ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่มีศาสนา

เริ่มโดย เณรเทือง, 17:01 น. 28 มี.ค 55

ไม่นานมันก็ตายเอง

จากที่อ่าน ๆมา ส่วนใหญ่ทุกสมาชิกนับถือ พุด แล้วมาเถียงกัน อยู่ให่บายดีหว่า คิดดี พูดดี ทำดี ทุกๆ อย่างจะดี

ระวังจิตพยาบาทย้อนกลับ

การทำงานของจิตเมื่อพยาบาทใส่ผู้อื่นทุกอย่างที่ให้ความเลวร้ายหรืออยากให้เขาตายฉิปหายกับผู้อื่นจะย้อนกลับเข้าตัวหมดนี่คือเรื่องจริง ถ้าไม่ได้พัฒนาฝึกจิตให้อยู่ระดับสูงเข้าใจธรรมแท้จริงจะหลบเลี่ยงยากมากกำลังของจิตความเร็วการคิดมุมกลับต้องเร็วพอ มารรู้ว่ามาจากผู้ใด เมื่อท่านส่งจิตพยาบาทอย่างหนักออกนอกตัวมารผีตายโหงที่ตายด้วยความโกรธแค้นและพยาบาทมาสิงอยู่ในร่างผู้นั้นทันทีมันมาสิงอยู่ในร่างกายพร้อมที่จะแสดงอำนาจควบคุมเราเมื่อเรากลัวอะไรซักอย่างหรือจิตตก เมื่อจิตยึดติดกับความกลัวนานเข้าทุกย่างก้าวคือความวิบัติผิดพลาด คนที่ยิ่งถูกแช่งด่าอยากให้ตายยิ่งกลับจะแข็งแรงขึ้นเพราะได้ชดใช้กรรมแล้วแต่คนที่ถูกแช่งต้องเจตนาดีมุ่งไปทางธรรมที่แท้จริงเท่านั้นหรือผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติอย่างแท้จริงเท่านั้น ต้องเข้าใจ โลกียะธรรมและโลกุตตะระธรรมให้ชัดเจนก่อน อย่าเลียนแบบมันเป็นความสามารถส่วนบุคคล และต้องพร้อมตายตลอดเวลาแล้วเท่านั้น

ควบคุมสั่งการโดยจิตถึงจิต

ควบคุมเก็บอารมณ์ให้ตรงนี้มันเป็นลานบุญที่แท้จริงหน่อยนะครับ เย็นไว้นะโยมมันอยู่ที่ใจนะโยม คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้หรอกโยม

สายธาร วงสมศ์

แบบว่า ขอถามสำหรับคนที่สามารถสัมผัสธรรมมะ ในศาสนาพุทธนะค่ะ ว่าที่เค้าบอกว่าพอศึกษาธรรมมะแล้วมีความสุขมันมีจริงหรือ แล้วที่ทำแล้วมีความสุข หน่ะ ความสุขมันเป็นยังไง แบบว่าดิฉันไปไม่ถึงอ่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ ว่าทำยังไงถึงจะไปให้ถึงความสุขทางธรรมมะ อย่างมากก็สวดมนต์ฟังธรรมจากพระก็เท่านั้น ขอถามสำหรับคนเคยศึกษาหล่ะกัน เพราะความสุขภายนอกเราก็เห็นกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่พ้น กิน ขี้ ปี้ นอน อันนี้เห็นอยู่แล้ว ไม่ได้ถามกวนหน่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ จะได้มีแนวทางได้ศึกษาไปได้ถึงความสุขทางธรรมบ้าง เอาแบบคนที่ไม่หลงนะ พอมีไหมค่ะ ส.ตากุลิบกุลิบ

