สิ่งสำคัญตอนนี้จึงมิได้อยู่ที่การ "ปกป้อง"พุทธศาสนา แต่อยู่ที่การ "ปฏิบัติ" พุทธศาสนา และ "ปฏิรูป" สถาบันพุทธศาสนาเป็นสำคัญ  หรือถ้าจะปกป้อง ก็ควรปกป้องรักษาใจไม่ให้กิเลสตัณหาและความโกรธเกลียดครอบงำ เพราะสิ่งเหล่านี้มีแต่ทำให้มองความจริงอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน และนำไปสู่การสร้างปัญหายิ่งกว่าจะแก้ปัญหา... ส.สู้ๆ

เหลียง ธรรมกาย

::: ทำบุญ vs บ้าบุญ :::
.
วิธีการทำบุญในพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ในพระไตรปิฎกระบุไว้ 10 อย่าง ได้แก่
.
-ทานมัย คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
-ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
-ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
-อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
-เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
-ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
-ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
-ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
-ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
-ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง
.
จึงรวมเป็น บุญกิริยาวัตถุ 10
.
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นสังคมบ้าบุญ ที่เน้นความเป็นวัตถุนิยม
.
เวลาเดินทางไปท่องเที่ยวตามวัดวาอาราม ก็จะมุ่งเน้นเรื่องการไปทำบุญในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ยิ่งถ้าวัดไหนดัง เกจิไหนดี รับรองว่า เสาร์อาทิตย์ แทบไม่มีที่จอดรถ!!!
.
ในเเต่ละครั้ง ของการทำบุญ ส่วนมาก็จะมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังให้ตนเองร่ำรวยยิ่งขึ้น หมดเคราะห์หมดโศก ได้โชคได้ลาภ ทำร้อยได้ล้าน ประมาณนี้
.
จนอาจจะเรียกได้ว่า ไม่ใช่เป็นการทำบุญ แต่เป็น "บ้าบุญ" เป็นการกระทำโดยขาดการพิจารณาถึงความเหมาะสม จนหลายคนตกเป็นเหยื่อของการทำบุญที่อาจส่งผลเสียให้กับตนเองเเละครอบครัว
... ส.หลก

Wattana Singapore

Up to date...

Mr.Thaksin


Leang Singapore

แท้จริงนั้น ไม่มี"อัตตา" ที่จะยกมาถกเถียงกัน ว่า "นิพพาน" เป็น "อัตตา" หรือไม่?

