ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พูดคุยเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

เริ่มโดย คุณหลวง, 10:42 น. 12 ก.พ 55

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:46 น.  25 มี.ค 55
    ขอบคุณท่านพี่คนข้างพลาซ่าครับ (เรียกพี่แหละดี เพราะผมจะได้โล่งใจหน่อย  ส.หัว) ไม่เคยดูหนัง ละครเกี่ยวกับเจ้าแม่เลยครับ ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ แม้ทุกวันนี้มีความรู้สึกนับถือมากขึ้นๆ จนกลายเป็นความศรัทธาในแนวทางของพระองค์ แต่ก็ไม่คิดจะดูหนังเกี่ยวกับท่านอยู่ดี ไๆม่ทราบมีเวอร์ชั่นที่ไม่อ้างแต่ปาฏิหาริย์บ้างไหมครับ

    ส่วนหนังสือก็ไม่เคยอ่าน ไม่เคยพบเจอด้วยกระมัง เคยพบแต่ประวัติย่อๆ ๒-๓ หหน้าเท่านั้น ขอบคุณครับ เดี๋ยวจะถามไปอีก ตอนนี้ขอดูกระทู้พี่เณรเทืองสักนิดครับ

   

สะบายดี...ในวันหวัดคัดจมูก


คลิปวีดีโอที่ไม่ใช่เวอร์ชั่นปาฏิหาริย์ เขาจะทำคลิปที่เป็นพระสูตรของท่าน คืออธิบายความของพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับท่าน เช่น
พระสูตรสัทธรรมปุณฑริกสูตร อวโลกิเตศวร โพธิสัตว์สมันตมุขปริวรรค (妙法蓮華經 觀世音菩薩普門品)
และจะทำคลิปอธิบายความธารณีมนตร์ คือมนตร์ของท่าน เช่น บทคาถามนต์มหากรุณาธารณีสูตร (ไต่ปุยจิ่ว) ครับผม

ส่วนหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องของท่านที่เขียนแบบจริงๆจังๆครับ ที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ครับสัก ๓-๔ เล่มดังนี้

ฉบับพิเศษรวมเรื่อง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
กวนซีอิมผ่อสัก  จำนวน ๓๗๘ หน้า พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๗            
สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์
เล่มนี้ภาคองค์หญิงเมี่ยวซ่าน  เขียนได้ค่อนข้างละเอียดครับ

[attach=1]

ประวัติ พระกวนอิมมาตา
จำนวน ๑๙๐ หน้า พิมพ์ครั้งที่ ๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ภิกษุณี โพธิสัตต์ (วรมัย กบิลสิงห์)
เล่มนี้ก็เช่นกันเขียนภาคองค์หญิงเมี่ยวซ่าน  ค่อนได้ข้างละเอียดครับ

[attach=2]

๑๐๘ เทพแห่งสรวงสวรรค์ ฉบับ กวนอิมโพธิสัตต์
จำนวน ๒๗๐ หน้า พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
สมยศ เศรษฐสวัสดิ์
เล่มนี้เก่าที่สุด ไม่หน้ามีในท้องตลาดแล้วครับ

[attach=3]

พระโพธิสัตว์กวนอิม
ตำนานของพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา
จำนวน ๑๐๑ หน้า พิมพ์ครั้งที่ ๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้เขียน วิยะดา ทองมิตร    ภาพวาด พรชัย เหมาะรัต
เล่มนี้แนะนำ เพราะในท้องตลาดปัจจุบันยังมีให้ซื้ออยู่ครับ ภาพวาดเหตุการณ์ที่เขียนสวยมากครับ
เป็นลักษณะ มีภาพวาดลายเส้น แล้วประกอบคำบรรยาย
เล่มนี้น่าเก็บน่ะครับ เพราะมีโลโกที่น่าเชื่อถือเป็นตราประทับอยู่ครับคือ สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ ครับผม

[attach=4]

รักษาสุขภาพด้วยน่ะครับ ท่านคุณหลวง  ส.ตากุลิบกุลิบ

ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: ดช.น้ำเงิน เมื่อ 14:06 น.  26 มี.ค 55
เรื่องเจ้าแม่กวนอิม กับมหายาน เป็นความเชื่อทางศาสนายุคแรกๆ ของภาคใต้เลยทีเดียว
แต่ตอนนี้คนนิยมหันมานับถือแบบหินยานกันเยอะแระ