wareerant

อ้างถึงแบบว่า ขอถามสำหรับคนที่สามารถสัมผัสธรรมมะ ในศาสนาพุทธนะค่ะ ว่าที่เค้าบอกว่าพอศึกษาธรรมมะแล้วมีความสุขมันมีจริงหรือ แล้วที่ทำแล้วมีความสุข หน่ะ ความสุขมันเป็นยังไง แบบว่าดิฉันไปไม่ถึงอ่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ ว่าทำยังไงถึงจะไปให้ถึงความสุขทางธรรมมะ อย่างมากก็สวดมนต์ฟังธรรมจากพระก็เท่านั้น ขอถามสำหรับคนเคยศึกษาหล่ะกัน เพราะความสุขภายนอกเราก็เห็นกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่พ้น กิน ขี้ ปี้ นอน อันนี้เห็นอยู่แล้ว ไม่ได้ถามกวนหน่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ จะได้มีแนวทางได้ศึกษาไปได้ถึงความสุขทางธรรมบ้าง เอาแบบคนที่ไม่หลงนะ พอมีไหมค่ะ

ตอบให้เข้าใจง่าย ถ้าแบบพุทธ การเข้าถึงธรรมมะ คือการปรับใจของเราครับ ให้รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับ สมบัติพัสถาน หรือยึดติดกับบุคคลใด แต่ถ้าถามผม ผมให้ทำใจให้พอดีครับ เรารักสมบัติบ้านช่องของเรา ก็รักแต่พอดี เรารักใครก็รักแต่พอดี เสียใจก็แต่พอดี ดีใจก็แต่พอดี สะสมก็แต่พอดี เกลียดใครก็เกลียดแต่พอดี รักหรือเกลียดเป็นอารมณ์ที่ธรรมชาติให้มา ทิ้งไม่ได้ แต่ควบคุมได้ ทางสายกลางนี่้แหละครับ คือคำตอบ อย่าทำตนให้เป็นพระอรหันต์เลย จะอยู่ลำบาก กิเลสมีแต่พอดี ชีวีจะเป็นสุข

ธรรมมะเกิดมาก่อนศาสนา ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยดึกดำบรรพ์ คนหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เมื่อได้อาหารมา ก็มาแบ่งกัน ช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน ตั้งแต่ยังไม่มีภาษาเขียนด้วยซ้ำ ศาสนาเพิ่งมามีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี่เอง

พระธรรม เกิดก่อนพระพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อันธรรมมะนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เราเป็นเพียงผู้ค้นพบ" คนค้นพบธรรมนั้น อาจมีอยู่แล้ว อาจมีหลายคน แต่อาจไม่ชัดเจน โดดเด่นเท่าพระพุทธเจ้า

เรื่องกิน ขี้ ปี้ นอน นั้นแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็อย่างที่บอก ถ้าอะไร ๆ มันพอดี มันก็ดี

ส่วนตัวไม่สนับสนุนให้คนเป็นพระอรหันต์ เพราะเห็นว่า ไม่ใช่ทางสายกลาง





จากมิติที่4

อ้างจาก: สายธาร วงสมศ์ เมื่อ 14:36 น.  07 ก.ค 55
แบบว่า ขอถามสำหรับคนที่สามารถสัมผัสธรรมมะ ในศาสนาพุทธนะค่ะ ว่าที่เค้าบอกว่าพอศึกษาธรรมมะแล้วมีความสุขมันมีจริงหรือ แล้วที่ทำแล้วมีความสุข หน่ะ ความสุขมันเป็นยังไง แบบว่าดิฉันไปไม่ถึงอ่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ ว่าทำยังไงถึงจะไปให้ถึงความสุขทางธรรมมะ อย่างมากก็สวดมนต์ฟังธรรมจากพระก็เท่านั้น ขอถามสำหรับคนเคยศึกษาหล่ะกัน เพราะความสุขภายนอกเราก็เห็นกันทุกคนอยู่แล้ว ไม่พ้น กิน ขี้ ปี้ นอน อันนี้เห็นอยู่แล้ว ไม่ได้ถามกวนหน่ะค่ะ อยากรู้จริงๆ จะได้มีแนวทางได้ศึกษาไปได้ถึงความสุขทางธรรมบ้าง เอาแบบคนที่ไม่หลงนะ พอมีไหมค่ะ ส.ตากุลิบกุลิบ
ความสุขคือกิเลศอย่างละเอียด ครับจุดสุดยอดของพุทธไม่ใช่ที่ความสุข แต่เป็นการปล่อยวางการวางเฉยเป็นกลาง เห็นทุกอย่างมันเป็นไปตามกรรม ถ้า กินขี้ปี้นอนนี้ ยังยึดติดอยู่อีกมากต้องไปอ่านพระไตรปิฏกอีกวันละ2ชั่วโมงสักสามเดือนจะเข้าใจอะไรมากขึ้นแน่นอน อย่าเชื่อ ลองไปพิสูจดู   