     สิ่งที่มี หรือสภาวะที่มีอยู่จริง ท่านเรียกว่า "ธรรม" หรือเรียกให้จำเพาะลงไปอีกว่า "สภาวธรรม" ซึ่งแยกออกเป็น ๒ อย่าง คือ
     ๑. ธรรม หรือ สภาวธรรม ที่มีอยู่อย่างมีเงื่อนไข ขึ้นต่อเหตุปัจจัย เรียกว่า "สังขตธรรม" หรือ "สังขาร" เช่น รูป เวทนา เป็นต้น (ขันธ์ ๕)
    ๒. ธรรม หรือ สภาวธรรม ที่มีอยู่ โดยไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัย เรียกว่า "อสังขตธรรม" หรือ "วิสังขาร" ได้แก่ นิพพาน
     สำหรับมนุษย์ปุถุชน จะมีความยึดถือขึ้นมาต่อธรรมหรือสภาวธรรมนั้น ว่าเป็น"อัตตา/ตัวตน" (แยกกับตัวอื่น คนอื่น เป็นต้น) และ "อัตตนิยะ/สิ่งที่เนื่องด้วยตน" (เช่น ทรัพย์สินของตน)
     "อัตตา/ตัวตน" จึงเป็นเพียงภาพที่มนุษย์สร้างขึ้นในจิตใจ ซ้อนบังสภาวธรรมอีกชั้นหนึ่ง แล้วมนุษย์ก็ยึดติดในภาพคืออัตตา/ตัวตน แต่อัตตา/ตัวตนนั้นมีอยู่เพียงในความยึดถือหรือทิฏฐิของคนเท่านั้น ไม่มีอยู่จริง
     ความยึดถือในภาพอัตตา/ตัวตนนั้น เรียกว่า "อัตตทิฏฐิ" เมื่อมนุษย์มีอัตตทิฏฐิ ยึดติดอยู่กับภาพอัตตา/ตัวตนแล้ว ภาพอัตตา/ตัวตนนั้นก็จะกั้นบังเขา ไม่ให้เห็นสภาวธรรม หรือเห็นบิดเบือนผิดเพี้ยนไป ทำให้คับแคบ อึดอัด ผูกมัด ไม่โปร่งโล่งเป็นอิสระ เป็นที่มาของทุกข์ ทั้งทุกข์ในใจคน และทุกข์เนื่องจากการเบียดเบียนกันในสังคม
     เมื่อมีอัตตทิฏฐิ ยึดติดอยู่กับภาพอัตตา/ตัวตน ก็เป็นธรรมดาที่จะมองไม่เห็นสภาวธรรม เรียกว่า "ไม่เห็นธรรม" ไม่ว่าจะเป็น สังขตธรรม/สังขาร/ขันธ์ ๕ หรือ อสังขตธรรม/วิสังขาร/นิพพาน ตามเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น
     แต่มนุษย์ปุถุชนรู้จักเพียงแค่ สังขตธรรม/สังขาร/ขันธ์ ๕ ยังไม่รู้จักนิพพาน สิ่งที่เขาจะยึดถือเป็นอัตตา/ตัวตนไว้ ก็คือ สังขตธรรม/สังขาร/ขันธ์ ๕ เท่านั้น
     เมื่อเขามองเห็นสังขาร/ขันธ์ ๕ นั้นตามเป็นจริง อัตตทิฏฐิ/ความยึดถือตัวตนก็หมดไป พูดอีกสำนวนหนึ่งว่า อัตตทิฏฐิ/ความยึดถืออัตตาถูกละหมดไป จึงมองเห็นธรรมตามที่มันเป็น
     เมื่อมองเห็นธรรมตามเป็นจริง นอกจากมองเห็นสภาวธรรมที่เป็นสังขตะ/สังขาร/ขันธ์ ๕ ถูกต้องแล้ว ก็มองเห็นสภาวธรรมที่เรียกว่านิพพาน ที่เป็นอสังขตะ/วิสังขารด้วย
     ละอัตตทิฏฐิ/ความยึดถืออัตตาได้ จึงมองเห็นนิพพาน หรือว่าจะมองเห็นนิพพานก็เมื่อละความยึดถืออัตตา/ตัวตนแล้ว
     หรือว่า เมื่อลุนิพพาน ก็ไม่เหลืออัตตทิฏฐิ พูดเป็นสำนวนว่า ผู้บรรลุนิพพาน ไม่เห็นอัตตา ก็จึงเห็นแต่ธรรม หรือ เพราะมองเห็นธรรม ก็ไม่เห็นว่ามีอัตตา
     เมื่อภาพอัตตา(ที่เคยสร้างขึ้นมายึดไว้เอง) ซึ่งบังธรรมไว้ หายไป จึงมองเห็นธรรม ก็ไม่มีเรื่องอัตตา/ตัวตน ที่จะต้องมาพูดถึงกันอีก
     เพราะฉะนั้น ว่ากันโดยแท้โดยจริง จึงไม่มีเรื่องอัตตาที่จะมาพูดถึงกันอีก ในขั้นที่ว่า "นิพพานเป็นอัตตาหรือไม่?"

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
จากหนังสือ "กรณีธรรมกาย"

ลีกวนยู

การกินให้อิ่ม กับ การโลภในลาภปาก
ถือว่าเป็นคนละอย่างคนละเรื่องคนละประเด็น
ถ้ากินเพื่ออิ่มท้องแล้ว อาจจะกินอะไรง่ายๆ
ที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์ ไม่ติดใจในรสอาหาร
กินเพื่อให้กายสังขารอยู่ได้
แต่ถ้ากินเพื่อลาภปากแล้ว
ก็จะนำมาซึ่งการเข่นฆ่ามากมาย
และที่จะติดตามมาคือโรคภัยไข้เจ็บ

พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ว่า
ผู้ที่ทานเนื้อสัตว์คือ
ผู้ที่ดัดเมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตาให้สิ้นไป
นอกจากนี้ความอาฆาตเคียดแค้นของสัตว์ที่ถูกฆ่า
ยังเป็นบ่อเกิดของโรคกรรม
ซึ่งเป็นมูลเหตุของกฎแห่งกรรมอีกด้วย
การไม่ทานเนื้อสัตว์นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรง
มีพลานามัยดีแล้วยังช่วยให้จิตสงบ
มีสติและอารมณ์ดีมีเมตตา
และสามารถสลายแรงกรรมที่อาจก่อให้เกิดกรรม
การลดละบ้างก็จะทำให้ไม่เบียดเบียนต่อสัตว์ทั้งหลาย
ไม่ว่าสัตว์หรือมนุษย์ย่อมหวงแหนชีวิตด้วยกันทั้งสิ้น
การแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะเป็นผลได้อย่างไร
ถ้าเรายังกินเนื้อเขาอยู่ ถ้าวิญญาณมีจริง
ร่างกายเราก็เป็นป่าช้าฝังซากศพสัตว์ทั้งหลาย
เขาคงมาทวงความเป็นธรรมคืนจากเราเป็นแน่แท้... ส.สู้ๆ

Leang & Link Singapore

#เป็
ใครจะร่วมกันปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนากับเรา ก็ช่วยกันรณรงค์เรื่องนี้ครับ... ส.สู้ๆ
พุทธให้ถือเป็นบาป!!
อุบาสกและอุบาสิกาควรทราบว่าการให้เงินทองแก่ภิกษุ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ไม่ใช่การทำบุญแต่เป็นการทำบาป เพราะทำลายพระพุทธศาสนาและเป็นเหตุให้ภิกษุไปสู่อบายภูมิหลังมรณภาพอีกด้วย!!

การเปลี่ยนชีวิตครั้งใหญ่ของอุบาสกจาก คฤหัสถ์ (ผู้ครองเรือน) เป็น บรรพชิต (นักบวชในพระพุทธศาสนา) เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ เพราะการครองชีวิตของเพศบรรพชิตมีความแตกต่างไปจากเพศคฤหัสถ์โดยสิ้นเชิง

ฉะนั้นผู้ที่จะบวชเป็น "ภิกษุ" ต้องทำความเข้าใจกับตนเองให้ดีเสียก่อนว่า ตนเองมีอัธยาศัยที่จะครองชีวิตแบบ ภิกษุได้หรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เคยสะสมความรู้จากการศึกษาพระธรรมและอบรมขัดเกลากิเลสตนมาแต่ในอดีตชาติ ผู้ที่มีเป้าหมายจะบวชเป็น "ภิกษุ" เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพราะสนใจในการศึกษาพระธรรม เพื่อนำไปพัฒนาชีวิตการทำงานและในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ผู้ที่อยากบวชเพราะเชื่อตามๆ กันว่า เป็นประเพณีที่ผู้ชายต้องบวช รวมถึงผู้ที่อยากบวชเพื่อแก้ปัญหาชีวิตของตน บุคคลเหล่านี้จะต้องตระหนักให้ดีว่าตนเองพร้อมที่จะสละเรื่องราวต่างๆ บุคคลที่เกี่ยวข้อง สิ่งของต่างๆ ที่มีอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องดำเนินชีวิตอย่างสงบในเพศของ บรรพชิต

หลังจากเปลี่ยนเพศของ คฤหัสถ์ มาเป็นเพศของ บรรพชิต แล้วจะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามสิกขาบทในพระวินัย 227 ข้อ ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด!!

"ภิกษุ" มีหน้าที่ศึกษาพระธรรม (พระไตรปิฎก) ซึ่งประกอบด้วยพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) พระอภิธรรมปิฎก และฝึกฝนอบรมตนด้วยการเจริญสติ เจริญปัญญาเพื่อขัดเกลากิเลสตน หากประพฤติปฏิบัติตนเป็นอาบัติ (ล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ) มีโทษ 3 สถาน

คือ อาบัติปาราชิก เป็นโทษสถานหนัก ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นโทษสถานกลาง ต้องอยู่ปริวาสกรรมเสียก่อนจึงจะพ้นอาบัติ อาบัติถุลลัจจัย อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ เป็นโทษสถานเบา ต้องปลงอาบัติ (แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย) เสียก่อนจึงจะพ้นอาบัติ

ในกรณีที่ "ภิกษุละเมิดสิกขาบทรับเงินทอง" เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ซึ่งมีบัญญัติในข้อ 18 บัญญัติ ห้ามภิกษุรับเงินทอง ข้อ 19 บัญญัติห้ามภิกษุซื้อขายด้วยเงินทอง ภิกษุที่ละเมิดสิกขาบทจะต้องสำนึกและยอมรับผิดพร้อมกับสละของที่รับมาท่ามกลางหมู่สงฆ์เสียก่อนจึงจะพ้นอาบัติ