เรื่องเจ้าแม่กวนอิม กับมหายาน เป็นความเชื่อทางศาสนายุคแรกๆ อันนี้ถูกต้องครับ เพราะมีการกล่าวถึงองค์ท่านตั้งแต่พุทธศาสนาจากอินเดียเป็นครั้งแรก แล้วมาถึงประเทศจีน ถึงจะมาถึงประเทศไทย ครับผม

แต่ทางภาคใต้ คนส่วนใหญ่จะรู้จักองค์ท่าน ผ่านคนทรงเจ้าสักมากกว่าครับ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพื้นที่ของจังหวัดใกล้เคียงคือจังหวัด ตรัง กับ ภูเก็ต สักเป็นส่วนใหญ่ คือเข้ามาในจังหวัดสงขลาและเผยแพร่วัฒนธรรมส่วนนี้ไว้เยอะทีเดียวครับ

การที่จะนิยม (ยึดติด) แบบ มหายาน หรือ หินยาน ไม่เกี่ยวกับองค์ท่านเลยน่ะครับท่าน  ส.หัว

รูปองค์กวนอิมที่โพสสวยงามมากครับ ดูลักษณะแล้วมีการบูชามานานแล้ว เพราะควันธูปติดบนตัวท่านเลย แต่มือทางด้านขวาท่านถืออะไร มองไม่ชัด ปรกติจะถือคนโทรูปแจกันเทน้ำอยู่ครับ ไปถ่ายที่วัดไหนมาหรือครับท่าน  ส.อืม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ดช.น้ำเงิน

^
^
คือสิ่งที่ผมกล่าวผมอ้างตามประวัติศาสตร์ ของหนังสือ สายรากภาคใต้ แต่งโดย ศ สุทธิวงศ์ พงศืไพบูลย์
ที่กล่าวไว้ถ้าจำไม่ผิด สมัย พุทธศตวรรษที่ 13 (ประมาณนี้) ที่ ศาสนาพุทธเข้ามาในดินแดนแถบนี้ ซึ่งก่อนที่ รัฐไทยจะเข้ายึดครอง แถบนี้นั้นคืออาณาจักรศรีวิชัย / ตามพรลิงค์ หรือแม้แต่ลังกาศุกะ ครับ
ส่วนหลักฐานของการ นับถือมหายานโดยมี เจ้าแม่กวนอิมเป็นสิ่งสักการะคือ รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวเลกิเตศวร ที่ขุดพบที่สุราษฎร์ครับ
ส่วนเรื่องกินเจ ตรัง-ภูเก็ตนั้น เป็นเรื่องแต่ภายหลังมาแล้ว ที่ เกิดขึ้นเพราะการต้องการถ่วงอำนาจและสร้างความเข้มแข็งของคนจีนโพ้นทะเล เพื่อครองพื้นที่ในไทย ผ่านการทำศาลเจ้า(เอาบังหน้า ) ลองไปอ่านกบฎที่ภูเก็ตดูนะครับ
อีกอย่างเรื่องกินเจ นั้น เป็นการผสมรวมเอา เต๋า +พุทธ มหายาน+พราหมณ์ =กินเจ=ข้าวยำ (มั่วไปหมด )

ตามนั้นนะครับ
ปล. เรื่องทั้งหมดนี้เป็นเรื่องก่อนเราเกิด ถกกันได้ แต่เถียงกันนี่ มันเกินวิสัย
ยังไงขอบคุณที่ร่วมถกเพื่อความรู้ครับ
^^ เรื่องชาวบ้านคืองานของเรา ^^

ฟ้าเปลี่ยนสี

 ส.ตากุลิบกุลิบ ท่านครับ ศ สุทธิวงศ์ พงศืไพบูลย์ เขียนตามที่ท่านเขียนเลยหรือครับว่า...

