ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

การใส่บาตรควรนั่งหรือยืนครับ

เริ่มโดย The Knack, 23:54 น. 16 เม.ย 55

The Knack

ผมเห็นใครต่อใครเค้าชอบนั่งยองๆใส่บาตรกัน

พอศึกษาค้นคว้าข้อมูลจึงได้รู้ว่าการนั่งใส่บาตรนั้นเป็นธรรมเนียมที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นเอง

จริงๆแล้วต้องยืนใส่บาตรถอดรองเท้าด้วยถึงจะถูกต้อง

เพราะว่าพระท่านยืนอยู่ เราไม่ควรนั่ง การยืนหมายถึงการแสดงความเคารพ

การใส่บาตรแบบนั่งนั้นไม่ถูกต้อง อนุโลมให้เฉพาะผู้ป่วยเป็นอัมพาตเท่านั้น

และเราจะนั่งได้ก็ต่อเมื่อพระนั่ง แต่เราต้องนั่งต่ำกว่าพระ เช่นพระนั่งเก้าอี้ เรานั่งพื้น

ถูกผิดอย่างไรช่วยกันแสดงความเห็นด้วยนะครับ ขอบคุณครับ




อิ อิ

เพื่อนที่ไปบวชมา ก็บอกเหมือนกันกับ จขกท. เลยคับ

แล้วพอหลังจากฟังมาจากเพื่อนที่ไปบวชมา

ผมก็ยืนตักบาตร รับพรก็ยืนเหมือนกัน

คนอื่นมองเป็นแถว มองเหมือนกับเป็นการไม่เคารพ ไม่เหมาะสม อะไรอย่างนั้นหนะ

จนครั้งต่อไปผมต้องนั่งยองลงตามเหมือนคนอื่น เพราะ จะได้ไม่ต่างจากคนอื่น

The Knack

อ้างจาก: อิ อิ เมื่อ 01:19 น.  17 เม.ย 55
เพื่อนที่ไปบวชมา ก็บอกเหมือนกันกับ จขกท. เลยคับ

แล้วพอหลังจากฟังมาจากเพื่อนที่ไปบวชมา

ผมก็ยืนตักบาตร รับพรก็ยืนเหมือนกัน

คนอื่นมองเป็นแถว มองเหมือนกับเป็นการไม่เคารพ ไม่เหมาะสม อะไรอย่างนั้นหนะ

จนครั้งต่อไปผมต้องนั่งยองลงตามเหมือนคนอื่น เพราะ จะได้ไม่ต่างจากคนอื่น

ส.หัว  เข้าเมืองตาหลิ่ว ก็ต้องหลิ่วตาตาม

puiey

ผมก็ว่ามันผิดธรรมชาตินะ จะตักข้าวไม่สะดวก การยืนผมว่าไม่ได้เป็นการไม่ให้เกียรติพระสงฆ์หรอกครับ เพียงแต่คนคิดว่าการนั่งเป็นการน้อบน้อมมากกว่าการยืน ถ้าให้ผมแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ ผมไม่ซีเรียสว่าจะนั่งหรือยืน แต่การไส่บาตรเป็นประเภณีอันดีงามของคนไทย ถ้าเราตัวสูงมากก็ย่อตัวลงมาก็สวยงามดี แต่ถ้าเราตัวไม่สูงนักการนั่งก็อาจยิ่งทำให้ไม่สวยงามเหมือนกันนะ แต่การถอดรองเท้าผมเห็นด้วย เพราะพระท่านไม่สวมรองเท้า เป็นแค่การแสดงความคิดเห็นครับ เพราะผมนับถือคริสต์ครับ
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

น้าเต่า

มีผู้ใหญ่เคยบอกมาเหมือนกันค่ะ ว่าเวลาใส่บาตรให้ยืน  ตั้งแต่นั้นมาเวลาใส่บาตรก็ยืนมาโดยตลอดน่ะค่ะ

ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน

คนเก็บฟืน

ถูกต้องแล้วครับ ตักบาตรก็ต้องยืน  แต่เวลารับพร ก็ต้องนั่งพนมมือครับ ยกเว้นคนที่มีปัญหาทางด้านร่างกาย
จะนั่งจะยืนอนุโลมครับ

