ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

20 วิธี การป้องกันโรคมะเร็งที่ควรรู้

เริ่มโดย qwe3, 22:41 น. 03 ต.ค 60

qwe3

20 วิธี การป้องกันโรคมะเร็งที่ควรรู้

เพียงเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติต้านมะเร็งและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกสุขลักษณะ ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งของคุณได้
โดย  The Editors of Preventionเว็บแทงบอล



ตัดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของคุณออกไป!
ข่าวดีคือ คุณจะไม่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเลย หากคุณมีสุขภาพที่ดี มีวิธีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

หากคุณสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในชีวิตประจำวันของคุณได้ นั่นก็หมายถึงคุณสามารถป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดของโรคมะเร็งได้แล้วมากกว่า 70%

ศาสตราจารย์ Thomas A. Sellers, ผู้อำนวยการศูนย์การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง Moffitt เมือง Tampa (Florida, USA) กล่าวว่า การเลือกรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย, และการหลีกเลี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์ประเภทบุหรี่ หรือยาสูบ เป็นมาตรฐานหลักอย่างแรกของการป้องกันโรคมะเร็ง แต่ในปัจจุบันได้มีการวิจัย ซึ่งค้นพบและชี้ให้เห็นถึงข้อควรปฏิบัติต่างๆอีกหลายวิธี ที่น่าสนใจ เพื่อป้องกันโรคมะเร็งในชีวิตประจำวันของคุณได้ ลองกลยุทธ์ใหม่ๆเหล่านี้แล้วความเสี่ยงของโรคมะเร็งจะลดลงยิ่งขึ้นไป

1. กรองน้ำประปาหรือน้ำก๊อกก่อนดื่มสมัครเว็บแทงบอล
คุณสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อการรับสารก่อมะเร็งต่างๆที่เจือปนในน้ำดื่มได้โดยการกรอง โดยวิธีนี้จะสามารถป้องกันสารเคมีต่างๆที่เจือปนในน้ำซึ่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกายของคุณได้อีกด้วย รายงานล่าสุดจากประธานคณะกรรมการสถาบันมะเร็งเกี่ยวกับวิธีการลดการสัมผัสกับสารก่อมะเร็งว่า "การกรองน้ำประปาที่บ้านดื่ม มีความปลอดภัยกว่าการเลือกบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดที่ด้อยคุณภาพบางประเภท"

ที่สำคัญอีกอย่างคือ การเลือกเก็บน้ำในภาชนะประเภท สแตนเลสหรือแก้ว จะสามารถหลีกเลี่ยงสารปนเปื้อนหรือสารเคมี ได้ดีกว่าภาชะประเภทพลาสติก  เช่นสาร BPA เป็นต้น.  (แหล่งที่มาของข้อมูล; โดยคณะกลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเลือกจากรายงานทางเลือกของผู้บริโภคสำหรับเลือกตัวกรองน้ำ Culligan, Pur แนวตั้งและ Brita OPFF-100)

2. ลดการใช้พลังงานก๊าซ
สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการสถาบันมะเร็งกล่าวว่า การสัมผัสหรือสูดดมควันพิษหรือก๊าซ (Benzene) ที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ของพลังงานขับเคลื่อนรถยนต์ของคุณที่ปนอยู่ในอากาศนั้น  ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้เพราะควันพิษหรือก๊าซเหล่านั้น ก็เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและมะเร็งปอดได้

3. หมักเนื้อก่อนที่จะย่าง
ในกระบวนการแปรรูปเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค ได้แก่ การปิ้งย่างนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยการปิ้ง-ย่างทำให้เกิดสาร Heterocyclic  amines (เกิดขึ้นเมื่อเนื้อโดนเผาไหม้ด้วยอุณหภูมิสูง) และสารไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons ) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อใช้ถ่านย่าง – " ข้อเสนอแนะที่ว่าควรการตัดชิ้นเนื้อที่ไหม้เกรียมออกก่อนบริโภคสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ เป็นเหตุเป็นผลที่สามารถพิสูจน์ได้ตามหลักวิทยาศาสตร์" กล่าวโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ Cheryl Lyn Walker ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง, ประจำสถาบัน Anderson มหาวิทยาลัยเท็กซัส.

ถ้าคุณเลือกที่จะปรุงอาหารโดยการปิ้ง-ย่าง สามารถเพิ่มโรสแมรี่และโหระพาในการหมักเนื้อสัตว์อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงก่อนที่จะปรุงอาหาร เพราะเครื่องเทศเหล่านี้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระโดยสามารถต้าน Carcinogenic heterocyclic amines (HCAs.) ได้ถึง 87 %

4. บริโภคคาเฟอีนทุกวัน
ในปี 2010 นักวิจัยชาวอังกฤษพบว่า กลุ่มคนที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ (ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน) เมื่อดื่ม 5 แก้ว/ต่อวัน ขึ้นไป พบว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองลดลงถึง 40 % เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดื่มน้อยกว่าปริมาณดังกล่าว เช่นเดียวกัน การดื่มกาแฟ ในปริมาณ 5 ถ้วยวัน ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอได้

ทั้งนี้ นักวิจัยเกี่ยวกับคาเฟอีนกล่าวว่า: Decaf (กาแฟที่ถูกสกัดเอาคาเฟอีนออกไปจากเมล็ดกาแฟ ก่อนที่จะนำมาแปรรูป) ไม่มีผลหรือประสิทธิภาพเทียบเท่า และยังเชื่อว่ากาแฟนั้นเป็นเครื่องป้องกันการเกิดโรคมะเร็งที่มีศักยภาพมากกว่าชาอีกด้วย