อ้างจาก: ดช.น้ำเงิน เมื่อ 14:06 น.  26 มี.ค 55
เรื่องเจ้าแม่กวนอิม กับมหายาน เป็นความเชื่อทางศาสนายุคแรกๆ ของภาคใต้เลยทีเดียว
แต่ตอนนี้คนนิยมหันมานับถือแบบหินยานกันเยอะแระ


ผมว่าท่านไม่น้าจะเขียนแบบนี้หน่า  ส.ตากุลิบกุลิบ
ครับท่านสบายใจได้ครับ ไม่ใช่เถียง แต่ถกกันเหตุ และ ผล ครับ  ส.หัว

ท่านครับผมขอความรู้หน่อยสิครับ คุณอ่านเรื่อง สายรากภาคใต้ จากที่ไหนครับ แนะนำผมบ้างครับ ขอบคุณมากน่ะครับ  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ดช.น้ำเงิน

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 14:02 น.  27 มี.ค 55
ส.ตากุลิบกุลิบ ท่านครับ ศ สุทธิวงศ์ พงศืไพบูลย์ เขียนตามที่ท่านเขียนเลยหรือครับว่า...

ผมว่าท่านไม่น้าจะเขียนแบบนี้หน่า  ส.ตากุลิบกุลิบ
ครับท่านสบายใจได้ครับ ไม่ใช่เถียง แต่ถกกันเหตุ และ ผล ครับ  ส.หัว

ท่านครับผมขอความรู้หน่อยสิครับ คุณอ่านเรื่อง สายรากภาคใต้ จากที่ไหนครับ แนะนำผมบ้างครับ ขอบคุณมากน่ะครับ  ส.หัว

หาอ่านได้ตามห้องสมุด ทั่วไปครับ ในสงขลาก็มีที่ มอ. และ ม.ทักษิณ (อันนี้เท่าที่ไปเจอนะ)

ส่วนเรื่องหินยานกับมหายาน มันก็เป็นเช่นนั้น จริงๆ ในไทย
ง่ายๆ หินยานก็วัดทั่วไป อาจสังกัด นิกายต่างกันบ้าง และมหายาน หรือที่ปากชาวบ้านเรียกวัดจีนนั้นแหละครับ
^^ เรื่องชาวบ้านคืองานของเรา ^^

ดช.น้ำเงิน

ส่วนเรื่อง ศ สุทะิวงศ์เขียนตามผมว่าไม่
อันนี้ ให้ลองพิเคราะห์อีกนิดนะครับ ว่า
การอ้างถึง มันมีกี่แบบ ไม่ยากเกินตรึกตรองครับ คุณทำได้ ผมมั่นใจ  ส-เหอเหอ
^^ เรื่องชาวบ้านคืองานของเรา ^^

คุณหลวง

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 12:41 น.  27 มี.ค 55

รูปองค์กวนอิมที่โพสสวยงามมากครับ ดูลักษณะแล้วมีการบูชามานานแล้ว เพราะควันธูปติดบนตัวท่านเลย แต่มือทางด้านขวาท่านถืออะไร มองไม่ชัด ปรกติจะถือคนโทรูปแจกันเทน้ำอยู่ครับ ไปถ่ายที่วัดไหนมาหรือครับท่าน  ส.อืม

   น่าจะเป็นองค์ที่ศาลเจ้าเต๋าบ้อเก็งนะ(ชื่อถูกมั้ย) ที่เข้าทางซอยข้างปั๊มเชลล์ทางไปขนส่งน่ะ สายกาญจนวนิช(ชื่อถูกมั้ย) องค์เล็กข้างหน้านั้นเพิ่งนำมาประดิษฐานเมื่อสองปีก่อนได้กระมัง ตอนอยู่หาดใหญ่ชอบเข้าไปที่นี่ ใกล้ที่พักและที่นี่เน้นเรื่องธรรมมากกว่าปาฏิหาริย์

    ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่ ท่านดช.น้ำเงิน ให้ความกระจ่างด้วยคร้าบบบบ ขอบคุณครับ


สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ดช.น้ำเงิน

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:22 น.  28 มี.ค 55
   น่าจะเป็นองค์ที่ศาลเจ้าเต๋าบ้อเก็งนะ(ชื่อถูกมั้ย) ที่เข้าทางซอยข้างปั๊มเชลล์ทางไปขนส่งน่ะ สายกาญจนวนิช(ชื่อถูกมั้ย) องค์เล็กข้างหน้านั้นเพิ่งนำมาประดิษฐานเมื่อสองปีก่อนได้กระมัง ตอนอยู่หาดใหญ่ชอบเข้าไปที่นี่ ใกล้ที่พักและที่นี่เน้นเรื่องธรรมมากกว่าปาฏิหาริย์

    ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่ ท่านดช.น้ำเงิน ให้ความกระจ่างด้วยคร้าบบบบ ขอบคุณครับ


สะบายดี...


