ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

กรมศิลป์อุ้มดูแลบ้านโบราณสงขลาไม่คืบ-เจ้าของหวั่นพัง

เริ่มโดย ฅนสองเล, 22:27 น. 23 ม.ค 54

ฅนสองเล

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 มกราคม 2554 13:44 น.

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ชาวบ้านร้องเรียนหวั่นบ้านโบราณกลางเมืองสงขลาพังเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบน ถนน ซึ่งมีการรื้อถอนไปแล้วส่วนหนึ่งแต่ถูกกรมศิลปากรสั่งระงับและเข้ามาจัดการ แทนท้องถิ่น โดยลงมือเขียนแบบบ้าน พร้อมลงขันก่อสร้าง ด้านเจ้าของบ้านสุดช้ำ ไร้กรรมสิทธิ์ดำเนินการและขาดรายได้เกือบ 3 ปี
       
       วันนี้ (22 ม.ค.) จากกรณีที่มีการร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของบ้านโบราณอายุนับร้อยปีบนถนน นางงาม อ.เมือง จ.สงขลา ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอาจพังทลายลงได้ทุกเมื่อ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบนถนน ตลอดจนทรัพย์สินและบ้านเรือนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่ โดยมีการติดป้ายประกาศของเจ้าของบ้านความว่า
       
       "อาคารหลังนี้ เจ้าของไมมีอำนาจในการซ่อมแซมได้ เนื่องจากติดกฎหมายของกรมศิลปากร ถ้าเจ้าของทำการรื้อถอนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และเจ้าของได้ให้ทางกรมศิลปากรที่ 13 สงขลาทำการรื้อถอนและซ่อมแซมตามดุลพินิจ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.54 เป็นต้นไป ดังนั้น ทางเจ้าของบ้านจะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของบ้าน หลังนี้"
       
       โดยการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว ได้ทราบข้อมูลว่า บ้านหลังดังกล่าวมีรูปแบบบ้านทรงจีนโบราณ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 หรืออายุประมาณ 170 ปี ปัจจุบันในสภาพที่ทรุดโทรมมาก โดยทั้งในถนนนางงาม นครนอกและนครในมีบ้านโบราณอีกหลายหลังซึ่งเจ้าของบ้านที่เป็นทายาทรุ่นหลัง ได้แยกย้ายไปอาศัยที่อื่นแทน โดยบ้านที่ยังมีสภาพแข็งแรงมีการเปิดให้เช่าทำกิจการค้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้รับการดูแลหรือซ่อมแซม เนื่องจากค่าซ่อมแซมสูงกว่าบ้านในรูปแบบปัจจุบัน และหาช่างที่มีฝีมือและความรู้ตลอดจนวัสดุได้ยาก ทำให้ก่อนหน้านี้มีการรื้อถอนบ้านเก่าในย่านดังกล่าวมาแล้วหลายหลัง และบางหลังมีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อไปแล้วก็มี
       
       โดยในสมัยนายอุทิศ ชูช่วย ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์เมืองเก่าสงขลา โดยการรักษาบ้านโบราณที่ตั้งอยู่บนถนนนางงาม นครนอกและนครใน ไม่ให้มีการรื้อถอน โดยมีกรมศิลปากรมาขึ้นทะเบียนบ้านเก่าในย่านดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการบูรณะหรือซ่อมแซมบ้านโบราณจากภาครัฐอย่างเป็น รูปธรรม ในขณะที่เจ้าของบ้านนั้นก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการครอบครองบ้านและที่ดิน ได้เลย
       
       และจากการสอบถามเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งขอสงวนชื่อเนื่องจากติดปัญหากับหน่วยงานราชการที่ต้องการเข้ามาอนุรักษ์ และมีการติดต่อเพื่อกดดันกว้านซื้อจากกลุ่มนายทุน เปิดเผยว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านทรงจีนได้รับการตกทอดเป็นมรดกจากบรรพบุรุษที่สร้าง มาตั้งแต่สมัย ร.3 และมีหลุมหลบภัย ขนาดหน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 6.5 เมตร
       
       แม้ตนซึ่งเป็นทายาทรุ่นหลังไม่ได้อยู่ใน อ.เมืองสงขลา แต่ได้รับประโยชน์จากการให้เช่า จนกระทั่งสภาพทรุดโทรมมากตามกาลเวลา และไม่มีผู้เช่าเนื่องจากหวั่นว่าจะอาคารจะพังลงมา ประกอบกับมีชาวบ้านโทรศัพท์ร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของตัวอาคารอยู่เป็น ระยะ ด้วยเป็นบ้านเก่าที่ไม่มีรากฐานมีโครงสร้างเพียงอิฐ ปูน และตัวอาคารพังทลายลงมาเกินกว่าที่จะซ่อมแซม จึงต้องการที่จะรื้อถอนเพื่อสร้างตึกใหม่เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ
       
       ดังนั้น ประมาณปี 2551 จึงแจ้งความจำนงต่อเทศบาลนครสงขลาในฐานะหน่วยงานในท้องที่ โดยกองช่างของเทศบาลช่วยประสานงานช่างเพื่อรื้อถอน และเทศบาลฯ เสนอให้ตนก่อสร้างใหม่ในแบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งอยู่ในสมัย ร.5 และขอให้เทศบาลฯ เป็นผู้เช่าในราคาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี แต่ตนยังไม่ตัดสินใจใดๆ เนื่องจากแบบที่เสนอไม่ตรงตามแบบเดิม อีกทั้งต้องออกเงินก่อสร้างเอง จึงรับทราบข้อเสนอเท่านั้น
       
       "เมื่อมีการรื้อถอนดำเนินการเกือบเสร็จสิ้นก็มีชาวบ้านโทรศัพท์ร้อง เรียนกรมศิลปากรว่ามีการทำลายบ้านโบราณ เนื่องจากเป็นบ้านอนุรักษ์ที่ถูกขึ้นทะเบียนแล้ว แม้ว่าจะยังไม่เคยเห็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน และมีคำสั่งระงับเพียงวาจาเท่านั้น แต่ก็ไม่กล้าดำเนินการต่อเนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย หลังจากนั้นเทศบาลนครสงขลาก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกเลย" เจ้าของบ้านกล่าวต่อและว่า
       
       และจากการติดต่อกับกรมศิลปากรทำให้ทราบว่า กำลังมีการเขียนแบบบ้านขึ้นใหม่เพื่อของบประมาณจากกรุงเทพฯ เพื่อสร้างใหม่ ล่าสุดเมื่อปี 2553 แจ้งว่ามีค่าก่อสร้าง 1.3 ล้านบาท ด้วยต้องใช้วัสดุทดแทนให้เหมือนของเก่า แต่รัฐมีงบประมาณเพียง 800,000 บาท นั่นหมายความว่าตนในฐานะเจ้าของจะต้องสมทบเงินเอง 500,000 บาท โดยที่แบบใหม่นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่เคยมีเจ้าหน้าที่มาสอบถามข้อมูลจากตนที่เป็นเจ้าของบ้านเลย และค่าก่อสร้างนั้นถือว่าแพงเกินไปด้วยพื้นที่ทั้งหมดเพียง 38 ตารางวาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ใดๆ บ้าง
       
       ดังนั้น ตลอดเวลาที่ต่อมากรมศิลปากรได้เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ตนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทำให้ขาดรายได้ และหวั่นว่าซากอาคารดังกล่าวที่พร้อมจะพังลงมาทุกเมื่อจะสร้างความเดือดร้อน ต่อประชาชนในบริเวณนั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะสามารถดำเนินการอย่างไรกับบ้านหลังนี้ ได้ เนื่องจากทุกฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์นั้นไม่มีความชัดเจนทั้งนโยบายและวิธี การปฏิบัติ ในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องเดือดร้อนและยังคงเสียภาษีโรงเรือนทุกปี
       
       สำหรับเรื่องนี้ มีแหล่งข่าววงในตั้งข้อสังเกตว่า จากที่หน่วยงานรัฐท้องถิ่นมีการกล่าวอ้างว่ามีการขึ้นทะเบียนบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปบนถนนนางงาม นครนอก และนครใน อ.เมืองสงขลา เพื่อเป็นการอนุรักษ์นั้น พบว่ายังไม่มีเจ้าของบ้านหลังใดเห็นเอกสารการจดทะเบียนแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อจะมีการรื้อถอนกลับถูกคัดค้านจากชาวบ้านและกรมศิลปากร ทำให้ลูกหลานของบ้านเก่าที่ได้รับมรดกตกทอดไม่สามารถดำเนินการใดๆ เช่นกรณีนี้ ขณะเดียวกันกลับถูกนักธุรกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองพยายามหว่าน ล้อมเพื่อขอซื้อในราคาถูก




ขอบคุณภาพจากภาคีคนรักเมืองสงขลา

      

บ่าวเคว็จ

ขอดี แต่ถูกทอดทิ้ง
รอไปต๊ะ ส่วนราชการหรือคนที่เกี่ยวข้งจะมาแล

จัสติส

ผ่านไปเมื่อวาน พาลูกไปกินข้าวร้านเจ๊ณี..บนถนนนางงาม..ตอนค่ำ..เดินไปอ่านป้ายแล้วสงสารเจ้าของบ้าน..เพราะว่าไม่มีอะไรคืบหน้าเรื่องการปรับปรุง..ผมเข้าไปแลในบ้านเห็นแล้วขนลุกเลยครับ..บ้านเก่าโบราณ.หายากแล้วในเมืองไทย..เมืองอื่นเขาบำรุงดูแลบ้านเก่าแต่เมืองสงขลาเรา.กลับทอดทิ้ง..บ้านเก่าบางหลังผมเอามือไปลูบที่ผนังแรงๆฝายังสั่นเลย.ต้องปรับปรุงครับอันตรายสำหรับคนที่ผ่านไปมา..ตรุษจีนปีนี่ที่นางงาม.ก็ไม่จัดถนนคนเดินเหมือนก่อน..แล้วเทศบาลชุดนี่จะขอใฝห้สงขลาเป็นเมืองมรดกโลก..เวรกรรม..อีกเรื่อง กำแพงเมืองเก่า.หรือกำแพงเรือนจำเก่า..ไม่เห็นทำไหร.ดีแต่เอาเหล็กไปค้ำยันไว้..สมแล้วที่บอกว่าเป็นกำแพงเก่าแก่ที่สุดในเมืองไทยที่ทำจากหินภูเขา..

เขยบ่อยาง

เห็น"ซากตึก"นครใน-นครนอกแล้วอนาถใจยิ่งนัก เมื่อไหร่จะมีคนคิดเป็นแบบปินัง-มะละกาเสียที ของเขารัฐบาลให้เงินบูรณะเต็มที่ ขอเพียงอย่ารื้อหรือทุบทิ้ง เดี๋ยวนี้เขาได้มรดกโลกไปแล้ว และยังได้เงินจากการท่องเที่ยวที่ไหลเข้ามามหาศาล

เด็กนครใน

.....เสียดายครับ ของดีของเก่าเราไม่ค่อยจะใส่ใจมัน วันเวลาผันเปลี่ยนไปของเหล่านี้ก็เริ่มเลือนหายไปจากบ้านเราไปเรื่อย ๆ นะครับ ผมเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับบ้านหลังนี้ บอกได้คำเดียวว่าเสียดาย อดีตท่านเจ้าของบ้านหลังนี้ท่านถึงแก่กรรมไปแล้วเคยเล่าให้ฟังว่า "สมัยก่อนตรงนี้คือจุดเริ่มต้นที่เรียกว่า "เก้าห้อง" แล้วก็เริ่มซบเซาไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา

.....รวมถึงบ้านบนถนนนครในอีกหลังหนึ่งที่มีเจ้าของเดียวกัน (ร้านลิ่มฮ่องเชียง-เลิกร้านไปตั้งแต่ปี 2530 สมัยก่อนทำธุรกิจค้าขายเครื่องอุปโภคบริโภคและเครื่องกระป๋องซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศโดยตรง เช่น นมผง) ก็กำลังจะพังเหมือนกัน ดูสภาพข้างหน้ายังคงดูดี แต่เข้าไปดูข้างในฝาผนังเริ่มผุพังไปตามกาล รวมทั้งโกดังแบบตึกจีนสองชั้นสำหรับเก็บของก็เริ่มผุพังและให้ค้างคาวอาศัยแทนคน ข้างในบ้านมีที่โล่งวิ่งเล่นกันสบาย รวมทั้งมีบ่อน้ำและบ่อโยก (ซึ่งสมัยก่อนมีเพียงไม่ก็บ้านที่มีบ่อโยก ซึ่งต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ยังจำได้ว่าบ่อโยกอันนั้นหนักมากเพราะเป็นเหล็ก (หรือว่าเรายังเด็กเลยทำให้รู้สึกว่าหนัก) ด้านข้างเขียนว่า "Made in England" ท่านอดีตเจ้าของเคยเล่าให้ฟังว่าก่อนถึงโกดังเก็บของจะมีตึกอีกหลังซึ่งรื้อถอนไปแล้ว และได้นำช่องลมซึ่งทำด้วย "เซรามิกสีเขียว" ไปทำเป็นช่องลมระเบียงกุฏิในวัดหัวป้อมใน (กุฎิด้านในสุดขวามือของโบสถ์) ซึ่งแม่ของท่านอดีตเจ้าของสร้างถวายวัดหัวป้อมใน และได้ใช้เป็นที่เก็บอัฐิของสามีและบรรพบุรุษ ตอนเด็ก ๆ เคยเข้าไปเที่ยวบ่อย ๆ รวมทั้งขึ้นไปบนหลังคาเพื่อตัดต้นโพธิ์และต้นไทรที่ขึ้นบนหลังคา ถึงตอนต้นโพธิืและต้นโทรก็ยังอยู่ (แต่ท่านเจ้าของถึงแก่กรรมไปแล้ว) รวมทั้งท่านอดีตเจ้าของก็ได้แวะเวียนไปทำความสะอาดและบำรุงซ่อม แต่ก็ได้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากสภาพบ้านเก่ามาก จนยากที่จะบำรุงรักษา สมัยก่อนหน้าบ้านสูงกว่าถนนมาก สามารถเข้าได้สองทางทั้งถนนนครในและถนนหนองจิก ตอนนี้เข้าบ้านได้ทางเดียวคือถนนนครใน

.....พูดได้คำเพียวครับ เสียดายครับ

ชาวบ้านบ่อยางคนชอบหนมดู

น่าเห็นใจ สงสัยว่าคงจะยุ่งอยู่กับการซ่อมถนนไทรบุรี ขับรถยนต์เพลินดีเหมือนควบม้าเลย สนุกจังขอรับท่าน รีบซ่อมนะ เพราะ 2012 วันสิ้นโลกใกล้เข้ามาแล้ว

คนผ่านมา

ก็บ้านเรามันกินเงกันเหลือเกิดเนี่ยค่ะ เห็นแก่ตัว เยอะมาก  เช่นที่น้ำท่วมครั้งก่อนที่พัทลุงได้ข่าวมาว่ากินกันเยอะมากๆๆ  แบบนี้เองที่น้ำท่วมหนักท่วมบ่อยไง เพราะคนชั่วมันเยอะ เวร  Thailand only

บ่าวเคว็จ

นั้น เขาประจานการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้ว ยังไม่รู้สึกรู้สา แหลว

อ๊อบ

อ้างจาก: บก.เท่ง ทองแดง เมื่อ 22:27 น.  23 ม.ค 54
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 มกราคม 2554 13:44 น.

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ชาวบ้านร้องเรียนหวั่นบ้านโบราณกลางเมืองสงขลาพังเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบน ถนน ซึ่งมีการรื้อถอนไปแล้วส่วนหนึ่งแต่ถูกกรมศิลปากรสั่งระงับและเข้ามาจัดการ แทนท้องถิ่น โดยลงมือเขียนแบบบ้าน พร้อมลงขันก่อสร้าง ด้านเจ้าของบ้านสุดช้ำ ไร้กรรมสิทธิ์ดำเนินการและขาดรายได้เกือบ 3 ปี
       
       วันนี้ (22 ม.ค.) จากกรณีที่มีการร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของบ้านโบราณอายุนับร้อยปีบนถนน นางงาม อ.เมือง จ.สงขลา ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอาจพังทลายลงได้ทุกเมื่อ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบนถนน ตลอดจนทรัพย์สินและบ้านเรือนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่ โดยมีการติดป้ายประกาศของเจ้าของบ้านความว่า
       
       "อาคารหลังนี้ เจ้าของไมมีอำนาจในการซ่อมแซมได้ เนื่องจากติดกฎหมายของกรมศิลปากร ถ้าเจ้าของทำการรื้อถอนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และเจ้าของได้ให้ทางกรมศิลปากรที่ 13 สงขลาทำการรื้อถอนและซ่อมแซมตามดุลพินิจ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.54 เป็นต้นไป ดังนั้น ทางเจ้าของบ้านจะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของบ้าน หลังนี้"
       
       โดยการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว ได้ทราบข้อมูลว่า บ้านหลังดังกล่าวมีรูปแบบบ้านทรงจีนโบราณ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 หรืออายุประมาณ 170 ปี ปัจจุบันในสภาพที่ทรุดโทรมมาก โดยทั้งในถนนนางงาม นครนอกและนครในมีบ้านโบราณอีกหลายหลังซึ่งเจ้าของบ้านที่เป็นทายาทรุ่นหลัง ได้แยกย้ายไปอาศัยที่อื่นแทน โดยบ้านที่ยังมีสภาพแข็งแรงมีการเปิดให้เช่าทำกิจการค้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้รับการดูแลหรือซ่อมแซม เนื่องจากค่าซ่อมแซมสูงกว่าบ้านในรูปแบบปัจจุบัน และหาช่างที่มีฝีมือและความรู้ตลอดจนวัสดุได้ยาก ทำให้ก่อนหน้านี้มีการรื้อถอนบ้านเก่าในย่านดังกล่าวมาแล้วหลายหลัง และบางหลังมีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อไปแล้วก็มี
       
       โดยในสมัยนายอุทิศ ชูช่วย ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์เมืองเก่าสงขลา โดยการรักษาบ้านโบราณที่ตั้งอยู่บนถนนนางงาม นครนอกและนครใน ไม่ให้มีการรื้อถอน โดยมีกรมศิลปากรมาขึ้นทะเบียนบ้านเก่าในย่านดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการบูรณะหรือซ่อมแซมบ้านโบราณจากภาครัฐอย่างเป็น รูปธรรม ในขณะที่เจ้าของบ้านนั้นก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการครอบครองบ้านและที่ดิน ได้เลย
       
       และจากการสอบถามเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งขอสงวนชื่อเนื่องจากติดปัญหากับหน่วยงานราชการที่ต้องการเข้ามาอนุรักษ์ และมีการติดต่อเพื่อกดดันกว้านซื้อจากกลุ่มนายทุน เปิดเผยว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านทรงจีนได้รับการตกทอดเป็นมรดกจากบรรพบุรุษที่สร้าง มาตั้งแต่สมัย ร.3 และมีหลุมหลบภัย ขนาดหน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 6.5 เมตร
       
       แม้ตนซึ่งเป็นทายาทรุ่นหลังไม่ได้อยู่ใน อ.เมืองสงขลา แต่ได้รับประโยชน์จากการให้เช่า จนกระทั่งสภาพทรุดโทรมมากตามกาลเวลา และไม่มีผู้เช่าเนื่องจากหวั่นว่าจะอาคารจะพังลงมา ประกอบกับมีชาวบ้านโทรศัพท์ร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของตัวอาคารอยู่เป็น ระยะ ด้วยเป็นบ้านเก่าที่ไม่มีรากฐานมีโครงสร้างเพียงอิฐ ปูน และตัวอาคารพังทลายลงมาเกินกว่าที่จะซ่อมแซม จึงต้องการที่จะรื้อถอนเพื่อสร้างตึกใหม่เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ
       
       ดังนั้น ประมาณปี 2551 จึงแจ้งความจำนงต่อเทศบาลนครสงขลาในฐานะหน่วยงานในท้องที่ โดยกองช่างของเทศบาลช่วยประสานงานช่างเพื่อรื้อถอน และเทศบาลฯ เสนอให้ตนก่อสร้างใหม่ในแบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งอยู่ในสมัย ร.5 และขอให้เทศบาลฯ เป็นผู้เช่าในราคาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี แต่ตนยังไม่ตัดสินใจใดๆ เนื่องจากแบบที่เสนอไม่ตรงตามแบบเดิม อีกทั้งต้องออกเงินก่อสร้างเอง จึงรับทราบข้อเสนอเท่านั้น
       
       "เมื่อมีการรื้อถอนดำเนินการเกือบเสร็จสิ้นก็มีชาวบ้านโทรศัพท์ร้อง เรียนกรมศิลปากรว่ามีการทำลายบ้านโบราณ เนื่องจากเป็นบ้านอนุรักษ์ที่ถูกขึ้นทะเบียนแล้ว แม้ว่าจะยังไม่เคยเห็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน และมีคำสั่งระงับเพียงวาจาเท่านั้น แต่ก็ไม่กล้าดำเนินการต่อเนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย หลังจากนั้นเทศบาลนครสงขลาก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกเลย" เจ้าของบ้านกล่าวต่อและว่า
       
       และจากการติดต่อกับกรมศิลปากรทำให้ทราบว่า กำลังมีการเขียนแบบบ้านขึ้นใหม่เพื่อของบประมาณจากกรุงเทพฯ เพื่อสร้างใหม่ ล่าสุดเมื่อปี 2553 แจ้งว่ามีค่าก่อสร้าง 1.3 ล้านบาท ด้วยต้องใช้วัสดุทดแทนให้เหมือนของเก่า แต่รัฐมีงบประมาณเพียง 800,000 บาท นั่นหมายความว่าตนในฐานะเจ้าของจะต้องสมทบเงินเอง 500,000 บาท โดยที่แบบใหม่นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่เคยมีเจ้าหน้าที่มาสอบถามข้อมูลจากตนที่เป็นเจ้าของบ้านเลย และค่าก่อสร้างนั้นถือว่าแพงเกินไปด้วยพื้นที่ทั้งหมดเพียง 38 ตารางวาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ใดๆ บ้าง
       
       ดังนั้น ตลอดเวลาที่ต่อมากรมศิลปากรได้เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ตนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทำให้ขาดรายได้ และหวั่นว่าซากอาคารดังกล่าวที่พร้อมจะพังลงมาทุกเมื่อจะสร้างความเดือดร้อน ต่อประชาชนในบริเวณนั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะสามารถดำเนินการอย่างไรกับบ้านหลังนี้ ได้ เนื่องจากทุกฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์นั้นไม่มีความชัดเจนทั้งนโยบายและวิธี การปฏิบัติ ในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องเดือดร้อนและยังคงเสียภาษีโรงเรือนทุกปี
       
       สำหรับเรื่องนี้ มีแหล่งข่าววงในตั้งข้อสังเกตว่า จากที่หน่วยงานรัฐท้องถิ่นมีการกล่าวอ้างว่ามีการขึ้นทะเบียนบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปบนถนนนางงาม นครนอก และนครใน อ.เมืองสงขลา เพื่อเป็นการอนุรักษ์นั้น พบว่ายังไม่มีเจ้าของบ้านหลังใดเห็นเอกสารการจดทะเบียนแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อจะมีการรื้อถอนกลับถูกคัดค้านจากชาวบ้านและกรมศิลปากร ทำให้ลูกหลานของบ้านเก่าที่ได้รับมรดกตกทอดไม่สามารถดำเนินการใดๆ เช่นกรณีนี้ ขณะเดียวกันกลับถูกนักธุรกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองพยายามหว่าน ล้อมเพื่อขอซื้อในราคาถูก




ขอบคุณภาพจากภาคีคนรักเมืองสงขลา
เหลือห้องสุดท้ายแล้วนะครับ จากเก้าห้อง รักษาไว้ดีึกว่านะ อย่าให้เหมือนสถานีรถไฟ นายกช่วยด้วย

Kungd4d

 ส.หลก ส.หลก นี่แหละหนาบ้านเรา  ถึงได้ตามหลังเขาเรื่อยไป  ส.อืม ส.อืม ส.อืม

ข้าวเหนียวมะม่วง

ผมว่าต้องน่าเห็นใจกรมศิลป์ด้วยอะครับ โบราณสถานทั่วประเทศมีเป็นหลายร้อยแห่งเลย งบประมาณก็คงจะได้รับมาน้อย เลยทำอะไรล่าช้าไปบ้าง มันคงต้องคำนึงถึงหลายๆ องค์ประกอบ ก็ต้องเอาใจช่วยกันต่อไป

แล้วกำแพงเมืองสงขลาจะได้เริ่มบูรณะกันเมื่อไหร่ล่ะครับนี่ ช่วงนี้ฝนก็เริ่มตกอีกแล้ว รึว่าจะรอให้พังลงมาทั้งหมดแล้วค่อยสร้างใหม่ทีเดียวเลย
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

^_[SinCereLy]_^

ได้ใจสุดก็ตรงที่ เจ้าของทำไรไม่ได้นี่แหละ แหอะๆ

พี่แอ๊ด

อีกมุมหนึ่ง   ถ่ายเมื่อวันอาทิตย์ 28 มีนาคม 2554


evenza

นอกจากบ้านเรือนสมัยก่อนแล้ว ตรงถนนนางงาม แถวริมน้ำจะมีเรือไม้เก่าๆ ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วจอดอยู่เต็มไปหมด พวกเรานักเรียนนักศึกษา ที่เช่าบ้านอยู่แถวนั้นมักจะพากันไปอ่านหนังสือ ซื้อของไปนั่งกินกัน เราจะเรียกกันว่า สุสานเรือ ตอนนี้ยังมีอีกมั้ย หรือเขาเอาที่ไหนหมดแล้วยัง จากมานานสามสิบปี แต่ยังคิดถึงไม่จาง

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี

ไม่ต้องอนุรักษ์...มันพังไปแล้ว

ป๋าไก่ สมาร์ทตี้-จี


ฅนเกาะเสือ

แต่แรกอยู่ วอนารี มีเพื่อน..พงศักดิ์..นพคุณ บ้านอยู่แถวนครนอก ก่อนสอบจะชวนกันไปอ่านหนังสือที่บ้านร้าง(ขออภัยพวกผมเรียกกันสมัยนั้น) บ้านโบราณสวยงามมาก เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่ายังเหลืออีก มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งบ้านเพื่อนผมด้วย
แม้ ความรู้อันน้อยนิด อาจช่วยชีวิต คนเป็น ร้อย