5. การดื่มน้ำลดลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสูงขึ้น
การดื่มน้ำรวมถึงของเหลวทุกประเภท (ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ)  ในปริมาณมากเพียงพอ จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะปัสสาวะโดยเจือจางความเข้มข้นของสารก่อให้เกิดมะเร็งในปัสสาวะและช่วยขับสารเหล่านั้นออกจากกระเพาะปัสสาวะได้เร็วขึ้น สมาคมโรคมะเร็งอเมริกันให้คำแนะนำว่าควรจะดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
6.เลือกรับประทานผักผลไม้สีเขียว
พยายามเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลาย โดยเฉพาะพวกที่มีลักษณะสีเขียวเข้ม (Chlorophyll)- ในสารสีเขียวหรือคลอโรฟิลล์นั้นอุดมไปด้วยแมกนิเชี่ยม (Magnesium) ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสามารถลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ในผู้หญิงได้

นักวิจัย วอล์กเกอร์ กล่าวว่า "แมกนีเซียมมีผลต่อการส่งสัญญาณในเซลล์  โดยป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการแบ่งเซลล์ หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม.  ผักขมสุกเพียงแค่ 1/2 ถ้วยสามารถให้แมกนีเซียมถึง 75 mg-หรือ 20% ของสารอาหารต่อวัน

7. เลือกรับประทานถั่วบราซิล
ถั่วบราซิลประกอบไปด้วยซีลีเนียมสูง (Selenium)- ซีลีเนียมถือเป็น สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะโดยเฉพาะในผู้หญิง จากการวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ดาร์ทเมาท์ พบว่าผู้ที่มีระดับซีลีเนียมในเลือดสูงมีอัตราที่การตายจากโรคมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลง

นักวิจัยส่วนใหญ่พบว่าซีลีเนียมไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระแล้ว แต่ยังอาจเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและยังสามารถยับยั้งเหล่าเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเนื้องอกได้อีกด้วย

8.ทำลายความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม
ออกกำลังกายระดับปานกลาง อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ เช่นเดินเร็ว 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 18%

โดยปกติแล้ว การออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงของคุณได้ โดยช่วยให้ร่างกายมีการเผาผลาญไขมันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งหากไม่มีอย่างนั้นแล้ว จะมีการกระตุ้นผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นเอง โดยเป็นที่ทราบกันดีว่ามีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม

9. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องซัก-อบแห้ง
ตามที่ระบุจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency หรือ EPA) ในต้นปี 2010 ได้รับรองว่า ตัวทำละลายหรือน้ำยาที่ใช้ในกระบวนการซักแห้งที่เรียกว่า PERC (ย่อมาจาก Perchlorethylene) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ, มะเร็งไตและมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้   บุคคลที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงคือกลุ่มคนที่สำผัสกับสารเคมีเหล่านี้โดยตรง หรือบุคคลที่ใช้เครื่องซักแห้งนั้นเป็นเวลานาน

ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้ให้ข้อสรุปว่า ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างไรนั้น คุณมีทางเลือกที่จะสำผัสกับสารพิษเหล่านั้นน้อยลงได้คือเลือกซักเสื้อผ้าด้วยมือ โดยใช้สบู่อ่อนและตากให้แห้งด้วยอากาศกลางแจ้ง และสามารถใช้น้ำส้มสายชูเพื่อลบรอยเปื้อนหรือจุดด่างดำได้เช่นกัน

10. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทรวงอกของคุณ
คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติของทรวงอกและความหนาแน่นของเต้านมของคุณอย่างสม่ำเสมอ ได้มีการพบว่าผู้หญิงที่ทำ Mammograms แล้วพบว่ามีความหนาแน่นของเต้านมเท่ากับหรือมากกว่า 75% ขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม 4- 5 เท่าซึ่งเปรียบเทียบแล้วสูงกว่าผู้หญิงที่มีคะแนนความหนาแน่นต่ำ ทฤษฎีบอกไว้ว่าความหนาแน่นของหน้าอกสอดคล้องกับระดับเอสโตรเจน (Estrogen) ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งในการปรับสมดุลของร่างกาย.    วอล์กเกอร์ นักวิจัยกล่าวว่า "การเผาผลาญไขมันในร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่ง Growth factor, ระดับตัวส่งสัญญาณโปรตีนเช่น adipokines และฮอร์โมนอินซูลิน โดยปัจจัยเหล่านี้มีส่วนในกระบวนการยับยั้งการสร้างเซลล์มะเร็ง"
   
11. จำกัดการใช้โทรศัพท์มือถือ
คุณควรใช้โทรศัพท์มือถือในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ใช้แฮนด์ฟรีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงความถี่ต่ำที่ปล่อยจากคลื่นวิทยุด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปที่หนักแน่นในการแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองก็ตาม แต่ก็มีวิจัยไม่น้อยที่มีผลเชี่ยมโยงการเกิดมะเร็งเกี่ยวและการใช้โทรศัพท์ในชีวิตประจำวัน

