ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภาพเก่าเมืองสงขลา

เริ่มโดย Big MaHad, 12:48 น. 24 ม.ค 55

Big MaHad

ภาพนี้ช่างแกะบล๊อกคงเพิ่มภาพช้าง เขาตังกวนข้างหลัง และขบวนพระสงฆ์ เข้ามาจากต้นฉบับบครับ คงเห็นว่าเมืองสงขลาวัดเยอะแน่ๆเลยครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

ส่วนนี่เป็นรูปอื่นๆครับ ก็คัดลอกมาจากต้นฉบับบภาพวาดนั่นเอง
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Big MaHad

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 20:01 น.  29 ม.ค 55
ส่วนซุ้มทางขึ้นไปเดินรอบองค์พระเจดีย์หลวงบนเขาตังกวนนั้น หลังมีการบูรณะใหม่รายละเอียดการตกแต่ง
เช่น ช่อฟ้า ลายปูนปั้นบนจั่ว ของเดิมหายไปหมดเลยครับ ขอนำภาพที่ผมถ่ายไว้หลังการบูรณะเสร็จ
ใหม่ๆมาให้ชมกันครับ
ซุ้มจะมีทั้งด้านหน้าและหลังขององค์พระเจดีย์ และมีเก๋งอยู่ทั้ง ๔ มุมรอบองค์พระเจดีย์

ด้านหน้า

้ได้รับการบูรณะเมื่อปีไหนครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

Computer parts.

ภาพเกาๆๆสวยๆๆทั้งแพ ชอบครับ

คนเขารูปช้าง

การบูรณะพระเจดีย์หลวงบนเขาตังกวนนั้น คิดว่าค้นจากบันทึกของกรมศิลปฯจะแน่นอนกว่าครับ
ถ้าดูที่ซองฟิลม์ขาวดำที่ผมถ่ายและล้างฟิลม์เอง ก็จะเป็นหลังจากบูรณะเสร็จแล้วไม่นานนัก

การที่คุณ Big MaHad ได้ภาพลายเส้นมานี้นับว่ามีคุณค่ามากเลยครับ ทำให้ผมได้ความคิดว่า
ภาพนอกกำแพงเมืองน่าจะเป็นบริเวณไหนของสงขลา
ผมกลับคิดว่าการที่ช่างแกะบล็อกเพิ่มภาพ พระ ช้าง และเขาตังกวนเขาไปในภาพพิมพ์ลายเส้น
อาจเป็นไปตามคำบอกเล่าของ Monsieur Jules Claine ก็ได้นะครับ เพราะกระจกและน้ำยาถ่ายภาพ
ในยุคแรกมีความไวต่อแสงค่อนข้างต่ำ และมีค่าการบันทึกรายละเอียดในส่วนที่มืดและสว่างต่างกันมากๆไม่ค่อยได้ครับ
การเปลี่ยนกระจกที่ฉาบน้ำยาไวแสงก็ใช้ผ้าดำคลุมและใช้เวลาพอสมควร ภาพความประทับใจของMonsieur Jules Claine ได้ผ่านไปแล้ว ขบวนพระและช้างไปเลยไป เมื่อล้างกระจกออกมาเขาไม่เห็นเขาตังกวนเป็นฉากหลัง
ตามที่ตามองเห็น จึงบอกให้ช่างแกะบล็อกเพิ่มเข้าไปตามที่เห็นจริง
โอ้ถ้าเป็นจริงแบบว่าก็เข้าทางที่ผมคิดเลยครับ โปรดติดตามต่อไปว่าผมคิดว่าเป็นส่วนไหนของสงขลาครับ

คนเขารูปช้าง

ขอเริ่มที่ภาพผังเมืองโบราณสงขลาครับ
จะเห็นว่าแนวกำแพง(ด้านตะวันตก)เลียบริมทะเลสาบขึ้นไปทางทิศเหนือแลัวหักมุมไปทางตะวันออก
ที่บริเวณที่ทำการโทรศัพท์ในปัจจุบันไปตามถนนจะนะ จนถึงถนนรามวิถี บรเวณที่เคยเป็นหอนาฬิกา
แล้วไปทางใต้ตามแนวถนนรามวิถี ไปจนถึงหัวมุมวัดโพธิ์ แล้วลงไปทางทิศตะวันตก ขนานกับทางรถไฟ
ที่ลงไปยังท่าสะพานเหล็กครบรอบที่ริมทะเลสาบ

