ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ภาพเก่าเมืองสงขลา

เริ่มโดย Big MaHad, 12:48 น. 24 ม.ค 55

หม่องวิน มอไซ

ผมสบายดีเหมือนเดิมครับพี่คนเขารูปช้าง ขอบคุณมากครับ
มายืนยันว่ายังไม่หายไปไหนครับ  ส-ดีใจ

Singoraman

ช่วงเดือนมีนาคม เทศบาลสงขลา จะจัดงาน "3ปี ถนนคนเดิน" มีคิวให้ผมนำเสนอภาพเก่าข้างกำแพง
ยังไง ๆ อาจจะนำภาพชุดนี้ไปเป็นโจทย์ในการเสวนา คงสนุกและได้พบหน้ากันอีกสักรอบนะครับ
ส่วนภาพวัด ผมเองยังไม่ทิ้งวัดโพธิ์ ศาลาหัวยาง และ วัดโรงวาส ครับ

พี่



ขอตั้งข้อสังเกต

จากภาพนี้ ช่วงเวลาที่ถ่ายภาพ น่าจะเป็นช่วงเช้า เพราะตำแหน่งเงาของผู้คนทอดยาวไปทางขวามือทำมุมกับดวงอาทิตย์ในแนวเฉียงกับตัวโบสถ์
ถ้าเป็นช่วงบ่าย ทิศทางของเงาจะค่อนไปทางซ้ายมือ  ตามลักษณะขึ้นลงของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏในเขตตัวเมืองสงขลา

ถ้าภาพนี้ถ่ายตอนเช้า และโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ก็จะสอดคล้องกับวัดศาลาหัวยาง ???

หม่องวิน มอไซ

ประเด็นเรื่องแสงเงา น่าสนใจมากครับท่าน"พี่"

แต่มีข้อสังเกตว่า ภาพถ่ายของ ดร.บอม ที่วิเคราะห์ยืนยันได้ 100% ว่าเป็นวัดศาลาหัวยางนั้น คือ ภาพนี้ครับ



จะเห็นว่าลักษณะอาคาร และบริบทรอบ ๆ แตกต่างจากภาพปริศนา

ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพของ ดร.บอม ได้ที่นี่ครับ
http://gimyong.com/talung/index.php?topic=10369.35

แฟนเก่าชื่อส้ม

ภูมิใจจัง ที่เมืองบ่อยาง มีความหลังมีความสำคัญมากมาย
ก่อนตายคุณอยากอยู่กับใครเป็นคนสุดท้าย

จอมยุทธร้อยลี้

อ้างจาก: Big MaHad เมื่อ 12:55 น.  24 ม.ค 55
ภาพนี้คือวัดอะไรครับในเมืองสงขลา ?
ภาพนี้น่าจะเป็นวัดแจ้งครับ 

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวต้องหาภาพวัดแจ้งมาดูเปรียบเทียบแล้วครับ

วัดโพธิ์ ก็คล้าย ๆ ครับ ลองดูภาพของ ดร.บอม เจดีย์หน้าโบสถ์คล้าย ๆ กับในภาพปริศนาเลยครับ
http://www.baum.com.au/Dr_J_Baum/archiv_foto/small/23/23176-Siam,_chram_Vat_Poh,_Singora,_8.VII.1929.jpg

ภาพของ ดร.บอม แต่รู้สึกว่าภาพในลิงค์ข้างบนนี้มีปัญหาถ่ายภาพซ้อนกับภาพอื่นครับ

หม่องวิน มอไซ

ข้อมูลเกี่ยวกับวัดแจ้ง เพื่อประกอบการวิเคราะห์ครับ
http://gimyong.com/talung/index.php?topic=17548.70

คนชาย

น่าจะบอกอะไรได้นิดหน่อยจาก
http://www.skru-slb.com/slb2/gis/temples/songkhla/a_mueang_songkhla/9001012008/9001012008_ortho.htm

อุโบสถ ๑ หลัง กว้าง ๑๒.๑๙ เมตร ยาว ๒๐.๔๙ เมตร โครงสร้างอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมไทย หลังคาทรงไทยชั้นเดียว มุงกระเบื้องเคลือบดินเผาสีแดง สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยพระยาศรีสมบัติจางวาง (บุญชิ้น ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ซึ่งเป็นบุตรของพระยาศรีสมบัติจางวาง (บุญชิ้น ณ สงขลา) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถหลังนี้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ สิ้นเงิน ๓๖๑ เหรียญ เป็นครั้งที่ ๑