12. ป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังได้โดยการเลือกแต่งกายที่ถูกต้อง
นักวิทยาศาสตร์สเปนกล่าวว่า หากคุณเลือกแต่งตัวอย่างฉลาดจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังได้  ในงานวิจัยของพวกเขาพบว่า ผ้าสีฟ้าและสีแดงสามารถป้องกันรังสียูวีจากดวงอาทิตย์ได้ดีกว่าสีขาวและสีเหลือง อย่าลืมที่จะใส่หมวกก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง.  เม็ดสีผิวเมลาโทนิน (Melanoma ) สามารถปรากฏทั่วบริเวณในร่างกาย จะถูกระตุ้นและเกิดขึ้นมากเมื่อโดนแสงอาทิตย์ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย North Carolina ที่ Chapel Hill พบว่าผู้ที่มีเมลาโทนินสูงบริเวณ บนหนังศีรษะหรือคอ ตายที่มากกว่าเกือบสองเท่าของอัตราของคนที่เป็นมะเร็งในพื้นที่อื่น ๆ ของร่างกาย

13. เลือกปรึกษาผู้เชียวชาญที่มากด้วยประสบการณ์
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย- ซานฟรานซิสโก พบว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 25 ปีมีความแม่นยำในการอ่านผล mammograms มากกว่า จึงถือได้ว่าความเชี่ยวชาญของแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการวินิจฉัยและการป้องกันการเกิดมะเร็ง เพราะฉะนั้น เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการอ่านผลตรวจและวินิจฉัยโรค ก็ไม่ใช่สิ่งผิดเลยหากคุณเลือกที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่าหนึ่งท่าน

14. กินอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย
ประธานองค์การป้องกันมะเร็งประกาศแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อซื้อเนื้อสัตว์ ที่ปลอดจากสารปฏิชีวนะและฮอร์โมน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นที่น่าสงสัยว่าจะมีส่วนก่อให้เกิดปัญหาต่อมไร้ท่อรวมทั้งโรคมะเร็งอีกด้วย  นอกจากนี้รายงานยังมีข้อแนะนำคือคุณควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารกำจัดศัตรูพืชหรือพืชผักที่ปลูกเองเพื่อหลีกเลี่ยง สารตกค้างต่างๆ รวมทั้งจำเป็นจะต้องล้างพืชผักทุกครั้งก่อนบริโภค (อาหารที่มีสารยาฆ่าแมลงมากที่สุดได้แก่ คื่นฉ่าย , พีช, สตรอเบอร์รี่, แอปเปิ้ล และ บลูเบอร์รี่.  และเราพบว่า สารก่อมะเร็งกว่า 40 ชนิดที่เป็นที่รู้จักพบในยาฆ่าแมลง ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงโดยการบริโภคสิ่งเหล่านั้น

15. อ่านฉลากก่อนบริโภคเพื่อมองหาส่วนประกอบของกรดโฟลิค (Folic acid)
วิตามินบีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้หญิงที่เตรียมหรือกำลังตั้งครรภ์ โดยสามารถป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องของเด็กในขณะตั้งครรภ์ได้ แต่สิ่งนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคมเพราะอาจเป็นสาเหตุเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน

การบริโภควิตามิน ในรูปแบบสังเคราะห์ มากเกินไป (ไม่ใช่โฟเลต (Folate) ที่พบในธรรมชาติเช่นในผักใบเขียว, น้ำส้ม, และอาหารอื่น ๆ) อาจมีผลเชื่อมโยงต่อการเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่-มะเร็งปอดและมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูงขึ้น คุณควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเลือกรับประทานอาหารเสริมใดๆ

จากการศึกษา ล่าสุดพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมประเภทกรดโฟลิค เลือกกินในปริมาณมากกว่า 400 mcg ต่อวัน หรือเกิน 1,000 mcgต่อวัน (วิตามินดีและแคลเซียมเป็นต้น) นี่อาจจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดของคุณหรือโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เตรียมหรือกำลังตั้งครรภ์

16.เพิ่มปริมาณการบริโภคแคลเซียมของคุณในแต่ละวัน
การดื่มนมอาจช่วยป้องกันคุณจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้.  ดาร์ทเมาท์ แพทย์นักวิจัยพบว่า ในบรรดาผู้ที่ทานแคลเซียมต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ปี มีอัตราการลดการพัฒนามะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลง 36 % (การศึกษาตลอดระยะเวลา 5 ปี พวกเขาติดตามกลุ่มผู้ทดลอง 822 คนที่รับประทานแคลเซียมต่อเนื่องในปริมาณ 1,200 mg ต่อวัน หรือเปรียบเทียบกลุ่มยาหลอก). นอกเหนือจากนั้นคุณยังสมารถเพิ่มปริมาณแคลเซียมได้จากโยเกิต (ในปริมาณเทียบเท่า 8 ounce ต่อวัน) และ ชีสไขมันต่ำ (ในปริมาณเทียบเท่า 2-3 ounce ต่อวัน)

17. เลือกรับประทานธัญพืชที่ถูกประเภท
เป็นที่ทราบกันดีว่าแป้งข้าวสาลีดีกว่าขนมปังขาวทั่วๆไป  จากการศึกษาของโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาดเกี่ยวข้องกับผู้หญิง จำนวน 38,000 คน – พบว่าหญิงที่กินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้การเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่-ทวาร มากกว่าผู้หญิงที่กินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลต่ำ ปัญหากินอาหารส่วนใหญ่มาจากแป้งขาว; ขนมปังขาว, มันฝรั่ง, พาสต้า , และขนมอบหวาน อาหารที่ปริมาณน้ำตาลต่ำได้แก่ อาหารประเภทเส้นใย