มั่นใจในภูมิธรรม

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 15:10 น.  07 ก.ค 55
ตอบให้เข้าใจง่าย ถ้าแบบพุทธ การเข้าถึงธรรมมะ คือการปรับใจของเราครับ ให้รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับ สมบัติพัสถาน หรือยึดติดกับบุคคลใด แต่ถ้าถามผม ผมให้ทำใจให้พอดีครับ เรารักสมบัติบ้านช่องของเรา ก็รักแต่พอดี เรารักใครก็รักแต่พอดี เสียใจก็แต่พอดี ดีใจก็แต่พอดี สะสมก็แต่พอดี เกลียดใครก็เกลียดแต่พอดี รักหรือเกลียดเป็นอารมณ์ที่ธรรมชาติให้มา ทิ้งไม่ได้ แต่ควบคุมได้ ทางสายกลางนี่้แหละครับ คือคำตอบ อย่าทำตนให้เป็นพระอรหันต์เลย จะอยู่ลำบาก กิเลสมีแต่พอดี ชีวีจะเป็นสุข

ธรรมมะเกิดมาก่อนศาสนา ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยดึกดำบรรพ์ คนหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ เมื่อได้อาหารมา ก็มาแบ่งกัน ช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน ตั้งแต่ยังไม่มีภาษาเขียนด้วยซ้ำ ศาสนาเพิ่งมามีในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นี่เอง

พระธรรม เกิดก่อนพระพุทธ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อันธรรมมะนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เราเป็นเพียงผู้ค้นพบ" คนค้นพบธรรมนั้น อาจมีอยู่แล้ว อาจมีหลายคน แต่อาจไม่ชัดเจน โดดเด่นเท่าพระพุทธเจ้า

เรื่องกิน ขี้ ปี้ นอน นั้นแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็อย่างที่บอก ถ้าอะไร ๆ มันพอดี มันก็ดี

ส่วนตัวไม่สนับสนุนให้คนเป็นพระอรหันต์ เพราะเห็นว่า ไม่ใช่ทางสายกลาง





คุณ เข้าใจผิดแล้วนะ จุดสูงสุดที่ชาวพุทธพระนักปฏิบัติ ปราถนา คือ อรหันต์ ที่คุณฟันธงผิดแน่นอน โดยรวมคุณเริ่มเข้าใจธรรมแล้ว แต่อย่ารีบตัดบทแบบนี้ คุณไปอ่านดูศึกษาธรรมให้เยอะเข้มข้นกว่านี้ อย่าร้อนวิชา แต่ฟันธงว่าทางสายกลางไม่ใช่อรหันต์นี้ ผิดแน่นอน จุดสูงสุดของพุทธคือการหลุดพ้นคือ อรหันต์ เข้า นิพพาน เชื่อ เรา เดี๋ยวจะกลายเป็นพระเทวทัต หลงว่าเป็นศาสดาเสียเอง อ่อนลงนิดนึงนะ แต่ดีแล้ว วะรีรัน  อย่าเชื่อ ยิ่งศึกษามาก ท่านทุกคนจะรู้ว่าเราให้สุดยอดธรรมของจริงแก่ทุกคน ไปอ่านดูในพระไตรปิฎกเยอะๆเลย แล้วค่อยมาขอขมาพระรัตนตรัย ท่านให้อภัยคนที่พร้อมหันเข้าหาธรรมตลอด เชื่อ อาจารย์ วะรีรัน ใจเย็นอ่านศึกษาให้เยอะ รึจะดีเบตกันก็ได้มาเลย ท้าเจ้าอาวาสหลายๆวัดด้วยถ้าเกิดเข้ามาอ่านมาดีเบตร่วมกันเลยมาๆๆๆๆๆ