หอระฆัง ๑ หลัง กว้าง ๔.๒๕ เมตร สูง ๕.๑๙ เมตร ลักษณะสถาปัตยกรรมจีนผสมยุโรปก่ออิฐถือปูน

เจดีย์ ๓ เจดีย์ ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ เจดีย์องค์กลางเป็นองค์ประธานมีกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมล้อมรอบ ๒ ชั้น เป็น ๒ ระดับ กำแพงแก้วชั้นในสูงกว่าชั้นนอกมีประตูเข้าทั้ง ๔ ด้าน และแต่ละด้านมีบันไดขึ้น-ลง ๕ ขั้น ใช้กระเบื้องเคลือบสีเขียวลายโปร่งแบบศิลปะจีนประดับในช่องของกำแพงแก้ว บันไดทุกด้านขึ้นถึงฐานเจดีย์ได้ รูปทรงเจดีย์องค์ประธานเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ซึ่งเป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น องค์เจดีย์เป็นรูประฆังคว่ำบนฐานเป็นบัวกลุ่ม เหนือองค์ระฆังมีบัลลังก์ เสาและซุ้มมี ๑๒ ช่อง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๑๒ องค์ เหนือบัลลังก์ขึ้นไปมีบัวกลุ่มซ้อมกันเป็น ๓ ชั้น ทำเป็นปล้องไฉนแล้วถึงปลียอดและหยาดน้ำค้างหรือลูกแก้ว ส่วนฐานทำเป็นย่อมุมสิบสองลดหลั่นกันลงมา มี ๓ ชั้น ส่วนกำแพงแก้วทำเป็นสี่เหลี่ยมทั้ง ๒ ระดับ ไม่มีการย่อมุม พ.ศ.๒๕๓๕ พระครูปราโมทย์โพธิคุณพร้อมด้วยคณะพุทธบริษัทได้บูรณะปฏิสังขรณ์"







ติดตาม  และ  ชื่นชม  ทุกท่านผู้รู้ครับ

หม่องวิน มอไซ

โห สุดยอดมากครับ  ส.ยกน้ิวให้

เป็นวัดโพธิ์ปฐมาวาสจริง ๆ ครับ ในที่สุดก็ไขปริศนาได้ ขอบคุณท่าน"คนชาย"มาก ๆ ครับ
ชัดเจนทั้งหอระฆัง ทั้งเจดีย์เลยครับ งานนี้


หม่องวิน มอไซ

แสดงว่าภาพปริศนานี้ ถ่ายในช่วงบ่ายที่ดวงอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันตกแล้ว
ตากล้องถ่ายจากถนนไทรบุรี หันหลังให้ทะเลสาบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่โบสถ์นะครับ

สำหรับศาลาการเปรียญ ที่อยู่ทางทิศเหนือของอุโบสถ (ทางซ้ายมือของอุโบสถในภาพ) อาจจะสร้างในภายหลังก็ได้นะครับ เพราะมองไม่เห็นในภาพ หรือหอระฆังกับต้นไม้บังก็ได้ ไม่แน่ใจครับ

ในแผนที่เทศบาลเมืองสงขลา 2478 ไม่มีศาลาการเปรียญครับ มีแต่อุโบสถ

คนชาย

เห็นคล้ายๆ  แว๊บๆอยู่ในกรอบนะครับ  ไม่แน่ใจว่าเป็น ศาลาการเปรียญ หรือเปล่า



ช่วยวิเคราะห์หน่อยครับ  ผมไม่แม่นเรื่อง พ.ศ.


พี่

ขอบคุณ คุณ"คนชาย" และทุกท่านที่ช่วยให้ความกระจ่างเรื่องภาพวัดโพธิ์

เอาภาพลายเส้นมาดูเปรียบเทียบกันอีกครั้ง ที่คุณ"คนชาย" บอกว่า
...เห็นคล้ายๆ  แว๊บๆอยู่ในกรอบนะครับ  ไม่แน่ใจว่าเป็น ศาลาการเปรียญ หรือเปล่า ...