คุณหลวง

การตักบาตรในปัจจุบันแตกต่างกับสมัยพุทธกาล(ตามพระไตรปิฎก)มากแล้วครับ

    สมัยพุทธกาลนั้น ไม่ปรากฏว่านั่งหรือยืน แต่เมื่อผู้ใดประสงค์จะถวายอาหารก็จะบอกแก่พระภิกษุ แล้วภิกษุก็จะส่งบาตรให้ ผู้ถวายก็จะรับไปใส่อาหารแล้วนำกลับมาประเคน

    อย่างครั้งหนึ่งพระสารีบุตรกำลังออกบิณฑบาต และด้วยความที่ท่านมีผู้คนศรัทธามาก จึงเป็นที่อิจฉาของพราหมณ์ผู้หนึ่ง พราหมณ์นั้นจึงย่องไปด้านหลังแล้วตีท่านอย่างแรงด้วยความอิจฉา แต่พระเถระก็ยังคงเดินอย่างสงบ เมื่อเห็นความไม่โกรธของพระเถระ พราหมณ์จึงละอายแก่ใจ จึงเข้าไปกราบขอขมา

    พระเถระก็ไม่ถือโทษแต่อย่างใด พราหมณ์จึงขอให้พระเถระทำภัตตกิจที่บ้านของตน และขอถวายอาหารเอง เพื่อความสบายใจ พระอัครสาวกเบื้องขวาแห่งพระชินสีหก์ก็อนุญาต แล้วส่งบาตรแก่พราหมณ์ พราหมณ์รับไปแล้วเดินนำพระเถระสู่บ้านของตน จัดที่นั่งอันสมควรให้ แล้วเข้าไปจัดอาหารใส่บาตรนำมาประเคน(อาจจะอ่านโดยพิศดารจาก http://www.84000.org/one/1/03.html)

    แต่ก็ไม่ทั้งหมดว่าจะเป็นประการนี้ เพราะประวัติพระมหากัสสปะตอนหนึ่งกล่าวถึงการรับบิณฑบาตด้วยการยืนเปิดบาตรให้อุบาสกตักอาหารใส่

    ในยุคปัจจุบันคงไม่มีการส่งบาตรให้ไปตักใส่อีกแล้ว เพราะว่าสมัยพุทธกาลท่านรับเพียงพอฉันมื้อหนึ่งเท่านั้น แล้วก็กลับไปทำภัตตกิจที่ๆสมควร อาจเป็นที่ใกล้แหล่งน้ำ กลับวัด หรือหากโยมนิมนต์ให้ฉันที่บ้านก็ฉันได้ ไม่มีความผิดแต่อย่างใด(แต่ไม่สองต่อสองกับหญิง หรือกับหญิงหลายคนก็ไม่ได้ ต้องมีผู้ชาย(แท้)ที่รู้เดียงสาอยู่ด้วยเท่านั้น)

    สำหรับผม คิดว่าการยืนตักบาตรจะสะดวกกว่า(ยกสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพ) และควรถอดรองเท้าออก เพื่อแสดงความเคารพต่อการตักบาตร

    แต่การนั่งยองใส่บาตร ผมว่าเกิดจากความเคารพอย่างสูงของผู้นั้นครับ ตามความนิยมท้องถิ่น ซึ่งไม่น่าจะถือเป็นความผิดแต่อย่างใด(ยกเสียแต่สาวๆที่ใส่เสื้อคอกว้าง สายเดี่ยวเสียวโว้ย กางเกงขาสั้นจุ๊ดๆ อย่านั่งยองเลยครับ แค่ยืนพระ(บางรูป)ก็ขาสั่นแล้ว แล้วไม่ใช่เรื่องล้อเล่นครับ เรื่องจริง ประสบการณ์ตอนบวชเป็นพยาน  ส.หลกจริง ส.หลกจริง ส.หลกจริง

    ดังนั้น สาวๆ จะสาวมาก สาวน้อย ก็ตาม แต่งตัวให้มิดชิดสักนิดนะครับ เกรงใจท่านบ้าง  เพราะสาวๆนั้น สำหรับพระแล้วสวยทั้งนั้นแหละครับ ชายห่างกายนางก็เป็นอย่างนั้น ยิ่งวัดที่ห่างคนยิ่งควรเกรงใจให้มากขึ้น

    สมัยก่อน คนเฒ่าคนแก่บอกว่า สาวใดเข้าวัดแล้วพระว่าไม่สวย แสดงว่าโบระจริง โบระหนัดเหนียน เพราะสำหรับพระแล้ว สาวๆมักจะสวยกว่าชาวบ้านครับ  ส.หลกจริง ส.หลกจริง ส.หลกจริง
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

เหอ ๆ

ทำไมเวลาตักบาตร พระต้องให้พรด้วย แต่ก่อนไม่เห็นมี

คุณหลวง

อ้างจาก: เหอ ๆ เมื่อ 12:16 น.  17 เม.ย 55
ทำไมเวลาตักบาตร พระต้องให้พรด้วย แต่ก่อนไม่เห็นมี

ใช่ครับ มันเป็นวัฒนธรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นจริงๆ อย่างบ้านผม เพิ่งเกิดขึ้นสักสิบสามปีมาก่อนนี่เอง แต่การเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ตามค่านิยม มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกมิใช่หรือครับ

เราคงจะกลับไปใช้แบบพุทธกาลเลยไม่ได้แน่นอน มันเปลี่ยนไปตามยุค มาตลอดเวลา เราใช้สมมติให้ถูกจะมีความสุขกว่าครับ


สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

DtawanDigital

   ต้องยืนครับ แล้วต้องถอดรองเท้าด้วยครับ

โถว

ถอดรองเท้าแล้วให้ยืนเท้าเปล่าบนพื้นด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าถอดแล้วยืนเหยียบอยู่บนรองเท้า ถือว่าไม่เป็นการอยู่สูงกว่าพระท่าน

เณรเทือง

อ้างจาก: เหอ ๆ เมื่อ 12:16 น.  17 เม.ย 55
ทำไมเวลาตักบาตร พระต้องให้พรด้วย แต่ก่อนไม่เห็นมี
อันที่จริงพระจะต้องใส่ใจพิจารณาบิณฑบาตรขณะรับบิณฑบาตร (บทปฏิสังขาโย นิโสปิณฑปาตังฯลฯ)
มากกว่าการให้ศีลให้พรญาติโยม
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ
     เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
เนวะ ทวายะ
     ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ มะทายะ
     ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
นะ มัณฑะนายะ
     ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะ วิภูสะนายะ
     ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา
     แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้ แห่งกายนี้
ยาปะนายะ
     เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา
     เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ
     เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ
     ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว
นาวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ
     และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ
     อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุขด้วยจักมีแก่เราดังนี้


น้องดำ

น้องดำว่า  ควรปฏิบัติตามบรรพบุรุษเถอะ ทำ ๆไปต๊ะ เช้า ๆ มา มีคนมาอวยพรให้ ได้รับแต่สิ่งดี ๆ ตั้งแต่เช้าดีกว่าไหม๊   น้องดำก็เคยเห็น มีคนไม่รู้จักไหร ใส่บาตรทั้งรองเท้าก็มี  ไม่มองไม่ศึกษาดูข้าง ๆเล้ย 

Dome Pakonlam

อ้างจาก: เหอ ๆ เมื่อ 12:16 น.  17 เม.ย 55
ทำไมเวลาตักบาตร พระต้องให้พรด้วย แต่ก่อนไม่เห็นมี

ปกติตอนกลับถึงวัด พอพระท่านฉันเสร็จ ท่านก็ให้พรอยู่แล้วครับ
ผมว่าพวกเราทุกคนไม่ควรไปรบกวนท่านในเรื่องนี้นะครับ
ลองคิดดูถ้าสมมุติว่า วันนี้มีคนใส่บาตร 20 คน พระต้องให้พร 20 ครั้ง
และพอฉันเสร็จให้พรอีก 1 ครั้ง รวมเป็น 21 ครั้ง
เท่ากับว่าเราได้รับพรกันคนละสองรอบเลยนะนั่น



soodtong1234


tayphone

ผมเคยบวชอยู่วัดป่า

ไปบิณฑบาตรเมื่อโยมตักบาตรเสร็จ ไม่ต้องให้พร ถ้าจะให้พรโยมต้องหาเก้าอี้มาให้พระนั่ง แล้วโยมนั่งกับพื้น พระจึงจะให้พรได้
วัดป่าที่ผมไปบวช จะให้พรเฉพาะก่อนฉันเท่านั้น และพระจะฉันเพียงมื้อเดียวเวลาประมาณ 08.00น. อาสนะเดียว ถ้าลุกขึ้นแล้วห้ามกลับมาฉันอีก ต้องสละอาหารนั้นทันที

วัดนี้อยู่ในป่าจริง ๆ กุฏิล้อมรอบไปด้วยป่า ไปทางไหนก็เป็นป่า ไม่ใช้ไฟฟ้า มีเทียน ไฟฉาย ตะเกียงเท่านั้น