wareerant

คุณเข้าใจผิด คุณคิดผิด คุณไม่เข้าถึง คุณยัง..บลา บลา บลา คนเรามีความคิดความเชื่อไม่เหมือนกัน ขอร้องล่ะ อย่าตัดสินคนอื่นเลย อย่าปักใจเชื่อว่าตัวเองถูกฝ่ายเดียว คนอื่นผิด

ใครเป็นคนเขียนพระไตรปิฏก มีการแต่งเติมสาระที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระไตรปิฏกถูกสังคายนามากี่ครั้งแล้ว มีการแปลความหมายที่ไม่เหมือนเดิมหรือไม่

ที่แน่ ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้เขียนเอง ท่านสั่งสอน กว่าจะมีคนมาเขียนพระไตรปิฎกก็นานมากแล้ว และพระไตรปิฎกก็ไม่ได้มีเล่มเดียว มีเป็นสิบแบบ ทั้งของแบบมหายาน และนิกายอื่น ๆ ก็มี ข้อความข้างในก็ไม่เหมือนกัน บางข้อความขัดแย้งกันด้วยซ้ำ เช่น กินเนื้อบาป กินเนื้อไม่บาป

พระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า "อย่าเชื่อตามหนังสือ" ไตรปิฎกก็เป็นหนังสือ ก่อนเชื่ออะไรต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อน

ผมมีความคิดเห็นแบบนี้แหละ ขอถามสักข้อว่า "หากวันนี้ท่านได้บรรลุอรหันต์ ท่านจะทำอย่างไร"

ไปบวชเลยเหรอ แล้วคนที่บ้านล่ะ จะทำยังงัย ทิ้งพวกเขาไปหรือ การงานท่านล่ะ ทำงัย ทิ้งเลยเหรอ หรือท่านไม่บวช แล้วท่านจะอยู่ยังงัยล่ะ อยู่ได้เหรอ ในสังคมที่มีแต่คนมีกิเลส

พระเทวทัตนั้นเลว ใช่ แต่อย่างน้อยเขาก็มีความเชื่อของเขา เขาเชื่อตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง

แล้วคุณล่ะครับ มีความคิดเป็นของตัวเองแล้วยัง หรือวัน ๆ เอาแต่นั่งอ่านพระไตรปิฎก ที่มีข้อความอัศจรรย์ อ่านแล้วปลื้ม มีความสุข แล้วบอกตัวเองว่า นี่แหละความจริง ต่างจากนี้ไม่จริงทั้งสิ้น ใครคิดต่างจากพระไตรปิฎกนั้นผิดแน่นอน เป็นพวกพระเทวทัต

หนังสือธรรมมะนั้นอ่านได้ครับ ดีด้วย แต่เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งคุณต้องเลิกอ่านแล้วลองมาศึกษาตัวเอง ว่าเราเป็นยังงัย แล้วนำธรรมมะที่อ่านมานั้น มาปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง

ลองทำดู อาจค้นพบอะไรดี ๆ บ้างก็ได้

wareerant

จะให้ดีเบตอะไรหรือ ก็ความเชื่อไม่เหมือนกัน คนนึงบอกข้าวผัดอร่อย อีกคนบอกก๋วยเตี๋ยวอร่อย แล้วมานั่งเถียงกันแล้วมันจะได้อะไรขึั้นมา

คนบ้าเท่านั้นแหละที่ทำ

ศาสดาวะรีรัน

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 16:45 น.  07 ก.ค 55
คุณเข้าใจผิด คุณคิดผิด คุณไม่เข้าถึง คุณยัง..บลา บลา บลา คนเรามีความคิดความเชื่อไม่เหมือนกัน ขอร้องล่ะ อย่าตัดสินคนอื่นเลย อย่าปักใจเชื่อว่าตัวเองถูกฝ่ายเดียว คนอื่นผิด

ใครเป็นคนเขียนพระไตรปิฏก มีการแต่งเติมสาระที่ได้รับมาจากพระพุทธเจ้าหรือไม่ พระไตรปิฏกถูกสังคายนามากี่ครั้งแล้ว มีการแปลความหมายที่ไม่เหมือนเดิมหรือไม่

ที่แน่ ๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้เขียนเอง ท่านสั่งสอน กว่าจะมีคนมาเขียนพระไตรปิฎกก็นานมากแล้ว และพระไตรปิฎกก็ไม่ได้มีเล่มเดียว มีเป็นสิบแบบ ทั้งของแบบมหายาน และนิกายอื่น ๆ ก็มี ข้อความข้างในก็ไม่เหมือนกัน บางข้อความขัดแย้งกันด้วยซ้ำ เช่น กินเนื้อบาป กินเนื้อไม่บาป

พระพุทธเจ้าท่านยังบอกว่า "อย่าเชื่อตามหนังสือ" ไตรปิฎกก็เป็นหนังสือ ก่อนเชื่ออะไรต้องคิดไตร่ตรองให้ดีก่อน

ผมมีความคิดเห็นแบบนี้แหละ ขอถามสักข้อว่า "หากวันนี้ท่านได้บรรลุอรหันต์ ท่านจะทำอย่างไร"

ไปบวชเลยเหรอ แล้วคนที่บ้านล่ะ จะทำยังงัย ทิ้งพวกเขาไปหรือ การงานท่านล่ะ ทำงัย ทิ้งเลยเหรอ หรือท่านไม่บวช แล้วท่านจะอยู่ยังงัยล่ะ อยู่ได้เหรอ ในสังคมที่มีแต่คนมีกิเลส

พระเทวทัตนั้นเลว ใช่ แต่อย่างน้อยเขาก็มีความเชื่อของเขา เขาเชื่อตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง

แล้วคุณล่ะครับ มีความคิดเป็นของตัวเองแล้วยัง หรือวัน ๆ เอาแต่นั่งอ่านพระไตรปิฎก ที่มีข้อความอัศจรรย์ อ่านแล้วปลื้ม มีความสุข แล้วบอกตัวเองว่า นี่แหละความจริง ต่างจากนี้ไม่จริงทั้งสิ้น ใครคิดต่างจากพระไตรปิฎกนั้นผิดแน่นอน เป็นพวกพระเทวทัต

หนังสือธรรมมะนั้นอ่านได้ครับ ดีด้วย แต่เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งคุณต้องเลิกอ่านแล้วลองมาศึกษาตัวเอง ว่าเราเป็นยังงัย แล้วนำธรรมมะที่อ่านมานั้น มาปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง

ลองทำดู อาจค้นพบอะไรดี ๆ บ้างก็ได้
เออ วะรีรันว่ามา ยกข้อมูลมาเยอะๆ เดี๋ยวจะแยกให้ดูว่าอะไรเป็นอะไร รู้ไม๊ว่ากิเลศความห่วงหาอาทร นั้น คือกิเลศอย่างละเอียด ตัวเองยังไม่พ้น จะช่วยคนอื่นให้พ้นได้อย่างไร คนตาบอดจูงคนตาบอดลงเหว แต่ยกคำสอนในพระไตรปิฎกมาบอกได้แต่อย่าบิดเบือน เพราะพระไตรปิฎกเป็นตัวแทนพระศาสดา พระพุทธองค์ พระอานนท์ คือ อุปัทฐาก และแรกเริ่ม อรหันต์ ก็รวบรวมพระไตรปิฎก คำสอน สาระแก่นสารมันยังอยู่ ถ้าว่ากันแบบนี้ พระเทวทัตสิงอยู่ชัดๆแน่นอน

อิสระพุทธโท

049 ผู้ที่ไม่เถียงกับใคร ๆ

๔๗. ปัญหา คนเราที่ไม่รู้ความจริงแท้ ย่อมมีความเห็นแตกต่างกันและทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน มีคนประเภทใดบ้างที่ไม่ทุ่มเถียงกับใคร ๆ ?

พุทธดำรัส ตอบ "อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนาในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยไม่ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา เท่านั้น ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยแต่ทุกขเวทนา ได้เสวย อทุกขมสุขเวทนา
"อัคคิเวสสนะ สุขเวทนา...... ทุกขเวทนา....... อทุกขมสุขเวทนา.....ไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คล้ายไปดับไปเป็นธรรมดา
"อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งใน ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกันก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฐิ"

ทีฆมขสูตร ม. ม. (๒๗๓)
ตบ. ๑๓ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๓ : ๒๒๖-๒๒๗
ตอ. MLS. II : ๑๗๙-๑๘๐


อิสระพุทธโท

033 กินเนื้อสัตว์บาปหรือไม่

ปัญหา มีพุทธศาสนิกชนบางพวกเห็นว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเพราะเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นฆ่า ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าอย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าไม่ควรเป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น เนื้อที่ตนได้ยิน เนื้อที่ตนรังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล....."

ชีวกสูตร ม. ม. (๕๗)
ตบ. ๑๓ : ๔๘-๔๙ ตท.๑๓ : ๑๓ : ๔๗
ตอ. MLS. II : ๓๓

อิสระพุทธโท

156 เป็นอรหันต์แต่ไม่มีฤทธิ์

ปัญหา ภิกษุที่ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพแล้วจะต้องมีฤทธิ์ สามารถกระทำปาฏิหาริย์ได้ทั้งนั้นหรือ ?

คำตอบ ไม่ได้เสมอไป ตามเรื่องสุสิมสูตรว่าเมื่อพระสุสิมะได้ยิน ภิกษุหลายรูป ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์จึงเข้าไปหาแล้วก็ถามว่า ท่านเหล่านั้นแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไหม มีหูทิพย์ตาทิพย์ไหม เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่าแสดงฤทธิ์ก็ไม่ได้ มีหูทิพย์ตาทิพย์ก็ไม่ได้ พระสุสิมะ จึงแสดงความประหลาดใจว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ท่านเหล่านั้นตอบว่า ท่านหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา เป็นพระอรหันต์ประเภทสุกขวิปัสสกะ
พระสุสิมะยังไม่หายสงสัย จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลถามเรื่องนี้

พระพุทธองค์ตรัสถามเธอว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ควรถือว่าเป็นเราเป็นของของเรา เป็นตัวตนของเราหรือไม่ พระสุสิมะทูลว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ควรถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตนของเรา พระพุทธองค์ทรงสอนต่อไปว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นเป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นอย่างนี้แบ้วจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสุสมะในเรื่องปฏิจจสุมปบาทว่าเพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา และภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร ในสายดับทุกข์พระองค์ทรงแสดงว่า เพราะชาติดับ ชรา มรณะ จึงดับ ฯลฯ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในที่สุดทรงถามว่า "ดูก่อนสุสิมะ เธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ....ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด... ด้วยทิพย์ โสตธาตุอันบริสุทธิ์..... ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น.... ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก... ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ.... บ้างหรือหนอ ?"
พระสุสิมะทูลตอบว่า " ไม่ใช่อย่างนั้น ก็แสดงว่า พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุเพราะอาศัยปัญญา เกิดความรู้จริงเห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ย่อมไม่มีอิทธิปาฏิหาริย์ใด ๆ"

นัยสุสิมสูตร นิ. สํ. (๒๘๑-๓๐๑)
ตบ. ๑๖ : ๑๔๖-๑๕๕ ตท. ๑๖ : ๑๓๒-๑๔๑
ตอ. K.S. II : ๘๕-๙๑





อิสระพุทธโท

104 อำนาจจิต

ปัญหา (เทวดาทูลถาม) โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไรหนอเสือกไสไปได้ โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคืออะไร ?

พุทธดำรัส ตอบ "โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมเสือกใสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือ จิต "

จิตตสูตรที่ ๒ ส.สํ. (๒๘๑)
ตบ. ๑๕ : ๕๔ ตท. ๑๕ : ๕๓
ตอ. K.S. I : ๕๕

อิสระพุทธโท

083 สมณพราหมณ์ที่ไม่ควรไหว้

ปัญหา ขึ้นชื่อวาเป็นสมณพราหมณ์ ครองเพศบรรพชิตแล้ว เราควรเคารพกราบไหว้บูชาทั้งนั้นหรือ ? หรือว่ามีสมณพราหมณ์ประเภทใดบ้างที่ไม่ควรเคารพกราบไหว้ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์ เหล่าใดยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ..... ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต.... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ... ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา.... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย.... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังมีความประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ อยู่สมณพราหมณ์ เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ.... ธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้วยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็น แม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์ พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนั้น ฉะนั้นท่านสมณพราหมณ์ เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๓)
ตบ. ๑๔ : ๕๒๙ ตท. ๑๔ : ๔๕๔
ตอ. MLS. III : ๓๔๐


อิสระพุทธโท

084 วิธีสังเกตสมณพราหมณ์แท้

ปัญหา เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าสมณพราหมณ์ พวกไหนเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่น ถามท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร จึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวพึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อจัดโมหะ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่าความจริงท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าดงเป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายฟังแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลายสัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย
"นี้แล อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นเป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะแน่...."

นครวินเทยยสูตร อุ. ม. (๘๓๕)
ตบ. ๑๔ : ๕๓๑-๕๓๒ ตท. ๑๔ : ๔๕๖
ตอ. MLS. III : ๓๔๑-๓๔๒


อิสระพุทธโท

138 สมณพราหมณ์ที่แท้จริง

ปัญหา สมณพราหมณ์ที่แท้จริงตามความหมายทางพระพุทธศาสนานั้น ควรจะมีคุณสมบัติที่สำคัญอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่กำหนดรู้ชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ความดับแห่งชราและมรณะ ย่อมกำหนดรู้ ชาติ ...
ภพ.... อุปาทาน.... ตัณหา....เวทนา....ผัสสะ...สฬายตนะ....นามรูป.... วิญญาณสังขาร ย่อมไม่กำหนดรู้เหตุเกิดแห่งสังขาร... ความดับแห่งสังขาร.... ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ได้รับสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ หรือไม่ได้รับสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ อนึ่ง ท่านเหล่านี้จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ไม่ได้...."

สมณพราหมณ์สูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๙๔)
ตบ. ๑๖ : ๕๓ ตท. ๑๖ : ๔๖
ตอ. K.S. II : ๓๔-๓๕




อิสระพุทธโท

157 พวกเดียวกันคบกัน

ปัญหา ตามปกติ คนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมคบหาสมาคมกันใช่หรือไม่ ? พระผู้มีพระภาคตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากันย่อมสมาคมกัน โดยธาตุทีเดียว คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน... กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน.... กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกเกียจร้านย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกเกียจคร้าน สัตว์จำพวกมีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน....กับสัตว์จำพวกมีสติหลงลืม สัตว์จำพวกมีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน..... กับสัตว์จำพวกมีปัญญาทราม แม้ในอดีตกาล.... แม้ในอนาคตกาล... แม้ในปัจจุบันกาล...."

