ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สรรพนามเรียกบุรุษที่ 2 "สงขลา - ตัว" "นครฯ - เติน"

เริ่มโดย กิมหยง, 21:32 น. 18 เม.ย 55

กิมหยง

วันนี้ไปภาระกิจที่ร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช
ได้มีโอกาสคุยกับญาติ ๆ ผู้หลักผู้ใหญ่

แหลงใต้กันเทือนไปหมด

หลายครั้งที่เรียกคู่สนทนาว่า "ตัว"

ตัวในที่นี้หมายถึง ชื่อแทนที่ให้เรียก ลุง ๆ ป้า ๆ

บรรดาญาติ ๆ ก็ตอบกลับมาทันควันว่า  ที่นครเขาใช้คำว่า "เติน"

ไม่เหมือนสงขลา ที่เขาใช้ว่า "ตัว"

เพิ่งรู้หล่าว นะเนี๊ย

สร้าง & ฟื้นฟู

DtawanDigital

   จริงๆผมก็เคยได้ยินคนในหาดใหญ่หรือสงขลาเรียก เติ้ล เหมือนกันนาแต่ไม่รู้ว่าเค้าเป็นคนนครที่มาอยู่นี่รึปล่าน่ะท่าน 

dj cop

 อีกคำนึงที่เขาว่า สงขลาหอน นครฯหมา  คงหมายถึง ไม่เคยไปใช่ม่าย ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน

คนพัทลุง

สงขลาหอน คำว่าหอน แปลว่าไม่ เช่น ไม่หอนทำ ไม่หอนโหร่ ไม่หอนเห็น
นครฯหมา    คำว่าหมา ก็แปลว่าไม่ เช่น หมาโหร่ หมาเห็น หมาทำ

Singoraman

คำว่า "หอน" ในภาษาสงขลาความหมายเดียวกับคำว่า "เคย" (ไม่ใช่กะปิ) เช่น ไม่หอนทำ = ไม่เคยทำ
ในภาษากลางเป็นคำเดียวกับคำว่า "ห่อน" ในบทกวีหลายบท เช่น
"วัวหายจึงล้อมคอก    กันวัว
ไม่เห็นวัวสักตัว        คิดล้อม
แต่ก่อนบ่ห่อนกลัว      วัวจักหายนา
....................     ..........."
ใครช่วยต่อบาทสุดท้ายกันจ๊ะ จำไม่ได้แล้ว

somrax

อ้างจาก: คนพัทลุง เมื่อ 15:34 น.  19 พ.ค 55
สงขลาหอน คำว่าหอน แปลว่าไม่ เช่น ไม่หอนทำ ไม่หอนโหร่ ไม่หอนเห็น
นครฯหมา    คำว่าหมา ก็แปลว่าไม่ เช่น หมาโหร่ หมาเห็น หมาทำ
คนพัทลุงอย่าแปลคำว่าหอนให้ผิดความหมายต้าครับ  คำว่า "หอน" ของคนสงขลาเขาหมายถึง "เคย" มาตั้งนมนานกาเล
แล้วครับ เช่นไม่หอนโหร่ ก็หมายถึงไม่เคยรู้(โหร่) ถ้าแปลว่า "ไม่" ตามที่ท่านว่าก็ไม่ต้องใส่คำว่าไม่ไว้หน้าคำว่าหอนแล้วแหละครับ
จะพูดว่า หอนโหร่ เลย แต่นี้มันไม่ช่าย ขอทำความเข้าใจกับท่านนะ

junekodkdldo

อ้างจาก: Singoraman เมื่อ 13:10 น.  21 พ.ค 55
คำว่า "หอน" ในภาษาสงขลาความหมายเดียวกับคำว่า "เคย" (ไม่ใช่กะปิ) เช่น ไม่หอนทำ = ไม่เคยทำ
ในภาษากลางเป็นคำเดียวกับคำว่า "ห่อน" ในบทกวีหลายบท เช่น
"วัวหายจึงล้อมคอก    กันวัว
ไม่เห็นวัวสักตัว        คิดล้อม
แต่ก่อนบ่ห่อนกลัว      วัวจักหายนา
....................     ..........."
ใครช่วยต่อบาทสุดท้ายกันจ๊ะ จำไม่ได้แล้ว

วัวหาย จึงล้อมคอก
กันวัวไม่เห็น วัวสักตัว
คิดล้อมแต่ก่อน บ่ห่อนกลัว
วัวจัก หายนา
คิดแต่ ทางอ้อมค้อม
หมดเค้า เข้าตำรา
[/size][/color]

คนโบราณ

ขออนุญาต กลับไปเรื่อง คำว่า ตัว (ของคนสงขลา ) กับ เติ้น  ( ของคนคอน) นะครับ

เท่าที่ทราบ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่  ทั้ง คำว่า ตัว (ของคนสงขลา ) กับ เติ้น  ( ของคนคอน)เป็นคำที่ใช้เรียกขานผู้ที่อาวุโสกว่าผู้พูด เป็นคำที่ให้เกียรติ  ( ทั้ง 2 คำ นี้ เป็นคำที่เลือนมาจากคำว่า ต่วน- tuan ในภาษามลายูโบราณ ที่ผู้น้อยใช้เรียกขาน ผู้อาวุโสกว่า หรือสูงศักดิ์กว่า )     
        อย่างไรก็ตาม  การใช้คำว่า ตัว ไปพูดกับผู้หลักผู้ใหญ่ ในจังหวัดอื่น ที่ห่างไกลจากสงขลา  มักเกิดความเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง  เพราะผู้ฟังเข้าใจว่า คำว่า ตัว นี้ เปรียบได้กับสัตว์จึงรู้สึกโกรธ ทั้งๆที่ผู้พูดพูดด้วยความเคารพ  ดังนั้น เพื่อเลี่ยงปัญหาความเข้าใจผิดดังกล่าว คนสงขลาจึงควรพูดตามธรรมเนียม ในถิ่นนั้นๆ   เช่น  ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ใช้คำว่า  เติ้น  ซึ่งเป็นภาษาของคนคอน    ถ้าจะใช้คำว่าตัว ก็ให้ใช้เมื่อกลับมาถึงสงขลา  ก็แล้วกัน  ส.หยิบตาข้างเดียว   ส.หยิบตาข้างเดียว