18. ใส่ใจกับความเจ็บปวดต่างๆ
หากคุณกำลังประสบการเกี่ยวกับท้องอืด ปวดบริเวณช่องท้อง หรือภาวะเร่งด่วนเกี่ยวกับการขับปัสสาวะจนต้องแพทย์ อาการเหล่านี้อาจส่งสัญญาณเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีอาการอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง

ผู้หญิงและแพทย์ส่วนใหญ่มักจะละเลยอาการเหล่านี้  หากคุณให้ความสำคัญและสามารถจัดการกับมะเร็งก่อนการแพร่กระจายออกนอกรังไข่ได้แล้วนั้น, อัตราการรอดตายจากมะเร็งรังไข่จะเพิ่มขึ้นกว่า 90-95%

19. หลีกเลี่ยงการทำสแกนโดยที่ไม่จำเป็น
"CT สแกนเป็นเครื่องมือวินิจฉัยที่ดีเยี่ยม แต่การทำแสกนประเภทนี้ให้รังสีมากเกินจำเป็นและแรงเกินกว่ารังสีจากการ X-ray"

นายแพทย์บาร์ตันคาเม , PhD, หัวหน้าสมาคมโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองกล่าว ในความเป็นจริงหนึ่งในสามของนักวิจัยแนะนำว่า CT สแกนอาจจะไม่จำเป็นซะทีเดียว เนื่องปริมาณของรังสีจาก CT แสกนสามารถกระตุ้นการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้   หากคุณต้องพบเห็นแพทย์หลายท่าน คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทำแสกนซ้ำ แต่อาจสามารถทำการทดสอบอื่นๆแทน เช่นอัลตราซาวนด์ หรือ MRI เป็นต้น

20. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมตามเกณฑ์
สถิติจากสมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า 20% ของกลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมด (เพศหญิง) และ 14 % (เพศชาย) มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

*** (น้ำหนักเกินหมายถึง ดัชนีมวลของร่างกาย (BMI) อยู่ระหว่าง 25 และ 29.9; อ้วนหมายถึง ดัชนีมวลของร่างกาย (BMI) เท่ากับหรือมากกว่า 30) ***

นอกจากนี้ การลดน้ำหนักจะมีผลต่อการผลิตของฮอร์โมนเพศหญิงของร่างกายที่ช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม,  มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, และมะเร็งรังไข่.   ถึงแม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว หากคุณไม่ได้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน แต่การเพิ่มน้ำหนักเกิน 10 ปอนด์ขึ้นไป หลังจากอายุ 30 จะเพิ่มความเสี่ยงของเกิดมะเร็งเต้านม, มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งอื่น ๆได้

kanrayawong

เยอะเหมือนกันนะคะเคล็ดลับป้องกันโรคมะเร็งแบบนี้ต้องลองดูหน่อยค่ะ  ส.บายใจ

อินดี้

ฝากบทความเกี่ยวกับมะเร็งด้วยค่ะ
อาการของมะเร็งที่คนคิดไม่ถึง


ที่มา นิตยสารชีวจิต คอลัมน์ประสบการณ์จากวิชาชีพ โดย ใบเหมียง
การทำสงครามถ้าจะให้ชนะอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ต่อสู้จะต้องใช้กลวิธีโจมตีชนิดที่ไม่ให้ข้าศึกได้ทันรู้ตัว และต้องโจมตีฐานที่มั่นที่สำคัญให้ได้จึงจะชนะเด็ดขาด

เรื่องการต่อสู้กับมะเร็งขณะนี้ก็เหมือนกัน คล้ายๆ กับการทำสงคราม มะเร็งคือตัวข้าศึก เวลานี้ที่ทั้งหมอและคนไข้ต่อสู้กับมะเร็งแล้วไม่ค่อยชนะ ก็เพราะว่าไปสู้ในขณะที่มะเร็งโจมตีถึงฐานสำคัญของชีวิต เช่น โจมตีถึงระบบสมอง ก็ทำให้คนเจ็บหัว คิดไม่ออก ปากเบี้ยว พูดไม่ได้ กินไม่ได้ โจมตีถึงระบบกระดูก ก็ทำให้คนเดินไม่ได้ เพราะเจ็บหลัง เจ็บขา โจมตีถึงระบบทางเดินหายใจ ก็ทำให้คนหายใจไม่ออก ขาดอากาศ ตาย เป็นต้น

ส่วนในเวลาที่มะเร็งยังโจมตีมาไม่ถึง เราก็ไม่ได้ไปสู้ เหตุที่ไม่สู้ก็เพราะไม่รู้และไหวตัวไม่ทันว่านั่นคืออาการของมะเร็ง คนคิดไปไม่ถึงว่ามะเร็งจะมีเล่ห์เหลี่ยมที่แยบยลยิ่งกว่ากองโจร หลายคนคงเคยเห็นโฆษณาของแผนกมะเร็ง หรือแผนกสุขศึกษาตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่แจกเป็นแผ่นพับ และที่เขียนไว้ตามบอร์ดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนเรื่องมะเร็งว่าอาการและอาการแสดงของมะเร็งเป็นดังนี้