ตามที่มีปรากฏอยู่ในสิกขาบทของพระวินัยในครั้งพุทธกาลนั้น มีภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ "อุปนันทสากยบุตร" ได้รับภัตตาหารจากครอบครัวตระกูลหนึ่ง ซึ่งนิมนต์ไว้เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งภิกษุรูปนี้ไปรับภัตตาหารดังที่เคยปฏิบัติมา ในวันนั้นอุบาสกซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวนี้ได้แจ้งว่า วันนี้ไม่มีอาหารให้แต่จะไปซื้ออาหารเพื่อนำมาถวายให้ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุรูปนี้จึงขอรับเงินเพื่อไปซื้ออาหารเอง อุบาสกผู้นี้ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยเป็นอย่างดีจึงกล่าวเพ่งโทษและติเตียนต่อหน้าภิกษุรูปนี้ทันทีว่า...

"ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ผู้เป็นสมณะเชื้อสายสากยบุตรทำอย่างนี้ได้อย่างไร" และยังนำไปกล่าวโพนทะนาในภายหลังให้ผู้อี่นรับรู้ว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตด้วยจิตที่เป็นกุศล

เมื่อความนี้ได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธองค์แล้วจึงทรงให้มีการประชุมสงฆ์เพื่อพิจารณาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขี้นกับภิกษุรูปนี้ โดยตรัสถามว่า "เธอประพฤติอย่างนี้จริงหรือ?" ภิกษรูปนี้กราบทูลว่า เป็นจริง พระพุทธองค์จึงทรงตำหนิติเตียนว่า "ความประพฤติที่เธอกระทำนั้นไม่เหมาะควรแก่เพศบรรพชิตโดยประการทั้งปวง"

พระพุทธพจน์องค์หนึ่งที่เกี่ยวกับเงินทองมีความว่า "เราไม่กล่าวเลยว่าให้ภิกษุในธรรมวินัยนี้แสวงหาเงินและทองโดยประการใดๆ เลย" ภิกษุที่มีความเคารพยำเกรงต่อพระวินัยจึงต้องประพฤติปฏิบัติตามสิกขาบทอย่างเคร่งครัด โดยการศึกษาพระธรรมและหมั่นฝึกฝนรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริตอยู่เป็นนิจ

อาบัติที่เกิดจากการรับเงินและทองของภิกษุ หากไม่ได้ปลงอาบัติอย่างถูกต้องและถูกวิธีแล้วก็จะเป็นเหตุนำไปสู่อบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี 4 ภูมิ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน

อุบาสกและอุบาสิกาจึงควรทราบว่า "การให้เงินทองแก่ภิกษุ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ไม่ใช่เป็นการทำบุญแต่เป็นการทำบาป" นอกจากจะเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาแล้วยังเป็นเหตุให้ "ภิกษุ" ไปสู่อบายภูมิหลังมรณภาพอีกด้วย... ส.ยกน้ิวให้

เบิร์ด ภาคภูมิ

พุทธศาสนาสอนเรื่องความจริง
ไม่ได้สอนในเรื่องของความเชื่อ

พระพุทธศาสนาสอนให้ช่วยตนเอง ไม่ได้สอนให้พึ่งคนอื่น หรือไปพึ่งเทพเจ้าองค์ใด

พระพุทธศาสนาสอนในเรื่องกฎแห่งการกระทำ
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

พระพุทธศาสนาสอนว่าในทุกสรรสิ่งในทุกสรรพชีวิตบนโลกนี้ ไม่มีสิ่งใดยั่งยืน

ทุกๆสิ่งมีเกิดขึ้น แปรเปลี่ยน แล้วดับสลายไป

แม้แต่ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขต่างๆที่อยู่บนโลกนี้ไม่มีความแน่นอน มีเกิดดับเป็นธรรมดาธรรมชาติของเขาเอง ไม่มีอำนาจใดๆมาบังคับกฎแห่งธรรมชาติได้

เมื่อเรายอมรับความจริงในข้อนี้ จิตใจก็สบายใสๆสบายๆ

อะไรจะเกิดก็เป็นเรื่องธรรมดา
อะไรจะดับจะแปรเปลี่ยนก็สบายๆธรรมดาๆ