Big MaHad

สุดยอดมากเลยครับทุกท่าน ขอชื่นชมจริงๆครับ ตัวกระผมนั้นถนัดแต่ตั้งโจทย์ และหาคำถามมาถาม แต่แก้ไม่ค่อยจะถูกครับ อิอิ

แล้วไม่ทราบว่าซุ้มประตูในภาพและกำแพง โดนรื้อไปในปีไหนครับนี่
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

คนเขารูปช้าง

ถ้ามีภาพหอระฆังชัดเจนแบบนี้ ที่ผมคิดไว้เดิมผิดแน่ เมื่อผมไปดูภาพลายเส้นให้ละเอียดอีกครั้ง  โครงสร้างอุโบสถในภาพลายเส้นนั้นใช่วัดโพธิ์ครับ ในภาพถ่ายเก่าของMonsieur Jules Claine นั้นจั่วและช่อฟ้าทางขวารับแสงโอเวอร์
ไปทำให้ผมเข้าใจผิดว่าจะมีช่องด้านหน้าทั้งหมด ๖ ช่องครับ แต่ภาพลายเส้นยืนยันชัดว่ามีแค่ ๕ ช่อง
วินาทีนี้ผมก็คิดว่าเป็นวัดโพธิ์ฯเช่นกันครับ ส่วนลายละเอียดช่อฟ้านั้นอาจลดน้อยลงเมื่อมีการบูรณะภายหลัง
เพราะ Monsieur Jules Claine ถ่ายไว้ก่อน ดร.บอม นานพอควรทีเดียว
แต่ที่ผมยังติดใจอยู่อีกหน่อยคือ ในแผนที่ 2478 ซึ่งคิดว่าลงลายละเอียดได้ดีมาก ไม่มีตำแหน่งหอระหอระฆัง
และเจดีย์ทั้งสามที่หน้าอุโบสถครับ
ผมได้ตักส่วนแผนที่ 2478 บริเวณวัดโพธิ์ฯ มาและลงมุมถ่ายภาพที่ อจ.หม่องฯ ว่าไว้
วงกลมเขียวคิดว่าหอระฆัง
วงกลมน้ำเงินคิดว่าน่าเป็นตำแหน่ง สามเจดีย์

คนเขารูปช้าง

เมือผมเข้าไปดูในลิงค์ที่คุณ คนชายทำไว้ให้ คิดว่าเป็นไปได้มากครับ อจ.หม่องฯที่ ศาลาการเปรียญ
นั้นมีอยู่นานแล้ว คือสีเหลี่ยมตรงปลายลูกศรสีแดงด้านขวาในรูปแผนที่วัดโพธิ์ฯ2478
ดูจากลักษณะโค้งของทางเข้าศาลาการเปรียญ

หม่องวิน มอไซ

ขอบคุณพี่คนเขารูปช้างมากครับ
ในแผนที่ปี 2478 น่าสงสัยเรื่องตำแหน่งของเจดีย์กับหอระฆังจริง ๆ นั่นแหละครับ เหตุใดไม่ลงรายละเอียดไว้

และในภาพถ่าย ดูเหมือนระดับด้านหน้าของศาลาการเปรียญกับอุโบสถ ดูใกล้เคียงกัน
แต่เหตุใดในแผนที่ รูปสี่เหลี่ยมที่คาดว่าเป็นศาลาการเปรียญจึงอยู่ค่อนมาทางทิศตะวันตกมากกว่าอุโบสถนะครับ

หม่องวิน มอไซ

ภาพเชิงซ้อนระหว่างแผนที่ปี ๒๔๗๘ กับ Google Earth ครับ
จะเห็นว่าอุโบสถซ้อนกันได้พอดี แต่ศาลาการเปรียญหายไป ไม่มีในแผนที่ครับ


คนชาย

ไปเจอมาอีกอันครับ   --พงศาวดารเมืองสงขลา ตอนที่ ๑ เล่มที่ ๓๐-- 
ตามลิงค์นี้  http://77.nationchannel.com/video/121643/ 