มะเร็งปอด จะไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด มีอาการหอบเหนื่อย
มะเร็งลำไส้และทวารหนัก ถ่ายปนเลือด มีการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย เช่น ท้องผูก ท้องเสีย
มะเร็งตับ มีอาการแน่น อึดอัดท้อง
มะเร็งเต้านม มีก้อนที่เต้านม หรือมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม เป็นต้น

อยากจะบอกว่า อาการที่แสดงออกลักษณะอย่างนี้ ไอเป็นเลือด ถ่ายปนเลือด แน่นอึดอัดท้อง มีน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม คืออาการของมะเร็งเต็มขั้นแล้ว หรือเกือบระยะสุดท้ายแล้วทั้งนั้น ซึ่งตัวอย่างก็คงไม่ต้องยกมาให้ดูกันอีกแล้ว เพราะตรงไปตรงมา ถ้าใครมีอาการอย่างนี้มาโรงพยาบาล ส่วนใหญ่หมอก็วินิจฉัยไม่ยากนัก แต่ที่ยากและสร้างความเวียนหัวอยู่ คืออาการที่ไม่ตรงไปตรงมา และมีอาการเพียงเล็กๆ น้อยๆ และยิ่งกว่านั้นยังแสดงออกมาภายนอกอย่างคลุมเครืออีกต่างหาก

อาการเหล่านี้ล่ะที่คนคิดไม่ถึงว่ามันคืออาการอย่างหนึ่งของมะเร็ง แต่ความจริงในทางทฤษฎีนั้น ผู้รักษาก็รู้แบะจำได้ขึ้นใจกันทุกคนว่านี่คืออาการของมะเร็ง แต่ในภาคสนามกลับลังเลและสับสน เครื่องมือก็จับไม่ค่อยได้ เพราะไม่ไวพอ และอายุการใช้งานก็เกือบปลดเกษียณแล้ว งานนี้อย่าไปโทษใครเลยให้ศึกษาไว้เป็นบทเรียนก็แล้วกัน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการสังเกตตัวเอง และเพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์ในการต่อสู้กับมะเร็งกันเสียใหม่

ต่อไปนี้คือตัวอย่างจริงของอาการมะเร็งบางอย่างที่คนทั่วไปไม่ค่อยคิดถึงกัน ตัวอย่างที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นคนไข้ที่คลินิกและคนไข้มะเร็งที่มาปรึกษาเป็นการส่วนตัว ซึ่งมีจำนวนมาก แต่จะขอยกตัวอย่างที่สำคัญๆ มาเท่านั้น

รายที่ 1 มาด้วยอาการปวดหลัง แต่เป็นมะเร็งปอดขั้นสุดท้าย
เป็นชายวัย 49 ปี อาชีพรับราชการ มาที่ห้องฉุกเฉินด้วยอาการปวดหลังมากสองอาทิตย์ โดยความปวดมีความรุนแรงเป็นลำดับดังนี้ เมื่อห้าเดือนก่อนมาโรงพยาบาลเริ่มปวดหลังที่ด้านซ้าย ร้าวไปทั่วเอว อาการเป็นไม่มาก ก็ไปตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง หมอบอกเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ ก็ได้ยาไปกิน แต่อาการปวดก็ยังไม่ดีขึ้น เวลาสามเดือนผ่านไป ทีนี้ปวดลุกลามไปทั้งสองข้าง ถ้ายืนนานๆ จะปวดมากขึ้น เวลาเดินต้องพยุง ช่วงนี้รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดไป 10 กิโลกรัมต่อเดือน ก็ไปนอนโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งอยู่สองอาทิตย์ อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ทางโรงพยาบาลจึงส่งมาที่คลินิก ด้วยเหตุผลว่าไม่มีเครื่องเอ็กซ์เรย์ จึงไม่สามารถรักษาได้มากกว่านี้แล้ว

มาถึงโรงพยาบาลก็ไปอยู่ตึกกระดูกและข้อ ผลเอ็กซ์เรย์พบว่าบางส่วนของกระดูกสันหลังบริเวณทรวงอกหายไปและกระดูกซี่โครงก็หายไป 2 ซี่ ส่วนเอ็กซ์เรย์ปอดก็มีเนื้องอกอยู่ พอเอาชิ้นเนื้อนี้ไปตรวจก็พบว่าเป็นมะเร็ง นอกจากนี้ที่ตับก็มีเนื้องอกอีกด้วย หมอวินิจฉัยว่าคนไข้รายนี้เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย เพราะกระจายไปกระดูก ไปตับแล้ว ฉันเจอคนไข้บนเปลนอน นอนอยู่นิ่งๆ แทบไม่ขยับเลย ได้แต่พูดกับยกมือดูดน้ำหวานเท่านั้น คนไข้บอกว่า "ไม่ได้เหนื่อยอะไร มีแต่ปวดหลังมากเท่านั้น"

รายที่ 2 พบเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายจากอุบัติเหตุขาหัก
เป็นชายวัย 58 ปี อาชัพค้าขาย มาที่แผนกฉุกเฉินเช่นกัน ด้วยประวัติว่าเพียงแค่เอาขาซ้ายไปยันรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น ขาก็ดังกร๊อบ จึงรู้ว่าขาหัก ไปรักษากับหมอบ้านอยู่หนึ่งเดือน โดยเข้าเฝือกและนวด แต่ก็ยังยืนไม่ได้ บวมและปวดมากขึ้นจึงมาโรงพยาบาล หมอได้ผ่าตัดต่อกระดูก และเอาชิ้นเนื้อไปพิสูจน์ก็พบว่าเป็นมะเร็งที่กระจายมาจากที่อื่น จึงไปเอ็กซ์เรย์ปอด และคีบชิ้นเนื้อมาตรวจ ก็พบแหล่งจากปอดนี่เอง หมอก็สรุปการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดขั้นสุดท้าย เพราะกระจายไปกระดูกแล้ว

