ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สื่อสารมวลชน

เริ่มโดย Telwada, 16:35 น. 09 พ.ค 60

Telwada

จว.เชียงราย (๕๗๐๐๐)                                                    ที่    ๗    /  ๒๕๖๐
                 ๓      พฤษภาคม       ๒๕๖๐
เรื่อง         เกี่ยวกับสื่อสารมวลชน
เรียน         ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี,รัฐมนตรี,สนช,และผู้เกี่ยวข้อง
สิ่งที่ส่งมาด้วย     ตัวอย่าง "ร่าง พระราชบัญญัติ พัฒนาจริยธรรม ฯลฯ"
      สืบเนื่องจากการที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เสนอ "ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน" เพื่อพิจารณาตราเป็นกฎหมาย  แต่เกิดมีการคัดค้านไม่เห็นด้วย และไม่ยอมรับ พ.ร.บ. ดังกล่าวจากองค์กรสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ ข้าพเจ้าเห็นว่า กิจการสื่อสารมวลชน ตั้งแต่ เจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา กองบรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว รวมไปถึงด้านคอมพิวเตอร์ ล้วนมีความสำคัญ ไปตามสถานะของการสื่อสารแต่ละแขนง และสภาพของข่าวสารนั้น
      ข่าวสารต่างๆ มีความสำคัญตามสถานะภาพของมันในแต่ละด้านของสื่อ บ้างก็มีความสำคัญต่อประชาชน หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล คณะบุคคล ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ บันเทิง การเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และอื่นๆ
หลักการและเหตุผลต่อไปนี้ เป็นข้อคิดข้อพิจารณาสำหรับท่าน
ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับ กิจการสื่อสารมวลชนทุกชนิด
      ๑. บรรดากิจการสื่อสารมวลชนทุกชนิด ล้วนมี กฎหมาย(พ.ร.บ.)ควบคุม พฤติกรรม การกระทำอยู่แล้ว จะเรียก กฎหมายเหล่านั้นว่า เป็น "จริยธรรม"ของกิจการสื่อสารมวลชน ก็ย่อมได้
      ๒. กิจการสื่อสารมวลชนทุกชนิด ล้วนเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายสินค้า เป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออก เปรียบเป็นเช่น โรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้าง ร้าน ที่ขายสินค้า และเป็นทั้งผู้บริโภค ซึ่งสินค้าของกิจการสื่อสารมวลชน ก็คือ "การหาข่าวและนำเสนอข่าว"
      ๓.   ในเมื่อกิจการสื่อสารมวลชนทุกชนิด เป็นผู้ประกอบการชนิดหนึ่ง สถานประกอบการนั้นๆ ก็ล้วนต้องมี กฎ เกณฑ์ ระเบียบ แบบแผน มาตรฐาน เป็นของตนเอง ภายใต้กฎหมาย ดังที่ได้กล่าวไปในข้อที่ ๑
      ๔. รัฐจะตรากฎหมาย ขึ้นมาซ้อนทับกฎหมายที่มีอยู่เดิม หรือต้องการที่จะควบคุม กฎ เกณฑ์ ระเบียบ แบบแผน มาตรฐาน ของสถานประกอบการอันหมายถึง "กิจการสื่อสารมวลชน" เป็นการไม่ถูกต้อง
      ๕.  รัฐจะตรากฎหมาย เพื่อควบคุม กฎ เกณฑ์ ระเบียบ แบบแผนของ กิจการสื่อสารมวลชน เหล่านั้นได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้ หรืออ้างอิงตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน ที่มีอยู่แล้ว กฎหมายที่มีอยู่ สามารถควบคุมสื่อได้อยู่แล้ว ยกเว้นข้อเดียว คือ การรับอาสมิสสินจ้างเพื่อนำเสนอข่าว เพราะมันเป็นเรื่องภายในจิตใจฯ ส่วนข้ออื่นๆ แม้คว   บคุมได้ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ยังสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้ หากเกิดกรณีฝ่าฝืนกฎหมาย   
      ๖. หากรัฐจะตรากฎหมาย เพื่อควบคุมสื่อสารมวลชน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ชื่อ ร่าง พ.ร.บ. อย่างสวยหรู แต่ข้างในเป็นประเภทสังคมนิยม จะเรียกว่า คอมมิวนิสต์ ก็ว่าได้ เพราะ ร่าง พ.ร.บ.ที่เป็นข่าวฮือฮาอยู่นั้น มันเป็นการ ก้าวก่าย ควบคุม ละเมิด กฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ แบบแผน มาตรฐาน  ของสถานประกอบการชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน
      เพียงท่านทั้งหลายที่เป็นนักออกกฎหมาย หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นำเอากฎหมายที่มีอยู่ มาเป็นข้ออ้างอิง มาเป็นบรรทัดฐานเพื่อควบคุมสื่อสารมวลชน ก็ย่อมไม่มีปัญหา เพราะมันมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้ว ดังข้าพเจ้าจะยกตัวอย่างให้พิจารณา
                     จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา
                     ขอแสดงความนับถือ
                                                               ..................................
                                                           (จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์)
(ตัวอย่าง)
ร่าง พระราชบัญญัติ พัฒนาจริยธรรม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ วิชาชีพสื่อสารมวลชน พุทธศักราช..............
   
หลักการและเหตุผล..............................................................................
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย..........................................................................
   มาตรา  ๑.   บรรดาองค์กรสื่อสารมวลชนทุกชนิด ต้องมีกฎ ระเบียบ แบบแผน มาตรฐาน การประกอบกิจการวิชาชีพ ตาม พ.ร.บ.๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๙,....................
   มาตรา ๒.  องค์การสื่อสารมวลชนทุกชนิด จัดให้มี "สภาวิชาชีพ"  ซึ่งสภาวิชาชีพ แต่ละแขนงเหล่านั้น ย่อมมีอิสระ สิทธิเสรีภาพ ในการดำเนินงาน ในการจัดระเบียบบริหาร บุคลากร ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย ตามมาตรา ๑...............................
   มาตรา  ๓.  บรรดา จริยธรรม สื่อสารมวลชนทุกแขนง ล้วนได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ตามมาตรา ๑.
   มาตรา ๔. หน่วยงานของรัฐ............มีหน้าที่ควบคุมสอดส่องกำกับดูแล   ให้กิจการสื่อสารมวลชน,   สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชน    แขนงต่างๆ
ปฏิบัติตามกฎหมาย........
   ๕.  บรรดาสถานประกอบกิจการสื่อสารมวลชน  สภาวิชาชีพสื่อสารมวลชนทุกแขนง เจ้าของ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ ผู้สื่อข่าว  หรือที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในทางที่ชอบด้วยกฎหมาย และในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
    .......................................
          นายกรัฐมนตรี

(หมายเหตุ)  ข้อความใด กฎหมายใดที่ยังไม่รัดกุม หรือครอบคลุม ก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้