มีอยู่ตอนหนึ่งบอกว่า 

"วัดโพธิ์ปฐมาวาสเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา เบื้องต้นไม่มีหลักฐานปรากฏ ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปรากฏตามหลักฐานพงศาวดารเมืองสงขลาว่า พระยาศรีสมบัติจางวาง (บุญซิ้น ณ สงขลา) ผู้ตรวจราชการพิเศษเมืองสงขลา ได้สร้างอุโบสถแลโรงธรรมไว้ กาลต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ซึ่งเป็นบุตรของพระยาศรีสมบัติจางวาง (ผู้สร้าง) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และสร้าง ศาสนสถานเพิ่มเติม ปรากฏจนถึงขณะนี้ "

"โรงธรรม"  ที่กล่าวอ้างใน พงศาวดารเมืองสงขลา  อาจจะเป็น "ศาลาการเปรียญ" ตอนนี้ได้หรือไม่ครับ 

ถ้าใช่  แสดงว่า  อุโบสถ และ ศาลาการเปรียญ  น่าจะสร้างมาพร้อมๆกัน?

แต่ถ้าไม่ใช่  โรงธรรม  ของวัดอยู่ตรงไหน??

พยายามอ่าน  พงศาวดารเมืองสงขลา  แต่ตาลายมากครับ  ไม่ไหวๆ  เยอะจัด

Singoraman

ได้แต่ขอบคุณทุกกระทู้ครับ
เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองสงขลา ในวาระ 3 ปีสงขลาแต่แรก พอดีเลยครับ

IceWolf

อ้างจาก: Big MaHad เมื่อ 12:54 น.  24 ม.ค 55
ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบภาพนี้ เพราะทำให้เห็นภาพกำแพงเมืองได้ชัดเจนขึ้น แต่ก็ไม่รู้อยู้ดีว่าเป็นกำแพงบริเวณไหนครับ

เป็นส่วน วัดหัวป้อมนอกครับที่ แต่รื้อ รากฐานไปแล้ว

dj cop

อ้างจาก: คนเขารูปช้าง เมื่อ 08:43 น.  02 ก.พ 55
ลักษณะของกำแพงเมืองสงขลานั้น ด้านในมีชานให้คนเดินตรวจการณ์มองอกไปด้านอกได้ครับ
ตามรูปประกอบกำแพงที่ถนนจะนะขณะบูรณะ
ดังนั้นผมจึงคิดว่าเป็นการถ่ายภาพด้านในกำแพงเมืองด้านตะวันออก(ตามแนวถนนรามวิถี)
โดย Monsieur Jules Claine หันไปทางเหนือ ซึ่งเขาตังกวนอยู่นอกกำแพงทางเหนือ(ถ้าผมคิดไม่ผิดว่าที่ลงเส้นสีน้ำเงินไว้เป็นเขาตังกวน)
เข้ามาชมในกระทู้นี้ได้รับความรู้เกี่ยวกับเมืองสงขลาอย่างมาก ไม่เคยรู้มาก่อน ขอขอบคุณสมาชิก web ทุกท่านที่ช่วยกันค้นคว้าหาข้อมุูล และภาพประกอบ เมือวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปเดินที่ตลาดเปิดท้ายริมกำแพงเมืองสงขลา ถนนสายนั้นคงเป็นถนนประวัติศาสตร์เพราะมีทั้งอดีตบ้านพักของป๋าเปรม มิวเซียม และกำแพงเมืองเก่า  ถ้าผมจำไม่ผิด ตาไม่ฝาด สมัยตอนเป็นเด็ก เคยไปยืนดูที่กำแพงเมืองฝั่งที่เป็นถนนไม่ใช่ด้านหลัง มีอักษรภาษาอังกฤษจารึกไว้ว่า sultan abdulraman และปี พ.ศ หรือ ค.ศ ไม่แน่ใจ จารึกไว้ชัดเจนด้านหน้ากำแพงเมือง  แต่ปัจจุบันนี้ถูกลบเลือนประวัตศาสตร์ไปซะแล้ว คงจะจริงดังที่เขาว่า ผู้ขนะคือผู้ที่เขียนประวัติศาตร์  เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้ เพื่อนสมาชิกใน web ท่านใดมีภาพนี้กรุณาช่วยแชร์หน่อย ขอขอบคุณ