คนเขารูปช้าง

ถัดมาขอนำภาพเก่าคาดว่าถ่ายประมาณ ๒๕๐๐ ถ่ายขบวนแห่ศพบนถนนรามวิถีกำลังผ่านหน้า
หอสมุดประชาชนเก่า(หลังสถานีรถไฟสงขลา) บริเวณที่ถ่ายน่าจะเป็นสะพานข้ามคลองขวางใกล้มุมที่ทำการป่าไม้
ขบวนมุ่งไปทางใต้ ฉากหลังจะเห็นเขาตังกวนชัดเจน ซึ่งเขาตังกวนอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือครับ
มุมถ่ายภาพนี้ผมว่าใกล้เคียงกับที่ Monsieur Jules Claine ถ่ายมาก แต่ Monsieur Jules Claine
ถ่ายนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออกไปทางทิศใต้มากกว่า

คนเขารูปช้าง

ต่อมาขอนำแผนที่เก่าสงขลา ๒๔๗๘(ตัดส่วนมา) ยังเห็นแนวกำแพงด้านเหนือยังเหลืออยู่เกือบถึงบริเวณ
ที่เคยเป็นหอนาฬิกา ส่วนแนวกำแพงด้านตะวันออกโดนรื้อกลายเป็นถนนรามวิถีไปนานแล้ว
จุสีส้มคือบริเวณที่เคยเป็นหอนาฬิกา

คนเขารูปช้าง

ภาพนี้แสดงถึงมุมมองการถ่ายภาพของ Monsieur Jules Claine ตรงนอกมุมที่กำแพงด้านตะวันออกและด้านใต้มาเจอกันตรงป้อมพิฆาตข้าศึกและบริเวณหลังป้อมนี้คือวัดโพธิ์เลยครับ

คนเขารูปช้าง

ขอนำภาพทางอากาศที่ผมลงเส้นแนวกำแพง
และมุมถ่ายภาพของMonsieur Jules Claine มาให้ชมกันครับ

คนเขารูปช้าง

ขอสรุปด้วยภาพลายเส้นของ Monsieur Jules Claine
ที่ผมคิดว่าเขาให้ช่างแกะบล็อก เพิ่มรายละเอียดที่เขาเห็นแต่ไม่สามารถถ่ายได้ดังใจครับ
ผมได้เขียนคำอธิบายเพิ่มไว้ในภาพ

Big MaHad

สุดยอดเลยครับกับการวิเคราะห์ของพี่คนเขารูปช้าง ได้ข้อสรุปเสียทีว่าภาพนี้เป็นประตูไหน ขอขอบคุณอีกครั้งครับ แต่ยังไงก็ยังเหลือรูปประจูเมืองรูปอื่นๆที่รอการหาคำตอบอยู่นะคับ   ส-ดีใจ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

เมือคืนผมได้นั่งดูภาพที่ Monsieur Jules Claine ถ่ายอย่างละเอียดอีกและได้ความคิดเพิ่มเติม
เกี่ยวกับรูปที่ถ่ายเห็นผู้คนยืนอยู่หน้าบ้านเรือนมุงจาก ด้านขวาของภาพเห็นกำแพงเมือง
เห็นซุ้มบนประตูเมือง และทิวเขาตังกวนค่อนไปทางซ้ายตอนบน(ตามความเข้าใจของผม อาจไม่ถูกก็ได้ครับ)
ภาพทิวเขาเจือจางมาก อาจเนื่องจากน้ำยาไวแสงที่ใช้ฉาบบนกระจกในสมัยนั้นไม่สามารถเก็บรายละเอียด
ของส่วนมืดและสว่างได้ดีนัก คิดว่าเป็นเหตุให้ Monsieur Jules Claine บอกให้ช่างทำบล็อกเพิ่มเข้าไป
ในภาพที่ถ่ายนอกกำแพงเมืองตรงมุมตะวันออกเฉียงใต้ในภาพลายเส้น
ตามรูปที่ผมขยายมาและลงเส้นทิวเขาตังกวนสีฟ้าสด
และเส้นช่องบนกำแพงสีส้ม