ผมเองก็เอามาจากเนตอีกที ครับ
อันนี้เห็นว่างาม เลยเอามาครับ
ไม่ทราบที่มาเหมือนกัน ครับ
^^ เรื่องชาวบ้านคืองานของเรา ^^

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: ดช.น้ำเงิน เมื่อ 13:31 น.  27 มี.ค 55

ส่วนเรื่องกินเจ ตรัง-ภูเก็ตนั้น เป็นเรื่องแต่ภายหลังมาแล้ว ที่ เกิดขึ้นเพราะการต้องการถ่วงอำนาจและสร้างความเข้มแข็งของคนจีนโพ้นทะเล เพื่อครองพื้นที่ในไทย ผ่านการทำศาลเจ้า(เอาบังหน้า ) ลองไปอ่านกบฎที่ภูเก็ตดูนะครับ

ขอเคลียร์เรื่องนี้ก่อนน้า เดีียวเพื่อนบ้านเราเข้ามาอ่าน เขาจะเข้าใจผิดในข้อมูลของเขาเองน่ะครับ

กบฎอั้งยี่ในสมัยก่อนที่เข้ามาในจังหวัดภูเก็ต ที่เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าจีน(อ้าม)ในภูเก็ต เป็นเพียงเข้ามาแฝงตัว
ปะปนกับชาวจีนในภูเก็ตเท่านั้นเอง เป็นเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อต้องการเข้ามาสื่อสาร กับอั้งยี่ในจังหวัด
โดยเขียนรหัสเป็นภาษาจีน เป็นคำอวยพรคู่ที่คนจีนเรียกว่า ตุ้ยเลี้ยง ซึ่งศาลเจ้าจีนในจังหวัดภูเก็ตนิยมติดที่
หน้าประตูทางเข้าศาลเจ้า เพื่อสื่อถึงการที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้บางศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต
ยังมีให้ศึกษาอยู่เลยครับ คำอวยพรที่ติดหน้าศาลแปลอย่างไรก้ไม่มีความหมาย แต่คนอั้งยี่ด้วยกันเขาจะรู้กันครับ

ส่วนประวัติการกินเจที่แท้จริงของแต่ละจังหวัด ของตรังก็อีกแบบ ของภูเก็ตก็อีกแบบ ซึ่งตามข้อเท็จจริงตามประวัติดังนี้
ของจังหวัดตรัง ดังนี้ครับ



ข้อมูลจาก คุณบุนเต้หลาง แห่ง trangvegetarian

ส่วนจังหวัดภูเก็ต ดังนี้ครับ

เดิมประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) ที่ชาวบ้านและชาวจีนที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ตเรียกกันว่า "เจี๊ยะฉ่าย" นั้น เป็นลัทธิเต๋าซึ่งนับถือบูชาเซียนเทวดา เทพเจ้า วีรบุรุษ เป็นประเพณีที่คนจีนนับถือมาช้านาน โดยเฉพาะคนจีนฮกเกี้ยน คำว่า "เจี๊ยะฉ่าย" (กินผัก) เป็นภาษาท้องถิ่น วันประกอบพิธีตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ (เก้าโง้ยโฉ่ยอีดถึงโฉ่ยเก้า) ตามปฏิทินจีนของทุกๆปี

ประเพณีเจี๊ยะฉ่าย ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้าน ไล่ทู (ในทู) ซึ่งเป็นหมู่บ้านกะทู้ ตำบลกะทู้ จังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน คนจีนเหล่านั้นได้อพยพเข้ามาทำเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) มีการค้าขายแร่ดีบุกกับปอร์ตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น คนจีนเหล่านั้นได้หลั่งไหลเข้ามามากที่สุดก่อนปี พ.ศ.2368 คือหลังจากเมืองภูเก็ตและเมืองถลางถูกพม่ารุกรานเมื่อปี พ.ศ.2352 พลเมืองได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ ครั้นพระยาถลาง (เจิม)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลาง และได้ตั้งเมืองภูเก็ตที่บ้านเก็ตโฮ่ ให้พระภูเก็ต (แก้ว) มาเป็นเจ้าเมือง (ระหว่าง พ.ศ. 2368-2400)

พื้นที่รอบๆในทู (กะทู้) อุดมสมบรูณ์ไปด้วยแร่ดีบุก จึงทำให้คนจีนหลั่งไหลเข้ามาขุดแร่ดีบุกเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองถลางเดิมที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน,ซัวเถาและเอ้หมึง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยอาศัยเรือใบผ่านมาทางแหลมมาลายู เป็นต้น หมู่บ้านในทูในสมัยนั้นยังเป็นป่าทึบ มีไข้ป่า ตลอดจนภยันตรายต่างๆ จากสัตว์ป่ามากมาย แต่ผู้คนและชาวจีนในหมู่บ้านในทูกลับเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีแร่ดีบุกอุดมสมบูรณ์จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก

     คนจีนที่อยู่ในทูสมัยนั้น มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องเทพเจ้าประจำตระกูลหรือเทพเจ้าที่คุ้มครองประจำหมู่บ้าน เช่น เทพยดาฟ้าดิน เซียนต่างๆ รวมถึง บรรพบุรุษของตนเองมาก่อนแล้ว เมื่อมีเหตุเภทภัยเกินขึ้นจึงได้มีการอัญเชิญเทพเจ้าแต่ละพระองค์ที่ตนนับถือบูชากราบไหว้ให้มาคุ้มครองปกป้องรักษาตน หรือพวกพ้องที่ได้ทำมาหากินในท้องถิ่นที่ตนพำนักอาศัยให้คนเหล่านั้นอยู่ เย็นเป็นสุขโดยทั่วกันและความเชื่อนี้ยังคงยึดถือจนตราบเท่าทุกวันนี้

ต่อมาได้มีคณะงิ้ว หรือ เปะหยี่หี่ ที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนมาเปิดแสดงที่บ้านในทู คณะงิ้วนี้สามารถแสดงอยู่ได้ตลอดปี เนื่องจากเศรษฐกิจของชาวในทู กรรกรจีน รวมถึงร้านค้า มีรายได้ดีมาก ในขณะนั้น ต่อมาปรากฏว่ามีตึกดิน 26 หลัง และโรงร้าน 112 หลัง จึงสามารถอุดหนุนงิ้วคณะนี้ได้ตลอดปี หลังจากคณะงิ้วได้เปิดทำการแสดงอยู่ที่บ้านในทูระยะหนึ่ง ได้เกิดมีการเจ็บป่วยเป็นไข้ และจากการเจ็บป่วยครั้งนี้ทำให้คณะงิ้วนึกขึ้นได้ว่าพวกตนไม่ได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ซึ่งเคยปฏิบัติกันมาทุกปีที่เมืองจีน และปรากฏมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอึ่งตี่ฮ่องเต้เป็นต้นมา จึงได้ปรึกษาหารือในหมู่คณะ และได้ตกลงกันประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถลงเรือใบ หรือเรือสำเภาเดินทางกลับไปร่วมพิธีเจี๊ยะฉ่ายที่เมืองจีนได้ทันเพราะใกล้จะถึงวันประกอบพิธีแล้ว จึงได้ตกลงใจประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายขึ้นที่โรงงิ้วเพื่อขอขมาโทษด้วยสาเหตุ

ต่างๆต่อมาโรคภัยไข้เจ็บก็หายไปหมดสิ้น รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บที่เคยเบียดเบียดชาวในทู ก็ลดลงด้วยเช่นกัน เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ชาวในทูเป็นอันมาก จึงได้สอบถามจากคณะงิ้วและได้คำตอบว่าพวกเขาได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ เนื่องจากไม่มีผู้รู้และผู้ชำนาญในการจัดประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายโดยเพียงแต่สักการะบูชากราบไหว้ขอขมาโทษ ระลึกถึงกิ้วอ๋องเอี๋ยหรือ กิ้วอ๋องต่ายเต่หรือพระราชาธิราชทั้งเก้าพระองค์นั้นเอง

