ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภาพเก่าเมืองสงขลา

เริ่มโดย Big MaHad, 12:48 น. 24 ม.ค 55

คนเขารูปช้าง

ใช่ครับภาพเจดีย์บนเขาหลังท่าเรือในภาพสี คือเจดีย์บนยอดเขาตังกวนครับ
ส่วนภาพวัดในสงขลาที่คุณ Big MaHad คิดว่าเป็นวัดโพธิ์นั้น ผมคิดว่าไม่ใช่
ผมคิดว่าเป็นวัดสระเกษ อย่างที่คุณคนสงขลา (จบประวัติศาสตร์) ฟันธงไว้ตอนนี้กำลังรวบรวมหลักฐาน
ภาพประกอบอื่นๆมายืนยัน


โตที่สระเกษ ซ.4

ถ้าในภาพเป็นวัดสระเกษจริงๆ ก็ดีน่ะครับ เพราะมีคุณค่าทางจิตใจกับผมมาก เนื่องจากบริเวณโดยรอบเคยวิ่งเล่นมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบา่ลที่โรงเรียนกาญจน์บัว (ร.ร.กาญจน์บัวป็นส่วนหนึ่งของวัดสระเกษ)

โตที่สระเกษ ซ.4

เพิ่มเติมอีกนิดถ้าใช่วัดสระเกษน่้ะครับ เน้นว่าถ้าใช่ ซ้ายและขวาของโบสถ์คือต้นมะขาม

คนเขารูปช้าง

ดีใจครับที่คุณโตที่สระเกษ ซ.4 เข้ามาติดตาม ว่าไปแล้วภรรยาผมเขาจบชั้นประถมจาก รร.ชาญเวช(ไม่ทราบพิมพ์ชื่อ รร.ถูกหรือเปล่า) ในวัดสระเกษนั่นเอง
ขอเริ่มนำหลักฐานมาให้ชมกันครับ คุณJules Claine ถ่ายภาพประมาณปี 1890-1891 พศ.๒๔๓๓- ๒๔๓๔
โบสถ์วัดสระเกษนั้นสร้างในปี๒๔๐๘ ซึ่งมีการบันทึกเป็นลายปูนปั้นไว้บนหน้าจั่วของโบสถ์ ตามรูปปัจจุบันที่ผมถ่ายไว้เมื่อต้นปี ๒๕๕๔ ที่มีงานยกช่อฟ้าวิหารพระนอน
คุณ Jules Claine ถ่ายภาพไว้ประมาณ ๒๘ ปีหลังสร้างโบสถ์ครับ

คนเขารูปช้าง

ลักษณะโครงสร้างของโบสถ์นั้นใช่วัดสระเกษเลยครับ เมื่อเรามาซูมดูภาพที่คุณJules Claine ถ่ายไว้ และเทียบกับภาพปัจจุบันที่ผมถ่าย คือ หลังคาโบสถ์มีช่อฟ้า ๓ ชั้น และมีข่องด้านหน้าและหลังโบสถ์ ๖ ช่อง
(ตามภาพประกอบ) แต่ติดตรงที่หอระฆังด้านซ้ายของถาพเก่านั้นไม่เหมือนกับในปัจจุบัน
ซึ่งผมคิดว่ามีการรื้อและสร้างหอระฆังใหม่ครับ

โตที่สระเกษ ซ.4

ใช่ครับที่แปลกไปเมื่อเทียบกับปัจจุบันคือหอระฆัง แต่ต้นไม้ที่อยู่ใกล้กันยังมีอยู่แต่ไม่รู้จะใช่ต้นเดียวกันหรือไม่ ต้นนั้นคือต้นสารภี

คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพหอระฆังวัดสระเกษสงขลาปัจจุบัน ที่ผมคิดว่ามีการรื้อและสร้างใหม่มาให้ชมกันเริ่มจากภาพเก่าสุดที่หาได้
ถ่ายก่อนปี ๒๕๐๐ ไม่นานนัก เจ้านาคในภาพท่านคือคุณพ่อผมซึ่งท่านได้บวชที่วัดสระเกษ
ส่วนจะมีการรื้อสร้างหอระฆังใหม่หรือไม่ต้องรอคำยืนยันจาก คนเก่าแก่ใกล้วัดสระเกษแล้วละครับ

คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพหอระฆังในปัจจุบันของวัดสระเกษมาให้ชมกันครับ
ผมได้ถ่ายไว้เมื่อต้นปี ๒๕๕๔ เช่นกันครับ เมื่อซูมดูภาพบริเวณไหล่ขวาองค์พระ
จะเห็นว่าที่หอระฆังปัจจุบันสร้างในปี ๒๔๘๑ ก่อนคุณพ่อผมบวชประมาณ ๑๐ กว่าปีเองครับ
ทำให้ผมคิดว่ามีการื้อและสร้างหอระฆังใหม่

mix99

ขอบคุณครับที่เสน่ห์  ของกิมหยงกลับมาสู่  อายดินถิ่นเดิมอีกแล้วครับ
ขอบคุณทุกๆความเห็นที่ทำเพื่อ สงขลาฝั่งนที  กลิ่นสารภี..........

