ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สำรวจสถานีอู่ตะเภา (สถานีต้นโด - ต้นประดู่)

เริ่มโดย กิมหยง, 14:04 น. 22 ก.พ 53

กิมหยง

ภาพถ่ายจากหลักกีโลเมตรที่ 926 จากหาดใหญ่ ไป กรุงเทพ

ซ้ายมือคือทางแยกเข้าสถานีอู่ตะเภา เยี้อง ๆ กันไกล ๆ ทางขวามือคือโรงรถจักรครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

ยังคงพบบางส่วนของซากอาคารครับ
ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

จากภาพ 2462



กับภาพปัจจุบัน 2553 (น่าจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน)
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

ในระหว่างการสำรวจ มีรถไฟวิ่งมากเที่ยวเหลือเกิน

แค่ไม่กี่นาที ทำไมวิ่งกันหลายขบวนจัง
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

นี่คือภาพสถานีอู่ตะเภา



ข้างล่างน่าจะเป็นมุมเดียวกันอีก

สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

เดินสำรวจไม่ทันเท่าไร รถไฟก็มาอีกครับ

่โชคดี กะว่าจะขึ้นไปถ่ายบนสะพานข้ามคลองอู่ตะเภาพอดี

ถ้าขึ้นไปแล้วรถไฟมา คงตื่นเต้นที่สุดในชีวิตเป็นแน่แท้
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

นี่แหละครับ สำรวจวันนี้ กลางแดดตอนเที่ยงวัน กับ สถานีอู่ตะเภา
รายละเอียดรอท่านลูกแมวตาดำดำ มาให้เพิ่มเติมให้ครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

พี่

ชื่นชม และศรัทธา ท่านกิมหยง ท่านลูกแมว เป็นอย่างยิ่ง
ลงลุยในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยตนเองโดยไม่ใช้ สตั๊นท์แมน หรือลวดสลิงช่วย

ยังไม่เคยพบเห็นการสำรวจสถานีต้นโด จากเว็บ หรือเอกสารใด ๆ มาก่อนเลย
เชื่อว่า นี่เป็นครั้งแรก ที่มีการเผยแพร่เรื่องนี้สู่สาธารณชน

ลูกแมวตาดำๆ

ภาพแรก ภาพมุมสูงความละเอียดสูง


และได้ไปสำรวจพื้นที่จริง จนได้ภาพแผนผังที่ผมพอจะวิเคราะห์ออกมาได้ครับ มีข้อสังเกตตรงไหนช่วยเสริมเติมแต่งได้ครับ


หม่องวิน มอไซ

ขออภัยที่ขัดจังหวะครับ
คุณลูกแมวฯ ครับ ผมมาคิด ๆ ดูแล้ว
โดยปกติ ทางที่ไม่ใช่ทางโค้ง เสาโทรเลข 16 ต้น (16 ช่วง) เป็น 1 กิโลเมตร
ช่วงละ 62.5 เมตร
โดยเริ่มจาก /1 ซึ่งตรงกับหลัก กม. พอดี แล้วไปเรื่อย ๆ /2 /3 /4 /5 จนถึง /16 ครับ
ดังนั้น ช่วงที่ 1 คือ /1 ถึง /2
ช่วงที่ 2 คือ /2 ถึง /3
ช่วงที่ 3 คือ /3 ถึง /4
.
.
.
ช่วงที่ 15 คือ /15 ถึง /16
ช่วงที่ 16 คือ /16 ถึง /1
ดังนั้น จำเป็นต้องมีเสาโทรเลขที่ /16 ด้วยครับ
ขออภัยที่บอกผิดครับ

ลูกแมวตาดำๆ

ฉะนั้นในภาพ สทล.926/1 ผิด   ส่วนที่ถูกต้องเป็น 925/16 ครับ

หม่องวิน มอไซ

อ้างจาก: กิมหยง เมื่อ 17:14 น.  22 ก.พ 53
ขุดลงไปราว 50 - 60 ซม. ไม่พบปูนอะไรเลยครับ
มีแต่ดินเหนียวอย่างเดียวครับ
ก็ไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้ว ข้างใต้ที่กลับหัวนี้ มีอะไรอยู่บ้างครับ

ปล. ระหว่างการขูดดินที่กลบขอบปูนและขุดสำรวจ
เป็นลมหลายรอบมากๆ แดดร้อน แถมยังล้อมรอบไปด้วยคอกเลี้ยงหมูครับ
บ่อที่กลับรถจักรแบบมีขอบชั้นเดียวก็มีครับ
นี่เป็นการพิสูจน์ว่า บ่อที่นี่มีขอบชั้นเดียวครับ  O0

ลูกแมวตาดำๆ

แต่การขุดนั้นเล่นเอาท่านกิมหยงเกือบจะเป็นลม เพราะลุยถ่ายภาพงานแห่พระ
ดึกทุกวันแล้วตอนเช้าตรู่ต้องมาถ่ายต่ออีก ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน
พอวันี้ไปกลางเที่ยงอีก แถมล้อมไปด้วยคอมหมู หนักเข้าไปใหญ่เลย

กิมหยง

ได้ไปสำรวจ แต่ไม่ค่อยมีความรู้เลยครับ

เห็นเสารถไฟมากมาย แต่ไม่เข้าใจครับว่ามีความหมายอย่างไร

เพิ่งเห็นเสาหลักกีโลของรถไฟครับ แปลกดีเขียนเป็นเลขไทยครับ

ไว้มีโอกาสจะไปสำรวนอีกครั้งครับ

อาจยืมเครื่อง GPS ใครมาสักคนแล้วไปสำรวจครับท่าน
จะได้ระบุพิกัดลงไปเลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

เฮียใช้

คราวหน้าไปก็ชวนผมไป ไปลุย ร่วมแรงร่วมใจดี

หม่องวิน มอไซ

เสาโทรเลขของทางรถไฟสายใต้ ส่วนใหญ่จะอยู่ทางขวามือ เมื่อหันหลังให้กรุงเทพครับ มียกเว้นเพียงบางจุด
ส่วนเสาโทรเลขของสายสงขลา อยู่ทางด้านซ้ายมือ เมื่อมองไปทางสงขลา หันหลังให้หาดใหญ่ครับ

ตัวเลขบนเสาโทรเลข (สทล.) บอกระยะทางเป็นกิโลเมตร นับจากสถานีธนบุรี
ส่วนตัวเลขใต้ขีด คือ "ต้นที่" ของเสาโทรเลข แต่ละต้น ปักห่างกัน 62.5 เมตร
ดังนั้น 1 กิโลเมตร = 16 ช่วงเสาโทรเลข
ดังนั้น เสาโทรเลขที่ 925/9 ก็หมายความว่า จุดที่ปักเสาไว้นี้ ห่างจากสถานีธนบุรี 925 + (9-1)/16 = 925.50 กม.
เสาต้นที่อยู่ตรงกับหลักกิโล นับเป็นต้นที่ 1
เช่น 925/1 จะอยู่ตรงกับหลักกิโล ๙๒๕ พอดี
จากนั้นก็ run ไปเรื่อย ๆ ครับ คือ 925/2, 925/3 ....925/15,925/16, 926/1,926/2
-------------------
ดังนั้น จากหลักกิโลที่ ๙๒๕ ซึ่งตรงกับเสาโทรเลขที่ 925/1 ถึงหลักกิโลที่ ๙๒๖ ซึ่งตรงกับเสาโทรเลขที่ 926/1
คิดเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ประกอบด้วย 16 ช่วงเสานั่นเองครับ
(มีข้อยกเว้นบ้าง ถ้าเป็นทางโค้ง ต้องใช้เสาโทรเลขเพิ่มขึ้นต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร อาจจะมีเสาโทรเลขที่ /17 โผล่ให้เห็นด้วยครับ)

หม่องวิน มอไซ

ในบางกรณี พิกัดศูนย์กลางสถานีรถไฟในเอกสาร ไม่ได้บอกตำแหน่งของเสาโทรเลขไว้
แต่บอกเป็นกิโลเมตร เราก็ต้องมาคำนวณกลับเป็นเสาโทรเลขเอง
เช่น สถานีอู่ตะเภานั้น ในเอกสารบอกว่า อยู่ห่างจากสถานีธนบุรี (สถานีต้นทางของสายใต้) 925.80 กม.
ดังนั้น จึงอยู่ที่เสาโทรเลขที่ 925/x
โดยที่ x = (0.80*16)+1
= 13.8 ปัดขึ้นเป็น 14
ดังนั้น สถานีอู่ตะเภาอยู่ประมาณเสาโทรเลขที่ 925/14 ครับ

หม่องวิน มอไซ

ต้องขอบคุณท่านกิมหยงเป็นอย่างมากที่ลงทุนลงแรงขุดบ่อกลับรถดู
ขุดลึกแล้วยังไม่ถึงก้นบ่อนะครับ (ก้นบ่อน่าจะมีพื้นปูนอยู่)
ที่สถานีกันตัง ก็มีซากวงเวียนกลับรถจักรอยู่ด้วยครับ ตามภาพนี้



หม่องวิน มอไซ

ขอบบ่อเป็นแบบชั้นเดียวครับ
วงเวียนกลับรถจักรที่กันตัง สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2454 (ค.ศ.1911) ครับ


กิมหยง

ที่ของเขาอยู่โล่ง น่าจะอนุรักษ์ไว้นะครับ
จัดตกแต่งให้สวยงาม

ทำไมเขาไม่เห็นคุณค่าด้านประวัติศาสตร์เลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

เฮียใช้

การอนุรักษ์วัตถุโบราณของไทยนั้น มีเฉพาะบางเรื่อง ไม่ได้ครอบคลุมทุกเรื่อง หน่วยงานไหนมีงบประมาณมากเพียงพอก็สามารถทำได้ การรถไฟแทบไม่มีงบประมาณที่จะทำพิพิทธภัณฑ์รวบรวมรถไฟไทยตั้งแต่ยุคบุกเบิกมาให้ลูกหลานชม เหมือนของต่างประเทศที่ทำอย่างอลังการ มีแต่หน้าสถานีรถไฟทุกสถานีเอารถจักรไอน้ำมาโชว์ ตากแดดตากฝนจนผุผังไปมาก คนไทยมัวแต่ไปชื่นชมของโบราณ ไปเที่ยวเมืองนอก กลับมาก็มาคุยโอ๋อวด ไปดูโน่นดูนี่มาแล้ว ผมเสียดายวัตถุโบราณของไทย ที่คนไทยไม่เหลียวแล้ว ยังมาดูถูกของไทยว่า ดูทำไมไม่มีอะไร น่าสนใจ ไร้สาระ

กิมหยง

นี่ท่าน ตอนไปสำรวจยังคิดเพ้อฝันเลยครับ

หากมีตังค์มีบารมีพอ อยากได้ที่ดินตรงนั้นทั้งหมดคืน
แล้วก็สร้างมันขึ้นมาใหม่ อนุรักษ์ไว้

แต่ก็ได้แค่นิดครับ
เอาเป็นว่า ของที่มี ที่น่าจะอนุรักษ์ไว้
เราช่วยกันดีกว่าครับ

ผมว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีคุณค่าครับ
สร้าง & ฟื้นฟู