ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ควรรู้เมื่อคิดจะซื้อภาชนะสเตนเลส

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 16:59 น. 07 ม.ค 54

ทีมงานบ้านเรา

บทความคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง สิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้...เมื่อคิดจะซื้อภาชนะสเตนเลส

ในยุคที่ผู้คนตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ  สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคคำนึงถึงคือ  สารเคมีที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยภาชนะที่ใช้ในครัวเรือนที่ต้องมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร สามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปนเปื้อนที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้  ซึ่งในปัจจุบันมีภาชนะให้เลือกใช้มากมายหลายชนิด  เช่น แก้ว เซลามิก เมลามีน อลูมิเนียม และสเตนเลส ซึ่งภาชนะแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและข้อจำกัดในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
   
ดังนั้น การที่ผู้บริโภคจะเลือกใช้ภาชนะที่ต้องมีการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร ควรพิจารณาคุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งในด้านความคงทน ความทนทานต่อความร้อน ทนต่อความเป็นกรดเป็นด่าง  ตลอดจนง่ายต่อการทำความสะอาด  ซึ่งภาชนะ ที่ทำมาจากสเตนเลสเป็นภาชนะที่นิยมใช้อีกชนิดหนึ่ง  เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ตอบสนองต่อความทนทานในด้านต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาอย่างครบถ้วน จึงไม่น่าแปลงใจที่ว่านับวันจะพบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสเตนเลสเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเกรดที่นิยมใช้คือ เกรด 304  แต่ในปัจจุบัน เราจะพบเห็นผลิตภัณฑ์สเตนเลสมากมาย ที่ทำมาจากเกรดที่มีคุณภาพต่ำ เช่น 409L และกลุ่มอนุกรม 200
   
สเตนเลสกลุ่มดังกล่าวนี้มีปริมาณโครเมียมต่ำ จึงส่งผลให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนต่ำหรือเกิดสนิมได้ง่าย  โดยผลการทดสอบความต้านทานการกัดกร่องตามมาตรฐาน ASTM B 117 โดยการฉีดพ่นด้วยสารละลายเกลือ (5%NaCl) ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 500 ชั่วโมง พบว่า สเตนเลสเกรด 409L ประกอบด้วย คาร์บอน 0.005 โครเมียม 11.05 นิกเกิล – แมงกานีส 0.39 และไทเทเนียม 0.29 ,อนุกรม 200 ประกอบด้วย 0.101,15.01,0.95,9.41,- และสเตนเลส เกรด 304  ประกอบด้วย 0.048,18.32,8.10,1.17,- ตามลำดับ
   
เพื่อให้ครอบคลุมถึงสภาวะการใช้งานจริง จึงได้นำช้อนที่ใช้ตักเครื่องปรุงที่ทำมาจากสเตนเลสเกรด 409L          มาทดสอบความทนทานต่อการกัดกร่อง โดยนำมาจุ่มแช่ในน้ำปลาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังการทดสอบพบว่า เกิดสนิมที่บริเวณด้ามช้อน และเมื่อสังเกตที่ปลายช้อนพบว่า เกิดการกัดกร่อนของเนื้อสเตนเลสละลายลงสู่น้ำปลาที่ใช้ทดสอบ ในขณะที่สเตนเลสเกรด 304 ไม่พบการเปลี่ยนแปลงหลังทำการทดสอบ
   
จากผลการทดสอบความต้านทานการกัดกร่อนทั้งตามมาตรฐานและในสภาวะการใช้งานจริง แสดงให้เห็นว่า สเตนเลสเกรด 409L มีความต้านทานต่อการกัดกร่องต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นภาชนะที่ต้องการสัมผัสโดยตรงกับอาหาร ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เมื่อคิดจะเลือกซื้อภาชนะสเตนเลสควรจะต้องพิจารณาถึง เกรด ปริมาณ โครเมียม ตลอดจนข้อจำกัดในการใช้งาน

แต่ในปัจจุบันข้อมูลจากผู้ผลิตที่ระบุอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์ยังไม่เพียงพอ โดยผู้ผลิตนิยมระบุเพียงว่า ทำมาจากสเตนเลสขั้นสูง แต่ในความเป็นจริงอาจใช้สเตนเลสที่มีคุณภาพต่ำ ดังนั้น ฉลากบังคับ ซึ่งกำลังอยู่ในวาระการพิจารณาของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องระบุ เกรด ปริมาณโครเมียม ตลอดจนคำแนะนำ และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการใช้งาน จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับผู้บริโภค เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเมื่อคิดที่จะซื้อผลิตภัณฑ์สเตนเลส
      
***********************************************
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา
ลัคณา  โสภิโต / ผู้เรียบเรียง
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215