Big MaHad

เรียนถามคุณพี่คนเขารูปช้างเพิ่มเติมครับ ไม่ทราบว่าทราบได้อย่างไรครับว่าภาพในชุดนี้ถ่ายเมื่อปี1830-1831 (พศ.๒๔๓๓-๒๔๓๔) เพราะจากข้อมูลในเวบบอกว่า นาย Jules Claine ผู้ชักภาพชุดนี้มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1856 และนั่นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าภาพนี้จะถ่ายก่อนปี 1856 ครับผม และจากข้อมูลในเว็บได้บอกไว้ว่า Date of Publication ในปี 1890-1891 นั่นก็หมายความว่า จะอย่างไรเสีย ภาพชุดนี้มีโอกาสถูกถ่ายขึ้นในช่วงปี 1856 (ปีที่ช่างภาพเกิด ซึ่งคงยังถ่ายรูปไม่ได้แน่ๆเพราะเพิ่งเกิด บวกไปให้อีกสัก 12 ปีครับ เป็นปี1868 เผื่อแกตามพ่อมาเที่ยวสงขลา หุหุ) ถึงปี 1891 (ปีที่มีการตีพิมพ์) ครับ


และขอบคุณมากครับทุกท่านที่ช่วยๆกัน แล้วไม่ทราบว่ามีภาพในมุมเดียวกับตัวภาพเก่าไหมครับ เจดีย์ในภาพในปัจจุบันนี้ยังมีสภาพเป็นเช่นไรครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

จริงด้วยครับผมลืมดูให้ละเอียด ความตั้งใจว่าจะอนุมานว่าถ่ายในปีDate of Publication ในปี 1890-1891
แต่เอามาปนกับเลขสองตัวหลังของปีที่ Dr.Baum ออกเดินทางและถ่ายภาพในย่านนี้ครับ ขอบคุณมากครับที่ทักท้วง

จะลองเข้าไปแก้ที่ผมพิมพ์ไว้เดิม ขอแก้ตัวโดยการนำภาพโบสถ์วัดสระเกษในปัจจุบันมาให้ชมเพิ่ม
จะเห็นว่าไม่มีเจดีย์เก่าและซุ้มประตูที่เห็นในภาพเก่าที่คุณ Jules Claine ได่ถ่ายไว้เลย
ภาพนี้ถ่ายจากบนหอระฆังในปัจจุบันที่สร้างในปี๒๔๘๑ครับ

คนเขารูปช้าง

เมื่อผมลองไปค้นภาพเก่าๆเท่าที่มีอยู่ ไปเจอภาพถ่ายทางอากาศของเมืองสงขลาที่กรมแผนที่ทหารได่ถ่ายไว้เมื่อปี ๒๕๑๗ เอามาตัดส่วนดูบริเวณวัดสระเกษ จะเห็นว่าเจดีย์เก่า ซุ้มประตูหน้าโบสถ์ที่คุณ Jules Claine ได่ถ่ายไว้
หายไปหมดแล้ว กลายเป็นบริเวณโล่งๆหน้าโบสถ์ครับ และจะเห็นหอระฆังที่สร้างในปี ๒๔๘๑(ที่ผมขึ้นไปยืนถ่าย
รูปที่ลงก่อนนี้)

คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพทางอากาศของวัดสระเกษที่ผมได้ลงมุมมองการถ่ายภาพของคุณ Jules Claine  ไว้
และระบุตำแหน่งของหอระฆัง๒๔๘๑ ที่ผมขึ้นไปยืนถ่ายภาพไว้

คนเขารูปช้าง

ส่วนซุ้มทางขึ้นไปเดินรอบองค์พระเจดีย์หลวงบนเขาตังกวนนั้น หลังมีการบูรณะใหม่รายละเอียดการตกแต่ง
เช่น ช่อฟ้า ลายปูนปั้นบนจั่ว ของเดิมหายไปหมดเลยครับ ขอนำภาพที่ผมถ่ายไว้หลังการบูรณะเสร็จ
ใหม่ๆมาให้ชมกันครับ
ซุ้มจะมีทั้งด้านหน้าและหลังขององค์พระเจดีย์ และมีเก๋งอยู่ทั้ง ๔ มุมรอบองค์พระเจดีย์