คนเขารูปช้าง

ลักษณะของกำแพงเมืองสงขลานั้น ด้านในมีชานให้คนเดินตรวจการณ์มองอกไปด้านอกได้ครับ
ตามรูปประกอบกำแพงที่ถนนจะนะขณะบูรณะ
ดังนั้นผมจึงคิดว่าเป็นการถ่ายภาพด้านในกำแพงเมืองด้านตะวันออก(ตามแนวถนนรามวิถี)
โดย Monsieur Jules Claine หันไปทางเหนือ ซึ่งเขาตังกวนอยู่นอกกำแพงทางเหนือ(ถ้าผมคิดไม่ผิดว่าที่ลงเส้นสีน้ำเงินไว้เป็นเขาตังกวน)

คนเขารูปช้าง

อีกเหตุผลหนึ่งที่คิดว่าเป็นด้านในกำแพง คือจะเห็นช่องกำแพงหักมุมเหลี่ยมเลย
ส่วนด้านนอกกำแพงจะปาดตรงมุมช่องครับ ตามรูปขณะกำลังบูรณะ

คราวนี้มาดูว่าถ้าถ่ายภาพในกำแพงด้านตะวันออกและเห็นทิวเขาตังกวนและซุ้มบนประตูที่กำแพงจะมีจุดไหนบ้างที่จะให้มุมภาพเช่นนี้ผมคิกว่าเป็นไปได้ ๒ จุดครับ

คนเขารูปช้าง

ตามรูปแผนที่สงขลาเมื่อ พศ๒๔๗๘ ที่ผมลงเส้นไว้
ผมคิดว่าน่าจะเป็นประตูบูรพาภิบาลมากกว่าประตูสนามสงครามครับ

ประตูบูรพาภิบาลลงจุดสีน้ำตาล

ประตูสนามสงครามลงจุดสีเขียว

สีเหลืองคือแนวกำแพงเมือง

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผมคิดว่าทิวเขาตังกวนคือ ความลาดด้านซ้ายเมื่อเลยภาพที่ตัดส่วนออกไปทางซ้ายจะลาดชันน้อยกว่าด้านขวา ซึ่งสอดคล้องกับเส้นความชันของเขาตังกวนในแผนที่ ๒๔๗๘

คนเขารูปช้าง

ถ้าผมคิดไม่ผิดว่า Monsieur Jules Claine ถ่ายภาพชุมชนใกล้วัดโพธิ์(ใกล้ประตูบูรพาภิบาล)
รูปประตูที่ชัดเจนอีกรูปหนึ่งน่าจะเป็นประตูบูรพาภิบาล ดังภาพ

ประกอบกับลักษณะแสงเงาก็สอดคล้องกันครับ คือแสงอยู่หลังคนถ่ายและเกือบจะเหนือหัว
(สังเกตุจากเงาซุ้มบนประตูที่ตกบนลูกกรงเหนือประตู)
และคนถ่ายหันไปทางทิศตะวันตก ส่วนภาพที่มีคนยืนอยู่ข้างป้อมพิฆาตข้าศึก(และในภาพลายเส้น
เพิ่ม พระ ช้าง เขาตังกวน)ถ่ายโดยหันไปทางเหนือเฉียงตะวันตกเล็กน้อย

ประกอบกับผู้ถ่ายสามารถถอยไปถ่ายเห็นได้กว้างทั้งประตูและกำแพงสองข้างแสดงว่าหน้าประตู
บูรพาภิบาลเป็นที่โล่งกว้างสอดคล้องกับภาพลายเส้นที่เห็น พระ คน ช้าง เห็นโล่งไปถึงทิวเขาตังกวนครับ

Big MaHad

แต่จากภาพกำแพงเมืองที่มีบ้านหลังคามุงจากจำนวนมากนัน้ รายละเอียดของภาพในเวบระบุไว้ชัดเจนนะครับว่าเป็นหมู่บ้านชาวประมง นอกกำแพงเมือง ครับ แต่อย่างไรก็ตามหลักฐานทุกอย่างมีโอกาสผิดพลาดได้ครับ ด้วยเป็นภาพที่ค่อนข้างนานแล้ว