รายที่ 3 รู้ว่าเป็นมะเร็งปอดก็เพราะจะผ่าตัดเนื้องอกที่มดลูก
เป็นหญิงวัย 38 ปี อาชีพนับเงินของบริษัทตัวเอง เธอเล่าให้ฟังว่า "พี่ไม่ได้มีอาการทางปอดเลยนะ พี่ยังออกกำลังกายได้ แต่ที่รู้เพราะว่าพี่จะมาผ่าตัดเนื้องอกที่มดลูกซึ่งเป็นมาตั้งแต่ตอนตั้งท้อง ตอนนี้ลูกพี่คลอดแล้วได้ 8 เดือน ก็เลยว่าจะมาผ่าให้เสร็จๆ ไป แต่พอจะผ่า พี่ก็ต้องไปเอ็กซเรย์ปอดก่อน หมอบอกว่ามีเนื้องอกอยู่ พอคีบชิ้นเนื้อมาดูก็เป็นเนื้อไม่ดี หมอจึงงดผ่าทางโน้น แล้วให้มารักษาทางปอดก่อน"

รายนี้ปรากฏว่าเมื่อไปเอ็กซเรย์กระดูกก็พบว่ากระจายไปกระดูกไหล่ กระดูกไหปลาร้า กระดูกหน้าอกแล้ว สรุปคือ เป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายอีกเช่นกัน และสิ่งที่น่าสนใจในรายนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ เคยมีประวัติมาโรงพยาบาลด้วยอาการไอมากเมื่อสองปีที่ผ่านมา แต่รักษาเพียงแค่ได้ยาแก้ไอ ยาแก้ปวด อาการก็หายไป และเมื่อสองเดือนก่อนจะรู้ว่าเป็นมะเร็งปอดก็เคยมาที่แผนกฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บหน้าอกข้างขวา โดยก่อนหน้านี้สามวันมีอาการปวดไหล่ซ้ายมาก่อน ปวดเวลาเอี้ยวตัว พออาการปวดไหล่ซ้ายหายไปก็มาปวดหน้าอกขวาแทน ปวดจี๊ดจนทนไม่ไหว

คนไข้เล่าว่า "นึกจะปวดก็ปวด ถ้าเวลาไม่ปวด แม้ไปกดไปทำอะไร มันก็ไม่ปวด ก็ได้ยามาทาน อาการก็หายไป จนถึงตอนนี้ อาการปวดไหล่ ปวดหน้าอก ไม่มีเลย"

รายที่ 4 มะเร็งหลังโพรงจมูกระยะสุดท้าย มาด้วยต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตสามารถบ่งบอกถึงโรคได้เป็นสิบโรค ตั้งแต่โรคธรรมดาๆ จนถึงโรคร้าย มีสิทธิ์เป็นได้ทั้งนั้น ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ วัณโรค เอดส์ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งโพรงจมูก ดังกรณีรายนี้

เป็นชายวัย 47 ปี อาชีพนักธุรกิจโรงแรมและเล่นหุ้น เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกไปหาหมอที่คลินิกเพราะว่ามีก้อนที่คอด้านซ้ายโต มันมีหนึ่งเม็ดก่อน หมอก็ให้ยาฆ่าเชื้อมากิน หมอบอกผมว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ กินอยู่สองเดือน ก้อนก็ยังไม่ยุบ หมอก็ให้ยาขนานเดิมมาอีก ก็ยังยืนยันกับผมว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบนั่นแหละ ผมก็กินยาต่ออีกสองเดือน ยิ่งกินยิ่งมีก้อนโผล่ออกมาอีกเม็ดหนึ่ง แต่อยู่ต่ำลงมา ผมชักไม่แน่ใจแล้วสิทีนี้ ก็เลยเปลี่ยนหมอไปที่โรงพยาบาล หมอคนนี้จับผมส่องกล้องคีบชิ้นเนื้อมาดู ทีเดียวแค่นั้นก็รู้เลยว่าเป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก และเป็นขั้นสุดท้ายด้วย

"แกไม่ซักประวัติอะไรผมมากมาย และผมก็ไม่มีอาการอะไรที่มันเกี่ยวข้องกับมะเร็งชนิดนี้ด้วย ไม่ว่าหูอื้แ หน้าชา ตาเข เลือดกำเดาออก ผมไม่มี จะมีก็คัดจมูกนิดๆ หน่อยๆ ผมว่าก็เป็นเรื่องธรรมดา"

คนไข้คิดว่าคัดจมูกเป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ตอนนี้ไม่ธรรมดาซะแล้ว มันกลายเป็นมะเร็งไปเรียบร้อยแล้ว

รายที่ 5 แค่ไอแห้งๆ ก็เป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายได้
ปัญหาเรื่องไอก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่ผู้รักษาวินิจฉัยยากว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ บางครั้งแค่รักษาตามอาการ ให้ยาแก้ไอ อาการก็หายดี แต่บางครั้งรักษากันจนเกือบครบโรคของระบบทางเดินหายใจและระบบทางหู คอ จมูกแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร ตั้งแต่หวัด คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม วัณโรค ถุงลมโป่งพอง และสุดท้ายไปจบที่มะเร็งปอด ซึ่งบางรายก็ใช้เวลาหลายปี ส่วนบางรายก็โชคดีเจอเร็วหน่อย ดังกรณีรายนี้

เป็นแม่บ้านวัย 39 ปี ไปตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนด้วยอาการไอแห้งๆ มา 4 เดือน มีไข้หวัดร่วมด้วย รักษาแล้วอาการไอแห้งๆ ก็ยังมีอยู่ ไม่หายขาด ก็ไปอีกรอบหนึ่ง หลังจากรักษาอยู่ 2 เดือน ด้วยอาการเดิม ได้ยามากินอีก อาการก็ยังมีอยู่ ทีนี้จึงเปลี่ยนโรงพยาบาล คนไข้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปอดบวม ก็ได้ยาฆ่าเชื้อ อาการดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายขาด และผลเอกซเรย์ยังคงผิดปกติอยู่ หมอจึงส่องกล้องคีบชิ้นเนื้อมาดู ผลเป็นมะเร็งปอด และไปเอกซเรย์กระดูกก็ปรากฏว่ากระจายไปกระดูกหลายชิ้นแล้ว หมอจึงสรุปว่าเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

รายที่ 6 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองขั้นสุดท้าย แต่มาด้วยอาการแน่นหน้าอก
เป็นนักศึกษาหญิง ปวส.ปีสุดท้าย เธอเล่าให้ฟังว่า "ความจริงตอนแรกที่มีอาการเป็นตั้งแต่เรียนอยู่ปี 1 มันเจ็บแปล๊บๆ น่ะ ไม่ใช่แน่นหน้าอก หนูคิดว่าเป็นโรคหัวใจก็ไปตรวจ แต่ไม่เห็นมีอะไรผิดปกติ อาการก็หายไปเอง พออยู่ๆ ก็มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพิ่งเป็นปีนี้นี่เอง พี่ดูสิ มาเป็นเอาปีสุดท้ายเสียด้วย ตอนนี้หนูก็กำลังสอบ หนังสือก็ทิ้งไปเลย ไม่ได้เรียนแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมจะต้องมาเป็นกับหนูด้วย"

รายนี้ได้เจาะไขกระดูก และในที่สุดหมอสรุปว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย

รายที่ 7 แค่คลำได้ก้อนที่หน้าท้องก็เป็นมะเร็งรังไข่ระยะที่สามแล้ว
เป็นนักเรียนหญิง อายุ 14 ปี เธอเล่าให้ฟังว่า "หนูรู้สึกแน่นๆ ท้องมาเดือนหนึ่งแล้ว แต่ตอนนั้นไม่ได้มีก้อนอะไร เพิ่งมาคลำได้ก้อนเมื่อห้าวันก่อนมาโรงพยาบาลนี่เอง และหนูรู้สึกว่าแน่นท้องมากขึ้นในอาทิตย์นี้ ก็ไปหาหมอ หมอก็ผ่าตัดเลยและบอกว่ามันเป็นเนื้อร้าย"

รายนี้ตอนที่ผ่าตัดก็พบว่าเนื้องอกลุกลามไปตามเยื่อหุ้มหลายแห่งแล้ว และมีน้ำในเยื่อบุช่องท้องด้วย ส่วนประวัติอื่นๆ เช่น การมีประจำเดือน ก็มาตามปกติ ไม่ได้ปวดอย่างผิดปกติใดๆ เดี๋ยวนี้นักเรียนหญิงชั้นมัธยมพบมะเร็งรังไข่กันมากขึ้น และส่วนใหญ่อาการที่มาโรงพยาบาลมักเป็นระยะที่สามแล้วเกือบทั้งนั้น ส่วนระยะที่สี่ก็มีคือลุกลามไปปอดแล้ว

รายที่ 8 ทั้งปวดหัวทั้งไอ กลายเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย
เป็นชายวัย 47 ปี รับราชการครู มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดหัวและไอ อาการที่ปวดหัวนั้นเริ่มจากที่ท้ายทอย แล้วร้าวมาที่ขมับทั้งสองข้าง ปวดตื้อๆ ตลอดเวลา มีไอร่วมด้วย บางครั้งมีเลือดปน ไปหาหมอก็บอกว่าหลอดเลือดที่หลอดลมแตก ส่วนเอกซเรย์ปอดปกติ ได้แต่ยามากิน อาการก็ไม่ดีขึ้น

หนึ่งเดือนผ่านไป ปวดหัวมีมากขึ้น เริ่มมีอาการตึงๆ ที่คอ กินไม่ค่อยได้ รู้สึกกลืนลำบาก และเริ่มมองเห็นภาพไม่ค่อยชัด ตาพร่าๆ ส่วนอาการไอดสมหะปนเลือดยังมีอยู่ จึงไปโรงพยาบาลอีกครั้ง หมอก็ไม่ได้บอกว่าเป็นอะไร ได้แต่เอกซเรย์ปอดสองครั้ง ก็บอกว่าปกติ ได้ยามากินอีกเช่นเคย อาการก็ยังไม่ดีขึ้น

หนึ่งเดือนครึ่งผ่านไป อาการไอเสมหะปนเลือดมีมากขึ้นอีก ไอทุกวัน และเริ่มคลำได้ก้อนที่คอด้ายซ้าย ก้อนแข็งๆ เจ็บเล็กน้อย อีกสิบวันครบสองเดือน คนไข้มีอาเจียนตอนเช้า อาการอื่นคงเดิม เป็นอย่างนี้อยู่สี่วันจึงไปโรงพยาบาลอีกครั้ง แต่เปลี่ยนโรงพยาบาล ก็ทำการตรวจทุกอย่างเอกซเรย์ปอดก็พบผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองที่คอก็จิ้มชิ้นเนื้อไปตรวจ พบเป็นมะเร็ง ส่งเสมหะไปตรวจย้อมดูเซลล์ ก็พบเป็นมะเร็ง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ก็พบเนื้องอก หมอจึงสรุปการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้าย

รายที่ 9 เค้นๆ หน้าอก ในที่สุดก็พบมะเร็งหลอดอาหาร
เป็นพระภิกษุวัย 56 ปี บวชมาได้หนึ่งพรรษา ก่อนหน้านี้เป็นพนักงานขับรถเมล์ระหว่างจังหวัด ทั้งสูบบุหรี่ ทั้งดื่มเหล้า ท่านเล่าให้ฟังว่า "ที่มาโรงพยาบาลในครั้งนี้เพราะกลืนข้าวต้มไม่ลง ส่วนก่อนหน้านี้อาการช่วงแรกเป็น มันรู้สึกเค้นๆ หน้าอกเวลากินข้าว (เค้นๆ หรือที่คนใต้บอกว่าแค้นๆ คืออาการเดียวกัน เป็นอาการที่เวลากินอาหารแล้วรู้สึกกลืนไม่ค่อยลง จะกระจุกอยู่ที่หน้าอก เหมือนกับเวลาที่กินหัวเผือกหัวมันในอัตราที่เร็วเกินไป ก็รู้สึกอาหารผ่านไปได้ลำบาก ต้องดื่มน้ำตาม แล้วยืดคอให้ยาวๆ ถึงจะกลืนได้ลง) หลังจากนั้นพอกินข้าวสวยก็เริ่มติด ต่อมากินข้าวต้มก็ติดอีก กลืนไม่ลง ก็นึกในใจว่าสงสัยอาการไม่ดีแล้วสิท่า จึงมาโรงพยาบาล หมอก็ให้กลืนแป้งกับส่องกล้องเข้าไปดูในหลอดอาหาร ก็บอกว่ามีเนื้องอกเต็มไปหมดแล้ว หมอนัดจะผ่าวันพุธหน้า" ผลจากชิ้นเนื้อก็เป็นมะเร็งหลอดอาหาร และท่านก็ตัดสินใจกลับวัด ไม่ยอมให้ผ่าตัด

นี่เป็นตัวอย่างพอสังเขปที่ยกมาให้ศึกษากัน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ อาการที่พบเหล่านี้ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ และมากขึ้นทุกวัน จากตัวอย่างจะเห็นว่าเป็นการยากมากที่จะพบอาการเริ่มแรกของมะเร็งด้วยตาเปล่าหรือเอามือคลำ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะจุดเริ่มต้นยังอยู่ที่ระดับเซลล์ ต้องคีบชิ้นเนื้อข้างในมาดูกับกล้องขยายจึงจะเห็น ในทางปฏิบัติแล้วทำไม่ค่อยได้ จะได้เฉพาะมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านมเท่านั้น เพราะใช้เครื่องมือง่ายๆ ได้ และเป็นอวัยวะที่ตรวจจากภายนอกได้สะดวก

อย่างไรก็ตาม อยากจะสรุปบทเรียนจากกรณีตัวอย่างนี้ว่า ยิ่งมีข้อจำกัดด้านเครื่องมือและประสบการณ์ของผู้รักษามากเท่าใด เรายิ่งจำเป็นต้องเคร่งครัดในการดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้นเท่านั้น จะผัดวันประกันพรุ่ง หรือมีข้ออ้างโน่นอ้างนี่คงไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ถ้าอยากจะชนะมะเร็งก็ต้องใช้วิธีของมะเร็งคือโจมตีเสียก่อน ก่อนที่มะเร็งจะไหวตัวทันและสร้างป้อมปราการทุกด่านให้แน่นหนา อย่าให้มะเร็งเจาะทะลุเข้ามาได้ด้วยการสร้างภูมิชีวิตให้เข้มแข็ง การปล่อยให้มีอาการแล้วจึงไปรักษานั้น ไม่ว่าอาการมากหรืออาการน้อยก็ตาม เป็นความประมาทและไม่ปลอดภัยอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือไว้ใจไม่ได้เลยสำหรับมะเร็ง ต่อไปนี้เราจะใช้กลยุทธเดิมๆ ที่รอให้พิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งแน่ชัดแล้วจึงลุกขึ้นต่อสู้นั้น กลยุทธ์นี้คงไม่ทันกาลแล้ว และหวังว่าอาการของมะเร็งที่คิดไม่ถึงนี้ คงไม่ทำให้เกิดความกังวลจนหวาดระแวงเกินไปนักนะคะ

อาการของมะเร็ง
มะเร็งหลอดอาหาร
มะเร็งปอดระยะสุดท้าย
มะเร็งปอด
มะเร็งลำไส้
มะเร็งรังไข่
มะเร็งตับ
มะเร็งเต้านม
มีก้อนที่เต้านม