ด้านหน้า

คนเขารูปช้าง

ด้านหลังองค์พระเจดีย์ มีประภาคารไฟสำหรับการหาตำแหน่งของชาวเรือครับ

Big MaHad

ในที่สุดผมก็หามาได้แล้วครับว่า Mr.Jules Claine  มาแถบนี้เมื่อปีใด คำตอบคือ ท่านมาในช่วงปี 1889-1890 ครับและหลังจากที่กลับไปแล้ว ก็ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวที่เดินทางมาแถบนี้ ชื่อว่า Un An En Malaisie 1880-1890 ครับ แปลว่า หนึ่งปีในมาเลย์เซียนั่นเอง โดยหนังสือนี้คงออกตีพิมพ์ในปี 1890-1891 ตามที่ได้กล่าวกันไปแล้วครับในเวบรูปถ่ายที่ได้มา...หายข้องใจไปเปลาะนึงแล้ว อิอิ ซึ่งหนังสือเล่มนี้สามารถอ่านได้ครับที่ http://ebooks.library.cornell.edu/cgi/t/text/pageviewer-idx?c=sea&cc=sea&idno=seaA22&view=image&seq=1&size=100 เป็นหนังสือดิจิตอล แต่เป็นภาษาฝรั่งเสษนี่แหละคัรบที่ลำบาก จะก๊อบมาแปะก็ยากเพราะแสกนเป็นรูปครับ

แต่สามารถปริ้นออกมาได้นะคัรบ ท่านใดอ่านภาษาฝรั่งเศษได้น่าจะแปลไว้นะครับ คงมีข้อมูลเด็ดๆ อยู่บ้าง

นอกจากนี้ยังมีภาพสเกตอีกที่มาจากต้นฉบับบที่เป็นภาพวาดครับ แต่พึงระวังนะครับ เพราะช่างแกะบล๊อกพิมพ์ อาจจะเติมรูปอื่นไปตามจินตนาการได้ครับ เป็นเรื่องปกติในยุดสมัยนั้น แต่ข้อดีคือลาายเส้นที่คมชัด

งั้นมาดูหน้าปกที่ไขปริศนานี้เลยครับ

อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

ก่อนอื่นมาดูรูปบุคคลท่านนี้ก่อนครับ Monsieur Jules Claine  หนวดงามเชียวครับอิอิ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

ส่วนนี่คงเป็นแผนที่ในกาเดินทางครับจากปีนัง ไปสงขลา มาช่วยแกะกันหน่อย
ผมแกะออกแค่l 3 ที่ คือ de Kow Deng เขาแดง, Ban Si-daw บ้านสะเดา และ Ban char-Loon บ้านจังโหลนครับ

ส่วนที่เหลือคิดไม่ออกครับ Watt de klong-neh วัดอะไรแน่ๆเลย
                               Nah-Hoi  (คงไม่ใช่หน้าหอนะครับ อิอิ) หรือจะน้ำน้อย ?
                               ฺBan Kan-na บ้านคันนา

เส้นทางนี้จะเป็นถนนไทบุรี กาญจนวาณิชย์ หรือเปล่าครับ ถ้าใช่คงหาชื่อสถานที่ในแผนที่นี้ไม่ยาก
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

ภาพเจ้าเมืองสงขลาครับ ในปีที่ Monsieur Jules Claine เข้ามาสงขลาในขณะนั้นตรงกับปี 1890 (พ.ศ.2433) ผู้ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสงขลาตอนนั้นคือ พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา เกิด : 4 มี.ค. 2397 สิ้นชีวิต : 4 พ.ย. 2447) เจ้าเมืองคนสุดท้ายของเมืองสงขลาก่อนเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองหัวเมือง ซึ่งท่านได้รับราชการในช่วงปี 2431-2444 ครับ ดังนั้นตอนที่ M.Jules Claine เข้ามานัน้ ท่านเจ้าเมืองมีอายุ 36 ปีครับ ยังคงหนุ่มแน่น ดังในภาพวาด ท่านเจ้าเมืองสิ้นชีวิตขณะมีอายุได้ 50 ปีครับ

ภาพนี้คงต้องมีภาพต้นฉบับภาพถ่ายอยู่ ไม่ทราบว่ามีตกทอดในตระกูล ณ สงขลาหรือไม่ครับ

ผมลองไปหาในเนตพบภาพของท่านในหนังสือพระราชทานเพลิงศพของท่าน พิมพ์ปี 2482 ครับ ลองเทียบภาพดูก็ดูเค้าหน้าใกล้เคียงกันครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

หม่องวิน มอไซ

เพิ่งได้เข้ามาในกระทู้ครับ ไปงานพืชสวนโลกที่เชียงใหม่หลายวันครับคุณ Big MaHad
เห็นภาพแล้วตื่นตาตื่นใจมากครับ ต้องรวมพลกันวิเคราะห์อีกแล้ว  ส-ดีใจ
บรรยากาศเดิม ๆ ของเว็บกิมหยงกลับมาจริง ๆ ด้วย

Watt de klong-neh นี่ ใช่ คลองแงะ หรือเปล่าหนอ...

Big MaHad

ภาพนี้ตื่นตามากครับ เพราะไม่มีต้นฉบับรูปถ่ายที่โพสต์ไว้คราก่อน ศาลาวิหารแดงเชิงเขาตังกวนเลยครับนี่
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

วัดสระเกษแบบลายเส้นครับ หอระฆังดูแปลกตา
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต