ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แหละนี้ แหลงกันเทไน่ หมายความว่าพรื่อ

เริ่มโดย ลุงคิด, 23:10 น. 11 พ.ค 55

ลุงคิด

แหละนี้   แหลงกันเทไน่   หมายความว่าพรื่อ
สิงกอลา  อธิบายที

Singoraman

คำว่า "แหละนี่" (ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์เอก) หมายถึง เวลานี้ ขณะนี้ ปัจจุบันนี้ เช่น "ไปกันแหละนี่ดีหวา" หมายถึง "ไปกันตอนนี้เลยดีกว่า" (ประมาณนั้น)บ้านนอกคอกนาเมืองสงขลาเขาแหลงกันครับ

หนุ่มเหลือน้อย

  แถวบ้านผม  อ.เทพา  เขาก็แหลง "แหละนี่" ครับ ตรงกับภาษากลางว่า "เดี๋ยวนี้"  เช่นประโยคว่า "แหละนี่เด็กบาวๆ มันใส่กางเกงเอวลงไปโยเท่โพกทั้งเพนิ".... ส.ใส่แว่นกันแดด ส.ใส่แว่นกันแดด ส.ใส่แว่นกันแดด

ไก่ฟักด้าม

เท่าที่เคยได้ยินมานะครับ 
"แหละนี้"  หมายถึง  เดี้ยวนี้  ยุคนี้  สมัยนี้
แล้วแต่จะใช้ประกอบประโยคคำพูดครับ

ส-โห ส.หัว ส.ก๊ากๆ

somrax

คำว่า "แหละนี่" ใน จว.สงขลาเราใช้มากที่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย   คู่กับคำว่า   "เดียวหนึ่งใจ" ซึ่งคนสงขลาทั่ว ๆ ไป
จะพูดว่า "เดียวใจหนึ่ง" ซึ่งหมายความว่า ไม่นาน  คำว่าเดียวหนึ่งใจนี้จะได้ยินมากแถว อ.เทพา แล้วบ่าวไข่....เคยได้ยินมั่งหม้ายนิ

junekodkdldo

แหลงกันเทไน่
หมายถึงคุยที่ไหน   ค่ะ
ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว ส.หัว

คนโบราณ

ถาม  -  "แหละนี้"   แหลงกันเทไน่   หมายความว่าพรื่อ?  (คำว่า  "แหละนี้"  พูดกันที่ไหน มีความหมายว่า อย่างไร ?)
ตอบ -   คำว่า  "แหละนี้"  จะพูดกัน แถว อำเภอจะนะ  นาทวี  เทพา สะบ้าย้อย  จังหวัดสงขลา รวมทั้ง ในเขตอำเภอโคกโพธิ์  และ แม่ลาน จังหวัดปัตตานี  ความหมายของคำว่า "แหละนี้" นี้ ก็คือ ปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้  หรือ ทุกวันนี้   แต่ถ้าข้ามเขามาทางตะวันตก ในเขตอำเภอหาดใหญ่ อำเภอสะเดา  หรือขึ้นเหนือ "ไปทางปละตีน" ตั้งแต่อำเภอเมืองสงขลาขึ้นไป  ก็จะใช้คำว่า "หวางนี้" ในความหมายเดียวกัน  เช่น คนเทพา-นาทวี ดั้งเดิม จะถามสุขทุกข์ของญาติมิตร ที่ไม่ได้พบไม่ได้เจอกันนานว่า  " พี่เจ้า ฉานไม่ได้พบพี่เจ้า นานแล้ว แหละนี้ พี่เจ้า บายดี เฮอะ? "  ประโยคเดียวกันนี้ ถ้าเป็นคนหาดใหญ่ คนคลองหอยโข่ง คนรัตภูมิ ก็จะถามว่า  " พี่หลวง ฉานไม่ได้พบพี่หลวง นานแล้ว หวางนี้ พี่หลวง บายดี เฮอะ? "  คงเข้าใจนะครับ

จากประโยคคำถามทั้งสองประโยคนี้ ก็จะเห็นคำไทยถิ่นใต้ ที่คนสงขลาใช้แตกต่างกัน อีกคู่หนึ่ง คือ   "พี่เจ้า" ของคนสงขลา จะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี รวมไปถึง คนไทยปัตตานีดั้งเดิม และ "พี่หลวง" ของคนสงขลา( หาดใหญ่ สะเดา รัตภูมิ) และคนไทยถิ่นใต้ทั่วไป  ยิ่งถ้าเราลงไปทาง สายบุรี ปัตตานี  และเลยไปถึง ตากใบ  เราก็จะพบคำไทยถิ่นใต้ ที่เป็นคำเฉพาะถิ่น ต่างจากคำไทยถิ่นใต้ทั่วไป อีกมากครับ .....  ส.อืม   ส.อืม