ยังไงก็ขอขอบคุณพี่คนเขารูปช้างมากๆนะคัรบ ที่เข้ามาช่วยวิเคราะห์ภาพกัน นับว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจมากๆครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

คุณ Big MaHad ครับ ที่เสนอว่าเป็นการถ่ายภาพในกำแพงเมืองเป็นความคิดของผมที่แว๊บขึ้นมาเองครับ
หลังจากนั่งมึนอยู่นาน ว่าถ้าถ่ายภาพนอกกำแพงเมืองแล้วเห็นเขาตังกวนอยู่เหนือหลังคามุงจาก
อาจเริ่มผิดตั้งแต่คิดว่าเป็นเขาตังกวนครับ เพราะไม่เหมือนกับในรูปที่ถ่ายนอกกำแพงเมืองมุมตะวันออกฉียงใต้
และเห็น พระ ช้าง และเขาตังกวนเพิ่มขึ้นในรูปพิมพ์จากบล็อกต่อมา คล้ายเราได้รับคำบอกเล่าจาก Monsieur Jules Claine โดยตรงว่าที่เขาเห็นจริงๆ มี พระ ช้าง และเขาที่มีเจดย์บนยอดด้วย

เมื่อผมเริ่มคิดว่าที่เห็นจางๆเหนือหลังคามุงจากเป็นเขาตังกวน อาจเป็นจุดที่ทำให้เริ่มเดินผิดทางก็ได้ครับ
เพราะจิตเรามักจะไม่ค่อยเห็นสิ่งต่างตามสภาพที่มันเป็นจริง โดนปรุงแต่งด้วยประสพการณ์ ความเชื่อ ฯ อยู่เสมอ

ผมว่าเราน่าจะต้องขอแรงท่านผู้รู้ภาษาฝรั่งเศส แปลการเดินทาง คำบอกเล่าในการเดินทางของ Monsieur Jules Claine โดยละเอียด ผมว่าเมื่อเราได้อ่านแล้วก็จะช่วยกันวิเคราะห์ภาพถ่ายในการเดินทางได้ดีขึ้นมากนะครับ

เรื่องหมู่บ้านชาวประมงนอกกำแพงเมืองนั้น เท่าที่ผมทราบมีตรงแหลมสนอ่อน บริเวณหลังด่านกรมศุลฯ (ในแผนที่
๒๔๗๘ ก็ไม่ได้ระบุไว้) ไม่ทราบว่าเริ่มมีเมื่อใด เพียงแต่ทราบว่าทางการให้ย้ายไปอยู่เก้าเส้ง เมื่อท่านจอมพลผ้าข้าวม้าแดงมาตรวจราชการภาคใต้และเจอสิ่งไม่ประทับใจ

Singoraman

"คนเขารูปช้าง" และปรมาจาย์ "หม่องวินฯ" พร้อมด้วยสมาชิกกระทู้แต่แรกฯ  ตัวจริงเสียงจริงมาแล้ว
สำหรับผมช่วงนี้ขอลาป่วย ขอเป็นผู้ชม  สักระยะครับ
ขอบคุณจริง ๆ  ครับ

หม่องวิน มอไซ

ท่านอาจารย์ Singoraman ขอให้สุขภาพแข็งแรง หายป่วยโดยเร็วนะครับ
ผมเองยังไม่ได้ช่วยวิเคราะห์แต่อย่างใดเลย แต่ติดตามผลงานของพี่คนเขารูปช้าง เข้ามาอ่านอยู่ทุกวันครับ
พอดีช่วงนี้ภารกิจรัดตัวครับ

ขอบคุณคุณ Big Mahad มากครับสำหรับกระทู้ น่าสนใจมากครับ

คนเขารูปช้าง

อาจารย์ Singoraman ครับขอให้หายป่วยเร็วๆนะครับ ช่วง ๒-๓ วันนี้ผมอาจไม่ได้เข้ามาบ้าง
เนื่องจากที่ทำงานเขาให้มาอบรมที่กรุงเทพฯ ถึงวันที่ ๖กพ.นี้ แต่ก็ยังเข้าติดตามอ่านอยู่ครับ
แต่อาจไม่ค่อยมีเวลาค้นรูปมาเปรียบเทียบ แต่ก็ยังจะไม่หายไปไหน
อจ.หม่องสบายดีอยู่นะครับส่วนผมสบายดี