ปกธรรม

มันผิดที่พระไม่สอนครับ เคยบวชอยุ่ ผมสอนหมด บางคนยืนพูดด้วยอยุ่ตั้งนาน  ส-เหอเหอ

แดงเทียม

ยืนใส่บาตรครับ ทำให้เป็นธรรมชาติเถอะ
ท้องถิ่นไหน จะนั่งใส่บาตรก็เป็นธรรมเนียมปฎิบัติของท้องถิ่นนั้น
ไม่ใช่ว่าจะต้องเอามาปฎิบัติที่นี่

คนท่าข้าม

ไม่เคยเห็นนั่งใส่บาตรพระ มีแต่ยืนใส่บาตรนั่งรับพร

ชาร์น

ยืนครับ ถอดรองเท้า ขันหรือภาชนะต้องต่ำกว่าบาตรพระด้วย



ได้แก้ไขคำผิดให้แล้ว  คำว่า ต่ำ  เขียน ตำ่  ขอบคุณมาก ส.ตากุลิบกุลิบ

Mr.No


ผมว่า  ญาติโยมเวลาใส่บาตรพระท่าน จะนั่ง หรือ ยืน ถ้าจิตขณะที่ให้(ใส่)สว่างสดใส และถึงด้วยกริยาแห่งความเคารพ ก็งดงามพอ ๆ กัน..

แต่ที่มันประหลาดกว่าก็คือ เวลาเห็น พระ??? นั่งรับบาตร (ท่านเล่นยึดเก้าอี้พลาสติกประจำตำแหน่ง) แถวตลาดกิมหยงนี่สิ กลุ้มใจ...เห็นทีญาติโยมต้องนอนใส่บาตรกันละมัง  ส-เหอเหอ
..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

ไก่ฟักด้าม

ขณะใส่บาตรควรจะยืนครับ  เพราะสะดวกทั้งพระและผู้ใส่ 
เสร็จจากนั้นก็อาจจะเป็นวิธีปฎิบัติของแต่ละคนแต่ละบ้านคงจะต่างกันไป ยืนรับพรหรือรับพรก็สุดแล้วแต่

ส่วนเรื่องการให้พรหลังใส่บาตรเสร็จนั้น  คนที่ใส่บาตรที่หน้าบ้านคือคนที่ไม่ได้ไปวัดก็ทำให้ไม่สามารถรับพรหลังจากพระฉันเสร็จ  ก็เลยอนุโลมว่าให้พระให้พรแก่ญาติโยมผู้ใส่บาตรนั้น  ส่วนจะให้พรสั้นยาวก็ต่างกันไปตามวัด ตามบ้านนั้นๆ

อีกอย่างธรรมเนียมปฎิบัติบางอย่างเกี่ยวกับศาสนามันเปลี่ยนไปจากสมัยพุทธกาลเยอะมาก  อย่างเช่น การบิณฑบาต  ในสมัยพุทธกาลก็บิณฑบาตรของข้าวเหลือแกงเหลือ  ("บิณฑบาต" แปลตรงตัวว่า  ข้าวตก)  ต่อมาภายหลังก็กลายเป็นการประดิดประดอยสิ่งที่จะถวายพระภิกษุอย่างปราณีต  ข้าวก็ต้องเป็นข้าวปากหม้อ  แกงก็ต้องสุกใหม่

การชักผ้าบังสุกุล  แต่เดิมสมัยพุทธกาล  พระต้องไปเอาผ้าที่เขาทิ้งแล้ว ผ้าห่อศพบ้างมาย้อมสีทำเป็นสบง จีวร ต่อมาภายหลังมีการตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มที่ทันสมัยขึ้น  ก็เปลี่ยนมาเป็นพิธีชักผ้าบังสุกุลหน้าศพแทนโดยใช้ผ้าเย็บสำเร็จรูป เพียงแต่เอาเคล็ดว่าชักจากศพเหมือนเดิม

ตามจริงสิ่งที่พระพุทธเจ้ากำหนดให้พระภิกษุปฎิบัตินั้น ก็เพื่อให้พระเป็นผู้สมถะในการตั้งตนอยู่ในสมณะเพศ  ไม่หลงใหลได้ปลื้มไปกับลาภยศสรรเสริญ อันไม่ใช่ทางสูมรรคผล  นั้นเอง

ส.ก๊ากๆ ส.หัว ส.ตากุลิบกุลิบ