คณะงิ้วยังได้แนะนำชาวจีนในทูต่อไปว่า การเชิญเทพเจ้ามาสักการะบูชาเพื่อปกป้องตนเอง ครอบครัว และท้องถิ่น เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขตามที่ได้ปฏิบัติกันมาแล้ว เป็นสิ่งที่ดีแต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็ควรจะเจี๊ยะฉ่ายถือศีลไปด้วย การเจี๊ยะฉ่ายไม่จำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบทั้งเก้าวัน จะเจี๊ยะฉ่ายกี่วันก็ได้ตามแต่ศรัทธาและเหมาะสมของแต่ละครอบครัว ชาวในทูและคนจีนส่วนใหญ่มีความเชื่อและเลื่อมใสได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของคณะงิ้ว โดยได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายในปีต่อมา ประเพณีเจี๊ยะฉ่ายของเมืองภูเก็ตได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ในทู (กะทู้) นั่นเอง ต่อมาจึงได้แพร่หลายออกไปตามสถานที่ต่างๆ

หลังจากชาวจีนในทูได้ประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายได้ประมาณ 2-3 ปี โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด ทำให้ชาวจีนที่มาอาศัยทำเหมืองแร่อยู่ตามดงตามป่ามีความเชื่อและศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

ก่อนคณะงิ้วจะย้ายไปทำการแสดงที่อื่น คณะงิ้วได้มอบรูปพระกิ้มซิ้น (เทวรูป),เล่าเอี๋ย (เตียนฮู้หง่วนโส่ย),ส่ามอ๋องฮู่อ๋องเอี๋ย, ส่ามไถ้จือ และได้ให้คำแนะนำแก่ชาวจีนเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมโดยย่อๆ ในครั้งนั้นด้วยในช่วงระยะที่ชาวจีนกำลังประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ที่ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏนามเคยอาศัยอยู่ที่มณฑลกังไส (กังไส คือ เจียงซี้ของประเทศจีนในปัจจุบัน) ได้เดินทางมาประกอบอาชีพในทู ได้เห็นการประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายของชาวจีนไม่ถูกต้องตามแบบฉบับของฉ้ายตึ้ง (ศาลเจ้าในมณฑลกังไส) จึงได้แจ้งให้ชาวจีนในทูทราบว่าตนยินดีรับอาสาเดินทางกลับไปมณฑลกังไสของประเทศจีน เพื่อไปเชี้ยเหี้ยวโห้ย (อัญเชิญธูปไฟ) และองค์ประกอบสำหรับพิธี แต่ไม่สามารถเดินทางไปได้เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ชาวจีนในทูจึงได้ร่วมมือร่วมใจกันรวบรวมทุนทรัพย์ให้กับผู้รู้ท่านนี้ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมณฑลกังไส

     อีก 2-3 ปีต่อมา ในระหว่างที่ชาวจีนในทูประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายแบบย่อๆ จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ (วันเก้าโง้ยโฉ่ยฉีด) ตามปฏิทินจีน เวลากลางคืน เรือใบจากประเทศจีนได้เดินทางมาถึงหัวท่าบ่างเหลียว (บางเหนียวในปัจจุบัน) ท่านผู้รู้ได้เดินทางกลับมากับเรือใบลำนี้ด้วยและได้ส่งคนมาแจ้งข่าวให้ชาวจีนในทูทราบว่า บัดนี้ตนได้เดินทางกลับจากประเทศจีนมาถึงหัวท่าบางเหลียวพร้อมเชี้ยเหี้ยวเอี้ยน (ผงธูป) มาด้วยแล้ว ขอให้คณะกรรมการกับผู้ที่ร่วมประกอบพิธีเจี๊ยะฉ่ายไปต้อนรับที่หัวบ่างเหลียวในวันเก้าโง้ยโฉ่ยโป๊ยคือวันรุ่งขึ้น