อสัทธมูลกสูตรที่ ๑ นิ. สํ. (๓๔๗)
ตบ. ๑๖ : ๑๙๑-๑๙๒ ตท. ๑๖ : ๑๗๕-๑๗๖
ตอ. K.S. II : ๑๑๐-๑๑๑


อิสระพุทธโท

168 ดาราศาสตร์ในพุทธศาสนา

ปัญหา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงทรรศนะเกี่ยวกับโลกจักรวาลไว้อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนอานนท์ จักรวาลหนึ่งมีกำหนดเท่ากับโอกาส (ช่องว่าง) ที่พระจันทร์พระอาทิตย์โคจร ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์ โลกมีอยู่พันจักรวาลก่อน ในโลกพันจักรวาลนั้น มีพระจันทร์พันดวง มีพระอาทิตย์พันดวง มีขุนเขาสิเนารุพันหนึ่ง มีชมพูทวีปพันหนึ่ง มีอมรโคยานทวีปพันหนึ่ง มีอุตรกุรุทวีปพันหนึ่ง มีปุพพวิเทหทวีปพันหนึ่ง มีมหาสมุทร ๔ พัน มีท้าวมหาราช ๔ พัน มีเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดาวดึงส์พันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นยามาพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นดุสิตพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นนิมมานรดีพันหนึ่ง มีเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสดีพันหนึ่ง มีพรหมโลกพันหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างเล็กมีพันจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแห่งโลกธาตุอย่างเล็ก ซึ่งมีพันจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาล โลกคูณโดยส่วนพันแหงโลกธาตุอย่างกลางมีล้านจักรวาลนั้น นี้เรียกว่าโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาร
"ดูก่อนอานนท์ ตถาคต เมื่อมุ่งหมาย พึงทำโลกธาตุอย่างใหญ่ ประมาณแสนโกฏิจักรวาล ให้รู้แจ้งได้ด้วยเสียง หรือทำให้รู้แจ้งได้เท่าที่มุ่งหมาย....ฯ"

จูฬนีสูตร ติ. อํ. (๕๒๐)
ตบ. ๑๙ : ๒๙๒-๒๙๓ ตท. ๑๙ : ๒๕๗-๒๕๘
ตอ. G.S. I : ๒๐๗




อิสระพุทธโท

172 ภิกษุควรหัวเราะหรือไม่

ปัญหา ได้ทราบมาว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่มีการหัวเราะมีแต่ยิ้มแย้มเท่านั้น พระภิกษุควรจะหัวเราะหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ "..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การขับร้องคือ การร้องไห้ในวินัยของพระอริยเจ้า การฟ้อนรำคือ ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยเจ้าการหัวเราะจนเห็นฟันพร่ำเพรื่อ คือความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้น และ จงละเสียโดยเด็ดขาดในการขับร้องฟ้อนรำ เมื่อท่านทั้งหลายเบิกบานในธรรม ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม"

โรณสูตร ติ. อํ. (๕๔๗)
ตบ. ๒๐ : ๓๓๕ ตท. ๒๐ : ๒๙๒
ตอ. G.S. I : ๒๓๙


อิสระพุทธโท

176 ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย..... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น..."

สุปุพพัณหสูตร ติ. อํ. (๕๙๕)
ตบ. ๒๐ : ๓๗๘-๓๗๙ ตท. ๒๐ : ๓๓๕
ตอ. G.S. I : ๒๗๒


อิสระพุทธโท

187 ชาติหน้ามีจริงหรือไม่

ปัญหา ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ ? ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีจริงหรือไม่ ?

พุทธดำรัส ตอบ ".....อริยสาวกนั้น มีจิตหาว่าเรามิได้อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้อย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการในชาตินี้
"ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่ ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะซึ่งจะเป็นไปได้ คือเบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว เราจะได้เข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่หนึ่ง
"ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมมีสัตว์ทำดีทำชั่วไม่มีเราก็จะรักษาตนเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
"ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราไม่ได้คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเรา ผู้ไม่ได้ทำบาป ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม
"ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว (และจะนำผลคือทุกข์มาให้เรา) เราก็ได้พิจารณาเห็นคนเป็นคนบริสุทธิแล้วทั้ง ๒ ส่วน ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่
"อริยสาวกมีจิตหาเวรมิได้ หาความเบียดเบียนมิได้ มีจิตไม่เศร้าหมอง มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ ย่อมได้ความอุ่นใจ ๔ ประการนี้แล ในชาตินี้ฯ"