     เหี้ยวโห้ย หรือ เหี้ยวเอี้ยนที่นำมาจากมณฑลกังไส ได้จุดปักไว้ในเหี้ยวหล๋อ(กระถางธูป) โดยจุดธูปให้ติดตลอดระยะทางมิให้ดับ นอกจากนี้ยังได้นำแก้ง(บทสวดมนต์,คัมภีร์,ตำราต่างๆ พร้อมทั้งป้ายชื่อเต้าโบ้เก้ง ป้ายติดหน้าอ๊ามฉ้ายตึ้ง)

ปัจจุบันประเพณีเจี๊ยะฉ่าย (กินผัก) ของชาวภูเก็ตได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปีนับเวลาได้ หลายร้อยปีแล้วซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต

แหล่งที่มา : ไชยยุทธ ปิ่นประดับ ประเพณีกินผัก (เจี๊ยะฉ่าย) จังหวัดภูเก็ต


ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: ดช.น้ำเงิน เมื่อ 14:51 น.  27 มี.ค 55
ส่วนเรื่อง ศ สุทะิวงศ์เขียนตามผมว่าไม่
อันนี้ ให้ลองพิเคราะห์อีกนิดนะครับ ว่า
การอ้างถึง มันมีกี่แบบ ไม่ยากเกินตรึกตรองครับ คุณทำได้ ผมมั่นใจ  ส-เหอเหอ

ฮ่าๆๆ ผมเองไม่มีปัญหาน่ะครับท่าน แต่ผมไม่อยากให้เป็นข้อมูลที่อ้างอิงแบบเบริดส์ๆๆ คือสบายๆ
เพราะสิ่งที่ท่านเขียนมาไม่ว่า
อาณาจักรศรีวิชัย หรือ
อาณาจักรนครศรีธรรมราช  หรือ ตามพรลิงค์
มันสามารถหาอ่านได้โดยทั่วไป ในเวปก็มีเยอะแยะเลย

ผมกลัวว่าท่าน ศ สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ จะเสียหาย ก็เท่านั้นเองครับท่าน
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:22 น.  28 มี.ค 55
   น่าจะเป็นองค์ที่ศาลเจ้าเต๋าบ้อเก็งนะ(ชื่อถูกมั้ย) ที่เข้าทางซอยข้างปั๊มเชลล์ทางไปขนส่งน่ะ สายกาญจนวนิช(ชื่อถูกมั้ย) องค์เล็กข้างหน้านั้นเพิ่งนำมาประดิษฐานเมื่อสองปีก่อนได้กระมัง ตอนอยู่หาดใหญ่ชอบเข้าไปที่นี่ ใกล้ที่พักและที่นี่เน้นเรื่องธรรมมากกว่าปาฏิหาริย์

    ไม่ทราบว่าใช่หรือไม่ ท่านดช.น้ำเงิน ให้ความกระจ่างด้วยคร้าบบบบ ขอบคุณครับ


สะบายดี...

ขอบพระคุณ ครับท่าน  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

มีอีกเรื่องครับผม

เคยอ่านเจอว่าการจุดธูปบูชาเจ้าแม่กวนอิมนั้นควรใช้ธูปสีเขียว??และ ๑๒ ดอก มีความหมายอย่างไรครับท่าน (หากข้อมูลผิดช่วยแก้ไขด้วยครับ คร่าวๆมาในสมองอย่างนี้เอง  ส.ฉันเอง)
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 11:35 น.  31 มี.ค 55
มีอีกเรื่องครับผม

เคยอ่านเจอว่าการจุดธูปบูชาเจ้าแม่กวนอิมนั้นควรใช้ธูปสีเขียว??และ ๑๒ ดอก มีความหมายอย่างไรครับท่าน (หากข้อมูลผิดช่วยแก้ไขด้วยครับ คร่าวๆมาในสมองอย่างนี้เอง  ส.ฉันเอง)

ขอโทษน่ะท่าน เป็นการไหว้ส่วนบุคคลไหมครับ ผมให้เหตุผลกว้างๆน่ะครับ
เพราะ ปรกติไหว้องค์ท่านพระโพธิสัตว์กวนอิม ใช้ธูป 3 ดอกไหว้ก็พอแล้วครับ
ใช้สีธูปธรรมชาติเหมือนไหว้พระครับ ความหมาย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แต่บางท่านเห็นองค์ท่านเป็นเทพเจ้า อาจจะจุดธูป 9 ดอก เหมือนเทพทางอินเดียก็ได้ครับ

ส่วนทางจีนบางคนเขาก็ไหว้ธูป 12 ดอก ความหมาย เขาจะไหว้ครบเดือนใน 1 ปี เขาจึงใช้ธูป 12 ดอกครับ
ถ้าใครไหว้ตามสูตรนี้ ปีนี้ต้องไหว้ 13 ดอกน่ะครับ เพราะปีนี้เดือนทางจีนมีเดือนซ้ำของเดือน 4 เขาจะนับเป็น 13 เดือน ครับ

ส่วนที่ท่านถามผมสันนิษฐานว่า เป็นการไหว้เฉพาะส่วนบุคคลที่มีคนแนะนำให้ท่านนั้นไหว้ครับ คือคนไหว้หน้าจะเกิดวันพุธกลางคืน
เพราะ วันพุธ สีเขียว จึงไหว้ธูปสีเขียว ส่วนที่ไหว้ธูป 12 ดอก คือไหว้ตามกำลังของพระวันพุธกลางคืน(ราหู) ครับผม

ก็แล้วแต่ว่าจะใช้สูตรไหนครับท่าน  ส.หัว

ปล. ท่านคุณหลวงจะบินไปไหนครับท่าน  ส.หัว
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

คุณหลวง

]

    ส.โบยบิน ขอบคุณท่านคนข้างพลาซ่าครับผม

จำมาแบบไม่แน่ใจ เลยถามดู เผื่อรู้ อิอิ

ขอบคุณอีกครั้ง และผมไม่โบยบินไปไหนหรอกครับ นอกจากโบยบินไปในวังวนแห่งอวิชชา  ส.ฉันเอง


สะบายดี...ครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฟ้าเปลี่ยนสี

[attach=1]


วันที่ ๑๙ เดือน ๖ ของจีน ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕

เป็นวันน้อมรำลึกถึงองศ์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กว้านอินผูซ่า)  ทรงตรัสรู้ หรือ ทรงบรรลุธรรม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

bitthailand2012

เรื่องราาวดีๆอีกเรื่อง

พูดคุยเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 11:17 น.  05 ส.ค 55
[attach=1]


วันที่ ๑๙ เดือน ๖ ของจีน ตรงกับวันจันทร์ที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๕

เป็นวันน้อมรำลึกถึงองศ์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (กว้านอินผูซ่า)  ทรงตรัสรู้ หรือ ทรงบรรลุธรรม

ค คน

.

...ห้องนี้เงียบเหงาดุจป่าช้า คุณหลวง และ คนเลี้ยงผี อยู่ป่าว

คงหลงไปกับกระทง หลงทาง กลับมาเวบนี่ไม่ถูกแล้ว..

...ที่แล้วๆมา ให้อภัยทุกอย่าง กลับบ้านเรา รักรออยู่..


....BLUE SKY กำลังถ่ายทอด สด นายสุเทพ และนายอภิสิทธิ์ กำลังปราศรัยครับ ที่ราชดำเนิน

วันนี้ ท่านไปเป่านกหวีดแล้วหรือยัง..ส่วนเสื้อแดงก็ชุมนุมกันที่สนามมังคลาฯ ก็มาชุมนุมกันหนาแน่น... ส.สู้ๆ ส.สู้ๆ ส.สู้ๆ

พูดคุยเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

หวัดดีจ้า..มีใครอยู่คุยด้วยไหมจ๊ะ.. ส-ดีใจ

พูดคุยเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

ชื่อ ตา เป็นสมาชิกใหม่ ขอฝากตัวด้วยนะคะ  ส-ดีใจ

พูดคุยเรื่องเจ้าแม่กวนอิม

ท่านใดที่รับฝาก..กรุณาตอบกลับหรือทักทาย..ก็ได้ค่ะ.. ส-ดีใจ

ค คน

..

...รับฝากแล้วจ้า ทั้งเนื้อทั้งตัว ส.หัว ส.ก๊ากๆ ส-เหอเหอ ส.ดุดุขำขำ